หมั่นตรวจเช็กพยากรณ์อากาศ เพื่อวางแผนการปลูกที่ดี

ทันต่อความต้องการของตลาด อย่างที่ทราบกันดีว่า การทำเกษตรไม่ใช่แค่ปลูกผักเป็นแล้วจะอยู่รอด นอกจากปลูกแล้วต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายอย่างเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ สภาพอากาศในแต่ละวัน เกษตรกรต้องหมั่นตรวจเช็กพยากรณ์อากาศทุกวัน เพราะผักปลอดสารเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อน มิฉะนั้นสินค้าจะขาดมือ ตัวอย่างเช่น อีก 6 วัน จะต้องตัดแต่หากอากาศหนาวจัดผักไม่โต อาจต้องเลื่อนจากเดิมไป 2-3 วัน เพราะฉะนั้นต้องฟัง และวางแผนเตรียมไว้เลย สมมุติพยากรณ์อากาศบอกว่า อีก 3 วัน จะหนาว ให้เราเพาะพันธุ์เพิ่มไว้เลย ที่นี่ได้โอกาสช่วงนี้ทำให้ได้ลูกค้าหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเยอะมาก

ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนการปลูกไว้ล่วงหน้า การเพาะกล้าต้องแยกประเภท อย่าง กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค สมาชิกต้องการมาก ก็เพาะมากหน่อย ทุกอย่างต้องวางแผนเพาะให้เยอะไว้ก่อน ถ้าของเหลือไม่เป็นไร หาขายที่อื่นได้ ถ้าของขาดก็เครียด เพราะจะทำให้เสียลูกค้าประจำได้เลย

ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูก หลังจากเพาะกล้า 14-21 วัน ในฤดูหนาว ปลูกลงดินเพียง 25 วัน ตัดได้ ถ้าหน้าฝน จะอยู่ที่ 30-35 วัน “การเก็บเกี่ยวดูตามสภาพ บางอย่างต้องเสียสละ เกษตรกรบางรายถ้าผักของเขาอายุและน้ำหนักไม่ถึง เขาจะไม่ตัดเลย แต่บางทีต้องยอม ไม่อย่างงั้นลูกค้าจะไม่มีวัตถุดิบไปทำอาหาร ตัดน้อยตัดมากให้เขามีของขาย เขาก็จะไม่ไปซื้อที่อื่น ถ้าเราทำให้เขาเครียดบ่อยๆ เดี๋ยวเขาก็ไปหาที่อื่น โดยธรรมชาติแม่ค้าจะมีร้านสำรองไว้ 1-2 ร้าน เผื่อพลาดอยู่แล้ว” อาจารย์สงบ กล่าว

ข้อคิดการตลาด ก่อนทำต้องคิดถึง 3 ข้อ

หลักการทำธุรกิจที่อาจารย์สงบยึดถือมาตลอด มีอยู่ 3 ข้อ

ของที่ทำต้องมีคุณภาพ
ต้องทำให้ได้ปริมาณเชิงธุรกิจ หมายความว่า มีมากพอที่จะขายซัปพอร์ทในตลาด
ต้องทำผลผลิตให้ออกทุกวันเพื่อความต่อเนื่อง แล้วจะให้ออกทุกวันได้อย่างไร ต้องมีการวางแผนการผลิต ใครสั่งของมาต้องมีให้ เพราะฉะนั้นถ้าคุมสิ่งเหล่านี้ได้ปัญหาเรื่องการตลาดจะน้อยลง คู่ค้าทุกคนต้องการความเชื่อมั่น สั่งมาเรามีของให้เขา คุณภาพดี ถ้าเป็นอย่างนี้เราจะคุมตลาดได้ทั้งหมด

คำนวณหักลบค่าใช้จ่าย ต้องมีรายได้เท่าไร เหลือเท่าไร จึงจะอยู่รอด

อาจารย์สงบ ให้ใช้หลักคิดง่ายๆ ว่า เรามีพื้นที่ประมาณสิบกว่าไร่ วันหนึ่งต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า วันละ 10,000 บาท เพราะค่าแรงงาน วันหนึ่ง 6,000 บาท ค่าไฟ ให้คิดไว้เลย เดือนละ 10,000 บาท รวมกับค่าปัจจัยการผลิต ปุ๋ย ยา เพราะฉะนั้นคิดคำนวณแล้วหากจะให้อยู่รอดต้องมีรายได้ใน 1 เดือน ไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท ถ้าทำขายได้วันละ 20,000 บาท ถือว่าดี แต่จะทำให้ได้ขนาดนี้คือต้องเหนื่อยมากๆ

