หลังจากลงต้นเสร็จแล้วก็รดน้ำใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่คุณเติ้ลใช้ส่วนมาก

เพราะได้มาจากการที่ครอบครัวเลี้ยงวัวด้วย เป็นการประหยัดต้นทุน และได้ผลดีด้วย แต่ต้องดูความเหมาะสมด้วย เพราะพืชแต่ละชนิดจะชอบปุ๋ยไม่เหมือนกัน อย่าง มะกรูด มะนาว พวกนี้จะชอบปุ๋ยขี้วัว พอใส่ปุ๋ยรดน้ำ ใช้เวลาประมาณปีครึ่ง คือกว่าจะตั้งตัวได้

ระบบน้ำ…ใช้สปริงเกลอร์เป็นหลัก ถ้าใหม่ๆ ก็เปิดสัปดาห์ละ 2-3 วัน รดเช้าเวลาเดียว รดครั้งเดียวรดให้โชก ดูฤดูกาลด้วยว่าถ้าฤดูฝนไม่ต้องไปยุ่งเลย เพราะฝนตก แต่ฤดูร้อนกับฤดูหนาวต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะว่าหนึ่งอากาศชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศแห้ง ก็สังเกตต้นไม้ทั่วไปจะดูแห้งๆ ไม่มีชีวิตชีวา ในฤดูหนาว ต้องดูแลวันเว้นวัน

การลงทุน

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ราคากิ่งละ (ต้น) 10 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท และไม่ใช่ว่าตอนซื้อจะได้แค่ 400 ต้น เขาก็มีแถม 10-20 ต้น ค่าปุ๋ย ค่ายา เฉลี่ยต่อไร่แล้วลงทุนประมาณ 15,000-20,000 บาท แต่ถ้าที่บ้านใครเลี้ยงวัวอยู่แล้วก็ได้โอกาส ไม่ต้องซื้อปุ๋ยลดต้นทุนไปอีก ลงทุนไร่ละหมื่นถึงสองหมื่น แต่ได้ผลคุ้มแน่นอน สมมุติตัดรอบแรกได้ 1,000 กิ่ง แต่ไม่ใช่เอามาลงจะรอดทุกกิ่ง แต่มันก็ได้ ถัวเฉลี่ยแล้วขายสองรอบก็คืนทุนแล้ว ขายได้เรื่อยๆ

สมมุตติ 400 ต้น คิดง่ายๆ ได้ต้นที่ตอนกิ่งออกประมาณ 5 กิ่ง ขายได้เกือบ 10 ปี ปลูกเอากิ่งอยู่ได้หลายปี ถ้าปลูกเอาลูกต้นจะโทรมเร็ว หรือจะเว้นตามแนวปลูกไว้กินลูกก็ได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อดีของการขายกิ่งพันธุ์

“ข้อดีคือ แน่นอนว่าขายได้ทั้งปีครับ โดยรวมไม่ว่าจะเป็นทับทิม มะนาว มะกรูด มะม่วง ถ้าขายลูกอย่างเช่น มะนาว 1 ปี มะนาวจะออกไม่กี่ครั้ง แต่ถ้าขายกิ่งตัดกิ่งไปปุ๊บ แน่นอนว่าต้องมีการเจริญเติบโตงอกใหม่ ภายในระยะเวลา 1-2 เดือน สามารถตัดอีกรอบได้ คือเอาเป็นว่าถ้าเราขายกิ่ง จะขายได้ทั้งปี ถ้าขายลูกจะขายได้แค่เป็นช่วงฤดูกาลสั้นๆ ข้อดีอีกข้อคือ คุณไม่ต้องห่อ ไม่ต้องคอยประคบประหงม ตัดมาลงถุงปักเอาไม้ผูกเชือกอะไรให้เรียบร้อยเราก็รดน้ำ ใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นให้ฟื้นสภาพ ขายได้เลย” เจ้าของบอก

