หลักการทำงานของระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน

ถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน หรือระบบ MBR เป็นเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียขั้นสูงที่ผสานกระบวนการพื้นฐานสองระบบเข้าด้วยกัน ได้แก่ ระบบตะกอนเร่ง (Activated sluge) เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนโดยใช้หลักการทางชีววิทยา กล่าวคือ เป็นการใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสีย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม กับระบบที่สองคือ ระบบเยื่อกรองเมมเบรน (Membrane) เพื่อกำจัดตะกอนแขวนลอยและสิ่งปนเปื้อนด้วยการกรองแผ่นเมมเบรนที่มีช่องผ่านขนาดเล็กมากในระดับ 0.1-10 ไมโครเมตร

หลักการทำงานของถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน แสดงดังรูปที่ 1 เมื่อน้ำสกปรกไหลเข้าสู่กรรมวิธีปฏิกิริยาชีวภาพของเยื่อกรองเมมเบรน น้ำและสิ่งสกปรกจะถูกบำบัดด้วยมวลจุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบ หลังจากนั้น น้ำที่บำบัดจะถูกกรองผ่านเยื่อกรองเมมเบรนที่มีรูพรุนขนาดไมโครเมตร ในขณะที่มวลจุลินทรีย์ไม่สามารถลอดผ่านเยื่อกรองเมมเบรนได้ และจะถูกกักเก็บอยู่ในถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน โดยสิ่งสกปรก หรือตะกอนจุลินทรีย์ในระบบจะถูกแรงต้านของฟองอากาศจากปั๊มเติมอากาศทำให้ไม่เกาะติดกับแผ่นเยื่อกรองเมมเบรน ทำให้เยื่อกรองมีสภาพการกรองที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ตามระยะเวลาอายุการใช้งานของแผ่นเมมเบรน

เนื่องจากระบบ MBR ถูกคิดค้นและปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวระบบให้สามารถรองรับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งสกปรกในปริมาณที่สูงกว่าระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไป และน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถกำจัดตะกอนแขวนลอยเจือปนได้เพราะผ่านเยื่อกรองเมมเบรนในระดับไมครอน ส่งผลให้ระบบมีประสิทธิภาพการบำบัดสูงกว่าระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไป โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดมีคุณภาพสำหรับนำกลับมาใช้ใหม่ได้

การทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบ MBR
ถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรน หรือ ระบบ MBR ถูกติดตั้งที่หอพักบุคลากรกัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ลักษณะการใช้ประโยชน์เป็นอาคารพักอาศัย 8 ชั้น ประกอบด้วย ห้องพักเดี่ยว จำนวน 48 ห้อง และห้องพักแบบครอบครัว จำนวน 16 ห้อง ระหว่างการทดสอบระบบ MBR สามารถรองรับน้ำเสียได้เฉลี่ย 10 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน โดยน้ำที่ผ่านการบำบัดถูกนำมาหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่สำหรับใช้ในการกดชักโครก และนำไปใช้ในภาคการเกษตรโดยการปลูกพืชกินใบและพืชกินผล ตามลำดับ รูปแบบการติดตั้งระบบและแผนผังการทดสอบสามารถแสดงในรูปที่ 2 และน้ำเสียก่อนและหลังการบำบัดสามารถแสดงในรูปที่ 3

การทดสอบนำน้ำที่ผ่านการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
กระบวนการทดสอบการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ครอบคลุมทั้งการนำไปใช้ในภาคประชาชน และในภาคเกษตรกรรมโดยการใช้น้ำในกิจกรรมเพื่อการเกษตรต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การหมุนเวียนน้ำสำหรับการนำไปใช้ในชักโครก โดยติดตั้งระบบท่อเพื่อการนำน้ำกลับมาใช้ไหม่ เข้าสู่ห้องน้ำชาย จำนวน 1 ห้อง และห้องน้ำหญิง จำนวน 1 ห้อง ที่อยู่บริเวณชั้น 1 ของหอพักกัลยาณมิตร ระหว่างการทดสอบมีปริมาณการใช้น้ำในชักโครกเฉลี่ย 90.2 ลิตร ต่อวัน เมื่อทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในกิจกรรมที่มนุษย์มีโอกาสสัมผัสที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมได้ทำการศึกษาไว้ ดังรูปที่ 4 พบว่า คุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบ MBR อยู่ในเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่กำหนด

การหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัดไปใช้ในการทดสอบการปลูกผักแบบพืชกินใบ โดยทดลองปลูกผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce) แบบไฮโดรโปนิกส์ หรือแบบไร้ดิน ในโรงเรือนขนาด 2×3 เมตร แบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ชุด ประกอบด้วย น้ำประปา จำนวน 1 ชุด และน้ำที่ผ่านการบำบัด จำนวน 2 ชุด ระหว่างการทดสอบผักกาดหอมได้รับการดูแลตามแนวทางการปลูกผักไร้ดิน โดยเลี้ยงด้วยปุ๋ยน้ำ A และ B เป็นเวลา 37 วัน และจดบันทึกการเจริญเติบโตของผัก การทดสอบสามารถแสดงดังรูปที่ 5 ผลการทดสอบการปลูกผักดังกล่าวพบว่า การเจริญเติบโตของผักจากการเลี้ยงด้วยน้ำที่ผ่านการบำบัดเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยน้ำประปาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่สำหรับพืชกินใบหรือหัวที่ทางศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาไว้นั้นพบว่า น้ำที่ผ่านการบำบัดมีคุณสมบัติดีกว่าเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่กำหนด ดังแสดงในรูปที่ 6

การหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัดไปใช้การทดสอบการปลูกผักแบบพืชกินผล ทดสอบโดยการปลูก เมล่อน หรือ เมลอน (Muskmelon) พันธุ์พริ้นเซส แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ชุด ประกอบด้วย น้ำประปา และน้ำที่ผ่านการบำบัดอย่างละ 1 ชุด ดังแสดงในรูปที่ 7 จากการทดสอบการปลูกเป็นเวลา 105 วัน พบว่า เมล่อนที่เลี้ยงจากน้ำทั้งสองประเภทมีการเจริญเติบโตที่ไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญ ทั้งนี้ การปลูกเมล่อนมีรายละเอียดด้านการดูแลระหว่างการปลูกค่อนข้างมาก อีกทั้งคณะผู้วิจัยยังไม่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชชนิดนี้มากนัก ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความหวานน้อยกว่าเมล่อนที่ขายในท้องตลาด โดยผลเมล่อนทั้งที่ปลูกด้วยน้ำประปาและน้ำที่ผ่านการบำบัดมีความหวานเฉลี่ยใกล้เคียงกันเท่ากับ 10 บริกซ์ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่สำหรับพืชกินผลหรือเมล็ดที่ทางศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาไว้นั้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่สำหรับพืชกินใบหรือหัวที่ทางศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาไว้นั้น พบว่า น้ำมีผ่านการบำบัดมีคุณสมบัติดีกว่าเกณฑ์แนะนำการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่กำหนด

สามารถกล่าวได้ว่าการนำน้ำเสียเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำใช้อย่างจำกัด อนึ่ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่คือ เรื่องของคุณภาพน้ำที่ความเหมาะสมสำหรับกิจกรรมที่นำไปใช้งาน การยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ หากหน่วยงานที่มีความสนใจในการจัดทำการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ หรือศึกษาดูงาน สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทคโนธาน ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร. 02-577-4182-9

