หลังจากแวะเวียนชื่นชมให้กำลังใจสมาชิกกลุ่มสหกรณ์เกษตรฯ

กันทุกรายแล้ว ยังได้รับคำยืนยันจากผู้ปลูกทุกรายว่า เน้นไปที่เรื่องปลอดสารเคมี เพราะหากใช้ราคาจะไม่ดี ขายได้ราคาต่ำ จึงยืนยันว่าแตงโมที่นี่เน้นการไม่ใช้สารเคมี จากนั้นจึงได้เดินทางไปที่ บ้านเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นพื้นที่เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์การเกษตรผสมผสาน (สมาชิกสมทบ) และไปที่แปลงของ คุณวิพัฒน์ บุพศิริ อายุ 53 ปี

ที่นี่เกษตรกรปลูกแตงโมลอยฟ้า บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สมาชิกสมทบสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด เล่าว่า ยึดอาชีพปลูกแตงโมควบคู่กับการทำนามากว่า 30 ปี ปลูกตั้งแต่อายุ 23 ปี และแต่งงาน จนมีลูกเรียนหนังสือจบ จนสอบเป็นข้าราชการครู ก็ยังปลูกแตงโม และพัฒนามาสู่การปลูกแตงเมล่อน ทุกวันนี้ปลูกแตงโมอินทรีย์ เพราะตลาดต้องการมากว่า แม้ราคาต้นทุนจะดูสูงบ้าง แต่ก็ปลอดภัย เพราะเป็นแตงโมลอยฟ้า ทำให้ปลอดสาร ง่ายกว่าปลูกในพื้นดิน

คุณวิพัฒน์ บอกว่า ในพื้นที่จะทำโรงเรือนปลูกแตงโมลอยฟ้าอินทรีย์ 4 โรงเรือน โรงเรือนละประมาณ 250 หลุม การปลูกก็อาศัยความชำนาญจากการปลูกมาตลอด และการสร้างโรงเรือนจะทำแบบแปลงเมล่อน เพราะแตงโมเมื่อเริ่มจะต่อยอดยาวเลื้อย ก็จะแต่งให้เลื้อยขึ้นไปบนแผงที่ทำไว้ข้างๆ เมื่อออกดอกและผล จะเลือกผลสมบูรณ์ที่สุดไว้ โดยแรงงานก็เป็นแม่บ้าน 2 คน ช่วยกัน แต่หากเมื่อเป็นวันหยุด ลูกชายที่เป็นข้าราชการครูก็จะมาช่วยเพราะทุกคนทำได้ และมีความเชี่ยวชาญระดับที่ดีพอสมควร สามารถแทนตนเองได้

“ช่วงนี้ผลผลิตที่ได้หักต้นทุนแล้ว จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณเดือนละ 50,000 บาท หรือ 100,000 บาท/2 เดือน โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะอยู่ต่างจังหวัดและมารับเองถึงสวน จากการปลูกแตงโมอินทรีย์ลอยฟ้า มีเกษตรกรสนใจและหันมาปลูกกันมากขึ้น ทั้งเรื่องราคาดี และที่สำคัญปัญหาเรื่องดินไม่มี ลงทุนโรงเรือนครั้งเดียวปลูกได้ตลอดไป ลูกชายที่เป็นข้าราชการบอกรายได้ดีกว่าแน่นอนกว่า และอิสระกว่า พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูก ได้แก่ ตอร์ปิโด โบอิ้งไร้เมล็ด การปลูกแตงโมลอยฟ้าข้อดี ทำโรงเรือนครั้งเดียว ปลูกได้ตลอดไป ไม่ต้องย้ายพื้นที่ และข้อดีอีกอย่างคือ มีพื้นที่ว่างดูแลง่าย สรุปก็คือ ลงทุนสูงเพียงครั้งแรกเท่านั้น” เจ้าของบอก

โดย คุณชาวิช กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจสมาชิก โดยเฉพาะเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด กลุ่มปลูกแตงโม ปีนี้ต่างปลื้มกันถ้วนหน้า เนื่องจากราคาแตงโมอยู่ในระดับที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสามารถมีรายได้สูง บางรายใช้เวลาเพียง 2 เดือน ลงทุนปลูกเพียง 50,000-60,000 บาท แต่ขายได้กว่า 200,000 บาท จึงทำให้สมาชิกกลุ่มปลูกแตงโมสามารถลืมตาอ้าปากได้

สำหรับปีนี้ สมาชิกเกษตรกรที่ปลูกมุ่งเน้นเป็นแตงโมอินทรีย์ที่ปลอดภัย และส่วนใหญ่จะมีราคาดี เพราะตลาดต้องการจำนวนมาก จากการติดตามตลาดแตงโมพบว่า ปีนี้เกษตรกรได้สองเด้ง คือ น้ำท่วมบางจังหวัดและแล้ง ก็ทำให้เกษตรกรปลูกแตงโมบางจังหวัดไม่สามารถปลูกได้

แต่ปัญหาของแตงโมจะอยู่ที่ดิน หมายถึง การปลูกในดิน จะปลูกติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ต้องย้ายแปลง เพราะโรคของแตงโมมีมาก เกษตรกรจึงมักใช้ยาหรือสารเคมี แต่ทางสหกรณ์ฯ เน้นปลอดภัย ไม่มีสารเคมี และส่งเสริมหากเกษตรกรที่ไม่มีแปลงย้ายปลูก ควรปลูกแบบแตงโมลอยฟ้า จะได้ผลและปลอดสารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ และราคาจำหน่ายสูงดี ปลอดภัย

พ่อค้า หรือเกษตรกรท่านใดสนใจอยากติดต่อซื้อ หรือศึกษาการปลูก ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณวิพัฒน์ บุพศิริ โทร. 065-061-0136 ใครๆ ก็อยากมีสนามหญ้าสีเขียวๆ ไว้เพิ่มบรรยากาศความสดชื่น และใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด นั่งเล่น นอนเล่น ในสนามหญ้าหน้าบ้านให้เพลิดเพลินใจ แต่การดูแลสนามหญ้าให้เขียวชอุ่มสวยงามตลอดเวลา ก็ต้องคอยแบ่งเวลาดูแล ให้ปุ๋ย ให้น้ำ ต้นหญ้าในสนามอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นหญ้าเริ่มเขียว ปัญหาที่ตามมาคือ หญ้าจะโต สูงๆ ต่ำๆ ไม่เท่ากัน ตกเป็นภาระหนักของพ่อบ้านหลายรายที่ถูกแม่บ้านชี้นิ้วสั่งให้ตัดหญ้า

หากใครรู้สึกเบื่อ กับการทำงานตัดหญ้า ขอแนะนำให้ลองปลูก “ใบต่างเหรียญ” เป็นไม้สนามแทนต้นหญ้า เพราะประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้าได้อย่างดี เนื่องจาก ต้นใบต่างเหรียญ จะเจริญเติบโตแนบไปกับดิน ทำให้ประหยัดเวลาและพลังงานในการตัดหญ้า “ใบต่างเหรียญ” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัย ในหัวข้อ “จากพืชท้องถิ่น สู่ไม้ประดับ” ของกรมวิชาการเกษตร ที่เผยแพร่สู่สาธารณชน มาตั้งแต่ ปี 2556 เพื่อให้คนไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ของพืชท้องถิ่นในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

“ใบต่างเหรียญ” เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน มีรากตามข้อ ทำให้ยึดเกาะดินได้ดี ใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ขอบเรียบ ดอกสีขาว ออกตามซอกใบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแบ่งจากต้นเดิม ทนแล้งได้ดี เป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นของ “ใบต่างเหรียญ” คือเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ ใบจะช่วยปกป้องไม่ให้น้ำฝนปะทะผิวดินโดยตรง ป้องกันการชะล้างหน้าดินได้ดี ใบไม่ช้ำ หรือเละเมื่อถูกเหยียบย่ำ