เดินหาตลาดเอง ไม่ง้อพ่อค้าคนกลาง

การตลาดของคุณเติ้ลจะเป็นกลุ่มร้านขายไม้ผล ครั้งแรกเขาไปตะเวนเหมือนรถหาบเร่ เอาไปเสนอขายเขา มีสินค้าตัวอย่างไปให้เขาดู คือพูดง่ายๆ เราก็ไปสร้างคอนเน็กชั่นไว้ ปรากฏว่า พอไปบ่อยครั้งเข้า ก็ถูกอกถูกใจกัน ก็มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ติดต่อไว้ ถ้าจะพูดถึงทับทิมก็ต้องเอาเจ้านี้นะ สั่งกับเรานะ ประมาณนี้ ก็ลดหย่อนกันไป เพราะร้านเขาเป็นร้านต้นไม้ใหญ่ บางครั้งไม่มีสินค้าก็ต้องไปเอาที่ร้านนี้ เหมือนระบบอุปถัมภ์ ก็ต้องเกื้อกูลกันไป

“ผมเองไม่มีหน้าร้าน ขายส่งจะดีกว่าขายปลีก เพราะ 1. ไม่ต้องไปดูแลว่าใครจะย่องมาขโมยตอนกลางคืน 2. พอคนมาซื้อต้องมีการต่อราคา 5-10 บาท ยังไงเราก็ต้องลดให้เขา 3. ต้องมาวิตกกังวลว่า วันนี้จะขายได้ไหม ขายได้กี่ต้น แต่ดีตรงที่ว่า ต้นไม้ไม่เหมือนอาหาร ไม่เน่าไม่เสีย อีกอย่างสินค้าล้นตลาด ผมยังไม่เคยเจอ เจอแต่สินค้าไม่พอขาย เพราะสินค้ากระจายออกไปทั่วทุกที่ บางคนไม่ได้ซื้อไปลงสวน ลูกค้าขาจรเห็นเจ้าของร้านเอามาใส่กระถางสวยๆ พอเห็นว่ามันมีลูก เขาก็อยากได้ ก่อนจะออกจากเราไปก็ต้องบำรุงให้ติดลูก ติดดอกนิดหน่อย ของสวยแน่นอนใครก็ต้องอยากซื้อ แถมช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อีกด้วย” คุณเติ้ล บอก

ฝากถึงเกษตรกรมือใหม่

คุณเติ้ล บอกว่า ทำอะไรมีปัญหาหมด ถ้าปลูกต้นไม้ ทำสวน จะเป็นเรื่องของดิน ฟ้า อากาศ โรคของต้นไม้ เพราะฉะนั้นอย่าท้อถอย หมั่นศึกษาหาข้อมูลดีๆ ไม่ใช่ว่าถูกใจแล้วทำโดยปราศจากการศึกษา ทำแบบนี้มักจะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไร ที่สำคัญทำอะไรต้องมีใจรัก มีความชอบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สิ่งที่ทำประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น และอีกอย่างต้องมีเวลา เพราะต้นไม้ไม่ใช่ว่าปลูกแล้วจะฝากใครให้ดูแลได้ และถ้ามีทุนด้วยก็จะยิ่งดี

สำหรับเกษตรกรมือใหม่อยากให้ศึกษาแนวคิดดีๆ หรือการปลูกต้นไม้แบบเน้นขายกิ่งพันธุ์ คุณเติ้ล ยินดีให้คำปรึกษา จะเข้ามาหาที่บ้าน หรือปรึกษาทางโทรศัพท์ ยินดีให้ความรู้ โทร. (082) 750-1055

ที่ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรของเกษตรกรจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นมี คุณสมชาย ภาวศิลป์ เกษตรกรผู้ได้รับรางวัลที่ 2 ของประเทศ ในการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสมระดับประเทศ ประจำปี 2556 ที่ผ่านมา

เกษตรกรรายนี้ประกอบอาชีพทำนาและทำสวนผัก ผลไม้ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย รวมทั้งเลี้ยงกบและชันโรง โดยได้น้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏิบัติใช้ด้วยการทำการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่

ซึ่งเป็นทฤษฎีที่แก้ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร และการประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 15 ไร่ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้มีรายได้ไว้ใช้จ่าย และมีอาหารไว้บริโภคตลอดปี ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย

“…ถึงบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน…”