ดร. สุดา อิทธิสุภรณ์รัตน์ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ดร. สุธิดา ทีปรักพันธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ในช่วงที่สถานการณ์โลกไม่แน่นอน ทั้งสงครามและโรคระบาด ทุกอาชีพที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ในครั้งนี้ขอพูดถึงอาชีพเกษตร ที่ได้รับผลกระทบทั้งในด้านปัจจัยค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหารสัตว์ ที่ต่างพร้อมใจกันขึ้นราคา สวนทางกับรายได้ที่ต่ำลง เพราะราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ มองไม่เห็นทุน ไม่เห็นกำไร ทางออกเบื้องต้นที่พอจะทำให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ก็คงจะหนีไปพ้นการทำเกษตรสมัยใหม่ หันมาปลูกพืชผสมผสานให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี แล้วมาพึ่งธรรมชาติให้มากขึ้น และที่ขาดไม่ได้เลยคือปรับปรุงต่อยอดการตลาด เพิ่มช่องทางการขายสินค้าจากที่เคยขายผ่านพ่อค้าคนกลางเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะต้องปรับมาขายในช่องทางออนไลน์และขายหน้าร้านเองมากขึ้น หรือการแปรรูปก็นับเป็นทางออกที่ช่วยให้เกษตรกรหลายรายเอาตัวรอดและได้ดิบได้ดีกับวิธีการนี้ กลายเป็นเกษตรกรที่ไม่มีหนี้ เป็นเกษตรกรที่มีความสุข เพราะไม่ต้องกังวลกับปัญหาสินค้าล้นตลาดหรือสินค้าราคาตกต่ำอีกต่อไป

คุณจณิกาญจน์ รัชภูมิพิพัฒน์ หรือ พี่อ้อ เจ้าของไร่บ้านอ้อ ตั้งอยู่เลขที่ 39/2 หมู่ที่ 2 ซอยเขาระฆัง ตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง อดีตพนักงานบริษัทเอกชน ลาออกมาทำไร่ต่อจากพ่อแม่ที่วางมือแล้ว เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือ มันสำปะหลัง มาเป็นสวนผสมผสาน ปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา สับปะรด ในขณะที่มันสำปะหลังก็ยังคงอยู่ แต่ลดพื้นที่การปลูกให้น้อยลง

ปลูกสับปะรดหลากสายพันธุ์
เพื่อศึกษาช่องทางการตลาด
พี่อ้อ บอกว่า หลังจากที่ตนเองลาออกจากงานประจำ จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลากว่า 9 ปี ที่ได้เข้ามาเป็นเกษตรกร โดยเลือกปลูกสับปะรดสร้างรายได้หลัก เนื่องจากสภาพดิน สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการปลูกสับปะรด รวมถึงตลาดโรงงานรับซื้ออยู่ไม่ไกลจากไร่มากนัก ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกสับปะรดได้ไม่ยาก

ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกสับปะรดประมาณ 100 ไร่ แบ่งปลูกเป็นแปลง แปลงละ 2-20 ไร่ โดยสายพันธุ์ที่ปลูกมีพันธุ์ปัตตาเวีย (ศรีราชา), พันธุ์ทองระยอง และพันธุ์เอ็มดีทู

สับปะรดแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ที่ไร่บ้านอ้อใช้ทำการตลาดคือ พันธุ์ทองระยอง เป็นพืช GI ของจังหวัดระยอง มีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ถ้าสุกคาต้นรสชาติจะหวานจนเกือบไม่รู้สึกถึงความเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใครกินก็ติดใจ ซึ่งประสบการณ์ที่คลุกคลีกับสับปะรดมานานเกือบ 10 ปี ทำให้มั่นใจได้ว่า สับปะรดที่อร่อยที่สุดคือ ผลที่แก่จัดคาต้น ในแต่ละปีสามารถผลิตสับปะรดได้ประมาณ 100 ตัน รวมทุกสายพันธุ์ที่ปลูก

เทคนิคการปลูกสับปะรดให้โดนใจลูกค้าเบื้องต้น
เจ้าของอธิบายถึงเทคนิคการปลูกสับปะรดต่อว่า การปลูกสับปะรดให้ดีต้องเริ่มจากการไถเตรียมดินให้ลึก เตรียมดินให้ดี คัดต้นพันธุ์ให้เสมอกัน ปลูกในระยะห่างระหว่างต้นที่เหมาะสม ใส่ปุ๋ยให้พอดี เน้นว่าให้สับปะรดสุกจัดค่อยเก็บผลขาย เพื่อให้รสชาติที่ดีสุดตามสายพันธุ์

