หลังจากบังคับการออกควรให้น้ำหลังจากหยอดปุ๋ยที่กาบใบพอชุ่ม

จากนั้นให้น้ำในช่วงแล้ง อัตรา 300 ซีซี ต่อต้น ต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ และต้องหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อน 2-4 สัปดาห์ การบังคับให้สับปะรดออกดอก ก่อนใช้สารบังคับให้ออกดอก ต้องกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด อายุสับปะรดที่เหมาะกับการใช้สาร ควรมีอายุ 8-14 เดือน ใช้เอทธิฟอน 39.5 เปอร์เซ็นต์ 8 ซีซี และปุ๋ยยูเรีย 300 กรัม ละลายในน้ำ 1 ปี๊บ คนให้เข้ากัน หยอดที่ยอดสับปะรด อัตรา ต้นละ 60-75 ซีซี 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน

หรืออาจใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์หยอดที่ยอดต้นสับปะรด แล้วหยอดน้ำ ประมาณ 50 ซีซี ตามทันที จากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ สับปะรดจะเริ่มแทงดอกและช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หลังการบังคับการออกดอกแล้ว 145-165 วัน การเก็บเกี่ยวให้ใช้มือซ้ายจับที่ผลและตัดก้านผลด้วยมีดที่คมและสะอาด เหลือความยาวก้านติดกับผลประมาณ 10-15 เซนติเมตร วางลงในภาชนะบรรจุและส่งโรงงานทันที

โรคระบาดที่พบเสมอ เช่น โรครากเน่า หรือต้นเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่ามักระบาดรุนแรงในฤดูฝน ทำให้รากและต้นเน่าเสียหาย วิธีป้องกันกำจัด ปรับปรุงแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี และต้องแช่หน่อหรือจุกในสารเมตาแลคซิน อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรืออะลูมินั่ม เอทิลฟอสเฟต อัตรา 80-100 กรัม น้ำ 1 ปี๊บ เป็นเวลา 20-30 นาที เป็นอย่างน้อย เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้ถอนเก็บไปเผาทำลาย โรยปูนขาวลงบริเวณหลุมปลูกต้นที่เป็นโรค จะช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลง

อาการผลเปลือกไหม้ เกิดจากการแผดเผาของแสงแดดในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะผลที่ก้านผลเอียงเข้ารับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ทำให้ผลมีสีสุกเพียงด้านเดียว ต่อมาผลจะแตก หรือไม่แตกก็อาจบิดเบี้ยวขายไม่ได้ราคา วิธีป้องกัน แนะนำให้รวบใบ ใช้ฟางข้าวหรือหญ้าแห้งพรางแสงในช่วงแล้งแสงแดดจ้า

เป็นที่ทราบกันดีว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี สนใจและมีความรู้เรื่องการเกษตรเป็นอย่างมาก

ล่าสุดในงาน “10 ปีหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” และ “พิธีมอบกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินให้แก่ข้าราชการตำรวจ โครงการหมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” ที่หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์ ตำบลนาวังหิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ที่ พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไปเป็นประธานมอบโฉนดให้แก่ตำรวจที่ร่วมโครงการ 31 ครอบครัว เจ้าสัวผู้นี้ก็ได้สนทนากับผู้สื่อข่าวในเรื่องเกษตรหลากหลายประเด็น ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจในบ้านเราและทั่วโลกด้วย

เกษตร…น้ำมันบนดิน

ผู้ที่เคยติดตามข่าวคราวของผู้ก่อตั้งซีพี ย่อมจะรู้จัก “น้ำมันบนดิน” เป็นอย่างดี

คราวนี้เจ้าสัวธนินท์ย้ำอีกครั้งว่า “ผมมองเกษตรที่งอกจากแผ่นดินไทย บนดิน ผมเรียกว่า น้ำมันบนดิน สินค้าเกษตรน่าจะมีความสำคัญยิ่งกว่าน้ำมัน เพราะสินค้าเกษตรเลี้ยงชีวิตมนุษย์ แต่น้ำมันเลี้ยงชีวิตเครื่องจักร แล้วใครสำคัญกว่ากัน นี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ยิ่งกว่าน้ำมัน

