หลังจากนั้น จะแตกกิ่งออกมาเป็นจำนวนมากจะต้องคัดเลือก

ตัดแต่งทิ้งอีกรอบ สำหรับกิ่งที่แตกออกด้านข้างจะเก็บไว้ตลอด แต่กิ่งน้ำค้าง หรือกิ่งกระโดง ที่อยู่สันกิ่ง ตรงกลางทรงพุ่ม จะเก็บไว้ในช่วงแรกไม่เกิน 2 ปี หลังจากนั้น จะตัดกิ่งออก เพื่อให้ลำต้นแบกน้ำหนักกิ่งน้อยลง เทคนิคการตัดแต่งกิ่งดังกล่าว ช่วยให้ต้นลิ้นจี่ติดผลทั้งในทรงพุ่มและที่ปลายทรงพุ่ม ผลผลิตที่อยู่ภายในทรงพุ่มจะมีคุณภาพที่ดีกว่าปลายทรงพุ่มด้วยซ้ำไป การดูแลตัดแต่งให้ลิ้นจี่ให้มีลำต้นเตี้ยลง ช่วยให้ต้นลิ้นจี่เติบโตได้ดีขึ้นด้วยเพราะต้นลิ้นจี่สามารถดูดกินน้ำและแร่ธาตุได้ดีกว่าเดิม ให้ผลผลิตเร็วขึ้น และได้ผลผลิตคุณภาพดีแล้ว ยังช่วยให้คนงานดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและแรงงานไปพร้อมๆ กัน

ต้นลิ้นจี่อายุ 40 ปี ที่ผ่านการทำสาว จนมีลักษณะต้นเตี้ย เมื่อเวลาติดผล พวงลิ้นจี่จะห้อยติดถึงดินเลย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดี จึงต้องเสียเวลาค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่ และหลังสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเสียเวลาเก็บไม้ไผ่ มิฉะนั้นจะตัดหญ้าไม่ได้ ดังนั้น การค้ำไม้ไผ่เป็นเรื่องที่เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละปี

ไร่บีเอ็น ใช้วิธีฝังเสาปูนตรงกลางต้นลิ้นจี่ และติดสายสลิงเพื่อโยงดึงกิ่ง แทนการค้ำกิ่งด้วยไม้ไผ่เหมือนในอดีต เทคนิคการค้ำกิ่งแบบนี้ ใช้เงินลงทุนต่ำแต่ให้ผลลัพท์ที่ดีมาก เพราะจ่ายค่าเสาปูนแค่ต้นละพันกว่าบาทเท่านั้น แต่มีอายุการใช้งานได้นานหลายสิบปี ช่วยประหยัดเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ก้อนโต ไอเดียนี้น่าสนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้ผลอื่นๆ ได้เช่นกัน

หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลการปลูกลิ้นจี่ สามารถเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมสวนลิ้นจี่ ของไร่บีเอ็น (BN) ได้ที่ ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดให้ชมทุกวัน

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้หลายคนหยุดอยู่บ้านนานนับเดือนเพื่อเลี่ยงต่อการติดเชื้อ ในช่วงแรกของการกักตัวหลายฝ่ายวิตกกังวลจนเร่งกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหาร และวิตกกังวลกันว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารเหมือนในต่างประเทศ กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ในฐานะหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ภารกิจหลักคือการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ริเริ่มโครงการรณรงค์ชวนคนไทยร่วมใจปลูกพืชผักสวนครัว ในกิจกรรม “90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” โดยเชิญชวนคนไทยทุกครัวเรือนลุกขึ้นมาปลูกผักสวนครัวไว้บริโภค เป็นกิจกรรมที่ช่วยคลายความวิตกกังวล และยังตอบโจทย์ในเรื่องอาหารการกินและส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือนในภาวะวิกฤติโควิด-19

โดยช่วงต้นโครงการ พช. ร่วมกับบริษัทค้าเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด ทำการแจกเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง 100,000 ซองให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ และเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา พช. ได้รับมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวจากบริษัท เจียไต๋ จำกัด เพิ่มเติมอีกจำนวน 500,000 ซอง และจะนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนใน 76 จังหวัด นำไปปลูกในครัวเรือนสู้ภัยโควิด-19 และสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า “ความคืบหน้าเมื่อผ่านไปแล้ว 30 วันของแผนปฏิบัติการดังกล่าว มีจังหวัดที่เริ่ม Kick off โครงการทั้งระดับจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัดแล้ว โดยขยายผลไปยังระดับอำเภอจำนวนกว่า 1,767 หน่วยงาน เราส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนลดรายจ่ายด้วยการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ โดยเริ่มที่หน่วยงาน พช. ส่วนกลางก่อนเพื่อเป็นแบบอย่าง ก่อนจะขยายไปยังระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านต่อไป เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ตั้งเป้าหมายว่าจะให้แล้วเสร็จทุกครัวเรือนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 นี้ และมั่นใจว่าเมื่อพ้นปฏิบัติการ 90 วันนี้แล้ว ผู้คนจำนวนมากจะติดการปลูกผักเป็นนิสัย ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงระดับประเทศขึ้นมาได้” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าว

