หลังปลูก 8 เดือน เริ่มเก็บผลผลิตได้ เจ้าของเก็บอยู่ได้นาน 14 เดือน

เท่ากับว่าตั้งแต่ปลูกจนตัดต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่ ใช้เวลา 22 เดือน ระยะเวลาที่เก็บผลผลิตอยู่ 14 เดือน เจ้าของบอกว่า น้ำหนักผลผลิตที่สมบูรณ์จำหน่ายได้ราคาดี มีราว 100 กิโลกรัมต่อ 14 เดือนต่อต้น

“จุดเด่น หากสมบูรณ์ดีเนื้อสีแดงเข้ม รสชาติหวานมีเค็มนิดๆ เนื้อกรอบเมื่อไม่สุกจัด เนื้อไม่นิ่มไม่เละเมื่อสุกมาก เมื่อก่อนการขาย คัดเล็ก กลาง ใหญ่ ผลขนาดเล็กขายได้ราคาดีกว่า ทุกวันนี้ บางครั้งขายคละกันไป ราคาเคยขายจากสวนสูงสุด 30-35 บาท เฉลี่ยอยู่ที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม ตลาดห้างเดอะมอลล์มาซื้อ แม่ค้าที่อตก.ซื้อไปขาย เขาได้ชิม จึงมาติดต่อซื้อ ที่อื่นมีศาลายา ตลาดน้ำดอนหวาย นครชัยศรี”

คุณสมจินต์บอก และให้แนวคิดอืกว่า “มะละกอคนหนึ่งดูแลได้ 5 ไร่ 2 คน 10 ไร่ คนนำออกไปปลูกนอกเขต รสชาติไม่ดีนัก รายได้ดีกว่าที่เคยทำงานอยู่ คนอยู่ถิ่นอื่น อย่างนครสวรรค์ ลพบุรี อยากปลูก เมื่อมีผลผลิตต้องนำออกเผยแพร่ ให้เขาชิม ต้องทำผลผลิตให้มีคุณภาพ การรักษาคุณภาพต้องดูผิวผล เก็บอย่างนุ่มนวล ใช้จำปาสอย ผลผลิตห่อด้วยโฟม”

คุณขันนาค ดวงสร้อยทอง แม่ค้าขายผลไม้อยู่ที่ตลาดนครชัยศรี ขายมะละกอของคุณปรุงมากว่า 10 ปีแล้ว

“มะละกอของนายปรุงเนื้อแน่น หวาน ซื้อมาอาทิตย์ละ 2 ครั้ง จันทร์และพฤหัสฯ ครั้งละ 100 กิโลกรัม ขายหมด คนนิยมมาก”คุณขันนาคบอก ดูราคามะละกอที่เกษตรกรรายนี้ขายได้แล้ว น่าสนใจมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะปลูกได้ง่ายๆ ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยต้องใส่ให้มาก สวนคุณปรุงและลูกชายได้เปรียบถิ่นอื่น เพราะดินเหนียว มีธาตุอาหาร โดยเฉพาะโปแตสเซี่ยมสูง ช่วยเพิ่มความหวาน

วันที่ 28 ธันวาคม 2559 ที่บ้านอุ่มเหม้า อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร นายภิญโญ สุวรรณชนะ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายชูเกียรติ คำโสภา ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินสกลนคร นำเจ้าหน้าที่และรถไถกว่า 10 คัน เข้าร่วมงานรณรงค์งดเผาฟางตอซังพืช โดยมีชาวบ้านกว่า 200 คนเข้าร่วมงาน จากนั้นมอบเกียรติบัตรดีเด่นประจำปี 2559 ให้กับหมอดินอาสาที่พัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นดินให้เกษตรกรรายอื่นๆมีดินที่เหมาะสมและปลูกพืชได้ และได้นำรถไถลงไร่นาของชาวบ้าน กว่า 20 ไร่ ในการไถกลบตอซังข้าว เพื่อรถรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์จากการไม่เผาฟางและตอซังพืช ซึ่งชี้ให้เห็นข้อเสียจากการเผา จะทำให้อินทรียวัตถุในดิน จุลินทรีย์ ธาตุอาหาร ในดินทุกทำลาย และข้อดีของการไถกลบ คือจะทำให้ลดภาวะโลกร้อน มลพิษจากฝุ่นและควัน และยังเป็นการปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์

