หมากภาคตะวันออก ลูกใหญ่กลม สวย เนื้อมากสต๊อกแต่ละปี

คุณณรงค์สิชณ์ เล่าว่า หมากภาคตะวันออกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน ลักษณะลูกใหญ่กลม สวย เนื้อมาก เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้ราคาดี ต่างจากหมากจากภาคอีสาน หรือหมากอินโดนีเซียลูกเล็กกว่าและออกสีดำๆ ราคาจะต่ำกว่า 10-15 บาทต่อกิโลกรัม หมากภาคอีสานจะลูกเล็กกว่าราคาต่ำกว่า 5-10 บาท พ่อค้าที่รับซื้อบางรายนำมาผสมปะปนกัน การทำหมากแห้งนั้นต้องเน้นคุณภาพให้แห้ง 100% ปลอดภัยไม่มีมอด ใช้เครื่องคัดขนาด 3 ไซซ์ เล็ก กลาง ใหญ่ ให้ตรงกับความต้องการของพ่อค้า

ซึ่ง ลูกชาย “ดวงดี” ลูกสาว “น้องหนิง” ช่วยดูแลกัน ทำเพจ เฟซบุ๊ก เพื่อทำการตลาดในโซเชียล ทั้งรับซื้อและขายให้พ่อค้าส่งออกและพ่อค้าต่างประเทศ มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ให้เห็นกระบวนการทำหมากแห้งคุณภาพ 100% การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับพ่อค้าต่างชาติให้รู้จักและติดต่อกลับมา ได้ผลดีมีพ่อค้าต่างประเทศจะติดต่อขอเข้ามาดูสินค้า เสนอราคาก่อนมีออเดอร์ ปีนี้ตลาดมีความต้องการสูงทำให้ราคาตลาดดีมาตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ และน่าจะราคาดีขึ้นเมื่อถึงฤดูกาลเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ตอนนี้ราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท สูงกว่าปีที่แล้วราคา 35-40 บาท และราคาเฉลี่ยทั้งปี 60 บาท คาดว่าปีนี้น่าจะถึง 70 บาท เพราะมีการขายหมากสด หมากเขียวกันมาก ปริมาณหมากแห้งน่าจะน้อยกว่าปีก่อน

“การรับซื้อหมากแห้งมีทั้งหมากรายวันซื้อมาขายไป กับรับซื้อสต๊อกเก็บไว้แต่ต้องไม่สต๊อกข้ามปีเพราะจะมีมอดกิน มีพ่อค้าที่ติดต่อซื้อขาย 8-10 ราย ส่วนใหญ่ออเดอร์คนละ 4-10 ตัน ประมาณ 2 หรือ 4 สัปดาห์ครั้ง สต๊อกที่มีอยู่จะขายหมุนไปหมดทุกปี ปีที่แล้วสต๊อก 60-80 ตัน บางปีถึง 100 ตัน ดังนั้น ต้องใช้เงินหมุนเวียนแต่ละปีประมาณ 5 ล้านบาท” คุณณรงค์สิชณ์ กล่าว

เกษตรกรปลูกเพิ่มแซมผลไม้สร้างรายได้

คุณณรงค์สิชณ์ กล่าวว่า หมากในภาคตะวันออกเป็นพันธุ์พื้นบ้าน ต้นสูง 10-15 เมตร ผลผลิตปริมาณน้อยเพราะส่วนใหญ่ปลูกพืชแซมเป็นผลพลอยได้ น่าส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ตอนนี้เกษตรกรสนใจปลูกเพิ่มขึ้น มีการขายพันธุ์การเก็บลูกจากต้นพันธุ์ดีๆ ขายลูกละ 1.50-2 บาท และเพาะกล้าพันธุ์ชำต้น ต้นละ 10-15 บาท ขายเฉพาะต้นพันธุ์ 5 บาท ตอนนี้ทางเวียดนาม กัมพูชา เริ่มนำไปปลูกกัน และมีพ่อค้าเวียดนามมาซื้อหมากดิบและหมากสุกไปแกะเปลือกขาย

