หลังจากเด็ดดอกทิ้งแล้ว ใส่ปุ๋ยสูตร เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน

หลังให้ปุ๋ยครั้งแรก 7 วัน จึงเริ่มตัดแต่งกิ่ง เมื่อมะม่วงแตกใบอ่อนให้เห็น จึงราดสารแพคโคลบิวทราโซล ในกลุ่มที่ทำนอกฤดูรุ่นที่ 4-6 หลังจากราดสารแพคโคลบิวทราโซล 7 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 13-13-24

หลังการให้ปุ๋ยทางดินครั้งที่ 2 แล้ว จึงเริ่มให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 จำนวน 3-4 ครั้ง เพื่อให้มะม่วงสะสมอาหาร หลังการราดสารแล้ว 45-60 วัน ใช้สารไทโอยูเรีย ร่วมกับสารโพแทสเซียมไนเตรต และสาหร่าย ช่วยในการดึงดอก 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5 วัน จากนั้นมะม่วงจะแทงช่อดอก ให้ดูแลรักษาช่อดอกตามปกติ พบแมลงก็ทำลาย ฝนตกก็ฉีดยาป้องกันเชื้อรา ตามสถานการณ์การระบาดของโรค

หลังจากมะม่วงติดผลเล็กขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ ต้องระวังเรื่องแมลงเข้าทำลายผล โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อขยายขนาดผลและช่วยทุกส่วนของมะม่วง

การติดผลของมะม่วง จำเป็นต้องตัดแต่งผลให้เหลือช่อละ 1-3 ผล ขึ้นกับการติดผลในภาพรวมว่าติดมากเท่าไร และเริ่มห่อผลเมื่อผลมีขนาดเท่าไข่ไก่ หรือขนาดความกว้างของผล 4-5 เซนติเมตร ความยาวของผล 7-9 เซนติเมตร หลังห่อผล 10 วัน ใส่ปุ๋ยเพิ่มความหวาน สูตร 13-13-21 และ 0-0-60 หลังห่อผล 45-50 วัน สามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้

จากมะม่วงกลุ่มมะม่วงมันในปีเริ่มต้น ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นมะม่วงตามความต้องการของตลาด ทำให้พื้นที่ปลูกมะม่วงขยับไปตามสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ และปัจจุบันเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมากที่สุด

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก มีสมาชิก 65 ราย มีพื้นที่ปลูกมะม่วง 1,554 ไร่ เน้นการส่งออกเป็นหลัก มีบริษัทส่งออกเข้ามารับซื้อ 7 ราย ส่วนมะม่วงตกเกรดส่งออก มีพ่อค้าแม่ค้า 4 รายเข้ามารับซื้อเพื่อขายในประเทศเช่นกันราคามะม่วงหน้าสวนที่ขายออกไปสูงสุดในปี 2559 ราคากิโลกรัมละ 140 บาทในแต่ละปี ผลผลิตมะม่วงส่งออกไม่ต่ำกว่า 200 ตัน และยังคงผลิตมะม่วงในฤดูประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ทุกปี

ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกทั้งหมดเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ประมาณ 1,200 ไร่ มะม่วงโชคอนันต์ 200 ไร่ มะม่วงเขียวเสวย 80 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกมะม่วงสายพันธุ์อื่นไว้หลายสายพันธุ์ และบางส่วนเป็นต้นตอ ไว้สำหรับเปลี่ยนยอดมะม่วงให้ได้ตามความต้องการของตลาด

แนวความรู้เรื่องการทำมะม่วงนอกฤดูส่งออก คุณบุญส่วนไม่หวงสูตร พร้อมให้ความรู้กับผู้สนใจ แวะไปดูความสำเร็จได้ที่ หมู่ที่ 4 บ้านสว่างพัฒนา ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น หรือโทรศัพท์พูดคุยกับคุณบุญส่วน แก้วไพฑูรย์ ได้ที่ (089) 623-4020

ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เป็นลิ้นจี่ที่คัดเลือกและพัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร จนปัจจุบันเป็นผลไม้และเป็นสินค้า GI ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครพนม ข้อมูลปี 2560 มีผลผลิตรวม 580.8 ตัน พื้นที่เก็บเกี่ยว 1,098 ไร่ จากพื้นที่ปลูกทั้งหมด 2,711 ไร่ ซึ่งพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ปลูกในภาคกลางและภาคอื่น ๆ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นที่ไม่เย็นมากและระยะเวลาหนาวเย็นที่ต่อเนื่องกันไม่นานก็สามารถชักนำให้ออกดอกได้ เรียกว่า ลิ้นจี่กลุ่มพันธุ์เบา เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงปลายเดือนมีนาคมหรือเมษายน เช่น พันธุ์ค่อม สำเภาแก้ว เขียวหวาน กระโถนท้องพระโรง สาแหรกทอง และพันธุ์นครพนม 1 เป็นต้น
กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกทางภาคเหนือ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นมากและต่อเนื่องยาวนานในการกระตุ้นและชักนำการออกดอก ให้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เช่น พันธุ์ฮงฮวย จักรพรรดิ์ กิมเจ็งบริวสเตอร์ และกิมจี๊ เป็นต้น
ลิ้นจี่พันธุ์เบามีข้อได้เปรียบ คือ ให้ผลผลิตเร็ว ช่วงที่ผลผลิตมีน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง ควรจะมีการส่งเสริมให้ปลูกในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งพันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 เหมาะสมกับสภาพอากาศของจังหวัดนครพนมและหลายจังหวัดในภูมิภาคนี้

นักวิชาการคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์จนได้พันธุ์ นพ.1

คุณนิยม ไข่มุกข์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ปัจจุบันรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จังหวัดนครพนมมีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตผลไม้หลายชนิด สถานีทดลองพืชสวนนครพนม คุณปรีชา เชยชุ่ม อดีตหัวหน้าสถานีในสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร เป็นผู้เริ่มพัฒนาพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ และมีนักวิชาการเกษตรคือ คุณชำนาญ กสิบาล เป็นผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม

คุณปรีชา เชยชุ่ม ได้จัดทำโครงการพัฒนาและคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ผลใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีศักยภาพทางการตลาดสูง เห็นว่าลิ้นจี่เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ติดแม่น้ำโขงมีดินอุดมสมบูรณ์และมีสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนช่วงปลายฤดูฝนน้อย ไม่เกิน 60-80 มม. และมีอุณหภูมิในเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ต่ำสุดน้อยกว่า 20 องศาเซลเซียส

คุณนิยม กล่าวต่อไปว่าในช่วงปี 2528-2533 สถานีทดลองพืชสวนนครพนม ได้ทดลองนำลิ้นจี่พันธุ์กลุ่มพันธุ์ภาคกลางและกลุ่มพันธุ์ทางภาคเหนือมาทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ฯ ปรากฎว่าลิ้นจี่พันธุ์ค่อมให้ผลดี แต่ผลมีขนาดเล็กและมีรสฝาดปน ส่วนกลุ่มพันธุ์ภาคเหนือได้แก่พันธุ์ฮงฮวยและกิมจี๊ ให้ผลผลิตเฉพาะในปีที่อากาศหนาวเย็นมากและหนาวเย็นนาน ต้องคอยควั่นกิ่งเพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอกร่วมด้วย ประกอบกับผลผลิตออกช้า คือประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับลิ้นจี่ภาคเหนือออกสู่ตลาดทำให้ราคาตกต่ำ และยังมีปัญหาเปลือกผลแห้งมีสีน้ำตาลและผลแตก เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม

ในช่วงปี 2533-2535 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม ได้คัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่จนประสบความสำเร็จ และในที่สุดศูนย์ฯ ก็ได้ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 หรือ นพ.1 ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพราะลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นไม่มากและไม่ยาวนานในการกระตุ้นการออกดอกต่างจากพันธุ์อื่นที่ปลูกในประเทศไทย

“ลักษณะที่โดดเด่นของลิ้นจี่ นพ.1 คือ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลใหญ่ เนื้อแห้ง ไม่เละ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนเมษายนของทุกปี ทำให้จำหน่ายได้ในราคาดี และไม่มีปัญหาด้านการตลาด”