นายภิญโญ กล่าวว่า การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับทัศนคติการเผาตอซังข้าวหลังเก็บเกี่ยวพืช เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ต้องทำให้เกษตรกรเห็นภาพว่า ระหว่างแปลงที่เผาและไม่เผา ต่างอย่างไร จากนั้นเอาพืชชนิดเดียวกันมาปลูก ซึ่งวันนี้ได้ให้ชาวบ้าน นำเมล็ดปอเทืองมาหว่านและมาดูผลผลิตว่าจะงอกงามอย่างไร ระหว่างไถกลบตอซัง และเผาตอซัง อีกทั้งยังได้มอบขวัญปีใหม่ให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการโดยให้ จนท.ไถกลบตอซังให้ฟรี เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการปลูกพืชฤดูแล้งต่อไป

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง

แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น

คุณณรงค์ชัย ปาระโกน ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติดอกคำ อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง

“ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายในกลุ่มก็เริ่มที่จะสนใจ ทำให้เราได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็น พีจีเอส จึงทำให้เวลานี้ทางกลุ่มมีสมาชิกเพิ่มขึ้น และที่สำคัญในเรื่องของการตลาดก็เข้ามาหาทางกลุ่มเรามากขึ้นอีกด้วย” คุณณรงค์ชัย กล่าว
ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์แห่งนี้ และสมาชิกภายในกลุ่ม ได้มีการปลูกผักหลากหลายชนิด เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด และที่สำคัญภายในกลุ่มยังได้เน้นการพัฒนาปรับปรุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รวมทั้งปุ๋ยพืชสดเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน
เมื่อดินที่ใช้สำหรับปลูกพืชมีคุณภาพดี คุณณรงค์ชัย บอกว่า จะทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีแม้ปลูกในระบบอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี

สำหรับผู้ที่อยากทำพื้นที่ของตนเองให้เป็นการปลูกพืชแบบระบบอินทรีย์ แต่เนื่องจากสมัยก่อนมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดแมลงศัตรูพืชมาก่อน คุณณรงค์ชัย บอกว่า ต้องให้พื้นที่ปลอดภัยจากสารเหล่านั้นอย่างน้อย 3 ปี โดยค่อยๆ ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จากนั้นเก็บตัวอย่างดินส่งไปตรวจสอบหาค่า pH ของดิน พร้อมทั้งตรวจว่าในดินมีธาตุอาหารตัวใดอยู่บ้าง หากตัวไหนที่ขาดแต่พืชมีความต้องการ ก็เพิ่มเติมลงไป แล้วจึงจะมาปลูกพืชในระบบอินทรีย์ได้แบบเต็มรูปแบบ
“เนื่องจากเราทำเกษตรแบบอินทรีย์ เรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชนี่สำคัญ เมื่อเราปลูกผักแล้ว เราจะป้องกันด้วยการฉีดพ่นด้วยสารสกัดสมุนไพร ใช้จำนวนไม่มากเท่าไหร่ นอกนั้นก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ บางทีธรรมชาติจะช่วยจัดการกันเอง เพราะไม่ได้ใช้สารเคมี ฉะนั้น แมลงที่เป็นประโยชน์ก็จะไม่ได้ถูกทำลาย เขาก็จะช่วยทำลายแมลงศัตรูพืช เรื่องนี้สำคัญมาก” คุณณรงค์ชัย บอกถึงการป้องกันแมลงศัตรูพืช

ส่วนในเรื่องของการตลาด คุณณรงค์ชัย ให้ข้อมูลว่า ผักที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ณ เวลานี้ สินค้ามีจำนวนไม่พอจำหน่าย เนื่องจากมีซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายที่เริ่มเข้ามาติดต่อขอซื้อสินค้ามากขึ้น แต่กำลังการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะการทำเกษตรอินทรีย์มีวิธีการผลิตที่ไม่ง่ายนัก ซึ่งเกษตรกรที่ต้องการเข้าสู่การปลูกพืชในระบบนี้ต้องเรียนรู้และมีความอดทน
ซึ่งเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จนประสบผลสำเร็จแล้ว คุณณรงค์ชัย บอกได้เลยว่า ในเรื่องของราคานั้นได้กำไรเพิ่มขึ้น 15-20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำเกษตรแบบทั่วไป
“ยกตัวอย่าง แตงกวา ปลูกทั่วไปจำหน่ายอยู่ที่ราคา 10-12 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ถ้าปลูกในแบบระบบอินทรีย์ จะได้ราคาผลผลิตตกอยู่ที่ กิโลกรัมละ 30 บาท ราคาก็จะเห็นได้ว่าดีกว่าครึ่งต่อครึ่ง เมื่อทดลองปลูกแบบระบบอินทรีย์ คุณจะรู้เลยว่าผลผลิตที่ได้แทบจะไม่ต่างกัน ขอให้ดินเราดี เน้นเรื่องปรับปรุงบำรุงดินให้ดี ผลผลิตดีแน่นอน แถมจำหน่ายได้ราคาด้วย” คุณณรงค์ชัย อธิบาย

