หลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ดีสำหรับนำไปใช้ปฏิบัติ

ในชีวิตประจำวันหลายคนที่หันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ล้วนมีความสุข เพราะทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่า เหมาะสมกับการดำเนินอาชีพอะไร ใช้ชีวิตอย่างไร และมีจิตใจที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น ส่งผลให้ชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ปัจจุบัน จังหวัดยะลา มีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นคนไทยพุทธและคนไทยมุสลิมหลายท่านที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยกตัวอย่าง เช่น คุณประสิทธิ์ ทองใส ปราชญ์ประจำจังหวัดยะลา ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นวิทยากร เผยแพร่ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่ชาวบ้าน สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม

ชีวิตต้องสู้ของลุงสิทธิ์

คุณประสิทธิ์ ทองใส ปราชญ์ชาวบ้านคนเก่งของจังหวัดยะลา ที่หลายคนเรียกกันติดปาก “ลุงสิทธิ์เคราขาว” ได้เปิด “สวนลุงสิทธิ์” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ 30/8 หมู่ที่ 3 บ้านเปาะยานิ ตำบลสะเต็งนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็น “ศูนย์สาธิตและการเรียนรู้การเกษตรจังหวัดยะลา” ซึ่ง กศน. ยะลา มักพานักศึกษา กศน. และผู้สนใจแวะเวียนเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องการทำสวนเกษตรผสมผสาน ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

ลุงสิทธิ์ เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส แต่มาใช้ชีวิตที่จังหวัดยะลาตั้งแต่วัยเยาว์ เรียนจบการศึกษาระดับชั้น ปวช. ปีที่ 3 สาขาก่อสร้าง หลังจากนั้นรับราชการในตำแหน่ง นายช่าง ที่การไฟฟ้าจังหวัดยะลา นานถึง 29 ปี ลุงสิทธิ์ใช้เวลาว่างช่วงเสาร์-อาทิตย์ ทำการเกษตร เพราะใจชอบปลูกพืชผักไม้ผล ต่อมาลุงสิทธิ์ตัดสินใจลาออกเพื่อมาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา

ลุงสิทธิ์ มุ่งมั่นทำสวนเกษตรด้วยความตั้งใจ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ จนประสบความสำเร็จ สามารถคว้ารางวัลผู้นำเกษตรกรก้าวหน้า ระดับเขตในปี 2534 รางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาไร่นาสวนผสม จังหวัดยะลา ประจำปี 2548 รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2551 รางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาประมง จังหวัดยะลา ประจำปี 2550 และได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น จังหวัดยะลา 2552 และรางวัลปราชญ์ดีเด่นจังหวัดยะลา ปี 2560

ลุงสิทธิ์ ตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดยะลามาตลอดในระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยถูกคนร้ายยิงเฉียดตายมาแล้วหลายครั้ง รวมทั้งถูกเผาทำลายทรัพย์สิน เมื่อปี 2552 โดยคนร้ายได้วางเพลิงเผาโกดังปุ๋ยของลุงสิทธิ์ ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บรำละเอียด จำนวนประมาณ 20 ตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท

แต่ลุงสิทธิ์มีกำลังใจเต็มเปี่ยม ไม่ท้อถอยกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเขามีใจรักในอาชีพเกษตรกรรม และประกาศที่จะยืนหยัดทำสวนเกษตรของเขาต่อไป ลุงสิทธิ์พร้อมเดินหน้าทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้สนใจ โดยคาดหวังว่า ความรู้ดังกล่าวจะช่วยพัฒนาอาชีพให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่น กินดี อยู่ดี นำสันติสุขสู่ชายแดนใต้ได้ต่อไป

สวนเกษตรผสมผสาน

เนื่องจากชาวยะลาส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะสวนยางพารา เมื่อเจอวิกฤตราคายางตกต่ำ ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวบ้าน การเผยแพร่หลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนในครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลดี ทำให้ชาวบ้านเกิดแนวคิดใหม่ๆ ในการทำเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น

