หลังจากปลูกใช้เวลาประมาณสองเดือน ชะอมจะเริ่มออกยอดให้เก็บ

แต่ก็ยังไม่มาก ซึ่งหลังจากทำการเก็บยอดชะอมในช่วงเช้าเป็นที่เรียบร้อย จะเริ่มเปิดน้ำและใส่ปุ๋ยเคมี 46-0-0 ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่) บำรุงต้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ต้นแตกกิ่งใหม่ แต่สิ่งอื่นใดการทำให้ชะอมออกยอดตลอดนั้นคุณบุญเรืองบอกว่าจะต้องฉีดฮอร์โมนทางใบ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เข้ามาส่งเสริมและสอนวิธีการทำ ซึ่งหลังจากมีหน่วยงานราชการเข้ามาค่อยเป็นพี่เลี้ยง ทำให้เราสามารถเกิดการร่วมกลุ่มของสมาชิกผู้ปลูกชะอมทำให้เกิดความเข็มแข็งและมีพลังการต่อรองราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องของการตลาดได้ทางหนึ่ง

ในแต่ละปี ต้นชะอมที่ปลูกจะทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งจะมีคนเข้ามารับเหมาตอนกิ่งละ 2 บาท 1 ปี จะตอนประมาณ 2 รอบ สำหรับต้นแม่ที่สมบูรณ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บ้านเลขที่ 303 หมู่ที่ 3 ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก (087) 664-7313 ปัญหาหนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ

คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว

มุมมองของคุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม

“หนอนหัวดำและแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาค อื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้น คือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งพบ ทำให้ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับ การแก้ปัญหาศัตรูพืชชนิดนี้มาก่อน”

ระยะที่พบการระบาด เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ สิ่งที่เกษตรกรทำได้คือการทำตาม เพื่อแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่เมื่อภาวะระบาดผ่านพ้นไป การทบทวนถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึงมีขึ้น

ไม่เพียงแต่การป้องกันหรือกำจัด แต่มองไปถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบโจทย์เกษตรกรให้ได้รู้ว่า กำไรจากการทำสวนมีมากหรือน้อย

คุณวิชาญ มองว่า การใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและแมลงดำหนาม มีต้นทุนที่สูงมาก สารเคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ สามารถใช้ในมะพร้าว จำนวน 8 ต้น และควบคุมได้ในระยะเวลาเพียง 6-8 เดือน เมื่อคิดเป็นต้นทุนแล้วเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อต้นอยู่ที่ 150 บาท ต่อ 6-8 เดือน

“แตนเบียนบราคอน” เป็นแมลงตามธรรมชาติที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้

ตามทฤษฎีการใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว คือ การปล่อยแตนเบียน จำนวน 200 ตัว (1 กล่อง มี 200 ตัว) จะสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ในพื้นที่ 1 ไร่

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรหลายรายทำตาม หวังผลที่ดีขึ้น แต่การควบคุมและกำจัดก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะลดลงแต่ก็ยังพบการระบาดอยู่ และหากสวนใกล้เคียงไม่ทำไปพร้อมๆ กัน โอกาสควบคุมและกำจัดได้ประสบความสำเร็จก็ค่อนข้างยาก

แต่ถึงอย่างไร “แตนเบียน” ก็เป็นความหวัง คุณวิชาญ ใช้ทฤษฎีการปล่อยแตนเบียนเป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์จากปัจจัยโดยรอบ พบว่า เมื่อสวนรอบข้างไม่ได้พร้อมใจกันปล่อยแตนเบียนไปกำจัดแมลงศัตรูพืชพร้อมกัน ก็เกิดช่องโหว่ เพราะพื้นที่จะกว้างมากขึ้น จำนวนแตนเบียนที่ปล่อยไปตามพื้นที่สวนของเกษตรกรแต่ละรายก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากเกษตรกรไม่พร้อมใจกัน เจ้าของสวนที่ปล่อยแตนเบียนก็จำเป็นต้องปล่อยแตนเบียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือปล่อยจำนวนเท่าเดิมแต่ระยะเวลาถี่ขึ้น และเริ่มใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556