คุณชาตรี บุญนาค ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ได้รับนโยบายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร คุณสมชาย ชาญณรงค์กุล ให้มีการขับเคลื่อนในเรื่องของงานนโยบายทั้งหมด โดยเฉพาะในเรื่องของแปลงใหญ่กับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพราะ ศพก. นั้น เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การส่งเสริมนั้นจะแยกออกเป็น
2 ลักษณะ โดยส่วนงานของกรมส่งเสริมการเกษตรจะเข้าไปดำเนินการเอง กับประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภาคีเข้าไปร่วมดำเนินการ โดยเน้นการน้อมนำแนวทางของทฤษฎีใหม่มาดำเนินการ โดยส่วนงานของกรมส่งเสริมการเกษตร จะส่งเสริมในเรื่องการบริหารจัดการการปลูกพืชเป็นหลัก เช่น จะให้เกษตรกรปลูกอะไร ปลูกอย่างไร หรือบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกอย่างไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิสังคม

“ทำอย่างไร จะให้เกษตรกรลดต้นทุนได้ เราก็จะเข้าไปดูแลเรื่องการปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว ที่มีคุณภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ได้ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรม องค์ความรู้เข้าไปให้เกษตรกรได้ดำเนินการ ตลอดถึงนำพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก สำหรับในพื้นที่เขต 3 มีเป้าหมายว่า ศพก. ที่เป็นจุดเรียนรู้ จะมีทั้งหมด 73 ศพก. 73 ศูนย์ ในการที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกร” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง กล่าว

ด้าน คุณปรารถนา แก้วพร้อม เกษตรอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เปิดเผยถึงการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้ทำการเกษตรแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ว่า เกษตรกรตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ ที่ผ่านมาจะปลูกข้าวหอมมะลิ ซึ่งทำได้แค่ปีละ 1 ครั้ง เมื่อพ้นจากการทำนาแล้วก็ไม่มีอาชีพอื่นใดเข้ามาเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ก็นำเอาทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เข้ามาส่งเสริม แทนที่จะทำนาอย่างเดียว ก็ทำสวนผลไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ด้วยการจัดแบ่งพื้นที่ มีแหล่งน้ำ มีแปลงปลูกพืชให้ผล มีแปลงปลูกผัก มีนาข้าว มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์ จำพวกเป็ด ไก่ เพื่อบริโภคไข่และเนื้อ ในสระน้ำเลี้ยงปลาด้วย นอกจากจะเอาน้ำมาใช้ในแปลงปลูกพืช

การที่เกษตรกรมีการปลูกพืชหลากชนิด ทั้งข้าว ไม้ผล และพืชผัก ยามที่ผลผลิตประเภทใดประเภทหนึ่งไม่มีตลาด หรือมีราคาถูก ขายไม่คุ้มทุน เกษตรกรก็จะมีผลผลิตจากพืชตัวอื่นๆ เข้ามาทดแทน ที่สำคัญเป็นการใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า คือสามารถให้รายได้แก่เกษตรกรได้ตลอดทั้งปีและทุกฤดูกาล

ในบางพื้นที่พืชผักบางอย่างปลูกไม่ได้ เพราะพื้นที่มักเจอกับสภาพน้ำท่วม ทาง ศพก. ก็จัดทำแปลงสาธิตการปลูกพืชผักในพื้นที่แม้น้ำท่วมก็ปลูกได้ เช่น หัวไชเท้า คะน้า ปลูกลงในกระถาง ก็สามารถที่จะปลูกได้ และนำมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ ที่สำคัญได้มีการส่งเสริมโดยการขยายองค์ความรู้สู่เกษตรกรในการปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ ด้วยการแนะนำและถ่ายทอดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า และบิวเวอเรีย เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราในพืช ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น

“การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรได้กำไรในชีวิตแล้ว 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นกำไรที่ไม่สามารถหาซื้อได้ในตัวเอง ก็คือโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากการใช้สารเคมี อันจะทำให้สุขภาพร่างกายของเกษตรกรแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคที่เป็นผลมาจากสารเคมีตกค้างในร่างกาย” เกษตรอำเภอศรีมโหสถ กล่าว

นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ทางสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ได้นำนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตแบบลดต้นทุนมาดำเนินการ และเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ต้องการให้หน่วยงานในสังกัดส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งนับว่าลงตัวและก่อเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและประเทศชาติโดยภาครวมอย่างเห็นเป็นรูปธรรม

ตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูกส้มโอขาวแตงกวา ที่โพธิ์ประทับช้าง ทำรายได้ต่อปีนับล้านบาท ในพื้นที่ปลูก 45 ไร่ คุณสมเจต ซิ้มประดิษฐ์ บ้านเลขที่ 225/3 หมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ (081) 740-0010

สวนส้มโอทุกสวน ต้องมีระบบน้ำทั้งหมด สมัยก่อน เมื่อ 20 ปีที่แล้วระบบน้ำในสวนส้มโอ เป็นของแปลกใหม่มาก เพราะก่อนหน้านี้การนำระบบน้ำมาใช้ในสวนส้มโอไม่มีเลย แต่เมื่อทำสวนส้มโอเชิงพาณิชย์ เรื่องของน้ำและระบบการให้น้ำนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก น้ำจะช่วยเรื่องไม่ให้ต้นส้มโอขาดน้ำในช่วงหน้าแล้ง ต้นส้มโอจะแสดงอาการเหี่ยวชัดเจนมาก ไม่ได้ทนแล้งมากเหมือนพวกมะม่วงอย่างที่บางคนเข้าใจ ยกตัวอย่าง จากการสังเกต ส้มโอที่แสดงอาการขาดน้ำได้เร็วที่สุดจากมากไปหาน้อยคือ ส้มโอท่าข่อย รองลงมาก็ส้มโอขาวแตงกวา ทนแล้งได้ดีที่สุดก็เป็นส้มโอทองดี คุณสมเจต อธิบาย น้ำยังเป็นตัวควบคุมที่นำมาใช้ในการเปิดตาดอกส้มโอหลังจากการอดน้ำ น้ำมาช่วยในการเลี้ยงผลส้มโอ ช่วยเรื่องการขยายผล ทำให้น้ำหนักผลดี

ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับส้มโอ

คุณสมเจต เล่าว่า เรื่องของระยะปลูกส้มโอก็คงแล้วแต่ชาวสวนและการจัดการของแต่ละคน เช่น ชาวสวนที่มีพื้นที่ปลูกมาก ก็ระยะ 8×8 เมตร แต่ชาวสวนบางคนก็อาจจะปลูกระยะชิด 4×4 เมตร หนึ่งเพื่อใช้พื้นที่ปลูกให้คุ้มค่ามากที่สุด ได้จำนวนต้นที่มาก ได้ผลผลิตดีในช่วงแรก โดยปล่อยให้ต้นส้มโอติดผลเมื่ออายุยังน้อย เพื่อเอาผลผลิตก่อน แต่ต้องบริหารตัดแต่งควบคุมทรงพุ่มให้ดี เนื่องจากอายุต้นส้มโอได้สัก 4-5 ปี พุ่มก็จะชนกัน ทำงานลำบาก ต้องขยันแต่งทรงพุ่ม ก็ค่อยมาตัดต้นส้มโอออกต้นเว้นต้นเพื่อให้ระยะปลูกเปลี่ยนเป็น 8×8 เมตร หรือเมื่อก่อนเคยทดลองปลูกระยะ 8×4 เมตร ก็คุมทรงพุ่มได้ราวๆ 6-7 ปี สุดท้ายก็ต้องตัด เพราะทรงพุ่มชนกัน ใบส้มโอบังร่มเงากัน ก็จะส่งผลต่อการออกดอก

แต่ก่อนที่จะตัดก็ได้ทดลองตัดแต่งทรงพุ่มแบบหนัก ตัดแบบครึ่งต้นเพื่อให้พุ่มส้มโอเตี้ย ผลปรากฏว่าต้นที่ตัดแต่งหนักนั้นมีแต่กิ่งกระโดง ไม่ออกดอกติดผลนานมากกว่า 2 ปีทีเดียว ซึ่งส้มโอเป็นผลไม้ที่ตัดแต่งกิ่งหนักไม่ได้เลย จะทำให้ชะงักไม่ออกผลนานทีเดียว ส่วนตัวคิดว่า ปลูกระยะ 8×8 เมตร ลงตัวที่สุด ก็กว่าทรงพุ่มจะชนกันก็ราวๆ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งส้มโอพอจะให้ผลบ้างในปีที่ 3 (ถ้าดูแลดี) แต่โดยมากจะไว้ผลกันในช่วงปีที่ 4 และจะเริ่มดีเต็มที่ตั้งแต่ปีที่ 7 ขึ้นไป

การใส่ปุ๋ยส้มโอปลูกใหม่ และส้มโอที่พร้อมกำลังเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่