หากใครเบื่อดูแลสนามหญ้า ก็อยากเชิญชวนให้หันมาปลูกใบต่างเหรียญแทน เพื่อประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้า และร่วมอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน สำหรับผู้อ่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

กรมวิชาการเกษตร จัดหนัก ลุยปรับปรุงพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์ได้พันธุ์ใหม่ใช้ชื่อพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะเด่นสุดยอดปาดหน้าพันธุ์การค้า ต้นสูงไม่มาก แค่ 128 เซนติเมตร ให้ผลผลผลิตสูงกว่า 24 กิโลกรัม/ต้น แถมเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์การค้าถึง 45 วัน เนื้อหนา สีเนื้อส้มอมแดงเข้มสม่ำเสมอกันทั้งผล ผลทรงกระบอก ช่วยลดความเสียหายจากการขนส่ง

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มะละกอ จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศ ผลมะละกอนอกจากใช้บริโภคสดแล้ว ยังใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปหลายชนิด โดยเฉพาะมะละกอฮอลแลนด์จัดเป็นมะละกอเพื่อรับประทานสุกที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูง ซึ่งราคาซื้อขายในท้องตลาดจะสูงกว่าพันธุ์แขกดำหรือแขกนวล กิโลกรัมละ 10 บาท แต่ปัญหาของมะละกอฮอลแลนด์ คือ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี พันธุ์ราคาแพง พันธุ์ทั่วไปมีความแปรปรวนในพันธุ์สูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและคุณภาพผลผลิตต่ำ

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร จึงได้ปรับปรุงพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์สายพันธุ์แท้ที่ให้ผลผลิตสูงมากกว่าพันธุ์การค้า ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย ผลเป็นทรงกระบอกเพื่อลดความเสียหายจากการขนส่ง เนื้อมีสีส้มแดงสวยงาม และมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและเกษตรกร นอกจากนี้ ยังต้องมีความสม่ำเสมอของพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกในปีต่อไปได้ ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านเมล็ดพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เกษตรกรต่อไป

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2553 ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้รวบรวมพันธุ์มะละกอฮอลแลนด์จาก 7 แหล่ง จำนวน 27 ตัวอย่าง มาปลูกเพื่อคัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรดีตามเกณฑ์การคัดเลือกพันธุ์ เช่น ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย ลำต้นใหญ่ ผลขนาดปานกลาง-ใหญ่ ผลทรงกระบอก สีผิวผลเหลืองและสีเนื้อส้มอมแดง เนื้อหนา หวานหอม โดยคัดเลือกได้ 25 สายพันธุ์ นำไปปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ คัดเลือกได้ 12 สายพันธุ์ และปลูกทดสอบพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ได้ 1 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ ศก. 2-6-12 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูงและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่ามะละกอฮอลแลนด์พันธุ์การค้า ลำต้นใหญ่ ต้นเตี้ย ทรงพุ่มเล็ก และคุณภาพผลผลิตดี โดยได้เสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในปี 2562 ใช้ชื่อว่า “มะละกอฮอลแลนด์พันธุ์ศรีสะเกษ”

“มะละกอฮอลแลนด์พันธุ์ศรีสะเกษ มีลักษณะเด่นคือ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้า โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 24.5 กิโลกรัม ต่อต้น ที่สำคัญคือ ลักษณะต้นเตี้ย ทำให้เก็บเกี่ยวสะดวก ความสูงถึงปลายยอดสูงไม่มาก ลำต้นใหญ่ แข็งแรงและสมดุลที่จะรับน้ำหนักผลผลิตได้มาก ซึ่งปกติมะละกอฮอลแลนด์จะมีจำนวนผลมากกว่ามะละกอพันธุ์อื่น โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 4.7 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังจากปลูก 209 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์การค้า 46 วัน ความหนาเนื้อเฉลี่ย 3.0 เซนติเมตร หนากว่าพันธุ์การค้า และเนื้อมีสีส้มอมแดงเข้มกว่าพันธุ์การค้า โดยสีมีความสม่ำเสมอกันทั้งผล ในปี 2562 ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้จัดทำแปลงแม่พันธุ์เพื่อขยายพันธุ์ ในพื้นที่ 1 ไร่ 300 ต้น ได้เมล็ดพันธุ์หลักไม่น้อยกว่า 8 กิโลกรัม สามารถนำไปปลูกได้ในพื้นที่ประมาณ 70 ไร่” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

“พลังงาน” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคนี้ และนับวันจะมีราคาแพงขึ้น และการใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์จึงเป็นพลังงานทดแทนที่น่าสนใจ เช่น คุณสุภีร์ ดาหาร ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย หมู่ที่ 19 ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

ผู้ใหญ่สุภีร์ เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ทำฟาร์มเห็ดเป็นหลัก โดยผลิตก้อนเชื้อเห็ดหลากหลายชนิดออกจำหน่าย ได้แก่ เห็ดโคนญี่ปุ่น (เห็ดยานางิ) ก้อนละ 12 บาท เห็ดบด เห็ดขอนขาว และเห็ดเป๋าฮื้อ ก้อนละ 8 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม ก้อนละ 7 บาท ส่วนดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 200 บาท เห็ดบด กิโลกรัมละ 100 บาท เห็ดขอนขาวและเห็ดเป๋าฮื้อ กิโลกรัมละ 80 บาท เห็ดนางฟ้า-นางรม กิโลกรัมละ 60 บาท นอกจากนี้ ยังทำกิจกรรมลักษณะไร่นาสวนผสม ได้แก่ ปลูกมะม่วง ไผ่ ชะอม มะละกอ เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ ปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากก้อนเชื้อเห็ด มีรายได้หมุนเวียนตลอดปี

ที่ฟาร์มแห่งนี้ ใช้เป็นที่ทำการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าพระ เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเพาะเห็ด การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งแต่ละเดือนจะมีการจัดอบรมเกษตรกรและเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และยังจัดประกอบอาหารเลี้ยงผู้เข้าอบรมและศึกษาดูงานอีกด้วย ซึ่งต้องใช้ก๊าซในการหุงต้มเดือนละประมาณ 1 ถัง ประกอบกับในการทำก้อนเชื้อเห็ดต้องนึ่งฆ่าเชื้อวันละหลายชั่วโมง หมดก๊าซเดือนละประมาณ 8 ถัง รวม 9 ถัง ต่อเดือน คิดเป็นเงินประมาณ 2,700 บาท

จากปัญหาดังกล่าว จึงคิดจะลดต้นทุนโดยการผลิตก๊าซชีวภาพแบบบอลลูนใช้ในฟาร์ม เนื่องจากทำง่ายและประหยัด มูลค่าวัสดุและค่าก่อสร้างรวมประมาณ 5,500 บาท ทำได้ ดังนี้

การเตรียมสถานที่/ก่อสร้าง

1. เตรียมสถานที่ กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร มุงหลังคาด้วยตาข่ายพรางแสง (ซาแรน)