ลุงสิทธิ์ ยึดแนวพระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่และใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างคุ้มค่า บนเนื้อที่ 30 ไร่ ตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี สร้างเงิน สร้างรายได้ สำหรับเลี้ยงดูครอบครัว สามารถส่งลูก จำนวน 4 คน เรียนจนจบมีงานทำทุกคน สวนแห่งนี้ปลูกพืชผักผลไม้ผสมผสานกันหลากหลายชนิด เช่น ปลูกไผ่ช้างเมืองน่าน ลองกอง ต้นหมาก มะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน กล้วย และมะนาวพันธุ์ทูลเกล้า เลี้ยงเป็ด ไก่ เพื่อใช้เป็นอาหารแล้ว ยังใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์เป็นปุ๋ยคอกได้อีก

พื้นที่ว่างก็ขุดบ่อเลี้ยงปลา 7 ไร่ ใช้เลี้ยงปลานิล ปลาทับทิม แล้วยังปลูกบัวเพื่อเก็บดอกไว้ขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ส่วนพืชน้ำ หรือต้นหญ้าริมบ่อก็ใช้ทำปุ๋ยได้อีก การทำสวนเกษตรผสมผสานของลุงสิทธ์ เปรียบเสมือนมีซุปเปอร์มาร์เก็ตอยู่ในบ้าน อยากกินพืชผัก ไม้ผลชนิดไหน ก็มีให้กิน ไม่ต้องเสียเงินซื้อหาอาหารจากภายนอก

แนวคิดของสวนเกษตรผสมผสานแนวใหม่ของลุงสิทธิ์ เรียกว่า ระบบ Four in One โดยปลูกไล่ระดับชั้นลงมา พืชชั้นบนคือ ต้นทุเรียน รองลงมาคือ ต้นมะละกอ ชั้นถัดมาคือ ขิงแดง ใต้ต้นขิงแดงปลูกกระชายดำ ชั้นล่างลงมา ปลูกเห็ดโคน การทำสวนในลักษณะนี้ เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่า ประหยัดพื้นที่ เมื่อเทียบกับการปลูกพืชแบบเดิม วิธีนี้สามารถลดพื้นที่การปลูกพืชได้ 3-4 เท่า ทีเดียว

นอกจากนี้ ลุงสิทธิ์ยังปลูกพืชอายุสั้น โดยใช้หลักการเดียวกัน เรียกว่า ปลูกแบบ Three in One โดยปลูกพืชขึ้นค้าง คือ ฟักเขียว อยู่ด้านบน ปลูกอ้อยเป็นพืชชั้นกลาง และชั้นล่างปลูกพืชใต้ดิน คือ ถั่ว ที่นี่เน้นปลูกดูแลพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี ไม่ต้องกลัวเรื่องโรคและแมลง เพราะลุงสิทธิ์ใช้หลักธรรมชาติดูแลกัน โดยปลูกดาวเรืองแซมตามแปลงผัก เพราะดอกและใบมีกลิ่นฉุน แมลงจึงไม่อยากเข้าใกล้ อีกทั้งรากของดาวเรืองยังช่วยป้องกันการรุกรานของไส้เดือนฝอยได้ อีกแนวทางหนึ่งที่ลุงสิทธิ์มักแนะนำให้ผู้เยี่ยมชมงานนำไปใช้ป้องกันโรคแมลงก็คือ ใช้วิธีปลูกพืชสลับแถวเพื่อให้กลิ่นพืชแต่ละชนิดไล่แมลงรวมกันได้มากชนิดขึ้น

การทำสวนเกษตรผสมผสาน มีจุดแข็งอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ก่อนหน้านี้ ทุเรียน ลองกอง เจอปัญหาผลผลิตล้นตลาดขายได้ราคาไม่ดี แต่ลุงสิทธิ์ยังมีผลกำไรจากการขายมะนาวพันธุ์ทูลเกล้าเข้ามาเสริม จึงไม่ขาดทุนเหมือนกับเกษตรกรทั่วไปที่นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว

ลุงสิทธิ์ ปลูกมะนาวพันธุ์ทูลเกล้า จำนวน 500 ต้น บนเนื้อที่ 6 ไร่ มะนาวพันธุ์ทูลเกล้า เป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่ชายแดนใต้ มะนาวพันธุ์ทูลเกล้า มีจุดเด่นสำคัญคือ สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ตลอดทั้งปี มะนาวสายพันธุ์นี้ดูแลง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคระบาด แค่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ที่ลุงสิทธิ์ทำขึ้นใช้เองบำรุงต้น ก็ช่วยให้ต้นมะนาวให้ผลลูกใหญ่ มีน้ำมาก ไร้เมล็ด ให้ผลดก

ขณะเดียวกัน ลุงสิทธิ์ยังมีรายได้จากการตอนกิ่งมะนาวออกขายด้วย โดยขายให้แก่ผู้สนใจ ในราคากิ่งละ 50 บาท ลูกค้านิยมซื้อกิ่งพันธุ์มะนาวจากสวนลุงสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง เพราะได้กิ่งพันธุ์คุณภาพดี แข็งแรง เมื่อนำไปปลูกลงดิน ต้นมะนาวจะติดดอกออกผลมะนาวได้ในระยะเวลาไม่นาน

ลุงสิทธิ์ มีเคล็ดลับการตอนกิ่งมะนาวมาฝาก เริ่มจากเตรียมวัสดุที่จำเป็น ได้แก่ ใยมะพร้าวแช่น้ำ กะปิ เชือกฟาง ถุงพลาสติกใส มีดปลายแหลม วิธีการทำ เริ่มจากเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ที่มีขนาดเท่ากับดินสอ สีเขียวปนขาว หลังจากนั้นให้นำมีดกรีดลงไปเป็นทางยาว ประมาณ 1 นิ้ว แล้วปอกเปลือกให้เหลือแกนสีขาว ทากะปิรอบๆ กิ่ง ตรงแผลที่ต้องการตอนกิ่ง หลังจากนั้น นำใยมะพร้าว ใส่ในถุงพลาสติก กรีดตรงกลางถุงตามความยาวพอประมาณ หุ้มกิ่งตอนก่อนจึงค่อยนำเชือกฟางมัดหัวท้าย รอประมาณ 20 วัน จะเห็นรากงอกมาจึงค่อยตัดโคนกิ่งก่อนนำไปปลูก

สินค้าเด่น ติดอันดับสินค้าขายดีอันดับ 1 ของสวนลุงสิทธิ์ ก็คือ ดินปลูกลุงสิทธิ์ สำหรับปลูกต้นไม้กระถางและปรับสภาพพื้นที่ ดินปลูก ผลิตจาก ปุ๋ยหมัก 90% มีสีดำ ร่วนซุยดี ผสมขุยมะพร้าวน้อย สามารถปลูกซ้ำได้ เพราะมีสิ่งมีชีวิตอยู่จำนวนมากในดิน ทำให้อากาศถ่ายเท และรากแตกแขนงได้ดี พืชได้รับสารอาหารครบถ้วน เหมาะสำหรับใช้ปลูกผักไม้ผลในกระถาง ก็จะได้ผลผลิตที่ดี ต้นไม้เติบโตงอกงามได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม เคยมีคนทดลองปลูกต้นผักบุ้งในระยะเวลา 20 วัน เปรียบเทียบระหว่างดินถุงทั่วไปกับดินลุงสิทธิ์ พบว่า ดินลุงสิทธิ์ ต้นไม้ขึ้นได้ดีและสมบูรณ์กว่า และทดลองปลูกดอกกุหลาบ พบว่า ต้นกุหลาบ ดอกสีสด ใบสีเข้ม ปลูกผักขึ้นดี ปลูกมะนาวได้ลูกดก

