หนุ่มสารคาม ทิ้งงาน ทิ้งเงินเดือนเฉียดแสน หันทำ คืนถิ่นเกิด

อาชีพการเกษตร ยังคงมีเสน่ห์แรงไม่เสื่อมคลาย ที่ดึงดูดความสนใจจากผู้ประกอบอาชีพอื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีเงินเดือนประจำ ที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน” ถึงแม้นจะมีค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูง แต่ก็จะต้องแลกด้วยปัญหาสารพัดคล้ายๆ กัน เช่น ความเครียดอันเนื่องมาจากการทำงานที่จะต้องได้ผลงานตามเป้าหมาย ขาดการออกกำลังกาย และโรคภัยรุมเร้า ด้วยปัญหาดังกล่าวจึงมีบุคคลเหล่านี้มองหาทางออก และเห็นว่าอาชีพการเกษตรน่าจะเป็นวิถีที่จะสร้างอาชีพและสร้างความสุขให้แก่ตนเองได้อย่างยั่งยืน เช่น

คุณมงคล เหล่ามาลา อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 20 บ้านหนองแคน ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทร. (099) 939-6130 Id Line : มงคล@กันทรวิชัย Facebook : สวนเกษตรเพชรมงคล มหาสารคาม

คุณมงคล เล่าให้ฟังว่า ปี 2543 หลังจบ ม.6 ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์ (สาขาวิชาประมง) ระหว่างเรียน ปวส. 2 ได้มีบริษัทมาคัดเลือกให้เข้าทำงานกับบริษัท ด้วยสถานะการเงินทางบ้านขณะนั้นก็ไม่ค่อยดีนัก แม้จะอยากเรียนต่อเพียงใดก็ตาม ด้วยไม่อยากเป็นภาระของพ่อแม่ เพื่อหวังต้องการปลดหนี้ปลดสินให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน และอยากให้ครอบครัวมีชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากเรียนจบ ปวส. จึงได้ตัดสินใจเข้าทำงานกับบริษัท ทำงานอยู่เมืองไทยได้ 4 ปีกว่า ทางบริษัทต้องการขยายกำลังการผลิตที่ต่างประเทศ จึงได้รับการทาบทามให้ไปทำงานที่ประเทศอินเดีย

ปี 2547-2557 ทำงานอยู่ที่ประเทศอินเดีย ประมาณ 10 ปี ระหว่างนี้ประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ โรคภูมิแพ้ ทำให้น้ำมูกไหลตลอดเวลา ต้องกินยาแก้แพ้แก้หวัดอยู่ตลอด ปัญหาโรคกรดไหลย้อน ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ แน่นหน้าอก อาการโรคกระเพาะอาหารและโรคริดสีดวงทวารและความเครียด จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ยอมทิ้งเงินเดือน ประมาณ 85,000 บาท กลับมาทำการเกษตรที่ตัวเองรักที่บ้านเกิด

ปี 2558 มีนาที่ซื้อไว้หลายแปลง แปลงนี้พื้นที่ 9 ไร่ ได้ปรับมาทำในรูปแบบไร่นาสวนผสม โดยคิดว่าตัวเองก็จบเกษตร พอมีความรู้พื้นฐานอยู่บ้าง น่าจะทำได้ไม่ยาก ปรากฏว่าปีแรกขาดทุนย่อยยับ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เริ่มจากปลูกไผ่และปลูกกล้วยหอมทอง เนื่องจากแล้งมาก ไผ่ก็ไม่ค่อยออกหน่อ กล้วยหอมทองก็ไม่ยอมโต ปลูกมะนาว ใบก็ไม่ค่อยเหลือ หนอนกินใบหมด ดูแลไม่เป็น ตายในที่สุด

ทำนาปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวสินเหล็ก ข้าวเหนียวลืมผัว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียวเหลืองอ่อน ข้าวเหนียวดำ ข้าวหอมนิล ข้าวญี่ปุ่น ข้าวเหนียว กข 6 ก่อนนั้นพ่อแม่ทำนาได้ผลผลิตปีละเกือบ 100 กระสอบ พอตัวเองมาทำ ได้แค่ 3 กระสอบ

จากนั้นตัดสินใจ เอาเป็ดไข่มาเลี้ยง 35 ตัว ปรากฏว่า ได้กินได้ขายไข่ น่าจะได้เงินดี และเลี้ยงง่ายมาก จึงเลี้ยงเพิ่มอีกร้อยกว่าตัว รวมเป็น 140 ตัว ช่วงแรกขายดีมาก แม่ค้ารับไม่อั้น แต่หลังจากนั้น ปรากฏว่าช่วงกลางวันหมามาไล่กัดเป็ด ตกกลางคืนแมวป่าก็ออกมากวน เป็ดที่เคยไข่ดก ตกใจก็ออกไข่น้อยลง เลยต้องเลิกเลี้ยง ยอมขายเป็ดขาดทุน

จากปัญาหาต่างๆ ที่ผ่านมา คิดว่าต้องหาคนที่เก่ง และประสบความสำเร็จในอาชีพที่ทำการเกษตร เพื่อจะนำความรู้มาพัฒนาสวนของตัวเอง ซึ่งมีศูนย์เรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน หนังสือ โทรทัศน์ และโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ

อาจารย์ท่านหนึ่ง บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง การทำเกษตร “สวนทาง” ซึ่งโดนใจและกระแทกใจตัวเอง สามารถตอบโจทย์ การทำเกษตรของตัวเองได้อย่างมาก จึงขอเข้าไปกราบขอความรู้ฝากเนื้อฝากตัว และฝึกการทำเกษตรที่สวนของอาจารย์เป็นระยะเวลาหนึ่ง

ปี 2559 (ทำการเกษตร ปีที่ 2) เริ่มต้นทำเกษตรโดยใช้หลักแนวคิดการทำเกษตรสวนทาง เปลี่ยนการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่สวนตัวเอง “เกษตรสวนทาง คือสวนแนวคิด สวนชนิดพืชที่ปลูก สวนทั้งวิธีการ สวนกระแสราคากลไกของตลาด” ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ทำเพื่อเรียนรู้ก่อน ปลูกน้อยๆ เรียนรู้ ข้อดี ข้อด้อย โรคแมลงต่างๆ

ขั้นที่ 2 ฝึกทำนอกฤดู หรือทำให้ออกในช่วงแพง ถ้าทำได้ ค่อยขยายเพิ่ม

ขั้นที่ 3 ทำเพื่อขายผลพลอยได้ เช่น ขายเมล็ดพันธุ์ ขายกิ่งพันธุ์ หรือแปรรูปขาย

หลังจากที่นำหลักแนวคิดเกษตรสวนทางมาใช้ ก็เริ่มมีรายได้เข้ามาในสวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนผลผลิตและกิ่งพันธุ์ไม่พอขาย พืชในสวนจะปลูกไว้หลากหลายชนิด เน้นพืชที่แปลก เพื่อขายกิ่งพันธุ์ พืชที่น่าจะทำออกนอกฤดูได้ง่ายและพืชที่คนอื่นยังปลูกไม่มาก ซึ่งจะเน้นพืชอยู่ 4 ชนิด คือ

มะเดื่อฝรั่ง หรือ Figs ซึ่งผลของมะเดื่อฝรั่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาทิ สร้างภูมิต้านทาน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีกรดอะมิโนที่จำเป็น มีแคลเซียมสูง และที่สำคัญไม่มีโซเดียม ปัจจุบัน มีอยู่ 50 วงบ่อ หลากหลายสายพันธุ์ และกำลังเร่งขยายให้ได้ 100 วงบ่อ เพราะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ราคากิโลกรัมละ 100 บาท หรือผลละ 10 บาท กิ่งตอน กิ่งละ 150 บาท กิ่งตอนลงกระถาง 250 บาท