ประเทศที่มีน้ำมัน แล้วราคาน้ำมันตก ผมคิดว่าประเทศเหล่านี้จะเริ่มยากจนลง เขาก็หาทุกวิถีทาง โอเปกทำอย่างไรให้น้ำมันขึ้นราคา เขาต้องจับมือกันใหม่แน่นอน พอจับมือกันใหม่ขึ้นราคาน้ำมัน ถึงวันหนึ่งน้ำมันจะขาดตลาด”

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าราคาน้ำมันกับราคายางก็มีความสัมพันธ์กัน อย่างที่นายธนินท์แจกแจงว่า เมื่อราคาลงหนักๆ อย่างนี้ ก็ต้องขึ้นหนักขึ้นสูง ยางพาราจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แต่พื้นที่ที่ปลูกยางไม่เหมาะสม น่าจะปลูกอย่างอื่นแทน อย่างเช่น ปลูกทุเรียน หรือปลูกมะพร้าวก็ได้ รู้ไหมว่ามะพร้าว บ้านเราต้องไปสั่งจากต่างประเทศ

“นี่มันเหลือเชื่อ ความจริงประเทศไทยปลูกมะพร้าวได้ทุกแห่ง แต่ไม่ปลูกเพราะอะไร เพราะมันสูงตั้ง 4 ชั้น คนรุ่นหนุ่มสาวใครจะปีนขึ้นไปเก็บมะพร้าว 4 ชั้น ไม่มีแล้ว แม้กระทั่งคนงานคนไทยก็จะไม่ทำแล้ว ต้องไปเอาพม่า เขมร ลาว มาแทน ฉะนั้น ขึ้นไปที่สูงๆ แล้วเสี่ยง คนไทยไม่เอาแน่”

อย่างไรก็ตาม เจ้าสัวซีพี ฟันธงว่า “ผมยังมองเมืองไทยเต็มไปด้วยโอกาส เพียงแต่อยู่ที่นโยบาย วันนี้นโยบายเศรษฐกิจกับระดับโลกเราใช้ได้แล้ว กรุงเทพฯ คึกคัก แต่ต่างจังหวัดยัง เพราะสินค้าเกษตรตกต่ำ”

นายธนินท์ ระบุด้วยว่า บ้านเราคนจนที่สุดคือเกษตรกร วันนี้มีมากขึ้นอีก เพราะยางไม่มีราคา ปาล์มก็ไม่มีราคา เหลือข้าวโพดมีราคา เพราะโรงงานอาหารสัตว์ต้องซื้อแพง แล้วนอกนั้นข้าวก็ถูก ถูกทุกอย่าง เหลือทุเรียน มะพร้าวอ่อน กะทิมะพร้าว ขายคนจีน วันนี้ฝรั่งมาเที่ยวเมืองไทย หนักเข้าก็รู้จักแกงไก่ แกงอะไรต่ออะไร ใช้กะทิทั้งนั้น แล้วขนมไทยยังมีโอกาสขายไปทั่วโลก เรายังนอนหลับอยู่

ปลูกทุเรียนกำไรดีกว่ายาง

“ผมกำลังจะพัฒนาเรื่องนี้ มีอย่างที่ไหน ประเทศไทยต้องไปซื้อมะพร้าวจากอินเดีย จากอินโดนีเซีย ทั้งที่ดินฟ้าอากาศเราปลูกได้ดี ทุเรียนอร่อยมาก ทำไมไม่ส่งเสริมปลูกทุเรียน ปลูกมะพร้าว ถ้าผมมอง ตอนนี้เต็มไปด้วยโอกาส อย่างนนทบุรี ทุเรียนลูกละเป็นหมื่น ไม่ต้องเป็นหมื่นหรอก ลูกละพันกว่าบาท คนปลูกก็รวยแล้ว วันนี้กิโลละ 30 บาท 60 บาท แต่ถ้าอร่อย ขายไปจีนกิโลละ 1,000-2,000 สบายเลย เราต้องมาปลูกมะพร้าว ปลูกทุเรียน ปลูกกล้วยหอม กำไรดีกว่าปลูกข้าวทั้งนั้นเลย ทำไมต้องไปปลูกข้าว น้ำก็ใช้เยอะ ราคาก็ถูก”

