หนุ่มเพชรบูรณ์ ปลูก “ไผ่บงหวาน” 1 ไร่ เน้นผลิตต้นพันธุ์ขาย

ฟันรายได้ครึ่งแสนต่อเดือน มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ กับการที่มนุษย์เงินเดือนลาออกจากงานประจำหันมาทำเกษตร พี่เปล่ง หนุ่มหน้ามนคนเพชรบูรณ์ อดีตช่างเทคนิคแผนกซ่อมบํารุงในบริษัทเอกชนหันมาเอาดีด้านการปลูกไผ่ ด้วยเหตุผลที่เริ่มอิ่มตัวกับงานประจำ และอยากมีเวลากับครอบครัวให้มากกว่านี้ จึงเลือกอาชีพเป็นเกษตรกร เป็นอาชีพใหม่ในการสร้างรายได้และเพื่อให้ได้อยู่กับครอบครัวที่ตัวเองรักด้วย

คุณสุดใจ มนตรี หรือ พี่เปล่ง ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์เมืองเพชรบูรณ์ อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 5 บ้านหนองแดง ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ลาออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือน ผันตัวเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ซึ่งหากท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องราวที่พี่เปล่งได้บอกเล่าประสบการณ์การทำเกษตรแล้ว ท่านจะเกิดกำลังใจขึ้นมาอีก เพราะการทำเกษตรไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขอแค่เพียงรู้จักวางแผนและขยันศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นบันไดขั้นแรกสู่ความสำเร็จแล้ว

พี่เปล่ง เล่าว่า การเริ่มต้นเป็นเกษตรกรของตนเริ่มจากการเป็นเกษตรกรวันเสาร์-อาทิตย์ ก่อน เริ่มปลูกไผ่ครั้งแรก ปี’58 โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะออกจากงานด้วยการหาซื้อที่ดินไว้สำหรับทำการเกษตรก่อน อันดับถัดมาจึงเป็นเรื่องของการวางแผนว่าจะทำอะไร ปลูกอะไร สามารถให้ผลผลิตเก็บขายได้ทันทีที่ออกจากงานมาแล้ว จึงเลือกปลูกไผ่เป็นพืชชนิดแรกในการสร้างรายได้ เนื่องจากไผ่เป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว และยังเป็นพืชอเนกประสงค์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งหน่อ ลำต้น และใบ โดยความรู้ทั้งหมดอาศัยศึกษาจากอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ประกอบกับการเข้าไปศึกษาดูงานตามแหล่งศูนย์การเรียนรู้จากหลายๆ ที่ด้วย

“ไผ่บางหวานเพชรชนแดน”
พืชสร้างรายได้หลักของสวน
เจ้าของบอกว่า มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 10 ไร่ แบ่งปลูกไผ่ตงลืมแล้ง 4 ไร่ ไผ่บงหวานเพชรชนแดน 1 ไร่ ไผ่ซางหม่น 1 ไร่ ในอนาคตจะมีการขยายพื้นที่ปลูกจนเต็มพื้นที่ โดยจุดประสงค์ในการปลูกไผ่ครั้งแรกตั้งใจไว้ว่าจะทำเพื่อขายหน่อและขายต้นพันธุ์ ทำไปปีแรกผลปรากฏว่า ถ้าทำทั้ง 2 อย่าง จะเกิดรายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเปลี่ยนแนวคิด เน้นมาปลูกเพื่อขายต้นพันธุ์เพียงอย่างเดียว มีขายหน่อบ้างเล็กน้อยที่หน้าสวน มีไผ่บงหวาน และไผ่ซางหม่น เป็นตัวสร้างรายได้หลัก ด้วยจุดเด่นของไผ่บงหวานที่สามารถกินสดและดิบได้ นำมาตำส้มได้อร่อย มีไซยาไนด์น้อย ผู้ป่วยโรคเก๊าต์สามารถรับประทานได้ ส่วนไผ่ซางหม่นถือเป็นพืชอเนกประสงค์ขายหน่อก็ได้ ทั้งลำต้นยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น และทำโครงสร้างบ้านได้อีกด้วย

