หลักการเลือกพืชแต่ละชั้นมาปลูกจะคำนึงถึงความชอบ

เลือกปลูกพืชที่ในพื้นที่สามารถปลูกได้ แต่มีน้อย เช่น พื้นที่ตรงนี้เหมาะกับปลูกเงาะ เงาะที่นี่รสชาติหวาน เนื้อกรอบล่อน และออกช้า ถือเป็นอำเภอสุดท้ายของประเทศไทยที่เงาะออก จะขายได้ราคาดี ลักษณะการปลูกตามรูปแบบของโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ในพื้นที่ 1 ไร่

การทำสวนวนเกษตรปีแรกก็เริ่มมีรายได้แล้ว โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ร่วม เพราะว่าในสวนจะปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก มีการเลี้ยงสัตว์ ค่าใช้จ่ายมีน้อย เพราะเราผลิตอาหารเองได้ มีเงินเหลือเก็บชัดเจน ถ้ามองระยะยาวเราจะไม่เหนื่อย แต่ถ้าปลูกพืชเชิงเดี่ยว เราต้องเหนื่อยทั้งปี และอีกอย่างถ้าเราทำพืชเชิงเดี่ยวลูกหลานของเราไม่อยู่กับเราแน่ ไม่มีใครทนแดดทนฝนเหมือนคนรุ่นปู่ย่าตายายแน่นอน

ฟาร์มสเตย์ติดดิน ใกล้ชิดธรรมชาติ เก็บผัก ตกปลา
หุงหากับข้าวกินเอง วัตถุดิบหาเก็บได้ที่สวน
เมื่อระบบสวนทุกอย่างเข้าที่ เริ่มมีความคิดจะทำฟาร์มสเตย์ เนื่องจากมองไปรอบสวนสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้ที่เขียวขจี มีญาติ มีเพื่อนมาหา เมื่อก่อนยังไม่มีบ้านพัก เพื่อนๆ ต้องกางเต็นท์นอน ยามฝนตกก็ลำบาก จึงลงทุนสร้างกระท่อมเล็กไว้ให้เพื่อน ญาติพี่น้อง ที่มาหาเราไว้ได้พัก เริ่มจากการสร้างเป็นกระท่อมไม้ไผ่ทั่วไป และก็มีความคิดที่อยากแบ่งปันความสุขที่เรามีให้คนอื่นได้มาสัมผัสบ้าง ก็เลยเริ่มทำเป็นฟาร์มสเตย์ มีห้องพัก 4 หลัง ราคาคืนละ 400 บาท พักได้ 2 ท่าน เราจะคัดคนเข้าพักภายใต้เงื่อนไขของเรา คือในห้องพักจะไม่มีทีวี พัดลม เครื่องปรับอากาศ แต่แขกที่มาพักส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาหรือบ่นว่าร้อน มีแต่ขอผ้าห่มเพิ่ม เพราะอากาศที่นี่เย็นอยู่แล้ว

กิจกรรมในสวนจะแล้วแต่ฤดูกาล ถ้ามาพักตรงกับช่วงที่เรากำลังปลูกหรือทำอะไร ท่านก็จะได้เรียนรู้และทำไปพร้อมกับเรา อาจเป็นการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามโอกาส เรื่องกับข้าวหลักๆ ลูกค้าต้องเป็นคนหาเอง ถ้าอยากกินปลาท่านก็เลือกว่าอยากกินปลาอะไร แต่มีข้อแม้ว่าท่านต้องตกเอง ประกอบอาหารเอง เราจะมีผักแถมให้ ปลาขายกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งผลตอบรับจากลูกค้าที่เข้ามาพักค่อนข้างดี ใครที่เคยมาแล้วต้องมาซ้ำอีก ในอนาคตอาจจะมีการขยายอำนวยความสะดวกให้รองรับลูกค้าได้ตลอดทั้งปี