รู้ประโยชน์ของผลผลิตตัวเองรอบด้าน คือ การตลาดที่ดีที่สุด

“ต้องบอกว่า โชคดีที่เรามีตลาดรองรับมาก่อน จึงไม่ต้องกังวลว่าจะไปขายให้ใคร ทุกวันนี้ตลาดของผมคือ ร้านอาหาร ตลาดท้องถิ่น ศูนย์โอท็อป พุแค จังหวัดสระบุรี ศูนย์โอท็อปพุแค ถือว่าเป็นต้นแบบโอท็อปของประเทศไทยเลย มีกระบวนจัดการสินค้าที่ดี รวมถึงส่งตามงานอีเว้นท์ที่กรุงเทพฯ ด้วย การตลาดที่ดีไม่ใช่แค่ขายผลผลิตให้ลูกค้าอย่างเดียว แต่เราต้องมีความรู้ในสินค้าของเราและแนะนำให้ลูกค้านำไปต่อยอดได้ อย่างเช่น ที่ร้านอาหารแถบอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นลูกค้าที่มาทานไม่ใช่คนพื้นที่ เราก็นึกพยายามป้อนความคิดที่ว่า ลูกค้าของคุณไม่ใช่คนพื้นที่ การที่จะเอาผักกาดหอมมาจัดจาน มันก็ดูธรรมดาเกินไป เราก็เสนอทำไมไม่ใช้ผักสลัดกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค มาจัดแทนให้ดูดี และสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น ซึ่งพอเราพูดไปแบบนี้หลายร้านก็เปลี่ยนตามเรา เพราะเขามองเห็นภาพที่เราแนะนำ” อาจารย์สงบ เล่า

และบอกอีกว่า “เพราะฉะนั้นเราจะทำอะไรก็ตาม เราไม่ได้ทำเพื่อขายอย่างเดียว เราต้องศึกษาด้วย พยายามเรียนรู้ อย่างเบบี้คอส ไม่ใช่ทานเป็นผักสลัดอย่างเดียว แต่เอาไปผัดน้ำมันแทนผักกาดได้ อร่อย กรอบ เราแนะนำไปหลายร้านก็เปลี่ยนมาทำ ต้นอ่อนเราก็มาคิดว่าทำอะไรได้อีก ต้มจืด ส้มตำ ยำ ใส่ไข่เจียว เราต้องหามานำเสนอเขา มันก็ทำให้ของเราขายได้เพิ่มไปด้วย”

แนะนำมือใหม่ ปลูกเป็นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีความมุ่งมั่นด้วย

อาจารย์สงบ บอกว่า ปลูกผักสลัดไม่ยาก แต่ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า

รักในอาชีพเกษตรกรรมไหม
ต้องดูว่า ปลูกแล้วขายให้ใคร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เพราะกลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องการไม่เหมือนกัน บางกลุ่มต้องการคุณภาพ บางกลุ่มต้องการปริมาณ เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่า ชอบไหม ทำได้ไหม มีคนช่วยหรือเปล่า ไม่ใช่ทำแล้วมีปัญหาจะหวังพึ่งน้ำบ่อหน้าไม่ได้

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ตระหนักถึงความสำคัญในการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตยาง และผลักดันให้มีการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้การแปรรูปยางให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง สามารถสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตของตนเองได้

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้แปรรูปยางประเภทต่างๆ เช่น การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม เทคโนโลยียางแห้งเบื้องต้น การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยวิธีจุ่ม การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟองเพื่อผลิตของชำร่วย การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟอง การแปรรูปยางรัดของจากยางแห้ง การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางแห้งโดยการอัดเบ้าพิมพ์ การทำเบ้าปูนปลาสเตอร์และการทำตุ๊กตายาง หน้ากากยาง การผลิตหมอนยางพารา ฯลฯ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 02-940-7391 อีเมล raot307@gmail.com หรือ การยางแห่งประเทศไทย ทุกสาขา

งานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 ที่จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13-19 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ ได้นำเสนอนิทรรศการ “นวัตกรรมยางพารา สร้างมูลค่าเพิ่ม” ครอบคลุมตั้งแต่ “ต้นน้ำ” – เน้นการผลิตวัตถุดิบคุณภาพดี และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ “กลางน้ำ” – ส่งเสริมการแปรรูปยางขั้นต้น “ปลายน้ำ” – เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และนิทรรศการ “เกษตรกรรมใหม่ ทดแทนการปลูกยาง” เช่น การทำสวนผลไม้ (ลิ้นจี่ ทุเรียน กล้วย) การเลี้ยงแพะในสวนยาง การปลูกพืชสมุนไพรและเลี้ยงไก่งวงในสวนยาง

หนึ่งในมุมนิทรรศการที่น่าสนใจคือ “สระน้ำยางพารา” ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเลือกสำหรับแปรรูปยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม คุณไอศูรย์ แสนคำ ผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ (ผอ.กยท.จังหวัดบึงกาฬ) เปิดเผยว่า กยท.จังหวัดบึงกาฬ ได้นำเสนอแนวคิดการจัดสร้าง “สระน้ำหรือบ่อน้ำเคลือบยางพารา” เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของการสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬ

“สระน้ำหรือบ่อน้ำเคลือบยางพารา” มีคุณสมบัติที่โดดเด่น สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตรและทำการประมงได้ มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี ไม่ต้องใช้เงินทุนมากนัก สำหรับสระน้ำหรือบ่อน้ำเคลือบยางพารา ที่มีขนาด 4×2 เมตร มีต้นทุนการผลิตเพียงแค่ 4,500 บาท เท่านั้น สามารถโยกย้ายบ่อน้ำเคลือบยางพาราไปได้ทุกพื้นที่ที่ต้องการ หากสระน้ำหรือบ่อน้ำเคลือบยางพาราชำรุด สามารถนำน้ำยางพารามาซ่อมแซมก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ

บ่อน้ำเคลือบยางพารา ทำได้ง่าย มีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก เริ่มจากจัดเตรียมน้ำยางคอมปาวด์ บ่มทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 24 ชั่วโมง ตัดเย็บผ้าด้ายดิบให้เป็นรูปทรงสระน้ำหรือบ่อตามที่ต้องการ หลังจากนั้นนำน้ำยางคอมปาวด์ทาบนผ้าด้ายดิบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นจึงค่อยนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬ โทรศัพท์ 042-492-194

สำหรับบ่อน้ำเคลือบยางพารา ที่ กยท.จังหวัดบึงกาฬ นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นผลงานของ บริษัท สยามพาราเซ็นเตอร์ จำกัด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 086-732-2678, 085-033-4678 ที่ใช้เทคโนโลยีเคลือบสระน้ำ บ่อน้ำด้วยสูตรน้ำยางธรรมชาติ (น้ำยางคอมปาวด์) เพื่อป้องกันน้ำซึมลงสู่ผิวดินหรือกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ สามารถใช้ได้กับสระน้ำหรือบ่อน้ำทุกประเภท ทั้งภาคเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อน้ำอเนกประสงค์

บริษัท สยามพาราเซ็นเตอร์ จำกัด เป็นผู้ผลิตน้ำยางพารากรีน (น้ำยางคอมปาวด์) ได้ให้คำแนะนำสำหรับเกษตรกรที่ต้องการผลิตสระหรือบ่อยางพาราด้วยตัวเองว่า ต้องเตรียมพื้นที่ให้เรียบ พื้นบ่อต้องไม่มีสิ่งแหลมคมเช่น รากไม้ หิน ขอบปากบ่อดินต้องแน่นและต้องทำร่องกันน้ำเซาะบ่อ ห่างจากปากบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร ความลึกของบ่อสามารถทำได้หลายระดับตามความสะดวกของพื้นที่ แต่ไม่ควรลึกน้อยกว่า 50 เซนติเมตร ในบ่อและด้านข้างของบ่อต้องเรียบ