นอกจากนี้ ลุงสิทธิ์ ยังผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดสำหรับต้นไม้ผล ยางพารา และปาล์ม ออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจในราคาย่อมเยาด้วย ผู้สนใจเยี่ยมชมสวนเกษตรผสมผสานหรือสนใจสั่งซื้อสินค้าของลุงสิทธิ์ ติดต่อได้โดยตรงที่เบอร์โทร

เมล่อน เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบัน เพราะมีรสชาติที่อร่อย มีกลิ่นหอมและรสหวาน ส่วนมากจะนิยมนำมาบริโภคสด หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของหวาน เครื่องดื่ม ไอศกรีม ฟรุตสลัด และด้วยกระแสความดังของเมล่อน ส่งผลให้เกษตรกรหน้าใหม่เข้าสู่การทำฟาร์มเมล่อนเป็นหลัก ซึ่งการปลูกเมล่อนต้องอาศัยการดูแลเป็นอย่างมาก

คุณวีรพงศ์ สุโอสถ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รุ่นที่ 2 ของ ฟาร์มลุงแดง เมล่อน & ผักสลัด อยู่ที่ 26/4 หมู่ที่ 7 ซอยเฉลิมพระเกียรติ 2 ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ได้เล่าว่า เดิมทีคุณพ่อได้เริ่มจากการทำนา ทำสวนส้ม ตะไคร้ ฝรั่ง จนกระทั่งเรียนจบ หลังจากเรียนจบก็ลองปลูกเมล่อน ซึ่งการที่มาปลูกเมล่อนเป็นเพราะพี่สาวชอบ จึงเริ่มต้นปลูกเมล่อนกลางแจ้ง 3 แปลง แปลงแรก เก็บได้หมด แปลงสอง เก็บได้ครึ่งหนึ่ง แปลงสาม เก็บไม่ได้เลย เลยทำให้รู้ว่าเราปลูกได้ แต่เราไม่มีโรงเรือน เลยสู้แมลงไม่ไหว จึงเริ่มคิดทำโรงเรือน

ซึ่งการทำโรงเรือนหลังแรก ราคาอยู่ที่ 65,000 บาท เราจ้างเขาทำแล้วให้เขาสอนงานเราด้วย ตอนนี้ก็เลยทำโรงเรือนเป็นและรับการทำโรงเรือนไปด้วย ตอนนี้โรงเรือนของเราจะมีเมล่อน 10 หลัง ผักสลัด 2 หลัง มะเขือเทศ 1 หลัง และตอนนี้ก็เริ่มปลูกแตงโม ส่วนด้านนอกก็จะมีหม่อน ซึ่งก่อนหน้านี้มีเมล่อน 2 หลัง รายได้เรายังน้อย ระหว่างที่เรารอเมล่อนเราก็ปลูกผักสลัด

พื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ บ่อน้ำ 4 ไร่ พื้นดิน 4 ไร่ ใช้น้ำจากบ่อตัวเองมา 3 ปีกว่า ไม่เคยใช้น้ำข้างนอกและไม่เคยขาดน้ำเลย ซึ่งน้ำที่เราได้มาก็มาจากน้ำฝน ตัวบ่อมีความลึก 2-3 เมตร กว้าง 10-12 เมตร

หลังจากนั้นได้ใช้ระบบสมาร์ทฟาร์มเมอร์เข้ามาช่วย เพื่อประหยัดต้นทุน ค่าแรง และเวลา ซึ่งทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จึงเข้ามาสนับสนุนระบบควบคุมฟาร์มอัตโนมัติ ใช้ตัวควบคุมการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นควบคุมอุณหภูมิ อากาศ ความชื้นทั้งในอากาศและดิน รวมถึงพ่นน้ำ หมอ ยา ระบายอากาศได้อย่างอัตโนมัติแล้ว ยังสามารถเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ไร้สาย เพื่อนำมาเป็นสถิติในการปลูกครั้งต่อไป