ฝากไว้ให้คิด มีต้นทุนต่ำไม่ต้องน้อยใจ
ให้มองเป็นข้อดี
อยากฝากกับเกษตรกรมือใหม่ทุกท่านที่มีทุนน้อย ไม่ต้องน้อยใจ ให้คิดเป็นข้อดี ตามหลักความเป็นจริง หากคนที่มีกำลังเงินมาก เขาก็จะทุ่มเงินทำ แต่คนทุนน้อยก็ดีตรงที่เราได้ฝึกความอดทน ค่อยๆ เก็บสะสมจากน้อยไปหามาก ผมเริ่มทำเกษตรจากพื้นที่แค่ 1 งาน ปลูกผักขายส่งตอนเช้า ได้รายได้ขั้นต่ำเท่ากับแรงงานคนกรุงเทพฯ แต่ทำงานแค่ 2-3 ชั่วโมง สายๆ พักผ่อน หาความรู้ในอินเตอร์เน็ต ตอนเย็นค่อยลงแปลงผักอีกครั้ง ทำแบบนี้วนไป เมื่อเข้าที่ค่อยขยับขยายพื้นที่ให้เยอะขึ้น ใช้เวลาขยายพื้นที่ จาก 1 งาน ค่อนข้างหลายปี เราเก็บจากที่เราไม่มีอะไรเลย พัฒนาเรื่อยๆ ให้คิดแบบง่ายๆ คือ ทำให้มีความสุขก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนความสุขเป็นรายได้ มีทั้งเงิน มีทั้งสุข

“มะละกอ” เป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทยในปัจจุบัน นิยมบริโภคกันเป็นจำนวนมากทั้งในรูปของผลไม้ดิบเพื่อปรุงเป็นอาหารคาวหวาน และบริโภคในรูปของผลไม้สุก โดยมะละกอจะเริ่มให้ผลเมื่ออายุได้ประมาณ 8 เดือนขึ้นไป จากนั้นจะทยอยออกผลมาตลอดทั้งปี และจะมีผลผลิตสูงในระยะปีที่ 2 – 3 พอเข้าปีที่ 4 ต้นจะเริ่มทรุดโทรม ให้ผลผลิตลดลง ผลมีขนาดเล็กลง

ดังนั้น การปลูกมะละกอเป็นการค้า มักจะเก็บผลเพียงปีที่ 2 – 3 เท่านั้น หลังจากนั้นจะตัดทิ้งและปลูกใหม่ ปกติแล้วมะละกอจะให้ผลผลิตไปได้เรื่อยๆ แม้จะมีอายุมากขึ้น แต่ผลมะละกอที่ได้ในระยะหลังจะเล็กลงเรื่อยๆ ขายไม่ได้ราคา

แต่หากใครไม่ได้ปลูกเพื่อการค้า ไม่ได้จริงจังกับเรื่องผลผลิตมากนัก ลอง “ทำสาว” ให้มะละกอดูก่อน สำหรับการทำสาวมะละกอที่ว่านี้ แนะนำให้ทำหลังจากที่เราได้เก็บผลผลิต มะละกอ รุ่นแรกไปแล้ว คือการตัดต้นมะละกอให้เหลือไว้สัก 2-3 ใบก็พอ แล้วบำรุงต้นเพื่อเลี้ยงยอดใหม่ ประมาณสองเดือน หลังจากนี้ ยอดมะละกอที่แตกใหม่ก็จะเริ่มออกดอกและติดผลตรงตามสายพันธุ์เดิมที่เราปลูก และจะสามารถเก็บผลผลิตได้ในราวๆ เดือนที่ 4 หลังจากตัดต้นแล้ว

ในการทำสาวให้กับ “มะละกอ” เพื่อจะให้มีการแตกยอดใหม่ที่ดีนั้น ควรทำในช่วงฤดูฝนหลังจากตัดต้นมะละกอเสร็จแล้ว และเทคนิคที่ไม่ควรลืมอีกอย่างหนึ่งก็คือหลังจากตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวเสร็จแล้ว เราต้องหมั่นบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยคอกเก่า และปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 (ได้ผลเร็ว อัตรา 3:1 ส่วน) ด้วย ที่สำคัญต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอด้วย

