หลายท่านอาจเคยได้พบบทความที่ว่า ถ้าต้นมะนาวมีอายุ 4-5 ปี

ใส่ต้นละ 2 กิโลกรัม คำว่า 2 กิโลกรัมไม่ใช่ใส่ครั้งเดียว ให้แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง เพราะถ้าใส่ปริมาณสูงในครั้งเดียว ปุ๋ยจะเป็นพิษได้ ต้นมะนาวเราก็ใช้ไม่ทัน สูญเสียเยอะกว่า สรุปได้ว่าการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นมะนาวควรใส่น้อยแต่บ่อยครั้ง

ข้อควรจำอีกอย่าง คือ หลังใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้ง ต้องรดน้ำตามจนปุ๋ยเคมีละลายจนหมด ไม่ใช่ใส่แล้วปล่อยไว้อย่างนั้น มะนาวไม่สามารถเอาปุ๋ยเม็ดไปใช้ประโยชน์ได้เลย ถ้าปุ๋ยไม่ละลาย ตรงนี้พบบ่อยมาก และเป็นข้อเสียของเกษตรกรที่ไม่รู้จักวิธีการ มีข้อสงสัยว่า ทำไม การใส่ปุ๋ยมะนาวจึงไม่แนะนำให้พรวนดินกลบ ต้องบอกเลยว่า อย่าพรวนดินที่บริเวณต้นมะนาว ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เพราะรากมะนาวอ่อนแอมาก การที่เราพรวนดิน จะไปตัดรากให้เกิดแผล และโรครากเน่าจะเข้าทำลายทันที ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้พรวนดินให้กับต้นมะนาวเด็ดขาด

การฉีดปุ๋ยทางใบให้กับมะนาว เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อน

แนะนำว่า ถ้าต้นโทรมมาก ใช้ปุ๋ยเหลวสูตรตัวหน้าสูง เช่น 30-0-0 ร่วมกับสารสกัดธรรมชาติ เช่น สาหร่าย-สกัด, ปุ๋ย 30-0-0 ใช้อัตรา 30-40 ซีซี และสาหร่าย-สกัด 20-60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร กรณีโทรมไม่มาก ให้ใช้ปุ๋ยทางใบ สูตรเสมอ เช่น นิวตริไจเซอร์ (20-20-20) หรือปุ๋ยเหลว สูตร 12-12-12 แทน ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยตัวหน้าสูงอย่างเดียว (อัตราใช้ดูตามคำแนะนำในฉลาก) การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบนั้น สามารถฉีดร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงพร้อมในคราวเดียวกันได้ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการฉีดและประหยัดเวลา แต่ถ้าไม่แน่ใจหรือไม่มั่นใจว่าจะผสมกันได้ไหม ให้ลองเอายาที่เราจะฉีดทั้งหมดมาผสมในถังน้ำขนาดเล็กก่อน เพื่อดูว่าสามารถเข้ากันได้ดีหรือเปล่า ถ้าผสมแล้วของผสมที่ได้เป็นวุ้น หรือตกตะกอน ไม่แนะนำให้ฉีดพ่น ตรงนี้เกษตรกรต้องคอยจดจำไว้ จะได้ไม่สับสน เมื่อผสมยาในคราวต่อไป

ปุ๋ยเร่งการออกดอก สูตรไหนดี

หลายท่านสงสัยว่า ถ้าเราจะทำมะนาวให้ออกดอกหน้าแล้ง จะฉีดปุ๋ยตัวไหนดี ฉีดกี่ครั้งถึงจะออก หรือ แม้แต่บางท่านทำตามคำแนะนำทุกอย่าง ก็ยังไม่เห็นดอกมะนาวเลย ตรงนี้ขอบอกตรงๆ เลยว่า การบังคับมะนาวให้ออกดอกตามที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ จึงแนะนำว่า ต้องลองศึกษาด้วยตัวเองก่อน คนที่ทำมะนาวจนชำนาญ เขาสามารถเลือกใช้สูตรปุ๋ยได้โดยไม่ต้องระบุสูตรที่ชัดเจน เอาแค่ใกล้เคียงกัน ก็ใช้ได้แล้ว