สุดท้ายนี้ อยากจะเชิญชวนทุกๆ คนไปฟาร์มลุงแดง เมล่อน & ผักสลัด ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแนวธรรมชาติที่สามารถเข้าไปเก็บมะเขือเทศกับหม่อนได้ด้วยตัวเอง พลู เป็นพืชไม้เลื้อยที่นิยมนำมาทานคู่กับหมาก ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนถึงเรือนชาน ก็จะนำหมาก พลู และของต่างๆ มาต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนถึงบ้าน นอกจากพลูจะเป็นที่นิยมทานแล้ว ยังได้มีการนำมาใช้ในพิธีมงคล เช่น เป็นเครื่องเซ่นไหว้ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่สำคัญ จึงนับได้ว่าพลูเป็นพืชที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของสังคมไทยมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว จึงทำให้พลูยังมีความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก จนถึงเรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย

คุณสมควร แซ่โง้ว อยู่บ้านเลขที่ 123/8 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรที่มองเห็นถึงความต้องการพลูของแม่ค้าที่รับซื้อ จึงใช้พื้นที่สวนมาปลูกพลูเพื่อเป็นงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ที่ทำมากว่า 3 ปีกันเลยทีเดียว

คุณสมควร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพเกี่ยวกับขายต้นพันธุ์ไม้ทั่วไป ต่อมาจึงได้เปลี่ยนจากอาชีพนั้นมาทำสวนฝรั่ง เมื่อปลูกไปได้ระยะเวลานานการทำสวนฝรั่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาเรื่องตาย ต้นทำให้อายุของไม้สั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนมาปลูกเป็นพลูกินใบแทน

“ช่วงนั้นประมาณปี 2557 เราก็เริ่มมาปรับเปลี่ยนปลูกพลูกินใบเลย เพราะช่วงนั้นเรามองว่าต้นทุนการทำสวนพลูไม่น่าจะสูงมาก ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ไม่มากเหมือนอย่างไม้อื่น และที่สำคัญไม่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานในการเจริญเติบโต เรียกง่ายๆ ว่า ระยะเวลาให้ผลผลิตสั้น ส่วนเรื่องการตลาดก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีแม่ค้ามารับซื้อผลผลิตเราถึงที่สวน ทำให้สิ่งที่เราจะลงมือทำมันมีตลาดแน่นอน ก็เลยตัดสินใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณสมควร เล่าถึงที่มา

เมื่อตกลงปลงใจที่จะทำสวนพลูเป็นงานสร้างอาชีพแล้ว คุณสมควร บอกว่า ก็ได้หาสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาจากญาติๆ ที่ปลูกกันอยู่เดิม ซึ่งในตอนนั้นญาติของคุณสมควรยังทำสวนพลูในปริมาณที่น้อย ทำให้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้เขาเห็นช่องทางนี้จึงได้มาปลูกให้มากขึ้น เพื่อให้มีกำลังส่งเพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ก่อนที่จะนำต้นพลูมาปลูกเพื่อเก็บใบส่งขาย คุณสมควร บอกว่า จะต้องเตรียมพื้นที่ปลูกให้มีความพร้อมเสียก่อน โดยในขั้นตอนแรกจะทำโรงเรือนที่ด้านบนคุมด้วยตาข่ายพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องน้ำที่อยู่ภายในร่องสวนเป็นของเดิมที่ทำสวนฝรั่งอยู่จึงไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