สำหรับจังหวัดที่ Kick off โครงการปฏิบัติการ “Quick Win 90 วัน” ไปแล้วและเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดย “นางนวลจันทร์ ศรีมงคล” พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวถึงแผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของ พช. ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ว่าผ่านมา 30 วัน ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี

เริ่มปฏิบัติการ “90 วัน ร่วมแรง แบ่งปัน ปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด” ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากระดับจังหวัด นำโดยนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้นำระดับอำเภอ จากนั้นจึงส่งมอบเมล็ดพืชผักสวนครัวให้กับพัฒนาการอำเภอ ตัวแทนพัฒนากร จาก 20 อำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้เป็นแบบอย่าง ใช้มาตรการหมั่นเยี่ยมเยียนเป็นประจำแบบเดินเคาะประตูบ้านกระจายเมล็ดพันธุ์สู่ 2,447 หมู่บ้าน และ 20 ชุมชนเมือง

“ผลความคืบหน้าของปฏิบัติการผ่านมาแล้ว 1 เดือน เราเน้นให้ประชาชนปลูกพืชผักอายุสั้น ปลูกง่าย โตเร็ว และใช้ประกอบอาหารในครัวเรือนได้ พช. ร้อยเอ็ดมั่นใจว่า ทุกครัวเรือนในจังหวัดจะมีพืชผักสวนครัวรั้วกินได้อย่างน้อย 5 ชนิด เช่น หอมแดง ข่า พริก กะเพรา สะระแหน่ และภายใน 90 วันของโครงการ เชื่อมั่นว่าทุกครัวเรือนจะมีพืชผักสวนครัวไม่น้อยกว่า 10 ชนิด และไม่ว่าสถานการณ์โควิด-19 จะยังไม่คลี่คลายในขณะนี้ แต่เมื่อประชาชนทุกครัวเรือนเร่งรัดปลูกผักตามโครงการของ พช. และปฏิบัติตนตามมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เราก็จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้อย่างแน่นอน” พช. ร้อยเอ็ด กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดโครงการ 90 วัน สำหรับพื้นที่ที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย พช. จะมีการมอบรางวัลและประกาศเชิดชูเกียรติเป็นบุคคลต้นแบบในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับต่างๆ คือ ผู้นำต้นแบบ จะเป็นระดับของผู้บริหารที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน นายกเทศมนตรี พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชน พัฒนากร และบุคคลต้นแบบระดับชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว

สำหรับประชาชนทั่วไป แม้จะผ่านไปแล้ว 30 วัน แต่ทุกครัวเรือนยังสามารถเริ่มปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวด้วยตัวเองได้ทันที เริ่มจากปลูกผักที่เรากินก่อน ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายได้ทางหนึ่ง แถมยังมีอาหารปลอดภัยไว้กินในครัวเรือนอีกด้วย หากยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สามารถสอบถามที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ทุกแห่ง หรือสามารถเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเสนอแนะ ในกลุ่มกิจกรรมผ่านเฟซบุ๊ก ในชื่อกลุ่ม “ปลูกพืช ปลูกผักปลูกรัก กับ พช.” เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงทางอาหารไปพร้อมกัน

เดิมทีอำเภอศรีบุญเรือง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ เรียก “บ้านโนนสูงเปลือย” ขึ้นกับตำบลยางหล่อ อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2512

คำขวัญของอำเภอ “ศรีบุญเรืองเมืองคนดี ประเพณีบุญบั้งไฟ ก่องข้าวใหญ่ชาวอีสาน เด่นตระการถ้ำผาสวรรค์ อัศจรรย์เขาสามยอด” ที่นี่มีเกษตรกรที่หัวไวใจสู้ คือ คุณสุริยา ธงชัย บ้านเลขที่ 181 บ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