คุณวิชาญ ปล่อยแตนเบียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 10-20 กล่อง ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

“ถ้าจะให้ได้ผลดี สวนข้างเคียงต้องทำไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นแตนเบียนจากสวนเราก็กระจายไปสวนอื่นด้วย ยังไงก็ไม่ได้ผล”

เมื่อแตนเบียนจำเป็นต้องใช้จำนวนมากในการปล่อย คุณวิชาญจึงเป็นโต้โผในการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับปล่อยทุกสัปดาห์ ทุกสวน เพื่อให้การควบคุมและกำจัดได้ผล

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอบางละมุงจึงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะพื้นที่บางละมุงมีมากถึง 8 ตำบล ปัจจุบัน เกษตรกรสวนมะพร้าวที่พร้อมใจกันรวมกลุ่มผลิตแตนเบียนมีมากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลหนองหรือ และ ตำบลตะเคียนเตี้ย

การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแค่เห็นผลว่า แตนเบียนสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ แต่เพราะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีมาก การผลิตแตนเบียน ควรเพาะหนอนข้าวสาร (แทนหนอนหัวดำ) สำหรับใช้เป็นอาหารของแตนเบียน การเพาะหนอนข้าวสาร จำเป็นต้องใช้รำ ปลายข้าว ไข่ผีเสื้อ หมักไว้รวมกัน จากนั้นเมื่อได้หนอนข้าวสาร ก็นำมาวางไว้ให้เป็นอาหารของแตนเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนแตนเบียน กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงได้แตนเบียนตามจำนวนต้องการ ใช้ระยะเวลา 45 วัน

ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวตัวฉกาจ ยังไม่หมดไป แต่ก็พบได้น้อยมาก

เทคนิคการดูแลมะพร้าวอื่นๆ ปราชญ์มะพร้าวท่านนี้ แนะนำไว้ ดังนี้

ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน ขึ้นกับความสะดวก

ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสุกร นำไปพ่นที่ใบมะพร้าวทุกเดือน ช่วยป้องกันแมลงรบกวนได้ดีระดับหนึ่ง

เทคนิคที่คุณวิชาญใช้และเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย คือ การทำให้ต้นมะพร้าวแข็งแรง การป้องกันโรคจากการใช้สารชีวภาพ และการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ รวมถึงการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเกิดภาวะแล้ง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้มะพร้าวให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน

แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และมองข้ามการใช้แตนเบียนกำจัด คุณวิชาญ วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมในการหาอุปกรณ์ผลิตแตนเบียน รวมถึงการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในตำบลเดียวกันที่ยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะการผลิตแตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการกำหนดวันเวลาที่ทำไว้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจำนวนแตนเบียนที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอ รวมถึงขณะนั้นเกษตรกรเห็นว่ามีพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า จึงไม่ให้ความสำคัญกับการทำสวนมะพร้าว

นอกเหนือจากหนอนหัวดำแล้ว ศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ยังมีด้วงแรดและด้วงงวง ที่จัดว่าเป็นศัตรูพืชที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถกำจัดด้วงเหล่านี้ได้

คุณวิชาญ ไม่ได้เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกาจไปทุกสิ่ง ปัญหาด้วงแรดและด้วงงวงก็ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่เพราะการทำการเกษตรด้วยปัญญา ทำให้ปัญหาต่างๆ ทุเลาลง

“ตัวร้ายจริงๆ คือ ด้วงงวง ที่เข้าไปวางไข่ในยอดอ่อน ของมะพร้าว แต่ถ้าไม่มีด้วงแรด ด้วงงวง ก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ได้ เพราะด้วงแรดเป็นตัวกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดังนั้น หากกำจัดด้วงแรดได้ ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว ปัญหาด้วงก็หมดไป”

เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ซื้อสารฟีโรโมน เป็นตัวล่อ ผูกล่อไว้กับถังน้ำ เมื่อด้วงได้กลิ่นก็บินเข้ามาหาที่ถังน้ำ เมื่อบินลงไปก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ เป็นการกำจัดด้วงแรด แต่ประสิทธิภาพการกำจัดด้วงแรดด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายใช้ก้อนเหม็นแขวนไว้ตามยอดมะพร้าว ใช้กลิ่นไล่ด้วงแรด แต่ลูกเหม็นก็ไม่สามารถวางกระจายได้ครอบคลุมทั่วทั้งสวน

วิธีหนึ่งที่คุณวิชาญแนะนำ คือ การหมั่นบำรุงรักษาต้นมะพร้าวโดยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มะพร้าวแข็งแรง นอกจากนี้ควรหมั่นสังเกตต้นทุกระยะ โดยเฉพาะระยะ 3-4 ปี เป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชชอบมากที่สุด เพราะมะพร้าวกำลังแตกใบอ่อน หากพบให้ทำลายด้วยวิธีชีวภาพหรือกำจัดด้วยมือตามความสามารถที่ทำได้

ทุกวันนี้ เฉลี่ยมะพร้าวแกงที่เก็บจำหน่ายได้ในสวนของคุณวิชาญ อยู่ที่ 1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ไม่เคยน้อยไปกว่านี้ ซึ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวของคุณวิชาญและครอบครัวรวมกัน กว่า 100 ไร่ ผลมะพร้าวแกงที่เก็บได้ มีพ่อค้าเข้ามาเก็บถึงสวน ราคาขายหน้าสวนลูกละ 17 บาท

ดูเหมือนการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีข้างต้นจะเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จดีในระดับหนึ่ง แต่คุณวิชาญก็ยังไม่วางใจ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบทิ้งขว้างเพราะมีรายได้จากพืชชนิดอื่นในสวนมากกว่า และหากทำได้ คุณวิชาญจะใช้เวลาว่างเท่าที่มีเข้าไปส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรทำสวนมะพร้าวอย่างไม่กังวล ทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ปลอดภัยกับเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ปราชญ์มะพร้าว บางละมุง ท่านนี้พร้อมให้ถ่ายทอดข้อมูล หากเกษตรกรสวนมะพร้าวท่านใดต้องการ สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ (062) 956-3629 ยินดีเป็นอย่างยิ่ง

นายสามารถ ชื่นวงศา เกษตรจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งสิ้น 46,293 ไร่ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวล่าสุดพบพื้นที่ระบาดรวม 7,071 ไร่ กระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ระบาดมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา อำเภอบ้านบึง และอำเภอเมืองชลบุรี ซึ่งในปีนี้จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ในระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นมา โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ดำเนินโครงการผลิตขยายแตนเบียนบราคอนเพื่อใช้ควบคุมและป้องกันการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวมาอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวของชลบุรีจะใช้การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มณฑลทหารบกที่ 14 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ สถานศึกษา ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และบุคลากร ในการผลิตขยายแตนเบียนบราคอน จำนวน 9 จุด สามารถผลิตขยายแตนเบียนบราคอน ได้สัปดาห์ละประมาณ 200,000 ตัว ปล่อยในพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวจำนวน 1,000 ไร่ ดำเนินการต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์โครงการแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาหนอนหัวดำของจังหวัดชลบุรีจะเน้นหนักที่การใช้ศัตรูธรรมชาติ คือ แตนเบียนบราคอนในการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในปีนี้ค่อนข้างรุนแรงและเกรงว่าจะขยายพื้นที่จนกระทบกับผู้ปลูกมะพร้าวและผู้ประกอบการในพื้นที่ ประกอบกับทางรัฐบาลมีโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรีจึงได้เร่งรณรงค์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจในการใช้สารเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสาน เพื่อควบคุมและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวให้หมดไปจากพื้นที่จังหวัดชลบุรีอย่างยั่งยืน

กลุ่มมิตรผล เปิดตัวโครงการ ‘ทำตามพ่อ’ มุ่งสร้างความสุขที่ยั่งยืนให้คนไทยด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมพัฒนา ‘ศูนย์ปลูก เพ(ร)าะ สุข’ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดและขยายผลลัพธ์สู่ชาวไร่และคนเมือง

กลุ่มมิตรผล จุดประกายการสร้างความสุขที่ยั่งยืนแก่ชาวไทย ด้วยการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาสู่การริเริ่ม “โครงการทำตามพ่อ” พร้อมตั้งเป้าหมายสร้าง “ศูนย์ปลูก เพ(ร)าะ สุข” 70 แห่ง ภายในปี 2017 ในโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก่อนขยายผลสู่ 700 และ 7,000 ครัวเรือนต้นแบบเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่และถ่ายทอดแนวทางการดำรงชีวิตที่สามารถสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวไร่ ชุมชน และบุคคลทั่วไป

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มมิตรผล กล่าวว่า “กลุ่มมิตรผล ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเกษตรมาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อให้เขาสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เราจึงได้น้อมนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้ในการดูแลชาวไร่และชุมชน ร่วมกับแนวปรัชญาองค์กร ‘ร่วมอยู่…ร่วมเจริญ’ เกิดเป็นโครงการต่างๆ ที่ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกร ซึ่งทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข”

“ในวันนี้ กลุ่มมิตรผลมีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อการสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแบบยั่งยืนตามแนวทางของพ่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเล็ก ชุมชน และคนไทยทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถยืนหยัดและพึ่งพาตนเองได้ผ่านแนวคิดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ อันจะนำมาซึ่งความสุขในหลากหลายมิติด้วยกัน จึงเกิดเป็น “โครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรชาวไร่รายเล็กให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงถ่ายทอดวิธีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานแห่งความสุขตามคำสอนของพ่อให้แก่ชุมชนตลอดจนบุคคลทั่วไป”

โครงการทำตามพ่อ จะดำเนินการปลูกความสุขสู่ชาวไร่ ด้วยการให้ความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยเริ่มต้นจากการจัดตั้งคณะทำงานและปราชญ์เกษตรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้จำนวน 8 ท่าน ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เลย อำนาจเจริญ และตาก พร้อมทั้งคัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมเพื่อเข้ารับการอบรมและแนะนำแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างพื้นฐานในการต่อยอดและพัฒนาพื้นที่ไร่อย่างยั่งยืน ก่อนจะคัดเลือกเกษตรกรผู้ที่มีความพร้อมในการจัดสรรพื้นที่และถ่ายทอดความรู้ 70 คน ในการจัดตั้ง “ศูนย์ปลูก เพ(ร)าะ” สุขจำนวน 70 แห่ง เพื่อขยายผลลัพธ์สู่ 700 ครัวเรือน ในปีที่สอง และ 7,000 ครัวเรือนในปีที่สาม

นอกจากการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตรแล้ว กลุ่มมิตรผลยังมุ่งปลูกความสุขสู่คนเมืองจากการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิดในการสร้างความสุขอย่างยั่งยืนของชาวไร่ มาสู่คู่มือเพาะความสุขในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน ผ่านหนังสือ “ปลูก เพ(ร)าะ สุข” ที่จะเผยแพร่หลักการและแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง หลักของเกษตรทฤษฎีใหม่ และการประยุกต์ใช้แนวคิดในชีวิตประจำวันของคนเมือง เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์แห่งความสุขทั้ง 5 ประการ อันประกอบไปด้วย สุขกาย สุขใจ สุขในสังคม สุขในคุณภาพชีวิตที่ดี และสุขในสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้คนในสังคมสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขจากการทำตามพ่อ

ถิ่นกำเนิดของมะพร้าวนั้นยังไม่มีข้อสรุปและชี้ชัดว่าอยู่ส่วนไหนของโลก แต่ก็มีบันทึกไว้มากมายว่าอยู่ส่วนโน้นส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นทวีปอเมริกา และเอเชีย แต่ละท้องถิ่นก็มีหลักฐานการใช้ประโยชน์ มาประกอบ

ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า มะพร้าวมีสองลักษณะด้วยกัน คือ มะพร้าวแกง ต้นขนาดใหญ่ ตกผลหลังปลูกช้า ต้นสูง ผลขนาดใหญ่ ใช้ประโยชน์โดยนำเนื้อมะพร้าวมาคั้นกะทิทำอาหารหวาน คาว

อีกลักษณะหนึ่งคือ มะพร้าวน้ำหอม ต้นไม่ใหญ่ ไม่สูงมาก ตกผลหลังปลูกเร็ว ผลขนาดไม่ใหญ่ นิยมนำน้ำมาดื่มเพราะมีรสหวาน มีกลิ่นหอม เนื้อมะพร้าวหากเก็บเกี่ยวในระยะพอเหมาะจะได้รสชาติอร่อยนุ่ม มัน

ความเข้าใจนี้ไม่ผิด แต่จริงๆ แล้วมะพร้าวมีความหลากหลาย

นักวิชาการเกษตรได้แบ่งมะพร้าวไว้ 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวนหลายพันธุ์ด้วยกัน กลุ่มต้นสูง มีมะพร้าวใหญ่ กลาง กะทิ ปากจก น้ำตาล พวงร้อย (ทะลายร้อย) เปลือกหวาน มะแพร้ว หัวลิง ซอกลุ่มนี้ลักษณะของต้นมีขนาดใหญ่ หลังปลูกต้องใช้เวลานานจึงตกผล ผลขนาดใหญ่ ตกผลไม่ดกนัก พื้นที่ปลูกมีมากแถบสมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยทั่วไปแล้วครอบครัวคนไทยจะปลูกมะพร้าวใหญ่ไว้รอบบ้าน หากมีที่ว่างอย่างการสร้างหมู่บ้าน สร้างรวงรัง มักมีมะพร้าวปลูกไว้ จะดูว่าหมู่บ้านไหนมีอายุเก่าแก่มากน้อยเพียงใด ดูคร่าวๆ จากต้นมะพร้าวได้
กลุ่มต้นเตี้ย มีมะพร้าวนกคุ่ม หมูสีเขียว ทุ่งเคล็ด ปะทิว น้ำหอม น้ำหวาน หมูสีเหลือง ไฟ ตื่นดก นิ่ม กะทิ นาฬิเก
กลุ่มนี้ลำต้นมีขนาดเล็ก หลังปลูก 2-3 ปี ก็ให้ผลได้ ผลมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่ติดผลดก ปีหนึ่งอาจจะเก็บได้ 120 ผล ต่อต้น ทุกวันนี้มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมเริ่มให้ความสำคัญกับมะพร้าวต้นเตี้ยมากขึ้น เพราะปลูกได้จำนวนต่อไร่มาก จำนวนผลต่อต้นมาก รวมทั้งการเก็บเกี่ยวสะดวก

นักวิชาการเกษตร ยังได้ศึกษามะพร้าวแต่ละพันธุ์ พร้อมทั้งบอกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะพร้าวน้ำหอม

เป็นมะพร้าวที่มีอายุตกผลเร็ว นิยมบริโภคผลอ่อน มีกลิ่นหอม ผลสีเขียว รูปร่างกลม น้ำหนักเนื้อแห้งต่อผล 100 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 65 เปอร์เซ็นต์ ผลสีเขียว ขนาดค่อนข้างใหญ่กว่ามะพร้าวผลเล็กสายพันธุ์อื่นๆ น้ำหนักเนื้อแห้ง 170 กรัม ต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 61 เปอร์เซ็นต์

มะพร้าวใหญ่

นิยมปลูกเป็นการค้า ผลมีขนาดใหญ่ อายุตกผลช้า น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 250-300 กรัม ต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 60 เปอร์เซ็นต์ ทุ่งเคล็ด