หม่อนกินผล ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา สร้างภูมิต้านทาน แก้ภูมิแพ้ บำรุงรักษาตับไตพร่อง แก้ข้อเท้าเกร็ง บำรุงผมให้ดกดำ เป็นต้น พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ หรือแม่ลูกดก, ลูกผสมแม่ลูกดกกับบุรีรัมย์ 100 ต้น และสายพันธุ์จากต่างประเทศ เช่น พันธุ์ดำออสตุรกี, แบล็กออสเตรเลีย, หิมาลายันขาว, ไต้หวันสตรอเบอรี่, ขาวเยอรมัน, ขาวยาวปากีสถาน, หม่อนมังกร, เลทคิงส์ ราคาขายผลหม่อน กิโลกรัมละ 100-200 บาท ขายย่อยแพ็กละ 20 บาท กิ่งพันธุ์ (ชำ) 3 ต้น/100 บาท ต้นโตใส่กระถาง ต้นละ 150-700 บาท

ฝรั่ง ได้แก่ พันธุ์ฝรั่งหวานพิรุณ และฝรั่งกิมจู รวมประมาณ 100 ต้น
ไผ่ ได้แก่ ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เบอร์ 2 และ เบอร์ 3 จำนวน 30 กอ และไผ่ตงลืมแล้ง 40 กอ ยังได้ผลิตน้ำไผ่เพื่อสุขภาพขายด้วย
นอกจากนี้ ยังมี น้อยหน่าไร้เมล็ด ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรที่มาเยี่ยมสวนเป็นจำนวนมาก กำลังเร่งขยายพันธุ์เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ มะขามเทศพันธุ์ต่างๆ สะเดาทะวาย หมากเม่า กล้วย มะม่วง และพันธุ์ไม้อื่นๆ ทั้งเป็นพันธุ์จากต่างประเทศ และพันธุ์แปลกๆ ปลูกผสมผสานไว้ในสวน หลังจากได้นำหลักการและแนวคิดเกษตรสวนทางมาใช้ ก็เริ่มมีรายได้เข้าสวนมากขึ้น และมีผู้มาขอเยี่ยมชมสวน ขอความรู้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

คุณมงคล บอกอีกว่า จากอดีตมีปัญหาสุขภาพ ภายหลังจากทำสวน ได้รับประทานผลไม้หลากหลายชนิดในสวนได้ออกกำลังกาย ได้อากาศบริสุทธิ์ ทำให้ขณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ขณะนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรปราดเปรื่องในอำเภอและจังหวัด รวมทั้งได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเกษตรอำเภอ ทำให้มีความรู้มากขึ้น ได้รับการคัดเลือกให้เป็น young smart farmer ของจังหวัดมหาสารคามด้วย

จะเห็นว่าอาชีพการเกษตรนั้นทำไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป หากมีความมุ่งมั่นตั้งใจและศึกษาหาความรู้จากช่องทางต่างๆ ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจสอบถามได้ที่ โทร. (099) 939-6130 Id Line : มงคล@กันทรวิชัย Facebook : สวนเกษตรเพชรมงคล มหาสารคาม

เกษตรกรนิยมปลูกมะละกอเป็นพืชเดี่ยว และปลูกในลักษณะสวนผสมผสาน บนเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย รายละ 5-25 ไร่ เกษตรกรกว่า 60% นิยมปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ รองลงมาคือ พันธุ์แขกนวล 18% พันธุ์ฮอลแลนด์ (ปลักไม้ลาย) 8% และพันธุ์อื่นๆ ซึ่งเป็นมะละกอที่กลายพันธุ์มาจากมะละกอพันธุ์แขกดำเป็นหลัก และพันธุ์ต่างประเทศ เช่น พันธุ์ฮาวาย พันธุ์เรดเลดี้ และพันธุ์พื้นเมืองไทย