ทั้งนี้ทั้งนั้น ใช่ว่าเจ้าสัวธนินท์จะให้เลิกปลูกข้าวเสียทั้งหมด แต่แนะนำให้ปลูกข้าวหอมมะลิ ปลูกข้าวเหนียวขายไปทั่วโลกแทน เพราะข้าวหอมมะลิไม่มีใครสู้ประเทศไทยได้ ส่วนในพื้นที่ที่ปลูกข้าวถูกๆ ให้เปลี่ยนเป็นปลูกผลไม้ อย่างมะพร้าว และกล้วยหอม

“ผมมีความเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรโดยเฉพาะประเทศไทย ดินฟ้าอากาศอย่างนี้ อะไรที่เมืองไทยปลูกได้ จะหอมอร่อยกว่าคนอื่นในอาเซียน” นายธนินท์ยังพูดถึงการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางเกษตรตกต่ำว่า สินค้าเกษตร อะไรที่เกินก็ปลูกน้อยลง ปลูกอย่างอื่น อะไรที่ขาดก็ปลูกอันนั้น อย่างมะพร้าวขาด ทุเรียนขาด พื้นที่ไหนปลูกยางพาราแล้วรายได้น้อย ปลูกทุเรียนดีกว่า กำไรดีกว่ายาง

ส่วนที่ปลูกยาง อย่างเช่นทางภาคอีสาน ที่ยังมีกำไรผ่อนส่งรถปิกอัพได้ เพราะคนปลูกกรีดเอง ไม่ได้จ้างคนมากรีด

“ที่ผ่านมาทางซีพีไปสอนเรื่องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง แล้วก็ไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ซีพีจะถูกด่าอีก ใครด่ารู้ไหม คนกลางนั่นแหละด่าผม เพราะเขาจะหมดอาชีพ แต่ผมต้องช่วยเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไปช่วยคนกลาง ขายตรงกับผมเลย แล้วผมจะสร้างโรงงานยางแท่ง พวกคุณเคยไปดูหรือยังที่ภูเรือ จังหวัดเลย ผมมีผู้เชี่ยวชาญไปสอนกรีดยางยังไง รักษายางยังไง แล้วก็เป็นที่ดินของเกษตรกร ครอบครัวกรีดยางเอง วันนี้ยังอยู่ได้ 1. ไม่ต้องขนส่งไกล 2. ไม่ได้ผ่านคนกลาง 3. สอนเขากรีดยางให้ถูกต้อง สอนเขาใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ผมจะพาพวกคุณไปดูว่าที่ผมพูด ถ้าทำอย่างนี้ได้ ปลูกยางวันนี้ก็ยังมีกำไร”

นายธนินท์ ยังย้ำอีกว่า พื้นที่บางแห่งฝนตกชุกไป ไม่มีแรงงานกรีด พอฝนตกชุก น้ำยางจะน้อย เวลาฝนตกก็ไปกรีดไม่ได้ ก็ปลูกอย่างอื่นเลย อย่างมะพร้าวปลูกได้ทุกแห่ง

ดังที่ได้เกริ่นไปแต่แรกว่าเจ้าสัวผู้นี้สนใจเรื่องเกษตร และชอบศึกษาหาความรู้ ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ทางซีพีมีสวนทุเรียนอยู่ที่ปากช่อง โดยระดมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันค้นคว้าเพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ด้วยเหตุนี้นายธนินท์จึงรู้เรื่องทุเรียนดี อย่างที่เจ้าตัวแจกแจง

“เชื่อไหมอีสานปลูกทุเรียนได้ อย่างที่ปากช่อง ปลูกทุเรียนอร่อย ไม่แพ้จังหวัดจันทบุรีกับตราด แต่พูดตรงๆ ว่าเรายังไม่เก่ง ผมกำลังเรียนรู้จากคนเก่ง ปลูกทุเรียนไม่ใช่ง่ายๆ ไม่เหมือนเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ ต้องจับจุดให้ได้ มันมีวิชาทั้งนั้น แต่ต้องเริ่มด้วย 1. พันธุ์อร่อยและดก 2. คือการจัดการ มีเทคโนโลยีในการจัดการ และ 3. เรื่องการตลาด”

