หลังจดบันทึกบัญชีได้ 3 เดือน ครูรุ่งได้วิเคราะห์ถึงรายจ่ายใน

ครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่คือ ค่ากับข้าว และค่าใช้จ่ายสิ่งของฟุ่มเฟือย จึงเกิดแรงบันดาลใจในการน้อมนำพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พลิกชีวิต โดยใช้การ “ระเบิดจากข้างใน” ลงมือสร้างพื้นที่การเกษตรในบริเวณบ้านที่มีเพียง 53 ตารางวาของตนเอง ให้เป็นตลาด ริมรั้ว ครัวริมบ้าน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทั้งไก่ เป็ด หมู ปลาและกบ โดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองจากวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ คือ การนำดิน แกลบ ที่อยู่ในคอกหมู เล้าไก่ มาทำเป็นปุ๋ย อีกทั้งสร้างบ่อจำกัดวัชพืชและเศษอาหารภายในบ้าน ทำให้ปราศจากมลภาวะซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

จากคนที่ไม่เคยทำงานและล้มเหลวในชีวิต ก็มีความสุขจากการทำงานในพื้นที่การเกษตรของตนเอง มีผลผลิตที่ได้จากพืชที่ปลูกและสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็นำไปเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารในครัวเรือน เปรียบเสมือนเป็น “ตู้เย็น” ของครอบครัว ที่สามารถนำไปใช้ได้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ อีกทั้ง ยังแบ่งปันผลผลิตนี้ให้กับคนในชุมชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็น“ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีชีวิต”ที่พร้อมเปิดต้อนรับผู้ที่มาเยือนอยู่เสมอ เมื่อเหลือจากรับประทานเองและแบ่งปันให้คนในชุมชนแล้ว จึงค่อยนำไปจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ทำให้มีเงินเก็บออมมากขึ้นด้วย

ในปี 2552 ครูรุ่งได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาภูมิปัญญาทางบัญชีสู่ต้นทุนอาชีพของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และได้สมัครเป็นอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี(ครูบัญชี) เพราะเห็นความสำคัญของการจดบันทึกบัญชีทั้งบัญชี รับ–จ่ายในครัวเรือนและบัญชีต้นทุนอาชีพ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้การทำบัญชีและการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงานที่พื้นที่การเกษตรในบริเวณบ้าน ที่ได้ถูกพัฒนาให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอ” แหล่งศึกษาดูงานขนาดย่อม ที่พร้อมเปิดต้อนรับผู้ที่สนใจมาเรียนรู้วิถีการทำการเกษตรแบบพอเพียง และการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพ เพื่อใช้วิเคราะห์วางแผน การใช้จ่ายเงินในครัวเรือนและในการประกอบอาชีพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ปลดหนี้ มีเงินออม

ปัจจุบัน ครูรุ่งมีผลงานส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งครูรุ่งได้บอกว่า การจดบันทึกบัญชีเปรียบเสมือนเส้นทางเศรษฐี ที่จะทำให้ชีวิตของคนที่ทำจริง ปฏิบัติจริง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งหากเราปรับเปลี่ยน ชีวิตก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้

“จากชีวิตล้มเหลวที่ไม่มีใครยอมรับ ขาดที่พึ่ง เราก็หันมามองตัวเอง เริ่มต้นทำทุกสิ่งที่ในหลวงสอน มาปรับใช้กับชีวิต ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครอบครัวมีความมั่นคงทางอาหาร มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีรายได้และมีเงินเหลือเก็บออม เศรษฐกิจในครัวเรือนก็ดีขึ้น ถ้าคุณอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นในการประกอบอาชีพต่างๆ แต่หากไม่มีบัญชีมาเป็นตัวชี้นำ ชี้วัดแล้ว ก็หาความสำเร็จได้ยากมาก เพราะเราจะไม่รู้ที่มาที่ไป แต่สำหรับดิฉันได้รู้อย่างถ่องแท้แล้วว่า การทำบัญชีมีประโยชน์มากแค่ไหน สำคัญที่สุดคือ ครอบครัวได้แม่คนใหม่ที่มีคุณภาพ เป็นแบบอย่างให้กับลูกๆ ได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการทำบัญชี และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ฉะนั้น ถ้าทุกคนเข้าใจและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ประเทศชาติจะมั่นคงและยั่งยืนแน่นอน”คุณขนิษฐา กล่าว

วันนี้แวะเยี่ยมยามถามข่าว รุ่นพี่วัย 72 ปี ท่านพี่วินิจ ถิตย์ผาด อดีตนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพเพชรเม็ดงามของกรมส่งเสริมการเกษตร จบการศึกษาจาก “เกษตรกาฬสินธุ์” ดงปอ “สายเลือดเขียวขาวเหลือง” ชีวิตรับราชการที่ดูแลเกษตรกรมายาวนาน 60 ปีคือสู่ “เกษตรกร” รับราชการเป็นเกษตรตำบล ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเกษตรอำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ยโสธร และเกษตรอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านเกิด

ด้วยความวิริยอุตสาหะ มุ่งมั่นทำงาน มีที่ดินเป็นของตนเอง 83 ไร่ ที่บ้านหนองแวงใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบล ภูปอ “สวนจารุวรรณ” สวนเพื่อการเกษตรอินทรีย์ หนึ่งไร่ได้แสน แบบอย่างของโคกหนองนา พื้นที่ภาคการเกษตร มีรายได้ 1 ตารางเมตร 60-100 บาท สวนผักเพื่ออนุรักษ์ป่าผักกูด แนวป่ากันชนไผ่บังลม คลองส่งน้ำ อนุรักษ์น้ำตามแรงเหวี่ยงของโลก ปลูกป่าเบญจพรรณ มะม่วงหลากหลายสายพันธุ์ เก็บขายตลอดทั้งปี กว่า 40 ไร่ ที่นี่มีความสุขล้วนๆ ใครมาแล้วอยากมาอีก หากไม่เชื่อไปสักครั้ง โทร. 084-321-6553 ยินดีต้อนรับครับ

ท่านวินิจ อดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร หลัง 60 ปี ที่อยู่อย่างมีความสุขที่สุด เดินนำหน้าบ้าง เคียงข้างกันบ้าง ปากพูดจาคุยกันไปอย่างเป็นกันเอง ท่านเล่าให้ฟังว่า “เรามีกิน อย่างพอเพียง มีสุขภาพดี มีเศรษฐกิจดี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ฐานะดี ยั่งยืน มีความสุขกาย สุขใจ มีเพื่อน มากมาย มีประเทศชาติที่มั่งคั่ง มั่นคง” ท่านมีคู่ชีวิตที่ดี บุตรชายที่เก่ง ขยัน แข็งแรง ฉลาดคิด ฉลาดทำ ทำการตลาดกับคนรักสุขภาพ ที่นี่คือ “การเกษตรอินทรีย์” ลาภยศของมายา “ข้าวผักปลาคือของจริง”

ท่านวินิจ นำเดินเข้าป่าไม้รอบๆ สวน เสียงเหยียบใบไม้แห้งที่หล่นลงมาเต็มพื้นดินคลุมต้นหญ้า เสียงสวบสาบๆ บรรยากาศดีมากๆ ที่นี่ไม่มีการเผา เน่าเปื่อยผุพังเป็นอินทรียวัตถุ ตามธรรมชาติ หรือนำไปทำปุ๋ยหมัก เป็นดินแดน “ธรรมะ” เพื่อการปฏิบัติธรรมแบบ “โฮมสเตย์” ริมหนองน้ำ ท่ามกลางป่าไม้ ริมสายธาร แบบบ้านเล็กในป่าใหญ่ ที่สำคัญคือการวางระบบน้ำเพื่อการเกษตรครอบคลุมพื้นที่สวน กว่า 50 ไร่ ยกเว้นพื้นที่ป่าเบญจพรรณ 20 กว่าไร่ ท่านบอกว่า “มีงูจงอางด้วยนะ” ทำให้ผมเดินช้าลงๆ มันก้าวขาไม่ออกนะ ในใจบอกว่า “อย่าโผล่มาตอนนี้นะครับ” ป่าราบแน่ๆ ผมคนกลัวงูครับ ท่านปลูกพืชผัก แตง แตงโม มันเทศ เกิดรายได้หมุนเวียน ตารางเมตรละ 60-100 บาท ต่อวัน สินค้าออกจากสวน ขั้นต่ำ 3,000 บาท มะม่วง 1 ต้น มีรายได้ 2,000-3,000 บาท มีตลาดล่วงหน้าแล้วครับ กล้วย ต้นกล้าพืชผักมีจำหน่ายหน้าสวนทุกวัน ข้าวสารอินทรีย์ ทั้งข้าวขาว ข้าวกล้อง

ท่านวินิจ กล่าวว่า “ความสำเร็จที่ผ่านมา มันเป็นอดีตไปแล้ว” สร้างสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ ยุวเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ หรือผลงานอื่นๆ ที่ทำมา ทิ้งไว้เป็นความทรงจำ ความภาคภูมิใจ วันนี้ แบกจอบ ถือเคียว กรรไกรแต่งกิ่ง เดินรอบสวน มีแต่ได้ เช่น ได้ออกกำลังกาย ได้ตัดแต่งต้นไม้ ได้สำรวจพื้นที่ เอาใจใส่ต้นไม้ใบหญ้า มีเพื่อนเกษตรกรมาเยี่ยม วันนี้ดีใจรุ่นน้องมาเยี่ยม คือ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คุณวัชรินทร์ กล่าวว่า ข้าราชการทั้งหลาย “อย่าคิดค้าขาย อย่าหมายเลือกตั้ง อย่างหวังเงินส่วย อย่าคิดรวยทางลัด…จงเข้าวัดฟังธรรม หรือทำการเกษตรอย่างพอเพียง” ความสุขจะบังเกิดขึ้นมาเอง ดัง ท่านพี่วินิจ ถิตย์ผาด อดีตเกษตรอำเภอฯ หลายอำเภอ เพชรเม็ดงามของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เดินตามรอยเท้าพ่อ “อย่างพอเพียง” ดุจดังมรดกหรืออัญมณีอันล้ำค่าที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลานบนปฐพี “กิน แจก แลก ขาย” มันไม่สายสำหรับคนที่กล้าเริ่มต้น

เมื่อเร็วๆ นี้ เครือมติชนฉลองการดำเนินงานครบ 34 ปี “เทคโนโลยีชาวบ้าน” นิตยสารเกษตรอันดับหนึ่งของเมืองไทย โดยจัดงานสัมมนาเกษตรออนไลน์แห่งปี! นำเสนอ “ทางรอดเกษตรกรยุคโควิด” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเหล่ากูรูมาร่วมให้ความรู้ ผ่าน Live Streaming เฟซบุ๊กเพจเทคโนโลยีชาวบ้าน และเฟซบุ๊กเพจในเครือมติชน

“ดร. ณัฐภพ สุวรรณเมฆ” นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และ ผศ.ดร. ลำแพน ขวัญพูล ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมให้ความรู้ในเวทีเสวนา “ทุเรียน…ราชาผลไม้ ปลูกยังไงให้ปัง” ซึ่งกิจกรรมเสวนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากเกษตรกรและประชาชนจำนวนมาก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศ 791,165 ไร่ ผลผลิตรวม 1,111,928 ตัน ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,405 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยแหล่งปลูกทุเรียนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดชุมพร 196,158 ไร่ ผลผลิต 315,552 ไร่ ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,609 กิโลกรัม ต่อไร่ รองลงมาคือ จังหวัดจันทบุรี 195,126 ไร่ ผลผลิต 380,446 ตัน ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,950 กิโลกรัม ต่อไร่ จังหวัดระยอง 66,382 ไร่ ผลผลิต 114,413 ตัน ผลผลิตโดยเฉลี่ย 1,724 กิโลกรัม ต่อไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 53,670 ไร่ ผลผลิต 51,750 ตัน ผลผลิตโดยเฉลี่ย 954 กิโลกรัม ต่อไร่ จังหวัดยะลา 53,621 ไร่ ผลผลิต 53,023 ตัน ผลผลิตโดยเฉลี่ย 989 กิโลกรัม ต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2563)

จากตัวเลขพื้นที่การปลูกทุเรียนทั่วประเทศ พบว่า แหล่งผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก มีศักยภาพการผลิตทุเรียนได้ดีที่สุด มีผลผลิตเฉลี่ย 1,868 กิโลกรัม ต่อไร่ รองลงมาคือ ภาคใต้ 1,192 กิโลกรัม ต่อไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 796 กิโลกรัม ต่อไร่ และภาคเหนือ 543 กิโลกรัม ต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2563)

ดร. ณัฐภพ สุวรรณเมฆ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ในปี 2564 ประเทศไทยส่งออกทุเรียนสดและแช่แข็งตลอดเดือนมกราคม-พฤษภาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 58,344 ล้านบาท ทุเรียนเป็นพืชส่งออกอันดับ 2 รองจากยางพารา เป็นราชาผลไม้ที่นิยมบริโภคในไทยและตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งทุเรียนสดและแช่แข็ง

ทุกวันนี้ กลุ่มประเทศอาเซียน นับเป็นแหล่งปลูกทุเรียนสำคัญของโลก ดังนั้น ตลาดส่งออกทุเรียนของไทยมีโอกาสเผชิญกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของทุเรียนไทยให้มีความยั่งยืนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่แข่งขันกันในเรื่องคุณภาพมากขึ้น

ปัจจุบัน ปัญหาโรค-แมลงศัตรูพืช นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่สร้างความเสียหายให้แก่สินค้าทุเรียนของไทย ชาวสวนทุเรียนต้องรับมือกับปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชและสัตว์กัดแทะ ทำลายทุเรียนในระยะพัฒนาผล เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีทางการเกษตรแก้ไขปัญหาโรคและแมลง แม้รักษาผลผลิตได้ แต่เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และเสี่ยงเจอปัญหาสารเคมีตกค้างเป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค

นวัตกรรมทางเลือกสู่ทางรอด

เอ็มเทค สวทช.เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้นำองค์ความรู้เรื่องวัสดุศาสตร์โดยพัฒนาสูตรผสมเม็ดพลาสติก (polymer compound) ร่วมกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปนอนวูฟเวน นำมาผลิตนวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวน ในชื่อการค้าว่า Magik Growth โดยทดสอบถุงห่อผลไม้ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนามเพื่อจัดเก็บข้อมูลผลวิจัยอย่างเป็นระบบ ร่วมกับ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน

นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน “Magik Growth” เปรียบเสมือนชุดเกราะป้องกันผลทุเรียนในระยะพัฒนาผลจนถึงเก็บเกี่ยว ป้องกันศัตรูพืช อาทิ เพลี้ยแป้ง, หนอนเจาะผล (หนอนรัง) ราดำ และกระรอกได้อย่างดี ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภค ทั้งลดต้นทุนการผลิต นวัตกรรมถุงห่อผลไม้ช่วยให้ผิวทุเรียนสวย มีเปลือกบางลงและมีเนื้อหนาขึ้น ยกระดับคุณภาพสินค้าสู่ตลาดพรีเมียร์ เพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน เอ็มเทค สวทช. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถุงห่อผลไม้ Magik Growth ให้แก่บริษัทเอกชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเตรียมจำหน่ายสินค้าในช่วงปลายปีนี้ นวัตกรรมถุงห่อผลไม้ สามารถประยุกต์ใช้กับทุเรียน มะม่วง ส้มโอ ขนุน จำปาดะ ฯลฯ ในปี 2565 เอ็มเทค สวทช. วางแผนขยายการทดสอบถุงห่อผลไม้ Magik Growth ในแหล่งผลิตทุเรียนอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ชุมพร และพื้นที่ชายแดนใต้

มีประสิทธิภาพดีที่สุด

ผศ.ดร. ลำแพน ขวัญพูล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในระยะแรก ทีมวิจัย สจล. ได้นำถุงห่อ Magik Growth จำนวน 4 สี (น้ำเงิน ขาว ดำ และแดง) มาทดสอบห่อทุเรียน ของ คุณนวลนภา เจริญรวย เกษตรกรชาวสวนทุเรียนในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับทุเรียนที่ไม่ได้ห่อ เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั้งความชื้น อุณหภูมิตลอดช่วงการห่อ

ผลจากทดสอบภาคสนามพบว่า นวัตกรรมถุงห่อผลไม้ผลิตจากวัสดุนอนวูฟเวน มีคุณสมบัติให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้โดยง่าย และมีคุณสมบัติการคัดเลือกช่วงแสงที่เหมาะสมกับเซลล์รับแสงที่ผิวผลไม้ สามารถสร้างสารสำคัญในผลไม้ทั้งแป้ง น้ำตาล สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ โดยถุงห่อทุเรียน Magik Growth สามารถลดสารเคมี ป้องกันกระรอกและหนอนเจาะผลทุเรียน และเพลี้ยแป้ง ราดำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผิวผลทุเรียนสวย ผลได้น้ำหนักดี และมีปริมาณเนื้อทุเรียนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังได้ข้อสรุปว่า ทุเรียนสดที่ไม่ห่อผล มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.56 กิโลกรัม เปลือกหนา 1.36 เซนติเมตร และน้ำหนักในพูทุเรียน 290 กรัม ขณะที่ทุเรียนที่ห่อถุง Magik Growth สีแดง มีประสิทธิภาพดีที่สุด สามารถเพิ่มขนาดผลทุเรียนเฉลี่ย 4.05 กิโลกรัม เปลือกหนาแค่ 1.01 เซนติเมตร และมีปริมาณเนื้อของทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึง 379 กรัม

ผศ.ดร. ลำแพน กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุเรียนที่ห่อด้วยถุง Magik Growth มีความหนาของเปลือกบางลง 30% ทำให้ได้น้ำหนักรวมผลทุเรียน เพิ่มขึ้น 10% มีความแน่นเนื้อมากขึ้น และสีเนื้อเหลืองขึ้น เมื่อนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องพบว่า ผลทุเรียนที่ห่อด้วยถุง Magik Growth มีการสุกช้ากว่าผลที่ไม่ได้ห่อประมาณ 2 วัน

นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน ช่วยลดต้นทุนจากสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันเพลี้ยแป้ง ราดำ กระรอก และหนอนเจาะผลทุเรียนได้ดี ทำให้ทุเรียนมีผิวผลสวย สวนทุเรียนที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ สามารถยกระดับสินค้าสู่ตลาดพรีเมียร์ ในปีหน้ามีชาวสวนทุเรียนหลายรายสนใจนำถุงห่อทุเรียนไปใช้ในการผลิตทุเรียนในระบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น

“อนาคตทุเรียนต้องแข่งขันที่คุณภาพ-ตลาดนำการผลิตเป็นหลัก เกษตรกรญี่ปุ่นขายผลผลิตได้ครั้งละ 2-3 พันเยน ทุเรียนไทยก็สามารถทำได้ เพียงชาวสวนทุเรียนเปิดใจยอมรับนวัตกรรมใหม่เข้ามาช่วยยกระดับการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ยกระดับสินค้าสู่ตลาดพรีเมียร์ในอนาคต” ผศ.ดร. ลำแพน กล่าวในที่สุด

ผู้สนใจนวัตกรรมถุงห่อ Magik Growth สามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร. ณัฐภพ สุวรรณเมฆ ทีมวิจัยสิ่งทอ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. โทรศัพท์ 02-564-6500 ต่อ 4464, 4727 และ 096-819-6484 นายเมธี บุญรักษ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2563 สาขาเกาตรอินทรีย์ อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส อายุ 60 ปี การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ช่างยนต์) ที่อยู่ บ้านเลขที่ 45/57 หมู่ที่ 9 ตําบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เบอร์โทรศัพท์ 087-468-2554

