หลังจากนั้นให้นำวัสดุทางธรรมชาติที่ได้ตามอัตราส่วน

หมักด้วยระบบเติมอากาศ ภายใต้การควบคุมเวลาด้วยเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติเพื่อเติมลมเข้าตามเวลาที่กำหนด สำหรับทางศูนย์ได้สร้างโรงหมักปุ๋ยเติมอากาศไว้สาธิต จำนวน 30 ตัน แต่ความจริงสามารถรองรับได้ถึง 50 ตัน

หลังจากหมักเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ทดลองนำไปใช้กับแปลงปลูกพืชไม้ผลของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสวนทุเรียน สวนมังคุด สวนสะละ ปรากฏว่าสวนทุเรียนที่มีอายุสัก 20 ปี ได้ลองนำไปใส่ ต้นละ 80 กิโลกรัม โดยมีต้นทุนการผลิตปุ๋ย กิโลกรัมละ 3.70 บาท หรือสวนสะละที่มีอายุราว 6 ปี ใช้ปุ๋ย จำนวน 20 กิโลกรัม ต่อต้น หรือต้นทุนค่าปุ๋ยเพียง 3 บาทกว่า ต่อกิโลกรัม หรือมังคุดที่มีอายุนานถึง 22 ปี ใส่ปุ๋ยเติมอากาศ ต้นละ 80 กิโลกรัม

เหตุผลสำคัญของการได้ประโยชน์จากปุ๋ยเติมอากาศคือช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้ปุ๋ยชนิดอื่นลงทันที แล้วสามารถลดลงได้มาก ทั้งนี้ เพราะประโยชน์และคุณค่าจากวัสดุทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นขี้วัว ขี้ไก่แกลบ หรือขุยมะพร้าว ล้วนมีประโยชน์สำคัญต่อพืชอยู่แล้ว

“แถมยังมีผลพลอยได้จากน้ำหมักปุ๋ยด้วยการนำไปใช้รดพืชผัก ไม้ผล ในอัตราส่วนน้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร ช่วยให้ฟื้นฟูดิน ปรับปรุงโครงสร้างดินให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ยิ่งช่วยทำให้พืชได้ประโยชน์ทางอาหารอย่างคุ้มค่า ขณะเดียวกันด้วยคุณสมบัติจากวัสดุเหล่านี้ยังช่วยถนอมรักษาคุณภาพดินให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ถือเป็นโครงการที่ดีมาก แล้วไม่ต้องไปรองานวิจัยอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งยังเข้าถึงเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างทันทีและสะดวก”

คุณบุญเกื้อ เพิ่มเติมข้อมูลว่า การหมักวัสดุเพื่อทำปุ๋ยแบบเดิมมีข้อเสียตรงที่ต้องหมั่นกลับกองปุ๋ย แต่สำหรับปุ๋ยหมักเติมอากาศจะใช้ลมเป่าเพื่อให้ออกซิเจนเติมเข้าไป เป็นการเร่งปฏิกิริยากระบวนการหมักให้เร็วแล้วได้ผลมากขึ้น

“โดยพัดลมมีหน้าที่ระบายอากาศเพื่อให้อุณหภูมิการหมักลดลงเป็นการตั้งเวลาอัตโนมัติไว้ทุก 3 ชั่วโมง พัดลมจะทำงานจำนวน 1 ชั่วโมง พอหลังจากหมักผ่านไป 3 วัน จะพบว่ามีหนอนเป็นจำนวนมากซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์

ทั้งนี้ การหมักปุ๋ยใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือน โดยให้กลับกองปุ๋ยเพียงครั้งเดียวในเดือนที่สองเท่านั้น กระทั่งเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงเท่ากับอุณหภูมิอากาศก็สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืชได้”