สหรัฐปกป้องสินค้าเกษตร

ในฐานะที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเกษตรมานาน รวมทั้งทำธุรกิจส่งออก ประธานธนินท์ให้ข้อมูลว่า ในโลกนี้ ประเทศที่ร่ำรวยแล้ว ยิ่งร่ำรวยยิ่งปกป้องราคาสินค้าเกษตร อย่างซีพีไปขายกุ้งถูกที่อเมริกา น่าจะชมเชยว่าทำให้คนอเมริกากินกุ้งถูก แต่กลับไม่ชมเชย จัดการขึ้นภาษีเลย และถ้ายังขายถูกอีก ก็ห้ามเข้าด้วย ถามว่าเพราะอะไร เพราะมาทำลายชาวประมง มาขายถูก สหรัฐไม่ได้ห่วงว่าประชาชนซื้อแพง กลับห่วงว่าคนเลี้ยงกุ้งกับชาวประมงจะขาดทุนอยู่ไม่ได้

ขณะเดียวกัน ประเทศที่กำลังพัฒนาห่วงอย่างเดียว กลัวคนยากจน ซื้อของแพง ต้องกดราคาให้ต่ำ จึงทำให้ทรัพย์สมบัติของชาติต่ำลง หมดตัว ดังนั้น สินค้าเกษตรบนดินใช้ไม่หมด แล้วก็เลี้ยงชีวิตมนุษย์

“อย่าเชื่อผม แต่ลองไปศึกษา คนที่เขาจนที่สุด เขายังปกป้องราคาสินค้าเกษตรให้สูง แต่อย่าเข้าใจผิด ถ้าสินค้าเกษตรสูง ผมเสียเปรียบ คนนึกว่าผมพูดเห็นแก่ผม ไม่ใช่ ผมเห็นแก่ส่วนรวม ถ้าส่วนรวมอยู่ไม่ได้ ถ้าส่วนรวมยากจน สินค้าผมจะขายให้ใคร ถ้าคนยากจน ผมผลิตไก่ยังไงก็ไม่มีใครซื้อ เพราะไม่มีเงินซื้อ พวกคุณอาจจะไม่ค่อยเชื่อก็ได้ นึกว่าผมพูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แต่ถ้าส่วนรวมดี ผมดีไปด้วย”

“ผมซื้อของแพงมาผลิต แต่ผลิตแล้ว ผมขายแพงได้ เพราะคนมีเงิน เกษตรกรมีเงิน ร่ำรวยขึ้น เพราะเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเรา ถ้าคนส่วนใหญ่ยากจนไม่มีกำลังซื้อ แล้วผมจะไปขายของให้ใคร ขายให้คนร่ำรวยก็มีไม่มาก ฉะนั้น ถ้าคนยากจนรวยขึ้น ผมดีขึ้นด้วย เพราะคนยากจนมีรายได้มากขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ผมสะเทือน ผมต้องซื้อของแพง แต่ก็ไม่กลัว ดีกว่าผมซื้อของถูกแล้วผมขายไม่ได้เลย ผมซื้อของแพง ผมขายได้ กำไรน้อยหน่อย แต่ขายได้ ดีกว่าผมขายไม่ได้เลย”

มุมมองและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากเจ้าสัวธนินท์ คงทำให้เกษตรกรได้แง่คิดดีๆ และทำให้ได้รู้ว่าคนรวยติดอันดับโลกผู้นี้ห่วงใยเกษตรกร และอยากให้คนกลุ่มนี้มีรายได้มากขึ้น เพราะจะส่งผลดีถึงธุรกิจของซีพีด้วย

โดยทั่วไป ไข่แมลงมักกำจัดได้ยาก เนื่องจากมีโครงสร้างผนังที่แข็งแรง เพราะผลิตจากโปรตีน และไคติน แมลงศัตรูพืชแค่ 1 ตัว วางไข่ได้มากมาย ยกตัวอย่าง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเมีย วางไข่ได้ 100-300 ฟอง ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ แต่น้ำสับปะรด มีเอนไซม์ เรียกว่า “บรอมมิเลน” (bromelain) สำหรับใช้ย่อยโปรตีน และไคตินได้ จึงออกฤทธิ์ช่วยย่อยเปลือกไข่แมลงให้แตกสลายได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ น้ำสับปะรด จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการกำจัดไข่แมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

