หลักเกณฑ์กำหนดบทบาทหน้าที่ และหลักการรับซื้อปาล์ม

ของผู้ประกอบการ หากกรรมการมาจากการแต่งตั้งย่อมจะกำหนดอย่างไรก็ได้ ซึ่งอาจจะขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ไม่ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มทั้งระบบ

ประเด็นการแก้ไขเงินกองทุนปาล์มน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเดิมกำหนดให้ทุกภาคส่วน เช่น โรงสกัด โรงกลั่น ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อนำไปใช้เป็นเงินในสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ฉบับใหม่กลับกำหนดให้เหลือเพียงเงินที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีของภาครัฐ ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากที่จะได้รับเงินสนับสนุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ”

ร่าง พ.ร.บ.ปาล์มใหม่

ร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน พ.ศ. … (ฉบับกฤษฎีกาแก้ไข) ได้ลดจำนวนมาตราลดลงเหลือ41 มาตรา และเปลี่ยนชื่อจากร่างเดิม พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม พ.ศ. … ซึ่งมี 58 มาตราสาระสำคัญของร่างฉบับกฤษฎีกา ประกอบด้วย 5 หมวด คือ หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานคนที่ 1 รมว.พาณิชย์เป็นรองประธานคนที่ 2

กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงต่าง ๆ 5 กระทรวง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ร่างนี้กำหนดให้ รมว.เกษตรฯตั้งกรรมการผู้แทนภาคเอกชน 7 คน ซึ่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกร 3 คน, ผู้แทนองค์กรเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน 1 คน ผู้แทนผู้ประกอบกิจการปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน3 คนด้วย ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี โดยมีหน้าที่ด้านต่าง ๆ อาทิ เสนอนโยบายและแผนการบริการจัดการ แนวทางและมาตรการต่าง ๆ รวมถึงแนะนำรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตลอดจนการบริหารกองทุน เป็นต้น

หมวด 2 กองทุนปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนปาล์ม และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม โดยกำหนดให้แหล่งเงินจากเงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรจากงบประมาณประจำปี เงินค่าปรับทางปกครอง และดอกเบี้ย โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งมีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน และมีเลขาธิการ สศก.เป็นรองประธาน หมวด 3 การส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการประกอบกิจการรับซื้อผลปาล์ม ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่มาตรา 29 หมวดที่ 4 พนักงานเจ้าหน้าที่ และหมวด 5 โทษทางปกครอง เช่น หากฝ่าฝืนมาตรา 29 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ถึงสูงสุด 1 แสนบาท

นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอร์ด) ว่า จากราคาหมูที่ลดลง 25% จากราคา 60 บาท/กิโลกรัม (กก.) ลดเหลือ 45 บาท/กก.ในรอบ 6 เดือน ปัจจุบันประเทศไทยบริโภคหมูประมาณวันละ 50,000 ตัว จากราคาที่ลดลงขาดทุนตัวละ 1,500 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุนวันละ 75 ล้านบาท หรือขาดทุน 13,500 ล้านบาท โดยราคาหมูสัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. 2561 ภาคเหนือราคาเฉลี่ย 54 บาท/กก. ภาคอีสานราคา 45 บาท/กก. ภาคตะวันออกราคา 48 บาท/กก.ภาคตะวันตกราคา 40 บาท/กก. และภาคใต้ราคา 47 บาท/กก. เฉลี่ยหมูในประเทศ 46.80 บาท/กก.

