หลังย้ายกล้า 5-10 วัน จะเริ่มใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร

16-16-16 บลู อัตรา 15-20 กก./ไร่ เพื่อให้ต้นอ่อนของกะหล่ำดอกแข็งแรง รากเดินดี ต้นตั้งตัวได้ไว โดยวิธีการใส่นั้นจะค่อยๆ โรยเม็ดปุ๋ยกองไว้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อไม่ให้เม็ดปุ๋ยติดค้างตามซอกใบจนอาจเป็นสาเหตุให้ผักเน่าได้

ซึ่งคุณนภาภรณ์ จะมีเทคนิคการใส่ปุ๋ยที่ง่ายและประหยัด โดยการประดิษฐ์ “เครื่องใส่ปุ๋ยแบบประยุกต์” ด้วยวัสดุเพียง 2 ชนิด คือ 1) “ถุงย่ามที่ทำจากกระสอบปุ๋ย” และ 2) “ท่อพีวีซี” ความยาวประมาณ 2 ฟุต สำหรับทำเป็นหัวจ่ายปุ๋ย ช่วยให้การใส่ปุ๋ยสะดวกขึ้น ไม่ต้องก้ม-เงยตัวทุกครั้งที่โรยปุ๋ย

หลังย้ายกล้า 14-15 วัน ลำต้นกะหล่ำดอกจะเริ่มตั้งตรงลักษณะคล้ายต้นคะน้า ให้เพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู เป็นอัตรา 30 กก./ไร่ เพื่อให้ต้นอวบแข็งแรง ใบเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี

– หลังย้ายกล้า 21 วัน ใบของกะหล่ำดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามืออย่างชัดเจน และเริ่มแผ่ออกด้านข้างมากขึ้น จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ เช่นเดิม เพื่อให้ใบของกะหล่ำดอกเขียว หนา แข็งแรง เตรียมพร้อมในการสะสมอาหารเพื่อสร้างดอก

– หลังย้ายกล้า 30 วัน กะหล่ำดอกจะเริ่มมีดอกขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม. จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ เพื่อให้พืชมีธาตุอาหารเพียงพอที่จะไปเลี้ยงดอก

ทั้งนี้ ใน “ระยะดอกเล็ก” ถือเป็น “ช่วงเปราะบาง” ของกะหล่ำดอก เนื่องจากดอกและใบที่แตกใหม่นั้นจะอ่อนแอ ถูกศัตรูพืช-โรคพืชเข้าทำลายได้ง่าย ดังนั้น การบำรุงในช่วงนี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามสภาพความพร้อมของพืช

โดยคุณนภาภรณ์ แนะนำให้เกษตรสังเกตความเหมาะสมของ “ใบ” ว่าพร้อมที่จะให้น้ำ-บำรุงหรือไม่ หากกะหล่ำดอกมีใบที่ใหญ่ แต่ยังบางและเป็นสีเขียวตองอ่อน แสดงว่าการเจริญเติบโตยังไม่สมดุล ต้นจะอ่อนแอ ควรงดการให้น้ำ-ใส่ปุ๋ยประมาณ 2-3 วัน รอจนใบเริ่มหนา สีเขียวเข้มมีฝ้าสีขาวๆ หรือที่เรียกว่า “ขึ้นนวล” จึงค่อยเริ่มบำรุงต่อ

หลังย้ายกล้า 40 วัน เป็นช่วงที่ดอกของกะหล่ำดอกเริ่มขยายใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม. ขึ้นไป จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 30 กก./ไร่ ความถี่ทุก 3-4 วัน/ครั้ง เรื่อยไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เพื่อให้บำรุงให้หน้าดอกใหญ่ กลมนูน และแน่น อีกทั้งยังช่วยให้ขั้วใบเหนียวแข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่ายขณะเก็บเกี่ยวอีกด้วย