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน
1.แนวความคิดในการทํางาน หลังจากเรียนจบช่างยนต์ได้ไปทํางานอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากต้องการอยู่กับครอบครัว จึงลาออกจากงานและกลับมาทําการเกษตรในที่ดินมรดก พื้นที่ 90 ไร่ ทําการปลูกมังคุดแต่ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความรู้ทางด้านการเกษตร จึงปลูกแบบตามธรรมชาติโดยไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช้สารเคมี แต่พบว่าต้นไม้ไม่ตายและยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี นํามาสู่การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการปฏิบัติอย่างจริงจังโดยจุดประกายแนว ความคิดจากรายการโทรทัศน์ “ตามรอยพ่อ” ในการเริ่มต้นการทําเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ต้องดําเนินการ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้

1.ดิน : ต้องหาวิธีการจัดการให้มีความพร้อม จะนําไปสู่การเจริญเติบโตของพืชและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

น้ำ : ทําอย่างไรให้ดินมีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี มีแหล่งน้ำใช้ในการทํากิจกรรมด้านการเกษตรอย่างเพียงพอ
ป่าไม้ : ปลูกไม้ป่าเพื่อบังแดดยึดหน้าดิน NOVA88 สร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต มีการปลูกต้นไม้ แนวผสมผสาน ตามความสูงต่างระดับเพื่อการพึ่งพาซึ่งกัน พ.ศ. 2555 ทําความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทําการเกษตรแบบผสมผสาน โดยคํานึงถึงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายในแปลง ขอคําแนะนําจากสถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาสและสํานักงานเกษตรอําเภอสุไหงโกลก ในเรื่องการทําน้ำส้มควันไม้การทําปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น แล้วนํามาใช้กับพืชที่ปลูกเพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขอนามัย
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและได้เรียนรู้ระบบการจัดการสวนตามมาตรฐานการผลิต GAP พืช และมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส นําเทคโนโลยีการผลิตมาประยุกต์ปฏิบัติ ในแปลงของตนเอง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการปลูกพืชที่พัฒนากิจกรรมให้มีความหลากหลาย จัดทําแนวกันชนหลายชั้นระดับตั้งแต่การขุดคันดินป้องกันน้ําจากภายนอก และกันปลูกหญ้าแฝกบนคันดิน ปลูกไม้พุ่มขนาดเล็กและขนาดใหญ่

พ.ศ. 2561 ได้สมัครขอรับการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช และขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์จนได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Organic Thailand) จากสํานักวิจัย และพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร

การพัฒนาใฝ่รู้ ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้มาจากการปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนกลุ่มเกษตรกรหน่วยงานราชการ (โดยเฉพาะศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดําริซึ่งเป็นแหล่งศึกษางานตามที่มีข้อมูลต่างๆอย่างครบถ้วน) พ่อค้า รัฐวิสาหกิจต่างๆ การเข้ารับการ อบรม/สัมมนา รวมถึงการทดลองปฏิบัติจริงในแปลงของตนเอง โดยเริ่มทําการทดลองการปลูกหญ้าแฝกในรูปแบบต่างๆ เพื่อการปรับปรุงบํารุงดิน ซึ่งได้ทําการศึกษาหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในการบริหารจัดการดินและน้ำได้อย่างน่าอัศจรรย์ จึงนํากล้าหญ้าแฝกจากสถานีพัฒนาที่ดินนราธิวาสมาจํานวนหนึ่ง หลังจากนั้นได้ทําการเพาะกล้าหญ้าแฝกและ ขยายพันธุ์เพื่อขยายผลการปลูกในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเป็น เวลา 4 ปี ส่งผลให้ดินที่เสื่อมโทรมกลับมาอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการปลูกพืช และสามารถต่อยอดการพัฒนา พื้นที่ในรูปแบบเกษตรอินทรีย์และเกิดเป็นองค์ความรู้ต่างๆ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ตลอดจนสามารถพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทัศนศึกษาดูงาน ให้กับบุคคลที่สนใจในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและต่างจังหวัด รวมถึงผู้สนใจจากต่างประเทศ