ปัจจุบันนี้ผลไม้ตามฤดูกาลมีให้เห็นในทุกวัน เวลาทุกคนไปตลาดในตอนเช้าหรือตามแผงต่างๆ ก็จะพบว่ามีผลไม้มากมายให้เลือกซื้อ แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดในไทย ทำให้ในหลายจังหวัดการปลูกผลไม้เห็นทีจะเริ่มขาดทุนมากขึ้น บวกกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในแต่ละภาค ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ต่างเริ่มหาวิธีที่จะแปรรูปให้รับประทานได้อร่อยหรือเก็บไว้ได้นานมากขึ้น เหมือนอย่างที่หมู่บ้านฝั่งแวน หมู่ที่ 11 ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่นอกจากจะมีอาชีพทำนากันแล้วอีกด้านยังมีอาชีพทำสวนลำไยด้วย ด้วยปัจจุบันพบว่าราคาลำไยในแต่ละปีนั้นผันผวนเป็นอย่างมาก บางปีราคาดี บางปีราคาถูก ทำให้ชาวบ้านสวนลำไยเริ่มหาวิธีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของลำไย

ประวัติลำไย ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกา อินเดีย พม่า หรือจีน แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสตกาล และจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้ง เสฉวน มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน

ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชีย ลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ. หลวงราญอริพล (เหรียญ สรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะ แสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้วและมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศ

ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆ ในล้านนา โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลำพูน มีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50 เข่ง

พัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูน ถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปี พ.ศ. 2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็พัฒนามาร่วม 60 ปี และถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม 107 ปีแล้ว จนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากนับหลายแสนไร่

ประโยชน์ของลำไย เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา และมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ภายในมีเนื้อขาวอมชมพู ขาวอมเหลือง แล้วแต่สายพันธุ์ เนื้อลำไยสามารถบริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบาย เจริญอาหาร

พันธุ์ลำไย ลำไยปลูกในหลายประเทศ ที่สำคัญคือ ประเทศจีน มีการปลูกลำไยถึง 26 พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑลกวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ ปลูกในสหรัฐอเมริกามี 1 สายพันธุ์ คือ พันธุ์โคฮาลา

พันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผล เนื้อ เมล็ด และรสชาติ คือลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่ มีเนื้อหนา รสหวาน มีหลายสายพันธุ์คือ พันธุ์สีชมพู ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด

– พันธุ์ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบางเบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง

– พันธุ์อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดง และอีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว

– พันธุ์อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่ เมล็ดใหญ่ รสหวาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ อีแดง (อีแดงเปลือกหนา) มีใบป้อมใหญ่ ผลใหญ่ อีแดง (อีแดงเปลือกบาง) ใบยาว ผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา

– พันธุ์อีแห้ว ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง และอีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน

ลำไยที่นิยมนำมาอบในปัจจุบันคือ ลำไยพันธุ์อีดอ ส่วนพันธุ์อื่นหากนำมาอบจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพ กำนันนพดล เข็มเพชร กำนันตำบลเชียงบาน ได้เล่าถึงเรื่องราวในการแปรรูปลำไยสีทองว่า ทุกวันนี้จะพบว่าราคาลำไยนั้นเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง ทำให้ผู้ปลูกลำไยเกิดความวิตกในการที่จะปลูกและขายผลผลิตต่อไป บางรายถึงขั้นโค่นต้นลำไยเพื่อหาพืชอย่างอื่นมาปลูกทดแทน ทั้งนี้ ตนเองได้คิดอยากเพิ่มมูลค่าของผลลำไยนี้ให้มีราคามากขึ้น

ประกอบกับชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ก็คลุกคลีกับลำไยมานานด้วย ทั้งนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคิดว่าราคาที่ออกมานั้นจะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาทำให้รายได้ที่มาจากการขายลำไยสดหรือรูดร่วงได้น้อยลง ไม่คุ้มค่าในการที่จะซื้อปุ๋ยมาดูแลบำรุงต้นเพื่อให้ติดดอกออกผล หรือการแบกรับภาระหนี้สินที่กู้ยืมมาจากธนาคารด้วย ทั้งนี้ ตนเองได้คิดค้นคว้าวิธีการแปรรูปลำไยด้วยการหาในสื่อโซเชียลและพบว่าการแปรรูปทำลำไยสีทองนั้นหากทำสำเร็จจะมูลค่าสูงมากและยังเป็นความต้องการของผู้บริโภคด้วย ตนเองจึงได้เริ่มคิดทำลงมือทำลำไยสีทองนี้

ซึ่งเริ่มแรกนั้นตนเองได้ขอตู้อบลำไยจากทางเกษตรจังหวัดพะเยาและได้มาจำนวน 1 เครื่อง ทั้งนี้ ตู้ดังกล่าวนอกจากจะอบลำไยได้แล้วยังสามารถอบสิ่งต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ตนเองและทางชาวบ้านได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ได้มาส่งเสริมและออกแบบซองบรรจุลำไยสีทองให้มีรูปลักษณ์ที่น่าซื้อพร้อมทั้งน่าลิ้มลองมากยิ่งขึ้นด้วย

กำนันนพดล กล่าวต่อว่า สำหรับการทำลำไยอบแห้งสีทอง เริ่มแรกจะต้องนำลำไยพันธุ์อีดอเฉพาะขนาด AA มาทำเท่านั้น หากเป็นขนาดอื่นจะมีปัญหาเรื่องการแห้งไม่พร้อมกันและขนาดเมื่ออบเสร็จขนาดก็จะไม่เท่ากันได้เนื่องจากขนาดจัมโบ้หรือ AA เมื่อทำการคว้านแล้วจะได้เนื้อที่หนามากกว่าขนาดอื่นซึ่งตรงนี้ผู้คว้านผลลำไยจะต้องมีความชำนาญที่เอาเมล็ดลำไยออกจากเนื้อด้วย และเบื้องต้นต้องแกะเอาเปลือกข้างนอกออกก่อน ทั้งนี้ ในการคว้านลำไยนั้นตนเองจะต้องจ้างชาวบ้านมาคว้าน โดยเฉลี่ยแล้วมือคว้านเมล็ดจะได้ค่าจ้างอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้ชาวบ้านเกิดวิสาหกิจชุมชนมีรายได้จากการทำตรงนี้เพิ่มขึ้น หลังจากนั้น เมื่อทำการคว้านเอาเมล็ดข้างในออกเสร็จแล้วซึ่งจะได้เนื้อลำไยที่ขาวสะอาดและนำไปล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง หลังจากนั้น ก็นำเนื้อลำไยที่ทำการล้างน้ำแล้วใส่ตะแกรงของตู้อบลำไย ซึ่งก่อนที่จะเอาเข้าตู้อบนั้นจะต้องคว่ำเนื้อลำไยตรงรูที่แกะเมล็ดออกลงให้หมดเพื่อที่จะได้ให้น้ำที่ล้างไหลออกจนหมด

ทั้งนี้ ภายในตู้อบนี้จะมีถาดใส่ลำไยทั้งหมด 17 ถาด โดยตนเองได้มอบหมายให้เป็นของชาวบ้านของแต่ละคนในการรับผิดชอบของแต่ละถาดนี้ ซึ่งแต่ละถาดจะรับน้ำหนักได้ 5-7 กิโลกรัม ในการอบลำไยนั้นจะใช้ทั้งไฟฟ้าและแก๊สเป็นตัวควบคุม

