หลงรักยิ้ม Cool Isan วิถีถิ่น สู่วิถีเทรนด์เมืองน้ำดำ” หรือ “กาฬสินธุ์

เสน่ห์เมืองรองที่ไม่ควรหลงลืม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรอง ดันวิถีถิ่น สู่วิถีเทรนด์ แตะมือฝรั่งหัวใจไทย “แดเนียล เฟรเซอร์” พิธีกรรายการวาไรตี้ “หลงรักยิ้ม” สร้างสรรค์แคมเปญสุดชิค “หลงรักยิ้ม Cool Isan” จัดทริปสัมผัสความครีเอทแห่งภูมิปัญญา #creativeKALASIN พร้อมด้วยดาราหนุ่ม “เจมส์ กิจเกษม แมคแฟดเดน” ร่วมด้วยคณะบล็อกเกอร์ และสื่อมวลชน ร่วมเดินทาง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. สนับสนุน รายการหลงรักยิ้ม จัดทริปท่องเที่ยวเปิดมุมมองใหม่ในสไตล์เท่ๆ นำทีมโดยฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” กอดคอมาพร้อมดาราหนุ่มชาวกาฬสินธุ์ “เจมส์ กิจเกษม แมคแฟดเดน” พร้อมด้วยคณะบล็อกเกอร์ และสื่อมวลชน ร่วมเดินทางสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวเดิมในมุมใหม่ด้านใหม่ สไตล์ Cool เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ดันวิถีถิ่นเมืองรอง ขึ้นสู่วิถีเทรนด์

โดยเส้นทางท่องเที่ยวอีสานแซ่บนัว เริ่มต้นทริปแรกที่ จ.กาฬสินธุ์ สัมผัสความอลังการของ “ปราสาทรวงข้าว” ที่วัดเศวตวันวนาราม ศิลปะแห่งความศรัทธา ตัวปราสาททำจากรวงข้าว สร้างเพื่อประกอบพิธีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลานสักการะ “พระธาตุยาคู” ที่ถูกแต่งแต้มไปด้วยสีสันของ “ตุง” ในงานประจำปีสุดยิ่งใหญ่ “มาฆปูรมี ทวารวดีมิ่งหล้า เมืองฟ้าแดดสงยาง”, “สัมผัสวิถีผู้ไท” หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่ง อ.กุฉินารายณ์ เปิดประสบการณ์ใหม่ใช้ชีวิตแซ่บแบบอีสานแท้ ชม “ผ้าไหมแพรวา” ผ้าไหมทอมือสุดประณีต สวมใส่เป็นหนุ่มสาวผู้ไทไปแชะรูป ย่าน “ถนนผ้าขาว” Cool ไม่ใช่เล่น จิบกาแฟดับกระหายที่ “Café De Supak” คาเฟ่ตึกโค้งสูงโค้งมนใจกลางเมือง ผสมผสานระหว่างร้านกาแฟ และโรงแรมได้อย่างลงตัว ตบท้ายด้วย “พิพิธภัณฑ์สิรินธร” กาฬสินธุ์ถิ่นไดโนเสาร์ อ.สหัสขันธ์ แหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย

สัมผัสความม่วนอีหลี หลงใหลไปกับเสน่ห์สุดเท่สไตล์กาฬสินธุ์ ในรายการหลงรักยิ้ม ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.30 น. ทาง ช่อง 28 (3SD) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ได้จัดงานเทศกาลผลไม้นานาพันธุ์ มหัศจรรย์มะม่วงส่งออกขึ้น ในระหว่าง วันที่ 20-24 มีนาคม 2561 ภายในงานได้มีการประกวดและจัดจำหน่ายผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะมะม่วง และมะปราง ที่กำลังออกผลผลิตในช่วงนี้ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลผลิตของผลไม้ต่างๆ ให้เกษตรกรมีรายได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ซึ่งในพื้นที่ อ.เนินมะปราง ในขณะนี้มีเกษตรกรได้ปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองมากกว่า 8,000 ไร่ แต่ละปีสามารถทำเงินเข้าอำเภอมากกว่า 2 พันล้านบาท

นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และที่ปรึกษาสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย กล่าวว่า ตลาดมะม่วงปีนี้ราคาไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ราคามะม่วงน้ำดอกไม้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 15-18 บาท ขณะที่ปีที่ผ่านมาในช่วงเดียวกัน ราคาอยู่ที่ 30-40 บาท สาเหตุมาจากมะม่วงออกผลผลิตพร้อมกันทั้งประเทศ เป็นผลจากสภาพอากาศที่แปรปรวน อากาศหนาวในช่วงต้นปี ทำให้มะม่วงออกช่อเร็วกว่าปกติ และผลผลิตออกมากกว่าปกติ อีกทั้งพ่อค้าคนกลางมากว้านซื้อผลผลิตที่ยังไม่ได้คุณภาพเต็มที่ ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียง จึงทำให้ราคาตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม อำเภอเนินมะปราง ได้จัดงานเทศกาลผลไม้นานาพันธุ์มหัศจรรย์มะม่วงส่งออก ขึ้น ได้ส่งผลดีทำให้ผู้ประกอบการปลูกมะม่วงของอำเภอเนินมะปราง จำนวน 2,815 ราย เนื้อที่ปลูก 88,719 ไร่ ได้มีพื้นที่จำหน่าย กระตุ้นตลาดให้คึกคัก ประชาชนมีรายได้จากการนำสินค้ามาจำหน่ายและยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว คาดว่าภายในงานเกษตรกรมีรายได้จากการขายประมาณ 100 ล้านบาท แต่หากเป็นภาพรวมทั้งปีเกษตรกรอำเภอเนินมะปรางสามารถสร้างรายได้เข้าอำเภอจากการขายมะม่วงมากกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท

นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)กล่าวว่า คาดการณ์การใช้น้ำมันและก๊าซในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ในกลุ่มเบนซินคาดว่าจะมียอดการใช้ 30.8 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็นการขยายตัว 4.7% โดยแบ่งเป็นน้ำมันเบนซินที่คาดว่าจะมียอดใช้ 1.2 ล้านลิตรต่อวัน หดตัว 8.7% แก๊สโซฮอล์ 91 คาดว่าจะมียอดใช้ 10.6 ล้านลิตรต่อวัน หดตัว 1.7% แก๊สโซฮอล์ 95 คาดว่าจะมียอดใช้ 12.5 ล้านลิตรต่อวัน ขยายตัว 9.3% อี20 คาดว่าจะมียอดใช้ 5.4 ล้านลิตรต่อวัน ขยายตัว 9.1% อี85 คาดว่าจะมียอดใช้ 1.1 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็นการขยายตัว 14% ขณะที่น้ำมันดีเซลมีการใช้อยู่ที่ 66.6 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) คาดว่าจะมียอดใช้ 17.3 ล้านกิโลกรัม(กก.)ต่อวัน ขยายตัว 6.3% และก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(เอ็นจีวี) คาดว่าจะมียอดใช้ประมาณ 6.7 ล้านกก.ต่อวันหดตัว 5.8%

“คาดยอดใช้น้ำมันเบนซินครึ่งปีแรกจะเฉลี่ย 31 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนครึ่งปีหลังอาจจะอยู่ที่ 30 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนดีเซลครึ่งปีแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 68 ล้านลิตรต่อวัน ครึ่งปีหลังอยู่ที่ 65 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นยอดใช้น้ำมันโดยรมทั้งปีอาจเติบโตเล็กน้อย ไม่ต่างจากปีก่อนมากนัก โดนสมมติฐานอยู่บนพื้นฐานราคาน้ำมัน 65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนแอลพีจีและเอ็นจีวีต้องติดตามต่อไป เพราะขณะนี้ราคาผันผวนมาก”นายวิฑูรย์กล่าว

สศก.เผย จีดีพีเกษตรไตรมาสแรก ขยายตัวร้อยละ 3.8 ระบุทุกสาขาการผลิต ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร และป่าไม้ พาเหรดขยายตัวเพิ่ม มั่นใจ นโยบายด้านการเกษตร บวกเศรษฐกิจโลกที่สดใส ดันทั้งปียังขยับต่อเนื่อง

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยทุกสาขาผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสนับสนุนภาวะเศรษฐกิจการเกษตรขยายตัวได้ดี คือ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำสำคัญ มีเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช มีการบริหารจัดการน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสม ประกอบกับสภาพอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้พืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิดมีทิศทางเพิ่มขึ้น

แม้ว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ แหล่งผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่สำคัญ จะประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนที่ออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาสนี้ แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วไม่กระทบต่อเศรษฐกิจการเกษตรมากนัก สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับมีระบบการผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ส่วนการผลิตสินค้าประมง การผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ส่วนการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำที่เพียงพอและสภาพอากาศเอื้ออำนวย