ส้มโอ ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกควบคู่กันไป ในระยะที่ส้มโออายุ 1-3 ปี หรือยังไม่ให้ผล ให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่าผสมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ปุ๋ยเคมี ใช้อัตรา 300-500 กรัม ต่อต้น ต่อครั้ง โดยเป็นไปได้ควรใส่น้อยแต่บ่อยครั้ง เช่น ใส่ 3-4 ครั้ง ต่อปี เมื่อส้มโอให้ผลแล้วเมื่ออายุ 4 ปีขึ้นไป การใส่ปุ๋ยจะแตกต่างกันไปตามช่วงของการออกดอกติดผล กล่าวคือ หลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วจะให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 เพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตของผลดีขึ้น จนกระทั่งผลมีอายุได้ 5-6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 เพื่อช่วยให้ผลมีการพัฒนาด้านคุณภาพของเนื้อดีขึ้น มีความหวานมากขึ้น

อัตราการใช้ ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่มและจำนวนผลที่ติดบนต้นในแต่ละปี โดยทั่วไปเมื่อต้นส้มโออายุได้ 6-7 ปี ก็จะโตเต็มที่ การใส่ปุ๋ยอาจจะใส่ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม สำหรับต้นส้มโอที่มีการติดผลมาก ควรใส่ปุ๋ยทางใบเสริมเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีคุณภาพดี วิธีการใส่ปุ๋ยโรยบนพื้นดินภายในบริเวณทรงพุ่ม แต่ระวังอย่าใส่ให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกรอบโคนต้นส้มโอเน่าและอาจทำให้ส้มโอตายได้

ส้มโอต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบ

ทั้งการดูแลรักษา เทคนิค การใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง สภาพดินฟ้าอากาศและดวง การบังคับให้ส้มโอออกดอก หลักการคล้ายๆ กับการทำมะนาวนอกฤดู สมมุติว่าช่วงที่เราจะพยายามงดน้ำ เกิดฝนทิ้งช่วงให้เราสัก 10-15 วัน ดินแห้งดี เมื่อเปิดน้ำให้หรือฝนตก ร่วมกับการใช้ปุ๋ยและฮอร์โมน ทุกอย่างพอดีก็เป็นโอกาสจังหวะและดวงของสวนนั้นๆ

ก่อนเปิดตาดอก ชาวสวนก็ต้องดูแลใส่ปุ๋ยทางดิน เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 และฉีดพ่นทางใบ ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 ช่วงก่อนการงดน้ำ หลังจากงดน้ำได้สัก 1 เดือน หรือสังเกตความพร้อมของใบว่าแก่มีสีเขียวเข้มดีหรือไม่ การเปิดตาดอกส้มโอก็เน้นการใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ใช้ร่วมกับฮอร์โมนพวกสาหร่าย, แคลเซียม-โบรอน เพื่อกระตุ้นการเกิดยอดพร้อมการออกดอก อาจจะเปิด 2-3 ครั้ง ทุกๆ 5-7 วัน เพื่อให้ส้มโอออกดอกอย่างเต็มที่

เพลี้ยไฟ ก็เน้นใช้สารเคมีที่มีคุณภาพสูง เช่น ช่วงดอก-ช่วงผลอ่อน ก็จะใช้สารพวกอิมิดาคลอพริด เป็นหลัก ส่วนช่วงอื่นๆ เช่น ช่วงใบที่ไม่สำคัญมากก็จะใช้ยาฆ่าแมลงถูกๆ ทั่วไปเท่านั้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนการผลิตสูงจนเกินไป การฉีดยาก็จะใช้รถแอร์บัสทั้งหมด ซึ่งส้มฉีดยาค่อนข้างบ่อย ทำให้แรงงานในการฉีดยาค่อนข้างหายาก เกือบทุกสวนตอนนี้ก็ต้องใช้รถแอร์บัสเข้ามาแทนที่ทั้งหมดแล้ว ซึ่งมีประสิทธิภาพดี ที่สำคัญประหยัดการใช้ยาเกือบเท่าตัวทีเดียว

เมื่อผลพัฒนาเต็มที่ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ เรื่องของการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราคุมไว้ เช่น พวก คาร์เบนดาซิม โพรพิเน็บ ฉีดสลับกันไป โดยเฉพาะช่วงฝนตกบ่อยๆ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เพื่อป้องกันโรคเชื้อรา เช่น พวกโรคขั้วผลเน่า ที่ทำให้ผลร่วงก่อนกำหนด โรคราจุดสีน้ำตาล ช่วงนี้อย่าให้ส้มโอขาดน้ำ เพราะจะทำให้ส้มโอผลนิ่ม เมื่อผลส้มโอพร้อมเก็บเกี่ยวได้เริ่มเปลี่ยนสีผิว ก็จะให้น้ำแบบพอควร ไม่ให้ดินแฉะชุ่มเกินไป เพื่อให้เนื้อส้มโอมีรสชาติดี ไม่แฉะน้ำ

ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 15-30 วัน จะงดการฉีดพ่นสารเคมี ถ้ามีความจำเป็นก็ต้องเลือกใช้สารเคมีที่มีการสลายตัวเร็วไม่ตกค้างนาน การเก็บเกี่ยวเพื่อส่งออก ก็จะเก็บส้มโอความแก่ 80-90% ไม่เก็บส้มโอที่อายุหรือความแก่ไม่ได้กำหนด เพราะรสชาติจะอมเปรี้ยว ซึ่งเป็นความซื่อสัตย์ของเกษตรกรเอง จะส่งผลในการซื้อขายส้มโอในระยะยาว

ราคาส้มเมื่อปี 2558 ราคาส้มโอขาวแตงกวา ส่งออก กิโลกรัมละ 60 บาท ในปี 2559 ราคาส้มโอขาวแตงกวาขึ้นสูงมากถึงกิโลกรัมละ 90 บาท ทีเดียว แต่ราคาส้มโอส่งออกรับซื้อกันอยู่ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาทโดยประมาณ ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรอยู่ได้ จะได้ผลกำไรมากขึ้นในตอนที่สินค้าในตลาดขาดถ้าชาวสวนไหนมีผลผลิตในช่วงนั้นๆ ก็ถือว่าโชคดีไป

ผลผลิตต่อไร่ของส้มโอขาวแตงกวา ก็ขึ้นอยู่กับอายุและการดูแลรักษา ซึ่งได้ต่ำสุดก็ไร่ละ 2 ตัน ต่อปี สูงสุดก็ไร่ละ 6 ตัน ต่อปีทีเดียวสำหรับส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอตอนนี้อนาคตคงขึ้นอยู่กับตลาดส่งออก โดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดใหญ่มาก ซึ่งเป็นประเทศที่นำเข้าส้มโอของไทย หรือเฉพาะที่อำเภอโพธิ์ประทับช้างเกือบทั้งหมด

หลังเก็บเกี่ยวส้มโอ

หลังเก็บเกี่ยวส้มโอหมดแล้ว การให้น้ำก็จะน้อยลง เพื่อให้ต้นส้มได้พักต้นบ้าง ถ้าหญ้ารกก็ต้องตัดหญ้าให้สะอาดเป็นการเปิดหน้าดินให้ดินแห้งเพื่อลดการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าจะฉีดพ่นป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ก็จะฉีดพ่นด้วยสารฟอสฟอริกแอซิด เมื่อเห็นว่าต้นส้มฟื้นสภาพก็จะมีการตัดแต่งกิ่งส้มโอ โดยจะตัดแต่งกิ่งพอประมาณ ไม่ควรตัดแต่งกิ่งหนัก จะตัดแต่งกิ่งที่แน่นหนาทึบ กิ่งกระโดงหนามภายในทรงพุ่ม กิ่งที่มีโรคและแมลงทำลาย กิ่งไขว้ เพื่อเป็นการจัดทรงพุ่มและให้มีแสงแดดส่องถึง

หลังการตัดแต่งกิ่งก็จะฉีดล้างต้นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลง จากนั้นก็จะเข้าสู่วงจรในการเตรียมต้นเตรียมใบ เช่น จะทำใบ รุ่นที่ 1 ก็จะต้องเริ่มการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกระตุ้นให้ต้นส้มโอผลิใบอ่อนพร้อมๆ กันทั่วทั้งต้น เมื่อต้นส้มโอแตกใบอ่อนก็ต้องระวังเพลี้ยไฟทำลายยอดอ่อน หนอนชอนใบส้ม หนอนแก้ว เมื่อช่วงใบเพสลาดและเป็นช่วงหน้าฝนก็ต้องฉีดสารป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ หากสังเกตว่าใบอ่อนที่แตกออกมาเหลือง ก็ฉีดพ่นเสริมด้วยฮอร์โมนธาตุอาหารเสริม เช่น สังกะสี แมกนีเซียม และแมงกานีส