โดยปกติแล้วสับปะรดจะออกผลได้ตลอดทั้งปี ปลูกแบบอาศัยน้ำฝนธรรมชาติ แต่ถ้าผลผลิตออกในช่วงฝนแล้งจะต้องให้ระบบน้ำเพิ่มเติม อย่างปีนี้ผลผลิตของที่ไร่จะเริ่มออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ยังมีไม่ตลอดเนื่องจากปีที่แล้วมีปัญหาเรื่องแรงงานจึงปลูกได้น้อย แต่ดีตรงมีเครือข่าย ถ้ามีลูกค้าสนใจก็สามารถติดต่อเครือข่ายที่มีผลผลิตให้ได้

อุปสรรคสำคัญในการปลูกสับปะรด
ปัญหาแรงงาน การปลูกสับปะรดเกือบทุกขั้นตอนต้องใช้แรงงาน ในตอนนี้ยังไม่มีเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่มาใช้ทดแทนแรงงานคนในการหักหน่อหรือปลูกแทนคนได้ ที่ไร่จะแก้ไขโดยการปลูกเป็นแปลงเล็กๆ ใช้คนน้อย แต่ปลูกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี
ปัญหาของพืชทุกชนิดคือปุ๋ยที่มีราคาแพง ต้องปลูกให้น้อยลง และปรับลดการใช้สารเคมี เพิ่มการใช้ปุ๋ยหมักเองให้มากขึ้น โดยที่ไร่จะใช้ปุ๋ยหมักในขั้นตอนการปลูก แต่การลดปุ๋ยระหว่างให้ผลผลิต จะลดจากการใช้ปุ๋ยเม็ด เป็นปุ๋ยน้ำพ่นใบ ให้ปุ๋ยหมักบ้าง ทำให้ไม่เสียรสชาติ เพราะให้ตอนเมื่อผลสุกเต็มที่คาต้น รสชาติที่ได้เป็นไปตามสายพันธุ์
สับปะรดเป็นพืชที่ออกผลได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีช่วงพีกมากๆ คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะเป็นช่วงที่สับปะรดออกเองมากที่สุด ราคาถูกที่สุด แต่ก็เป็นช่วงที่อร่อยที่สุด ออกมาชนกับทุเรียน ทำให้เกิดปัญหาล้นตลาด ที่ไร่ก็จะพยายามไม่ให้สับปะรดออกช่วงนั้น แต่ในบางครั้งก็ไม่สามารถฝืนธรรมชาติได้

เพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูป
“น้ำสับปะรดสกัดเย็น”
ที่ไร่บ้านอ้อ จะเน้นใช้สับปะรดทองระยองเป็นสายพันธุ์หลักในการแปรรูป เนื่องจากสีเข้ม รสจัด แปรรูปออกมาได้สีสวยและอร่อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และอีกปัจจัยคือ พันธุ์ทองระยองเป็นพันธุ์กินสด โรงงานไม่รับซื้อ โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ไร่แปรรูปจะเป็นไอศกรีมสับปะรด กับน้ำสับปะรดสกัดเย็น 100 เปอร์เซ็นต์ ทำส่งให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใกล้ๆ หรือในบางช่วงที่มีเวลาเหลือก็จะทำข้าวเกรียบสับปะรดขึ้นมาขายสร้างรายได้เพิ่มเติม

ในครั้งนี้จะมาแนะนำสูตรการทำ “น้ำสับปะรดสกัดเย็น” แบบง่ายๆ แต่อร่อย ทำกินได้ ทำขายดี