ทั้งนี้ จากราคาสุกรต่ำและผู้เลี้ยงรายย่อยขาดทุนเพราะราคาจำหน่ายต่ำกว่าต้นทุน สมาคมและผู้เลี้ยงต่าง ๆ ขอเงิน 1,190 ล้านบาท เพื่อทำ3 กิจกรรม คือ 1.ตัดวงจรหมูขุนเพื่อทำหมูหัน 1 แสนตัว ขนาดน้ำหนัก8 กก. ชดเชยให้เกษตรกร 400 บาทต่อตัว รวมเป็นเงินงบประมาณ 40ล้านบาท ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ย. 2561 2.ปลดแม่สุกร 10% จำนวน 1 แสนตัว ชดเชยให้เกษตรกร 6,000 บาทต่อตัว รวมเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท และ 3.การนำเนื้อสุกรเก็บเข้าห้องเย็น 1 แสนตัว ราคาตัวละ 5,500 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณ 550 ล้านบาท โดยที่ประชุมให้เกษตรกรไปช่วยเหลือบริหารตัวเองก่อน

“ในที่ประชุม นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะประธานที่ประชุม ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์เรียกเอกชนรายใหญ่ อาทิ ซี.พี. เบทาโกร เป็นต้น เข้าหารือเพื่อลดปริมาณการผลิตที่จะออกสู่ตลาด เพื่อให้ราคาหมูปรับตัวดีขึ้น”

นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การแก้ไขราคาหมูล้นตลาดเป็นปัญหาสะสมมาจากปี 2560 เนื่องจากภาคเอกชนคาดการณ์ความต้องการของตลาดผิดพลาด จึงเป็นสาเหตุทำให้ราคาหมูตกต่ำ

“วันศุกร์จะเรียกเอกชนรายใหญ่ผู้เลี้ยงหมูในประเทศเข้าหารือ เพื่อลดการผสมแม่พันธุ์ 20% ของจำนวนหมูในฟาร์ม ลดจำนวน 20,000 แม่ภายใน 6 เดือน โดยเป้าหมายลอตแรก 1 แสนตัว และลดไปเรื่อยถึง 2 แสนตัว ส่วนกิจกรรมการนำเนื้อหมูเข้าห้องเย็น เพื่อเป้าหมายการตัดวงจรหมูขุน 1 แสนตัว จะใช้เงิน 100 ล้านบาท จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรกู้เพื่อชำระการนำเนื้อหมูเก็บเข้าห้องเย็น ส่วนมาตรการลดปริมาณหมูจากระบบหากเอกชนให้ความร่วมมือคาดว่าไม่เกิน 2 เดือนราคาหมูจะดีขึ้น”

นายอภัยกล่าวว่า สำหรับแผนการผลิตหมูปี 2561 คาดจะลดปริมาณการผลิตหมูลง 5% หรือทั้งปีจะมีปริมาณหมู 19.24 ล้านบาท ของปริมาณผลผลิตหมูในปีก่อนที่มีปริมาณหมูรวม 22.106 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 สัดส่วน 9.52% การลดปริมาณผลผลิตหมูในปีนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาหมูไม่ให้ตกต่ำ

ด้านนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ราคาหมูวิกฤตต่อเนื่องมาก ซึ่งตนเห็นควรต้องกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาผู้เลี้ยงสุกรไม่เคยที่จะขอเงินหรือเรียกร้องอะไรรัฐบาลเลย ตอนนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุนจำนวนมาก จากราคาเดิมที่ขายได้ 60 บาท/กก. ตกต่ำลงมาเหลือ 45 บาท/กก. ก่อนหน้านี้เคยขอกองทุนประมาณ 1,190 ล้านบาทเพื่อมาเยียวยาและแก้ไขปัญหาก็ยังไม่ได้ เนื่องจากติดขัดขั้นตอนคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คพช.) กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต้องปรับระเบียบใหม่ จึงจะได้รับอนุมัติ ทั้งนี้ สมาคมเห็นด้วยกับแนวทางมติพิกบอร์ดที่ให้เอกชนรายใหญ่และผู้เลี้ยงหมูเข้าเพื่อลดการผสมแม่พันธุ์ 20% ของจำนวนหมูในฟาร์ม ลดจำนวน 20,000 แม่ใน 6 เดือน โดยตั้งเป้าลอตแรก1 แสนตัว และลดไปเรื่อยถึง 2 แสนตัว

นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การตัดวงจรหมูขุน 1 แสนตัว และหยุดการผสมพันธุ์ของแม่พันธุ์ลง 20 เปอร์เซ็นต์ แก้หมูล้น ยังดูเหมือนเป็นภาคทฤษฎี เพราะไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนออกมา แต่ทราบมาว่านายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเรียกผู้เลี้ยงรายใหญ่ 8-9 รายหารือแก้ปัญหาหมูล้นตลาด

รายงานข่าวจากกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า ปัจจุบันมี 10 บริษัทรายใหญ่ที่มีปริมาณแม่หมูจำนวนมาก ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF, เครือเบทาโกร (BTG) บริษัทไทยฟู้ดส์กรุ๊ป, บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด, บริษัท เอสพีเอ็มฟาร์ม จำกัด (SPM), บริษัทวีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด (VPF), บริษัท กาญจนากรุ๊ป(KN), PAKT กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรปากท่อ, บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด และบริษัท อาร์เอ็มซี ฟาร์ม จำกัด จ.บุรีรัมย์ (RMC)

เมื่อเวลา 17.00 น. มีพิธีเปิดงานวันยางพาราและกาชาดจังหวัดบึงกาฬ ประจำปี 2561 อย่างเป็นทางการ โดยมี นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี

นายสุธีกล่าวว่า ผมในนามของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย รู้สึกเป็นเกียรติ และภาคภูมิใจที่มีโอกาสเป็นประธานเปิดงานในวันนี้ จากคำกล่าวรายงานของท่านผู้ว่าฯ ทำให้รับทราบถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดงานอย่างชัดเจน

“ผมขอเรียนด้วยความเคารพว่า ขอชื่นชม ขอแสดงความชมเชยในการจัดงานครั้งนี้หลายประการคือ 1. เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร. 10 ซึ่งผู้จัดงานได้จัดนิทรรศการ และแสดง ตรงนี้สแดงให้เห็นว่าพี่น้องชาวบึงกาฬมีความจงรักภักดีและเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างสมบูรณ์ 2.ถึงแม้ว่าจะได้สถาปนาเป็นจังหวัดที่ 20 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 76 ของภูมิภาคของประเทศไทย ไม่นับรวมกรุงเทพฯ ได้มีการจัดงานวันยางพาราฯของบึงกาฬเป็นครั้งที่ 6 ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

3.คณะกรรมการจัดงาน มีความรักสามัคคี ทำงานเชิงประชารัฐขอทุกภาคส่วน ช่วยดำเนินการ และฯพณฯท่านช่วยส่งเสริม ถือว่าอนาคตข้างหน้า จ.บึงกาฬ จะเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ ก้าวหน้าเชิงของการทำยางพารา และพืชเศรษฐกิจตัวอื่นได้อย่างมั่นคง” 4.สิ่งที่เห็นมากขึ้นคือ แม้บึงกาฬเป็นจังหวัดใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายด้านที่น่าสนใจ และการจัดงานอย่างนี้ ในอนาคต จ.บึงกาฬ จะเป็นการเปิดแหล่งท่องเที่ยว และกลุ่มภาคอีสานตอนบนอันประกอบด้วย 5 จังหวัด จะเป็นจังหวัดที่มีเสถียรภาพหลายด้าน และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความโดดเด่น 5. ณ วันนี้บึงกาฬมีการดำเนินงานเชิงประชารัฐ ไม่ว่าจะเรื่องโอท็อป การแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก เห็นได้ว่ารายได้ต่อหัวต่อคนสูงขึ้นมากในระดับที่น่าพอใจ ถ้าเรามีการดำเนินการในเชิงประชารัฐ ผมเชื่อมั่นว่าในอนาคตข้างหน้ารายได้ต่อหัวจะมากขึ้นผมย้ำว่าทั้ง 8 อำเภอ หมายรวมถึงพี่น้องในจังหวัด“

นายสุธีกล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่ขอชื่นชม เนื่องจากเรามีการจัดงานกาชาดร่วมด้วย ต้องขอบคุณเหล่าทีมงานกาชาด และผู้มีส่วนเกียวข้องที่สามารถดำเนินงานได้อย่างสมบูรณ์ ช่วยดูแลพี่น้องประชาชน ที่เขามาขอรับบริการของเหล่ากาขาด ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์

“ผมเองนั้น ในฐานะที่เคยเป็นข้าราชการประจำ ขอกราบเรียนว่าในข้อเสนอแนะบางเรื่อง ประการแรก ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ได้รับงบประมาณลงมา ถ้าเราสามารถทำยุทธศาสตร์ได้ชัดเจน งบประมาณจะลงมาตามนี้ ทำให้สามารถพัฒนาและแก้ปัญหาได้” นายสุธีกล่าวว่า ส่วนที่สอง บึงกาฬเป็นจังหวัดใหม่

สิ่งที่ต้องช่วยดูแลต่อคือการผังเมือง ถ้าดีแล้ว ในอนาคตจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวบึงกาฬในการพัฒนาประเทศจากภูมิทัศน์ที่สวยงาม เช่น ในประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาเป็นพันธมิตร ส่วนที่สามที่ขอแสดงความชื่นชมมากคือการทำการตลาดจริงอยู่ที่วันนี้ภาคเอกชนมีความเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันเราต้องพัฒนาตัวเองด้วยเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเฉพาะยางพาราของเรานั้นมีมูลค่า

นายพิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานวันยางพาราฯ ว่า งานวันยางพาราปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อจังหวัด เพราะจะเป็นการยกระดับศักยภาพในการพัฒนา เนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด การจัดงานครั้งนี้นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวบึงกาฬที่ปลูกยางพารา แม้ว่าขณะนี้เกษตรกรผู้ผลิตยาง กำลังประสบปัญหาในเรื่องราคาผันผวน

“สำหรับการจัดงานครั้งนี้มียุทธศาสตร์สำคัญ 3 ด้าน คือ 1. ยกระดับการจัดงานเป็นมหกรรมที่มีความสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 2.พัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว การศึกษา และการประกอบอาชีพ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย 3.ตอกย้ำว่าจังหวัดบึงกาฬเป็นศูนย์กลางยางพาราของภาคอีสานที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัด และจุดยืนทางยุทธศาสตร์ มุ่งสู่ศูนย์กลางการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยนวัตกรรม”

นายพิสุทธิ์ กล่าวว่า จังหวัดบึงกาฬมีศักยภาพหลายด้าน ด้านเศรษฐกิจคือเรื่องการพัฒนายางพารา มุ่งเน้นการแปรรูป เช่น การตั้งโรงงานผลิตหมอนยางพารา และกำลังจะพัฒนาสู่ที่นอนยางพารา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ในเรื่องเมืองการค้าชายแดนในปี 62 จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการเชื่อมโยงการค้าการลงทุน ระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ซึ่งจะเอื้อต่อการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยางพาราในอนาคต

“นอกจากนี้จังหวัดยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และพร้อมจะผลักดันเป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการสร้างสนามบินประจำจังหวัดในอนาคตด้วย” นายพิสุทธิ์ ทิ้งท้าย

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 นายศรชัย สิบหย่อม อายุ 63 ปี ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ อำเภอ สามง่าม และ เป็นอดีต ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 16 ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า เจตนารมของรัฐบาลนั้นจะ ให้ เกษตรกรชาวนา มีการจำนำข้าวทางยุ้งฉาง ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งราคาข้าวขณะนี้ ดีมาก แพง มาก แต่ปรากฏว่าข้าวชาวนาไม่มีแล้วเนื่องจากก่อนหน้านั้น ขายข้าว ให้กับนายทุน ซึ่ง เป็นทั้งท่าข้าว โรงสีหมดแล้วเพิ่งจะมีราคาดี โดยขาย ให้กับท่าข้าวและโรงสีตันละ 5200-5300บาทคนที่ได้ราคา ดี ที่ได้ประโยชน์ คือ นายทุนเท่านั้น ที่ได้ กว่า 1 หมื่น

นายศรชัย กล่าวอีกว่า ที่ ผ่านมา รัฐบาลกระทรวงพาณิชย์ ไม่เคยเข้ามาควบคุมในเรื่องราคาข้าว ให้กับเกษตรกรชาวนาเมื่อ นายทุน รับซื้อข้าวจากชาวนา แล้วกดราคา ซื้อถูก จะทำอย่างไร ก็ได้ ซึ่งชาวนาจำเป็นต้องขาย ซึ่งขณะนั้นขายได้ตันละ 5200 -5300บาท ซึ่งชาวนา ขาดทุน เพราะต้นทุนในการทำนา สูง ค่าปุ๋ย ค่ายา ทุกอย่างขึ้นราคาไม่มีลด ซึ่งชาวนางงมากว่า ทำไมก่อนหน้านั้นรัฐบาลถึงไม่มาดูแล ชาวนา ปล่อยให้มีการกดราคาข้าวได้อย่างไร สมกับที่ชาวนาพูดกันว่า “รัฐบาลอุ้มแต่คนรวย”

นายศรชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลมีสิทธิ์ คิด ส่วนเกษตรกรชาวนาไม่มีสิทธิ์คิด เมื่อ ข้าวเปลือกออกมามากก็บ่นกันว่าทำกันมากทำไม ซึ่งพูดแบบนี้ไม่ถูกหลัก การที่จะดูเกษตรกรชาวนาต้องวออกมาดูในช่วงเก็บเกี่ยว ไม่ใช่ขายแล้วมาดูดู ถามใครได้ ประโยชน์ รัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ ไปอยู่ที่ไหน เคยออกมาดูหรือไม่

“การที่ทางกระทรวงพาณิชย์มาดึงชาวนา ไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาข้าว แบบยั่งยืน มันเหมือนช้าไป ซึ่งทำอย่างไรชาวนา ก็ เป็นหนี้เหมืนเก่า กลาย เป็นการรับกรรมต่อไป เมื่อ รัฐบาลไม่ดูแลแบบนี้ เกษตรกร ก็ต้องหันไปคิดถึงโครงการรับจำนำข้าวเพราะชาวนา ได้ ทุกบาททุกสตางค์ เพราะโอนผ่านระบบ ธกส.” นายศรชัย กล่าว

นายศรชัย กล่าวอีกว่าดังนั้นชาวนาอยากเรียกรัฐบาลในช่วง เดือนมีนาคม ต้นเมษายน ข้าวเปลือกชาวนา จะเก็บเกี่ยวข้าวจะออกมาเยอะมาก อยากให้รัฐบาลออกมามองจุดนี้ และหาทางช่วยเหลือราคาข้าวเปลือกให้ชาวนา ได้ตันละ8พันบาท อย่าให้นายทุน กดราคาข้าว ชาวนาจะสามารถลืมตาอ้าปากอยู่ได้ดังนั้นอยากเรียกร้องรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ พาณิชย์จังหวัด ลงมาควบคุมราคาข้าวเปลือก ไม่ใช่ท่านสุขสบาย ชาวนาอดอยาก ไม่ให้ชาวนาทำนาจะให้ไปทำอาชีพอะไร รัฐบาลให้ชาวนาทำตามนโยบายให้ปลูกพืชน้ำน้อย ผลสุดท้ายชาวนาถูกน้ำท่วม ราคาข้าวตกต่ำถามว่าใคร เป็นหนี้ ชาวนาเป็นหนี้ รัฐบาลไม่ได้ เป็นหนี้ แม้รัฐบาลจะให้ค่าชดเชยถามว่าคุ้มใหม่กับความเสียหายที่ได้รับ

ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังจาก “คุณพิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์” ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ คนที่ 7 ได้ก้าวเข้ามาทำหน้าที่พ่อเมืองของจังหวัดบึงกาฬอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน ได้ผลักดันโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนสู่เป้าหมายหลัก คือ “สังคมเป็นสุข” อย่างต่อเนื่อง อาทิ มุ่งพัฒนา “ยางพาราบึงกาฬ 4.0” พลิกฟื้น “การทำสวนผลไม้” ในจังหวัดบึงกาฬ พัฒนามูลค่าเพิ่มข้าวแบบครบวงจร ฯลฯ

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งพ่อเมือง ท่านผู้ว่าฯ ยังมีไอเดียเด็ดๆ อีกมากมายที่จะนำมาใช้พัฒนาจังหวัดบึงกาฬ เช่น ลดปัญหาหนี้สินในระดับครัวเรือน สร้างแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันจะนำไปสู่ความมั่งคั่งแก่ประชาชนชาวบึงกาฬอย่างยั่งยืน

เรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา” พัฒนาคุณภาพชีวิต

ในอดีต ประชาชนทั้งในภาคการเกษตร และนอกภาคเกษตรประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประกอบอาชีพ จึงกู้ยืมเงินนอกระบบ เกิดหนี้สินก้อนโต ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุข รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำ “ศาสตร์พระราชา” มาช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม “คน” ลดปัญหาหนี้สินในระดับครัวเรือน กระทรวงมหาดไทยได้มอบนโยบายให้ทุกจังหวัดนำศาสตร์พระราชา เช่น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้การพึ่งพาตัวเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตัวเองอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมปลูกพืชแบบผสมผสาน ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล มีคุณธรรม รู้จักวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกอาชีพ ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร เมื่อชาวบ้านเกิดการเรียนรู้ เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง จะเกิดขบวนการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง มีรายได้ที่เพิ่ม พึ่งพาตัวเองได้ ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเหลือชุมชนและสังคมได้ต่อไป

ผมคิดว่า เราไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่เพื่อก้าวสู่ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” เพียงแค่คนไทย “ปรับแนวคิดใหม่” พัฒนาการผลิตจากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างครบวงจร ก็ทำให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพได้ ด้านปลายน้ำ สนับสนุนจุดขายสินค้าในลักษณะ “ตลาดประชารัฐ” โดยเปิดครบทั้ง 8 อำเภอ ของจังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ 1. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ 2. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ 3. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด 4. ตลาดประชารัฐ Modern Trade 5. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. 6. ตลาดประชารัฐต้องชม 7. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม

จังหวัดบึงกาฬ ได้มอบหมายให้สำนักงานสถิติจังหวัดประเมินผลความสำเร็จของศาสตร์พระราชาที่นำมาใช้กับประชาชนชาวจังหวัดบึงกาฬ พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น หนี้สินน้อยลง ค่าดัชนีความสุขระดับ 6 รายได้ต่อหัว ต่อครัวเรือน ก็ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของจังหวัดบึงกาฬ ไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 2 ปีหลัง เพราะผลกระทบจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ระหว่างปี 2559-2560 มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 22,000 ล้านบาท เท่าเดิม

ชูยุทธศาสตร์ “ท่องเที่ยว” เสริมรายได้ชุมชน

ที่ผ่านมา จังหวัดบึงกาฬได้โปรโมตการท่องเที่ยววิถีธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม เชิงอารยธรรม และด้านศาสนา ระหว่างการจัดงานวันยางพาราเเละกาชาดบึงกาฬ 2560 ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ในแง่ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือชาวบึงกาฬนั่นเอง เพราะชาวบึงกาฬส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น ภายหลังจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทำให้ชาวบึงกาฬตื่นตัวหันมาท่องเที่ยวภายในจังหวัดเพิ่มขึ้น เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นมากขึ้นตามลำดับ