หากใครสนใจ สูตร “น้ำสับปะรด ทำลายไข่แมลงศัตรูพืช” ขอให้ลงมือฏิบัติตามคำแนะนำของ คุณสุวัฒน์ ทรัพยะประภา นักวิชาการอิสระ และวิทยากรโรงเรียนชาวนา เริ่มจากนำผลสับปะรดสุก มาตัดจุกและก้านออกก่อนนำมาหั่นทั้งเปลือกเป็นชิ้นเล็กๆ พร้อมทั้งแกนสับปะรด แล้วนำมาปั่นในเครื่องปั่นน้ำผลไม้ ในกรณีที่ไม่มีเครื่องปั่นผลไม้สามารถ นำสับปะรดใส่ในครกตำให้แหลกและคั้นเอาแต่น้ำ ก่อนนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง จนได้น้ำสับปะรดตามที่ต้องการ หลังจากนั้น นำน้ำสับปะรดไปผสมกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์กำจัดแมลง เช่น สารสะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส พริก กระเทียม ฯลฯ เวลาต้องการใช้งาน แค่นำน้ำสับปะรดผสมสมุนไพรแล้ว ในอัตรา 100 ซีซี (10 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่นแปลงปลูกข้าว พืชผัก ไม้ประดับ ไม้ผล จะสามารถกำจัดไข่แมลงศัตรูพืชได้ผลดีเต็ม 100% ตามที่ต้องการ

หลายปีมานี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต้องทนกับราคาพืชไร่ที่ผกผันขึ้นลงไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าจะทนทำได้อีกนานเท่าไร จนตอนนี้เกษตรกรหลายรายเริ่มทนไม่ไหวกับราคาที่ตกต่ำจนอยู่แทบไม่ได้ ต้องเป็นหนี้ หนีมาปลูกพืชชนิดอื่นกันแล้วหลายราย

คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเกษตรกรอีกรายที่จากเดิมปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ แต่ช่วงหลังๆ มานี้พี่อุ้มบอกว่าอยู่แทบไม่ได้ ไหนจะราคาต่ำ แต่ต้องลงทุนต่อไร่สูง ต้องเป็นหนี้เป็นสิน จึงมีแนวคิดหาทางออกมาปลูกอย่างอื่น ได้ไปลองเดินดูตลาดว่าพ่อค้าแม่ค้าเขาขายพืชผักชนิดไหนดี และพืชผักที่ขายดีส่วนใหญ่จะเป็นผักชนิดที่บริโภคกันทุกวันหรือเป็นผักที่เป็นส่วนสำคัญในการทำอาหาร พอรู้แล้ว จึงปิ๊งไอเดียคิดที่จะปลูกหอมแบ่ง เพราะดูแล้วปลูกไม่ยาก คนบริโภคทุกวัน ทั้งเครื่องไม้เครื่องมือเรามีครบอยู่แล้ว

พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สู งจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบันพี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา 2 ปี ถือว่าราคาดีมาตลอด จึงมีการวางแผนที่จะปลูกหอมและผักชีเพิ่มอีก 11 ไร่ เพราะตอนนี้ปลูกเพียง 2 ไร่ แบ่งปลูกหอมเป็น 2 พันธุ์ ด้วยกัน คือ พันธุ์ขาไก่ 1 ไร่ และพันธุ์อุตรดิตถ์ 1 ไร่

หอมทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป อย่างพันธุ์ขาไก่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สายพันธุ์นี้ต้องดูแลนานก็จริงแต่คุ้ม เพราะสามารถเก็บไว้รอราคาขึ้นได้ ส่วนสายพันธุ์อุตรดิตถ์ให้ผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 35-40 วัน เก็บขายได้เร็ว ไม่ต้องดูแลมาก

หอม เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหน้าฝนราคาจะสูงถึงกิโลกรัม 150 บาท พูดง่ายๆ ว่า ผลผลิตยังคาแปลงพ่อค้าแม่ค้าก็มาแย่งจองกันแล้ว อย่างที่นี่ทำได้ตลอด เพราะรู้แล้วว่าช่วงฤดูฝนมาต้องทำอย่างไร ยกร่องแปลงสูงขนาดไหน หน้าฝนทีไรเรายิ้มออก เพราะมีการจัดการที่ดี