เลือกสับปะรดทองระยองที่สุกเต็มผล
ปอกเปลือกสับปะรดออก แล้วหั่นเป็นชิ้นๆ
นำสับปะรดที่หั่นเสร็จแล้วไปใส่เครื่องคั้นผลไม้สกัดเย็น
เติมเกลือลงไปครึ่งช้อนชาต่อน้ำสับปะรด 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
บรรจุใส่ขวดแช่เย็นพร้อมดื่มหรือใส่แก้วเติมน้ำแข็งพร้อมเสิร์ฟ

แบ่งสัดส่วนการตลาดให้ชัดเจน
ตัวช่วยผ่านพ้นทุกวิกฤต
ในส่วนของปัญหาด้านการตลาด พี่อ้อ บอกว่า ในตอนที่ตนเองปลูกสับปะรดพันธุ์ทองระยองครั้งแรก ขายไม่เป็นเลย และไม่รู้ด้วยว่าสับปะรดจะสุกเมื่อไหร่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีสับปะรดก็สุกทั้งแปลงแล้ว ต้องแก้ปัญหาด้วยการเอาไปฝากเพื่อน ฝากผู้ใหญ่ที่นับถือ รวมถึงพ่อกับแม่ช่วยกันเอาไปขายที่ตลาด ซึ่งผลจากการที่นำเอาไปขายที่ตลาดทำให้ได้ลูกค้าประจำกลับคืนมา และทำให้ได้พบคำตอบอีกข้อว่า “สับปะรดที่สุกคาต้นเป็นช่วงที่อร่อยที่สุด” และสามารถอยู่ได้นานกว่าพันธุ์ศรีราชา โดยจะนำเอาส่วนของผลที่สุกเกินไป นำมาคั้นน้ำสกัดเย็นใส่ขวด จะได้น้ำสับปะรดที่อร่อยมากๆ ทำให้น้ำสับปะรดสกัดเย็นกลายเป็นสินค้าหลักของบ้านอ้อไปโดยปริยาย

และก็มาถึงวิกฤตใหญ่ระดับโลกคือสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ไร่ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่น้อย ตลาดทุกตลาดปิดหมด ลูกค้าจากต่างจังหวัดยกเลิกออร์เดอร์สินค้าทั้งหมด ที่ไร่ต้องปรับตัวเอาตัวรอดด้วยการขายออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการโพสต์ผลผลิตทุกรูปแบบที่สวนมี ทั้งผลสด แปรรูป ลงในเฟซบุ๊ก : ไร่บ้านอ้อ สับปะรดผลสด กระแสตอบรับดีมาก ทั้งเพื่อนๆ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ เข้ามาซื้อแล้วแชร์ต่อออกไป ทำให้ผลผลิตขายหมดและยังช่วยคนอื่นขายได้ด้วย

กลายเป็นประสบการณ์ที่ทำให้แข็งแกร่งจากการเอาปัญหาที่พบเจอในแต่ละวันมาพัฒนาต่อยอดด้วยการแบ่งสัดส่วนการตลาดอย่างชัด คือ 1. สับปะรดพันธุ์ศรีราชา ขายส่งโรงงาน 2. สับปะรดทองระยอง ขายส่งให้แม่ค้า 50 เปอร์เซ็นต์ ขายปลีกลูกค้านัดรับ และออกบู๊ธงานต่างๆ 20 เปอร์เซ็นต์ ราคาขายส่งกิโลกรัมละ 7-12 บาท ถ้าเป็นไซซ์จิ๋ว ราคาลูกละ 3 บาท 3. ขายออนไลน์ 20 เปอร์เซ็นต์ ขายออนไลน์เป็นกล่อง กล่องละ 220, 350, 450 บาท และ 4. แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ในแต่ละเดือนสามารถสร้างรายได้จากการขายสับปะรดเฉลี่ยเดือนละประมาณ 100,000-200,000 บาทก่อนหักค่าใช้จ่าย