คุณบุญเกื้อ ชี้ว่าหากชาวบ้านเกษตรกรที่สนใจต้องการนำปุ๋ยหมักเติมอากาศไปใช้ในสวนของตัวเองอาจไม่จำเป็นต้องสร้างโรงปุ๋ยให้มีขนาดใหญ่แต่อาจพิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ แต่วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาจเป็นสิ่งของที่ประยุกต์หรือดัดแปลงของเหลือใช้อย่างไม้ กระเบื้อง เพียงขอให้มีรูปร่างที่เป็นมาตรฐาน เพราะการทำปุ๋ยจำนวนไม่มาก ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากก็ได้ แต่ขณะเดียวกันจะได้ประโยชน์ที่คุ้มค่า แล้วใช้ไปได้นาน

ในส่วนของกิจกรรมที่ศูนย์ได้จัดโครงการอบรมการให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจไปแล้ว จำนวน 3 รุ่น มีจำนวนทั้งสิ้นเกือบร้อยคน แล้วจะจัดต่อไปอีก ทั้งนี้ ได้มีการติดตามประเมินผลด้วยการเข้าไปส่งเสริมและแนะนำให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้ว โดยหวังว่าชาวบ้านกลุ่มนี้ถ้ามีความชำนาญมากพอแล้วก็จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในชุมชนทุกพื้นที่ต่อไป

สำหรับโครงการนี้ต้องขอขอบคุณ คุณโกศล มณีรัตน์ อดีต ผอ.ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และ คุณเกริกชัย ธนรักษ์ ผอ.คนปัจจุบัน ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา ขณะเดียวกันได้พบกับ คุณรำเพชร แสงมณี อยู่บ้านเลขที่ 5/2 หมู่ที่ 9 ตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โทรศัพท์ (086) 282-0073 ชาวบ้านที่ผ่านการอบรมไปแล้ว และได้สร้างโรงผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศเป็นที่เรียบร้อย แต่กำลังอยู่ระหว่างการรอเพื่อนำมาใช้งาน

คุณรำเพชร ถือว่าเป็นเกษตรต้นแบบการใช้ปุ๋ยหมักเติมอากาศ แล้วยังเป็นเกษตรกรประเภทหัวไวใจสู้ด้วย เธอมีสวนปาล์มอายุเกือบ 10 ปี แล้วกำลังจะโค่นบางส่วนเพื่อจะใช้ปลูกทุเรียนหมอนทอง เนื่องจากเคยปลูกมาบ้างแล้ว

เกษตรกรรายนี้บอกว่า สมัยก่อนปลูกพืชด้วยการใช้สารเคมีล้วน พอนานไปคุณภาพดินแย่ลง ปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล เสียหาย เสียเงิน แล้วยังเสียเวลาด้วย จนกระทั่งได้นำตัวอย่างดินไปตรวจพบว่าค่าต่ำกว่ามาตรฐานมาก ดังนั้น เมื่อทางศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรมีโครงการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศขึ้นจึงเข้าอบรมแล้วตั้งใจว่าจะลงทุนอีกครั้งเพื่อนำปุ๋ยหมักเติมอากาศมาใช้เพื่อให้ดินกลับมามีคุณภาพเหมือนเดิม

โรงปุ๋ยหมักเติมอากาศของคุณรำเพชรมีขนาดความจุ 2 ตัน ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 2.5 เมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 5 หมื่นบาท หมักมาได้ เดือนกว่า ส่วนวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสม ได้แก่ ขี้ไก่แกลบ จำนวน 30 กิโลกรัม ขี้วัว จำนวน 30 กิโลกรัม และขุยมะพร้าว 10 กิโลกรัม สำหรับปุ๋ยที่หมักแล้วจะนำไปใช้กับต้นทุเรียน ส้มโอ และปาล์มน้ำมัน

“ปากช่อง” จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งปลูกน้อยหน่าที่มากสุดของไทย และคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาคุณภาพ การผลิต สายพันธุ์ สายพันธุ์น้อยหน่าที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง น้อยหน่าหนัง และน้อยหน่าฝ้าย ฯลฯ หน่วยงานท้องถิ่นได้จัดงาน “น้อยหน่าและของดีเมืองปากช่อง” ต่อเนื่องเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลผลิตน้อยหน่า และไม้ผลอื่นๆ ของอำเภอปากช่อง