เวลาอบ 2 ชั่วโมงแรกจะใช้อุณหภูมิอยู่ที่ 75-80 องศา หลังจากนั้น จะลดระดับลงเหลือที่ประมาณ 60 องศา ทั้งนี้ จะต้องอบไปอีก 6 ชั่วโมงจึงจะสามารถเปิดเตาได้ แต่ถ้าเปิดเตาแล้วลำไยยังไม่แห้งก็สามารถทำการอบเพิ่มได้ ให้ลำไยแห้งและกรอบนุ่มที่สุด จนมีสีเนื้ออกเป็นสีทองในเวลาต่อมา หลังจากนั้น ก็นำมาใส่ซองที่เตรียมบรรจุ

แต่ละซองจะมีขนาดอยู่น้ำหนัก 250 กรัม จำหน่ายในราคาซองละ 135 บาท เวลานี้ตนเองพบว่าหลังจากที่เริ่มทำอย่างจริงจังของปีนี้เริ่มมีลูกค้าภายในอำเภอและต่างจังหวัดที่รู้ข่าวการผลิตลำไยสีทองนี้ต่างเริ่มสั่งจองกันเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ในการทำลำไยอบลมแห้งสีทองนี้ตนเองถือว่าเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมทำกันมา อีกทั้งนอกจากที่จะส่งขายแล้ว ชาวบ้านยังสามารถนำไปรับประทานที่บ้านเอง ไม่ว่าจะทำเป็นน้ำชาลำไยหรือเป็นของว่างให้ลูกหลานได้รับประทานกัน ตนเองเชื่อว่าจะสามารถแปรรูปลำไยนี้แล้วส่งออกไปยังต่างจังหวัดให้เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่ออีกอย่างของอำเภอเชียงคำต่อไป คุณนพดล กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน คุณวิรุฬห์ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงคำ กล่าวเสริมว่า ในส่วนของทางอำเภอนั้นตนเองจะได้ทำการประชาสัมพันธ์ลำไยอบแห้งสีทองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพราะถือว่าการทำลำไยสีทองแบบแกะเปลือกและเมล็ดออก ถือว่าเป็นแห่งแรกในอำเภอเชียงคำด้วย นอกจากนี้ การทำลำไยสีทองยังเป็นแนวทางการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง จะช่วยพยุงราคาไม่ให้ร่วงลงหนักกว่าลำไยสดด้วย ตนเองจะได้ส่งเสริมให้มีการนำตู้อบลำไยมาเพิ่มให้กับทางชาวบ้านเพื่อที่จะได้ทำให้การผลิตมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการต้องใช้ลำไยสดมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วยเช่นกัน เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมานิยมการรับประทานผลไม้ที่แปรรูปแล้วรสชาติอร่อย ประกอบกับสามารถเก็บไว้ได้นาน ตนเองเชื่อว่าชาวบ้านฝั่งแวนจะสามารถนำสินค้านี้ออกสู่ตลาดต่างจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและทำให้อำเภอเชียงคำมีชื่อเสียงในเรื่องของกินของฝากมากขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่อยากจะลองชิมรสชาติของลำไยอบแห้งสีทองบ้านฝั่งแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา หรือศึกษาดูงาน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณนพดล เข็มเพชร หรือ กำนันเอฟ ได้ตลอดเวลา หรือถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงคำ

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 เสียงตอบรับด้วยความตื่นเต้นยินดีจากฝ่ายต่างๆ ก็ดังขึ้นทันที เพราะนั่นหมายความว่าจากนี้ไปการปลูกพืชกระท่อม การนำเข้า การส่งออกเชิงพาณิชย์ การขาย ในระบบอุตสาหกรรม รวมถึงการนำมาบริโภคได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป

ตามนโยบายรัฐบาล ต้องการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ สามารถส่งขายเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมได้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย แต่ยังคงมีข้อห้ามในการนำพืชกระท่อมไปผสมกับสารเสพติดชนิดต่างๆ เช่น 4×100 ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ส่วนทิศทางการสร้างรายได้หลังที่มีการ “ปลดล็อกพืชกระท่อม” ควรจะเป็นไปในรูปแบบไหน สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกควรเตรียมตัวอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จาก บทสัมภาษณ์พิเศษ คุณนิพนธ์ สุขสะอาด เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ในฉบับนี้