ด้าน คุณดวงพร เวชสิทธิ์ เกษตรกร อำเภอคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปลูกหมาก 3,000 ต้น แซมในสวนมังคุดพื้นที่ 30 ไร่ ทยอยปลูกเรื่อยๆ 3 รุ่นเพราะเห็นว่าราคาดีและไม่ต้องดูแลมาก รุ่นที่ 1 ให้ผลผลิตไปแล้วเมื่อ 2 ปีแล้ว และรุ่นที่ 2 จะให้ผลผลิตปีนี้ และที่เหลือ 1,500 ต้น อีกประมาณ 2 ปีจะให้ผล รุ่นแรกๆ ไม่ได้คัดเลือกพันธุ์เพราะไม่มีความรู้ รุ่นหลังๆ เลือกพันธุ์ลูกใหญ่เนื้อเยอะ 3 พันธุ์ คือ หมากเวียดนาม (ลูกเขียว) พันธุ์พื้นบ้านหรือตูดแตก และพันธุ์ 5 ดาว ส่วนหมากเตี้ยไม่นิยมกันเพราะลูกไม่ดก

ช่วง 6 เดือนหมากจะทยอยออกตัดขายได้ 3 ช่วง คือ ช่วงแรกเดือนมกราคม-มีนาคม ตัดหมากเขียวหรือหมากเวียดนามที่ส่งออกรับประทานผลสด ส่วนใหญ่ส่งไต้หวัน ช่วงที่ 2 เดือนที่ 3-4 มีนาคม-เมษายนหมากเหนียวหรือเขียวหน้าเต็มเนื้อแข็ง และช่วงที่ 3 เดือนที่ 5-6 พฤษภาคม-มิถุนายนหมากแดงหรือหมากสุก ช่วงปี 2563-2564 ราคาหมากแดงหรือหมากสุกดีมาก กิโลกรัมละ 4-5 บาท ปี 2564 ขึ้นมา 9-10 บาท เคยสูงถึง 20 บาท ราคาหมากเหนียว หมากแดงจะราคาใกล้เคียงกัน สลับราคาสูงบ้างต่ำกว่ากันบ้าง หมากเวียดนามราคากิโลกรัมละ 70 บาท และมีบางช่วงเพิ่มขึ้นสูงสุด 80 บาท และที่สวนขายหมากสุกทั้งหมดกิโลกรัมละ 8-10 บาท เพราะไม่มีแรงงานทำหมากแห้ง

“ภาคตะวันออกมีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น มีความเหมาะสมปลูกหมาก แต่ยังปลูกกันน้อยเมื่อเทียบกับภาคใต้ ควรส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเพิ่มพื้นที่การปลูก ให้ความรู้การทำคุณภาพ การพัฒนาสายพันธุ์ เพิ่มผลผลิต และส่งเสริมให้มีการลงทุนใช้นวัตกรรมเพื่อแปรรูปหมากสดเป็นหมากแห้งลดขั้นตอนและระยะเวลา ซึ่งภาคตะวันออกมีช่วงฝนตกยาวนาน 7-8 เดือน” คุณอุดมพร กล่าว

เห็นอย่างนี้แล้ว “หมาก” คือพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ภาครัฐและเกษตรกรน่าจะกลับมามองและพัฒนาเพิ่มมูลค่ามากกว่าเพิ่มปริมาณเพียงอย่างเดียว ทำหมากแห้ง 100%

คุณณรงค์สิชณ์ เล่าว่า หมากที่รับซื้อมี 2 ประเภท คือ หมากสุกและหมากแห้ง

ซึ่งหมากแห้งมี 2 อย่าง คือ หมากรายวันคือซื้อมาขายไปในแต่ละวัน ไม่ต้องเก็บไว้ในสต๊อก และหมากแห้งที่ต้องเก็บไว้ในสต๊อก ต้องทำหมากแห้งคุณภาพ 100% ถ้าหมากสุกต้องนำตากแดดเป็นหมากแห้งก่อน วิธีการทำมี 6-7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การตากแดด นำหมากสุกที่รับซื้อมาเป็นลูกๆ ไปตากแดดไว้ 1 เดือนให้หมากแห้ง สังเกตได้จากการเขย่าลูก ฟังให้มีเสียงเม็ดหมากคลอน