วิธีการปลูกดูแลไผ่บงหวานเพชรชนแดน
การเตรียมดิน …เคล็ดลับการปลูกของที่สวนคือ ใช้ถ่านไบโอชาร์ที่เผาเองมาเป็นส่วนผสมในดินปลูก เป็นตัวช่วยเก็บความชื้นและจุลินทรีย์ได้ดีมาก จากนั้นนำมาผสมกับปุ๋ยคอกและดิน ในสัดส่วนถ่านไบโอชาร์ 1 ส่วน ดิน 2 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน แล้วนำมาผสมคลุกเคล้าใส่ลงไปในหลุมปลูก

การปลูก …ขุดหลุมในระยะที่เหมาะสม กว้าง ลึก 30×30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 2×2 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 200 กอ ลงต้นพันธุ์ปลูกไม่ต้องลึกมาก แค่ให้เสมอหลุมจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว

การดูแลรดน้ำ …ระบบน้ำเป็นระบบมินิสปริงเกลอร์ในช่วง 8 เดือนแรก จะให้น้ำทุกเช้า-เย็น นาน 10-30 นาที แล้วแต่สภาพอากาศในตอนนั้น และหลังจากผ่านช่วงระยะฟื้นตัว 8 เดือนแรกไปแล้ว จะลดอัตราการให้น้ำเหลือ 3 วัน รดน้ำ 1 ครั้ง ให้เวลาเดียว หรือให้สังเกตที่กอไผ่ว่ามีความชุ่มชื้นหรือแห้งแค่ไหน ค่อยรดน้ำอีกครั้ง

ปุ๋ย …ให้ทั้งปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก วิธีการคือ ใส่ปุ๋ยหมักพร้อมกับการให้น้ำทุก 3 เดือนครั้ง ส่วนปุ๋ยคอก เฉลี่ยใส่ปีละ 2 ครั้ง ปริมาณการใส่ถ้ากอใหญ่ใส่ 1 กระสอบถุงปุ๋ย บรรจุ 20-25 กิโลกรัม โรยใส่โดยรอบ แต่ถ้าปลูกเพื่อขายหน่อจะต้องใส่ปุ๋ย 3-4 ครั้ง ต่อปี เพื่อบำรุงหน่อ เพราะมีการตัดหน่อออกมาเรื่อยๆ

ข้อแตกต่างระหว่างไผ่ที่เลี้ยงเพื่อขายหน่อ
กับ ไผ่เลี้ยงเพื่อขายต้นพันธุ์
ไผ่ที่ปลูกเพื่อขายหน่อ …1 กอ จะเก็บไว้ไม่เกิน 5 ลำ หมั่นสางกอไม่ให้รก ถ้ารกจะทำให้เกิดศัตรูหนู กระแต กระรอก ที่ชอบมากินไผ่หวาน การดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ น้ำต้องชุ่มชื้นตลอด

ไผ่ที่ปลูกเพื่อขายต้นพันธุ์ …จะปลูกง่าย ลงทุนน้อย และคืนทุนเร็ว การดูแลไม่ต้องสางกอ แต่จะทำบริเวณโดยรอบให้สะอาด 1 กอ สามารถเก็บไว้ได้มาก 15-20 ลำ การดูแลให้น้ำ 2-3 วันครั้ง หรือดูตามสภาพภูมิอากาศ บางครั้งสามารถอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ถึงรดน้ำ 1 ครั้ง

ต้นทุนสำหรับมือใหม่ … ยกตัวอย่าง ต้นทุนการปลูกไผ่บงหวานเริ่มต้นจาก ค่าต้นพันธุ์ ต้นละ 100 บาท ปลูก 1 ไร่ คิดเป็นเงินค่าต้นพันธุ์ 20,000 บาท ค่าปุ๋ยคอก ประมาณ 1,500 บาท ค่าวางระบบน้ำแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่าน รวมแล้วค่าใช้จ่ายลงทุนครั้งแรก เฉลี่ยที่ไร่ละ 35,000-40,000 บาท เป็นเงินลงทุนในปีแรก ส่วนปีต่อๆ ไปจะเสียแค่ค่าน้ำ ค่าปุ๋ย เพียงไม่กี่พันบาท