ความเป็นมาของพืชกระท่อม กับพี่น้องชาวใต้
สืบเนื่องจาก วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ถือเป็นสัญญาณที่ดีให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย ให้มีอิสระเสรีในการปลูก บริโภค โดยที่ไม่ผิดกฎหมาย

“ในทันทีที่มีการปลดล็อกก็หมายถึงการสร้างโอกาส เพิ่มช่องทางในการทำมาหากินให้กับชาวบ้านได้อีกช่องทางหนึ่ง โดยเฉพาะกับพี่น้องชาวใต้ที่มีความคุ้นเคยกับพืชกระท่อมกันมาช้านาน จนแทบจะเป็นชีวิตประจำวันที่เมื่อถึงเวลารุ่งเช้าก่อนออกจากบ้านไปทำกิจการงานเกษตร ก็เป็นอันต้องแวะเก็บใบกระท่อมติดไม้ติดมือไปด้วยเสมือนเป็นของคู่กาย เมื่อถึงยามสายหยิบใบกระท่อมออกมาเคี้ยวกินเป็นยาขยัน หรือในบางครัวเรือนกินเพื่อเป็นสมุนไพรเพื่อรักษาโรค จนไปถึงขั้นปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ปลูกจนสามารถสร้างรายได้ส่งเสียลูกเรียนให้จบสูงได้ แต่ในเวลาต่อมาได้มีการบังคับใช้กฎหมายกับพืชกระท่อม วิถีชีวิตของพี่น้องชาวใต้ก็เปลี่ยนไป เนื่องจากเริ่มมีคนนำเอาใบกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิดมากขึ้น เช่น การนำไปดัดแปลงผสมกับสารเสพติดที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น จึงส่งผลให้ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นตามลำดับ ไปสู่การจับกุม และมีการโค่นทำลายแหล่งปลูกพืชกระท่อมกันยกใหญ่” คุณนิพนธ์ กล่าว

พื้นที่ปลูกยังมีไม่มาก อยู่ในขั้นตอนของการขยายพันธุ์
มีกระแสตอบรับที่ดีจากทุกหย่อมหญ้า
สำหรับพื้นที่การปลูกพืชกระท่อม ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณนิพนธ์ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่การปลูกกระท่อมในจังหวัดนครศรีธรรมราชยังมีไม่มาก เนื่องจากตามที่ได้กล่าวข้างต้นว่า ก่อนหน้านี้มีการบุกทำลายแหล่งผลิตไปจนเกือบหมด ทุกคนยังอยู่ในสภาวะสงบนิ่ง คือไม่กล้าที่จะปลูก ซึ่งภายหลังจากที่กระทรวงยุติธรรมปลดล็อกให้พืชกระท่อมไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป ก็เหมือนเป็นการได้เปิดประตูเขื่อน น้ำทะลักเข้ามา เหมือนกับเป็นการจุดประกายความคิด ความฝัน ของเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจก็ได้หลั่งไหลพรั่งพรูออกมา ให้เห็นถึงทิศทางการสร้างรายได้ ในเรื่องของการต่อยอดหวังให้พืชกระท่อมกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจอีกครั้ง ด้วยการคิดนำเอาต้นกระทุ่มมาเป็นต้นตอเสียบยอดขยายพันธุ์ด้วยกระท่อมพันธุ์ดี การเพาะกล้า รวมถึงการจ้างแรงงาน