การปลูกมะละกอแบบไม่ยกร่อง ช่วงก่อนให้ผลผลิต มีต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 1,123 บาท ต่อไร่ ต่อเดือน เมื่อมะละกอให้ผลผลิตแล้ว จะมีต้นทุนการผลิตประมาณ 990 บาท ต่อไร่ ต่อเดือน แต่ละภาคมีต้นทุนการผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก และภาคใต้มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างพันธุ์ที่ปลูกพบว่า พันธุ์ฮอลแลนด์ (ปลักไม้ลาย) เกษตรกรใช้ต้นทุนสูงกว่าพันธุ์แขกดำ กว่า 50% เพราะราคาต้นพันธุ์สูงกว่า และการดูแลรักษาดีกว่า เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามที่พ่อค้าต้องการ

ส่วนการปลูกมะละกอแบบยกร่อง มีต้นทุนก่อนให้ผลผลิตเกือบ 2,000 บาท ไร่ ต่อเดือน และกว่า 1,700 บาท ต่อไร่ ต่อเดือน หลังให้ผลผลิตแล้ว เมื่อคำนวณออกมาเป็นต้นทุนต่อกิโลกรัมทั้งแบบยกร่องและไม่ยกร่องแล้ว มีต้นทุนไม่เกิน 2 บาท ทั้งนี้ในกรณีที่ผลผลิตไม่เสียหายจากโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน

ด้านตลาดในภาพรวม ราคาจำหน่ายที่เกษตรกรสามารถอยู่ได้ คือ 5 บาท ต่อกิโลกรัม มะละกอฮอลแลนด์ (ปลักไม้ลาย) ผลสุกเป็นพันธุ์ที่ขายได้ราคาสูงที่สุด เฉลี่ยสำหรับคุณภาพดีที่สุด ขายได้ 12.4 บาท กิโลกรัม รองลงมาคือ พันธุ์แขกดำผลสุก คุณภาพดีที่สุด 8.7 บาท ต่อกิโลกรัม สำหรับพันธุ์แขกนวล ซึ่งส่วนใหญ่ขายเป็นผลดิบ และมะละกอผลสุก ส่งโรงงาน 4.2 บาท ต่อกิโลกรัม ราคามะละกอจะปรับตัวสูงประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ช่วงภาวะราคาตกต่ำประมาณเดือนตุลาคม-มกราคม ซึ่งเป็นระยะที่มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก แต่โรงงานแปรรูปไม่รับซื้อ เพราะไม่ใช่ช่วงที่จะผลิตสินค้า ส่วนมะละกอผลดิบ มีราคาปานกลางช่วงต้นปี ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ แต่มีราคาดี ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน และอยู่ในภาวะราคาตกต่ำ ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยทั่วไปเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกมะละกอเพื่อขายตลาดสดมากกว่าป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เพราะไม่มีข้อจำกัดมากนัก โดยมีสัดส่วนการขายผลสุกเข้าโรงงานเพียง 16% ในการปลูกมะละกอสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรต้องการปลูกมะละกอส่งโรงงาน ต้องมีพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ไม่ห่างจากโรงงานเกิน 200 กิโลเมตร มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับปลูกมะละกอได้หลายรุ่น เพื่อเก็บผลผลิตได้มากกว่า 3 ตัน ต่อครั้ง

หากคำนวณความเสี่ยงในการลงทุนปลูกมะละกอ หากพิจารณาจากต้นทุนการผลิต นับได้ว่ามะละกอมีต้นทุนการผลิตต่ำเมื่อเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น และมีโอกาสทำกำไรค่อนข้างสูง หากสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนได้ จุดเด่นประการต่อมาคือ มะละกอปลูกดูแลง่าย ใช้วิธีการหยอดเมล็ดและเพาะกล้าย้ายปลูก โดยปลูกในลักษณะพืชเชิงเดี่ยวหรือปลูกผสมผสานก็ได้ ขายผลผลิตได้ทั้งผลดิบและผลสุก ด้านตลาดโรงงานอุตสาหกรรม ต้องการใช้มะละกอเป็นวัตถุดิบแปรรูปในหลายลักษณะ เช่น อบแห้ง และ Fruit cocktail บรรจุกระป๋อง นอกจากนี้ มะละกอเป็นพืชอายุสั้น จากวันที่เพาะเมล็ดจนถึงเริ่มเก็บเกี่ยว ใช้ระยะเวลาปลูกดูแลเพียงแค่ 9 เดือน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ต่อเนื่องหลายเดือน

จุดเสี่ยงสำคัญของการปลูกมะละกอคือ อ่อนแอต่อโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน เปรียบเหมือน “โรคเอดส์มะละกอ” อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้พันธุ์มะละกอคุณภาพดีและวิธีเขตกรรม นับเป็นทางเลือกที่ช่วยป้องกันได้ โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน เป็นจุดอ่อนที่ไม่สามารถใช้สารเคมีในการควบคุมโรคได้

การควบคุม “เพลี้ยอ่อน” ซึ่งเป็นแมลงพาหะ ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะแปลงปลูกมะละกอของเกษตรกรมักมีขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยไม้ผลหรือพืชอื่นๆ ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัย เพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคเชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปาก แมลง เมื่อเพลี้ยอ่อนย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก เมื่อต้นมะละกอได้รับเชื้อไวรัส ประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคทันที

ที่ผ่านมา เกษตรกรนิยมใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฉีดพ่นที่แปลงปลูกก่อนที่จะปลูกมะละกอ และฉีดสารเคมีป้องกันเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไวรัส และคอยหมั่นตรวจดูเพลี้ยอ่อน เมื่อเจอโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนบนต้นมะละกอเพียงไม่กี่ต้น จะฉีดพ่นสารเคมีประเภทโพลคลอราซ+พิโคลนาโซน+สารโปร-พลัส No.1 เพื่อช่วยให้ต้นมะละกอฟื้นตัวได้

เมืองไทย ปลูกมังคุดแค่พันธุ์เดียว เรียกว่า “ มังคุดพันธุ์พื้นเมือง ” เกิดจากการเพาะเมล็ด เนื่องจากเมล็ดมังคุดไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร จึงไม่มีโอกาสกลายพันธุ์ได้เลย เพราะเกสรตัวผู้ของดอกมังคุดเป็นหมัน เมล็ดจึงเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่โดยไม่ได้รับการผสมเกสร จึงเชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว อย่างไรก็ตามพบว่า มังคุดเมืองนนท์มีผลเล็กและเปลือกบางกว่า มังคุดภาคใต้ที่มีเปลือกหนา แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนพอที่จะแยกเป็นพันธุ์ได้

ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตราด ศรีสะเกษ ฯลฯ คือ แหล่งปลูกมังคุดที่สำคัญของไทย มีผลผลิตทะยอยเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน มังคุดเป็นไม้ผลขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่น ยุโรป แคนาดา จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น ที่สนใจสั่งซื้อมังคุดเนื้อขาวแน่น รสดี สีผิวสดเป็นสายเลือด สีชมพูปนเขียว ไม่มียางเหลืองติดผิว เปลือกไม่แข็งและต้องไม่มีผลติดอยู่ ขนาดของผลต้องสม่ำเสมอ เกรด A 9-10 ผล/กิโลกรัม คู่แข่งขันมังคุดไทยในเวทีตลาดโลก คือ ประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ที่ปลูกมังคุดได้รสชาติอร่อยไม่แพ้กัน