การทำขอบบ่อสามารถทำได้หลายวิธี เช่น กรณีที่ขุดบ่อได้ตามขนาดของบ่อสำเร็จรูปที่มีความลึก 80 เซนติเมตร ให้ตรึงชายผ้าลงไปในดินโดยใช้เหล็กเสียบกับผ้าให้แนบกับดินให้เรียบร้อย กรณีที่ไม่สามารถขุดได้ลึก แนะนำให้ทำราวเพื่อยึดบ่อให้ตรึงโดยวิธีเจาะตาไก่และใช้เชือกร้อยตามรูของตาไก่

ขั้นตอนการทำสระหรือบ่อน้ำเคลือบยางพารา เกษตรกรควรเตรียมแผ่นผ้าด้ายดิบให้เท่ากับพื้นที่ที่ต้องการปู สำหรับ พื้นที่ 1 ตารางเมตร จะใช้น้ำยางคอมปาวด์ 1 กิโลกรัม การปูสระยาง ต้องทำสองชั้น ทั้งผ้าและน้ำยางเพื่อความคงทน จากนั้นนำน้ำยางพาราเคลือบลงไปบนผืนผ้าให้น้ำยางซึมผ่านลงบนผืนผ้าและปล่อยให้แห้งก่อน จึงค่อยทำชั้นที่สองต่อไป เสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้น้ำยางแห้งสนิทได้ดีจึงค่อยปล่อยน้ำลงไป

คุณไอศูรย์ แสนคำ ผอ.กยท.จังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 840,000 ไร่ เปิดกรีดแล้ว 770,000 ไร่ กยท.จังหวัดบึงกาฬ ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน (พอย.) กิจกรรมส่งเสริมการลดพื้นที่ปลูกยาง โดยตัดโค่นสวนยางเดิมและการส่งเสริมให้ผู้ปลูกยางพาราปรับเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมใหม่ เช่น การเลี้ยงสัตว์ หรือการปลูกพืชผัก ผลไม้ โดยมีเป้าหมายลดพื้นที่สวนยางที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน แต่ต่ำกว่า 25 ปี จำนวน 150,000 ไร่ ทั่วประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาราคายางตกต่ำ และช่วยเพิ่มรายได้รวมไปถึงสร้างทางเลือกในอาชีพ เพื่อความยั่งยืนให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง มีเกษตรกรชาวสวนยางพาราบึงกาฬสนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 4,500 ราย เนื้อที่ 6,900 ไร่

เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการเป็นเกษตรกรฯ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. และมีสวนยางตั้งอยู่บนที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ถือครองพื้นที่สวนยางอยู่ไม่เกิน 50 ไร่ โดยจะได้รับเงินทุนอุดหนุน ไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ ต่อราย โดย กยท.จังหวัดบึงกาฬ มอบทุนอุดหนุนให้เกษตรกรฯ นำไปพัฒนาอาชีพการเกษตรอื่นๆ โดยจ่ายงวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท หลังจากเกษตรกรโค่นต้นยางแล้ว จ่ายงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ

ดูเหมือนว่า ถั่วงอก จะเป็นผักที่ใกล้ตัวคนมากที่สุด เนื่องจากรับประทานกับอาหารได้หลายชนิด ซึ่งถั่วงอกทั่วไป จะมีต้นขาว อวบ อ้วน

แต่ที่นำมาเสนอในคราวนี้ เป็นถั่วงอกต้นเขียวออร์แกนิก ที่จับกลุ่มคนรักสุขภาพ คุณทัศนีย์ เที่ยงนิล เจ้าของไอเดียถั่วงอกต้นเขียว ใช้พื้นที่เล็กๆ ราว 12 ตารางเมตร หลังบ้าน ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ เป็นสถานที่เพาะ คุณทัศนีย์ มีแนวคิดว่า ถั่วงอกที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ มีการใช้สารเคมีมาก จึงคิดเพาะถั่วงอกปลอดสาร หรือ ออร์แกนิก เพื่อตอบโจทย์ สำหรับผู้รักสุขภาพ