2. การแกะเปลือกออก เพื่อนำเม็ดไปตากแดดต่ออีก 10 วัน เป็นหมากแห้ง ซึ่งตั้งแต่ขั้นตอนที่ 3 เป็นต้นไป หมากแห้งที่รับซื้อมาต้องทำเหมือนกัน

3. การอบแห้ง ใช้เตาอบ อบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซียลเซียส 2 รอบ รอบละ 3 ชั่วโมง รอบแรกพลิกกลับโดยถ่ายเตาอบอีกเตา 1 วันจะอบได้ชุดเดียวน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน

4. การคัดไซซ์โดยเครื่องคัดเป็น 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ตามความต้องการของตลาด

5. การคัดคุณภาพด้วยมืออีกครั้ง เพื่อแยกระดับคุณภาพ 3 เกรด คือ เกรด A คุณภาพดีเยี่ยม หมากลาย หมากเสีย และ

6. การบรรจุกระสอบ กระสอบละ 52 กิโลกรัม เตรียมส่งขายให้พ่อค้าตามออเดอร์ หรือเทกองเก็บไว้ในสต๊อก “หมากแห้งขั้นตอนทำจะน้อยกว่าหมากสุกๆ เมื่อนำทำหมากแห้งน้ำหนักจะหายไป 60% หมากแห้งน้ำหนักหายไป 20% ถ้าเป็นหมากรายวันซื้อมาขายไปน้ำหนักจะไม่สูญเสียแต่ต้องคัดเกรดให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีหมากลาย หมากเสีย ส่วนใหญ่ลูกค้าที่เป็นชาวบ้านมักแกะเปลือกตากแห้งมาเสร็จเพราะใช้เวลาว่างทำอยู่กับบ้านได้ เป็นรายได้ที่ดี เพราะหมากปลูกแล้วไม่ต้องดูแลมาก” คุณณรงค์สิชณ์ กล่าว

นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอเชียงม่วน นายวรฤทธิ์ ตั๋นเต็ม เกษตรอำเภอดอกคำใต้ รักษาราชการแทนหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่แปลงปลูกฝรั่งของ นายคำนู บัวแดง เกษตรกรเจ้าของแปลงเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประเภทไม้ผล ทั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในการปลูกฝรั่งพันธุ์กิมจู เมื่อเร็วๆ นี้

ลิ้นจี่ นพ.1 หรือ ลิ้นจี่ พันธุ์นครพนม 1 เป็นสายพันธุ์ที่เกิดการกลายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนนครพนม มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญเติบโต ออกดอกติดผลสม่ำเสมอทุกปี ผลลิ้นจี่ นพ.1 จะมีลักษณะที่ค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อด้านในสีขาว ไม่แฉะ รสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน รสชาติดี อร่อย นิยมรับประทานผลสด หรือแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายใน นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังช่วยลดอาการกระหายน้ำได้ และหากนำเนื้อลิ้นจี่มาตากแห้งแล้วต้มกินเป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการปวดโรคไส้เลื่อนหรือลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจาง

คุณรัศมี อุทาวงศ์ อายุ 53 ปี อาศัยอยู่ที่สวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี จังหวัดนครพนม ปัจจุบัน คุณรัศมีประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกลิ้นจี่ นพ.1 จำนวน 30 ไร่

คุณรัศมี เล่าว่า ตนเองมีความชื่นชอบและหลงใหลในการทำเกษตรมาตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องด้วยต้องไปช่วยคุณพ่อทำงานในสวนอยู่บ่อยๆ คุณรัศมีเกิดในครอบครัวเกษตรกร ที่ทำการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ หลากหลายชนิด ด้วยความเคยชินจากการทำสวน ก็ทำให้ตนเองสามารถเข้าใจวิธีและขั้นตอนในการทำการเกษตรจากคุณพ่ออย่างไม่รู้ตัว