รายได้… ตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกจนถึงปัจจุบันก็เป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปีแล้ว ยอดขายดีมาโดยตลอด ราคาไม่เคยเปลี่ยน ปีแรกขายต้นละ 100 บาท ปีที่ 5 ก็ยังขายราคาเดิม 100 บาท ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีมากๆ ยอดขายเฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 50,000-100,000 บาท สำหรับผู้ที่สนใจต้นพันธุ์สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ลาซาด้า หรือท่านใดต้องสินค้าจำนวนมาก สามารถเข้ามาซื้อถึงในสวน หรือให้ทางสวนไปส่งถึงที่บ้านก็ได้ คิดค่าน้ำมันตามระยะทางจริง

เริ่มต้นหาตลาดอย่างไร
พี่เปล่ง บอกว่า เริ่มทำการตลาดกลุ่มแรกได้มาจากคนรู้จัก มีคนรู้จักมีพี่มีน้องอยู่ที่ไหนก็ส่งไปให้เขาทดลองปลูกแบบฟรีๆ ถ้าเขาชอบ เขาก็จะไปบอกกันปากต่อปากเอง ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้ลูกค้าจากวิธีนี้มากพอสมควร โดยเฉพาะลูกค้าจากทางภาคใต้และภาคอีสาน สนใจทั้งโทร.ให้ไปส่ง และเข้ามารับเองถึงที่สวน

ตลาดกลุ่มที่สอง เป็นตลาดออนไลน์ในเพจเฟซบุ๊กของสวน หลังจากนั้นมีการพัฒนาขึ้น ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มคนรักเกษตรต่างๆ แล้วก็โพสต์ขายไปเรื่อยๆ และช่วง 2 ปีหลังมานี้ มีการเพิ่มช่องทางการขายผ่านเว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ลาซาด้า เป็นอะไรที่ขายดีมาก ซึ่งเคล็ดลับอยู่ที่

1. ที่สวนจัดส่งสินค้าไว
2. ต้นไม้ที่สวนทุกต้น จะคัดเฉพาะต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุดให้ลูกค้า หรือถ้ามีการเสียหายใดๆ ทางเรายินดีเปลี่ยนต้นใหม่ให้
3. จัดส่งได้คุณภาพ ใส่ใจทุกขั้นตอน ดังนั้น เมื่อสินค้าไปถึงมือลูกค้าสภาพจะยังสมบูรณ์ทุกอย่าง เมื่อทำได้มาตรฐานลูกค้าหลายๆ ท่านที่เคยสั่งสินค้าจากเรา ก็จะให้ดาวของเราอยู่ในเกณฑ์ 5 ดาว เมื่อเวลามีใครสนใจจะซื้อต้นพันธุ์ไผ่ ร้านเราก็จะขึ้นเป็นเจ้าแรกๆ

แนะนำลูกค้าซื้อไปปลูก
อันดับแรกต้องถามก่อนว่า จะปลูกเพื่อจุดประสงค์อะไร ปลูกขาย กินเอง หรือใช้ลำต้น เพราะที่สวนจะมีไผ่หลากหลายสายพันธุ์ให้เลือก ก็จะแนะนำไปตามประเภทที่มี จะไม่มีการเชียร์ขายแต่ต้นพันธุ์แพงๆ แต่จะแนะนำชนิดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของคนปลูก และจะมีการแนะนำวิธีการปลูกแบบคร่าวๆ ให้ หรือถ้าใครอยากได้ความรู้เชิงลึกกว่านี้ก็ยินดีให้คำปรึกษา