“พอเราพลิกหน้าดินเรียบร้อย ก็หาหลักเสาปูนมาปัก โดยให้หลักมีความสูงที่พอดี ไม่สูงมากจนเกินไป อาจจะเป็นเสาร์ปูนหน้า 2 นิ้ว ขนาดสูง 2.20 หรือ 2.50 เมตรก็ได้ เพราะถ้าสูงเกินไปเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเสียเวลา พอเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเตรียมต้นปลูกที่เป็นกิ่งตอน มาปลูกลงบริเวณหลุมรอบๆ เสาปูน ซึ่งก้นหลุมก็อาจจะใช้ปุ๋ยคอกช่วย เมื่อพลูเริ่มแตกใบอ่อนก็จะใส่ปุ๋ยเคมีเข้ามาช่วย ส่วนการให้น้ำพลูชอบพื้นที่พอชื้น แต่อย่าแฉะมากเกินไป อาจทำให้ต้นตายได้” คุณสมควร บอกวิธีการปลูก

เมื่อพลูที่ปลูกมีอายุได้ประมาณ 5 เดือน ต้นก็จะเริ่มมีความสมบูรณ์สามารถตัดใบขายได้ โดยจะตัดใบที่แก่มีสีเขียวเข้ม โดยเน้นเก็บให้ก้านใบยาวมากที่สุด ซึ่งพลูที่ปลูกในสวนจะตัดขายได้ทุก 25 วันครั้ง ต่อ 1 ต้น คือสามารถวางแผนให้เก็บผลผลิตมีขายได้ทุกวัน โดยต้นพลูที่ตัดใบขายจนหมดแล้ว คุณสมควร บอกว่า จะต้องมีการบำรุงต้นทุกครั้งด้วยการใส่ปุ๋ยเสริมเข้าไปอาจจะเป็นปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมีเดือนละ 1 ครั้ง

ในเรื่องของโรคที่เป็นปัญหาสำหรับการปลูกพลู เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนโรคที่น่าเป็นห่วง คือ โรคราดำ ที่จะเข้าไปทำลายกิ่งพันธุ์จึงทำให้ต้นพลูไม่มีความแข็งแรงและอาจเสียหายได้ จะป้องกันด้วยการฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง เพื่อให้ภายในสวนปราศจากเชื้อที่จะเข้ามาทำลายต้นพลูได้ โดยหาซื้อยาได้จากร้านเคมีทางการเกษตรทั่วไป

“ต้นพลูถือว่าเป็นพืชที่อยู่ได้นาน ถ้าเราบำรุงต้นให้ถึง อย่างเช่นพอตัดใบขายแล้ว ต้องบำรุงต้นทันที ก็จะทำให้ต้นไม่ทรุดโทรม ไม่ต้องหาต้นใหม่ๆ มาปลูกซ่อมก็จะทำให้ประหยัดต้นทุน และที่สำคัญการตัดแต่งกิ่งก็สำคัญ ไม่ใช่ว่าเราตัดใบขายแล้ว จะไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง เราต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ หมั่นเอาใบฝอยใบเล็กออก กิ่งที่ไม่ดีก็เอาออก ก็จะทำให้กิ่งที่เราต้องการมีความสมบูรณ์ และสามารถมีใบไซซ์ขนาดมาตรฐานส่งขายได้” คุณสมควร บอกถึงวิธีการดูแล

ในเรื่องของการทำตลาด คุณสมควร บอกว่า ไม่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเขา เพราะก่อนที่จะลงมือปลูกพืชชนิดนี้ ได้ศึกษาเรื่องความต้องการของตลาดเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ตัดสินใจปลูก เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการทำเกษตรแบบใช้ตลาดนำยึดความต้องการของตลาดเป็นหลักแล้วจึงลงมือทำ

พลูกินใบ จะเน้นตัดขายแบบชั่งกิโลกรัม โดยราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด ช่วงที่ราคาต่ำสุดขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 45 บาท และราคาสูงสุดขึ้นไปถึงราคา กิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งพลู 1 กิโลกรัม จะได้ใบพลู ประมาณ 270-280 ใบ

