หลังจากจบ ม.3 ที่โรงเรียนดอนปอวิทยา ตำบลหนองบัวศรีบุญเรือง

จังหวัดหนองบัวลำภู แล้วไปสู้ชีวิตตามลำพังที่กรุงเทพฯ เพื่อหางานทำเพื่อส่งตัวเองเรียน ได้ทำงานประมาณ 1 ปี จึงขอเจ้านายไปศึกษาต่อจนจบ ม.6 เรียนจบแล้วจึงได้ย้ายงานใหม่ ทำงานได้สักพัก จึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จนจบปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ หลังจากอยู่กรุงเทพฯ ได้ 15 ปี แต่งงานมีครอบครัวจึงกลับบ้านเกิด จึงเปิดร้าน “พิชิตการเกษตร” อยู่บริเวณเยื้องสถานีตำรวจภูธรศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จากนั้นได้ปลูกมันสำปะหลังเพื่อหารายได้เสริมอีกทาง แต่ราคาตกต่ำมากในรอบหลาย 10 ปี ขาดทุนเป็นหนี้จำนวนมาก

บนเรียนความล้มเหลวจากปลูกถั่วดาวอินคา

บนความโชคร้ายยังมีความโชคดีซ่อนไว้อยู่เสมอ ได้มาพบพืชเศรษฐกิจตัวใหม่คือถั่วดาวอินคา จึงได้หาข้อมูลจนพบว่ามีโครงการสนับสนุนการปลูกถั่วดาวอินคา ปี 2557 จึงขอเข้าโครงการเพื่อซื้อเมล็ดมาปลูกประมาณ 7 ไร่ ทุนที่ใช้นั้นก็กู้ยืมจากธนาคาร ธ.ก.ส. เป็นเงิน 150,000 บาท ปลูกได้ 8 เดือน ถึงเวลาเก็บผลผลิต โครงการที่จะรับซื้อกลับเงียบหาย ไม่มีคนรับซื้อ ผลผลิตเก็บแต่ละรอบได้หลายร้อยกิโลจะทำอย่างไรดีกับชีวิต ขายไม่ได้เป็นหนี้ธนาคารจะหาเงินจากไหนส่งคืนธนาคาร ถ้าไม่เคยล้มก็ไม่รู้จักวิธีลุกขึ้นยืน เมื่อยืนได้แล้วค่อยๆ คิดแล้วเดินต่อ ประสบการณ์สอนให้เรารู้จักคิดและระวัง และรอบคอบมากขึ้นในการจะเดินไปข้างหน้า

ระหว่างนี้ได้ศึกษาหาความรู้ถึงคุณประโยชน์ของถั่วดาวอินคา หลังจากนั้น จึงคิดหาวิธีแปรรูปเองโดยวิธีคั่วขายตามตลาดนัดคิดว่าจะขายได้ดีแต่กลับขายไม่ได้เลย เพราะคนไม่รู้จักถั่วดาวอินคา เมื่อขายไม่ได้ใช้วิธีแจกฟรี ชิมฟรี บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ บางคนกลัวกินแล้วตายเพราะไม่เคยกิน แต่ก็ไม่คิดจะท้อ ยังคั่วขายต่อไปใช้เวลา 1 ปี และอาศัยประสบการณ์ตรงจากตัวเอง เคยศึกษาหาประโยชน์ของถั่วดาวอินคาว่าสามารถลดเบาหวาน

ต่อมามีคนเริ่มรับไปขายต่อ จาก 1 เจ้า เป็น 2 เจ้า จากในจังหวัดเริ่มขยายไปจังหวัดต่างๆ พอมองเห็นโอกาส ก็เลยสร้างแบรนด์ไร่กอเงินขึ้นมา (ตั้งตามชื่อลูกสาว) เพื่อจะได้จดจำได้ง่าย หลังจากสร้างแบรนด์ได้ทำการตลาดทางออนไลน์ จากลูกค้ามาสู่การเป็นตัวแทนขาย ทำให้ออเดอร์มากขึ้น คนรู้จักมากขึ้น ฐานลูกค้ามากขึ้น ได้ขอขึ้นทะเบียนสินค้าโอท็อป ได้ออกบู๊ธร่วมกับจังหวัด ไปตามสถานที่จัดงานโอท็อปต่างๆ ทางไร่กอเงินก็ได้คิดสูตร แปรรูปดาวอินคาหลากหลายมากขึ้น อาทิ ชาดาวอินคาสูตรต้นตำรับ สูตรหญ้าหวาน สูตรดอกคำฝอย น้ำมันถั่วดาวอินคาสกัดเย็น เมล็ดถั่วอินคาอบเกลือ และยังรับผลิตสินค้าสำหรับผู้ที่สนใจไปสร้างแบรนด์ตัวเองอีกด้วย