ส้มโอขาวแตงกวา ถ้านับจากหลังดอกบาน 5 เดือน ถึง 6 เดือนครึ่ง ก็จะทยอยแก่เก็บจำหน่ายได้ คุณสมเจต เล่าว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็จะทำให้ต้นส้มโอออกดอกราวเดือนกรกฎาคม เพื่อให้เก็บขายช่วงตรุษจีน แต่ตอนนี้คิดว่าจะพยายามเลี่ยงช่วงเทศกาล ในปีนี้ตั้งใจจะทำให้ส้มโอออกดอกช้ากว่าเดิม คือให้มีดอกสักช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม คนสวนก็จะมีโอกาสแค่ 2 เดือน ที่จะเห็นเงิน คือหลังสงกรานต์ราวหลังเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายนที่ราคาส้มโอจะดี

ราคาส้มโอในช่วงเทศกาลมีแนวโน้มเริ่มถูกลง เช่น ปีใหม่ สารทจีน ตรุษจีน ที่ส้มโอจะมีราคาแพงมาก ชาวสวนทุกคนก็เฝ้าคอยช่วงเทศกาลเหล่านี้ แต่ช่วงไม่กี่ปีคาดว่าชาวสวนบางส่วนคงจะต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องว่าจะให้ผลผลิตออกช่วงไหน เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเทศกาล ซึ่งแต่ก่อนมีราคาสูงมาก แต่ปัจจุบันกลับมาราคาถูกลง เนื่องจากสามารถทำให้ออกช่วงดังกล่าวได้ง่าย ทุกสวนก็พยายามให้ออกมาช่วงนี้เหมือนๆ กันเกือบทุกสวน

ช่วงที่ผ่านมา โดยมากช่วงเดือนมีนาคมส้มโอก็ราคาสูงขึ้น แล้วจะมีราคาสูงๆ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พอถึงเดือนกรกฎาคมราคาส้มโอเริ่มลง แต่ในอนาคตก็กำลังมองส้มโอทับทิมสยามไว้อีกตัวหนึ่ง เนื่องจากราคาซื้อขายภายในประเทศดีมาก ราคากิโลกรัมละ 150-250 บาททีเดียว จากการนำส้มโอทับทิมสยามมาปลูกที่สวนตนเอง พบว่า มีการเจริญเติบโตที่ดี ออกดอกติดผลดก เนื้อดีมาก สีแดงสวย รสชาติหวาน คาดว่าเร็วๆ นี้จะขยายพันธุ์ส้มโอทับทิมสยามให้มากขึ้นแน่นอน

ปลูกส้มโอ ด้วยกิ่งตอนทั้งหมด

คุณสมเจต เล่าว่า จากประสบการณ์ที่ทดลองปลูกส้มโอที่ขยายพันธุ์จากการตอนกิ่งกับส้มโอที่ขยายพันธุ์จากการเปลี่ยนยอดบนต้นตอส้มต่างประเทศ ปรากฏว่าสู้ส้มโอที่ได้จากกิ่งตอนไม่ได้ ซึ่งการขยายพันธุ์ชาวสวนก็จะขยายกันเองภายในสวน ฤดูที่ตอนกิ่งส้มโอ ตามปกติแล้ว การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะตอนในฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ฝนตกบ่อย ไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน

การคัดเลือกกิ่งตอน ก่อนที่จะคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน ต้องพิจารณาเลือกต้นก่อน เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย ซึ่งมีหลักในการพิจารณาหลายประการ เช่น เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถจะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ ตามมาได้อีก เป็นต้นที่ให้ผลดก ให้ผลสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ดี และมีรสดี เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต แข็งแรง

สังเกตจากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน เมื่อเลือกได้ต้นที่ดีแล้ว จึงมาคัดเลือกกิ่งที่จะตอน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อยคำนึงถึงกัน

คุณอำไพ สุขไกรรัตน์ หรือน้าไพ ทำสวนเกษตรแบบผสมผสาน เนื้อที่ 32 ไร่ อยู่บ้านเลขที่ 22/12 หมู่ 3 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกไม้ผล เช่น ปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลิ้นจี่ อินผาลัม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เนื่องจากไม้ผลให้ผลผลิตเพียงปีละครั้ง น้าไพจึงตัดสินใจปลูกมะกรูด เป็นพืชเสริมรายได้เพราะต้นมะกรูด จะมีผลผลิตออกมาสม่ำเสมอ เป็นสินค้าที่ตลาดต้องการสูง ไม่ต้องเหนื่อย วิ่งหาคนซื้อเหมือนพืชอื่นๆ