2. ขุดหลุม ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร นำดินที่ขุดขึ้นมาทำเป็นคันดินรอบขอบบ่อ 3. นำถุงพลาสติกสีดำขนาดใหญ่วางลงหลุมในแนวนอนตามความยาวของหลุม ด้านปากถุงเป็นทางเข้าของมูลสัตว์หรือวัสดุหมัก โดยทำถังซีเมนต์ต่อกับท่อพีวีซี มัดปากถุงให้แน่นสนิท ส่วนด้านก้นถุงต่อท่อพีวีซีมัดกับถุงดำ พร้อมกับขุดหลุมฝังท่อซีเมนต์เพื่อรองรับมูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้ว ซึ่งเมื่อวางถังหมักแบบบอลลูนแล้วจะเห็นถุงดำหรือถังหมักโผล่พ้นดิน ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนด้านบนของถังหมักให้เจาะรูแล้วใส่ท่อเพื่อลำเลียงก๊าซไปยังครัวหรือสถานที่ที่จะหุงต้ม

การปฏิบัติและการใช้งาน

1. เติมมูลสัตว์ครั้งแรกประมาณ 1,000 ก.ก. โดยผสมน้ำอัตราเท่าๆ กัน ใส่ลงในท่อซีเมนต์ ซึ่งมูลสัตว์จะไหลลงถังหมัก ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ก็เกิดก๊าซ สามารถใช้หุงต้มได้

2. หลังจากนั้น ให้เติมมูลสัตว์ 2 วัน/ครั้ง ครั้งละ 1 ถังสี โดยผสมน้ำเท่ากันเทลงในถัง หรือหากไม่มีมูลสัตว์ก็ใช้เศษอาหารที่เหลือจากการประกอบเลี้ยงผู้เข้าอบรมก็ได้ โดยผสมน้ำ อัตรา 1:1 คนให้เข้ากันแล้วเทใส่ลงไป

การปรับใช้กับการนึ่งก้อนเชื้อเห็ด จะต้องนึ่งประมาณ 3 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกจะใช้ก๊าซถัง เพราะต้องใช้กำลังไฟค่อนข้างสูง แต่หลังจากอุณหภูมิได้ที่แล้ว (ประมาณ 90 องศาเซลเซียส) ปรับมาใช้ก๊าซชีวภาพแทน

ท่านใดสนใจอยากจะเยี่ยมชมผลงานหรือสอบถามการเพาะเห็ด หรือการผลิตก๊าซชีวภาพ ติดต่อได้ที่ คุณสุภีร์ ดาหาร โทร. 081-975-2612, 043-261-835 ด้วยคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ทำให้ “มะเขือเทศ” เป็นพืชไม้ผลที่เข้าไปอยู่ในหลายเมนูอาหาร ในทั่วทุกมุมโลก แล้วนิยมบริโภคมะเขือเทศกันแบบสด ทั้งนี้ มักให้ความสำคัญกับมะเขือเทศที่ปลอดภัยจากสารเคมีกันมาก

คุณสรายุทธ เย็นตั้ง หรือ คุณสตีฟ ชาวเมืองอุทัยธานีที่ยึดอาชีพปลูกมะเขือเทศพันธุ์ต่างประเทศด้วยการจัดการแบบอินทรีย์ในโรงเรือนสร้างคุณภาพผลผลิตที่สมบูรณ์ เพื่อลูกค้าจะได้บริโภคแต่สิ่งที่ปลอดภัยช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

คุณสตีฟร่ำเรียนมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หลังจากจบการศึกษาออกมารับงานออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองจนถึงปัจจุบัน แล้วเปิดร้านขายกาแฟร่วมกับแฟนที่อำเภอทัพทัน

ความไม่ตั้งใจเข้าสู่วงการเกษตรทั้งที่ตัวเองร่ำเรียนมาสายออกแบบได้เกิดขึ้นเมื่อร้านขายกาแฟและเครื่องดื่มที่ตั้งขายอยู่ภายในบริเวณศูนย์อบรมการเกษตรที่อำเภอทัพทัน ทำให้คุณสตีฟมีโอกาสไปช่วยกิจกรรมทางการเกษตรที่จัดขึ้นภายในศูนย์หลายกิจกรรม จนกระทั่งเกิดการซึมซับความรู้ วิธี และเทคนิคหลายอย่างจนเรียนว่าเกิดความชำนาญระดับหนึ่ง