โดยทั่วไป น้อยหน่าสามารถจำแนกตามลักษณะต่างๆ เช่น สีผิวของผล สีเนื้อและชนิดของเนื้อ ได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ น้อยหน่าพื้นเมือง หรือ น้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือน้อยหน่าฝ้ายเขียว ซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม น้อยหน่าฝ้าย น้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 2-3 ขีด รสไม่หวานมากนัก เสียหายง่าย ผลผลิตเฉลี่ย ไร่ละ 800-1,000 กิโลกรัม น้อยหน่าฝ้ายมีลักษณะเนื้อหยาบเป็นทราย เปลือกไม่ล่อน เมื่อปอกเปลือกเนื้อกับเมล็ดมักติดเปลือก เนื้อยุ่ยไม่จับตัวเป็นก้อน น้อยหน่าฝ้ายเขียวมีเนื้อในสีขาว และน้อยหน่าฝ้ายครั่ง มีเนื้อสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอม รสหวาน เปอร์เซ็นต์น้ำตาล เฉลี่ย 17.2% เมล็ดสีดำเป็นมัน เมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผล 50 เมล็ด การสุกประมาณ 1 วัน

น้อยหน่าหนัง หรือ น้อยหน่าญวน แบ่งได้ 3 สายพันธุ์ คือ น้อยหน่าหนังเขียวมีผลสีเขียว น้อยหน่าหนังทองเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วกลายพันธุ์ ผลมีสีเหลืองทอง และน้อยหน่าหนังครั่งเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับหนังทอง แต่มีผลสีม่วงเข้มคล้ายน้อยหน่าฝ้ายครั่ง โดยทั่วไป น้อยหน่าหนังเขียว มีเนื้อสีขาว น้อยหน่าหนังครั่ง มีเนื้อสีขาวอมชมพู และน้อยหน่าหนังทองมีเนื้อสีขาวอมเหลือง เนื้อละเอียด เปลือกล่อนเป็นแผ่นล่อนจากเนื้อได้ เนื้อมาก เนื้อเหนียว กลิ่นหอม รสหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย 17.9% เมล็ดสีดำเป็นมัน จำนวน 41 เมล็ด ต่อผล การสุกประมาณ 2 วัน

น้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม ของ ม. เกษตรศาสตร์

สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวบรวมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 24 ปี โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างน้อยหน่าพันธุ์ดีจากแหล่งปลูกทั่วประเทศ มีแปลงรวบรวมพันธุ์ขนาดใหญ่มากกว่า 100 สายพันธุ์ ที่นำมาพัฒนาปรับปรุง จนได้น้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม ที่มีลักษณะโดดเด่นตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยทยอยเปิดตัวน้อยหน่าพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่นและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเชิงการค้าหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์เพชรปากช่อง เนื้อทอง ปากช่อง 46 ปากช่องเคยู 1 ปากช่องเคยู 2 หนังเขียวเกษตร 1 ฝ้ายเขียวเกษตร 1 เป็นต้น

เพชรปากช่อง เป็นพันธุ์ลูกผสม ระหว่าง “ลูกผสมของเซริมัวย่ากับน้อยหน่าหนังครั่ง” เป็นพันธุ์แม่ ผสมกับพ่อ “น้อยหน่าหนังเขียว” มีลักษณะลำต้น ใบ ดอก และผล ใหญ่กว่าน้อยหน่าทั่วไป ผิวเรียบ ร่องตาตื้น เนื้อเหนียวติดกันไม่แยกพู ลักษณะเด่นคือ ติดผลดก ผลใหญ่ มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 436.8 กรัม ต่อผล เนื้อมาก เมล็ดน้อย อายุหลังการสุกยาวนาน สุกช้าเฉลี่ย 4.9 วัน น้อยหน่าเพชรปากช่องมีขนาดผลโต เนื้อหนา รสหวาน ผิวมันวาว ที่สำคัญขายได้ราคาดี น้อยหน่าพันธุ์ “เพชรปากช่อง” ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวอ่อนถึงขาวนวล ผลไม่แตกเมื่อแก่ เปลือกบางลอกออกจากเนื้อได้เมื่อสุกจัด เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง หลังจากปลูก 2 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต เพชรปากช่องเป็นพันธุ์น้อยหน่าที่เกษตรกรให้ความสนใจปลูกอย่างแพร่หลาย เพราะให้ผลผลิตสูง ขายได้ราคาดี ผลผลิตส่วนใหญ่บริโภคภายในและส่งออกประเทศใกล้เคียง เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และฮ่องกง ฯลฯ

น้อยหน่าพันธุ์เนื้อทอง เกิดจากลูกผสม ระหว่าง (เซริมัวย่า x หนังเขียว) ลักษณะผลใหญ่รูปหัวใจ กว้าง 8.8 เซนติเมตร ยาว 9.9 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 504.8 กรัม ต่อผล ผิวผลเรียบไม่มีร่องตา ผลอ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดสีขาวนวล การแตกของผลปานกลางเมื่อสุก เปลือกหนามีส่วนของเมล็ดทรายอยู่ระหว่างเปลือกด้านในติดกับเนื้อ เนื้อสามารถแยกออกเป็นพูๆ ได้ไม่ติดกัน ความหวาน 18.9 บริกซ์ การสุกเฉลี่ย 4.5 วัน อายุหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปี หลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปี การติดผลดกกระจายทั่วต้น แต่ในบางฤดูมีการติดผลค่อนข้างยาก มีขนาดผลสม่ำเสมอไม่แตกต่างกันมาก อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 1.78 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี อายุ 3 ปี เฉลี่ย 2.14 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี และอายุ 4 ปี เฉลี่ย 13.62 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี

น้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ “ฝ้ายเขียวเกษตร 2”

อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด รศ. ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ นายกวิศร์ วานิชกุล นักวิจัยของสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” ซึ่งเป็นลูกผสมของพันธุ์เพชรปากช่องกับฝ้ายเขียวเกษตร 1 และเปิดตัวน้อยหน่าพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการ ในงานเกษตรแฟร์ 2558

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นไม้ผลที่มีศักยภาพทางการค้า เพราะเป็นพันธุ์น้อยหน่าที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว บังคับให้ออกดอกติดผลได้ง่าย และต้นทุนการผลิตต่ำ กล่าวได้ว่า ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นดี ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะเด่นแตกต่างจากพันธุ์การค้าเดิม เพราะฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีกลิ่นหอม หวาน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย มีเนื้อเนียนนุ่ม ติดผลง่าย ให้ผลดก ขนาดผลปานกลาง ซึ่งเป็นไซซ์ที่ตลาดต้องการ เปลือกหนาติดกันเป็นแผ่นไม่แยกตา ปริมาณเนื้อมากเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ทรงพุ่มเป็นรูปทรงกรวยแผ่กว้าง ขนาดสูง 200 เซนติเมตร กว้าง 198 เซนติเมตร ผิวเปลือกของลำต้นเรียบ สีเปลือกด้านนอกมีสีน้ำตาล ด้านในมีสีเขียว แตกกิ่งมาก ทรงพุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรีแกมขอบขนาน ยาว 14.95 เซนติเมตร กว้าง 6.88 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่มีสีเขียว เนื้อใบละเอียด เป็นมัน ดอกเดี่ยว ดอกเมื่อแก่เต็มที่ก่อนบานมีรูปกรวย ผลรูปทรงกลมกึ่งไข่ ผลอ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่สีเขียวเข้ม ผิวผลเป็นร่องลึกปานกลางสีครีม ลักษณะเนื้อร่วนการแยกของเนื้อผลย่อยแยกออกจากกันได้ง่าย เนื้อมากสีขาว กลิ่นหอม แกนผลสีขาว เมล็ดเล็กรูปทรงส่วนมากมีลักษณะรูปไข่เกือบกลม สีน้ำตาล จำนวนเมล็ดเฉลี่ย 26.4 เมล็ด ต่อผล

เยี่ยมชมแปลงปลูก “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” ไม้ผลทำเงิน ของ สมเกียรติ บุตรบำรุง

คุณชลธิชา กันตะวงศ์ (ตาล) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พาผู้เขียนไปเยี่ยมชมแหล่งผลิตน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ของ คุณสมเกียรติ บุตรบำรุง โทร.(081) 494-0823 ประธานชมรมผู้ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร อำเภอปากช่อง อาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 98/1 หมู่ที่ 4 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

คุณสมเกียรติ เป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่บุกเบิกการปลูกน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 และสวนแห่งนี้เป็นแปลงใหญ่สุดที่ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 เชิงการค้าในขณะนี้ คุณสมเกียรติตัดสินใจเริ่มปลูกน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน หลังจากได้มีโอกาสชิมรสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียว 2 ที่ปลูกภายในสถานีวิจัยปากช่อง ซึ่งน้อยหน่าพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ มีรสชาติอร่อย ปลูกง่าย ทนแล้ง ให้ผลดก

“คนไทยนิยมซื้อน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียว เพราะเป็นน้อยหน่าเนื้อร่วน กระแสตลาดนี้ยังมาแรงต่อเนื่อง ซึ่ง “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” มี “เนื้อร่วน” ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างชัดเจน และมีรสชาติความอร่อยของน้อยหน่าฝ้ายเขียว และเพชรปากช่องอย่างครบถ้วน ทุกวันนี้ ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 มากเท่าไร ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ แถมมีอายุหลังการสุกยาวนาน มีศักยภาพในการขยายตลาดทั้งในประเทศและส่งออก” คุณสมเกียรติ กล่าว

คุณสมเกียรติ ตั้งใจปลูกน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เชิงการค้าอย่างเต็มตัว จึงติดต่อขอซื้อกิ่งพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 จำนวน 300 กิ่ง จากสถานีวิจัยปากช่อง ในราคากิ่งละ 500 บาท เพื่อนำมาปลูกในพื้นที่อำเภอปากช่อง ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นไม้ผลพันธุ์เบา ให้ผลผลิตเร็วหลังปลูก บังคับให้ออกดอกติดผลได้ง่าย ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ น้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 เริ่มติดผลได้ตั้งแต่อายุ 1-2 ปี สามารถบังคับให้ออกดอกและติดผลได้ทั้งในและนอกฤดูกาลโดยการตัดแต่งกิ่ง ออกดอกง่าย ติดผลดก เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 100-110 วัน หลังดอกบาน น้อยหน่าพันธุ์นี้มีขั้วผลใหญ่และสั้น แกนผลเป็นรูปสามเหลี่ยมปิระมิด ซึ่งแตกต่างจากพันธุ์อื่นที่เป็นรูปกรวยกลม

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีลักษณะ ลำต้น ใบ ดอก และผล ใหญ่กว่าน้อยหน่าฝ้ายที่เป็นพันธุ์แม่ แต่เล็กกว่าเพชรปากช่อง ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อร่วนไม่ติดกันแยกเป็นพู เหมือนน้อยหน่าฝ้าย ลักษณะเด่นคือ ติดผลดก ผลปานกลาง น้ำหนักผลเฉลี่ย 302.50 กรัม ต่อผล เนื้อมาก เมล็ดน้อย สุกช้า เฉลี่ย 4.50 วัน และอายุหลังการสุกยาวนาน ลักษณะพิเศษของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 คือ ผลสุกช้า เปลือกไม่เละ ไม่แตกง่าย เหมาะสำหรับการขนส่ง มีอายุหลังการสุกยาวนาน สามารถยืดอายุการขายได้นานเป็นสัปดาห์ ถือเป็นเสน่ห์สำคัญที่ผูกมัดใจแม่ค้าได้มากที่สุด

การเข้าออกของเกษตรกรและนักศึกษา บริเวณหมู่บ้านแพะประทานพร อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ กลายเป็นเรื่องประจำไปแล้ว หลัง บริษัท ซันสวีท จำกัด ปรับระบบภายในให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาดูงาน และสร้างฐานการเรียนรู้ในการทำโครงการ Smart farm

เนื่องจากการสนับสนุนและให้ความรู้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ ในการเปลี่ยนแปลงเกษตรยุค 4.0 ดร. องอาจ กิตติคุณชัย ประธานบริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด เปิดเผยอย่างเป็นกันเอง ถึงโครงการ Smart farm ที่กำลังดำเนินอยู่ว่า เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ ปี 2555 เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบให้เกษตรกรได้นำองค์ความรู้ที่ได้เข้าช่วยควบคุมการเพาะปลูกให้มีความแม่นยำ และมีคุณภาพ จนสามารถเพิ่มจำนวนผลผลิตให้มากขึ้นในแต่ละปี เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การจัดการระบบน้ำ การให้ปุ๋ย การวัดอุณหภูมิความชื้น ความร้อน แสงแดด การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง เมื่อเกษตรกรมีความเข้าใจในระบบบริหารจัดการเป็นอย่างดีแล้ว จะสามารถนำองค์ความรู้ไปเป็นต้นแบบในการเพาะปลูกได้

“เราส่งเสริมเกษตรกรสองหมื่นรายเกี่ยวกับการทำเกษตร แบบ contract farming ในพื้นที่ภาคเหนือเนื้อที่แสนไร่ จากที่แต่เดิมเกษตรกรที่นี่ส่วนมากจะปลูกข้าวโพดพืชผลกันเองตามธรรมชาติ แต่เมื่อเราเข้าไปส่งเสริมด้วยการทำเกษตรแบบ smart farm และ contract farming ด้วยการนำความรู้ด้านต่างๆ เข้าไปแนะนำการใช้เทคโนโลยีน้ำหยด การบริหารจัดการดิน การวัดความชื้นในดิน ในช่วงหน้าแล้งจะมีการทำปั๊มน้ำ การจัดการดินที่ถูกต้อง ด้วยการลงทุนในระยะเริ่มต้น 15,000 บาท ต่อไร่ แต่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต จะพบว่า สามารถลดต้นทุนได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์”

ปัจจุบัน มีเกษตรกรที่เข้าร่วมทำ contract farming กับซันสวีทมากกว่า 20,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและล่าง จำนวน 50,000-100,000 ไร่ ต่อปี และการทำ contract farming ยังถือเป็นจุดแข็งที่โดดเด่น โดยบริษัทดูแลเรื่องเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรนำไปปลูก มีการตรวจสอบผลระหว่างปลูก และรับซื้อเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว

“แปลงที่ทำการเกษตร แบบ smart farm แม้ว่าจะลงทุนอยู่ที่ 15,000 บาท ต่อไร่ แต่ก็สามารถจัดระบบแปลงได้ดีกว่า ตลอดระยะเวลา 3-4 ปี ของการเพาะปลูก จะมีต้นทุนเรื่องของการทำระบบน้ำหยด ประมาณ 560 บาท แต่รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากผลผลิตที่มีคุณภาพ 85-96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยทั่วไปรายได้ต่อไร่ของเกษตรกรอยู่ที่ 8,000 บาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 บาท”

การรับซื้อ คุณมานพ ซ้อนฝั้น ผู้จัดการฝ่าย smart farm บอกว่า บริษัทรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร ฝักละ 3 บาท หรือ 5 บาท ในเกรดเอ น้ำหนัก 4 ขีด เกรดบี หรือ 4 ขีด ลงมา รับซื้อ 3.6-4 บาท โดยข้าวโพดที่ปลูกคือ ไฮบริกซ์ 53 และพันธุ์ซูการ์สตาร์