สูตรปุ๋ยที่แนะนำ ช่วงสะสมอาหารของมะนาวจะต้องมีโครงสร้างสูตรปุ๋ย สัดส่วน 1:1:5 ส่วน หรือ 1:2:5 ส่วน อย่างเช่น สูตร 1:1:5 เช่น ปุ๋ยสูตร 5-5-25, อย่างเช่น สูตร 1:2:5 เช่น ปุ๋ยสูตร 3-16-36 (เฟอร์ติไจเซอร์) แต่ถ้าไม่มี หรือหาไม่ได้ จะใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 หรือ 10-52-17 แทน, ตัวอย่างสูตรปุ๋ยช่วงสะสมอาหาร 3-16-36 อัตรา 40 กรัม, เฟตามิน อัตรา 10 ซีซี หรือ 0-52-34 อัตรา 100 กรัม, สังกะสี อัตรา 20 ซีซี ฉีดพ่นช่วงเช้า ประมาณ 3-4 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ในช่วงนี้ถ้าเป็นไปได้ ห้ามรดน้ำ โดยเด็ดขาด ถ้ามีฝนตกจะต้องเร่งระบายน้ำออกจากบริเวณต้นมะนาวให้เร็วที่สุด

ส่วนทางดิน จะใช้ปุ๋ย สูตร 9-24-24 หรือ 8-24-24 เป็นหลัก เพราะหาซื้อง่าย การใส่จะให้ใส่ในช่วงก่อนเริ่มสะสมอาหารทางใบ ใส่แล้วรดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นเมื่อเราเริ่มสะสมอาหารทางใบ เราจะไม่ใส่ปุ๋ยทางดินอีกเลย จนกว่าจะดึงดอก เพราะต้องการให้ดินแห้ง เมื่อถึงเวลาใกล้ดึงดอกเกษตรกรบางรายจะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางใบ จากสูตร 0-52-34 มาเป็นสูตร 10-52-17 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตาดอกเริ่มพัฒนา การใช้ปุ๋ยสูตร 10-52-17 จะใช้อีกประมาณ 2 ครั้ง เมื่อสังเกตเห็นตาดอกเริ่มบวมปูดโตโผล่มา จึงดึงดอก

สูตรปุ๋ย ที่นิยมใช้เปิดตาดอก

ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) อัตรา 300 กรัม สาหร่าย-สกัด อัตรา 50 ซีซี ฉีดพ่นสัก 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ส่วนทางดิน จะใส่ปุ๋ย สูตร 9-24-24 อีกครั้ง พร้อมกับเปิดน้ำให้แปลงปลูกชุ่มน้ำติดต่อกัน 2 สัปดาห์ จุดนี้เกษตรกรหลายรายไม่เข้าใจว่า ทำไม ต้องเปิดน้ำทุกวัน การเปิดน้ำทุกวัน (เปิดให้ชุ่ม น้ำไหลท่วมเลย) จะช่วยกระตุ้นให้มะนาวออกดอกดีมาก หลายท่านทำตามขั้นตอนมาทั้งหมด แต่มาตกม้าตายตอนท้าย คือไม่ยอมเปิดน้ำติดต่อกัน จึงทำให้การออกดอกไม่ดี

เมื่อวันที่ 15 ส.ค.61 จากกระแสในโรคออนไลน์ อ้างถึงสรรพคุณของใบอังกาบหนู ว่าสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ และหายมาแล้วกว่า 10 รายนั้น ล่าสุดที่วัดโบสถ์ ต.เมืองบางขลัง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย มีชาวบ้านจากหลายจังหวัดเดินทางมาขอคำปรึกษา พระครูพิพัฒน์สุตากร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ (เมืองโบราณบางขลัง) พร้อมขอเก็บใบ และต้นอ่อนกลับไป เพื่อหวังว่าจะช่วยบรรเทาโรคมะเร็งที่ญาติป่วยและกำลังรักษาอยู่ให้หายได้ จากต้นที่เคยเป็นพุ่มใหญ่ ตอนนี้ใบเริ่มบางตาลง จนเจ้าอาวาสต้องแจ้งกับผู้ที่มาขอใบต้นอังกาบหนูว่า ไม่หวง แต่อยากให้แบ่งๆกัน เหลือให้คนที่มาทีหลังบ้าง และให้แบ่งไปปลูกที่บ้านได้แค่นำก้านไปปักชำก็สามารถแตกยอดออกมาได้ง่ายๆ ต้นนี้มีขึ้นอยู่ทั่วไปในที่ชุ่มน้ำปลูกขึ้นง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาถึงวัดให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย

โดยพระครูพิพัฒน์สุตากร ได้เล่าว่า ที่ทราบสรรพคุณของใบอังกาบหนูนั้น เกิดจากพี่ชายของท่านป่วยเป็นมะเร็ง หลอกลมและมีชาวพิษณุโลกท่านหนึ่งได้บอกเล่าให้ฟังว่าให้ไปหาใบอังกาบหนูมาต้มดื่มน้ำเช้า เย็น พอแพทย์บอกว่าหมดทางรักษาและให้กลับไปพักที่บ้าน จึงได้หาใบของต้นอังกาบหนูมาต้ม และหยอดน้ำใบอังกาบหนูผ่านทางท่ออาหารให้พี่ชายกิน หลังจากนั้น 3 วันแผลก็เริ่มดีขึ้น อีก 6 เดือนให้หลังก็หายจากโรคมะเร็ง และยังมีชีวิตอยู่จนปัจจุบัน พี่ชายอายุ 52 ปี จากนั้นได้บอกต่อให้ชาวบ้านนำต้นอังกาบหนูไปปลูก

เพราะต้นอังกาบหนูขึ้นง่าย เก็บไว้เป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน เนื่องจากยังมีสรรพคุณตั้งแต่ราก จนถึงใบ ดอกนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก รากหรือใบใช้เป็นยาลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน ใบอังกาบหนูใช้เคี้ยวแก้อาการปวดฟันได้ ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน บางคนใช้ใบผสมมะนาวบดทากลากเกลื้อน ช่วยรักษาโรคคัน อีกทั้ง ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม และเพื่อเยียวยารักษาโรคมะเร็ง และเบาหวาน

นางอำนวย มาภู อายุ 63 ปี บ้านเลขที่ 37 ม.9 ต.บ้านไร่ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ยืนยันว่าตนเองกินน้ำต้มใบอังกาบหนูมาตั้งแต่ ปี 2558 ซึ่งตอนนั้นต้องตัดหน้าอกข้างขวาทิ้งเพราะเป็นมะเร็ง หลังจากให้คีโมครบ 6 ครั้ง ตนก็ได้เริ่มกินน้ำต้มใบอังกาบมาตลอด หลังจากกินไปได้ 3 เดือน ก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลตามหมอนัด ก็ไม่พบว่ามีค่ามะเร็ง จากนั้นตรวจร่างกายต่อเนื่องทุกปี สุขภาพดีมาตลอด เชื้อมะเร็งหายไปจนหมด โดยต้นที่ปลูกได้รับมาจากเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ และมาขยายต่อปลูกทั่วไปแทบทุกบ้าน จนชาวบ้านเรียกกันว่าต้นป่าช้าเหงา

ทางด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ นุกูลอุดมพานิชย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สุโขทัย กล่าวว่าได้ให้ทางแพทย์แผนไทยค้นข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งมีหลายโรคที่บอกว่ากินแล้วหายคงต้องเข้าไปสอบถามเพิ่มเติม โดยในทางการแพทย์ ยังไม่มีแหล่งข้อมูลไหนที่ยืนยันว่ามันสามารถช่วยหรือมีส่วนรักษามะเร็งได้จริง และขอให้คำนึงถึงปริมาณในการกินด้วยเพราะอาจมีผลกระทบต่อไต