เทนนิคการปลูก ยกร่องหนีฝน

การปลูกหอมแบ่งของพี่อุ้ม จะไถดิน 2 ครั้ง และยกร่องให้สูง หากอยู่ในช่วงฤดูฝนใช้วิธีนี้ ปัญหาหอมเน่ารากเน่าจะไม่เกิด ขั้นแรกไถพรวนผาล 3 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วยกร่อง ครั้งที่ 2 ไถพรวนผาล 4 ตากดินทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ และยกร่องขึ้นมาใหม่ให้ร่องสูงประมาณหัวเข่า เพื่อแก้ปัญหาในช่วงฤดูฝนกันรากเน่า ความยาวของแปลงตามสะดวก เมื่อทำเสร็จให้รดน้ำ 2 วัน แล้วใช้เครื่องตีดินแบบเดินตาม เพื่อให้ดินร่วนซุยอีกครั้ง

เมื่อเตรียมดินยกร่องปลูกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้นำหัวหอมที่เตรียมไว้มาปักลงดิน เพียงครึ่งหัว ความห่างระหว่างต้น 1 คืบมือ 1 หัว จะแตก 4-5 ต้น ถือว่าได้ผลผลิตกำลังพอดี ถ้าให้มากกว่านี้ หลอดจะเล็ก ตลาดไม่ต้องการ เราต้องทำให้ตรงกับความต้องการของตลาดถึงจะขายได้

การดูแล-ระบบน้ำ

ระบบน้ำที่ใช้เป็นระบบสปริงเกลอร์หัวปกติ รดน้ำเช้า-เย็น ในตอนเช้าเปิดรดน้ำ 5 นาที ตอนเย็นรดเพียง 2 นาที เมื่อหอมขึ้นประมาณ 1 ข้อนิ้ว ให้พักรดน้ำเป็นวันเว้นวัน หากรดทุกวันตาจะไหม้

โรคแมลง

มีเป็นปกติ ยิ่งช่วงหน้าร้อนต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะหนอนหลอดจะระบาด วิธีการดูแลอาจต้องมีการใช้สารเคมีผสมกับอินทรีย์บ้าง อย่างการใช้น้ำส้มควันไม้เข้าช่วย จะให้ใช้สารเคมีอย่างเดียวผู้บริโภคก็ไม่ไหว เกษตรกรตัวเราเองร่างกายก็รับไม่ไหวเหมือนกัน การเก็บเกี่ยว

ใช้แรงงาน ถอนช่วงเช้าๆ 45 เข่ง ก็ได้เป็น 100 กิโลกรัมแล้ว เราไม่ได้ถอนทั้งวัน ถอนแล้วตั้งไว้ ล้างน้ำเปล่า ตากไว้ในที่ร่ม หอมจะไม่เหี่ยว ตกเย็นมาขับรถไปส่งที่ตลาด ลงทุนน้อย กำไรมาก

ปลูกหอมแบ่ง 2 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 2-3 ตัน ต่อไร่ หากคิดราคาในปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท ราคามีดีบ้างไม่ดีบ้าง หากขายไม่ได้ก็สามารถนำมาทำพันธุ์ต่อได้ ทำมา 2 ปี ถ้าเทียบกับการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังถือว่าคุ้มกว่ากันมาก ปลูกหอมใช้เงินลงทุน ประมาณ 15,000-20,000 บาท ราคานี้รวมค่าพันธุ์หอม ค่าแรง ค่าอุปกรณ์แล้วทุกอย่าง แต่ถ้าปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง บวกกับค่าเช่าที่แล้ว ต้องใช้เงินลงทุน ไร่ละ 200,000 บาท ทำไปก็เป็นหนี้ ซึ่งตอนนี้มีแผนที่จะยกเลิกการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง แล้วเปลี่ยนมาขยายเป็นการปลูกหอมและผักชีเพิ่ม

สร้างรายได้เสริม วางแผนเพาะหัวขายพันธุ์เอง

พี่อุ้ม บอกว่า การปลูกหอมเริ่มแรกต้องซื้อพันธุ์จากแหล่งอื่น มีราคาสูง ราคากิโลกรัมละ 65-80 บาท ถือว่าแพง ปลูกได้เพียง 1 ครั้ง จึงมีแผนที่จะเพาะหัวเอง ซึ่งตอนนี้ก็ทำสำเร็จแล้ว แต่ตนขายไม่แพงมากนัก เพียงกิโลกรัมละ 40-65 บาท ส่งฟรี ถือว่าช่วยเกษตรกรด้วยกัน