ใช้เทคนิคการปลูกถั่วดาวอินคาแบบอินทรีย์ ปลอดสารพิษ

คุณพิชิต บอกว่า ปลูกถั่วดาวอินคา ระยะ 2×2 เมตร ประมาณ 400 ต้น/ไร่ ปลูกผสมผสานกับต้นไม้อื่นให้เป็นร่มเงา เพื่อลดอุณหภูมิของแสงแดด จัดทำระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแต่ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยมูลไส้เดือน ใช้น้ำส้มควันไม้และอื่นๆ แทนสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าแต่ใช้วิธีการตัดแทน

การเก็บเกี่ยวใบมาแปรรูปต้องเก็บใบแก่จัดแต่ไม่เหลือง ช่วงเวลา ตี 5-7 โมงเช้า เพื่อจะได้สารที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ชาของไร่เวลาชงจะได้กลิ่นหอม รสชาติดี ที่แตกต่างจากที่อื่น การเก็บฝักแห้งเพื่อมาแปรรูปต้องเก็บตอนกลางวันในช่วงที่มีแดด เพื่อไม่ให้มีความชื้นในฝักป้องกันเชื้อรา

ได้ใบรับรองเกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนสู่เกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดหนองบัวลำภู ขึ้นทะเบียนสินค้าโอท็อป ของดีจังหวัดหนองบัวลำภู มีใบรับรองจาก Central Laboratory และกำลังยื่นเรื่องขอ อย.

ผลิตภัณฑ์ไร่กอเงิน จากถั่วดาวอินคา

ชาดาวอินคา สูตรต้นตำรับ บรรจุ 25 ซอง ขายปลีก 120 บาท ขายส่ง 80 บาท ชาดาวอินคาสูตรหญ้าหวาน ขายปลีก 150 บาท ขายส่ง 90 บาท ชาดาวอินคาสูตรดอกคำฝอย ขายปลีก 150 บาท ขายส่ง 90 บาท
เปลือกถั่วดาวอินคาอบแห้ง (ชงกับน้ำร้อน) กิโลกรัม 200 บาท บรรจุถุง 100 กรัม 80 บาท
น้ำมันสกัดจากเมล็ดถั่วดาวอินคา บรรจุ 100 ซีซี ขายปลีก 250 บาท ขายส่ง 150 บาท, บรรจุ 500 ซีซี ขายปลีก 1,250 บาท ขายส่ง 850 บาท, บรรจุ 1,000 ซีซี ขายปลีก 2,200 บาท ขายส่ง 1,500 บาท
ซอฟเจลน้ำมันสกัด (แคปซูล) คล้ายน้ำมันตับปลา แต่มีสารโอเมก้า 3,6,9 สูงกว่า บรรจุกระปุก 50 เม็ด ขายปลีก 450 บาท ขายส่ง 300 บาท
เมล็ดอบเกลือ (กะเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดออกแล้ว) กิโลกรัม 350 บาท
สบู่ถั่วดาวอินคา 50 กรัม ขายปลีกก้อนละ 80 บาท ขายส่ง 35 บาท นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทุกตัวยังรับผลิต เพื่อไปทำแบรนด์ของตัวเองด้วย

การตลาดและรายได้

ขายออนไลน์ ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และมีหน้าร้านผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไร่ รายได้จากการขายถั่วดาวอินคาแปรรูป เดือนละ 300,000 บาท หรือปีละประมาณ 3,600,000 บาท แนวทางในอนาคต ทางไร่กำลังจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มและส่งเสริมการปลูก และจะขยายตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งยังเข้าเป็นสมาชิก Young Smart Farmer จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนๆ และสร้างเครือข่ายทั้งด้านการผลิตและตลาดด้วย