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ถึงแนวโน้มการนำหัวปลี มาใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการประกอบอาหารแทนเนื้อสัตว์ โดยพบว่านอกจากขนุน ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้มีการนำมาใช้ประกอบอาหารแทนเนื้อสัตว์แล้ว ล่าสุดหัวปลีกำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หรือวีแกน เป็นอย่างมาก ทำให้ในตลาดเยอรมนี มีความต้องการหัวปลีเพิ่มมากขึ้น “เพราะความเหนียวแน่นของเส้นใย จึงถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกในการปรุงอาหารแทนเนื้อสัตว์ และมีข้อดีที่ไม่ทำให้อ้วน ให้พลังงาน 17 แคลอรีต่อ 100 กรัม ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้น”

ทั้งนี้ หัวปลีถูกนำมาประยุกต์ใช้ประกอบอาหารหลายเมนู เช่น สลัด ยำ หรือแกงกะหรี่ประเภทต่างๆ นำไปชุบแป้งหรือเกล็ดขนมปังทอดกรอบ ทำเมนู Fish and Chips และล่าสุดหลายเว็บไซต์ได้ให้ข้อมูลและเผยแพร่สูตรอาหารมากมายจากหัวปลี ขณะที่ร้านอาหาร ที่ไม่ใช่ร้านของคนเอเชีย หรือร้านอาหารออร์แกนิก ต่างก็เริ่มสนใจไอเดียการทำอาหารจากหัวปลี และมีการเพิ่มเมนูจากหัวปลีกันมากขึ้นด้วย

ปัจจุบันเริ่มมีผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ที่จำหน่ายว่าหาซื้อยากมาก และจะต้องคอยติดตามอยู่ตลอดเวลาว่าสินค้าจะเข้ามาเมื่อใด ต้องอาศัยความเร็วในการสั่งซื้อ เนื่องจากสินค้า ในตลาดยังมีไม่มาก จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทยที่จะทำการขยายตลาดส่งออกหัวปลีเข้าไปยังเยอรมนี

ปัจจุบัน หัวปลีสดและหัวปลีกระป๋องแช่น้ำเกลือ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสินค้าเอเชีย ร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าเอเชีย และสินค้าวีแกน เช่น Amazon , vegansnacks.de , asiafoodland.de , asia-markt-105.com รวมถึงในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยราคาหัวปลีสดหัวละประมาณ 6-8 ยูโร หรือกิโลกรัม (ก.ก.) ละประมาณ 25-32 ยูโร หรือกว่า 1 พันบาทต่อก.ก. และหัวปลีกระป๋องราคา ประมาณ 1.80-1.99 ยูโร

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจไม้ดอกไม้ประดับย้อนหลัง 5 ปี มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง โดยไม้ประดับมีอัตราเติบโตมากที่สุด 57.9% รองลงมา ได้แก่ เมล็ดไม้ดอก 32.29% พืชหัว 13.59% ไม้ตัดดอก 9.7% ตามลำดับ โดยไทยมีพื้นที่ผลิตไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมด จานวน 77,000 ไร่ เป็นเกษตรกร 16,000 ครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นกล้วยไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกไม้ประดับที่มีการผลิตเป็นการค้ามากที่สุด ส่วนไม้ประดับอื่นๆที่มีปริมาณการปลูกในอับดับต้นๆ คือ ดาวเรือง และมะลิ อย่างละประมาณ 9,500 ไร่

สถานการณ์การผลิตไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ ประเทศไทย มี มะลิ ดาวเรือง มีอัตราการเติบโตมากสุด นอกจากนั้น ไม้ดอกไม้ประดับที่มีการผลิตเพื่อเป็น การค้า ในลำดับรองๆ ลงมาได้แก่ ปทุมมา หน้าวัว และไม้ตัดใบ โดยพื้นที่การ ผลิตไม้ดอกไม้ประดับจะอยู่ในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยปริมาณผลผลิต ไม้ดอกไม้ประดับ มะลิ 1,448 ตัน มูลค่าผลผลิต 288.152 ล้านบาท ดาวเรือง 1,118 ตัน มูลค่าผลผลิต 595.52 ล้านบาท ปทุมมา 72 ตัน มูลค่าผลผลิต 1.44 ล้านบาท ส่วนมูลค่าไม้ดอกอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย กุหลาบ บัวหลวง เบญจมาศ มีมูลค่ารวม 67 ล้านบาท

