หลัก 10 ข้อ ที่ช่วยให้การปลูก “มะละกอ” สําเร็จ!ปรมาจารย์ฉลอง

แห่งภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อคิดไว้ 10 ประการ สําหรับผู้ที่อยากประสบความสำเร็จในการปลูกมะละกอ ต้นกล้าต้องสมบูรณ์แข็งแรง ไม่อยู่ในถุงนานเกินไป

2. หลุมปลูกต้องมีการระบายน้ำดี มีอาหารอุดมสมบูรณ์

3. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงผลกําลังเจริญเติบโต มีการให้ปุ๋ยเพิ่ม และมีการป้องกันแมลงและโรคอย่างต่อเนื่อง

5. มีการตรวจดู ทําลายวัชพืช และพืชอาศัยของโรคแมลง ในบริเวณข้างเคียง ไม่ให้รบกวน

6. ในระยะที่ต้นมะละกอยังเล็ก ควรตรวจดูต้น โดยเฉพาะใบแก่ด้านบนและด้านล่าง เพื่อตรวจดูว่ามีศัตรูจําพวกไร เพลี้ยไฟ ติดโรคหรือไม่ ตรวจดูว่ามีต้นแคระแกร็น หรือต้นใบด่างยอดด่างหรือแกร็น ให้ถอนต้นตรวจดูราก ถ้ามีให้เผาไฟทิ้ง

8. เก็บใบและต้นแห้ง เผาไฟทิ้ง นอกจากฉีดพ่นสารป้องกันกําจัดแมลงที่ต้นและใบแล้ว ให้ราดสารที่โคนต้นเพื่อป้องกันมดคาบเพลี้ยหอยมายังส่วนของผล

10. เก็บผลผลิตที่ผิวเริ่มมีสีเหลือง ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า ปัจจุบันการทำการเกษตร จะมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เพิ่มต้นทุนการผลิต สภาพแวดล้อมไม่ดี ขอแนะนำการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.7 ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการย่อยสลายพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้ของเหลวสีน้ำตาลใส ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิดในปริมาณสูง รวมทั้งสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆและสารไล่แมลงที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ ใช้ในการป้องกันศัตรูพืช ซึ่งมีประโยชน์ ในการป้องกันแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ย หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง แมลงหวี่ เป็นต้น

ส่วนประกอบพืชสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร เปลือกแค ต้นหนอนตายหยาก เมล็ดและเปลือกสะเดา ใบว่านเศรษฐี หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดเงาะ ยาสูบ ขิง มะกรูด ตะไคร้ พริกไทย พญาไร้ใบ สาบเสือ ผลสบู่ดำ ใบโหระพา สำหรับส่วนผสมการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช ประกอบด้วย สารเร่ง พด.7 1 ซอง พืชสมุนไพร 30 กิโลกรัม น้ำตาล 10 กิโลกรัม น้ำ 50 ลิตร การทำโดยการสับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก ทุบหรือตำ ให้แตก เสร็จแล้วนำพืชสมุนไพรและน้ำตาลใส่ลงในถัง หมักผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 50 ลิตร ผสม ให้เข้ากัน 5 นาที แล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท และตั้งไว้ในที่ร่ม

ระยะเวลาในหารหมัก 20 วัน เมื่อได้น้ำหมักแล้ว นำไปใช้ พืชไร่และไม้ผล เจือจางสารป้องกันแมลงศัตรูพืชกับน้ำ 1 ต่อ 200 พืชผักและไม้ดอก เจือจางสารป้องกันแมลงศัตรูพืชกับน้ำ 1 ต่อ 500 โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาด ให้ฉีดพ่นทุก 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยใช้สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว อัตรา 50 ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก ส่วนที่เจือจางแล้วอัตรา 100 ลิตร ต่อไร่ ใช้สำหรับในไม้ผล หากสงสัยหรืออยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 042-312-044 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ หรือศูนย์บริการฯประจำตำบลทุกตำบล หรือสถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู

วิธีการปลูกกล้วย ให้ได้ผลผลิตไม่ใช่เรื่องที่ยาก เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายและเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพพื้นที่ อีกทั้งการดูแลและการจัดการไม่ยาก แต่ถ้าจะให้ดี หากเราสามารถกำหนดทิศทางให้กล้วยออกเครือหันออกไปทางเดียวกันได้ ซึ่งวันนี้เรามีเทคนิควิธีมาฝาก ดังนี้

เมื่อได้หน่อกล้วยที่สมบูรณ์มาแล้ว ให้ใช้มีดคมๆ เฉือนด้านใดด้านหนึ่งออกให้ มีขนาดเท่าๆ กัน
2. นำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ตามปกติ โดยให้หันด้านที่เฉือนเหง้ารากออกไปนั้นให้อยู่ในทิศทางเดียวกันทุกต้น เมื่อกล้วยตั้งตัวได้ตามธรรมชาติ เหง้ารากด้านนี้จะรีบงอกรากใหม่เพื่อยึดลำต้นและหาอาหารเก่ง และแทงรากออกมายาวกว่าปกติ

4. เมื่อเจริญเต็มที่จะออกเครือตามปกติ เครือกล้วยที่ออกมาจะมีน้ำหนักถ่วงดุลกันตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติ กล้วยจะไม่แทงเครือออกทางด้านฝั่งที่ยึดลำต้น โดยหันไปทางทิศเดียวกันตลอดทั้งแปลง เช่น เมื่อหันรอยตัดหรือรอยสับไปทางทิศเหนือ เครือของกล้วยจะหันไปทางทิศตรงข้าม คือ ทิศใต้

แนวทางนี้ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อะไร แต่ทําแล้วสวยงาม แถมยังสะดวกในการปฏิบัติงานในสวนด้วย มีผู้คนจำนวนไม่มากนักที่จะรู้ว่า จังหวัดแพร่ มีการปลูกทุรียนกันในหลายพื้นที่ ทั้งที่ อำเภอเมือง เด่นชัย ลอง และวังชิ้น

ที่อำเภอวังชิ้น มีสวนทุเรียนของ ลุงสงบ ธรรมณี ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกทุเรียนในท้องถิ่นแห่งนี้ ที่มีฝีมือการผลิตไม่ธรรมดาเพราะไปคว้ารางวัลสุดยอดของความอร่อยในงาน Best Fruit Export Gateway 2017 จัดโดยสวนนงนุชพัทยา

การเดินทางไปที่สวนทุเรียนของลุงสงบ เริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ด้วยรถยนต์ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 ถึงสี่แยกแม่แขม ขับรถตรงไปทางอำเภอวังชิ้น จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 70 อีกเส้นทางหนึ่งผ่านอำเภอเด่นชัย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 11 เด่นชัย-ลำปาง ถึงสี่แยกแม่แขม เลี้ยวซ้าย ถึงหลักกิโลเมตรที่ 70 ด้านซ้ายมือจะเห็นแผงขายผลไม้ นั่นแหละสวนทุเรียนของลุงสงบ

ทำความรู้จัก ลุงสงบ ธรรมณี

ลุงสงบ อยู่บ้านเลขที่ 142 หมู่ที่ 5 บ้านแม่จอก ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 096-459-9784 ภรรยาชื่อ คุณพิน ธรรมณี มีบุตร 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน สวนผลไม้ลุงสงบมี 2 แปลง คือ 6 ไร่ และ 10 ไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือนทั้งหมด ไม่ได้จ้างแรงงานจากภายนอกแต่อย่างใด

ลุงสงบ เป็นหมอดินอาสา จึงมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการผลิตและใช้ปุ๋ยหมัก สารชีวภัณฑ์ ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นอย่างดี

ลุงสงบเคยเข้าอบรมเรื่องการปลูก ดูแลไม้ผล คิดในใจว่าพื้นที่ดินของลุงไม่น่าจะปลูกไม้ผลได้ แต่อยากทดลองปลูกจึงนำเมล็ดทุเรียนไปเพาะไว้ในสวน ผ่านไป 2-3 ปี ต้นทุเรียนดังกล่าวเจริญงอกงามดี ลุงสงบจึงมุ่งมั่นปลูกไม้ผลให้ได้ โดยซื้อกิ่งพันธุ์ไม้ผลหลายชนิดมาปลูกดังที่เห็น

ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ลุงสงบยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกเกษตรผสมผสานหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด กล้วยหอม มะยงชิด กระท้อน ลางสาด มะไฟ และส้มโอ ทั้งยังมีบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ อีกด้วย

ลุงสงบตั้งใจเพาะปลูกไม้ผลไปเรื่อยๆ อย่างละเล็กละน้อย ลองผิดลองถูกมาระยะหนึ่ง จึงมีไม้ผลผสมผสานกันไป ไม่ได้วางแผนผังการปลูกแต่อย่างใด รายได้เงินจากการขายผลไม้ก็นำไปซื้อกิ่งพันธุ์มาปลูกเพิ่ม โดยเน้นปลูกทุเรียน ตอนแรกๆ ปลูกเพื่อกินเป็นหลัก เมื่อผลผลิตมากขึ้นก็ขาย ชีวิตความเป็นอยู่ของลุงและครอบครัวก็ราบรื่นดี ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ประหยัด ไม่มีขัดสน อยู่กับธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ของกินก็ไม่ได้ซื้อจากภายนอกมากนัก ในสวนลุงก็มีให้เก็บกินหลายอย่าง ผลไม้ก็มีให้กินตลอดฤดูกาล

เบื้องหลังความสำเร็จ “สวนทุเรียน”

ลุงสงบ เริ่มปลูกทุเรียนจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยนำเมล็ดทุเรียนพื้นเมืองเพาะไว้ในสวน ต่อมาญาติได้ซื้อกล้าพันธุ์ทุเรียนหมอนทองจากจังหวัดจันทบุรีจำนวน 10 ต้นมาให้ทดลองปลูก ปรากฎว่า ต้นทุเรียนเจริญงอกงามดี จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนมากขึ้นทุกปีๆ จนปัจจุบันมีต้นทุเรียนกว่า 160 ต้น มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ชะนี ก้านยาว หลงลับแล แต่ที่มีมากที่สุดคือ พันธุ์หมอนทองมีมากกว่า 100 ต้น ทุเรียนที่ชนะการประกวด เป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั่นเอง

ลุงสงบ ใส่ใจดูแลทุเรียนทุกต้นว่ามีโรคและแมลงมารบกวนหรือไม่ เน้นใช้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดศัตรูแก่ทุเรียนมากกว่า การกำจัด หากเกิดปัญหาโรคพืชระบาดในแปลงปลูกทุเรียนจะใช้วิธีฉีดพ่นเชื้อราไตรโค เดอร์มาและน้ำหมักชีวภาพเป็นหลัก

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนรุ่นที่ 2 เสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม จะพักต้นไว้ 1-2 เดือน เริ่มตัดแต่งกิ่งในเดือนตุลาคม โดยตัดจากปลายกิ่งเข้าหาลำต้น 1-2 เมตร ไม่ให้มีกิ่งแขนง กำจัดวัชพืช โดยการตัดหญ้าแล้วกองทิ้งไว้ให้กลายเป็นปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อต้น โดยดูจากขนาดของลำต้นและทรงพุ่มเป็นหลัก ใส่ปุ๋ยหมัก ต้นละ 10 กิโลกรัมแล้วให้น้ำทันที ฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นเองจากหอยเชอรี่ ทั้งทางใบและพื้นดินรอบๆ ทรงพุ่ม

ส่วนการบริหารจัดการน้ำ ลุงสงบใช้ระบบน้ำประปาภูเขา โดยลงทุนวางท่อน้ำพีวีซีขนาด 4 นิ้ว จากแหล่งน้ำบนภูเขาแล้วทดลงมาเรื่อยๆ เป็น 3 นิ้ว และ 2 นิ้ว ด้วยระยะทางไกลถึง 3 กิโลเมตร จากนั้นจะใช้สายยางเดินรดทุกต้น ดูว่ารอบๆ ต้นมีความชื้นเพียงพอหรือไม่ พร้อมดูแลต้นทุเรียนไปด้วย

แต่ละปี สวนทุเรียนของลุงสงบจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2 รุ่น คือช่วงเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน ดูแลเอาใจใส่ที่ดี ผลผลิตจึงได้รับรางวัล ในงาน Best Fruit Export Gateway 2017

ทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองของลุงสงบ ถูกส่งเข้าประกวด ในงาน Best Fruit Export Gateway 2017 ที่สวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี ได้รับการตัดสิน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 และได้รับรางวัลระดับ Best Fruit โดยนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ได้ลิ้มชิมรสและยกให้เป็นสุดยอดของความอร่อย

เมื่อถามถึงเคล็ดลับความอร่อยของทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองที่ชนะการประกวด ลุงสงบกล่าวว่า “อยู่ที่การเอาใจใส่ดูแลที่ดีแล้ว ส่วนหนึ่งได้จากธรรมชาติเป็นตัวช่วย เพราะดินในสวนทุเรียนแห่งนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุโดยเฉพาะแร่กำมะถันพาดผ่านเป็นบริเวณยาวและกว้าง ลักษณะดินจึงเหมาะกับการปลูกทุเรียน ทำให้เนื้อทุเรียนมีรสชาติอร่อย ทุเรียนดังกล่าวเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีเนื้อเหลืองละเอียด ไม่มีเส้น ไม่หวานจัด มีกลิ่นเฉพาะตัว ผลขนาดไม่ใหญ่มากประมาณ 1-2 กิโลกรัม เท่านั้น

ตลาดทุเรียน

ลุงสงบตัดทุเรียนวางขายที่แผงร้านหน้าสวน ในราคาไม่แแพง ตามแต่ชนิดของสายพันธุ์ทุเรียน แต่ละปีทุเรียนก็ไม่พอขายอยู่แล้ว แต่ละปี มีรายได้จากการขายทุเรียนไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท โดยนับรวมรายได้จากการขายผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น เงาะ ขายวันละ 200 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 30 บาท มังคุด และลองกอง ขายได้กิโลกรัมละ 40 บาท เป็นต้น และยังมีกระท้อน กล้วยหอม ลางสาดอีก

หลังจากทุเรียนของลุงสงบชนะรางวัลการประกวด ทำให้สวนแห่งนี้เป็นที่รู้จักทั้งจากสื่อท้องถิ่น สื่อทางออนไลน์ มีลูกค้าติดต่อสั่งซื้อทุเรียนทางโทรศัพท์และขอมาดูสวนทุเรียนสม่ำเสมอ

ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น ยกย่อง สวนทุเรียนของลุงสงบ ว่า เป็นสวนไม้ผลนำร่องของอำเภอวังชิ้น และเป็นเกษตรกรรายแรกที่นำทุเรียนมาปลูกจนได้ผลผลิตที่ดี ได้แนะนำการตัดแต่งกิ่ง การพัฒนาคุณภาพผลผลิต ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของเกษตรกรรายอื่นๆ พื้นที่ภายในสวนทุเรียนของลุงสงบ มีน้ำดี ชุ่มชื้น ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง และอยู่ในพื้นที่สูง การปลูกทุเรียนในพื้นที่อำเภอวังชิ้น มีอยู่ 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ป้าก แม่เกิ๋ง วังชิ้น นาพูน และแม่พุง มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนมากกว่า 134 ราย เนื้อที่ปลูกกว่า 274 ไร่

สำนักงานเกษตรอำเภอวังชิ้น แนะนำเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ขายทุเรียน โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองว่าให้ใช้วิธีตัดผล ไม่ปล่อยให้ร่วงแล้วนำมาขายเหมือนแต่ก่อน แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกใช้วิธีนับวันตั้งแต่ทุเรียนออกดอกจนถึงตัดผลได้ใช้เวลา 5 เดือน ซึ่งทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองจะมีทั้งเนื้อขาวและเนื้อเหลือง รสชาติต่างกัน จึงให้แยกผลให้ชัดเจน ปีไหนฝนฟ้าอากาศดี เอื้อให้ทุเรียนติดผลเป็นจำนวนมาก

หากมีใครขอเข้ามาดู มาชมสวนผลไม้ ลุงสงบยินดีและเต็มใจ โดยแจ้งไปตามหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น การเดินทางไปยังสวนของลุงก็ไม่ยากนัก มาได้โดยทางรถยนต์ทั้งจากจังหวัดสุโขทัย ลำปาง และแพร่

“ทำนา ทำเท่าไรก็มีแต่ขาดทุน” นี่คือ คำพูดของชายผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ คุณสุขุม พยาเครือ หรือ คุณจ่อย คุณจ่อยเล่าให้ฟังว่า แต่เดิมตนเองนั้นเริ่มอาชีพการเกษตรโดยการทำนา ในพื้นที่ 15 ไร่ ณ ตำบลรางสารี่ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ช่วงชีวิตของการทำนานั้น มักจะขาดทุน สาเหตุมาจากต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับราคาข้าวที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำเท่าใดก็มีแต่หนี้สิน บวก ลบ คูณ หารแล้ว แทบไม่เหลือกำไรให้ใช้จ่ายในครอบครัว ด้วยความท้อแท้และสิ้นหวัง ตนและภรรยาจึงตัดสินใจเลิกทำนา พร้อมกับเดินหน้าตามหาฝันของตนเอง ในการเป็นเจ้าของสวนผลไม้เล็กๆ สักแห่ง

หลังจากที่ครุ่นคิดอยู่นานในการหาพื้นที่เล็กๆ สักผืน เพื่อทำสวนผลไม้ ไม่นานชายผู้นี้เขาก็ได้เจอ พื้นที่แห่งนี้มีขนาด 5 ไร่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 5 ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวอำเภอลึกเข้าไปประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยระยะทางที่ลำบากและสลับซับซ้อนประกอบกับต้องข้ามลำห้วย ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางกว่า 2 ชั่วโมง เราจึงมาถึงสวนของคุณจ่อย

คุณสุขุม พยาเครือ หรือ คุณจ่อย เล่าว่า อุปนิสัยของตนนั้นเป็นคนรักธรรมชาติและชอบอยู่กับป่า ตนเองจึงเกิดแนวคิดปลูกผลไม้ให้มีสภาพคล้ายคลึงกับป่า เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2555 จึงปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 100 ต้น พันธุ์หลินลับแล 1 ต้น พันธุ์หลงลับแล 1 ต้น พันธุ์พวงมณี 2 ต้น นอกจากนี้ ยังมีเงาะ มังคุด และส้มโอ แซมอยู่ในสวนอีกด้วย

เมื่อถามถึงเทคนิคในการจัดการดูแลสวนนั้น คุณจ่อย เล่าว่า ด้วยสภาพพื้นที่สวนของตนนั้น มีสภาพลาดเอียง จึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง อันเป็นสาเหตุของรากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยสวนของตนจะใช้ระยะปลูก 7×7 เมตร หลุมปลูก ขนาด 1×1 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร ก่อนปลูกจะรองก้นหลุมด้วยมูลสัตว์ ส่วนการพรางแสงนั้น ตนเองจะปลูกกล้วยหักมุกแซมระหว่างต้นทุเรียน

ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 เพื่อเร่งการติดดอก

ปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 และ 15-15-15 เพื่อบำรุงลำต้น และทำให้ขั้วทุเรียนเหนียว การป้องกันกำจัดแมลง

คุณจ่อย กล่าวสั้นๆ ว่า สวนของตนจะไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลง เพราะเมื่อใช้สารเคมีแล้วจะไม่มีแมลงมาผสมเกสรดอกทุเรียน ทำให้ทุเรียนไม่ติดผล ซึ่งตนจะใช้วิธีการให้แมลงผสมเกสรดอกทุเรียนตามธรรมชาติ โดยปัจจุบันมีต้นที่เริ่มติดดอกบ้างแล้ว

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจอยากลองลิ้มชิมรสทุเรียนที่ให้ผลผลิต ว่าจะ “หวาน หอม มัน” เพียงใด สวนแห่งนี้จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณสิ้นเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยสามารถมาเลือกตัดเองที่สวนได้ สนนราคาไม่แพง เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เบอร์โทรศัพท์คุณจ่อย (092) 706-5895 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอไทรโยค (034) 591-022

โดยเจ้าของสวนกระซิบบอกว่า hdwallpaperia.com ใครที่มาสวนของตนนอกจากได้ความอิ่มกลับไปแล้ว ยังได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ซึ่งใครที่หลงใหลในธรรมชาติ ตนเองมีที่พักในสวนให้ จำนวน 1 หลัง โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น มีข้อแม้เพียงอย่างเดียวคือ ขอให้มีใจรักธรรมชาติ เพราะสวนของตนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีเพียงผืนป่า ลำน้ำ และขุนเขา ธรรมชาติอันสวยงาม ณ ไทรโยค กาญจนบุรี

คำพูดที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ ที่เคยได้ยินมา เห็นทีจะจริง พิสูจน์ได้จาก คุณอารีย์ พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานในตำแหน่งที่ดีและมั่นคง แต่สุดท้ายก็ยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย และได้อยู่กับครอบครัวที่รัก

คุณอารีย์ นิลวดี (พี่ปุ้ย) เจ้าของสวนสวัสดี ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อีกหนึ่งสาวออฟฟิศที่หลงใหลวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ถึงแม้ว่าเธอจะมีอาชีพการงานที่มั่นคง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์เธอทั้งหมด เธอยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย โหยหาเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้า จึงเลือกที่จะเป็นเกษตรกรวันหยุดแบบเต็มขั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตัวเอง

พี่ปุ้ย เล่าว่า ตอนนี้ทำงานเป็นผู้จัดการอยู่ที่ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ยา บริษัทตั้งอยู่ใจกลางเมือง เจอแต่ความศิวิไลซ์แต่เธอไม่เคยหลงใหลความศิวิไลซ์เหล่านี้เลย เธอโหยหาความเรียบง่าย และต้องการใช้วันหยุดที่มีน้อยนิดได้อยู่กับลูกและครอบครัวให้คุ้มที่สุด เพราะทุกวันนี้ด้วยรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างต้องใช้ความคิดเยอะ จันทร์ถึงศุกร์คือทำงาน กลับบ้านมาก็เหนื่อย จำเป็นต้องให้ลูกอยู่กับตายายที่โคราช ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนว่า ทำไมถึงอยากเป็นเกษตรกร ทั้งๆ ที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว

“จุดเริ่มต้นทำเกษตรมาจากที่ต้องมาทำงานที่กรุงเทพฯ แต่ลูกต้องอยู่กับตายายที่โคราช ส่วนเรากับแฟนทำงานที่กรุงเทพฯ คือไม่อยากให้ห่างกับลูก ชีวิตในกรุงเทพฯ คือทำงานหาเงิน เพราะฉะนั้นทุกเย็นวันศุกร์เราจะกลับบ้านไปหาลูก ไปสอนการบ้านลูก หลังๆ จึงมีแนวคิดว่าเรากลับบ้านทุกอาทิตย์ อยากหากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว จึงตัดสินใจซื้อที่แถวปักธงชัยเพื่องานเกษตร คิดว่าการทำเกษตรน่าจะตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนในครอบครัว ได้ปลูกต้นไม้ร่วมกัน ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และถือเป็นการสร้างรายได้เพิ่มจากงานประจำไปด้วย” พี่ปุ้ย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรวันหยุด

เริ่มทำงานเกษตร บนพื้นที่ 8 ไร่
รายได้ยังไม่มาก แต่ความสุขล้นใจ
หลังจากที่พี่ปุ้ยจัดการซื้อที่ทำเกษตรเพื่อหากิจกรรมได้ทำร่วมกับครอบครัวได้ พี่ปุ้ย เล่าว่า เธอซื้อที่ต่อจากเจ้าของเดิมจำนวน 8 ไร่ เดิมทีที่ตรงนี้เคยปลูกละมุดมาก่อน แต่เนื่องจากละมุดไม่ได้เป็นผลไม้ตลาด เธอจึงเลือกปลูกกล้วยหอมแซมกับละมุด เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่คนทั่วไปนิยมกิน และเมื่อปีล่าสุดกำลังทดลองปลูกอะโวกาโด และฝรั่งกิมจูเพิ่มขึ้นมาในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เพราะแนวคิดเริ่มจากอยากมีกิจกรรมทำกันในครอบครัว ปลูกกินเองถ้าเหลือจึงขาย จะยังไม่เน้นที่ตัวรายได้ แต่จะเน้นความสุขและสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นหลัก