มังคุดระยองฮิ

“ ทุ่งควายกิน “ เป็นหนึ่งในตำบลเก่าแก่ ของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ในอดีตทุ่งควายกิน มีสภาพเป็นทุ่งร้างกลางป่าล้อมรอบ ด้วยสภาพทุ่งนาแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงนิยมนำกระบือมาเลี้ยงในแหล่งนี้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกทุ่งแห่งนี้ว่า “ ทุ่งควายกิน ” มาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลทุ่งควายกิน มีอาชีพปลูกไม้ผลนานาชนิดเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว ผลไม้ที่นี่รสอร่อยถูกปากผู้บริโภคที่มีซื้อขายกันทั่วไปได้แก่ มังคุด เงาะ ทุเรียน สละ และลองกอง ฯลฯ ไม้ผลเหล่านี้ช่วยสร้างงานอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาผลไม้ล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรในตำบลทุ่งควายกินหันมาร่วมพลัง กันจัดตั้ง “ สหกรณ์การเกษตรทุ่งควายกิน ” เมื่อประมาณปี 2551 เพื่อทำหน้าที่วางแผนจัดการผลผลิตและการตลาดอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้สมาชิกผลิตไม้ผลที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานตามที่ตลาดผู้ซื้อต้องการ

สหกรณ์การเกษตรทุ่งควายกิน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับซื้อผลผลิตจากสมาชิก รวมถึงเครือข่ายสหกรณ์ในจังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง เฉลี่ยปีละ 600-800 ตัน ผลผลิตที่รับซื้อจากสมาชิกจะถูกนำไปคัดแยกเกรดก่อนป้อนเข้าสู่ตลาด การจัดการผลผลิตที่เป็นระบบ ทำให้สหกรณ์ฯ สามารถคัดเลือกผลผลิตคุณภาพดี และมีมาตรฐานจีเอพีตามที่ตลาดผู้ซื้อต้องการ ช่วยยกระดับราคาขายสินค้าของกลุ่มสหกรณ์ฯ ให้สูงขึ้นกว่าในอดีต สินค้าผลไม้ของสหกรณ์ จะถูกส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ มียอดขายกว่าปีละ 200 ตัน คู่ค้ารายใหญ่ คือ เวียดนามสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น

มังคุดเป็นไม้ผลที่ต้องการอุณหภูมิสูง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงตลอดช่วงของการเจริญเติบโต ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-6.5 ที่สำคัญคือ พื้นที่ปลูกต้องมีน้ำเพียงพอตลอดในช่วงฤดูแล้ง เพราะต้องมีการกระตุ้น เพื่อชักนำให้เกิดการออกดอก

สิ้นสุดฤดูมังคุด ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้มีสภาพสมบูรณ์ และสะสมอาหารอย่างเต็มที่ก่อนให้ผลผลิตในรุ่นต่อไป เมื่อต้นมังคุดเริ่มแตกยอด ต้องดูแลไม่ให้หนอนแมลงทำลายยอด ช่วงระยะแตกใบอ่อน ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารตัวกลางสูง ๆ เพื่อช่วยให้ต้นมังคุดออกดอกได้อย่างเต็มที่ เมื่อต้นมังคุดเริ่มออกผล ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 บำรุงต้นเพื่อเร่งการพัฒนาเนื้อ และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การเติบโตของผลมังคุดสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะ คือ วัยที่ 1 สีเขียวตองอ่อน วัยที่ 2 ผลมีสายเลือด (เกิดจุดแต้ม หรือประสีม่วงแดง) วัยที่ 3 ผลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลแดงเรื่อๆ วัยที่ 4 ผลมีสีน้ำตาลแดง วัยที่ 5 ผลมีสีม่วงแดง วัยที่ 6 ผลมีสีม่วงเข้ม ช่วงเก็บเกี่ยว ควรใช้ไม้สอยอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ผลมังคุดตกดิน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของมังคุด

โรคแมลงศัตรูพืช

ช่วงที่มีฝนตก ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง การระบายอากาศบริเวณใต้ต้นไม่ดีทำให้มีความชื้นสูง ให้ระวังการระบาดของเพลี้ยไฟทำลายดอกและใบอ่อนในระยะเริ่มออกดอก เนื่องจากมีฝนหลงฤดูทำให้มังคุดมีการแตกใบอ่อนปะปนการออกดอก หรือแตกใบอ่อนอย่างเดียว หรือออกดอกอย่างเดียวในแต่ละต้น และดอกมักมีแผลสีน้ำตาลจากการทำลายของเพลี้ยไฟ ส่วนใบจะแสดงอาการหงิกงอและมีสีน้ำตาล

กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรสำรวจการระบาด หากพบเพลี้ยไฟจำนวน 1 ตัวต่อยอด ให้พ่นสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานสารฆ่าแมลงได้

สำหรับแมลงศัตรูพืชที่พบเข้าทำลายมังคุดในช่วงนี้ คือ หนอนกินใบอ่อน มักพบระบาดในระยะออกดอก โดยหนอนจะกัดกินใบของมังคุดทำให้ได้รับความเสียหาย หากพบหนอนกัดกินใบอ่อนเข้าทำลายประมาณ 20% ของยอด ให้พ่นสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 5 วัน และหนอนชอนใบ มักพบในระยะออกดอกเช่นกัน โดยใบมังคุดจะมีอาการหงิก เมื่อสังเกตใต้ใบจะพบรอยทางยาวเป็นเส้นสีขาว เนื่องจากการทำลายของหนอนชอนใบ หากพบหนอนกัดกินใบอ่อนเข้าทำลายประมาณ 30% ของยอด ให้พ่นสารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 10 วัน

นอกจากนี้ ในช่วงฤดูฝนหรือมีฝนตกหนักในพื้นที่จนมีความชื้นสะสมในดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดจะพบการระบาดมากของโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา มักพบได้ในระยะเริ่มสร้างดอกและหลังการตัดแต่งกิ่งมังคุด โดยจะเกิดแผลจุดสีน้ำตาลบนใบ ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน บริเวณตรงกลางแผลเก่าจะพบจุดแข็งสีดำขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป หากเป็นรุนแรงจะทำให้สูญเสียพื้นที่ใบในการสร้างอาหาร ใบหงิกงอผิดรูป ไม่เจริญเติบโต และเล็กผิดปกติ ใบจะแห้งและร่วงหมด มีส่วนทำให้ผลมังคุดมีผิวไม่เป็นมันเงา เนื่องจากได้รับแสงมากเกินไป มีใบปกคลุมน้อย และยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ เชื้อราสามารถแพร่ระบาดได้ทางลมและน้ำ

โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรามักเกิดในสวนมังคุดที่มีการจัดการไม่ดี ปล่อยให้ต้นมีใบแน่นทึบเกินไป จึงควรทำความสะอาดแปลงโดยการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง โดยเฉพาะใบที่อยู่ด้านล่างๆ ให้มีการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้มีความชื้นสะสมใต้ทรงพุ่มมากเกินไป และเกษตรกรควรหมั่นสำรวจอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเริ่มมีการระบาดมากช่วงแตกใบอ่อน ให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชคาร์เบนดาซิม 50% ดับบลิวพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์ 85% ดับบลิวพี อัตรา 30-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน จำนวน 1-2 ครั้ง

วันนี้ ผมแวะเยี่ยมคุณคงศักดิ์ นาคคุ้ม บ้านเลขที่ 260 หมู่ 5 บ้านนิคม ต.นิเวศ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

คุณคงศักดิ์ จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาช่างโยธาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ แต่มาประสบความสำเร็จในอาชีพภาคการเกษตร ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 547 ต.บางขุนศรี อ.บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

เขาให้การต้อนรับด้วยดีพร้อม ภริยาที่สวนหลังบ้าน ติดกับเรือนเพาะชำ มีพันธุ์พืชนานาชนิด เช่น ฝรั่งพันธุ์กิมจู ไผ่พันธุ์หม่าจู หม่อนกินผล กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง กล้วยหอมทอง ชะอม เป็นการดูแลรักษาแบบเกื้อกูลระหว่าง “พี่ใหญ่กับน้องเล็ก” ถุงกล้วยเพาะชำ วางใต้ต้นกล้วยขนาดใหญ่ ไผ่หม่าจูเพาะชำแบบฝังถุงให้ปากถุงอยู่ระดับดิน ให้น้ำมีความชื้นพอเหมาะ ชะอมชำถุงใหญ่ 1-2 ต้นวางหน้าบ้าน สามารถรับประทานได้ทั้งครัวเรือน

คุณคงศักดิ์ นำมันเทศพันธุ์โอกินาว่า มันเทศญี่ปุ่น สีม่วงที่นึ่งสุกแล้ว มาผ่าออกให้รับประทาน สีม่วงมีสารอาหารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ผมรีบคว้ามารับประมาน เผื่อว่าความแก่จะได้ลดลง

ท่านคงศักดิ์ บอกว่า ใจเย็นๆ ครับ Royal Online ที่นี่จำหน่ายสายพันธุ์ มัดละ 100 ต้น 500 บาท วิธีการปลูกง่ายมาก ยกร่องขนาด กว้าง 70-80 ซ.ม.เป็นหลังเต่าความยาวตามแปลง นำเถาพันธุ์มันเทศโอกินาว่า ที่เกิดรากวางเรียงเอาดินกลบช่วงกลาง เถามันเทศความยาวประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยฟางข้าว ขณะเตรียมดินใส่ปุ๋ยสูตรเสมอหรือ 13-21-21 ประมาณ 100 ก.ก./ไร่ ใน 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์มันเทศโอกินาว่า 12,000 เถา คำนวณง่ายๆเถาละ 1 กิโลกรัม ได้ผลผลิต 1,200 ก.ก./ไร่ แต่ความเป็นจริงได้ 3-4 พันกิโลกรัม

ขายกิโลกรัมละ 40-50 บาท ไร่ละประมาณ 1 แสนบาท ราคาบนห้างหยิบดู 200 บาท/ก.ก. คุญคงศักดิ์ นำเดินไปชมต้นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ระยะปลูก 2×2 เมตร จำนวน 400 ต้น ในแปลงเดียวกันกับการปลูก มันเทศโอกินาว่า 4 เดือนเก็บมันเทศขาย อีก 4 เดือนต่อมา ตัดกล้วยขาย 400 เครือ ขายหน่อกล้วย 35 บาท / หน่อ 3 หน่อ 100 บาท แซมด้วย ฝรั่งพันธุ์กิมจู อีก 600 ต้น 7 เดือน เก็บผลผลิตขาย 30 บาท/ก.ก. ต้นละ 1 ก.ก. ในชุดแรก และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 ก.ก./ต้น

ในขณะเดียวกัน ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 25-30 ต้น ในแปลงเดียวกัน มันเทศพันธุ์ญี่ปุ่น เก็บขาย 4 เดือน เก็บต่อไปอีก 3-4 ปี กล้วย 9 เดือน ตัดเครือขาย ขายหน่อ ตัดเครือ 2-3 รุ่น อ้อพืชเสริมอีกอย่างคือ มะละกอ สุดท้าย อีก4-5 ปี มะพร้าวเจริญเติบโต เป็นพืชหลัก รวมพื้นที่ดิน 4-5 ปี เกิดรายได้ตลอดอย่างเกื้อกูล เกษตรกรทำงานในร่มใต้ในกล้วย ปลูกไผ่รอบสวนเป็นไม้บังลม และทำเป็นไม้กันโยก หลักปักค้ำยันฝรั่ง