“เวลาที่เราส่งขายก็ขึ้นอยู่ที่แรงงาน ว่าเก็บได้มากได้น้อย ซึ่งต่อคนต่อวันก็ประมาณ 20 กว่ากิโล ซึ่งที่สวนใช้แรงงานช่วยกันประมาณ 3 คน ก็จะเก็บได้ต่อครั้งประมาณ 70 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งที่สวนก็จะสลับกันเก็บ จึงทำให้สามารถเก็บขายได้ตลอด โดยที่ผลผลิตไม่ขาดตลอด มีป้อนให้แม่ค้าที่มารับซื้อได้อย่างไม่ขาดช่วง นี่ก็เป็นอีกเทคนิคทำให้การตลาดเรา” คุณสมควร บอกถึงเรื่องการตลาด

สำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกพลูกินใบเป็นอาชีพ คุณสมควร แนะนำว่า ให้ดูว่าในพื้นที่นั้นๆ มีความต้องการพลูมากน้อยเพียงไร เมื่อเห็นว่าตลาดที่จะส่งขายมีแน่นอนแล้ว ก็อาจจะเริ่มทำเป็นอาชีพเสริมเล็กๆ ก่อน เมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้นจึงค่อยๆ ขยายพื้นที่ปลูกให้มีจำนวนมากขึ้น ส่วนในเรื่องการปลูกก็สามารถศึกษาวิธีการจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาวิธีการปลูกจากคุณสมควร ยินดีให้คำแนะนำ

มะเดื่อฝรั่ง หรือ ลูกฟิก (Fig) เป็นไม้ผลอีกอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้คนไทย เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่เหมาะเป็นของฝาก จัดกระเช้า ที่คนกินไม่ได้ซื้อ หมายความว่า ความมีคุณค่าของผลไม้ที่นำไปฝาก ผู้ให้ยิ้มด้วยความภูมิใจ ถึงจะมีมูลค่าไม่มาก แต่ก็ให้ผลทางด้านจิตใจแก่ผู้รับ

มะเดื่อฝรั่ง หรือ ลูกฟิก ทำไมถึงใช้คำว่า คนรับภูมิใจ เพราะว่า มะเดื่อฝรั่งมีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นผลไม้เปลือกบาง การขนส่งและการดูแลจึงยุ่งยาก เพราะผิวช้ำง่าย ต้องทะนุถนอมในการส่งให้ถึงมือผู้รับ

มะเดื่อฝรั่ง หรือ ลูกฟิก ปลูกได้แล้วในเมืองไทย
มะเดื่อฝรั่ง เป็นพันธุ์ไม้ผลที่น่าสนใจ และเข้ามาเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ที่เมืองไทยมาหลายปีแล้ว เมื่อก่อนคนไทยไม่เคยเห็นมะเดื่อฝรั่งสดที่มีรสหวานฉ่ำ ส่วนใหญ่ที่เราได้กินมะเดื่อฝรั่งหรือฟิกเป็นรูปของผลไม้อบแห้ง

แต่ปัจจุบันมีต้นพันธุ์ขายทั่วไป แต่ก็ต้องเลือกสายพันธุ์ซึ่งมีมากมายหลายพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาปลูก บางพันธุ์ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่ที่แนะนำ หนึ่งในสายพันธุ์ที่ปลูกได้ดีในเมืองไทยคือ พันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น สายพันธุ์นี้ปลูกง่าย

วิธีการขยายพันธุ์
สำหรับ มะเดื่อฝรั่ง พันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น สมัครฮอลิเดย์พาเลซ กิ่งตอนเหมาะสมที่สุดสำหรับการขยายพันธุ์ของมะเดื่อฝรั่งพันธุ์นี้ แต่ขั้นตอนการขยายพันธุ์และการดูแลต้นพันธุ์ให้แข็งแรงก่อนนำไปปลูก เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ที่สวนอาจารย์วิเชียร บุญเกิด จังหวัดกำแพงเพชร หลังจากตัดกิ่งตอนออกมาแล้วต้องนำมาใส่ถุงปิดเพื่อกันโรคและแมลงรบกวน และเพื่อการปรับตัวของต้นพันธุ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ก่อนที่จะนำไปปลูก ขั้นตอนนี้จำเป็นมาก ต้นพันธุ์ทุกต้นที่สวนรับรองความสมบูรณ์และแข็งแรงจากขั้นตอนการดูแลต้นพันธุ์ดังกล่าว