เมื่อคุณรัศมีเรียนจบ ก็กลับมาสานต่ออาชีพเกษตรจากคุณพ่อในวัย 20 ปี แต่การเกษตรที่คุณรัศมีชื่นชอบมากที่สุดคือ การเพาะปลูกลิ้นจี่ เพราะคุณพ่อปลูกลิ้นจี่มาเป็นระยะเวลานานและสามารถทำกำไรได้ดี และการได้รู้การทำเกษตรตั้งแต่วัยเด็กทำให้คุณรัศมีมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้ดี

ปัจจุบัน คุณรัศมีปลูกลิ้นจี่ นพ.1 จำนวน 30 ไร่ มีสวนชื่อว่า สวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี และสวนของคุณรัศมียังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร หน่วยงานรัฐ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในลิ้นจี่ นพ.1 ข้อดีของลิ้นจี่ นพ.1 ที่โดดเด่นกว่าสายพันธุ์อื่นคือ มีรสชาติดี หวานอมเปรี้ยว เนื้อแห้ง ไม่แฉะ คุณรัศมี กล่าวว่า ลิ้นจี่ นพ.1 เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ราคาดีมาตลอด

คุณรัศมี กล่าวว่า การปลูกลิ้นจี่ให้ได้ผลผลิตที่ดีควรปลูกในพื้นที่อากาศเย็น แต่อากาศที่ทำให้ลิ้นจี่ออกผลผลิตได้ดีที่สุดคือ 18 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส หากมีสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้ลิ้นจี่ไม่สามารถออกผลได้ ในการปลูกลิ้นจี่ของทางสวนจะปลูกกล้วยแซมเพื่อใบกล้วยจะเป็นร่มเงาให้กับต้นลิ้นจี่ เพราะหากต้นลิ้นจี่ที่โดนแสงแดดจัดๆ ทำให้ไม่ติดผล

คุณรัศมีอธิบายถึงขั้นตอนในการเพาะปลูกลิ้นจี่ นพ.1 เริ่มจากการเตรียมดิน ไถพรวนเพื่อปรับดินให้มีความเสมอกัน โดยดินต้องมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถระบายน้ำได้ดี เพราะความชื้นที่มากในดินจะส่งผลให้ลิ้นจี่เจริญเติบโตช้า ขนาดหลุมปลูก กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินของพื้นที่นั้นๆ

ก้นหลุมใส่ปุ๋ยคอก ก่อนนำต้นกล้าลงหลุม เพื่อปุ๋ยคอกจะเป็นอาหารเสริมให้กับต้นกล้า จากนั้นควรมีไม้ค้ำเพื่อไม่ให้กิ่ง ลำต้น ต้นกล้าลิ้นจี่ เกิดหักหรือเสียหายได้ จากนั้นในช่วงการเพาะปลูกแรก ต้นอาจยังไม่แข็งแรงมาก ทางสวนจะรดน้ำโดยสปริงเกลอร์ในช่วงที่ต้นยังเล็ก 3-4 วัน 1 ครั้ง และจะหยุดรดน้ำในฤดูฝน

ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นการเข้าสู่ฤดูฝน ต้นลิ้นจี่จะแตกใบอ่อน ทางสวนจะใส่ปุ๋ยคอกอีกครั้งที่โคนต้นให้ช่วงปลายฤดูฝน โดยใช้สูตร 13-13-24 เพื่อไม่ให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อนเพิ่ม เพราะหลังจากนี้สิ่งที่ต้องการคือการออกดอกของลิ้นจี่

เมื่อฤดูฝนผ่านไปก็เข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ในช่วงนี้จะเป็นการแตกตาดอก จำเป็นต้องทำความสะอาดโคนต้น ไม่ให้มีใบไม้หรือน้ำขังที่บริเวณโคนต้นเพื่อป้องกันเพลี้ย โดยในช่วงฤดูหนาวจะต้องคอยรดน้ำอยู่สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้หน้าดินแห้ง ในดินควรชุ่มชื้นอยู่เสมอ

ระยะต่อมาเมื่อติดดอกแล้ว ต้องคอยสังเกตว่าช่อดอกยาวแล้วหรือยัง หากช่อดอกยาวแล้ว ต้องระมัดระวังในการรดน้ำแบบฉีดพ่นที่อาจจะโดนช่อดอก เพราะอาจทำให้ดอกร่วงได้ ในระยะที่ช่อดอกยาวแล้วก็ยังคงให้ทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาความชื้นในดิน เมื่อระยะช่อดอกบานมาถึง จะต้องหยุดรดน้ำเพื่อเป็นการรักษาช่อดอกที่บานไม่ให้หลุด