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรในหลายด้าน เช่น ตลาดนำการผลิต การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบูรณาการในระดับพื้นที่ รวมถึงการน้อมนำหลักการทรงงานและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ โดยได้มีการดำเนินการภายใต้นโยบายด้านการเกษตรที่สำคัญต่าง ๆ และเร่งขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศมากขึ้น อาทิ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer บริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลาดสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การวางแผนการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าที่มี่อสินค้าเกษตรไทย ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มดีขึ้น

สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืชในไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และลำไย สำหรับข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเจริญเติบโตของต้นข้าว

ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางสามารถปลูกข้าวนาปีรอบสองได้ ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกแทนการปล่อยพื้นที่ให้ว่าง อ้อยโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อยโรงงานแทน รวมถึงโรงงานน้ำตาลมีการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกอ้อย

สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2558-2559 อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่าง รวมทั้งปลูกแซมในสวนยางพารา และปลูกใหม่ทดแทนมันสำปะหลัง ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปี 2555 มีการปลูกต้นยางแทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นต้นยางที่มีอายุมากแล้วปลูกใหม่ทดแทน ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของปาล์ม จึงทำให้ต้นปาล์มสมบูรณ์และมีทะลายเพิ่มขึ้น ลำไย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิต และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการออกดอกติดผล

ด้านราคาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 สินค้าพืชที่มีราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และลำไย โดยข้าวมีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกมีความต้องการข้าวเพื่อทยอยส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง มันสำปะปลัง มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการส่งออก และลำไยมีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการปรับปรุงคุณภาพของลำไยให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น

สาขาปศุสัตว์ในไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 1.4 เป็นผลผลิตจากการเพิ่มปริมาณการผิตตามความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคระบาด และจัดการฟาร์มได้มาตรฐาน ทำให้สินค้าปศุสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 สินค้าปศุสัตว์ส่วนใหญ่มีราคาลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยราคาสุกร ไข่ไก่ ลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบค่อนข้างทรงตัว ส่วนราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการผลผลิตไก่เนื้อเพิ่มขึ้น

สาขาประมงในไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากปริมาณกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้เหมาะสมกับพื้นที่ ผลผลิตประมงน้ำจืด เช่น ปลานิล และปลาดุก มีทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำพอเพียงสำหรับการเลี้ยง ประกอบกับภาครัฐมีการดำเนินนโยบายส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ผลผลิตประมงน้ำจืดเพิ่มขึ้น ด้านราคาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม) ปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2-4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยเกษตรกรมีการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และเกี่ยวนวดข้าวตามพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำที่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปรัง และปริมาณน้ำฝนเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกข้าวนาปี นอกจากนี้ ในส่วนของการเพาะปลูกอ้อยโรงงาน มีการใช้บริการเก็บเกี่ยวอ้อยเพิ่มขึ้น เพราะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจากการส่งเสริมของโรงงานน้ำตาล

สาขาป่าไม้ในไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา ถ่านไม้ และครั่ง เพิ่มขึ้นโดยความต้องการไม้ยูคาลิปตัสภายในประเทศสูงขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (wood pellet) ขณะที่ไม้ยางพารายังคงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน นอกจากนี้ ผลผลิตครั่งฟื้นตัวเต็มที่จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ส่งผลให้มีมูลค่าการส่งออกครั่งในเดือนมกราคม 2561 เพิ่มสูงถึง 3 เท่าตัว

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจเกษตรในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0-4.0 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2560 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ปริมาณน้ำและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย การดำเนินนโยบายด้านการเกษตรต่าง ๆ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยมีทิศทางที่ดี ส่งผลต่อเนื่องมายังการผลิตและราคาสินค้าเกษตรในประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร อาทิ ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตรในระยะต่อไปได้

รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตัวเลขการว่างงานในเดือนก.พ. 2561 มีจำนวน 491,000 คน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1.3% มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 61,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ซึ่งอัตราว่างงานอยู่ที่ 1.1% และเมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 2561 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 16,000 คน ซึ่งอัตราว่างงานเท่ากันคือ 1.3% ทั้งนี้ เมื่อแยกผู้ว่างงานตามระดับการศึกษาพบว่า ในเดือนก.พ. 2561 ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวน 115,000 คน

รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 103,000 คน, ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 103,000 คน, ระดับประถมศึกษาจำนวน 73,000 คน และผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาจำนวน 19,000 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2560 จำนวนผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้น 52,000 คน, ระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น 26,000 คน และระดับต่ำกว่าประถมศึกษาเพิ่มขึ้น 1,000 คน

ขณะที่เมื่อแยกประสบการณ์การทำงานของผู้ว่างงานจำนวน 491,000 คน ในเดือนก.พ.2561 พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 235,000 คนหรือ 47.9%ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 256,000 คน คิดเป็น 52.1% โดยเป็นผู้ว่างงาจากนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 241,000 คน ประกอบด้วย ภาคการบริการและการค้าจำนวน 137,000 คน และภาคการผลิต 104,000 คน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรรมมีจำนวน 15,000 คน

ทั้งนี้ ในเดือนก.พ.2561 มีผู้ที่อยู่ในวัยกำลังแรงงานจำนวน 38.42 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำจำนวน 37.60 ล้านคน ผู้ว่างงาน 491,000 คน และผู้ที่รอฤดูกาลจำนวน 329,000 คน เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์แรงงานกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนพบว่า จำนวนผู้มีงานทำลดลง 80,000 คน จากจำนวน 37.68 ล้านคนลดเหลือ 37.60 ล้านคน ซึ่งในจำนวนผู้มีงานทำ 37.60 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรรมจำนวน 11.27 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรรมจำนวน 26.33 ล้านคน

ในส่วนของผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 580,000 คน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของการปลูกข้าว การปลูกไม้ผล และการปลูกอ้อย ส่วนนอกภาคเกษตรมีจำนวนผู้ทำงานลดลง 660,000 คน ในสาขาก่อสร้างลดลงมากที่สุดจำนวน 260,000 คน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 110,000 คน สศก. เผย จีดีพีเกษตรไตรมาสแรก ขยายตัว ร้อยละ 3.8 ระบุ ทุกสาขาการผลิต ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร และป่าไม้ พาเหรดขยายตัวเพิ่ม มั่นใจ นโยบายด้านการเกษตร บวกเศรษฐกิจโลกที่สดใส ดันทั้งปียังขยับต่อเนื่อง

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสนับสนุนภาวะเศรษฐกิจการเกษตรขยายตัวได้ดี คือ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำสำคัญ มีเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช มีการบริหารจัดการน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสม ประกอบกับสภาพอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้พืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิดมีทิศทางเพิ่มขึ้น แม้ว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้

ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่สำคัญ จะประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนที่ออกสู่ตลาดในช่วงไตรมาสนี้ แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วไม่กระทบต่อเศรษฐกิจการเกษตรมากนัก สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับมีระบบการผลิตที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ส่วนการผลิตสินค้าประมง การผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ส่วนการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำที่เพียงพอและสภาพอากาศเอื้ออำนวย

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรในหลายด้าน เช่น ตลาดนำการผลิต การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบูรณาการในระดับพื้นที่ รวมถึงการน้อมนำหลักการทรงงานและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ โดยได้มีการดำเนินการภายใต้นโยบายด้านการเกษตรที่สำคัญต่าง ๆ และเร่งขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศมากขึ้น อาทิ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer บริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลาดสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การวางแผนการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าที่มีต่อสินค้าเกษตรไทย ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มดีขึ้น

สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา พบว่า สาขาพืชในไตรมาส 1 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และลำไย สำหรับ ข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางสามารถปลูกข้าวนาปีรอบสองได้ ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกแทนการปล่อยพื้นที่ให้ว่าง อ้อยโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาปลูกอ้อยโรงงานแทน รวมถึงโรงงานน้ำตาลมีการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกอ้อย

สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2558 – 2559 อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่าง รวมทั้งปลูกแซมในสวนยางพารา และปลูกใหม่ทดแทนมันสำปะหลัง ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในปี 2555 มีการปลูกต้นยางแทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นต้นยางที่มีอายุมากแล้วปลูกใหม่ทดแทน ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์ม จึงทำให้ต้นปาล์มสมบูรณ์และมีทะลายเพิ่มขึ้น ลำไย มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิต และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการออกดอกติดผล

ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2561 สินค้าพืชที่มีราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และลำไย โดย ข้าว มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกมีความต้องการข้าว เพื่อทยอยส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง มันสำปะหลัง มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการส่งออก และ ลำไย มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการปรับปรุงคุณภาพของลำไยให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น