วิธีการเพาะหัวไม่ยาก ใช้เวลาเพาะเพียง 90 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 เมื่อมีหัวขึ้นมานิดหนึ่ง ให้รดน้ำ แต่ไม่ต้องรดบ่อย 5-6 วัน ค่อยรด 1 ครั้ง เมื่อถึงเวลาใกล้ถอน ก็ไม่ต้องรดน้ำเลย ซึ่งการขายพันธุ์ถือว่าได้รายได้ดี เพราะเราแทบไม่ต้องลงทุนและดูแลอะไรเลย

ส่งตลาดไท และสี่มุมเมือง เป็นหลัก

การตลาดของพี่อุ้มไม่ได้ยุ่งยาก ใช้วิธีแบบบ้านๆ คือเดินหาตลาดเอง ในปัจจุบันจะส่งที่ตลาดไท และสี่มุมเมืองเป็นหลัก มีส่งให้กับตลาดสดแถวบ้าน วันละ 100 กิโลกรัม ราคาขายส่งถือว่าดี กิโลกรัมละ 25-35 บาท แต่ในบางครั้งก็ต้องประสบกับปัญหาผลผลิตไม่พอส่ง ต้องเว้นช่วงการส่งนานถึง 10 วัน เนื่องจากเรายังปลูกน้อย ผลผลิตขึ้นไม่ทัน ถ้าจะให้ทันต้องเพิ่มพื้นที่และมีพันธุ์หอมมาตุนไว้

ฝากข้อคิดถึงเกษตรกรมือใหม่

อยากให้ทุกคนสู้อย่างผม ผมมีความรู้เพียง ป. 3 ทำมาแล้วหลายอย่าง ดีบ้างเจ๊งบ้าง ต้องสู้กันต่อไป เพราะหากคิดที่จะเดินทางสายเกษตรแล้วย่อมมีดีมีร้าย ค่อยๆ คิดหาวิธีแก้อย่างผม ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง แล้วขาดทุน ก็ต้องหาวิธีว่าจะทำอะไร ปลูกอะไรต่อไปอย่างที่ตลาดเขาต้องการ ผมเชื่อว่าถ้าทุกคนสู้ และหมั่นพัฒนาศึกษาการตลาด จะต้องประสบผลสำเร็จสักวัน ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ การปลูกหอมของผมกว่าจะทำได้ ผมก็ไปแอบดูคนอื่นเขาเหมือนกัน พี่อุ้ม กล่าว

วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน นำนวัตกรรมเทคโนโลยีฟรีซดราย (Freeze dried technology) มาใช้ในการแปรรูปผลผลิตลำไย สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ตลาดต่างประเทศยอมรับและมีความต้องการสูง

จากปัญหาราคาลำไยตกต่ำและไม่แน่นอนเพราะผลผลิตลำไยส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับล้งรับซื้อและพ่อค้าคนจีนเป็นผู้กำหนดราคา ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยต้องอยู่ในสภาพจำยอม ไม่สามารถต่อรองได้ ทาง ร.ต. ชนะ ไชยชนะ เกษตรกรผู้นำที่คลุกคลีอยู่กับการผลิตลำไยและรวบรวมผลผลิตจัดจำหน่ายให้กับบริษัทเอกชนและล้งต่างๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน ได้หาแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับราคาลำไยมาโดยตลอด และสุดท้ายได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีฟรีซดราย (Freeze dried technology) มาใช้ในการแปรรูปผลผลิตลำไย จนประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนการผลิตแปรรูปลำไยฟรีซดราย