ได้พัฒนาพันธุ์ให้ปลูกได้ดีในทุกสถานที่ โดยเฉพาะในเมืองไทยพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่นสามารถปรับตัวได้ดีกับอากาศร้อน ทั้งที่ต้นพันธุ์มาจากญี่ปุ่น ที่พัฒนาพันธุ์จากพันธุ์บราวน์ตุรกี ซึ่งสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมปลูกในญี่ปุ่นมาก

หนึ่งในผู้ที่ปลูกและขยายพันธุ์คือ อาจารย์วิเชียร ได้ปลูกพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่นและพันธุ์อื่นอีกหลายพันธุ์ แต่อาจารย์วิเชียร กล่าวว่า เท่าที่ปลูกพันธุ์อื่นให้ผลผลิตน้อย ไม่เหมือนพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น ที่ปลูกง่ายและผลมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่น จึงเลือกปลูกเฉพาะพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น

ปลูก 5 เดือน ก็ให้ผลผลิตแล้ว จริงหรือ?
อาจารย์วิเชียร บุญเกิด แห่งสวนสุวรรณีปรางทอง กำแพงเพชร กล่าวว่า เป็นเรื่องจริง ที่ปลูกที่สวน 5 เดือน ก็ให้ผลแล้ว มะเดื่อฝรั่งสามารถเก็บผลไว้กับต้นได้เลยโดยไม่ต้องเด็ดผลทิ้งในการออกลูกครั้งแรกเหมือนผลไม้ชนิดอื่น เช่น จากตัวอย่างลูกค้า คุณอรกมล จากอำเภอลำลูกกา ซื้อมะเดื่อฝรั่งไป 5 เดือน ความสูงประมาณ 1 เมตร บำรุงโดยใช้ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด รดน้ำสม่ำเสมอ ปลูกไม่ห่างจากร่มเงาไม้ฉำฉามากนัก ถูกแสงแดดจัดในช่วงเที่ยงถึงบ่าย 3 โมง ก็ให้ลูกและสุกไล่เลี่ยกัน

อีกท่านหนึ่ง คุณทัศนีย์ แปงจิตต์ จากมีนบุรี ซื้อต้นพันธุ์มะเดื่อฝรั่ง ความสูง 50 เซนติเมตร แต่ต้นพันธุ์มีตุ่มยอดเล็กๆ อยู่แล้ว ก็ต่อยอดได้เลย โดยให้ลูกสองลูกตามภาพ ซื้อไป 2 ต้น ปลูกไว้หน้าบ้านทาวน์เฮ้าส์ ก็ให้ผลผลิตดี มีให้กินตลอดในช่วงฤดูกาล แสดงว่ามะเดื่อฝรั่งปลูกได้ทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะปลูกในวงบ่อ ปลูกในกระถาง หรือลงดิน ก็เจริญเติบโตได้ดี

ทำไม ถึงต้องพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น
ข้อดี สีสวย ผลใหญ่ ลูกดก ให้ผลผลิตเร็ว เพียง 5 เดือน ก็ให้ลูกแล้ว ปลูกง่าย ดูแลง่าย

ข้อเสีย ต้องให้น้ำแต่พอดี ต้องระวังเรื่องน้ำและสถานที่ปลูก ระวังเรื่องโรคราสนิมในหน้าฝน ส่วนหน้าแล้งระวังเรื่องขอบใบไหม้ ถ้าขาดน้ำ