อีกทั้งยังได้มีโอกาสโชว์ฝีมือการปลูกเมล่อนในโรงเรือนจนประสบความสำเร็จแล้วรู้สึกถึงความชอบและสนุก จึงพบว่าตัวเองน่าจะร่ำเรียนมาทางสายเกษตรมากกว่า พร้อมกับชี้ว่ามะเขือเทศเป็นไม้ผลที่ปลูกและดูแลไม่ยาก เพียงแต่ต้องเอาใจใส่เช่นเดียวกับการปลูกพืชทำเกษตรกรรมอื่นๆ

“เมื่อคราวที่ได้ไปช่วยงานในศูนย์เกษตร สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการคัดเลือกพันธุ์ การใช้วัสดุปลูก การจัดสถานที่ปลูก ระบบการให้ปุ๋ย/น้ำ ขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความชอบมากขึ้นจึงพยายามหาข้อมูลในสิ่งใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีและวิทยาการด้านการเกษตรอื่นๆ จากทั้งในและต่างประเทศ”

ระหว่างพักแปลงเมล่อน คุณสตีฟได้เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศมา จึงลองเพาะปลูกตามแนวทางที่มีความรู้เรื่องเมล่อน จนประสบความสำเร็จ มะเขือเทศมีการเจริญเติบโต ออกผลผลิตอย่างมีคุณภาพ

ความจริงแล้วคุณสตีฟไม่ชอบมะเขือเทศ แต่เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องชิมรสชาติอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เขารู้สึกว่ามะเขือเทศพันธุ์แอปริคอตดรีมที่ปลูกอยู่มีรสหวานอร่อย ต่างจากรสชาติและกลิ่นมะเขือเทศที่เขาเคยพบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทัศนคติต่อมะเขือเทศของคุณสตีฟเปลี่ยนไป

พันธุ์มะเขือเทศที่คุณสตีฟนำมาปลูกคือแอปริคอตดรีม เป็นสายพันธุ์ในตระกูลเชอร์รี่ จึงมีรสหวานต่างจากมะเขือเทศในบ้านเรา ส่วนเหตุผลที่เลือกปลูกพันธุ์นี้เพราะไม่ต้องการซ้ำกับใคร อีกทั้งตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน มะเขือเทศพันธุ์นี้มีจุดเด่นในเรื่องรสชาติเพราะมีความหวาน กรอบ ขนาดผลปานกลาง (ประมาณนิ้วโป้ง)

“เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแอปริคอตดรีม ต้องไปซื้อที่ภูเรือ เนื่องจากเป็นพันธุ์พืชเมืองหนาวและสั่งนำเข้าจากต่างประเทศพร้อมกับเป็นเมล็ดพันธุ์ที่รับรองคุณภาพมาตรฐานที่มีอัตรารอดสูงถึงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 400-500 เมล็ด ต่อโรงเรือน”

เมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาแล้วให้นำมาเพาะในหลุมปลูกที่มีพีทมอสส์เป็นวัสดุปลูก ให้รดน้ำแบบสเปร์ย ใช้เวลาประมาณ 3-5 วันใบอ่อนจะแตก ซึ่งระหว่างรอการเจริญเติบโตของต้นกล้าจะต้องใส่ใจเรื่องสภาพอากาศทั้งฝนและแดด ทั้งนี้ ถาดเพาะต้นกล้าจะต้องวางไว้ในที่ร่ม มีแดดอ่อนๆ แล้วถ้าเป็นหน้าฝนต้องไม่ให้โดนน้ำฝนเพราะจะทำให้ยากต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์