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการการันตีถึงกระบวนการผลิตที่สามารถตรวจสอบได้ สำหรับท่านใดที่สนใจหรือท่านใดที่บริโภคผักอินทรีย์อยู่แล้ว ต้องการความมั่นใจว่ามีกระบวนการผลิตเป็นอย่างไร อยากเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถเข้ามาเยี่ยมชมภายในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ได้ ซึ่งคุณณรงค์ชัยยินดีต้อนรับและให้คำแนะนำ ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (089) 266-3880

เมืองไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ เมื่อกินผลไม้สักอย่างหนึ่ง เหลือเมล็ด โยนออกจากนอกชาน หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม อาจจะงอกเป็นต้นใหม่ เจริญเติบโต ออกดอกให้ผลกับเจ้าของได้

คนไทยนั้นมีนิสัยชอบปลูกต้นไม้ มีที่ว่างเป็นไม่ได้ ต้องปลูกพืชผัก ตะไคร้ มะกรูด เมืองใหญ่ แม้แต่หน้าร้าน ก็มีปลูกต้นไม้กัน ไม่มีดินจริงๆก็ปลูกในกระถาง

มะม่วงเป็นไม้ผลที่เจ้าของบ้านนิยมปลูกรอบๆบ้าน จำนวนอาจจะไม่มากต้นนัก เปรียบเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น มะม่วงอยู่ใกล้ครอบครัวคนไทยมากที่สุด มีปลูกไว้รอบๆบ้านมากที่สุด

สาเหตุที่มะม่วงมีปลูกไว้ใกล้บ้านนั้นเพราะ หนึ่ง.มะม่วงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง รวมทั้งน้ำท่วม

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เมื่อใช้ต้นตอที่แข็งแรงเป็นส่วนขยายพันธุ์ มะม่วงจะเจริญเติบโตในที่ฝนน้อยได้ดี ขณะเดียวกัน หากน้ำท่วม ก็ยืนต้นอยู่ได้นาน ถึงนานที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ชนิดอื่น

สอง.ดูแลไม่ยาก ผู้ปลูกบางคน อาศัยหย่อนต้นลงดินต้นฝน ไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ต้นก็เจริญเติบโตได้ อาจจะมีแมลงมากัดกินใบ แต่ก็กินไม่หมด ใบทีเหลือจะช่วยหุงหาอาหารเลี้ยงต้น ให้กิ่งก้านใหม่

สาม.ปลูกได้ในหลายภูมิภาค ตั้งแต่ภาคเหนือ อิสาน กลาง ส่วนภาคใต้อาจจะมีปัญหาเรื่องการออกดอกติดผล แต่ก็มีมะม่วงประจำถิ่น อย่างมะม่วงเบา และมะม่วงนาทับ ที่ไม่กลัวฝน

สี่.ปลูกไปนานๆ พุ่มใบของมะม่วงให้ร่มเงา นอกจากนก กา กระรอก กระแต จะได้อาศัยแล้ว คนยังได้หลบร้อนอีกด้วย

ห้า.สถานที่ ที่มีปัญหาเรื่องเสียง แสง ต้นมะม่วงสามารถลดสิ่งเหล่านี้ลงได้ ขณะเดียวกัน ต้นมะม่วงก็เพิ่มอ็อกซิเจนโดยรอบ

หก.หากเจ้าของบ้าน ไม่ต้องการโชว์ในจุดไหน สามารถที่จะปลูกมะม่วงบังสายตาได้

เจ็ด.เป็นไม้ที่ปลูกแล้วอยู่ได้นาน บางต้นอยู่คู่กับชีวิตของคนๆหนึ่งหรือมากกว่า

แปด.หาซื้อต้นพันธุ์มาปลูกได้ง่าย มีพันธุ์หลากหลาย

เก้า.มะม่วงยามติดผล ดูแล้วสวยงาม ยิ่งระยะหลังๆมีพันธุ์แปลกๆ จึงถือว่า เป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามกับเจ้าของได้

สิบ.สำคัญมาก…ผลนำมากินได้อร่อย เป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี มีมะม่วงให้เลือกปลูกมากมาย

แนวทางการเลือกพันธุ์มะม่วงปลูกมีดังนี้

หนึ่ง.เลือกตามความชอบของผู้ปลูก

หากชอบมะม่วงกินดิบ หรือมะม่วงมัน ควรปลูกพันธุ์เขียวเสวย ฟ้าลั่น พิมเสนมันทะวาย เจ้าคุณทิพย์ เพชรบ้านลาด น้ำดอกไม้มัน