สร้างรายได้ให้เกิดในชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีผู้นำที่มีหัวก้าวหน้า หรือมีความสามารถในเชิงธุรกิจ ได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา เพื่อที่จะขยายพันธุ์ไว้รองรับการตลาดให้กับเกษตรกร หรือคนทั่วไปที่มีความสนใจที่จะปลูกกระท่อม จึงสรุปได้ว่า ณ ขณะนี้พื้นที่ปลูกยังมีไม่มาก ยังอยู่ในขั้นตอนของการเริ่มต้น ในขณะที่ผู้คนทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าจะเป็นคนที่อาศัยอยู่ในเมืองก็ยังสนใจที่จะปลูกต้นกระท่อมไว้ติดบ้านเป็นยาสัก 1-2 ต้น หรือเกษตรกรชาวสวนมีความต้องการที่จะปลูกกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจในครัวเรือน เก็บใบขาย หรือบางคนมีความคิดถึงขั้นว่าจะทำในรูปแบบของกลุ่มเครือข่ายสร้างอาชีพรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการขยายพันธุ์ การเก็บใบขาย การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชูกำลังในอนาคต

การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในชุมชน
ในส่วนของแนวทางการตลาดของพืชกระท่อม คุณนิพนธ์ ขอตอบในมุมมองของเกษตรจังหวัดว่า ตั้งแต่พืชกระท่อมได้มีการปลดล็อก ถือเป็นการส่งสัญญาณในเชิงเศรษฐกิจที่ดี เริ่มต้นจากในแง่ของการสร้างรายได้ในชุมชน อย่างเช่น การบริโภคกระท่อมแล้วทำให้ขยัน สู้แดด สามารถทำงานได้ดี ไม่มีเสียการเสียงาน อันนี้ถือเป็นการสร้างประโยชน์ในรายบุคคล คือบริโภคแล้วไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร และไม่เกิดเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้งกันเกิดขึ้น ซึ่งในจุดนี้จึงมองว่าเป็นข้อดี เพราะถ้าคนขยันย่อมเป็นผลดีในเชิงเศรษฐกิจอยู่แล้ว

แต่ถ้าหากจะมองให้เห็นอย่างชัดเจนคือ จากคนที่เคยว่างงาน ก็กลับมามีรายได้ จากต้นกระทุ่ม ที่เคยเป็นวัชพืชโค่นทิ้งก็ไม่ตาย ตอนนี้กลายเป็นพืชที่หายากมาก ถึงขั้นต้องมีการสั่งจองกันล่วงหน้า และมีราคาแพง อันนี้ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ในแง่ของการจ้างแรงงาน การกระจายรายได้ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างต้องทำตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด และต้องไม่มีการนำกระท่อมมาใช้ผิดประเภทที่ทำให้เสื่อมเสียต่อร่างกาย และสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจภายในชุมชนขยายไปได้โดยเร็วคือการพัฒนาในเรื่องของการแปรรูป เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานอันนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ อาจจะมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา หรือทำแปลงใหญ่ ทำร่วมกันไปตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์

การค้นคว้าหาสายพันธุ์ที่มีสารสำคัญที่จะสามารถนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มประเภทชา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง หรือในทางการนำไปทำเป็นยาสมุนไพร แบบไหนดีอย่างไร คงต้องมีการวิจัยควบคู่กันไป และในอนาคตอีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการทำมาตรฐาน GAP เพราะอย่าลืมว่าใบกระท่อมเป็นพืชอาหาร ถ้าหากไม่มีการควบคุมในการใช้สารเคมี อาจส่งผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย

เพราะฉะนั้นผู้ปลูกทุกท่านควรมีการผลิตตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ปลอดภัย ใครจะนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือเป็นอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ในอนาคตก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละคน แต่อย่างน้อยผลิตภันฑ์ที่ทำอยู่ ต้องสะอาด และมีมาตรฐานสากลรองรับ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น

ปลดล็อกแล้ว ใครปลูกได้บ้าง?
เลือกต้นพันธุ์แบบไหน? ไม่ให้ถูกหลอก
เบื้องต้นตามกฎหมายการปลดล็อก คือตอนนี้ใครก็สามารถปลูกกระท่อมได้ โดยไม่ต้องขอใบอนุญาติใดๆ แต่สิ่งที่ห้ามทำและยังผิดกฎหมายอยู่คือ ห้ามนำไปทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย คือ 1. การนำไปผสมในสารเสพติด เช่น 4×100 2. ห้ามขายให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 3. ห้ามขายให้สตรีมีครรภ์ 4. ห้ามขายในสถานศึกษา-วัด และ 5. กรณีส่งออก นำเข้า หรือทำผลิตภัณฑ์ ต้องขออนุญาต