น้าไพ ตัดสินใจปลูก มะกรูดพวง สมัครเว็บแทงบอล เพราะเป็นมะกรูดพันธุ์ผลใหญ่และติดเป็นพวง ผลมีลักษณะขรุขระมาก และมีจุกที่หัว ใบมีขนาดใหญ่ เกษตรกรจำนวนมาก นิยมปลูกมะกรูดพวง เพื่อผลิตใบและผลขายส่งให้แก่โรงงานน้ำมันหอมระเหย และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด เช่น สบู่ ยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน เครื่องสำอาง โรงงานน้ำพริก อุตสาหกรรมยาฯลฯ

การปลูกมะกรูด ควรเลือกสภาพพื้นที่ ที่เป็นแหล่งดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดี ให้ขุดหลุมลึก ขนาด 50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวก็ประมาณ 4-5 เมตร หลังจากนั้นปล่อยดินตากแดดอยู่สัก 1-2 เดือน ก่อนปลูก 15 วัน ให้เอาปุ๋ยคอกใส่ลงไปครึ่งปี๊บ นำกิ่งตอนวางลงหลุม ตั้งให้ตรง กลบดินกดให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม นอกจากนี้ น้าไพยังปลูก กล้วยน้ำว้าแซมในสวนมะกรูด เพื่อช่วยเป็นร่มเงา และเป็นรายได้เสริมอีกรายหนึ่ง

การดูแลรักษาในสวนมะกรูด แค่รดน้ำเช้าเย็นเท่านั้นในช่วง 1-2 เดือนแรก เมื่อต้นมะกรูดมีอายุสัก 8 เดือน จึงบำรุงต้นอีกครั้งโดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยสูตรเสมอ ใส่รอบๆ บริเวณทรงพุ่ม ให้น้ำเพียงแค่วันละครั้งเดียว เมื่อต้นมะกรูดเติบใหญ่ ขึ้นก็ไม่ต้องให้น้ำ ใช้น้ำฝนตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปต้นมะกรูดจะเก็บใบขายได้เมื่ออายุ 2 ปี พอต้นมะกรูดอายุได้ 3 ปี จึงจะมีผลเก็บขายได้

ต้นมะกรูดมีปัญหาโรคและแมลงรบกวนน้อย ที่เจออยู่บ้างได้แก่ หนอนชอนใบ ที่มาทำลายทำให้ใบมะกรูดบิดงอ ใบไม่สวย ไม่สามารถตัดส่งขายได้ วิธีป้องกันคือ เด็ดนำไปเผาทำลายให้หมด หรือฉีดสารสกัดจากสะเดา หรือปุ๋ยน้ำหมักที่เกิดจากการหมักพืชสมุนไพรนานาชนิดเช่น ข่า ตะไคร้ และพริกขี้หนูป่นหมักรวมกันแล้วก็ผสมมาฉีดขับไล่แมลง เมื่อ ต้นมะกรูดมีอาการดีขึ้นก็ควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ชิดติดกัน หรือกิ่งที่คดงอทิ้ง เพื่อให้มีรูปทรงลำต้นที่ดี แถมช่วยเพิ่มผลผลิต ที่สำคัญเป็นการกำจัดโรคแมลงได้ดีอีกทางหนึ่ง

น้าไพเล่าว่า ราคามะกรูดขึ้นลงตามภาวะตลาดในแต่ละช่วงฤดู สำหรับฤดูฝนมีผลผลิตเข้าตลาดมาก จะขายได้ในราคาถูก แค่ ก.ก.ละ 20-30 บาท ส่วนฤดูแล้ง จะขายมะกรูดได้ในราคาสูง กว่า 30 บาทต่อก.ก. ทุกวันนี้น้าไพพึงพอใจกับรายได้จากการขายมะกรูด เพราะไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องดูแลใจใส่เป็นพิเศษเหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ และสามารถเก็บผลมะกรูดออกขายได้ทุกๆ สามเดือน ทุกวันนี้มีน้าไพมีรายได้จากการขายมะกรูดต่อปี หลายแสนบาททีเดียว