ฝากถึงมนุษย์เงินเดือนอยากทำเกษตร
“ถ้ามีเพื่อนที่พอมีความรู้ทางด้านเกษตรให้ลองโทร.ปรึกษาเพื่อนก่อน และต้องวางแผนล่วงหน้าก่อนออกจากงาน ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ เป็นเกษตรกรเสาร์-อาทิตย์ ก่อนก็ได้ แล้วก็ไปปลูกไว้ให้มีผลผลิตและเมื่อผลผลิตออกมาให้เก็บเกี่ยวก็สามารถสร้างรายได้ให้เรา หรือทำให้การดำรงชีวิตเราไม่ต้องพึ่งเงินเดือน เราก็สามารถผันตัวมาเป็นเกษตรกรได้ไม่ยาก” พี่เปล่ง กล่าวทิ้งท้าย

ปีนี้อากาศแปรปรวนอย่างน่าวิตก…ไม้ป่าที่หายากก็ติดเมล็ดเสียมากมาย เหมือนมันตื่นรู้ความผิดปกติของธรรมชาติ…ผู้เขียนมีโอกาสได้เพาะเมล็ดไม้หลากหลายชนิด “เทพทาโร” ก็เป็นไม้หนึ่งที่ได้เพาะ ดั่งต้องมนต์สะกดยามได้กลิ่น กลิ่นที่หอมรัญจวนทำให้ห้องนอนหอมอบอวลไปตลอดทั้งคืน ตื่นเช้ามาต้องรีบนำออกไปเพาะ

หากได้ติดตามอ่าน จะทราบว่า เทพทาโร อยู่ในสกุลอบเชย เป็นพันธุ์ไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ความโดดเด่นของไม้เทพทาโร คือ ความหอม ปัจจุบัน “เทพทาโร” เป็นไม้ 1 ใน 22 ชนิด ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะการนำไปใช้ประโยชน์ที่ไม่ได้ปลูกทดแทนไม้เดิมที่ตัดไป ทำให้เทพทาโรลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วแทบจะสูญพันธุ์

น้อยคนจะทราบว่า เทพทาโร มีกลิ่นหอมหลายกลิ่น “อาจารย์สมบูรณ์ บุญยืน” สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ศึกษาพบว่า ใบ และผล มีกลิ่นต่างกันถึง 4 แบบ ได้แก่ กลิ่นเทพทาโร (รูทเบียร์) กลิ่นตะไคร้ กลิ่นเสม็ดขาว และกลิ่นดอกไม้

นับเป็นความโชคดีที่ท่านได้มอบต้นกล้าที่มีกลิ่นทั้ง 4 กลิ่น ให้ผู้เขียนได้นำมาใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งจะเป็นงานวิจัยที่จะสานต่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์เทพทาโรต่อไป

เหนือกว่าความโชคดีคือ ผู้เขียนมีโอกาสได้เพาะเมล็ดเทพทาโรจาก 3 แหล่ง ที่มีกลิ่นแตกต่างกันถึง 3 กลิ่น โดยเมล็ดจากจังหวัดตรัง มีกลิ่นเทพทาโร (รูทเบียร์) จังหวัดพัทลุง มีกลิ่นตะไคร้ และเมล็ดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกลิ่นดอกไม้ (ผสมเครื่องเทศ)

เทพทาโรถูกแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย (chemotypes) เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่ต่างกัน

กลุ่มที่ใบและผลให้น้ำมันที่มี ซาฟรอล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันแซสซาฟรัส (รูทเบียร์)
กลุ่มที่ใบและผลให้น้ำมัน ที่มีกลิ่นคล้ายตะไคร้ ประกอบด้วยสารสำคัญ ได้แก่ ซิตรอล (citral) มิวยูรอลอล (muurolol) และ ไลโมนีน (limonene)
น้ำมันหอมระเหยจากรากไม้เทพทาโร มีสารซาฟรอล (safrole) เมทิลยูจินอล (methyleugenol) อีลิมิซิน (elemicin) และซีส-ไอโซอีลิมิซิน (cis-isoelemicin) เป็นองค์ประกอบหลักทางเคมี