ส่วนมะม่วงกินสุก มีพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 อกร่องทอง มหาชนก อกร่องพิกุลทอง สอง.ควรเป็นมะม่วงที่ออกผลทะวายโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารบังคับ ทั้งนี้ผลผลิตอาจจะไม่ออกเป็นชุดใหญ่ มะม่วงที่ออกดอกติดผลทะวายโดยธรรมชาติได้แก่มะม่วงโชคอนันต์ เพชรปทุม พิมเสนมันทะวาย ศรีสยาม น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ศาลายา สามฤดู โชควิเชียร เป็นต้น

สาม.ออกดอกติดผลง่าย เช่นมะม่วงแม่ลูกดก จัดเป็นมะม่วงที่ออกผลอย่างต่อเนื่อง แต่รสชาติเมื่อกินสุกไม่อร่อย เหมาะทำเป็นมะม่วงยำ มะม่วงกินกับน้ำปลาหวาน

สี่.มีผลใหญ่ยักษ์ เจ้าของตื่นเต้น เมื่อมีผลผลิต โดยที่รสชาติก็ดี มะม่วงที่ผลใหญ่สีสวย ได้แก่มะม่วงอาร์ทูอีทู น้ำดอกไม้มัน เขียวใหญ่ จักรพรรดิ เขียวสามรส งาช้างแดง ไต้หวัน 1 เป็นต้น

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปลูกมะม่วงคือพื้นที่ปลูกรอบๆบ้าน

ในชนบท พื้นที่อาจจะเหลือเฟือ แต่หากเป็นเมืองใหญ่ โดยเฉพาะบ้านจัดสรรด้วยแล้ว ต้องระวังเมื่อปลูกไปแล้ว อย่าให้กิ่งก้านไปรบกวนข้างๆบ้านเขา

ทางที่ดีควรปลูกหน้าบ้าน ให้กิ่งเจริญเติบโตออกไปยังถนนจะดีกว่า

ดินปลูก หากเป็นที่ถม จะไม่รู้ที่มาของดิน บางครั้งพบว่าดินแข็งเป็นดาน มีเศษปูนชิ้นใหญ่ๆฝังอยู่ ทางที่ดีควรขุดหลุมให้กว้างและลึก จากนั้นใช้ดินบนผสมปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุม

หากมีใบก้ามปูก็ใช้ผสมระหว่างดินบน ปุ๋ยคอกเก่า สัดส่วนแล้วแต่ที่มี อาจจะเน้นใบก้ามปูมากหน่อยก็ได้ เมื่อหลุมปลูกพร้อม ก็นำต้นพันธุ์ลงปลูก

ควรปลูกให้รอยต่อของการทาบกิ่งอยู่เหนือดินเล็กน้อย จากนั้นใช้หลักปักยึด เพื่อป้องกันการโยกคลอน สุดท้ายควรรดน้ำให้

ต้นพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง หากเป็นกิ่งเก่ารอยต่อระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดีสมานกันดีแล้ว สามารถกรีดหรือดึงพลาสติกที่พันออกได้เลย หลังจากปลูกไปแล้ว

แต่หากต้นพันธุ์ยังใหม่อยู่ ควรกรีดหรือดึงพลาสติกออก หลังปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน แต่อย่าลืมเอาออก หากลืมต้นจะแคระแกร็น โตช้า หรือไม่อาจจะตายได้ หากพลาสติกไม่ขาด การดูแลรักษามะม่วงหลังปลูก ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด เนื่องจากมะม่วงมีความอดทน ขอให้ต้นรอดตายหลังจากปลูกใหม่ๆ เขาก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ

หากเจ้าของว่าง หรือวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วงแล้งก็อาจจะให้น้ำมะม่วงบ้าง

หากมีปุ๋ยคอกหรือใบก้ามปู ซึ่งมีไนโตรเจนสูง ก็นำกองไว้ที่โคนต้นมะม่วง

บ้านใดที่ปลูกมะม่วงหลายต้น อยากใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ใช้สูตร 25-7-7 เน้นตัวหน้า คือไนโตรเจน

ศัตรูมะม่วงที่พบเห็นอยู่ และมองด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน คือแมลงมากัดใบจนขาด การใช้สารเคมีกำจัดคงไม่สะดวกแน่เพราะปลูกแค่ต้นสองต้น ซื้อสารเคมีมาราคาขวดละ 200-300 บาท อีกทั้งรอบๆบ้าน หากใช้สารเคมีก็เป็นอันตรายแก่คนและสัตว์ เมื่อพบว่าแมลงมากัดใบก็ปล่อยให้กัด เพราะบางช่วง มะม่วงแตกใบอ่อนไม่ตรงกับระยะทำลายของแมลง ใบเหล่านั้นก็จะปลอดภัย คอยปรุงอาหารให้ต้นเจริญเติบโตตามปกติ