ผลิตต้นพันธุ์ให้เกษตรกรไปปลูก

คุณนิยม เล่าว่า เมื่อศูนย์ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์จนได้ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ขึ้นมาแล้ว จึงได้ผลิตต้นพันธุ์กระจายไปให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่สนใจนำไปปลูกต่อ ๆ กันไป จากเดิมที่จังหวัดนครพนมไม่เคยมีการปลูกลิ้นจี่มาก่อนเลย เรียกได้ว่า ชาวบ้านไม่รู้จักผลไม้ลิ้นจี่ด้วยซ้ำ ศูนย์ฯ ได้เผยแพร่ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ออกไปจนมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีเพาะปลูก 2542/43 หลังจากแนะนำพันธุ์ไป 5 ปี พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 608 ไร่ ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 28 ตัน พื้นที่เก็บเกี่ยว 368 ไร่ ผลผลิต 28 ตัน เฉลี่ยรวม 77 กก./ไร่ ต่อมาในปี 2552/53 พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 822 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 381 ไร่ ผลผลิตรวม 368 ตัน อย่างไรก็ตามศูนย์ฯ ยังเห็นว่าผลผลิตที่เกษตรกรได้รับยังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับศักยภาพของพันธุ์ คือ ต้นแม่พันธุ์ให้ผลผลิต 68-102 กก.ต่อต้น หรือโดยเฉลี่ยเท่ากับ 81.3 กก.ต่อต้นเท่านั้น นอกจากผลผลิตต่ำแล้ว การออกดอกติดผลมีความแปรปรวน การร่วงของดอกและผลในระยะผลเล็กค่อนข้างสูง แล้วยังพบปัญหาแมลงศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผล ผลผลิตเก็บรักษาไว้ไม่ได้นาน คุณภาพผลผลิตเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นข้อจำกัดในการขนส่ง

เริ่มศึกษาหาแนวทางการพัฒนาเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

เนื่องจากเห็นว่าผลผลิตมีความแปรปรวนสูง คือให้ผลผลิตเป็นบางต้นหรือบางกิ่งในต้นเดียวกันและการติดผลน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการผลิตลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ให้กับเกษตรกรที่นำไปปลูกและพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคือให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและคุณภาพดีขึ้นด้วย

คุณนิยม เล่าต่อว่า ในปี 2554-2556 ได้ทำการทดสอบและพัฒนาการให้ปุ๋ย เราได้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คือ เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ด้วยการตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์มูลสัตว์อัตรา 20-30 กก.ต่อต้น ปุ๋ยเคมี 15-15-15 + 46-0-0 สัดส่วน 1: 1 โดยน้ำหนัก อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น บำรุงต้นสูตร 15-15-15 + 46-0-0 + 0-0-60 สัดส่วน 1: 1 : 1 โดยน้ำหนัก อัตรา 2-3 กก.ต่อต้น

เมื่อแตกใบอ่อนชุดที่ 3 และระยะติดผลเล็ก และใช้สูตร 13-13-21 อัตรา2-3 กก.ต่อต้นก่อนการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์เพื่อบำรุงผล ให้น้ำ 200-300 ลิตรต่อต้นต่อสัปดาห์ ในระยะออกดอกและติดผลต้องป้องกันกำจัดศัตรูลิ้นจี่ตามคำแนะนำปรากฏว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักผลและเปอร์เซ็นต์เนื้อเพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ ความหวานเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ จากการทดสอบและพัฒนาการให้ปุ๋ยดังกล่าว ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,260 กก.ต่อไร่ จำนวนผลต่อช่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 14

ต่อมาในปี 2557-2559 ศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์การออกดอกติดผล เนื่องจากสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง พบว่าถ้าอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสยาวนานต่อเนื่องกันประมาณ 12 สัปดาห์ มีผลให้สัดส่วนต้นที่ออกดอกสูงถึงร้อยละ 98 แต่ถ้าอุณหภูมิหนาวเย็นต่อเนื่องกันไม่นาน จะทำให้ออกดอกน้อย โดยเฉพาะในช่วงที่มีใบแก่จัดในช่วงพักตัวก่อนออกดอก เกษตรกรจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยเตรียมดินให้ลิ้นจี่มีใบแก่พร้อมกันในช่วงพักตัว คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ก็จะทำให้ลิ้นจี่ออกดอก เมื่อได้รับสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงดังกล่าว