และทางสวนก็จะนำผึ้งมาเลี้ยงในช่วงระยะดอกบาน เพื่อให้ผึ้งได้ทำการผสมเกสร จากอีกต้นไปสู่อีกต้น ถือเป็นการผสมเกสรด้วยวิธีธรรมชาติที่ได้ผลดีเป็นอย่างมาก เมื่อดอกเริ่มมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ จะกลับมาให้น้ำอีกครั้ง พร้อมกับให้อาหารเสริมสูตร 15-15-15 เพื่อช่วยให้ผลลิ้นจี่มีขนาดที่ใหญ่ และใส่ปูนขาวที่โคนต้นเพื่อป้องกันเชื้อราและไม่ให้ผิวลิ้นจี่แตก

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ การให้น้ำก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามขนาดผล เช่น ให้น้ำ 1 วัน เว้น 2 วัน โดยรดน้ำให้เปียกชุ่ม เพราะเมื่อลิ้นจี่เริ่มติดลูกแล้ว จะต้องการน้ำและสารอาหารมากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตที่ดี ทางสวนจะให้สารอาหารในการฉีดพ่นเพิ่ม โดยใช้แคลเซียมโบรอน พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร และลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ยังช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง

เมื่อลิ้นจี่เข้าสู่ช่วงที่ใกล้เก็บผลผลิตได้แล้ว นอกจากการรดน้ำสม่ำเสมอเพื่อรักษาความชื้นในดินแล้ว จะให้สารอาหารเพิ่มสูตร 13-13-21, 0-0-60 เพื่อเพิ่มความหวานให้กับผล และในช่วงที่ผลออกอาจพบเจอกับโรคแมลงที่มากัดกินผลได้บ้างอย่างแมลงวันทอง ทางสวนมีวิธีจัดการกับแมลงวันทองโดยการทำกับดักล่อให้แมลงวันทองลงไปในขวด โดยมีต้นกะเพราแดงที่มีกลิ่นหอมล่อแมลงวันทองให้ลงไปในขวดน้ำ แทนที่จะมากัดกินผลผลิต โดยนำกับดักนี้แขวนไว้ที่ต้นลิ้นจี่

ลิ้นจี่จะสามารถให้ผลผลิตได้เมื่ออายุ 2-3 ปี ผลผลิตจะค่อยๆ ออกผลทีละรุ่นเพื่อรอการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้ง และต้นลิ้นจี่ยังถือเป็นพืชอายุยืน หากดูแลอย่างดีก็สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนเมษายนของทุกปี ทำให้จำหน่ายได้ในราคาดี และไม่มีปัญหาด้านการตลาด เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและนอกประเทศ

คุณรัศมี กล่าวว่า ลิ้นจี่ นพ.1 สวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี ยินดีต้อนรับทุกท่านที่สนใจลิ้นจี่ สายพันธุ์ นพ.1 สามารถตอบได้ทุกคำถาม ทุกปัญหา จากประสบการณ์จริง ปลูกยังไงให้ได้ผลผลิตดี คงคุณภาพ แหล่งเรียนรู้สวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี มีคำตอบให้กับทุกท่านที่ให้ความสนใจ ลิ้นจี่ นพ.1

สำหรับท่านใดที่สนใจ ผลผลิตลิ้นจี่ นพ.1 แท้ กิ่งพันธุ์ลิ้นจี่ นพ.1 แท้ สามารถติดต่อคุณรัศมี อุทาวงศ์ อายุ 53 ปี เจ้าของสวนลิ้นจี่ อุทัยรัศมี จังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 081-320-1645, 090-840-8451 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก ลิ้นจี่นพ.1นครพนม