มีรายงานว่า กลิ่นเทพทาโร (รูทเบียร์) มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคแก้ปวด และแก้อักเสบ ส่วนกลิ่นตะไคร้ ต้านเชื้อรา และไล่แมลงได้ ป้องกันยุง และแมลงกัดต่อย ทำผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำมันนวดสปา ยาหม่อง ส่วนกลิ่นเสม็ดขาว และกลิ่นดอกไม้ผสมเครื่องเทศ ยังไม่ได้ศึกษา

น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก คือ Streptococcus mutans และมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อโรคกลาก ได้แก่ Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum

งานวิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเทพทาโร

ท่านผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์นี้…คงพอจะทราบกันบ้างแล้วว่า ผู้เขียนทำงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชไหนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ก็อดไม่ได้ที่จะนำมาอยู่ในขวด สำหรับเทพทาโรก็เช่นกัน ผู้เขียนได้นำต้นกล้าเทพทาโรที่มีกลิ่นต่างๆ ทั้ง 4 กลิ่น มาทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเช่นกัน

ความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออันดับแรกคือ จะต้องนำชิ้นส่วนของเทพทาโรเข้าไปอยู่ในขวดอาหารสภาพปลอดเชื้อให้ได้เสียก่อน ซึ่งขั้นตอนนี้เราเรียกว่า “การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนพืช” (ที่จะนำไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป)

ณ วันนี้ ผู้เขียนได้ทำขั้นตอนนี้สำเร็จแล้ว ได้ตายอด และตาข้าง (ข้อ) ที่เลี้ยงอยู่บนอาหารสังเคราะห์ในสภาพปลอดเชื้อ โดยใช้ไฮเตอร์หรือสารฟอกขาวที่เราใช้ซักผ้ากันนั่นแหละ เป็นสารฆ่าเชื้อในความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ด้วยระยะเวลาเพียง 12 นาที เท่านั้น เพราะได้ชิ้นเนื้อเยื่อที่สามารถเจริญไปเป็นยอดใหม่จำนวนมาก ถึงแม้จะมีการปนเปื้อนเชื้อ (contamination) ในเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าเดิมก็ตาม

ต่อจากนี้ ก็จะศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการแตกกอ หรือเพิ่มจำนวนให้ได้มากๆ ด้วยสูตรอาหารสังเคราะห์ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน (cytokinin) และทดลองชักนำรากด้วยสูตรอาหารสังเคราะห์ที่มีออกซิน (Auxin) แน่นอนละ เมื่อได้ต้นที่มีรากแล้วคงเอามาปลูกเลยไม่ได้ จะต้องศึกษาวิธีการปรับสภาพต้นกล้า หรือศึกษาการย้ายปลูกเสียก่อน

งานวิจัยการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนหรือการกู้คัพภะ ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Embryo culture หรือ Embryo rescue ผู้เขียนได้ทดลองเพาะต้นกล้า หรือเลี้ยงต้นอ่อนในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำเมล็ดเทพทาโรมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ และเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่เติมฮอร์โมนความเข้มข้นต่ำ ซึ่งก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้เห็นพัฒนาการงอกของเมล็ดเทพทาโร ได้เห็นรากสีชมพูสวยงาม ลำต้นสีเขียวอ่อน และใบเรียวเล็ก ซึ่งหาดูจากสภาพธรรมชาติได้ยากมาก

ในสภาพธรรมชาติเมล็ดเทพทาโรมีอัตราการงอกที่ต่ำมาก ส่วนใหญ่ต้นกล้าที่เกิดขึ้นเกิดจากตาบริเวณราก และโคนต้น จึงเป็นสาเหตุให้ต้นกล้าเทพทาโรมีราคาสูง ถึงแม้จะมีความพยายามที่จะศึกษาวิจัยในเรื่องการขยายต้นกล้าเทพทาโรในสภาพธรรมชาติ แต่ก็ยังสามารถเพาะต้นกล้าได้จำนวนน้อยเช่นเดิม