ในปี 2559-2560 ศูนย์ฯ ทำการทดสอบการตัดแต่งกิ่งรวมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พบว่า ในปีที่ 1 การตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม โดยตัดเปิดกลางทรงพุ่มและตัดกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ออกอย่างน้อยร้อยละ 30 ของกิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด และหลังฤดูฝนช่วงเดือนตุลาคม ตัดแต่งกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มที่ไม่เหมาะสมออกเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งโดยตัดแต่งเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของกิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อให้แดดส่องกลางทรงพุ่ม ในปีที่ 2 และปีที่ 3 หลังเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ซ้อนกันออกอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ และหลังฤดูฝนช่วงเดือนตุลาคมตัดกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งโดยตัดแต่งเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของกิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด

จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง/ปี ครั้งที่ 1 ใส่บำรุงต้น ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 1 กก. ต่อต้น ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ครั้งที่สอง ระยะก่อนออกดอก 1-2 เดือนใส่ปุ๋ย 8-24-24 ถ้าดินมีฟอสฟอรัสต่ำอัตรา 1 กก.ต่อต้น ครั้งที่สาม ระยะบำรุงผลใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 1.5 กก.ต่อต้น ถ้าฟอสฟอรัสต่ำ และปุ๋ย 0-0-50 อัตรา 0.5 กก.ต่อต้นถ้าโพแตสเซียมต่ำ และครั้งที่สี่ ระยะปรับปรุงคุณภาพของผลคือก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-50 อัตรา 1 กก.ต่อต้นถ้าโพแตสเซียมต่ำ

จากการศึกษาวิจัยการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้สัดส่วนของต้นที่ออกดอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 คุณนิยม รักษาการ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม กล่าวว่า ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ยังมีปัญหาเรื่องหนอนเจาะขั้วผล เกษตรกรจึงไม่ค่อยมีความรู้ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะขั้วผล ดังนั้นจึงต้องหาวิธีป้องกันกำจัดหนอนในขณะที่ผลยังเล็ก เมื่อพบการทำลายมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ โดยนับสัปดาห์ละครั้งหลังติดผล 2 สัปดาห์ขึ้นไป ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงคาร์บาริล 85 % WP อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซฟลูทริน 5 % อีซี อัตรา 5 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และในระยะผลโตหรือลิ้นจี่เริ่มเปลี่ยนสีหรือประมาณสัปดาห์ที่ 6-7 พ่นด้วยปิโตรเลียมออยล์ 83.9 % อีซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ศึกษายืดอายุและการเก็บเกี่ยวเพื่อวางตลาด

คุณนิยม ยังกล่าวอีกด้วยว่า ศูนย์ฯ มีเป้าหมายที่จะให้ลิ้นจี่พันธุ์ นพ. 1 ได้วางตลาดจำหน่ายไปยังตลาดต่างจังหวัดและต่างประเทศ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเก็บรักษาและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ได้ใช้วิธีแช่กรดเกลือ (HCL) เข้มข้น 5 % นาน 5 นาที การแช่กรดเกลือ (HCL) เข้มข้น 3 % + โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ (SMS) เข้มข้น 1 % นาน 10 นาที และการแช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 0-3 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเย็น 5 องศาเซลเซรยส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 % จะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิต ลิ้นจี่ได้นาน 30 วัน และลดการเปลี่ยนสีของเปลือกจากสีแดงเป็นสีแดงคล้ำจนเป็นสีน้ำตาลได้ตลอดอายุการเก็บรักษาผลผลิตที่อุณหภูมิห้องเย็น 5 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 % เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องปกติ