ส่วนการตลาดไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ สถานการณ์ตลาดไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆประเทศไทย ปริมาณการนำเข้า-ส่งออกการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับ ปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,197.9 ล้าน บาท โดยนำเข้าดอกไม้สดมากที่สุด มูลค่า 943.3 ล้านบาท รองลงมาคือ ไม้ประดับ 179.5 ล้านบาท เมล็ดไม้ดอก 42.9 ล้านบาท พืชหัว 19.8 ล้านบาท และใบไม้ ประดับอื่นๆ 12.2 ล้านบาท

การส่งออกไม้ดอกไม้ประดับ ปี 2559 มีมูลค่ารวม 1,177 ล้านบาท โดยส่งออกต้นไม้ประดับมากที่สุด มูลค่า 673.9 ล้านบาท รองลงมา คือ ใบไม้ ประดับและอื่นๆ 235.5 ล้านบาท ดอกไม้สด 116.5 ล้านบาท พืชหัว 86.8 ล้านบาท และเมล็ดไม้ดอก 15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบในรอบ 5 ปี พืชหัว มีอัตราเติบโตมากที่สุด 24.13% รองลงมา ได้แก่ ใบไม้และอื่นๆ 13.5% ไม้ประดับ 13.2% ตามลาดับ ดอกไม้สดและเมล็ดไม้ดอกมีอัตราลดลง 8.3% และ 11.1% ตามลาดับ

ส่วนการดำเนินยุทธศาสตร์กล้วยไม้ปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเตรียมจัดทำ ยุทธศาสตร์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับฉบับปี 2562-2564 เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ที่ประสบปัญหาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2560 เทียบกับปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ 20,629 ไร่ เป็นเกษตรกร 2,260 ครัวเรือน ผลผลิตลดลง 47,137 ตัน ที่มีพื้นที่ปลูก 21,703 ไร่ แหล่งผลิต กล้วยไม้ที่สำคัญ ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี กรุงเทพมหานคร และ กาญจนบุรี

ผลผลิตกล้วยไม้ในประเทศ 50% และส่งออก 50% ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศอาเซียน พันธุ์ที่ส่งออก ได้แก่ สกุลหวาย มอคคา รา และแวนด้า มูลค่าในการส่งออกของประเทศไทย 1,800 ล้านบาท ประมาณ 50% เป็นกล้วยไม้หวาย (เอียสกุล ขาวสนาน ขาว5N) อีก 50% เป็น มอคคารา แวนด้า กล้วยไม้อื่นๆ รวมถึงต้นกล้วยไม้

การส่งออกกล้วยไม้ของไทย จะเป็นทั้งกล้วยไม้ตัดดอก และต้นกล้วยไม้ การส่งออกกล้วยไม้ตัดดอก ปี 2560 การส่งออก มีปริมาณ 25,054 ตัน มูลค่า 2,246.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีปริมาณ 22,604 ตัน มูลค่า 2,008.15 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.08% และ 4.01% ตามลาดับ ส่วนการส่งออกต้นกล้วยไม้ ในปี 2559 มีปริมาณ 2,626,000 ต้น มูลค่า 97.22 ล้านบาท ลดลงจากปี 2555 ที่มีปริมาณ 13,573,000 ต้น มูลค่า 253.44 ล้านบาท หรือลดลง โดยเฉลี่ย 5 ปี 28.22% และ 16.01% ต่อปี ตามลำดับ

ช่วงฤดูฝนทุกปี ผืนป่าแถบภาคเหนือ อีสาน หลังจากผ่านความแห้งแล้งมานานพอสมควร ดินแห้ง ไม้สลัดใบร่วงหล่นทับถมบนพื้นดินใต้ต้น บางแห่งเกิดไฟป่าลุกลามเผาไหม้ บางแห่งผุย่อยสลาย พอถึงเดือนพฤษภาคม เจอฝนห่าใหญ่ๆ สักห่าสองห่า หรือหลายๆ ห่า เป็นอันได้เก็บเห็ดป่ามากินกัน โดยเฉพาะ “เห็ดถอบ” ซึ่งปีหนึ่งจะผุดออกมาให้ลิ้มรสกันสักช่วงหนึ่ง ก็คือช่วงฤดูฝนนี้แหละ แต่เชื่อไหมว่า ปีนี้จนกระทั่งวันนี้ ยังไม่ได้ลิ้มรส