“ปัจจุบันการตลาดของที่ไร่อยู่ตัวแล้ว เป็นเพราะการปรับตัวไปตามสถานการณ์ไม่หยุดนิ่งรอปัญหา แต่เป็นการวิ่งไปให้ไกลจากปัญหา ปลูกและบังคับผลให้ออกเท่าที่จะสามารถขายได้ มีฐานลูกค้าที่เป็นแม่ค้า มีลูกค้าออนไลน์ที่สั่งประจำ มีลูกค้าที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมใกล้บ้าน แล้วก็มีออกบู๊ธที่หน่วยงานต่างๆ จัดให้เป็นครั้งคราว มีไม่มาก แต่สับปะรดเราก็ไม่เหลือทิ้ง มีรับจากสวนเครือข่ายช่วยกันขายได้บ้าง และในบางครั้งก็มีวางขายที่ตลาดจริงใจของท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างแม็คโครก็ให้โอกาสไปขายด้วย แต่ด้วยปัญหาแรงงานปีที่แล้ว ทำให้ไม่มีผลผลิตไปส่งได้อย่างต่อเนื่อง ในอนาคตจะมีสับปะรดทองระยองวางขายในห้างแม็คโครอีกแน่นอนค่ะ”

แนะเกษตรกรชาวสวนสับปะรด
“สำหรับเกษตรกรชาวสวนสับปะรดที่ปลูกมานานแล้ว มีต้นทุนที่ดีกว่า ด้านความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือ หน่อพันธุ์ ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ ถ้าลดการผลิตน้อยลงก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น หาตลาดที่ได้ราคามากขึ้น ปัจจุบันมีช่องทางการขายมากขึ้น ถ้าเราทำให้อร่อย ขายเองได้ จะได้ราคากว่าขายส่ง ลูกค้าได้สับปะรดที่อร่อย แล้วเขาจะกลับมาซื้ออีก คนปลูกได้ราคาที่น่าพอใจ จะทำให้มีลูกค้าต่อเนื่อง และประเด็นสำคัญคือการแปรรูปให้ได้ เพราะนอกจากการเพิ่มมูลค่าแล้ว ยังช่วยยืดอายุ ส่งทางไกลได้สะดวก เพิ่มกลุ่มลูกค้าได้อีกมากมาย” พี่อ้อ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดการปลูกและแปรรูปสับปะรดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 083-782-6993 หรือติดต่อได้ที่ช่องทางเฟซบุ๊ก : ไร่บ้านอ้อ สับปะรดผลสด มะกรูด จัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดทรงพุ่มกว้าง 2-3 เมตร สูง 4-5 เมตร ใบเมื่อโตเต็มที่มีลักษณะเป็น 2 ส่วน คือส่วนแผ่นใบและส่วนก้านใบที่มีปีกที่ขยายออกจนมีขนาดเกือบเท่ากับแผ่นใบ ทำให้มองดูคล้ายกับมีใบ 2 ใบ ต่อเชื่อมกันอยู่ ผลมีรูปร่างแบบผลสาลี่ มีจุก เปลือกผลมีลักษณะขรุขระเป็นลูกคลื่น ทั้งส่วนใบ ดอก และผล จะมีต่อมน้ำมันจำนวนมากที่ให้น้ำมันหอมระเหยอยู่หลายชนิด จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่ขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ของอินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย คาบสมุทรมลายู และฟิลิปปินส์ เป็นต้น มะกรูด มีชื่อเรียกอื่นๆ ในประเทศไทยอีกจำนวนมากของแต่ละพื้นที่ เช่น มะขุน มะขูด มะขู ส้มกรูด ส้มมั่วผี ฯลฯ

ด้วยเมนูอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเมนูระดับนานาชาติแล้วนั้น ทำให้ความต้องการของชุดต้มยำ ซึ่งมีใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบที่มีคุณภาพ ทั้งขนาด สี และปราศจากศัตรูพืชเข้าทำลายเพิ่มสูงมากขึ้น นอกจากนี้ ส่วนของผลมะกรูดได้มีการนำมาใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในเครื่องสำอางก็มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นมะกรูดที่ปลูกตามธรรมชาติหรือตามสวนทั่วไปมักมีการออกดอกเป็นฤดูกาล ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงเป็นผลพลอยได้มากกว่าการผลิตเพื่อเอาส่วนของผลโดยตรง

เทคนิคการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า
รศ.ดร. รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ได้บอกว่า การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า จึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ รวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1. พื้นที่ สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป

การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูก เนื่องจากระยะปลูกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูก ความกว้างของแปลง 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

3. กิ่งพันธุ์ สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอนก็ได้ กิ่งที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีการเติบโตที่ช้ากว่าในช่วงระยะแรก อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่จะนำมาใช้ปลูกจะต้องปลอดจากโรคแคงเกอร์ส้ม ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุของข้อจำกัดหลักที่ทำให้ไม่สามารถส่งใบมะกรูดไปยังกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศได้ หากแพร่ระบาดเข้าไปในแปลงปลูกแล้ว ก็ยากที่จะกำจัดได้ ดังนั้น จึงควรป้องกันมิให้โรคนี้เข้าไปตั้งแต่เริ่มแรกกับต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูก โดยใช้วิธีการคัดเลือกกิ่ง และตัดแต่งกิ่ง/ใบ ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาไฟ จากนั้นนำไปแช่ในสารปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 500 ppm เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก

4. อายุที่เริ่มให้ผลผลิต สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน หากมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ก็จะสามารถอยู่ได้หลายปี

ต้นทุนในการผลิตมะกรูดเพื่อตัดใบภาคเกษตรกร
ปัจจุบัน มีเกษตรกรปลูกมะกรูดในระบบชิด คือใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ราคากิ่งพันธุ์มะกรูดเสียบยอด ราคาต้นละ 25 บาท พื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นค่ากิ่งพันธุ์ 10,000 บาท เมื่อคิดรวมค่าปุ๋ย ค่าสารปราบศัตรูพืช ค่าระบบน้ำ และค่าจัดการอื่นๆ อีกประมาณไร่ละ 5,000 บาท รวมเป็นเงินลงทุนในปีแรกประมาณ 15,000 บาท ต่อไร่ ต้นมะกรูดจะเริ่มตัดใบขายได้ในเชิงพาณิชย์เมื่อต้นมีอายุเข้าปีที่ 3 และจะตัดขายได้ปีละ 4 รุ่น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ต้นมะกรูดที่มีการดูแลรักษาที่ดีพอประมาณจะมีอายุได้ยืนยาวกว่า 10 ปี

เทคนิคและเทคโนโลยีในการผลิตใบมะกรูด ในแปลงปลูกมะกรูด
อาจารย์รวี บอกว่า เทคนิคสำคัญในการจัดการในแปลงปลูกมะกรูดมีดังนี้ จะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกหรือใช้ฟางข้าวคลุมแปลง เพื่อป้องกันวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นด้วย หากมีการใช้ผ้าพลาสติคคลุมแปลงแล้ว ระบบการให้น้ำจำเป็นต้องใช้เป็นแบบน้ำหยดที่มีการให้ปุ๋ยไปกับน้ำพร้อมกันด้วย

สำหรับแปลงปลูกที่ไม่ได้มีการใช้ผ้าพลาสติกแล้ว walkoffbalk.com ก็สามารถเลือกใช้การให้น้ำระบบต่างๆ ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมได้ การให้ปุ๋ย ผลจากการตัดใบมะกรูดนั้นเป็นการนำเอาแร่ธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปุ๋ยชดเชยกลับคืนให้กับต้นดังเดิม ระดับของปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ควรมีสัดส่วนประมาณ 5:1:3 หรือ 5:1:4 หรือใกล้เคียงกัน ส่วนธาตุอื่นๆ ก็จำเป็นต้องเสริมให้ไปเป็นระยะด้วย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

นอกจากโรคแคงเกอร์แล้ว มักไม่พบโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแรงแต่อย่างใด การเก็บเกี่ยวใบมะกรูดเมื่อปลูกไป ประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา การผลิตใบมะกรูดควรปฏิบัติดังนี้