จากนั้นใช้เวลาประมาณ 25 วัน หรือสังเกตใบจริงที่มีจำนวน 3-5 ใบ จึงย้ายเข้าไปปลูกในโรงเรือนขนาดโรงเรือน 12 คูณ 16 เมตร แล้วเปลี่ยนมาปลูกในถุงพลาสติกดำขนาด 8×16 นิ้ว ในถุงปลูกประกอบด้วยส่วนผสม ได้แก่ ดิน 1 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1/2 ส่วน และเศษใบไม้ตามธรรมชาติอีก 1/2 ส่วน ทั้งนี้ คุณสตีฟชี้ว่าไม่ควรใส่ดินมากกว่าวัสดุอื่น เนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีคุณภาพดินต่างกัน

ในแต่ละโรงเรือนสามารถวางต้นมะเขือเทศได้ 4-5 แถว มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม เหตุผลการปลูกมะเขือเทศในถุงพลาสติกเนื่องจากเป็นพืชต้องการน้ำน้อย ขณะเดียวกัน การปลูกในถุงช่วยให้ควบคุม/จัดการเรื่องโรคและแมลงได้ง่าย ทั้งนี้ แมลงศัตรูที่พบบ่อยคือหนอนกินใบ หนอนกระทู้ หรือหนอนสมอฝ้าย รวมถึงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ที่ติดมาในช่วงที่เพาะต้นกล้า ส่วนโรคไม่ค่อยพบเพราะมีการวางแผนบริหารจัดการภายในโรงเรือนเป็นอย่างดี

ภายในโรงเรือนมีระบบน้ำที่ติดตั้งแบบสายน้ำหยด ช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโตจะให้น้ำในปริมาณมากเพื่อต้องการให้มะเขือเทศแข็งแรง พร้อมกับผสมปุ๋ยหมักอินทรีย์จากพืชที่มีธาตุอาหารสำคัญ โดยให้ปุ๋ยทางดินและใบทุก 3 วัน แล้วยังเสริมด้วยกรดอะมิโนด้วย

มะเขือเทศจะเริ่มให้ผลผลิตประมาณ 30-45 วัน โดยหลังจากปลูกในโรงเรือนประมาณ 30 วันจะเริ่มมีดอกช่อแรก แต่ยังไม่ติดผลดีนัก จนเมื่อช่อดอกที่ออกตามมาจึงจะเริ่มให้ผลผลิตจริงจัง แล้วเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสมบูรณ์ คุณสตีฟจะเก็บไว้ช่อละประมาณ 10-12 ผล

คุณสตีฟ ชี้ว่า การปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนแม้ต้องลงทุน แต่เป็นการลงทุนเพียงครั้งแรก จากนั้นทุนในรุ่นต่อๆ ไปที่ต้องใช้มีเพียงค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ทั้งนี้ การปลูกในโรงเรือนมีข้อดีคือสามารถควบคุมจัดการเรื่องแมลง/โรค เรื่องแสง อากาศ และป้องกันน้ำจากน้ำค้างหรือน้ำฝนตามธรรมชาติ ที่สำคัญสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ผลผลิตมะเขือเทศมีคุณภาพสูง ได้ขนาด มีผิวสวย รสหวาน อีกทั้งไม่ได้ใช้สารเคมีจึงปลอดภัย จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดแล้วมีราคาสูง

การปลูกมะเขือเทศแต่ละรอบตั้งแต่เพาะเมล็ดจนเก็บผลผลิตหมดใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยผลผลิตต่อต้นได้ประมาณ 1-2 กิโลกรัม หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นสุดท้ายแล้วจะจัดการรื้อแปลงออกแล้วพักโรงเรือนประมาณ 15 วันเพื่อเริ่มปลูกรอบต่อไป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผลผลิตมะเขือเทศออกสู่ตลาดได้ต่อเนื่องและมีคุณภาพ คุณสตีฟจำเป็นต้องวางแผนการปลูกด้วยการปลูกแต่ละรุ่นห่างกันประมาณ 1 เดือน