“ในขั้นตอนของการคัดเลือกสายพันธุ์ เบื้องต้นกระท่อมที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ 1. ก้านเขียว 2. ก้านแดงหางกั้ง และ 3. ก้านแดง มักพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ ซึ่งจากการที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระท่อมทั้ง 3 สายพันธุ์นี้จะมีสารสำคัญที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงรสชาติของใบที่มีไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ และสำหรับท่านที่จะนำไปทำในเชิงอุตสาหกรรมน่าจะต้องมีการเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมเพื่อนำไปแปรรูป

ส่วนท่านใดที่คิดจะปลูก ESport SBOBET วิธีของการขยายพันธุ์หลายท่านก็คงทราบกันดีว่าถ้าเป็นการปักชำกิ่ง การตอนกิ่ง การติดตา หรือการทาบกิ่ง เขาเรียกว่าเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ข้อดีคือ จะได้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ กิ่งที่ได้ ใบที่ได้ก็จะได้ตามต้นแม่ ไม่มีผิดเพี้ยน และหากถ้าใครสนใจอยากปลูกจึงแนะนำว่าให้ทำการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศก็จะได้สายพันธุ์ที่แท้ แต่ว่าการขยายพันธุ์วิธีนี้อาจจะยังมีไม่มากนัก สืบเนื่องจากมีข้อจำกัดตอนที่ต้นแม่พันธุ์ในพื้นที่โดนปราบปรามไปจนเกือบหมด

“ต่อมาการขยายพันธุ์ประเภทที่ 2 คือการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือการเพาะเมล็ด วิธีการเพาะ ชาวบ้านในพื้นที่เขาบอกว่าไม่ยาก มีข้อดีคือทำได้ง่ายและได้ปริมาณมาก แต่ข้อเสียคือมีโอกาสที่จะเกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย มีความผิดเพี้ยนไปจากพันธุ์เดิม หรือลักษณะที่ไม่พึงประสงค์อาจจะเพิ่มมากขึ้น และในส่วนของการดูแลอาจจะมีศัตรูพืช ซึ่งตรงนี้ก็น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ที่จะปลูกเพื่อการค้า เพราะเมื่อมีศัตรูพืชเกิดขึ้นก็ต้องมีในเรื่องของสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง สิ่งนี้แหละเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากันต่อในอนาคตว่าจะมีวิธีการบริหารจัดการให้เกิดเป็นพืชปลอดภัยเหมือนกับพืชผักชนิดอื่นได้อย่างไร” คุณนิพนธ์ กล่าวทิ้งท้าย

มะนาว เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ถ้าต้องการให้เจริญเติบโตและคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ปลูกใกล้แหล่งน้ำ

คุณทวีศักดิ์ ด้วงทอง ที่ปรึกษานิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้เขียนแนะนําวิธีปลูกมะนาวไว้ใน หนังสือ “คู่มือพืชสวนเศรษฐกิจ” ของกรมส่งเสริมการเกษตรไว้ดังต่อไปนี้ ควรใช้ต้นพันธุ์มะนาวจากกิ่งตอน ปักชํา หรือติดตา โดยพิจารณาแหล่งผลิตต้น พันธุ์ที่เชื่อถือได้

2. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

3. ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ผสมดินกับปุ๋ยคอก จํานวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (Rock Phosphate) จํานวน 500 กรัม เข้ากัน กลบดินลงหลุมให้สูงกว่าระดับดินเดิม ประมาณ 25-30 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นโขดหิน แต่ถ้า เป็นพื้นที่ดอน อาจทําเป็นโขดเตี้ยๆ ก็ได้

5. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

6. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึง ปากถุงทั้งสองด้าน (ซ้ายและขวา)