1. กิ่งควรอยู่ในแนวตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉาก จะให้จำนวนกิ่ง จำนวนใบต่อกิ่งและขนาดใบที่ใหญ่

2. ระดับของการตัดแต่ง ไม่ควรตัดแต่งเกินครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง หากตัดเหลือตอกิ่งมีผลทำให้การผลิตตายืดเวลาออกไป

3. ขนาดของกิ่งที่เหมาะสม ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร

มะกรูดที่ปลูกในบ้านเราแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก

สายพันธุ์มะกรูดที่ปลูกอยู่ในบ้านเราในขณะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือสายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบ และผลมีขนาดเล็ก อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่ และติดผลเป็นพวง ลักษณะของผลมีตะปุ่มตะป่ำคล้ายหูด และมีใบขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะที่จะปลูกเพื่อผลิตใบและผลขายส่งโรงงานแปรรูปน้ำมันหอมระเหย เครื่องอุปโภคหลายชนิด อาทิ สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง ฯลฯ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด ยังมีข้อมูลบริษัทบางแห่งมีการนำเอาใบมะกรูดไปตากแห้งและบดให้ละเอียดปั้นเป็นลูกกลอนเพื่อส่งออก บ้างก็นำเอาไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่เพื่อช่วยต้านทานโรค ในทางการแพทย์แผนไทยมีการใช้มะกรูดเป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่างๆ อาทิ น้ำในผลมะกรูดแก้อาหารท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตในสตรี ส่วนของเนื้อนำมาใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนของใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้แก้อาการจุกเสียด

หลายคนคิดเพียงว่า “มะกรูด” เป็นไม้ยืนต้นสวนครัวเพื่อนำใบและผลมาใช้ประกอบเพื่อเป็นเครื่องแกงชนิดต่างๆ หรือใช้ปรุงแต่งรสชาติของอาหารเท่านั้น ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกมะกรูดเพื่อผลิตใบและผลส่งขายโรงงานผลิตน้ำมันหอมระเหย สร้างรายได้ดีไม่แพ้เกษตรกรรมประเภทอื่น ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกมะกรูดเพียงครอบครัวละ 1-3 ไร่เท่านั้น ผลิตใบขายได้กิโลกรัมละ 7 บาท (ขายใบพร้อมกิ่ง โดยตัดที่ความยาว 50 เซนติเมตร-1 เมตร)

เทคนิคการผลิตผลมะกรูดเชิงการค้า
ถึงแม้ว่าส่วนของผลมะกรูดมีส่วนประกอบที่ไม่ชวนให้บริโภค เนื่องจากมีรสเปรี้ยว รสขมและขื่นแล้ว ยังมีสารน้ำมันที่ก่อให้เกิดอาการเผ็ดร้อนด้วย อย่างไรก็ตาม จากการที่ส่วนใบและผิวผลมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่สูงนี่เอง จึงได้มีการนำทั้งสองส่วนนี้มาใช้ทั้งในรูปที่เป็นเครื่องเทศ และสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคโบราณเป็นต้นมา โดยใช้ในการประกอบอาหารและสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ไอ เจ็บคอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องสำอาง ทำแชมพูแก้รังแคแล้วยังมีคุณสมบัติออกฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลงกำจัดเหาบนศีรษะได้ หรือใช้เป็นสารดับกลิ่นในห้องน้ำเหล่านี้ เป็นต้น

สำหรับการผลิตผลมะกรูดนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการในด้านสรีรวิทยาของการออกดอก จึงมีผลตรงข้ามกับการผลิตใบโดยสิ้นเชิง มีขั้นตอนที่ควรปฏิบัติในหลายส่วนที่ใกล้เคียงกัน เช่น การเตรียมพื้นที่ ต้นพันธุ์ และระบบน้ำ เป็นต้น สำหรับส่วนที่ต่างกันนั้นมีด้านต่างๆ ดังนี้