“แรกๆ ก็เคยลองผิดลองถูกมาโดยตลอด ว่าการทำสวนส้มเขียวหวาน ทำอย่างไรจึงจะให้ได้ผลผลิตตลอดทุกปีแล้วก็ทุกฤดูกาล พอทำได้แล้ว… ทำอย่างไร จะทำให้ลดต้นทุน พอทำได้แล้ว… ทำอย่างไร ถึงจะหลุดพ้นสารเคมี แล้วจะเอาอะไรมาทดแทนสารเคมี พอเราทำได้ทุกคำพูดจึงบอกต่อแนะนำผู้อื่น แนวคิดนี้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง จากผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนี้ ก็คิดได้และทำได้ แค่นี้อาจจะมีคนเห็นด้วย และมีคนเห็นต่างจากแนวคิดของเรา”

คำกล่าวอันเฉียบคมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเป็นขั้นเป็นตอน จากการตั้งใจทำงาน จริงใจ ในการสร้างจิตสำนึกผลิตส้มเขียวหวานที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคของ คุณสมทรง อุตมา สาวแพร่คนเก่ง

คุณสมทรง อุตมา อายุ 49 ปี ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 135/1 หมู่ที่ 4 บ้านวังลึก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โทร. 093-045-9021 สามี คุณมีชัย อุตมา มีลูกชาย 2 คน คนที่ 1 น้องจักรพงษ์ อุตมา จะเป็นคนที่รับไม้ต่อการทำเกษตรของครอบครัว มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำเกษตร ได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกอบรมด้านการเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 ปี เพื่อฝึกงานฟาร์ม หาประสบการณ์ด้านการเกษตร การบริหารจัดการฟาร์มและการตลาด ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ร่วมกับสมาคมแลกเปลี่ยนยุวเกษตรนานาชาติ หรือ JAEC (The Japan Agricultural Exchange Council) ส่วนลูกคนที่ 2 ไปทำงานที่ต่างจังหวัด

คุณสมทรง มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานทั้งหมด 14 ไร่ ลงมือปลูกมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 แรกเริ่มเดิมทีเป็นสวนส้มเขียวหวานที่เป็นแปลงปลูกแบบธรรมชาติ 3 ปี ต่อมาต้องการผลผลิตมากๆ เหมือนคนอื่นเขา หันมาใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช/โรค/แมลง พบปัญหาต้นส้มเขียวหวานมีอาการรากเน่า ต้นโทรม ใบเหลือง ต้องปลูกทดแทนไปเรื่อยๆ และที่สำคัญคนในครอบครัวมีปัญหาด้านสุขภาพ

มีเหตุต้องหันหลังให้กับสารเคมี คุณสมทรง เผยเบื้องหลังว่า เหตุจากสุขภาพของสามีต้องไปรักษาตัว เพราะตรวจพบสารพิษ คาดว่าน่าจะมาจากการฉีดพ่นสารเคมีในสวนส้มเขียวหวาน รวมทั้งสายตาก็มีปัญหา ต้องรักษาตัวอยู่นาน ตนเองจึงพยายามแสวงหาวิธีการอื่นๆ มาทดแทนการใช้สารเคมี ก็ไปประชุม อบรมอยู่บ่อยๆ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปเข้าอบรมร่วมกับกลุ่ม Smart Farmer จัดโดย ส.ป.ก. เขาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ การผลิต และใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง การตลาดทันยุคผ่านการใช้สื่อออนไลน์ การทำเกษตรให้สุขใจ

เมื่อได้รับหัวเชื้อราบิวเวอเรีย ไตรโครเดอร์ม่า และเชื้อบีที นำมาทดลองผลิตขยายเชื้อ ผลิตน้ำหมักชีวภาพ และสมุนไพร นำไปฉีดพ่นร่วมกับน้ำส้มควันไม้ในสวนส้มเขียวหวานเป็นระยะๆ 10 วันบ้าง 15 วันบ้าง แล้วทิ้งช่วงระยะเวลาห่างเพื่อเฝ้าดูการระบาดของศัตรูต้นส้มเขียวหวานว่ามีหรือไม่ ใช้เวลาปฏิบัติการดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2 ปี ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นหักดิบงดใช้เด็ดขาด หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลหมู ซึ่งพบว่าประหยัดต้นทุนไปได้มากทีเดียว

แสวงหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำเกษตรอินทรีย์ “เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปสุขภาพของสามีดีขึ้น เมื่อห่างไกลสารเคมี ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของสามี เพราะฉีดพ่นสารเคมีอยู่บ่อยๆ” คำปรารภของคุณสมทรง

คุณสมทรง บอกว่า ก็พยายามศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ ทาง ส.ป.ก. ชวนไปเข้าร่วมกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็ชวนลูกชายไปด้วย ไปฟังซิว่าเขาจะพูดเรื่องอะไร ในเวทีเขาเรียกกันว่า กลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน

“แรกๆ ก็ไม่รู้หรอก…มันคืออะไร สมัครคาสิโน UFABET เรียกสั้นๆ เกษตรอินทรีย์ PGS ตามที่เราเข้าใจ ได้แต่ฟังเขาเล่าประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดการทำเกษตรด้วยวิธีโน่น นั่น นี่ พอฟังๆ ไปแล้ว มันน่าจะเป็นคำตอบของการทำส้มเขียวหวานอินทรีย์ของเรา” คุณสมทรงกล่าว แล้วก็ได้รับเชิญให้ร่วมกลุ่ม เพราะมีเป้าหมายก็เพื่อต้องการแสวงหาความรู้การทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว ก็เลยเข้าร่วมกลุ่มกับเขามาจนถึงปัจจุบัน คุณสมทรง ย้ำว่า วิธีการที่ตนเองทำกับสวนส้มเขียวหวานที่พูดคุยกันในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ตนเองก็ทำมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ได้สรุปว่านั่นเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ แล้วก็ไม่มีอะไรมารองรับหรือรับประกัน “ถ้าเราฟังอย่างเดียว ไม่ลงมือทำ ไม่ใส่ใจ ไม่ดูแล ไม่ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการ ก็ไม่สำเร็จ”

คุณสมทรง บอกว่า ก็พยายามพัฒนา ปรับปรุงเพื่อให้เข้ากันกับหลักเกณฑ์ของกลุ่ม แต่เมื่อนำระบบ PGS มาใช้ระยะหนึ่งก็จะมีผู้มาติดตามประเมิน มาตรวจแปลง แบบไม่แจ้งให้รู้ล่วงหน้า

คุณสมทรง ได้พัฒนาปรับปรุงสวนส้มเขียวหวานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ PGS ในหลายๆ เรื่อง และเกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจ เมื่อหันมาใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ พบว่าต้นส้มเขียวหวานได้กลับฟื้นคืนความงดงาม เติบโต เชื้อโรคต่างๆ อันไม่พึงประสงค์ของต้นส้มเขียวหวานหายไป เช่น เชื้อรา ใบซีดเหลืองจนต้นโทรม ยางไหลจากลำต้นหายไป จนไม่พบหนอนเจาะลำต้นอีก ใบส้มกลับกลายเขียวขึ้นดูงาม ต้นที่มีอายุมากแล้ว ก็ยังให้ผลผลิตที่ดี ผลดกจนต้องปลิดผลทิ้งไปบ้าง ดูสภาพดินอุดมสมบูรณ์ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อรากของต้นส้ม

“ผลผลิตที่ออกขายสู่ตลาด คนซื้อส้มก็ถูกใจ ยอมรับผลผลิต แม้ผิวส้มจะไม่สวยมากนัก แต่ไม่มีใครต่อรองราคา เพราะบอกเขาตรงๆ ว่าไม่ได้ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี มิได้หลอกลวงเขา ใช้ความจริงใจ มีใบรับรองให้ดู แต่ที่สำคัญครอบครัวมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น มีความสุข หายใจได้เต็มปอด กินส้มในสวนได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องระแวงเหมือนเมื่อครั้งที่ใช้สารเคมี”

วิธีการปฏิบัติดูแลภายในแปลงส้มเขียวหวาน ด้วยความสุขใจคุณสมทรง สาวแพร่ทำเกษตร สาธยายให้ฟังว่า หากวันใดไม่มีภารกิจนอกบ้านก็จะต้องเข้าไปดูแลสวนส้มเขียวหวาน