“เริ่มต้นคือ เป็นคนชอบทานผักใบเขียว ผักทุกชนิด ก็เลยมีความคิดว่า ทำไม ไม่ปลูกผักทานเอง ก็ไปเจอคลิปการปลูกผักในอินเตอร์เน็ต จึงทดลองปลูก กระทั่งมาต่อยอดเป็นถั่วงอกต้นเขียวอย่างนี้” คุณทัศนีย์ เล่าให้ฟัง

ถั่วงอกต้นเขียว ใช้เวลาเพาะในที่มืด 3 วัน และให้มาเจอแสงรำไรอีก 6 ชั่วโมง ก็จะได้ ถั่วงอกต้นยาว ที่มีใบเล็กๆ ออกมา คุณทัศนีย์ บอกว่า ใช้เงินลงทุนไปราว 3 พันบาทเท่านั้น สำหรับค่าวัสดุอุปกรณ์ และโรงเพาะง่ายๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำเองไม่ต้องจ้าง

เริ่มตั้งแต่ วัสดุสำหรับเพาะ เป็นกระสอบป่าน ตัดให้พอดีกับตะกร้า แล้วเย็บริม

ตะกร้าสำหรับเพาะ และชามใส่อาหารสุนัข นำมาเจาะรู สำหรับให้น้ำต้นถั่วงอก เป็นการลดความแรงของน้ำ

ส่วนถังใส่น้ำ มีตัวจับเวลา สำหรับให้น้ำถั่วงอก ทุกๆ 3 ชั่วโมง ครั้งละ 1 นาที

การเพาะถั่วงอก เริ่มจาก ล้างเมล็ดถั่วเขียว ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน แล้วแช่ด้วยน้ำอุ่น 6-8 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง แล้วนำมาวางบนวัสดุเพาะ ซึ่งก็คือ กระสอบป่านตัดเย็บริม ถั่วงอกต้องได้น้ำทุก 3 ชั่วโมง ครั้งละ 1 นาที เป็นเวลา 3 วัน ที่สำคัญ ต้องไม่ให้ถูกแสง โดยมีถุงดำครอบ

จากนั้นนำมารับแสงแดด เป็นเวลา 6 ชั่วโมง

เมื่อได้อายุแล้ว นำมาตัดปลายรากทิ้ง แพ็กใส่กล่องขาย ถึงมือผู้บริโภค ในราคา กล่องละ 25 บาท

คุณทัศนีย์ มีกำลังการผลิตทุกๆ สองวัน วันละ 50 กล่อง เนื่องจากเป็นสินค้าใหม่ที่ผู้บริโภคยังไม่คุ้นเคยนัก จึงมีปัญหาด้านการตลาดพอสมควร

“ตอนแรกหาตลาดยาก เพราะว่าคนไทยยังไม่รู้จักถั่วงอกตัวนี้ เขาจะชินต้นขาวอวบ ตอนแรกไปเสนอพ่อค้า เขาบอกว่าผักตัวนี้ราคาสูง จะรับซื้อได้ราคาเท่านั้น เท่านี้ เราก็ยังไม่ท้อนะ ก็เลยไปหาตลาดโมเดิร์นเทรด แต่ก็มีการหักเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจหาตลาดเอง” คุณทัศนีย์ เล่า และอีกช่องทางการตลาดหนึ่ง ก็โฆษณาผ่านทางเฟซบุ๊ก ซึ่งก็จะได้ลูกค้าอีกกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งเลยทีเดียว

ใครที่สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 85/1193 หมู่บ้านวิเศษสุขนคร ซ.18/23 แทบจะไม่น่าเชื่อว่าพืชที่อยู่ในตระกูลเฟินอย่าง “ผักกูด”จะสามารถนำมาปรุงอาหารรับประทานได้ด้วยการนำยอดอ่อน ช่ออ่อน มาทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ และที่ดูน่าอัศจรรย์ไปกว่านั้นคือ ยังมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ความดันโลหิตสูง

โดยธรรมชาติของผักกูดที่มีลักษณะเหมือนเฟินคือชอบขึ้นอยู่ที่ริมน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง มีใบเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ขณะที่ใบยังอ่อนปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย ตรงส่วนยอดอ่อน คือส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร มีสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัดทำให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่