ประโยชน์ของถั่วดาวอินคา

จากงานวิจัยหลายสถาบัน ถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากเพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นมีวิตามิน A และ E อีกทั้งมีกรดไขมันโอเมก้า 3, 6 และ 9 ในปริมาณที่สูงมาก ทุกส่วนของต้นดาวอินคาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ใบอ่อน เมล็ด กิ่ง ลำต้น ใบ สามารถนำไปทำอาหารได้ ผลิตเป็นยารักษาโรคและเครื่องสำอาง ซึ่งมีความต้องการสูงมาก

คุณชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า Young Smart Farmer เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ มีอายุระหว่าง 17-45 ปี คนเหล่านี้มีการศึกษาที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้ด้านไอที (สารสนเทศ) และเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าช่วยให้คนเหล่านี้ประสบผลสำเร็จ จะขยายผลแก่เกษตรกรในชุมชนได้มาก ซึ่งจังหวัดหนองบัวลำภู มีเกษตรกรรุ่นใหม่จำนวน 65 คน ได้ใช้กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer ได้แก่ ปรับแนวคิด สร้างแรงจูงใจ จัดทำแผนชีวิต ค้นหาความต้องการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกร จัดหาช่องทางการเรียนรู้และการติดต่อสื่อสาร และวางแผนอนาคต โดยมีการจัดประชุมสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นระยะๆ พร้อมประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปให้การสนับสนุน

โดยในปีงบประมาณ 2561 ได้ตั้งเป้าหมายในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ได้ไม่น้อยกว่า 30 คน ซึ่งพร้อมจะเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรทั่วไป ดังนั้น จึงขอเชิญผู้มีอายุระหว่าง 17-45 ปี สนใจทำการเกษตรไปสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ หรือสอบถามข้อมูลที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู โทร. (042) 316-788

จะเห็นว่าในการประกอบอาชีพนั้นมีความเสี่ยงแทบทั้งนั้น แต่เมื่อพลาดพลั้งแล้วต้องตั้งสติและใช้ปัญญา ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค มีความพยายามหาทางแก้ไขปัญหา แม้บนความล้มเหลวที่เราประสบอยู่อาจมีสิ่งดีดีซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ใครจะไปรู้ อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณพิชิต พิลาศรี โทร. (086) 103-1560 เว็บไซต์

ในปี 2561 จังหวัดบึงกาฬ ก้าวเข้าสู่วัย 8 ขวบ แม้จะเป็นจังหวัดน้องใหม่แต่เศรษฐกิจของจังหวัดบึงกาฬเติบโตแข็งแรง เพราะมีรายได้ก้อนโตจากธุรกิจยางพารา สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชุมชนท้องถิ่นแล้ว จังหวัดบึงกาฬยังได้ ผู้นำคนเก่งอย่าง “คุณนิพนธ์ คนขยัน” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ) เข้ามาช่วยพัฒนาจังหวัด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การอาชีพ และระบบสาธารณูปโภค ในปี 2561 คุณนิพนธ์ เตรียมแผนพัฒนาบึงกาฬให้เป็นสังคมแห่งความสุข รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดบึงกาฬให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ทุ่ม 30 ล้าน สร้างถนนยางพาราทั่วจังหวัด

ในปี 2560 อบจ.บึงกาฬ ได้ส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยนำยางแผ่นมาทำสนามยางพารา สนามกีฬาตะกร้อ สนามกีฬาวอลเลย์บอล ล้อจักรยาน ล้อจักรยานยนต์ และก่อสร้างถนนยางพาราสายแรกของจังหวัดบึงกาฬ ที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการสร้างถนนยางพารารูปแบบใหม่แห่งเเรกในประเทศไทย