ยุคเก่าก่อนสมัยปู่ย่าตายาย หลังจากปลูกมะม่วง อาจจะต้องรอนานถึง 7-8 ปี จึงจะมีผลผลิตให้เก็บกิน เพราะต้นพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ด

แต่ทุกวันนี้หลังปลูกเพียงปีเดียวก็อาจจะมีผลผลิตให้เก็บได้ โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อกิ่งใหญ่ๆสูงท่วมหัวมาปลูก

โดยทั่วไปแล้ว หากปลูกด้วยกิ่งทาบ เมื่อต้นมีขนาดใหญ่พอประมาณ พุ่มใบพอเลี้ยงผลได้ 3 ปีก็ไว้ผลผลิตได้ จะไว้มากหรือน้อย ก็แล้วแต่ดุลพินิจของเข้าของ

เมื่อมีผลผลิต เจ้าของจะรู้ได้อย่างไรว่า มะม่วงสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว

ชาวสวนที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แนะนำว่า เด็ดผลผลิตมาจุ่มลงไปในน้ำ หากผลมะม่วงจม ถือว่าแก่จัด

การเปลี่ยนสีผิวของผลก็เป็นตัวชี้วัดว่ามะม่วงสุกแก่แล้ว คือเปลี่ยนจากผิวเขียวเป็นเหลือง หากเป็นพันธุ์ที่ผลสีแดง ตรงขั้วผลก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อผลสุก อย่างมะม่วงอาร์ทูอีทู

ยามใดที่มีกระรอกมาแทะกินมะม่วง ก็จะรู้ว่าผลผลิตบนต้นเริ่มเก็บได้แล้ว มะม่วงบางพันธุ์ อย่างมหาชนก การออกดอก ติดผลบนต้น จะพร้อมกัน เมื่อผลที่ 1 สุกแก่ ผลที่ 2-20 ก็แก่เช่นกัน

วิธีการหนึ่งที่ทำได้ คือนับจากวันที่ดอกบาน เช่นเขียวเสวย ดอกบาน 120 จึงเก็บเกี่ยวได้ น้ำดอกไม้แก่เต็มที่หลังดอกบาน 110 วัน

ชิม…เป็นวิธีการหนึ่งที่ดีไม่น้อย อยากรู้ว่าเขียวเสวยแก่จัดหรือไม่ก็ปอกชิม หากหวานมัน ผลอื่นๆก็ทะยอยเก็บได้ เจ้าของบ้านที่ปลูกมะม่วงส่วนใหญ่ต้องการผลผลิตไว้กิน หลายคนที่ปลูกช่วงปีที่ 4-5 พอมีผลผลิตบ้าง แต่จากนั้น มะม่วงให้ร่มเงาอย่างเดียว ไม่มีผลผลิตให้เจ้าของเลย

มะม่วงไม่ให้ผลผลิตแก่เจ้าของมีหลายสาเหตุด้วยกัน

หนึ่ง.ดูแลดีเกินไป ช่วงปลายปีต่อกับต้นปี มะม่วงต้องการพักตัวสะสมอาหาร แต่เจ้าของไปรดน้ำ ความสมดุลของธาตุอาหารจึงไม่เหมาะสม แทนที่มะม่วงจะผลิดอกช่วงเดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มะม่วงแสนรักก็จะแตกใบอ่อนมาแทน ดังนั้นควรงดน้ำแก่ต้นมะม่วงช่วงปลายปี

สอง.เป็นธรรมชาติของมะม่วง ซึ่งบางพันธุ์ ถือว่าเป็นพันธุ์หนักออกผลยาก หรือออกปีเว้นปี หากปีใดออกผลมาให้เจ้าของมาก หากไม่เตรียมต้นหรือให้อาหารเขามากหน่อย ปีต่อมาก็จะอิดออด ไม่ออกดอกติดผล กรณีนี้พบในมะม่วงยอดฮิตอย่างเขียวเสวย

หากบ้านใดมีพื้นที่ว่าง อาจจะหาพันธุ์อื่นๆนอกจากเขียวเสวยลงปลูกบ้าง เช่นศาลายา น้ำดอกไม้มัน เป็นต้น สาม.ความสมบูรณ์ของต้นอาจจะไม่เพียงพอ บางปีมะม่วงติดผลมาก เขาใช้อาหารไปมาก เมื่อเก็บผลผลิต เจ้าของควรใส่ปุ๋ยคอกให้กับเขาบ้าง หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สัก 1 กำมือต่อต้น หากไม่ยุ่งยากจนเกินไป ปลายฝนใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้เขา จำนวน 1 กำมือต่อต้น มะม่วงก็พร้อมที่จะมีดอกในฤดูกาลต่อมา

สี่.บริเวณที่ต้นมะม่วงขึ้นอยู่ อาจจะได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลมไม่ค่อยพัดผ่าน จึงมีผลต่อการออกดอกติดผล

ห้า.ต้นมะม่วงอายุมาก ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ ทางแก้ไขควรมีการทอนกิ่ง ให้ต้นสั้นลง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ทำสาว” เมื่อต้นมะม่วงมีกิ่งใหม่ โอกาสที่จะออกดอกจึงมีมาก

การแต่งกิ่ง ทำได้ตั้งแต่ปลูกใหม่ๆ ตัดทุกปี ทรงต้นก็จะสวย มะม่วงเป็นไม้เขตร้อน เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ที่จะปลูกรอบๆบ้าน

หากมีการดูแลตามสมควร ตั้งแต่ปลูก นอกจากจะมีผลผลิตให้เจ้าของได้กินแล้ว

พุ่มใบของเขาสวยงาม มองในแง่ปลูกประดับก็สามารถเป็นไปได้

หากศึกษานิสัยใจคอเขาสักนิด แล้วปฏิบัติต่อต้นมะม่วงอย่างต่อเนื่อง ก็จะเกิดทักษะ มีความเพลิดเพลินเจริญใจ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนืออย่างอุตรดิตถ์ ระยะหลังมีปลูกได้ผลที่อิสาน จังหวัดศรีสะเกษ

ปัจจุบันพบว่า ทุเรียนมีปลูกได้ผลหลายจังหวัด มากบ้างน้อยบ้าง มีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนไม่น้อย ที่ต้นตายลงก่อนให้ผลผลิต โดยเฉพาะช่วงปลูกใหม่ 1-3 ปี ทำให้ต้องเสียเงินซื้อต้นพันธุ์หลายครั้ง สาเหตุการตายของทุเรียนต้นเล็ก นอกจากโรคและแมลงเข้าทำลายแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความชื้นในช่วงแล้งไม่เพียงพอ

ดังนั้นเมื่อฝนหยุดตกไม่เกิน 1 เดือน เจ้าของควรตัดหญ้าคลุมโคนต้นให้ หรืออาจจะใช้ฟางข้าวคลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำ 3 วันครั้งหนึ่ง ระบบน้ำที่ให้อาจจะเป็นน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ก็ได้

ถ้าเป็นช่วงเดือนเมษายนที่อากาศร้อนจัด เกษตรกรบางรายถึงกับให้น้ำวันเว้นวัน เพื่อรักษาความชื้นในดิน เรื่องของปุ๋ย นอกจากปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักแล้ว เกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนชา ช่วยทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตเร็ว คุณกฤษณ์ วงษ์วิทย์ เกษตรกรที่ตำบลแสลง อำเภอเมือง จันทบุรี ปลูกทุเรียนอายุได้ 4 ปี ก็สามารถไว้ผลผลิตได้แล้ว

ดูแล้วเหมือนยุ่งยาก แต่หากเอาใจใส่ ถือว่าคุ้ม ไม่ต้องลงทุนซื้อต้นใหม่

ไม้ผลอื่นๆ ในหน้าแล้ง หากคลุมโคลน รดน้ำให้ก็จะเจริญเติบโตเร็วอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรที่ไม่มีระบบน้ำ การคลุมโคนก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณทองเหมาะ แจ่มแจ้ง เป็นชาวนาอินทรีย์คนเก่งของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมเขาปลูกข้าวโดยใช้เงินลงทุนสูง มีการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ประสบปัญหาด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สภาพดินเสีย และมีสารเคมีตกค้างในผลผลิต เมื่อประสบผลกระทบดังกล่าว คุณทองเหมาะจึงหันมาทำการเกษตรโดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้จุลินทรีย์และสารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการปลูกข้าว คิดค้นวิธีการปลูกข้าวให้ลดต้นทุนและได้ผลผลิตมากขึ้น โดยดัดแปลงพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว เพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้เอง ผลิตสารป้องกันและขับไล่แมลง ผลิตฮอร์โมนจากรกสุกร และน้ำส้มควันไม้ เป็นต้น โดยตั้งผลิตภัณฑ์ว่า “TM” ซึ่งมาจากชื่อ “ทองเหมาะ” นอกจากนี้ คุณทองเหมาะยังได้คิดวิธีการผสมพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “พันธุ์เบาบางงาม” จากการปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินกิจกรรมการเกษตรดังกล่าว ส่งผลให้สุขภาพดีขึ้น ลดต้นทุนลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น