ผู้เขียนเองยังหาคำตอบไม่ได้ แต่คิดว่าน่าจะเกิดจากสารตัวใดตัวหนึ่งจากเปลือกเมล็ดที่มีผลยับยั้งการงอกของต้นอ่อน (embryo) เป็นแน่ เพราะการเพาะโดยวิธีธรรมชาติโดยเปิดแผลให้น้ำเข้าไปให้ถึงต้นอ่อนยังให้เปอร์เซ็นต์การงอกไม่มากนัก

ท่านใดสนใจกล้าไม้ คงต้องอดใจรอกัน…หากงานวิจัยสำเร็จสามารถเพาะเมล็ดเทพทาโรโดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง หรือสามารถผลิตกล้าไม้จากเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ อีกไม่นานเราคงมีไม้ชั้นดีมาปลูกไว้ในสวน เพื่อสร้างสวนป่า หรือเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ถึงแม้ว่าต้นทุนในการผลิตจะสูงแต่ก็คุ้มค่าในระยะยาว

สมเกียรติ กลั่นกลิ่น ชูจิตร อนันตโชค ทรรศนีย์ พัฒนเสรี มโนชญ์ มาตรพลากร สมบูรณ์ บุญยืน คงศักดิ์ มีแก้ว พรเทพ เหมือนพงษ์. 2552. แผนงานวิจัยและพัฒนาไม้หอมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. 31 น.

เกษม ตั้นสุวรรณ วิภา พลันสังเกต นวลพรรณ ศิรินุพงศ์ พิมพ์พิมล เพ็ญจํารัส และ ปราณี รัตนสุวรรณ, 2550. รายงานวิจัยเรื่อง องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยเทพธาโร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา, 2: 1-18.

อรุณพร อิฐรัตน์ วันทนา เหรียญมงคล เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร วิภา พลันสังเกต บุษกร อุตรภิชาติ สุวรรณี พรหมศิริ เสาวนิตย์ ชอบบุญ

ปราณี รัตนสุวรรณ และ โสภา คํามี. 2550. รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยของต้นเทพธาโร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา, 4: 1-32.

การสร้างแหล่งอาหารที่เริ่มต้นจากคนในครอบครัว เป็นกิจกรรมที่หลายคนหันมาให้ความสนใจ เริ่มจากปลูกพืชผักง่ายๆ ไว้บริโภคภายในครอบครัว หากเหลือก็แบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านและจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้เสริม

คุณแอน พรมศักดิ์ เป็นหนึ่งในบุคคลที่ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับอาหารการกินในครอบครัว ด้วยความที่เธอเป็นแม่ค้าขายอาหาร จึงมีโอกาสไปจับจ่ายซื้อของในตลาดสด โดยเฉพาะพืชผัก ทำให้เห็นเส้นทางของผักแต่ละชนิดที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งปลูกและเจริญเติบโตจากสารเคมี

“เราไปตลาด สิ่งที่เราเห็นทุกวันก็คือ ผักที่เราซื้อมากิน บางครั้งเราเอามาปรุงอาหาร เพราะว่าเราเป็นคนที่ชอบทำอาหารเอง มาปรุงอาหารแล้วมีความรู้สึกว่ากลิ่นของสารเคมีกับพืชผักบางชนิดแรงมาก แรงจนเรารู้สึก ทำไมมันน่ากลัวจัง เราก็เลยเริ่มอยากปลูกผักกินเอง แรกๆ เลย ก็อยากปลูกผักเพื่อดูแลตัวเองและครอบครัว เรียนรู้การทำเกษตรข้างบ้าน

ด้วยแนวคิด “เกษตรวิถีพอเพียง”

จุดเริ่มต้นการหันมาปลูกผักเพื่อบริโภคในครอบครัว เกิดขึ้นในพื้นที่รอบๆ บ้าน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ศึกษาวิธีการปลูก การดูแลตามกำลังและความสามารถที่ทำได้ “เราอยู่หมู่บ้านทาวน์เฮ้าส์ ใช้ชีวิตอยู่มาก็เป็น 10 กว่าปี แล้วเริ่มจากการปลูกต้นอ่อนกินเองเล็กๆ ข้างบ้าน พร้อมกับศึกษาการทำปุ๋ยหมัก เพราะเราจะปลูกผักแบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีเคมีเลย เราก็เลยศึกษาในเรื่องของการทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก แล้วก็ศึกษาในการใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง

แต่พอทำแล้วเราศึกษาไปเรื่อยๆ ยิ่งเราไปในกลุ่มเกษตร คือ ณ สมัยนี้ จากที่ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรเลย พอเราเข้าไปศึกษา เราจะมีเพื่อนกลุ่มวงการเกษตรใจดีเยอะมากมาย หลายคนที่เขาคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือเรา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มปุ๋ยหมัก ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เขาก็ส่งเมล็ดพันธุ์มาให้ สอนการปลูก สอนการหมักดิน แล้วทีนี้เราก็เลยคิดว่า ถ้าเราปลูกกินเองเยอะๆ หลากหลายแล้ว อะไรที่เราจะสามารถปลูกเสริม เพราะเราก็อยากปลูกผักดีๆ ของเราไปให้คนอื่นกินด้วย”

การปรับวิถีชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งเศรษฐกิจภายนอก และหันมาเลือกวิถีชีวิตที่พึ่งตนเอง ได้กลายเป็นเครื่องการันตียืนยันว่าเขาและครอบครัวสามารถสร้างแหล่งอาหารด้วยตัวเอง ที่พร้อมส่งต่อให้กับคนรอบข้าง ด้วยการขยายพื้นที่เพาะปลูกจากข้างบ้านไปยังแปลงเกษตรเล็กๆ ท้ายซอย ด้วยโมเดล โคก หนอง นา

“ก่อนหน้ามาเที่ยวนั่งเล่นอยู่ที่ท้ายซอย ทำให้เรารู้สึกไม่อยากกลับบ้านทาวน์เฮ้าส์ มันร้อน ไม่เหมือนท้ายซอยที่นี่มันโฟลว์ รู้สึกมันผ่อนคลาย มันเหมือนบ้านนอกเรา อีกอย่างพื้นที่ตรงนี้ มันดูสงบ แล้วก็ยังคงความเป็นธรรมชาติของความเป็นบ้านนอกอยู่ แต่ด้วยพื้นที่เป็นที่ค่อนข้างลุ่มต่ำ ฝนตกหนักน้ำก็จะค่อนข้างที่จะท่วมขัง จึงเอาแบ๊คโฮน้อยเข้ามายกร่องน้ำ และศึกษาเรื่องโคก หนอง นา แต่ด้วยพื้นที่เราเล็ก เราไม่สามารถทำได้เหมือนต่างจังหวัด เรื่องของน้ำก็ลำบาก เราก็ต้องพยายามขุดสระล้อมรอบพื้นที่เรา เพื่อจะเก็บกักน้ำโดยการให้มีร่องน้ำรอบบ้าน

ครั้งแรกก็เป็นแปลงปลูกผักลงดินทั่วไป เป็นการยกแปลงขึ้นมาธรรมดาปั้นแปลง หมักดิน เพราะเราตั้งใจจะปลูกผักปลูกหญ้ากินเอง หรือว่าเหลือขายเหลือแบ่งปันอยู่แล้ว แต่เนื่องจากว่าที่นี่ดินมันเหนียว สภาพอากาศในกรุงเทพฯ ร้อนชื้น พอเราปลูกบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำ หรือฝนตก มันทำให้การระบายน้ำที่ไม่ดี แม้เราจะพยายามหมักดินที่ดี เวลาเราเดิน หรืออะไร การบริหารจัดการมันยาก เชื้อโรค เชื้อรา ในพืชในผัก สิ่งที่เราไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้น มันก็เกิด เพราะระบบการป้องกันไม่ดี มันก็เลยทำให้เราพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้มาทำแปลงแบบแคร่ เพื่อที่จะเน้นการระบายอากาศของน้ำให้แปลงมันโฟลว์ ให้ดินมันมีความชุ่มชื้น มีอากาศ