นอกจากนั้น ยังเป็นผักที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสภาวะแวดล้อม กล่าวคือ บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นใหม่เด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กในตัวสูง ดังนั้น เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์มากมายดังที่กล่าวข้างต้น

ปัจจุบัน ความนิยมรับประทานผักกูดยังมีอยู่ในวงจำกัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผักชนิดนี้จะเจริญเติบโตดีและสมบูรณ์เฉพาะบริเวณที่ชื้นริมน้ำ อีกทั้งแหล่งปลูกควรเป็นดินทรายถึง 70 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงด้านการขนส่งที่จะต้องเก็บความชื้นอย่างดีเพื่อให้ผักมีสภาพสมบูรณ์สด ใหม่ เมื่อถึงมือลูกค้า ฉะนั้น น้อยคนนักที่จะรู้จักและเคยรับประทานผักชนิดนี้เหมือนเช่นผักอื่น จึงทำให้มักไม่ค่อยพบตามตลาดทั่วไป

อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะริมแม่น้ำเพชรบุรีเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ชาวบ้านหันมายึดอาชีพปลูกผักกูดจำหน่าย อาจเป็นเพราะความที่อยู่ใกล้แม่น้ำเพชรบุรีแล้วยังมีคุณสมบัติของดินที่เหมาะสม จึงทำให้สามารถปลูกผักกูดได้เป็นอย่างดี

อย่างกรณีของสามี-ภรรยาคู่นี้ คือ คุณพูนผล ศรีสุขแก้ว และคุณธนพร (ภรรยา) อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 6 ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 081-433-8310 อดีตเคยปลูกมะนาวสร้างรายได้ จนเวลาต่อมาเส้นทางการปลูกมะนาวดูจะไม่ราบรื่น เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทั้งสองไม่อาจแบกรับภาระเหล่านั้นได้อีกต่อไป จนต้องเปลี่ยนมาเริ่มชีวิตเกษตรกรรมใหม่ด้วยการปลูกผักกูด

คุณพูนผล ผู้เป็นสามีบอกว่า ความจริงตอนแรกปลูกมะนาวเป็นรายได้ ต่อมาภายหลังมีปัญหาการปลูกหลายอย่างทั้งต้นทุน ค่าแรง และโรค จึงเลิกปลูกมะนาวแล้วไม่นานพบว่าเพื่อนบ้านมีการปลูกผักกูดกันเลยโค่นมะนาวแล้วหันมาปลูกผักกูดเป็นรายได้หลัก

“เริ่มมาทำเกษตรด้วยการปลูกมะนาว ช่วงแรกถือเป็นไม้ผลที่สร้างรายได้ดี พอต่อมาจำนวนคนปลูกมากขึ้น การแข่งขันสูง ต้นทุนค่าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตลอด ค่าแรงเพิ่ม การใช้ปุ๋ยเคมีต้องเพิ่มตามจึงมีผลทำให้ดินเสีย ที่สำคัญสุขภาพไม่ปลอดภัย แล้วพอนำไปขายมีกำไรเล็กน้อย ไม่คุ้ม ทำไม่ไหว”

คุณธนพร บอกถึงความเป็นมาที่นำมาสู่การปลูกผักกูดเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้เมื่อ 7 ปีก่อนว่า เธอและครอบครัวชอบรับประทานผักกูด เวลาต้องการบริโภคจะต้องไปหาซื้อตามตลาด ต่อมาเห็นว่าถ้าปลูกเองแทนการซื้อจะประหยัดค่าใช้จ่าย จึงตั้งใจปลูกผักชนิดนี้ไว้เพื่อรับประทานในครัวเรือน

“เห็นว่าเพื่อนบ้านปลูกกันไม่ยาก เลยหามาปลูกไว้ โดยเรียนรู้วิธีการปลูกและการดูแลจากเพื่อนบ้านที่ปลูกแล้วประสบความสำเร็จมาก่อน พอนานไปผักกูดมีการแตกพันธุ์ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วทำให้กินไม่ทันเลยเก็บไปขายตามร้านอาหาร และตลาดนัด”