คุณทองเหมาะ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานโดยมีความโดดเด่นเรื่อง การปลูกข้าวอินทรีย์ บนพื้นที่ 30 ไร่ ปีละ 2 ครั้ง ในปีที่มีน้ำเพียงพอ หากปีไหนไม่มีน้ำจะปลูกข้าวปีละครั้ง ได้รับผลผลิตข้าว ประมาณ 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ในทุกปีจะเริ่มทำนาช่วงเดือนมกราคม และเก็บเกี่ยวข้าวภายใน 120 วัน ตามช่วงเวลาการปล่อยน้ำของชลประทาน

การเตรียมพื้นที่ จะไม่เผาฟางข้าว แต่ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายฟางข้าว คุณทองเหมาะใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากผลผลิตของการปลูกข้าวครั้งที่ผ่านมาเพื่อมาทำเมล็ดพันธุ์ข้าว ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยจุลินทรีย์ และปุ๋ยหมัก ที่ผลิตใช้เองในการบำรุงรักษาต้นข้าวจากการปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี แมลงศัตรูพืชจะลดลงประมาณ ร้อยละ 60-70 แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้สารไล่แมลงในแปลงข้าว คุณทองเหมาะได้ผสมเหล้าขาว น้ำส้มสายชู จุลินทรีย์ และกากน้ำตาล หมักไว้ 24 ชั่วโมง แล้วผสมน้ำฉีดพ่นในแปลงข้าว เมื่อเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวข้าวแล้ว ได้นำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวกล้องและบรรจุจำหน่ายเองที่บ้าน ราคาปลีก กิโลกรัมละ 70 บาท ราคาส่ง กิโลกรัมละ 35-60 บาท ในพื้นที่การเกษตรของคุณทองเหมาะนอกจากปลูกข้าวแล้ว ยังมีการเลี้ยงสุกร เลี้ยงปลา และปลูกผักอีกด้วย

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณทองเหมาะ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ เป็นแก่นของการดำเนินวิถีทางการเกษตร คุณทองเหมาะเชื่อว่าทางรอดของเกษตรกรอยู่ที่ต้องทำอย่างไรให้ต้นทุนน้อยที่สุด พึ่งพาตนเอง รู้ศักยภาพของตนเอง การไม่ใช้สารเคมีและพึ่งพาตนเองให้ได้เป็นทางออกที่ดี เมื่อต้นทุนลดลง ถึงแม้ผลผลิตจะมีราคาถูกก็สามารถจำหน่ายได้ อยู่ได้ หากราคาผลผลิตสูงขึ้นก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่การเกษตรจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะทำและต้องมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร จึงจะประสบความสำเร็จ

เดิมคุณทิวาพรได้ลงทุนปลูกอ้อยในพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ทำไร่อ้อยได้ประมาณ 4 ปี ช่วงนั้นจังหวัดกาญจนบุรีประสบกับปัญหาอากาศแห้งแล้งติดต่อกัน 3 ปี พื้นที่ที่ปลูกอ้อยดังกล่าวติดเชิงเขา ไม่มีแหล่งน้ำ ทำให้อ้อยแห้งตายเป็นจำนวนมาก ต่อมามันสำปะหลังมีราคาดีจึงตัดสินใจตัดอ้อยทิ้ง แล้วหันมาปลูกมันสำปะหลังแทน แต่เมื่อถึงเวลาเก็บ ราคามันสำปะหลังตกต่ำ จึงตัดสินใจไม่ขุด รอราคาดี ทิ้งไว้ข้ามปีจึงขุดมันสำปะหลังจำหน่าย จึงกลับมาคิดทบทวนพบว่า การปลูกพืชเชิงเดี่ยวต้องใช้ปุ๋ยเคมีที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคงจะไม่เป็นผลดี จึงตัดสินใจขายที่ดินใช้หนี้ และเริ่มต้นยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด จากช่วงแรกทำการเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 2 ไร่ ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 14 ไร่

คุณทิวาพร ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินในตำบลท่ามะขาม ขนาด 14 ไร่ จัดทำเป็นแปลงปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ผสมผสาน มากกว่า 20 ชนิด โดยแบ่งเป็นโซน ดังนี้