เราพยามซื้อเท่าที่จำเป็นจริงๆ ไม้ไผ่ก็จะเป็นไม้ที่เราตัดมาจากบ้าน ดินก็เป็นดินเดิมที่เอามาหมัก แล้วก็เป็นมูลสัตว์ที่ฟาร์มเจ้าชายสัตว์ให้เรามาใช้ เป็นความใจดีที่เขาให้เรามาใช้ เราก็เลยตัดต้นทุนในเรื่องของการซื้อมูลสัตว์ไปได้

ส่วนระบบน้ำ เราก็เปลี่ยนมาสองสามรอบ สมัคร M8BET แต่สุดท้ายถ้าเราไม่ได้ลองทำก็ไม่รู้ว่ามันผิด ถ้าเราไม่ลองทำเรา ก็ไม่รู้ว่ามันไม่ดีอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราพยายามเอาพื้นฐานเดิมโดยการที่เราไม่ได้ไปซื้อให้สิ้นเปลือง หรือว่าทำทิ้งขว้าง ถ้าอะไรมันผิดพลาด เขาก็แก้ไขปรับปรุง ทำไปแบบนี้ จนมันก็ออกมาอย่างที่เห็นได้

สำหรับสูตรการปลูกผัก ก็ไม่ได้แตกต่างกันไปเลยในแต่ละพื้นที่ พื้นฐานก็จะมีการ หมักดิน หมักปุ๋ยด้วยปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ใบไม้ ใบหญ้า การทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผักเราจะออกมาได้ดี มันอยู่ที่การดูแลใส่ใจ เรามีแต่ความเป็นธรรมดา ความพอเพียง ความที่เราไม่ได้เนรมิตทุกอย่างขึ้นมา ทุกอย่างเราสร้างด้วยพื้นฐานของพื้นที่ ที่เราอยากให้มันเป็นแบบนี้จริงๆ”

“สุขกลางกรุง” สวนเกษตรเล็กๆ

ที่กลายเป็นแหล่งอาหารใจกลางเมือง

ณ ตอนนี้ คุณแอน สร้างแหล่งอาหารด้วยตัวเองได้ มีครบ มีทั้งผัก มีทั้งปลา แต่ทั้งหมดที่เห็นต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคมากมาย แต่ด้วยจุดประสงค์ที่ชัดเจน และไม่ได้เอาความร่ำรวยเป็นตัวชี้วัด อย่างที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงบอกว่า สร้างแหล่งอาหารให้ตัวเองก่อน เหลือกินก็แจก ก็ขาย

“เมื่อก่อนความสัมพันธ์แบบนี้ไม่มีนะ ตอนที่พี่เป็นแม่ค้ามันก็เป็นความฉาบฉวยที่แค่ผ่านมาผ่านไป แต่พอมาอยู่ในวงการเกษตร มันมีทั้งความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อน มีคนส่งของนู้นนี่มาให้ มีคนมาหาเรา มีการพูดคุยได้ ได้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้เยอะ แล้วเราก็ได้คนที่เขารักและก็จริงใจกับเราเยอะมากจริงๆ” ผมเคยเห็นคำว่า สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช สารชนิดนี้กับฮอร์โมนเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร หากเป็นชนิดเดียวกัน เขามีการแบ่งย่อยออกเป็นอย่างไร และแต่ละชนิดมีประโยชน์ หรือโทษ กับต้นไม้อย่างไร ขอความกรุณาให้รายละเอียดด้วยครับ

ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone) เป็นสารที่พืช หรือต้นไม้ผลิตมาเองตามธรรมชาติ ผลิตขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง แล้วเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่างๆ และมีอิทธิพลต่อขบวนการเติบโต การติดดอกออกผล การพัฒนาของผล การสุกแก่ไปจนสิ้นอายุไขของต้นไม้ ส่วนสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (Plant Growth Pegurator) เป็นการสังเคราะห์ขึ้นมาโดยมนุษย์ สารชนิดนี้เป็นสารอินทรีย์ มีสูตรโครงสร้างประกอบด้วย คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) เป็นหลัก โดยมีการจัดแบ่งกลุ่มไว้ 7 กลุ่ม ดังนี้