เธอบอกว่า สมัคร GClub สมัยก่อนมีชาวบ้านไปเก็บผักชนิดนี้ที่ขึ้นตามริมน้ำแล้วนำไปขายที่ตลาดสด ราคากำละ 5 บาท เป็นพันธุ์ดั้งเดิมที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีชื่อพันธุ์ ภายหลังที่คุณพูนผลได้พาเดินชมแปลงปลูกผักกูดเขาเล่าว่าได้ช่วยกับภรรยาปลูกผักกูดในพื้นที่ 5 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ พร้อมกับปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ เงาะโรงเรียน,ทุเรียน,กล้วยเล็บมือนาง และปาล์มน้ำมัน จำนวน 300 กว่าต้น ซึ่งปาล์มที่ปลูกมีสองรุ่น รุ่นแรกมีอายุปีกว่า อีกรุ่นได้ 6 เดือน เขาบอกว่าคงต้องรออีกสัก 2 ปี จึงจะมีรายได้จากปาล์ม ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าราคาดีแค่ไหน

“กล้วยเล็บมือนาง ไม่ได้มีประโยชน์แค่การบังร่มเงาให้แก่ผักกูดเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้โดยนำผลผลิตไปขาย กิโลกรัมละ 8-10 บาท ถึงแม้ราคาขายดูจะไม่มากนัก แต่ยังถือว่านำไปเป็นค่าน้ำได้

เงาะโรงเรียนปลูกไว้ ประมาณ 30 ต้น เมื่อก่อนคิดว่าจะปลูกเงาะเป็นหลัก แต่ภายหลังเปลี่ยนใจเลยโค่นไปหลายต้น ทั้งนี้ เนื่องจากรายได้จากเงาะมีเพียงปีละครั้งเท่านั้น ส่วนการเก็บผักกูดขายมีรายได้ทุกวัน” คุณพูนผล บอก

จากการลองชิมเงาะโรงเรียนพบว่า มีเปลือกบาง และรสชาติหวานใช้ได้ แต่น่าสังเกตว่าขนาดจะไม่ใหญ่ เนื่องจากเป็นการปลูกไปตามธรรมชาติ

“เมื่อมาทำผักกูดกลับพบว่า ไม่มีความยุ่งยากเหมือนการปลูกมะนาวเลย ตั้งแต่เริ่มทำแปลงก็ไม่ต้องปรับดินมากนัก เพียงแค่ถากถางหญ้าและวัชพืชอื่นออกให้หมดก่อนแล้วจึงนำต้นมาปลูก พอปลูกจำนวนตามที่ต้องการแล้วจากนั้นได้นำกล้วยเล็บมือนางมาลงเป็นแถวแนว แต่ไม่แน่นมากเพื่อให้ใบกล้วยบังแสงให้แก่ต้นผักกูดบ้าง” เจ้าของสวนให้รายละเอียดเพิ่ม

ด้านการดูแลบำรุงรักษาคุณธนพร บอกว่า เนื่องจากมีการปลูกผักกูดจำนวนมาก จึงมีการใช้ปุ๋ยยูเรียเดือนละครั้ง ครั้งละหนึ่งกระสอบ (50 กิโลกรัม) นอกจากนั้น ยังใช้ปุ๋ยหมักจากขี้ไก่ ขี้วัว จะใส่ครั้งละ 10 กว่าตัน โดยเทใส่ในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อให้พืชชนิดอื่นได้ประโยชน์ด้วย ใช้วิธีหว่านแล้วพ่นน้ำตาม

“เนื่องจากเป็นผักที่ต้องใช้ยอดขาย ดังนั้น ถ้าช่วงใดที่ยอดแตกช้าจะเน้นใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ยอดแตกออกมา พอเวลา 7 วัน ให้หลังยอดจะแตกออกมาทันที”

ส่วนเคมีเธอเปิดเผยว่า อาจต้องใช้บ้างกรณีที่จำเป็นเพื่อป้องกันเชื้อราหรือป้องกันแมลงและหนอน เช่น ไตรโคเดอร์ม่า ใช้กันเชื้อราขี้ไก่ตามรากและบิวเวอเรีย แต่ทั้งนี้ยาที่ใช้เป็นการทำเองตามแนวทางการแนะนำของเกษตรอำเภอ