“เห็ดถอบ” เป็นชื่อเรียกทางเหนือของ “เห็ดเผาะ” มีบางพื้นที่เรียก “เห็ดเหียง” หรือ “เห็ดหนัง” หรือ “เห็ดเผาะหนัง” หรือ “เห็ดดอกดิน” บางที่บางถิ่นเขาเรียกต่างกันไป เห็ดถอบมีขึ้นในหลายพื้นที่ของเมืองไทย ยกเว้นภาคใต้ เพราะสภาพป่าและภูมิอากาศแตกต่างกัน ในอารมณ์อยากกินเห็ดเช่นตอนนี้ ปีนี้ต้องโหยหารสชาติของเห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ เป็นเพราะมีออกมาต้นฤดูอยู่นิดหนึ่ง ชาวบ้านนำเข้าตลาดเสนอขายในราคาแพงมาก กระป๋องเล็กนิดเดียว ตั้ง 50 บาท นับเมล็ดได้ ความเคยชิน คาดการณ์ตามมโนศาสตร์เองว่า คงออกตามมาอีกมาก ราคาคงถูกลง เปล่าสายบัวรอเก้อ ไม่มีมาให้เห็นอีกจนวันนี้

คิดถึงบรรยากาศย้อนหลังครั้งหลายปีที่ผ่านมา ป่าทางเหนือแถวอุทยานแห่งชาติสักใหญ่ อุตรดิตถ์ ชาวบ้านเขาออกหาเก็บเห็ด เขาสื่อสารกันอย่างไรไม่อาจทราบได้ คนหลายทิศมาหาเก็บเห็ดกันเป็นกลุ่ม สอบถามบางคน เขาว่าเป็นเหมือนสัญชาตญาณ เมื่อถึงเวลาก็เริ่มเตรียมอุปกรณ์หาเห็ดถอบ มีไม้ไผ่สักอัน เหลาแต่งเป็นรูปไม้พายเรือ แต่อันเล็กๆ ยาวศอกกว่า ถุงย่ามผ้ารักษ์โลกร้อน ขวดน้ำกิน ห่อข้าว ยาหม่องไว้ทาถูนวดหรือทาตอนแมลงสัตว์กัดต่อย และโทรศัพท์มือถือ ขาดอย่างอื่นพอขาดได้ อย่าให้ขาดสิ่งสุดท้ายเชียวนา

เห็ดถอบเมื่อเก็บมาใหม่ๆ หรือซื้อหามาจากคนหาเห็ดจากป่า จะมีเศษดินเศษทรายติดมาเยอะมาก เพราะชาวบ้านไปขุดคุ้ยเขี่ยหามาจากป่าละเมาะ โดยเฉพาะป่าสน ป่าเต็งรัง และดินร่วนปนทรายเป็นผงฝุ่น พอเจอฝนจะจับตัวเหนียวติดก้อนเม็ดเห็ดหรือดอกเห็ด ต้องนำมาแช่ล้างขัดเศษดินออกให้หมดก่อนนำมาทำกิน เห็ดถอบจะเจริญเติบโตอยู่บนพื้นดินใต้ต้นไม้ป่าเต็งรัง ด้วยการอาศัยอยู่ร่วมกันกับรากไม้พวกไม้สน ไม้ยาง ไม้เต็งรังทั้งหลาย จะคอยเป็นตัวเสริมช่วยการดูดธาตุอาหารของต้นพืช เพราะเห็ดถอบเป็นพืชชนิดดี ที่เป็นประโยชน์แก่ต้นพืช จะช่วยการดูดซับธาตุอาหาร โดยเฉพาะฟอสฟอรัส และต้นพืชก็จะสนับสนุนธาตุอาหารที่รากฝอยดูดซับเอามาจากใต้ดิน ที่สังเคราะห์แสง เป็นคาร์โบไฮเดรตแบ่งปันให้เป็นอาหารแก่เห็ดถอบ บริเวณรากและโคนต้น เห็ดถอบก็อาศัยเลี้ยงชีวิตเจริญเติบโตเป็นการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติ

เห็ดถอบ หรือเห็ดเผาะ หรือ Puff Ball Mushroom ชื่อสามัญ Hygroscopic earthstar เป็นพืชชั้นต่ำตระกูลเห็ดรา วงศ์ Diplocystaceae เป็นเห็ดราเอ็คโตไมโคไรซ่า มีลักษณะดอกเห็ดจะกลมๆ สีดำหม่น ข้างในเป็นถุงเนื้อคล้ายวุ้นสีขาวขุ่น คืออาหารเลี้ยงดอกเห็ด เปลือกนอกที่กลมๆ เป็นคล้ายลูกบอล ถ้ายังอ่อนจะนุ่มนิ่มไม่แข็งกระด้าง ส่วนนี้แหละอร่อยมากๆ เมื่อเห็ดแก่ตัวขึ้นเนื้อในจะแห้งเป็นผงสปอร์สีดำ และเปลือกนอกจะแข็งและแตกออกเป็นรูปดาว 6-8 แฉก สปอร์ที่เป็นผงสีดำก็จะปลิวออกมา ไปติดตามพื้นดิน รากต้นไม้เกาะอาศัยอยู่กับรากพืชป่า แล้วก็บ่มฟักตัวจนผ่านแล้งผ่านร้อนมามากๆ แล้วเจอฝนตกห่าใหญ่ๆ ก็จะเจริญเติบโตเป็นลูกเห็ดกลมๆ เล็กๆ ให้คนไปเก็บมากินมาขายในปีถัดไปนั่นเอง

เห็ดถอบ นอกจากจะนำมาต้มแกงกินได้อร่อยลิ้นแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ทางยาสมุนไพร ตำรายาแผนไทยระบุว่า เห็ดมีรสเย็นหวานรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย ยาชูกำลัง และแก้ช้ำในได้ดีมาก ว่ากันว่าเห็ดถอบมีสารต้านมะเร็ง ต้านอาการอักเสบได้ หมอจีนใช้สปอร์เห็ดถอบเป็นยารักษาบาดแผล หยุดการไหลของเลือด ลดภาวะมือและเท้าอักเสบ ชนเผ่าอินเดียใช้สปอร์เห็ดถอบผสมน้ำมันเมล็ดมัสตาร์ด เป็นขี้ผึ้งรักษาแผลไฟไหม้ ชาวเผ่า Black foot อเมริกาเหนือ เรียกเห็ดถอบว่า “Fallen Stars” เพราะเชื่อว่าเป็นดาวตกมาจากฟ้า ระหว่างเกิดเหตุการณ์เหนือธรรมชาติ

มีเกษตรกรเอาเห็ดแก่ ก็คงเป็นเห็ดที่เมื่อมีราคาถูกลงมากแล้ว นำไปผ่าหรือบีบให้แตกแช่น้ำเอาสปอร์ที่สีดำๆ ใช้แช่ชุบกิ่งพันธุ์ไม้ผลไม้ยืนต้น นักวิชาการเกษตรที่ผลิตพันธุ์กล้าไม้ ได้นำไปใช้ช่วยเร่งราก และการเจริญเติบโตของกล้าไม้ โดยเฉพาะพืชตระกูลสน ยาง ซึ่งช่วยเร่งการเจริญเติบโตได้ดีมาก ก็เป็นอย่างที่บอกไว้ ว่าเห็ดถอบหรือเห็ดเผาะเป็นพืชที่อยู่อาศัยเกื้อกูลกันกับต้นไม้ มีหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมไม่มีใครเลยหรือที่จะทำการเพาะเห็ดถอบเป็นเห็ดเศรษฐกิจบ้าง ก็เคยทราบมาว่ามีนักเพาะเห็ดพยายามแล้ว ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ เพียงพอที่จะนำออกเผยแพร่ให้ทำการเพาะเลี้ยงเป็นการค้าได้