จัดทำชั้นมาตรฐานคุณภาพลิ้นจี่ นพ.1 เพื่อการส่งออก

คุณนิยม บอกว่า ศูนย์ฯ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและเผยแพร่ผลงานการปลูกและการดูแลรักษาซึ่งเป็นผลงานวิจัยออกไปหลายรูปแบบ จนทำให้มีผู้สนใจปลูกลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 เพิ่มขึ้น จังหวัดนครพนมได้ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ที่ปลูกลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 เพื่อการส่งออกในปีงบประมาณ 2559-2560 มีเกษตรกรถึง 1,200 ราย พื้นที่ปลูก 1,200 ไร่ มีลิ้นจี่ 30,000 ต้น

เนื่องจากลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ได้มีการจำหน่ายทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด และได้มีการส่งออกไปจนถึงต่างประเทศ ดังนั้น ศูนย์ฯ จึงได้จัดทำมาตรฐานสำหรับลิ้นจี่ นพ.1 ขึ้น โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน โดย มกอช. เพื่อใช้กำหนดมาตรฐานในการจำหน่ายและส่งออก

คุณนิยม อธิบายว่า ลิ้นจี่ที่บริโภคสด แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ ชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง ชั้นพิเศษ ขนาดผลต้องไม่น้อยกว่า 38 มิลลิเมตร ชั้นหนึ่ง ขนาดผลต้องไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร ผิวผลมีตำหนิได้ไม่เกิน 0.25 ตร.ซม. ชั้นสอง ขนาดผลต้องไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร ผิวผลมีตำหนิได้ไม่เกิน 0.5 ตร.ซม. ซึ่งสามารถใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงเพื่อการส่งออก

อย่างไรก็ตามผลลิ้นจี่ต้องผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวและการดูแลภายหลังการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้คุณภาพที่เหมาะสมกับพันธุ์และแหล่งผลิต ผลลิ้นจี่ต้องแก่ เปลือกผลมีสีแดงหรือแดงเข้ม ในกรณีที่ไม่มีการรมด้วยซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซต์ ผลต้องอยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง

ก.พาณิชย์รับขึ้นทะเบียนลิ้นจี่ นพ.1 เป็นผลไม้ GI ของชาวนครพนม

คุณนิยม ไขมุกข์ รักษาการ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม บอกว่า การศึกษาวิจัยการพัฒนาลิ้นจี่จากที่ไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่งเป็นลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียง นพ.1 จนได้รับการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อปี 2556 เป็นผลไม้ GI เงินล้านของจังหวัดนครพนม และปี 2560 ได้รับการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ และการประชาสัมพันธ์ผลไม้ GI จากมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน

“เรามีทีมงานวิจัยซึ่งเป็นอดีต ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนมเป็นผู้ริเริ่มและมีนักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษและนักวิชาการผู้ร่วมงานรวม 6 คน ได้แก่ นายปรีชา เชยชุ่ม นายชำนาญ กสิบาล น.ส.ชูศรี คำลี นางนิยม ไข่มุกข์ นายมะนิต สารุณา และนายปัญจพล สิริสุวรรณมา ใช้เวลาศึกษาวิจัยตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ ในปี 2533-2535 และการพัฒนาการผลิตจนถึงการจัดการผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว ในปี 2552-2560 รวมเป็นเวลาถึง 12 ปี ผลงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างมาก สามารถสร้างอาชีพและรายได้เป็นกอบเป็นกำแก่เกษตรกรชาวนครพนม ทั้งจำหน่ายผลผลิตและต้นพันธุ์ ซึ่งมาจากผลงานวิจัยของนักวิชาการเกษตร ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม”

ปัจจุบันลิ้นจี่ นพ.1 เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม ซึ่งต้องการผลผลิตปีละ 500-1,000 ตัน แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอ ซึ่งจากข้อมูลของด่านตรวจพืชนครพนมมีการส่งออกลิ้นจี่ นพ.1 ช่วงระหว่างวันที่ 11-25 เมษายน 2557 จำนวนมากถึง 240 ตัน มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท คุณนิยม กล่าวอย่างภาคภูมิใจที่ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 เป็นผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครพนม

ผู้สนใจเกี่ยวกับพันธุ์ ลิ้นจี่ นพ.1 การปลูกการเพิ่มผลผลิตและการดูแลรักษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จ.ขอนแก่น โทรศัพท์/โทรสาร 0 4253 2586

ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เป็นแหล่งผลิตขมิ้นคุณภาพดีอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดตรัง และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สำรวจพบว่า ขมิ้นที่ปลูกในพื้นที่ตำบลถ้ำทองหลาง มีสีเหลืองเข้มของสารเคอร์คิวมิน มากกว่าขมิ้นที่ปลูกในแหล่งอื่น ถึง 5 เท่าตัว ซึ่งสาร “เคอร์คิวมิน” มีสรรพคุณ ต่อต้านไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอดส์ มะเร็ง โรคเรื้อน ป้องกันการแข็งตัวของเม็ดเลือด ใช้รักษาแผลพุพอง ผื่นคัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฯลฯ

ตำบลถ้ำทองหลาง Royal Online V2 นับเป็นทำเลทองของการปลูกขมิ้นคุณภาพดีแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากผืนดินแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ดินมีแร่ธาตุอาหารสูง โดยเฉพาะบริเวณที่ราบเชิงเขา ผนวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านจากรุ่นสู่รุ่น ในด้านการปลูกดูแลขมิ้น ผสมผสานกับเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้ขมิ้นตำบลถ้ำทองหลาง มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ มีสีสันสวยงาม รวมทั้งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.)

ชาวบ้านในตำบลถ้ำทองหลาง เริ่มต้นปลูกขมิ้นเป็นพืชเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2514 โดย คุณหีบ เพิ่มทรัพย์ เป็นคนแรกที่นำขมิ้นมาทดลองปลูกในหมู่บ้าน ปรากฏว่าต้นขมิ้นเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เพราะปลูกในเนื้อดินสีแดง ทำให้หัวขมิ้นมีสีเหลืองเข้ม มีสีสวยมากกว่าปกติ จึงเป็นที่นิยมของตลาดในวงกว้าง และมีขยายพื้นที่ปลูกขมิ้นไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีสภาพดินสีแดงเช่นเดียวกัน

ในระยะแรก ชาวบ้านปลูกขมิ้นและนำออกขายในลักษณะขมิ้นสดเป็นหลัก ปรากฏว่าได้ผลกำไรน้อย และมีข้อจำกัดในเรื่องอายุการขาย ช่วงปี 2526 เกษตรกรผู้ปลูกขมิ้น อำเภอทับปุด ประสบปัญหาราคาขมิ้นตกต่ำ จากที่เคยขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท เหลือแค่ 4 บาท ต่อกิโลกรัม ดังนั้น ชาวบ้านเขาตำหนอนจึงได้รวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาตำหนอน” เพื่อแปรรูปผลผลิตจากขมิ้นผงด้วยครก ต่อมาได้พัฒนาครกกระเดื่องถีบด้วยแรงคนเพื่อทุ่นแรง ต่อมาปี 2542 รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนโรงเรือนและเครื่องบดขมิ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐานสากลมากขึ้น

สำนักงานเกษตรอำเภอทับปุด สภาเกษตรกรจังหวัดพังงา สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์จังหวัดพังงา ฯลฯ ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ เงินทุน และอุปกรณ์ต่างๆ ให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาตำหนอนพัฒนาต่อยอดสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นในลักษณะ ข้าวเกรียบขมิ้น ขมิ้นแคปซูล สบู่สมุนไพร ข้าวเกรียบกุ้งผสมขมิ้น รวมทั้งพริกแกงนานาชนิด ทั้งแกงเหลือง แกงไก่ แกงกะทิ แกงไตปลา เป็นต้น

ปัจจุบันสินค้าชุมชนแห่งนี้ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว สร้างชื่อเสียงและรายได้เข้าสู่จังหวัดพังงา ปีละกว่า 20 ล้านบาท ทางกลุ่มจะปันผลให้สมาชิกทุกสิ้นปีในเดือนธันวาคม และหักรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับบริหารจัดการกลุ่มและดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ 5% แต่ละปี สมาชิกจะมีรายได้ประมาณ 50,000-60,000 บาท