หลังปลูก อายุตกผลเร็ว ผลรูปร่างกลม ผิวผลสีเขียว น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 145-160 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 60 เปอร์เซ็นต์ ผลมีขนาดใหญ่มาก แต่มีจำนวนผลต่อทะลายน้อย เนื้อมะพร้าวแห้ง 355 กรัม ต่อผล เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 56 เปอร์เซ็นต์

เวสท์อัฟริกันต้นสูง

อายุการตกผลเร็วกว่าพันธุ์ไทยพื้นเมือง มีความสม่ำเสมอในประชากรสูง เนื้อมะพร้าวแห้งต่อผล 180-200 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 70 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนดอกตัวเมียต่อจั่นมาก ทำให้มีผลดก ผลมีขนาดเล็ก รูปร่างรี น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผล 90-105 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 69 เปอร์เซ็นต์

ผลมีขนาดกลาง รูปร่างยาวรี พบในบางท้องที่ เช่น ที่จังหวัดพังงา น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 190-200 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 66 เปอร์เซ็นต์ มะแพร้ว

แตกต่างจากมะพร้าวพันธุ์อื่นๆ คือ ช่อดอกไม่มีระแง้ มีดอกตัวเมียจำนวนมาก ติดอยู่กับก้านดอก ซึ่งมีอันเดียว และมีดอกตัวผู้ติดอยู่ตอนปลายของก้านดอก น้ำหนักเนื้อแห้งใกล้เคียงกับมะพร้าวกลาง

พันธุ์สวีลูกผสม 1 (Sawi Hybrid No.1)

เป็นมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างมะพร้าวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (MYD x WAT) ซึ่งผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านบริโภคผลสด อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เนื่องจากมีปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ได้ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2525

ลักษณะเด่น

เนื้อมะพร้าวแห้ง ให้ผลผลิต ประมาณ 572 กิโลกรัม/ไร่/ปี

เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์

ให้ผลผลิตเมื่ออายุ ประมาณ 4 ปี หลังจากปลูก

ให้ผลดก ผลผลิตสูงสุดโดยเฉลี่ย 2,300 ผล/ไร่/ปี เมื่ออายุ 10 ขึ้นไป (ปลูก 22 ต้น/ไร่)

ไม่ปรากฏว่าเป็นโรคและแมลงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างรุนแรง ข้อจำกัด

เนื่องจากมะพร้าวพันธุ์สวีลูกผสม 1 เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ลักษณะของลูก ชั่วที่ 1 จะมีลักษณะดีข่มลักษณะที่ด้อยไว้ แต่ถ้าเอาผลไปทำพันธุ์ต่อจะเกิดการกลายพันธุ์ เพราะลักษณะด้อยที่อยู่ในต้นพ่อและต้นแม่จะปรากฏออกมาให้เห็นในลูก ชั่วที่ 2 จึงห้ามไม่ให้เก็บผลไปเพาะทำพันธุ์

พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1

(Chumphon Hybrid 60-1) หรือ ชุมพร 60

เป็นมะพร้าวลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เวสท์อัฟริกันต้นสูง x ไทยต้นสูง ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ได้ทั้งบริโภคผลสด และในด้านอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว ได้ผ่านการรับรองพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2530

ลักษณะเด่น

สูงช้ากว่าพันธุ์ไทยต้นสูง คือ เมื่ออายุ 10 ปี สูง 5.25-5.75 เมตร ขนาดผลมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตรงตามความต้องการของชาวสวนมะพร้าว ทนทานต่อความแห้งแล้งดีกว่าพันธุ์พ่อเวสท์อัฟริกัน ตอบสนองต่อปุ๋ยดีกว่าพันธุ์ไทยพื้นเมืองต้นสูง

ตกผลเร็ว เริ่มตกผลเมื่ออายุประมาณ 5 ปี หลังจากปลูก

ขนาดผล อยู่ระหว่างมะพร้าวกลางและมะพร้าวใหญ่ มีเปลือกค่อนข้างหนา

เนื้อมะพร้าวแห้ง ให้ผลผลิตประมาณ 628 กิโลกรัม/ไร่/ปี น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผล อยู่ระหว่าง 280-390 กรัมเนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ประมาณ 64-67 เปอร์เซ็นต์

ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตเฉลี่ย 2,204 ผล/ไร่/ปี เมื่ออายุ 10 ขึ้นไป (ปลูก 22 ต้น/ไร่)

ไม่ปรากฏว่าเป็นโรคและแมลงศัตรูมะพร้าวระบาดอย่างรุนแรง

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่สามารถทำการเกษตรได้และมีผิวหน้าดินลึก 1-1.5 เมตร ไม่มีดินลูกรัง หรือดินดานอัดแน่น แหล่งปลูกมะพร้าวในเขตภาคกลางและภาคใต้

ข้อจำกัด

เป็นพันธุ์ลูกผสม ชั่วที่ 1 ไม่สามารถนำผลไปปลูกต่อไป พันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 หรือ ชุมพร 2

เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x พันธุ์ไทยต้นสูง ผลขนาดกลางถึงใหญ่ ทำให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งรูปผลสดและแปรรูปในอุตสาหกรรมน้ำมัน ผ่านการรับรองพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2538

ลักษณะเด่น

ให้ผลดก ผลผลิต ให้เนื้อมะพร้าวแห้ง 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี เนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 261 กรัม/ผล

คุณภาพ เนื้อมะพร้าวมีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์

ให้ผลเร็ว เริ่มเก็บได้เมื่ออายุ 4 ปีครึ่ง

ผลขนาดกลางถึงใหญ่ ทรงผลค่อนข้างกลมมีสีน้ำตาลอมเขียว

ทนแล้งพอสมควร

ข้อจำกัด

เป็นพันธุ์ลูกผสม ชั่วที่ 1 ไม่สามารถนำผลไปปลูกต่อไป

พันธุ์ลูกผสมกะทิชุมพร 84-1

เป็นพันธุ์มะพร้าวกะทิลูกผสมระหว่างน้ำหอม x กะทิ (NHK) และมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x กะทิ (YDK) ผ่านการรับรองพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ลักษณะทั่วไป

มะพร้าวกะทิลูกผสมพันธุ์ชุมพร 84-1 สมัคร Royal Online หรือมะพร้าวพันธุ์ YDK ต้นแรกออกจั่น เมื่ออายุ 2 ปี 5 เดือน พันธุ์ YDK มีจำนวนต้นออกจั่นครบร้อยละ 50 ของจำนวนต้นที่ปลูก อายุ 3 ปี 1 เดือน ความสูงของจั่นแรก เมื่อมะพร้าวออกจั่นแรก หลังจากติดผล ทะลายมะพร้าวจะโน้มลง ทำให้ผลมะพร้าวปลายทะลายอยู่ต่ำลงตามความยาวของจั่น พันธุ์ YDK มีผลปลายทะลายอยู่เหนือพื้นดิน 73 เซนติเมตร ช่วงอายุ 4-7 ปี มะพร้าวพันธุ์ YDK ให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิสูงสุด 661 ผล/ไร่ และให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวธรรมดาสูงสุด 2,717 ผล/ไร่ คิดเป็นเนื้อมะพร้าวแห้ง 887 กิโลกรัม/ไร่ มะพร้าวกะทิมีเนื้อฟูเต็มกะลา แยกเป็นพวกน้ำข้นเหนียว ร้อยละ 21.74 เนื้อฟูปานกลาง ร้อยละ 47.83 เนื้อฟูเล็กน้อย น้ำใส มีร้อยละ 30.43 มะพร้าวธรรมดามีเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลเฉลี่ย 323 กรัม เนื้อมะพร้าวกะทิมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน (fat) ประมาณ ร้อยละ 14.98 เนื้อมะพร้าวธรรมดามีเปอร์เซ็นต์น้ำมัน (oil) ประมาณ ร้อยละ 62 เนื้อมะพร้าวกะทิมีเส้นใยอาหาร (dietary fiber) 8.77 กรัม/100 กรัม ซึ่งสูงกว่าเนื้อมะพร้าวธรรมดา 4 เท่า