ถนนยางพาราเส้นแรกของจังหวัดบึงกาฬ เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เรียกว่า ถนนลาดยางพาราโพลิเมอร์ดินซีเมนต์ โดยใช้วิธีผสมน้ำยางพาราราดลงบนถนนดินลูกรัง ช่วยให้ถนนยางพารามีความคงทนเเละมีลักษณะการอุ้มน้ำคล้ายถนนคอนกรีต แต่น่าเสียดายที่รูปแบบถนนยางพาราดังกล่าวยังไม่ผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานรัฐบาล ทำให้โครงการถนนยางพาราของจังหวัดบึงกาฬในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่คืบหน้าเท่าที่ควร

ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยเร่งรัดการใช้ยางพาราภายในประเทศ และส่งเสริมการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ล่าสุดรัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยสั่งการให้หน่วยงานรัฐ รับซื้อน้ำยางทำถนน ตั้งเป้าเพิ่ม 2 แสนตัน ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับการแก้ปัญหายางพาราตกต่ำอย่างเป็นรูปธรรม

คาดว่า ภายในเดือนมกราคม 2561 กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหนังสือสั่งการยืนยันคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เห็นชอบในหลักการให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อยาง 2 แสนตันไปทำถนนได้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ อบจ.แต่ละจังหวัดสามารถจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่มาใช้ก่อสร้างถนนยางพาราได้

อบจ.บึงกาฬ วางแผนก่อสร้างถนนยางพารา ตามมาตรฐานข้อกำหนดของสถาบันวิจัยยาง กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ซึ่งเป็นผู้ออกแบบถนนยางมะตอยผสมยางพารา โดยใช้ยางพาราเข้ามาเป็นส่วนผสมในยางแอสฟัลต์ ประมาณ ร้อยละ 5 ถนนยางมะตอยผสมยางพาราดังกล่าว ถือว่ามีคุณภาพ มาตรฐาน มีความทนทานใช้งานได้ยาวนาน ประหยัดค่าซ่อมบำรุงถนนได้ค่อนข้างมาก

ในปีนี้ อบจ.บึงกาฬ ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 30 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างถนนยางพารารอบจังหวัด เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลเช่นเดียวกับ อบจ.ทั่วประเทศ ส่วนแผนการจัดสร้างถนนยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ จะพิจารณาจากคำร้องขอของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นหลัก

การร่วมมือร่วมใจช่วยกันก่อสร้างถนนยางพาราทั่วประเทศครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำได้ดี ทำให้ราคายางพาราภายในประเทศกลับมามีเสถียรภาพราคามากขึ้นในอนาคต

นโยบายการจัด “งานวันยางพาราบึงกาฬ”

เป้าหมายการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีนั้น ทาง อบจ.บึงกาฬไม่ได้มุ่งส่งเสริมอาชีพการทำสวนยางของเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดบึงกาฬเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งจัดงานดังกล่าว เพื่อเป็นเวทีกลางเชื่อมโยงตลาดการค้ายางพารา และส่งเสริมอาชีพการทำสวนยาง ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศไปพร้อมๆ กัน เช่น จัดประกวดแข่งขันการกรีดยางระดับประเทศ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ใช้เวทีการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ เป็นกระบอกเสียงบอกเล่าความเดือดร้อนของชาวสวนยางทั่วประเทศไปถึงภาครัฐบาลได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น

บึงกาฬ แม้เป็นจังหวัดน้องใหม่ ไม่ได้ปลูกยางมานานเหมือนกับพื้นที่ภาคใต้ แต่ผมก็ภาคภูมิใจที่ อบจ.บึงกาฬได้เป็นเจ้าภาพจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ เพื่อเป็นเวทีกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าและส่งเสริมอาชีพการทำสวนยางอย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ

การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ มีจุดเริ่มต้นจากความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนทุกฝ่ายในจังหวัดบึงกาฬ ต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักในการจัดงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ และ คุณพินิจ จารุสมบัติ ซึ่งผลงานและชื่อเสียงการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ เป็นที่รู้จักของวงการค้ายางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คุณวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกย่องจังหวัดบึงกาฬว่า เป็นแบบอย่างที่ดี ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ที่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน อบจ. ประชาคม และสหกรณ์ต่างๆ ร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหายางพาราอย่างยั่งยืน โดยลงทุนก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางของชาวสวนยางแห่งแรกของภาคอีสาน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “บึงกาฬโมเดล” ในปัจจุบัน

สำหรับการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬในปีนี้ ทาง อบจ.ได้เชิญ อบจ.จากทั่วประเทศเข้าร่วมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าและการตลาดร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้เชิญ คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล เข้ามาร่วมพิธีเปิดงาน เพื่อให้รัฐบาลได้รับทราบสถานการณ์ยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเข้าใจปัญหาและยื่นมือเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

ขายหมอนยางราคาถูก

การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬในปีนี้ ทางชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด เตรียมนำสินค้าหมอนยางพารามาจำหน่ายในราคาพิเศษ เพียงใบละ 360 บาท จากราคาปกติที่ขายใบละ 500 บาท โดยจำหน่ายสินค้าจำนวนจำกัดเพียงแค่ 10,000 ใบ ในช่วงการจัดงานวันยางพาราปีนี้เท่านั้น เพื่อคืนกำไรสังคมให้ผู้บริโภคได้ซื้อหมอนยางพาราราคาถูกไปทดลองใช้ที่บ้าน

ราคาน้ำยางสดในวันนี้ (20 ธันวาคม 2560) อยู่ที่กิโลกรัมละ 33 บาท หมอนยาง 1 ใบ ใช้น้ำยางสดประมาณ 2.5 กิโลกรัม ต้นทุนค่าน้ำยางสด ต่อหมอนยาง 1 ใบ ยังใช้ไม่ถึง 100 บาท ขายหมอนยางในราคาใบละ 300 บาท หักต้นทุนค่าบริหารจัดการต่างๆ แล้ว ยังเหลือผลกำไรจากการขายหมอนยางถึงใบละ 100 บาท ทุกวันนี้ ชาวบึงกาฬกว่า 70% ปลูกและกรีดยางด้วยตัวเอง โดยมีพื้นที่ทำกินครอบครัวละ 5-30 ไร่ น้ำยางสดถูกขายให้กับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมอนยาง ในอนาคต หากคนไทยหันมาสนับสนุนผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราของบึงกาฬเพิ่มมากขึ้น เท่ากับช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

ธุรกิจแปรรูปยางของชาวสวนยางบึงกาฬ

สหกรณ์ชาวสวนยาง 13 แห่งของจังหวัดบึงกาฬ ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้ง “ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด” เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคาขายยางก้อนถ้วยกับกลุ่มพ่อค้า ต่อมาได้รับงบประมาณสนับสนุนแบบให้เปล่าจากรัฐบาล จำนวน 193,575,000 บาท เพื่อจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา ประกอบด้วย โรงงานผลิตน้ำยางข้น โรงงานผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 โรงงานผลิตยางแท่ง (เอสทีอาร์ 20) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้ายางพารา เพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ ลดความผันผวนราคายางพาราในตลาดโลก

ปัจจุบันโรงงานแปรรูปยางเสร็จสมบูรณ์ ทางชุมนุมสหกรณ์ฯ วางแผนขยายตลาดส่งออกหมอนยางไปต่างประเทศ เช่น จีน เวียดนาม ฯลฯ แต่ติดขัดในเรื่องขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ตอนแรก ทางชุมนุมสหกรณ์ฯ ได้ยื่นขอเงินกู้จาก ธ.ก.ส. แต่ไม่ได้รับอนุมัติ ผมในฐานะที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ก็อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพันธมิตร ขอกู้เงินในนามส่วนตัวเพื่อให้ชุมนุมนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินกิจการต่อไป

ในอนาคต ทางชุมนุมสหกรณ์ฯ วางเป้าหมายพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการขาย เช่น ผลิตที่นอนยางพารา ยางลูกขุน ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน รองเท้าบู๊ต รองเท้าแตะ ฯลฯ โครงการแปรรูปยางของชุมนุมสหกรณ์ฯ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราในท้องถิ่น ช่วยขยายโอกาสทางการตลาด และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไปพร้อมๆ กัน ผลกำไรที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปเฉลี่ยคืนให้กับเกษตรกรที่ขายน้ำยางสด ผู้ถือหุ้น และเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับขยายกิจการของชุมนุมสหกรณ์ฯ ในอนาคต