คุณนภาภรณ์ เผยว่า สมัยก่อนที่ใช้ปุ๋ยยี่ห้ออื่นกะหล่ำดอกที่แปลงมักมีปัญหารากเน่า-โคนเน่า และไส้กลวงโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่พอมีทีมส่งเสริมของเจียไต๋ เข้ามาแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ซึ่งมี “แคลเซียม-โบรอน” ก็แทบไม่เจอปัญหานี้อีกเลย นอกจากนี้ เม็ดปุ๋ยยังละลายง่าย ช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารไว ลำต้น ใบ และดอกแข็งแรงขึ้นมาก ทำให้มีน้ำหนักดีขึ้นอย่างชัดเจน จากรุ่นพ่อ-แม่ที่เคยปลูกจะได้น้ำหนักสูงสุดประมาณ 3 ตัน/ไร่ น้ำหนักต่อหัวอยู่ที่ 1 กก. แต่ปัจจุบันตนเองทำได้ถึง 4 ตัน/ไร่ ส่วนน้ำหนักต่อหัวก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 กก. ช่วยให้ผลผลิตสามารถขายได้ราคาดีขึ้นมาก

ผลผลิตมีคุณภาพ
หาตลาดเอง ได้กำไรดีกว่า

ในอดีตคุณนภาภรณ์ จะขายผลผลิตโดยผ่านพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อตามแปลง เนื่องจากยังไม่รู้แหล่งจำหน่าย แต่ก็ต้องแลกกับการหักค่าดำเนินการประมาณ 1-2 บาท/กก. พอเริ่มปลูกได้สักระยะจึงมีความคิดอยากลองขายเองดูบ้าง จึงออกไปสำรวจตลาดว่ามีความต้องการผลผลิตแบบไหน ซึ่งด้วยความที่ยังไม่มีผู้รับซื้อเจ้าประจำมาก่อน ในครั้งแรกๆ จึงยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าตลาดเล็กน้อย เพื่อสร้างฐานลูกค้า แต่หลังจากรู้จักช่องทางการขาย ประกอบกับเริ่มมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตของตนเอง จึงกล้าต่อรองราคามากขึ้น

คุณนภาภรณ์ เผยว่า ราคาเฉลี่ยของกะหล่ำดอกจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 บาท/กก. โดยในปี 64 นั้นสามารถขายได้ถึง 25 บาท/กก. ซึ่งเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตประมาณไร่ละ 8,000-10,000 บาท ก็ถือว่าได้กำไรไม่น้อย โดยกะหล่ำดอกที่มีสีขาวนวล กลมนูนแน่น จะสามารถนำไปขายต่อง่ายและได้กำไรดี ทำให้พ่อค้ายินดีรับซื้อผลผลิตในราคาที่สูง ดังนั้น เกษตรควรรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ครบตามความต้องการของตลาด จะทำให้ได้เปรียบเรื่องราคาและไม่ถูกเอาเปรียบได้ง่าย

เคล็ดลับการดูแลกะหล่ำดอกในฉบับของคุณนภาภรณ์นั้น มีหลักสำคัญอยู่ที่การสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรงให้กับพืชในทุกระยะการเจริญเติบโต ควบคู่กับการเรียนรู้ธรรมชาติของกะหล่ำดอก ว่าช่วงใดเป็นช่วงเปราะบาง ช่วงใดควรบำรุง หรือช่วงใดควรงด สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ก็ต้องอาศัยประสบการณ์และความใส่ใจอย่างมาก เพื่อให้ได้กะหล่ำดอกที่ทั้งน้ำหนักดี และมีคุณภาพ จนสามารถขายได้อย่างมั่นใจตลอดทั้งปี

เกษตรกรอำเภอรัษฎา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ลองกอง มังคุด และทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน เป็นสวนหลังบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็นำไปขายในตลาดชุมชน บางรายปลูกมากก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไปจำหน่าย

การเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ คุณมานิตย์ สุวรรณรัตน์ เกษตรกรที่ปลูกทุเรียนจนประสบความสำเร็จในจังหวัดชุมพร ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพารา อยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเขาไพร ตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางพารา ทั้งหมด 17 ไร่ หันมาปลูกทุเรียน ได้รับผลผลิตดี มีคุณภาพ ขายได้ราคาสูง สามารถสร้างรายได้มากกว่าการปลูกยางพารา ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีความสนใจหันมาปลูกทุเรียนมากขึ้น จึงมีแนวคิดในการรวมกลุ่มผู้ปลูกทุเรียน

สำนักงานเกษตรอำเภอรัษฎา จึงดำเนินการจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมอาชีพ ชื่อกลุ่มทุเรียนเมืองพระยา วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน การดูแลรักษา ด้านการตลาด การลงแขกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเข้าร่วมกลุ่ม จำนวน 30 ราย

ลักษณะเด่นของทุเรียนอำเภอรัษฎา มีคุณภาพ เกรด A คือ หนามเล็ก เปลือกบาง เนื้อแห้ง รสชาติหอม หวาน เหนียว มัน

การปลูกทุเรียนของกลุ่มเน้นหลักธรรมชาติในการดูแลรักษา ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น เน้นการใช้สารชีวภัณฑ์ น้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลับปุ๋ยเคมีเพื่อปรับสภาพดิน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ปลูกทุเรียนตั้งอยู่ที่ตำบลเขาไพร และตำบลหนองบัว เป็นพื้นที่ราบสูงอยู่ใกล้เทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำทำให้น้ำที่เกษตรกรนำมาใช้เพื่อการเกษตรมีความสะอาด เพราะไม่ผ่านแหล่งชุมชน

การบริหารจัดการแปลง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่
การเตรียมดิน คุณมานิตย์ สุวรรณรัตน์ แนะนำให้เตรียมดินไถตากดิน หว่านโดโลไมท์ หว่านปอเทือง ไถกลบ การปลูกพื้นที่เนินสูง ระยะปลูก 9×9 เมตร วางระบบน้ำโดยวางท่อเมนระหว่างแถว และมีท่อซอยไปหาลำต้น โดยทุเรียนเริ่มปลูกถึง 3 ปี ใช้สปริงเกลอร์ 1 หัว/ต้น การพรางแสง ใช้ตาข่ายพรางแสง หรือปลูกกล้วยเพื่อพรางแสง ตัด แต่งรากต้นพันธุ์ที่คดงอก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกและวางต้นพันธุ์ให้ลึกประมาณครึ่งถุง นำดินมากลบให้เสมอปากถุง ปลูกต้นพันธุ์ห่างจากหัวสปริงเกลอร์ 90 เซนติเมตร

การปลูกที่ราบ ระยะปลูก 9X9 เมตร สร้างเนินดินแบบหลังเต่า ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 เดือน (ความสูงเนิน 0.75-1 เมตร หลังดินยุบตัว) วางระบบน้ำ พรางแสง ปลูกต้นพันธุ์บนเนินให้ลึกประมาณครึ่งถุง

ปีที่ 1 การให้น้ำ ให้ทุกวันในปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง แต่อย่าให้ดินแฉะ

การให้ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตราการใส่ 5-10 กิโลกรัม/ต้น

ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอเดือนละ 1 ครั้ง อัตราการใส่ 1 ช้อนโต๊ะ/ต้น หว่านปุ๋ยห่างจากโคนต้น 1 คืบ ในทุเรียน 1-2 เดือน และเมื่อทุเรียนเริ่มสร้างทรงพุ่มให้หว่านปุ๋ยให้กระจายรอบนอกทรงพุ่ม ให้น้ำปริมาณเล็กน้อยหลังใส่ปุ๋ย ระวังอย่าให้น้ำไหลชะล้างปุ๋ย

การจัดการโรคแมลงศัตรูพืช สำรวจแมลงอย่างสม่ำเสมอ แมลงปีกแข็ง ใช้วิธีจับทำลายในตอนกลางคืน เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีฉีดพ่น

ปีที่ 2 การให้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าอากาศร้อนจัดให้น้ำทุกวัน อากาศปกติให้วันเว้นวัน การให้ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก 2 ครั้ง/ปี ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ ครึ่งกิโลกรัม/ต้น รอบทรงพุ่มทุก 45 วัน ให้น้ำปริมาณเล็กน้อยหลังใส่ปุ๋ย

โรคแมลงศัตรูพืช เพลี้ยไฟพบระยะยอดอ่อน เพลี้ยไก่แจ้พบระยะใบเพลาด ทำให้ใบหยิกงอ ใช้เชื้อ บิวเวอเรีย น้ำส้มควันไม้ หรือสารเคมีในการกำจัด

ปีที่ 3 การให้น้ำ เหมือนปีที่ 2 การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก 2 ครั้ง/ปี ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 1.5-2 กิโลกรัม/ต้น ทุก 2 เดือน

โรคแมลงศัตรูพืช เพลี้ยไฟ ไรแดง และเพลี้ยไก่แจ้

ปีที่ 4 การให้น้ำ เหมือนปีที่ 2 การให้ปุ๋ย ปุ๋ยหมัก 2 ครั้ง/ปี ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 2 ครั้ง/ปี

ครั้งที่ 1 กันยายน อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น ครั้งที่ 2 พฤศจิกายน อัตรา 3 กิโลกรัม/ต้น สูตร 8-24-24 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ในระยะหางแย้ สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง ใส่ในระยะหลังดอกบาน 45 วัน และก่อนเก็บเกี่ยว 45 วัน อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง

โรคแมลงศัตรูพืช เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยไก่แจ้ โรครากเน่า โคนเน่า กำจัดโดยถากบริเวณโคนและใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า หรือยาป้องกันเชื้อรา วิธีการคัดเลือกต้นพันธุ์
คุณมานิตย์ แนะนำให้เลือกกิ่งกระโดงมาปลูก เพราะมีลำต้นตรง มีกิ่งรอบทิศ

การขยายพันธุ์ (ปลูกต้นตอในแปลง)

เลือกยอดจากต้นพันธุ์ อายุ 10 ปีขึ้นไป

นำมาเสียบข้างเมื่อต้นตอมีอายุ 1.5-2 ปี (ไม่เกิน 3 ปี) ผลผลิต และรายได้/ไร่
คุณมานิตย์ เล่าให้ฟังว่า ทุเรียนของกลุ่มมีลักษณะเด่นคือมีกลิ่นหอม เหนียว หวาน มัน เนื้อแห้ง และเปลือกบาง เนื้อมีความเนียน นุ่ม น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล 2-6 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 2,500 กิโลกรัม/ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตต้นเดือนกรกฎาคม

การตลาด กลุ่มจะลงแขกกันเก็บเกี่ยวทุเรียน และรวบรวมผลผลิตไปส่งพ่อค้าคนกลางเพื่อส่งออก ปัจจุบัน เรื่องของสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ การกำจัดขยะอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ เป็นต้น หากกำจัดไม่ถูกวิธี อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น มลพิษทางน้ำและกลิ่น ปัญหาขยะล้นเมือง แหล่งเพาะเชื้อโรค แมลง ที่ส่งผลต่อมวลมนุษย์ วิธีการหนึ่งในการกำจัดขยะอินทรีย์คือ การใช้ไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะ ในทางตรงแล้ว ยังทำให้เกิดประโยชน์ด้านการเกษตรหลายชนิด ได้เป็นปุ๋ยไส้เดือนดิน และปุ๋ยน้ำหมักไส้เดือนดิน

ครูพิศมัย ลิ้มสมวงศ์ อดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า หลังจากจบการศึกษาด้านการเกษตรที่โรงเรียนเกษตรกรรมพิษณุโลก หรือเกษตรบ้านกร่าง รุ่นที่ 8 ได้สอบบรรจุเป็นครูสอนในจังหวัดพิษณุโลกหลายปี ล่าสุดย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้าน แม่โจ้ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของตนเอง ประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา

ในฐานะที่เป็นครูเกษตรจึงได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนดิน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นจึงสร้างเรือนโรงเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดเล็กๆ ภายในโรงเรียน สอนเด็กนักเรียนตั้งแต่การเลี้ยงไส้เดือนดินในถังน้ำสีดำ เลี้ยงในลิ้นชักพลาสติก แบบ 4 ชั้น จนเด็กนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติและใช้ที่บ้านของตนเองได้

ในปี 2558 ครูพิศมัย เกษียณอายุราชการ จึงเริ่มเลี้ยงไส้เดือนบริเวณบ้าน และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนดินสำหรับนักเรียนและเกษตรกรทั่วไป เนื่องจากบ้านและโรงเรียนที่เคยสอนนั้นอยู่ใกล้กัน

ครูพิศมัย เล่าต่อว่า ไส้เดือนดินมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรามี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์สีแดงออกม่วง ตัวขนาดเล็ก ชอบอาศัยผิวดินอยู่ในขยะอินทรีย์ มูลสัตว์ กินอาหารเก่ง ที่เรียกกันว่า “ขี้ตาแร่” ไส้เดือนดินอีกชนิดหนึ่งลำตัวสีเทา มีขนาดใหญ่ ชอบอาศัยอยู่ใต้ดินค่อนข้างลึก พบได้ในสวนผลไม้ สนามหญ้า กินอาหารน้อย เมื่อเลือกสายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ต้องการได้แล้วจึงจัดเตรียมสถานที่ ต้องไม่เป็นบริเวณที่น้ำท่วมขัง อยู่ใกล้กับแหล่งขยะอินทรีย์ หรือใกล้แหล่งผลิตจำหน่ายผัก ผลไม้ หรือตลาดผักสด

“บ้านตนเองอยู่ใกล้ตลาดสดแม่โจ้ มีเศษผักที่แม่ค้าตัดและคัดใบผักออกทิ้ง จึงมีอาหารเลี้ยงไส้เดือนดินตลอดเวลา จากนั้นสร้างบ่อเลี้ยงด้วยปูนซีเมนต์แบบสี่เหลี่ยม ยาวตามขนาดของพื้นที่ นำดิน 4 ส่วน ผสมกับมูลวัว 1 ส่วน ผสมให้เข้ากัน เกลี่ยให้สม่ำเสมอ รดน้ำให้มีความชื้น หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นจึงปล่อยไส้เดือนดิน พื้นที่ 1 ตารางเมตร จะใช้ไส้เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม ให้อาหารด้วยการนำเศษผักวาง หรือขุดหลุมไว้เป็นจุดๆ ไม่ควรเทกองรวมกันซึ่งจะเป็นสาเหตุให้แมลงวันมาวางไข่ได้ หรืออาจใช้ลวดตาข่าย ตะแกรงปิดด้านบนป้องกันแมลงวัน นก หนู เข้าไปกินอาหารในที่เลี้ยง”

ครูพิศมัย บอกว่า หลังจากที่ไส้เดือนดินขึ้นมากินอาหารแล้ว อาหารและดินบางส่วนจะถูกย่อยสลายภายในลำไส้ของไส้เดือน แล้วถ่ายออกมาเป็นมูล มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำปนน้ำตาล จะมีธาตุอาหารสูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก จึงเรียกว่า “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” จึงตักปุ๋ยที่อยู่บริเวณผิวหน้าดินเหล่านี้ออกไปตากแห้ง ร่อนให้แตก และเม็ดเท่าๆ กัน พร้อมที่จะนำไปใช้ได้ ในขณะเดียวกันภายในบ่อซีเมนต์หรือถังที่ใช้เลี้ยงไส้เดือนดินก็จะเกิดน้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน ที่เกิดจากการเน่าสลายของเศษขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน เรียกว่าน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลดำ ไม่มีกลิ่นเหม็น และมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืช ฮอร์โมนพืช และจุลินทรีย์หลายชนิด

ครูพิศมัย ให้คำแนะนำว่า การนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้ปลูกต้นไม้ ควรใช้ปุ๋ย 1 ส่วน ดินปลูก 3 ส่วน หากใช้บำรุงต้นไม้ ควรโรยรอบๆ โคนต้น ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้ หรือ 1-2 ช้อนโต๊ะ ในไม้กระถางทุก 15 วัน หากนำไปใช้ในแปลงพืชผักพื้นที่ตารางเมตรละ 1 กิโลกรัม ใส่ในช่วงปรับปรุงดินก่อนปลูก จากนั้นใส่มูลไส้เดือนดินทุก 15 วัน จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต หากนำไปใช้กับไม้กระถาง ไม้ใบ ไม้ดอก ใช้ 2-4 ช้อนโต๊ะ ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของกระถาง ใส่ทุก 15 วัน อาจนำปุ๋ยมูลไส้เดือนดินไปใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า เพาะเมล็ด โดยไม่ต้องผสมดินเลยก็ได้ ขณะนี้ที่บ้านพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน มีผลิตภัณฑ์แสดงและจำหน่าย ได้แก่ พันธุ์ไส้เดือนดินทั้ง 2 สายพันธุ์ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน

ระย่อม เป็นไม้พุ่มเตี้ยๆ ไม่สูงมาก UFABETSIX.COM ใบดกหนาทึบสีเขียวสด ลำต้นมักคดงอ รากขนาดใหญ่ ลึกลงไปในดิน ชอบขึ้นตามชายป่า เชิงเขาที่ดินร่วนปนทราย หรือเป็นหินปนกรวดลูกรัง ที่ค่อนข้างชุ่มชื้น พบกระจายพันธุ์มาตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล จีน ภูฏาน ทิเบต พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฯลฯ ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มแดง สีขาวอมชมพูอ่อน มี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เช่นกัน โคนก้านดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อสีชมพู พอดอกโรยก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ออกดอกช่วงปลายฝนต้นหนาว ติดผลกลมๆ รีๆ สีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีม่วงดำ คล้ายลูกต้นพลองหรือลูกมิกกี้เม้าส์

ชื่อสกุลของไม้ระย่อม ถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่ Dr. Leonhard Rauwolf นักพฤกษศาสตร์/นายแพทย์ชาวเยอรมัน แต่ชื่อทาง Botany ใช้ตัว V แทน W ส่วนนามสกุล serpentina หมายถึงลักษณะที่คดไปมาเหมือนงู

ระย่อม อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นที่รู้กันว่าต้องมีน้ำยางสีขาว ชาวเอเชียเรานั้นรู้จักใช้รากระย่อมเป็นสมุนไพรมาแต่โบร่ำโบราณ แต่มิได้มีการบันทึกไว้ มาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2495 จึงได้มีการรายงานว่ามีการแยกสารอัลกาลอยด์ Reserpine จากรากระย่อมได้เป็นครั้งแรกโดย Muller และคณะ

สาร Reserpine ตัวนี้เองที่เป็นตัวออกฤทธิ์ลดความดันในกระแสโลหิตที่นิยมใช้ที่สุดในปัจจุบัน ทั้งยังช่วยระงับประสาท ลดอาการคลุ้มคลั่งอย่างดี ส่วนตำราแพทย์แผนไทยบอกว่า รากระย่อมช่วยเจริญอาหาร บำรุงประสาท ลดระดับน้ำตาลหรือความดัน ถอนพิษ ดับพิษไข้กาฬ ช่วยให้หลับสบายคลายเครียด แก้ไข้ป่ามาลาเรีย แก้ลมชักในเด็กดีมาก รากนำมาตากแห้ง บดเป็นผงชงชาเป็นยาระบายอ่อนๆ ถ่ายพยาธิไส้เดือน ขับระดู ทำให้หลอดเลือดคลายตัว ลดอาการเกร็ง มีผลต่อต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา รากระย่อมตำสดๆ ใส่น้ำมันพืชทาแก้หิดชะงัดนักแล

ที่ค้นพบอีกจัดว่าเด็ดก็คือ ในรากระย่อมนอกจากมี Reserpine ช่วยลดความดัน/กล่อมประสาทแล้ว ยังประกอบไปด้วยอัลกาลอยด์เจ๋งๆ อีกตัวหนึ่งคือ “Rauhinbine” ตัวนี้บำรุงกำหนัดครับ แหะๆ ส่วนตัวผู้เขียนเคยฟังผู้ใหญ่เล่าต่อมาว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นชอบใช้พรานป่าพื้นเมืองไปหารากระย่อมมาให้ไว้ถ่ายพยาธิม้าได้ผลค่อนข้างดี

ป.ล. รากระย่อมมีพิษเบื่อเมาอ่อนๆ สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมระย่อมเด็ดขาด อนึ่ง ดอกระย่อมนั้นสีสันสวยงามอ่อนหวาน ปัจจุบันตามสวนสมุนไพร ก็นำมาปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ประดับได้ไม่แพ้ไม้อื่นเลยเชียวล่ะครับ

มะนาวมีหลากชนิด แต่ก็มักเกิดความสับสนกันมาตลอด คือ มะนาวเลม่อน (Lemon) กับ มะนาวไลม์ (Lime) โดยมะนาวทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกับส้ม ซึ่งล้วนมีจุดเด่นที่อุดมไปด้วยวิตามินซี มะนาว (เลม่อน) มีถิ่นกำเนิดน่าจะอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่งใน 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย พม่า และจีน มะนาวชนิดนี้มีลักษณะผลกลม หรือรี ผิวเปลือกในระยะสุกแก่มีสีเหลือง เปลือกหนา ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อมีรสเปรี้ยว กลิ่นหอม อดีตใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ต่อมามีการนำไปปลูกในอิรัก และอียิปต์ ก่อน แล้วกระจายเข้าสู่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2290 มีการสกัดนำเอาวิตามินซีไปใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพของมนุษย์ มะนาว (ไลม์) มีผลขนาดเล็กกว่าเลม่อน เปลือกสีเขียว ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร มีรสเปรี้ยวจัด มะนาวบ้านเราจัดอยู่ในประเภทนี้