นำลำไยสดมาล้างน้ำทำความสะอาด
คว้านเอาเมล็ดลำไยออก
นำเนื้อลำไยมาล้างน้ำสะอาดอีก 3 ครั้ง
ตักลำไยออกให้สะเด็ดน้ำ
เรียงลำไยใส่ถาดให้เต็มถาดและนำเข้าตู้แช่แข็ง
เมื่อลำไยแข็งได้ที่แล้วอยู่ที่อุณหภูมิ -40 องศา
นำเข้าตู้อบฟรีซดราย ใช้เวลาอบประมาณ 24 ชั่วโมง
เมื่อลำไยอบได้ที่แล้ว นำออกจากเตาแล้วแพ็กใส่ถุงบรรจุภัณฑ์
ลำไยฟรีซดราย เป็นผลไม้อบเพื่อสุขภาพ รสชาติหวานตามธรรมชาติ กรอบอร่อย ไฟเบอร์สูงและมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

คุณเยาวเรศ หลวงมูล เว็บ UFABET ฝ่ายการตลาด กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ฟรีซดราย ตลาดระดับ Premium ในต่างประเทศมีความต้องการสูงมาก เช่น สิงคโปร์และญี่ปุ่น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิ ลำไยออร์แกนิก Freeze Drying ราคาที่จำหน่าย 3,000-4,000 บาท/กิโลกรัม-มะม่วงมหาชนกออร์แกนิก Freeze Drying จำหน่ายราคา 2,000-2,500 บาท/กิโลกรัม-กระเทียมออร์แกนิก Freeze Drying จำหน่ายราคา 2,500 บาท/กิโลกรัม

จากการตรวจเยี่ยมกลุ่มของ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สมสวย ปัญญาสิทธิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ทางกลุ่มมีความคิดริเริ่มที่ดี มีความสามัคคี มีความมุ่งมั่นนำเอานวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถแข่งขันในตลาดได้และมีการประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบูรณาการทำงานแบบประชารัฐ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และเกษตรกร พร้อมนี้ได้มอบแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเกษตรด้านวิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์และพืชผักสมุนไพร นำไปขยายผลสู่เกษตรกรเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรและยกระดับราคาสินค้าเกษตรโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

การผลิตผักอินทรีย์ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ยึดอาชีพอยู่ในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น สมัยนี้ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ หน่วยงานเอกชน หรือคนธรรมดาทั่วไปก็สามารถปลูกผักอินทรีย์ไว้ตามที่ต้องการได้ ขอเพียงอย่างเดียวคือ ต้องไม่ใช้สารเคมี

อย่างธุรกิจรีสอร์ตที่เมืองกาญจน์ได้จัดแบ่งพื้นที่ภายในสำหรับทำเป็นแปลงปลูกผักอินทรีย์หลายชนิด เพื่อนำไปใช้ประกอบอาหาร ด้วยความตั้งใจต้องการให้ลูกค้าที่มาพักได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือแปรรูปเป็นน้ำสมุนไพร แถมยังเปิดโอกาสให้ซื้อติดมือกลับบ้านได้อีก

คุณสุเทพ เดชอนันตชาติ กรรมการผู้จัดการ เล่าว่า คุณพ่อ คือ คุณอนันต์ เดชอนันตชาติ มาซื้อที่ดินแปลงนี้ไว้เมื่อ 30 กว่าปีก่อน โดยตั้งใจจะสร้างเป็นบ้านพักส่วนตัวเพื่อพักผ่อน ครั้นมาเห็นถึงความเป็นธรรมชาติที่รายล้อมด้วยป่าและแม่น้ำของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จึงผุดไอเดียเพื่อสร้างเป็นธุรกิจรีสอร์ตที่ชื่อ โยโกะ ริเวอร์แคว รีสอร์ต (Yoko Riverkwai Resort)

สำหรับเรื่องปลูกผัก กรรมการผู้จัดการ บอกว่า เกิดจากความที่คุณพ่อเป็นคนใส่ใจในเรื่องสุขภาพ จึงนำผักมาปลูกเป็นแปลงเล็กๆ ในแบบอินทรีย์ล้วน เพื่อไว้ทำอาหารรับประทานเอง แต่พอนานไปด้วยสภาพของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์จากดิน น้ำ และอากาศ จึงมีผลทำให้ผักเหล่านั้นเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เพิ่มจำนวนมาก ไม่สามารถเก็บมาบริโภคได้ทัน จึงตัดสินใจนำมาเซ็ตเป็นเมนู พร้อมกับใช้ปรุงอาหารในรีสอร์ต หรือหากบางช่วงฤดูมีผักมากเกินไปก็จะนำไปขายด้วย