ฝากการบ้าน “รัฐบาล”

ผมขอขอบคุณรัฐบาลที่อนุมัติงบประมาณ 193 ล้านบาท แบบให้เปล่า แก่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด สำหรับใช้ก่อสร้างโรงงานและอุปกรณ์แปรรูปยางพารา เพื่อให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง อยากให้ภาครัฐบาลสนับสนุนเทคโนโลยีการแปรรูปและช่วยพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปจากโรงงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมการแปรรูปยางแผ่นสำหรับทำสนามกีฬายางพารา ส่งเสริมการผลิตยางล้อจักรยานยนต์ ยางล้ออีแต๊ก ซึ่งนิยมใช้มากในพื้นที่ภาคอีสาน

ทุกวันนี้ หน่วยงานภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรมกองทหารต่างๆ ต้องหาซื้อหมอน ที่นอนสำหรับใช้ในหน่วยงานต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยรับซื้อผลิตภัณฑ์สินค้ายางแปรรูป จากผลงานของชุมนุมสหกรณ์ฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับเกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่เกาะไต้หวัน และได้กิ่งพันธุ์ชมพู่ยักษ์ไต้หวันมาเลี้ยงให้ต้นเจริญเติบโต และได้นำยอดมาเสียบบนต้นชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ ที่ “สวนคุณลี” อยู่ที่ ตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398, (056) 613-021

เวลาประมาณ 2 ปีต่อมา ยอดชมพู่พันธุ์ไต้หวันเจริญเติบโตดีเรื่อยมา และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นมา ทางผู้เขียนเห็นว่าต้นชมพู่ไต้หวันแตกทรงพุ่มใหญ่ เห็นว่าควรจะใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อบังคับให้ต้นชมพู่ออกดอกติดผลนอกฤดู โดยใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ในการบังคับให้ต้นชมพู่ออกนอกฤดูนั้น ผลปรากฏว่า ต้นชมพู่ได้ออกดอกมาเพียง 1-2 ช่อ เท่านั้น

ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นมาก ได้พยายามบำรุงรักษาเป็นอย่างดีเพื่อดูว่าผลชมพู่จะมีขนาดผลใหญ่จริงหรือไม่ ในขณะที่ต้นชมพู่เลี้ยงผลอยู่เพียง 1-2 ช่อนั้น (เนื่องจากต้นยังมีขนาดเล็ก) พอเข้าเดือนมีนาคม 2555 ผลปรากฏว่าต้นชมพู่ยักษ์ไต้หวันที่เสียบไว้ทยอยออกดอกและติดผลทั้งต้น หลังจากที่ห่อผลชมพู่ไต้หวันไปได้ประมาณ 25-30 วัน (โดยเริ่มห่อในระยะที่ผลชมพู่ถอดหมวก หรือผลใหญ่ขนาดนิ้วโป้ง) พบว่า ผลชมพู่ไต้หวันที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีขนาดของผลใหญ่กว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ผู้เขียนเคยพบมา โดยมีคุณสมบัติของผล ดังนี้

ผลมีขนาดใหญ่มาก และมีน้ำหนักผลประมาณ 200-300 กรัม หรือ 3-5 ผล ต่อกิโลกรัม ผิวผลมีสีขาวอมชมพู หรือสีชมพูอมแดง เมื่อแก่จัดมีสีชมพูเข้ม ลักษณะของผลเป็นรูประฆังคว่ำใหญ่ มีความกว้างของผลเฉลี่ย 7 เซนติเมตร และความยาวของผลเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร เนื้อหนามาก และเป็นชมพู่ไร้เมล็ด รสชาติหวาน กรอบ มีความหวานประมาณ 13-14 บริกซ์ ถ้าผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งจะมีความหวานสูงกว่านี้ จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์หนึ่งที่ออกดอกและติดผลดกมาก