พื้นที่ปลูกไม้ใช้สอยรอบบริเวณเขตบ้าน เป็นการปลูกไม้หลายชนิด ปลูกต้นไม้ไว้บริโภค และขายตามฤดูกาล เช่น ไม้สัก มะม่วง กระท้อน สับปะรด เป็นต้น
พื้นที่ปลูกพืชผักหมุนเวียนที่สร้างรายได้ระยะสั้น ได้แก่ ผักสวนครัว
พื้นที่ปลูกพืชอายุสั้น เช่น ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า ชะอม กล้วย เป็นต้น เพื่อสร้างรายได้ตลอดปี นอกจากนี้ ได้มีการเลี้ยงหมูหลุมโดยการขุดหลุมให้ลึก ประมาณ 50-90 เซนติเมตร จากนั้นใส่แกลบ รำ ขี้เลื่อย หรือใบไม้ลงไปภายในหลุม โดยไม่ต้องเทพื้นปูนซีเมนต์ ซึ่งสุกรสามารถคุ้ยเขี่ยได้ เมื่อสุกรถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงพื้น จากนั้นให้ใช้น้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำราดลงไปทุกๆ 2-3 วัน ต่อครั้ง เพื่อเป็นการช่วยย่อยสลายมูลสุกรทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็น และสุกรจะมีร่างกายที่แข็งแรง โตไว น้ำหนักดี เนื้อแน่น ไขมันน้อย เนื่องจากได้ออกกำลังกายอยู่ตลอดเวลา และสามารถจำหน่ายสุกรได้ในระยะเวลา 4 เดือน
คุณทิวาพร มีรายได้เสริมที่สำคัญอีกทางหนึ่งจากการผลิตและจำหน่ายน้ำฟักข้าว

ฟักข้าว (Gac fruit) เป็นผักในวงศ์เดียวกับแตงกวาและมะระ (Cucurbitaceae) ฟักข้าวขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก เริ่มมีดอกหลังปลูกประมาณ 2 เดือน เริ่มออกดอกราวเดือนพฤษภาคม และให้ดอกจนถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ 20 วัน และใน 1 ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ 30-60 ผล โดยเก็บสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฟักข้าว 1 ผล จะได้เยื่อสีแดงราว 200 กรัม

การผลิตน้ำฟักข้าวมีส่วนผสมดังนี้ เยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 100 กรัม น้ำ 900 กรัม น้ำตาลทราย 60 กรัม น้ำมะนาว 28 กรัม เกลือ 0.8 กรัม วิธีการทำ โดยเตรียมน้ำเชื่อมโดยการละลายน้ำตาลตามส่วนผสม นำส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวสุกมากผสมกับน้ำ จากนั้นปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่นแยกกาก เติมน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้และน้ำมะนาวตามอัตราส่วน เมื่อได้น้ำฟักข้าวแล้วให้ความร้อนแก่น้ำฟักข้าวโดยวิธีการพาสเจอไรซ์ โดยให้ความร้อนแก่น้ำฟักข้าวที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที

สำหรับประโยชน์ของฟักข้าวจากผลการวิจัยพบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวสุกมีปริมาณสารไลโคปีนในกลุ่มของเบต้าแคโรทีนมากกว่าสารสกัดที่ได้จากเนื้อผล ปริมาณเบต้าแคโรทีนในฟักข้าวมีมากกว่าแครอต ถึง 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ ถึง 12 เท่า รวมทั้งยังมีกรดไขมันสายยาวประมาณ ร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชรา ช่วยการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ดวงตาแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง และเสริมสุขภาพของต่อมลูกหมาก จากผลการทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าว พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทำให้เซลล์แตก ทั้งนี้ คุณทิวาพรได้จำหน่ายน้ำฟักข้าว ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม ที่บรรจุขวด ขนาด 160 มิลลิลิตร เพียงราคา 20 บาท ต่อขวด จากแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงเต็มรูปแบบดังกล่าวนี้ คุณทิวาพรมั่นใจว่าเป็นแนวทางที่สร้างวิถีชีวิตยั่งยืนอย่างแท้จริง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณทิวาพร สมัครเว็บจีคลับ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอประมาณ มีความเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ ในการวางแผนการผลิตควรพิจารณาเรื่องต้นทุน แรงงาน การตลาดให้เหมาะสม รวมถึงการวางแผนการแปรรูปผลผลิตที่ล้นตลาด ทั้งนี้ การลงทุนและการขยายแรงงานควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการจัดการตนเองได้ การทำการเกษตรต้องมุ่งการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก เหลือจากการบริโภคจึงคิดถึงการผลิตเพื่อการค้า คุณทิวาพรเชื่อมั่นว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำพาชีวิตเกษตรกรไปสู่แนวทาง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” อย่างยั่งยืน

ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์