คุณสุริยา เล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนเป็นหนุ่ม ประกอบอาชีพทำงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และเปิดศูนย์ฝึกพัฒนาฝีมือแรงงาน เขต 6 จังหวัดขอนแก่น ทำมาตลอดเกือบ 20 ปี เมื่อวัยเข้าสู่ 40 ปี เริ่มเกิดความเบื่อหน่าย และอยากใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมาสร้างฝันที่ตนเองเคยวาดฝันไว้ กับความรู้ด้านไม้ผลที่ตัวเองชอบให้เป็นจริง จึงได้ออกมาประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพอิสระ ไม่มีเจ้านาย ไม่มีผู้บังคับบัญชา เราเป็นเจ้านายของตัวเองดีกว่า บังเอิญได้มาบ้านภรรยา ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้แต่ก่อนเป็นนาข้าว และปลูกอ้อยโรงงาน ปีแรกเป็นอ้อย ปีที่สองเป็นอ้อย ปีที่สามเป็นอ้อย ทำไปมีแต่จะขาดทุนไปเรื่อยๆ

ทำให้เกิดแนวคิดว่า พื้นที่ตรงนี้คือบริเวณบ้านป่าคา หมู่ที่ 2 ตำบลยางหล่อ น่าจะปลูกไม้ผล (มะม่วง) น่าจะให้ผลผลิตที่ดีเพราะปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ตลอดไป ไม่เหมือนทำนา ทำไร่ ซึ่งเป็นพืชล้มลุก มีการปลูกทุกปีบางปีเกิดภัยแล้ง บางปีเกิดน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ ปุ๋ยเคมี สารเคมี มีราคาแพง ทำให้ต้องลงทุนทุกปี ประกอบกับพื้นเพเดิมเป็นคนอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น มีการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จึงได้นำมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมาปลูก จำนวน 20 ไร่ ในปี พ.ศ. 2559 ผลผลิตออกมาตอบรับดีมาก ในเรื่องผลผลิต การจำหน่าย ตลาดมีความต้องการมาก และผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของผู้บริโภค จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกจนถึงปัจจุบัน 41 ไร่ และแผนที่วางไว้ จะปลูกเพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 จำนวน 4 ไร่ และปี 2564 จำนวน 7 ไร่

มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 62 ไร่ 2 งาน โดยแบ่งพื้นที่ ดังนี้

ที่อยู่อาศัย ประมาณ 2 ไร่
พื้นที่จำหน่ายผลผลิต ประมาณ 2 ไร่
พื้นที่ปลูกมะม่วง ประมาณ 4 ไร่
พื้นที่สระน้ำ ประมาณ 2 ไร่
พื้นที่คอกปศุสัตว์ ประมาณ 2 งาน
พื้นที่ปลูกมะนาว ประมาณ 7 ไร่
เตรียมขยายพื้นที่ปลูกมะม่วง ประมาณ 6 ไร่
พื้นที่ถนนรอบสวนมะม่วง ประมาณ 2 ไร่

คุณสุริยา ได้น้อมนำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9 นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบแปลงใหญ่มะม่วง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

คุณสุริยา เล่าว่า ปัจจุบัน อายุ 57 ปี ทิ้งธุรกิจรับเหมา สานฝัน ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

“เดิมผมเป็นคนอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เปิดศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เขต 6 จังหวัดขอนแก่น ฝึกอบรมคนให้ไปทำงานต่างประเทศ และเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไปด้วย อีกทั้งเคยเดินทางไปทำงานต่างประเทศ (ช่างเชื่อมโลหะ) เช่น ไต้หวัน 2 ปี, คูเวต 1 ปี, สิงคโปร์ 1 ปี, ดูไบ 1 ปี และอิหร่าน 2 ปี เคยได้รับค่าตอบแทน ประมาณเดือนละ 50,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2548 ได้กลับมาทำการเกษตรที่อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น รวมกลุ่มปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ และส่งออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืน ต่อมาปี พ.ศ. 2559 ได้มีแนวคิดที่จะขยายพื้นที่การปลูกมะม่วง จึงได้ย้ายมาเริ่มพัฒนาพื้นที่ของแม่ยาย ที่บ้านป่าคา ตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จากการปลูกข้าว และปลูกอ้อยโรงงาน จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นการเกษตรแบบผสมผสาน เน้นการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นพืชหลัก จำนวน 20 ไร่” เจ้าตัวเล่า

การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่

และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ปี พ.ศ. 2559 นำรถแทรกเตอร์เข้าไถปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมปลูกไม้ผล จึงได้ไปปรึกษาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง มี คุณไพรทอง อินาวัง เป็นเกษตรตำบลยางหล่อ ว่าควรจะปลูกไม้ผลชนิดใดบ้าง ซึ่งได้รับคำแนะนำให้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ตามที่ผมเคยทำได้ดีจากอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด หาตลาดง่าย ได้ราคาสูง หลังจากได้คำแนะนำแล้วก็เริ่มจากอันดับแรก การปลูกไม้ผลจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ จึงได้ขุดดินออกไปถมที่เป็นที่อยู่อาศัย ได้สระน้ำขนาดประมาณ 2 ไร่ และขุดเจาะบ่อบาดาล ขนาด 5 นิ้ว จำนวน 1 บ่อ ซึ่งชาวบ้านมีอัธยาศัยดี สวนมะม่วงที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นสวนมะม่วงแห่งแรกของหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด

การปลูกและดูแลรักษา สวนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

จัดเตรียมกิ่งพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ขยายต้นตอได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้สามารถลดต้นทุนค่ากิ่งพันธุ์มะม่วงได้ โดยขยายพันธุ์มะม่วงด้วยวิธีการเสียบยอด และทาบกิ่ง ใช้มะม่วงแก้วขมิ้นเป็นต้นตอ โดยการเพาะต้นตอเอง ซึ่งมีวิธีการซื้อเมล็ดมะม่วงแก้วขมิ้น 1.50 บาท ต่อเมล็ด นำไปเพาะเมล็ดลงถุงดำ ให้ต้นตอมีความสูงประมาณ 1 เมตรและนำกิ่งพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมาเสียบยอดกับต้นตอ เลี้ยงต้นมะม่วงไว้ในถุงประมาณ 1 ปี จึงนำไปปลูกลงดินหรือนำออกจำหน่ายได้
การเตรียมดินปลูก โดยปลูกระยะห่างระหว่างแถว 5 เมตร และระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร ขุดหลุม ขนาด 50×50 เซนติเมตร โดยแยกหน้าดินไว้ด้านหนึ่ง คลุกเคล้าปุ๋ยคอกที่หมักทิ้งไว้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก จำนวน 10 กิโลกรัม ก่อนเอากิ่งพันธุ์ลงปลูกจนครบพื้นที่ 35 ไร่

วิธีการให้น้ำ ต้นมะม่วงแต่ละต้นวางระบบการให้น้ำแบบน้ำหยด และวางระบบหัวเจ็ทสเปรย์ ไว้ประจำทุกต้น ใช้ปั๊มแรงดันสูง สูบน้ำจากบ่อบาดาล ผ่านท่อส่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว ส่งไปตามท่อ พีวีซี เป็นสายหลักเข้าไปในสวน ก่อนแยกเข้าท่อ พีอี หัวเจ็ทสเปรย์ ขนาด 0.50 นิ้ว (ครึ่งนิ้ว) การให้น้ำปล่อยสลับกันแต่ละแถว เน้นการให้น้ำช่วงเช้า-เย็น ประมาณ 4-5 นาที ต่อครั้ง หรือความถี่ของการให้น้ำขึ้นอยู่กับสภาพการณ์
การให้ปุ๋ย

ให้ปุ๋ยคอกหมักค้างปี ปีละ 2 ครั้ง ประมาณต้นละ 10 กิโลกรัม ต่อครั้ง

– ให้ปุ๋ยทางใบ 2-3 ครั้ง ต่อปี สลับกันไป ปุ๋ยทางใบเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ชนิดผงผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ราคา 1,000 บาท ต่อกล่อง (1 ปี ใช้จำนวน 3 กล่อง)

5. การห่อผลมะม่วง เพื่อป้องกันผิวมะม่วงเสียดสีกัน หรือกระแทกกับกิ่ง ป้องกันโรคและแมลง ทำให้สีผิวสวย ลูกมีขนาดโตขึ้น ทางสวนเลือกใช้วัสดุห่อผลมะม่วง ถุงกระดาษคาร์บอน น้ำดอกไม้สีทอง ใช้ถุงกระดาษคาร์บอน ข้างนอกจะเป็นสีน้ำตาลผิวมัน น้ำไม่เกาะ ด้านในสีดำ เมื่อห่อไปแล้วจะทำให้มะม่วงน้ำดอกไม้ สีเขียวนวล ผลโตไม่มีไข่แมลงวันทอง หรือแมลงวันทองเจาะ ถ้าเป็นน้ำดอกไม้สีทอง ผิวจะเป็นสีเหลืองทองสวยงาม