นอกจากนี้ ซันสวีทยังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทำหลักสูตรวิชา ได้แก่ วิชาปลูกข้าวโพดหวานคุณภาพ และวิชาปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างอาชีพ โดย อาจารย์ออมสิน บุญวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. อำเภอแม่วาง เป็นผู้นำหลักสูตรบรรจุเข้าในการสอน เริ่มที่อำเภอแม่วางเป็นแห่งแรก และคาดว่าจะขยายต่อไปยังอำเภออื่นในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง อำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฝาง และอำเภอเชียงดาว

นางสาวอรทัย พรหมเดช นักศึกษา กศน. อำเภอแม่วาง กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เลือกศึกษาหลักสูตรวิชาการปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างอาชีพ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในแปลงข้าวโพดที่บ้าน ในหมู่ที่ 6 บ้านแม่มุต ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

“ได้เข้าเรียนรู้กับ บริษัท ซันสวีท เป็นเทอมแรก ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำแปลง ผ่านการอบรมเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำการเกษตรและนำมาปฏิบัติจริง แต่ในช่วงที่มีการปลูกในแปลงจริงมีปัญหาสภาพอากาศ เนื่องจากฝนตก ระยะการเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดไม่เสมอกัน แต่ก็ต้องดูแลต้นต่อไป ทั้งนี้การปลูกในช่วงแรกทาง บริษัท ซันสวีท สนับสนุนเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าแมลง ปลูกตามระบบที่บริษัทกำหนด พร้อมปรับให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และเพิ่งทำเป็นครั้งแรกโดยมีเจ้าหน้าที่มาติดตามอย่างต่อเนื่อง”

ประเด็นราคายางพาราตกต่ำ จากที่เป็นกระแสความเดือดร้อนของชาวสวนยางพารา ถึงเวลานี้ กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับราคายางพาราที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะขยับขึ้นไปแล้ว ส่งผลให้เกษตรกรที่รอความช่วยเหลือจากภาครัฐในระยะแรก ต้องปรับการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ด้วยการมองตนเอง แล้วนำศักยภาพของสวนยางพาราเท่าที่มีมาประยุกต์ให้เกิดราคาทดแทนรายได้ในส่วนที่หายไป

ปลายฝนที่ผ่านมา คุณธีธัช สุขสะอาด เว็บจีคลับ ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ถือโอกาสในช่วงฝนชุก เข้าติดตามการดำเนินงานพัฒนายางพารา โดยมุ่งไปที่จังหวัดในภาคเหนือ เพราะตั้งใจยกเขตพื้นที่ภาคเหนือเป็นต้นแบบในการพัฒนายางอย่างครบวงจร เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกยางกว่า 20,000 ไร่

การพัฒนายางอย่างครบวงจรคือ การตั้งจุดรวบรวมยางก้อนถ้วย เปิดให้เอกชนมาประมูลยาง และสหกรณ์กองทุนสวนยางแต่ละแห่ง รับซื้อน้ำยางเพื่อแปรรูป ซึ่งการประมูลซื้อขายจะผ่านระบบออนไลน์ในตลาดท้องถิ่น หรือตลาด 108 ซึ่งเป็นตลาดเปิดในแหล่งปลูกยางทั่วประเทศ โดย กยท. ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาระบบ และเงินทุนช่วยเหลือ พร้อมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ราคายางก้อนถ้วย ปัจจุบัน 26 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่เกษตรกรสวนยางพาราอยู่ได้ โดยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ขยับขึ้นมาเป็น 60 บาท ต่อกิโลกรัม และอาจขยับขึ้นได้อีก อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ยาง เฉลี่ยเดือนละ 300,000 ตัน เพราะปริมาณการส่งออกในปัจจุบันสูงถึงปีละกว่า 3 ล้านตันแล้ว

แม้ว่าราคาการซื้อขายน้ำยาง ยางก้อนถ้วย ยางแปรรูป จะขยับตัวขึ้น แต่การส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างที่สวนยางพารารอเปิดกรีด ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสอดคล้องกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่ถือว่าเป็นเกษตรที่มีความยั่งยืนกว่า