ทาง “สวนคุณลี” จึงได้ตั้งชื่อชมพู่ไต้หวันที่มีขนาดผลใหญ่สายพันธุ์นี้ว่า “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” ผู้เขียนมีความเชื่อที่ว่าชมพู่ยักษ์ไต้หวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการปลูกชมพู่ในประเทศไทย เพราะมีความโดดเด่นในเรื่องขนาดผลและความอร่อยไม่แพ้ชมพู่พันธุ์การค้าสายพันธุ์อื่น จนมาถึงในปัจจุบันทางสวนคุณลีได้ขยายพันธุ์ปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันเพื่อจำหน่ายผล พบว่า ต้นชมพู่ยักษ์นั้นสามารถให้ผลผลิตได้ปีละ 2 ครั้ง บังคับให้ออกนอกฤดูได้ดี ให้ผลผลิตมีน้ำหนักผลเฉลี่ยอย่างน้อยที่สุด 200 กรัม ต่อผล ผลใหญ่สุดหนักถึง 350 กรัม ยิ่งได้อากาศหนาว สีผลยิ่งสวย และรสชาติหวานอร่อยมาก ซึ่งตอนนี้สามารถจำหน่ายผลออกจากสวนได้ กิโลกรัมละ 200 บาท ทีเดียว

ต่อมา ในปี 2555 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่ไต้หวันอีกครั้งหนึ่ง สวนคุณลี ได้ยอดพันธุ์ “ชมพู่สตรอเบอรี่” มาเสียบยอดฝากไว้กับต้นชมพู่ทับทิมจันท์ หลังจากนั้น ช่วงเดือนมกราคม 2557 ต้นชมพู่สตรอเบอรี่ใหญ่เต็มที่ เริ่มออกดอกและติดผล พบว่า ให้ผลผลิตดกมาก มีลักษณะติดผลเป็นพวงและผลร่วงน้อยกว่าชมพู่พันธุ์อื่นๆ เมื่อผลชมพู่แก่สีของผลมีสีแดงเลือดนก โดดเด่นมาก มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 200 กรัม และรสชาติหวาน กรอบ รับประทานอร่อยมาก ที่สำคัญเมื่อปล่อยชมพู่ให้แก่จัดบนต้นพบว่า เน่าเสียได้ยากกว่าชมพู่ทุกพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา

สรุปได้ว่าเป็นพันธุ์ชมพู่ที่ทนต่อการขนส่ง ชมพู่พันธุ์สตรอเบอรี่จะมีความแตกต่างจากชมพู่การค้าพันธุ์อื่นๆ ตรงที่ลักษณะของใบจะใหญ่มาก และปัจจุบัน ทางสวนคุณลี มีปลูกเป็นเชิงการค้าผลิตผลจำหน่ายอยู่รายเดียวในขณะนี้ คาดว่าชมพู่พันธุ์สตรอเบอรี่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปลูกชมพู่ในอนาคตของชาวสวนผลไม้ไทย ด้วยรสชาติและสีผลที่สวยงาม มีสีแดงสะดุดตา

ซึ่งตอนนี้ชมพู่ทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถจำหน่ายผลผลิตชมพู่ออกจากสวนคุณลี ได้กิโลกรัมละ 200 บาท เลยทีเดียว การดูแลรักษาชมพู่เบื้องต้น

ในระยะต้นชมพู่เล็ก ควรให้ปุ๋ยคอก เช่น ปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 โดยใช้วิธีใส่ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หว่านรอบๆ ทรงพุ่มต้น ประมาณ 15 วันครั้ง

ระยะต้นใหญ่ หลังจากต้นชมพู่มีขนาดใหญ่ หรืออายุได้ 8-12 เดือน ก็พร้อมที่จะให้ผลได้บ้างแล้ว ก็จะเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 เพื่อสะสมอาหารและเร่งการออกดอก โดยใช้อัตราส่วนครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มแปลงเมตรเป็นกิโลกรัม โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ โดยใส่พร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หลังจากชมพู่ให้ผลแล้ว เปลี่ยนมาใช้ 13-13-21 โดยใช้อัตราส่วนเหมือนกับ 8-24-24 จะทำให้ผลชมพู่มีคุณภาพดีและรสชาติหวานขึ้น

นอกจากนี้ ต้องใช้ปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวท้ายสูง ฉีดเสริมช่วยเพิ่มความหวาน เช่น ปุ๋ยเกล็ด 0-52-34, 0-0-50 เป็นต้น ผสมพวกธาตุอาหารรองต่างๆ ฉีดพ่นประมาณ 7-10 วัน ต่อครั้ง หรือจะใช้ปุ๋ยที่เพิ่มคุณภาพผล เช่น “ไฮโปส” ที่ช่วยสร้างเนื้อ เพิ่มความหวานและทำให้ชมพู่เข้าสีดีขึ้น ทำให้ชมพู่สีแดงเข้มด้วย โดยจะฉีดชมพู่ตั้งแต่ห่อผลเสร็จไปตลอด ทุกๆ 7 วัน โดยอัตราที่ใช้ คือ ไฮโปส อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วสามารถผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงชนิดอื่นได้ ผลของการใช้ไฮโปส (แม้จะมีน้ำในร่องสวนตลอด หรือฝนตกมาบ่อย ชมพู่ที่สวนก็ยังคงหวาน) ทำให้ชมพู่เป็นที่ต้องการของตลาด ความหวานของชมพู่จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบกับต้นชมพู่

เน้นการให้ปุ๋ยทางใบอย่างเพียงพอ UFABET มิฉะนั้นอาจทำให้ผลร่วงได้ง่ายเป็นการให้เสริมจากการให้ปุ๋ยทางดิน มีหลักการให้พอสรุปได้ ดังนี้ เมื่อต้นชมพู่แตกใบอ่อนช้าหรือแตกใบอ่อนไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้ปุ๋ยไทโอยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (พิจารณาจากอายุต้น) พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 7-10 วัน จะช่วยให้แตกใบเร็วและสม่ำเสมอทั่วทั้งต้น หลังแตกใบอ่อนถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ ไม่เขียวเข้มเป็นมัน ก็จะฉีดปุ๋ยเพิ่มความสมบูรณ์ของใบ เช่น ปุ๋ยสูตร 30-20-10 หรือ 30-20-20 ฉีดพ่น อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับชมพู่ได้เป็นอย่างดี

ระยะใบแก่ก่อนออกดอก เพื่อช่วยให้ผลแก่เร็วขึ้น และป้องกันการแตกใบอ่อนเมื่อมีฝนตกชุก ควรพ่น 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 7-15 วัน ต่อครั้ง ระยะชมพู่ออกดอกหรือระยะฝาชี ควรพ่นฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (Gibberellins) เพื่อช่วยยืดช่อ อัตรา 2 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ถ้าให้ดีแนะนำให้ฉีดพ่นประมาณ 3 ช่วง หรือ 3 ครั้ง คือช่วงเริ่มออกดอก ดอกเริ่มบาน และหลังดอกบานแล้ว 2 สัปดาห์ หรือก่อนการห่อผล เพื่อทำให้ทรงผลยาวและขยายขนาดผลให้ใหญ่ขึ้น

ขณะที่ต้นชมพู่ยังเล็กควรตัดแต่งเพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ เช่น ให้มีกิ่งใหญ่ประมาณ 2-3 กิ่ง กิ่งที่เหลือตัดออก หรือถ้าต้องการให้มีทรงพุ่มแบบต้นเดี่ยวๆ ก็ต้องตัดกิ่งที่ไม่ต้องการออก ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของสวน เช่น การตัดแต่งประจำปี ควรตัดแต่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยยึดหลักกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไขว้ไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่ฉีกหัก โดยตัดชิดโคนกิ่ง และใช้สารเคมีที่ป้องกันกำจัดเชื้อราทาบริเวณแผล และถ้าเป็นต้นที่สูงใหญ่มากๆ ไม่สะดวกแก่การปฏิบัติงานควรตัดยอดทิ้งเพื่อบังคับไม่ให้ต้นสูงเกินไป ซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์ด้วย การตัดแต่งตามความจำเป็น เป็นการตัดแต่งขณะห่อผลเพื่อสะดวกแก่การปฏิบัติงาน