จากผลผลิตชุดแรกที่เริ่มปลูกจะนำออกขายให้แก่ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงก่อน เพราะมองว่าหากสินค้าดีมีคุณภาพ ลูกค้าที่อยู่ใกล้ตัวจะแพร่กระจายข้อมูลออกไปสู่ภายนอกเอง แล้วในที่สุดแนวความคิดนี้มาถูกทางเพราะมีความสนใจจากลูกค้าในชุมชนอย่างมาก บางรายนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่งเพราะชิมแล้วอร่อย แถมยังปลอดภัย เลยแนะนำให้คนอื่นๆ รับประทาน

จนท้ายที่สุดก็นำไปสู่การขยายตลาดที่กว้าง สมัครเว็บพนันออนไลน์ ขณะเดียวกัน ยังได้นำสินค้าไปออกขายตามงานแสดงต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการโปรโมตสินค้าด้วย โดยกำหนดราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาท (จำนวน 50 ผล) ส่วนแบบแพ็กกล่องขายมี 2 ขนาด คือ ขนาด 300 กรัม ราคา 40 บาท กับขนาด 1,000 กรัม ราคา 100 บาท

คุณสตีฟ บอกว่า สำหรับท่านที่ต้องการปลูกมะเขือเทศไว้รับประทานเองแล้วไม่มีพื้นที่มากนักก็อาจทดลองปลูกในถุงสัก 10-20 ต้นก่อน การเตรียมพื้นที่ก็ไม่ต้องยุ่งยาก ปรับวิธีและวัสดุเอาตามสภาพที่อยู่เป็นหลัก เพราะมะเขือเทศปลูกไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องสร้างวินัยตัวเองก่อน หมั่นเอาใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งเรื่องน้ำปุ๋ยและโรค/แมลง

“ขณะเดียวกัน ควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้วรีบหาทางแก้ไขให้เหมาะสมเท่านี้คุณและครอบครัวก็สามารถมีมะเขือเทศที่อร่อยแล้วยังปลอดภัยไว้รับประทานเองที่บ้าน”

คุณสตีฟแม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางสายเกษตร แต่กลับมาใช้ชีวิตสร้างรายได้กับงานเกษตรแล้วเกิดความนิยมชมชอบในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจมาก่อน จึงนับเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญของภาคเกษตรกรรมในจังหวัดอุทัยธานีเลยเชียว

สอบถามรายละเอียดหรือแวะชิมมะเขือเทศอินทรีย์พันธุ์แอปริคอตดรีม แบรนด์ “กินดี ฟาร์ม” ได้ที่ คุณสรายุทธ เย็นตั้ง หรือ คุณสตีฟ บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 3 ตำบลเนินแจง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โทรศัพท์ (089) 640-2291 Fb : Sarayut Yentang

เกษตรกรชาวสวนอย่าหลงเชื่อบุคคลแอบอ้างรู้จักกับผู้สื่อข่าวเพื่อโอนเงินหรือส่งของ หากสงสัยโปรดติดต่อสอบถามมาก่อนได้ที่ กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน โทรศัพท์ (02) 589-0020 ต่อ กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน

การปลูกผักไว้รับประทานเองภายในบ้านไม่ใช่เรื่องยาก แม้ในบริเวณบ้านมีพื้นที่ไม่มากหรือไม่มีพื้นที่ที่เป็นดินเลย ก็สามารถทำได้ด้วยการปลูกในภาชนะต่างๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ผักจะมีอายุสั้น มีระบบรากตื้น หากดินที่ปลูกผักมีความอุดมสมบูรณ์ดีพอสมควร บริเวณที่ปลูกผักได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน มีเมล็ดพันธุ์ หรือกิ่งพันธุ์พืชที่ดี และมีการรดน้ำผักอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็สามารถมีผักสวนครัวไว้รับประทานเองได้แล้ว หรือถ้าปลูกในพื้นที่ที่มากสักหน่อยก็เพียงพอที่จะขายได้