6. การเก็บผลผลิต สังเกตเมื่อผลเริ่มแก่ หรือสังเกตจากถุงห่อผลมะม่วงที่ทำสัญลักษณ์ เช่น หมายเลข 1 หมายถึงห่อชุดแรก หมายเลข 2 และ 3 ตามลำดับ จะเริ่มแกะห่อชุดแรก สังเกตก้นผลมะม่วงเริ่มเหลืองจึงเก็บ เลือกผลที่แก่จัดเพื่อลดปัญหาการบ่ม ผลมะม่วงที่ได้มีผิวสีเหลืองอร่ามนวลงาม ไร้ตำหนิ ผิวเต่งตึง ผลใหญ่ ผลไหนที่ยังไม่แก่ก็ปล่อยไว้ก่อน รอเก็บชุดต่อไป ทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนหมด ดังนั้น ผลผลิตจึงออกเป็นระยะๆ มีไม่มากจนเกินไป ช่วยให้สามารถบริหารการตลาดได้ง่าย

7. วิธีการบ่ม เพื่อให้การสุกของมะม่วงสม่ำเสมอพร้อมสำหรับการจำหน่ายหรือบริโภค และลดความเสี่ยงจากการเน่า การบ่ม ทางสวนจะบ่มด้วยแก๊สอะเซทีลีน หรือถ่านแก๊สที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ใส่ถุงพลาสติก ในอัตรา 50 กรัม ต่อมะม่วงประมาณ 20 กิโลกรัม โดยต้องระวังอย่าให้ผลมะม่วงสัมผัสกับถ่านแก๊ส ปิดคลุมด้วยผ้าใบ 1-2 คืน ก่อนเปิดผ้าใบเพื่อให้มะม่วงเริ่มสุก

8. การผลิตมะม่วง GAP ได้ขอคำปรึกษาจาก คุณไพรทอง อินาวัง เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน รับผิดชอบตำบลยางหล่อ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสม (จีเอพี) สำหรับมะม่วง อยู่ในช่วงกำลังดำเนินการขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ในปี พ.ศ. 2563 นี้
การแก้ปัญหาของเกษตรกรด้านพื้นที่

วิชาการเกษตร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

– เมื่อมะม่วงอายุได้ 2 ปี บางต้นเริ่มติดผลบ้างแล้ว สล็อตออนไลน์ ได้เด็ดทิ้งปล่อยให้ติดไว้เพียง ต้นละ 2-3 ผล ห่อด้วยถุงคาร์บอน 2 ชั้น ผลผลิตที่ได้ในชุดแรกมีจำนวนน้อย จึงขายได้บ้างและแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สวน

– แมลงศัตรูมะม่วงที่พบ เช่น แมงอีนูน แมลงช้าง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง ได้ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง เจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ออกมาแนะนำเทคนิคการผลิตสารชีวภัณฑ์ในการฉีดป้องกัน แต่ส่วนมากแล้วแมลงจะไม่ค่อยมีปัญหามาก

– กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงศัตรูมะม่วง โดยมีการทำความสะอาดแปลงมะม่วงอยู่เป็นประจำ โดยการตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลัง

ต้นทุนการผลิตสวนสุริยา มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง รอบที่ 1 พื้นที่ จำนวน 35 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ หรือต่อหน่วยพื้นที่

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ที่ปลูกรุ่นแรก ทำให้ คุณสุริยา ธงชัย มีกำลังใจกับ 2 ปีที่ลงทุนลงแรงไป บนพื้นที่ จำนวน 35 ไร่ การให้ปุ๋ยทางใบ 2-3 ครั้ง ต่อปี เพื่อเพิ่มผลผลิต มีการดูแลต้นมะม่วงให้อุดมสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยคอกบริเวณรอบต้นมะม่วง และฉีดปุ๋ยทางใบเป็นปุ๋ยอินทรีย์ “ไร่เทพ” ชนิดผงผสมน้ำฉีดพ่นทางใบ ทำให้มะม่วงออกนอกฤดู ผลผลิตมะม่วงจะออกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกันยายน

การบริหารจัดการการผลิตและการตลาดที่ดี (แผนการผลิตและการตลาด)

การตลาดมักมีปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมหาตลาดไว้รองรับ สำหรับ คุณสุริยา ได้มีการวางแผนการผลิตและการตลาดไว้ล่วงหน้า ความยั่งยืนในอาชีพสวนมะม่วง

ปี พ.ศ. 2561 ได้ถ่ายทอดความรู้การปลูกมะม่วงให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ และมีสมาชิกรวมกลุ่มกัน สามารถจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่มะม่วง การเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่นั้น ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า เพราะได้รับความรู้ใหม่ เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในด้านการบริหารจัดการ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สมาชิกกลุ่มปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ตำบลยางหล่อ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู