หวั่นสูญพันธุ์-วิจัยเพาะปลาดุกลูกครึ่งชื่อ “บิ๊กลำพัน” ผสมไทยเทศ

สงขลา – ผศ.ณิศา มาชู อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกอนุสิทธิบัตรให้กับผลงานวิจัย “การประดิษฐ์กรรมวิธีเพาะพันธุ์ปลาดุกลูกผสมระหว่างปลาดุกลำพันและปลาดุกเทศ” ซึ่งผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแม่ปลาดุกลำพันกับพ่อปลาดุกเทศ เป็นปลาดุกชนิดใหม่ที่ตนให้ชื่อว่า “ปลาดุกบิ๊กลำพัน” เนื่องจากปลาดุกลำพันในธรรมชาติที่มีแหล่งอาศัยในป่าพรุมีน้อยลงมาก

จัดเป็นปลาหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งปลาดุกลำพันเป็นปลาที่มีความอดทนสูง เลี้ยงในน้ำที่มีคุณภาพต่ำได้ จึงนำพ่อแม่พันธุ์ปลาดุกลำพันมาเลี้ยงในน้ำจืดทั่วไป และนำมาเพาะขยายพันธุ์ให้อัตราการผสมติดและฟักเป็นตัว ร้อยละ 40-50

ลูกปลาดุกลำพันที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า และเป็นปลาที่มีผิวหนังบางถลอกง่าย จึงปรับปรุงพันธุ์ด้วยการนำมาผสมข้ามพันธุ์กับปลาดุกเทศ ซึ่งเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว โดยนำปลาดุกลำพันเพศเมีย มาผสมพันธุ์กับปลาดุกเทศเพศผู้ ใช้การฉีดฮอร์โมนผสมเทียม พบว่ามีอัตราการผสมติดและอัตราการฟักเป็นตัวร้อยละ 30-40

เมื่อนำปลาดุกลูกผสมที่ได้มาอนุบาลเปรียบเทียบกับลูกปลาดุกลำพัน และลูกปลาดุกเทศ 8 สัปดาห์ พบว่าปลาดุกลูกผสมมีน้ำหนักและความยาวเฉลี่ยมากกว่าปลาดุกลำพัน แต่น้อยกว่าปลาดุกเทศ โดยที่ปลา 3 ชนิดมีอัตราการรอดตายไม่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ปลาดุกลูกผสมมีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวยาว มีลายสีขาวบนลำตัวในแนวขวางเหมือนแม่คือปลาดุกลำพัน สวยงามและน่าสนใจ และก็มีการเจริญเติบโตที่ดีคล้ายพ่อคือปลาดุกเทศ กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี

“ปลาดุกบิ๊กลำพันมีโอกาสพัฒนาเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจได้ในอนาคต ซึ่งจะช่วยรักษาพันธุ์ของปลาดุกลำพันไว้ในทางอ้อม” นายพรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า แนวโน้มสินเชื่อธุรกิจปี 2561 ยังขยายตัวดี โดยตั้งเป้าหมายสินเชื่อขยายตัว 6-8% จากสิ้นปี 2560 ที่มีสินเชื่อคงค้าง 5.90 แสนล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 4.16 แสนล้านบาท สินเชื่อเอสเอ็มอี 1.74 แสนล้านบาท ซึ่งปีนี้เน้นขยายสินเชื่อเอสเอ็มอี คาดว่าใน 2-3 ปีข้างหน้า ธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีสัดส่วนเพิ่มจาก 14% เป็น 18-20% โดยธุรกิจขยายตัวดี คือ ท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน ค้าปลีก รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการมากขึ้น

นายพรสนอง กล่าวว่า ด้านธุรกิจรายใหญ่จะเน้นให้บริการแบบครบวงจร รองรับความต้องการลูกค้าธุรกิจเปลี่ยนไป เช่น การขยายเครือข่ายธุรกิจและซื้อกิจการในต่างประเทศ หรือบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนเองและร่วมทุนในไทยมากขึ้น รวมถึงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) จะดึงการเข้ามาลงทุนของต่างชาติมากขึ้น ทั้งในยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คลี่คลายมากขึ้นตามเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ส่วนเงินฝากลูกค้าธุรกิจ คาดโต 6-8% จากสิ้นปีก่อน 2.51 แสนล้านบาท

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ พพ.พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อรองรับกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เกิดขึ้นในภาคใต้ตามแผน ล่าสุด พพ.มอบหมายให้มหาวิทยาลัยศิลปากรตรวจสอบศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวมวลพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง ว่า มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ที่จะสนับสนุนให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากข้อมูลเดิมได้มีการตรวจสอบไว้ตั้งแต่ปี 2557-58 ซึ่ง นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังาน มีนโยบายรองรับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งการวางระบบสายส่งไปยังภาคใต้ การเพิ่มโรงไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อีก 200-300 เมกะวัตต์

นายประพนธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มอบให้ บริษัทพีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินการผลิตไฟจากเชื้อชีวมวลรวม 12 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการประชารัฐที่จะนำร่องโดยจะเสนอเข้าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 7 มีนาคม 2561

นายประพนธ์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พพ.ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ภาคเอกชน ประเด็นเกี่ยวกับโครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัยแบบเสรี (โซลาร์รูฟท็อปเสรี) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มอบนโยบายให้มีความเสรีมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะรวบรวมแนวทางทั้งหมดสรุปเพื่อเสนอต่อนายศิริ พิจารณาได้ภายใน 1 เดือน

“ก่อนหน้านี้โซลาร์รูฟท็อปเสรีจะเปิดรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ 300 เมกะวัตต์ แต่เมื่อนโยบายให้เสรีมากขึ้นก็ต้องมาดูในเรื่องของระบบสายส่งว่าเพียงพอแค่ไหน คงมากกว่า 300 เมกะวัตต์แต่จะมีการกำหนดปริมาณไฟฟ้า ส่วนราคารับซื้อคงต้องมาดูอัตราที่เหมาะสมอีกครั้ง และจะซื้อแบบเน็ต-บิลลิ่ง คือเป็น 2 มิเตอร์แยกคำนวณไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสายส่งเท่ากับไฟฟ้าขายส่งแล้วหักลบค่าไฟในรอบบิล” นายประพนธ์ กล่าว

คนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุจากพันธุกรรม ความอ้วน พฤติกรรมจากการกินอาหารรสชาติหวานจัด อาหารที่มีไขมันสูง มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน และขาดการออกกำลังกาย

นพ. ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน กระหายน้ำบ่อยและมักดื่มน้ำครั้งละมากๆ เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย เมื่อเกิดแผลจะหายช้ากว่าปกติ อาจลุกลามและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

การป้องกันโรคนี้สามารถทำได้โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน และอาหารหรือขนมหวานที่มีรสชาติหวานจัด หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่

มีข้อแนะนำว่า ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด โดยควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป เรียนรู้อาการและวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ตรวจดูเท้าว่ามีแผลหรือการอักเสบหรือไม่ ควรใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง

ส่วนข้อแนะนำเบื้องต้นในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรือสัปดาห์ละ 120-150 นาที หรือวันละ 30 นาที โดยเริ่มต้นออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อน และเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายแข็งแรง เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ เริ่มจากอบอุ่นร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย

รพ.รามาธิบดี ห่วง “ผู้ป่วยโรคหายาก” เหตุพบน้อย 1 ใน 2,000 คน แต่ค่ารักษาสูง ชี้ 80% มาจากพันธุกรรม กว่าครึ่งเกิดในเด็ก เครือข่ายเล็งจัดทำข้อสรุปเสนอรัฐบาลช่วยเหลือภายในตุลาคมนี้

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ศ.พญ. ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล หัวหน้าสาขาวิชาพันธุศาสตร์ โรงพยาบาล (รพ.) รามาธิบดี แถลงข่าว “พลิกชีวิตใหม่ ในวันโรคหายาก ปี 2018” ว่า โรคหายากคือโรคที่พบน้อย มีความชุกต่ำกว่า 1 ใน 2,000 คน ปัจจุบันทั่วโลกพบมากถึง 7,000-8,000 โรค โดย ร้อยละ 5 จะป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนประเทศไทยพบผู้ป่วยหลายหมื่นคน โดย ร้อยละ 80 มาจากพันธุกรรม และ ร้อยละ 50 จะเป็นผู้ป่วยเด็ก แต่อาจจะเริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ เช่น โรคมีกรดในเลือด จะมีอาการซึม กินไม่ได้ น้ำตาลในเลือดต่ำ มีกรดในเลือดไม่รู้ตัว หากรักษาไม่ทันจะเสียชีวิตหรือพิการ การรักษาต้องใช้นมและยาพิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละโรคการตรวจรักษาและใช้ยาแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นยากำพร้า หรือยาที่มีการผลิตน้อย

“ปี 2561 มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายากได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ถ่ายทอดเรื่องราวโรคหายากที่เกิดขึ้นจริงในไต้หวันผ่านภาพยนตร์เรื่อง “Rock Me to The Moon” ซึ่งมีกำหนดเข้าฉายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อนำรายได้เข้ามูลนิธิช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป” ศ.พญ.ดวงฤดี กล่าว

ด้าน ศ.นพ. ธันยชัย สุระ หัวหน้าสาขาวิชาพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.รามาฯ แถลงว่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ที่จะวินิจฉัยโรคหายากมีน้อย ทั่วประเทศมีเพียง 20 คน และกลุ่มโรคหายากยังไม่มีในสารบบของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทำให้ไม่มีสถิติข้อมูลอ้างอิงทั้งในแง่ของจำนวนผู้ป่วยในประเทศไทย งบประมาณค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงสิทธิหลายๆ เรื่อง หากมีการระบุในระบบ ผู้ป่วยก็จะได้รับการพิจารณาสิทธิในการช่วยเหลือดูแลจากภาครัฐ ช่วยเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษามากขึ้น

ขณะที่ นางปรียา สิงห์นฤหล้า ประธานมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก แถลงว่า เนื่องจากลูกป่วยเป็นโรคฉี่หอม ซึ่งเป็นโรคหายาก แต่หาเพื่อนคุยและปรึกษาไม่ได้ เมื่อค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตพบหลายชมรมญาติผู้ป่วยโรคหายาก แต่ยังไม่มีชมรมที่ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบการรักษาของภาครัฐ จากปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกันตั้งมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายากขึ้น และทำงานร่วมกับชมรมผู้ป่วยหายากในประเทศเอเชียแปซิฟิก เพื่อขับเคลื่อนเชิงระบบ ล่าสุดสมาชิกในแต่ละประเทศอยู่ระหว่างศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยต้องเผชิญคือเรื่องค่าใช้จ่าย และปัญหาต่างๆ จะมีการสรุปผลในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนนำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาล เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือทางใดทางหนึ่งต่อไป ซึ่งผู้ป่วยโรคหายากจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มรู้ทัน รักษาทัน ประหยัดเงิน และ 2. กลุ่มดูแลด้วยการใช้ยา

เป็นอีกโรคฮิตของคนกรุง ยิ่งเครียดยิ่งมา ยิ่งมายิ่งเครียด
“กรดไหลย้อน” เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้

สาเหตุโดยมากรูปแบบการกินการอยู่ เช่น กินอาหารไขมันสูง กินมากเกินไป ทำให้อาหารค้างอยู่กระเพาะนาน อาหารรสจัด ระคายเคืองในกระเพาะ กินแล้วนอนทันที รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มรสเปรี้ยวจัด มีกาเฟอีน กระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น

ที่สำคัญคือ ความเครียดที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ กล่าวคือ เป็นโรคของคนเมืองโดยแท้ ล่าสุดมีการแชร์กันถึงสรรพคุณอันเลิศล้ำของ “น้ำต้มใบกะเพรา” รักษากรดไหลย้อน
แม้ว่าทางการแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งแผนปัจจุบันที่จำแนกสารสำคัญในใบกะเพรายืนยันว่า น้ำใบกะเพราช่วยได้จริง เพราะมีสารประเภทยูจีนอล ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม จึงช่วย “บรรเทา” อาการกรดไหลย้อนได้จริง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกะเพรามีฤทธิ์ร้อน จึงไม่ควรใช้มากเกินไป และทางที่ดีควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่ เช่น กินอาหารมันๆ ทอดๆ อาหารรสจัดให้น้อยลง ลดการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ไม่กินมื้อหนักก่อนนอน

และหลีกเลี่ยง-ไม่เครียดนะ ไม่เครียด-ต้องทำให้ได้! รศ.ดร.อริยาภรณ์ พงษ์รัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยถึงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะของมหาวิทยาลัย ว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยอาจารย์สามารถใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีและการศึกษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ทางการเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลาย ก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้แบบผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการศึกษาและการดำรงชีวิต ตลอดจนมีสมรรถนะต่างๆ ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป

ด้าน ผศ.ดร.รัชดา โสภาคะยัง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า ลักษณะพิเศษเฉพาะของห้องเรียนอัจฉริยะมีจุดเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้งสื่อในระบบภาพและเสียง ก่อให้เกิดการเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ สำนักงบประมาณ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ยกระดับการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ทั้งสถานที่ตั้งห้องเรียน โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง ระบบปรับอากาศ สามารถจัดห้องเรียนในรูปแบบกิจกรรมกลุ่มย่อย การบรรยาย โครงงาน การนำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีและทักษะ การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง

จากโดนัทจิ๋วแสนธรรมดา เมื่อถูกแต่งแต้มสีสัน เพิ่มลวดลายสวยงาม ทำให้ขนมโดนัทดูน่ากินมากขึ้น กลายเป็นจุดขายตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะเด็กๆ และ วัยรุ่น กลายเป็นอีกอาชีพหนึ่งของ ปรีดา ชอบแต่ง ซึ่งเดิมทำธุรกิจบริการที่พักอยู่ ที่ปรายนารีสอร์ต เลขที่ 229 หมู่ที่ 3 ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งปกติเปิดกิจการเป็นรีสอร์ต บริการห้องพัก เป็นอาชีพหลัก แต่เพราะเป็นคนชอบการทำขนมอยู่แล้ว และอยากหารายได้เสริม จึงผันตัวเองไปเข้าคอร์สเรียนทำขนม ซึ่งตอนนี้เลยได้ทำขนมโดนัทจิ๋ว ขายผ่านสื่อออนไลน์ เช่น ทางไลน์ เฟซบุ๊ก เป็นรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่ง และเป็นรายได้ที่มากพอสมควรด้วย

ปรีดา ชอบแต่ง หรือ เอียด ในวัย 42 ปี เล่าว่า ทำขนมโดนัทจิ๋วนี้มาได้ 4 เดือนแล้ว ซึ่งได้ผลตอบรับดีมาก โดยจุดไฮไลต์ของขนมโดนัทจิ๋วผลไม้แฟนตาซีที่มีผู้สนใจค่อนข้างมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คือสามารถตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัย และออเดอร์เพียบ แต่ไม่ได้มีแค่โดนัทจิ๋วผลไม้แฟนตาซีเท่านั้น ยังมีเค้กส้ม ที่ได้รับความนิยมในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ และเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา และยังมีโดนัทจิ๋วตุ๊กตาแฟนตาซี ลูกบอลแฟนตาซี จะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ สำหรับคนที่ไม่ชอบแบบแฟนตาซี ก็จะมีโดนัทแบบธรรมดา มีรสใบเตย กาแฟ วานิลลาให้เลือกทานกันได้ตามความชอบ

ส่วนผสมของขนมโดนัทจิ๋วผลไม้แฟนตาซี หลักๆ ก็จะมี ไข่ไก่ 6 ฟอง นม 250 กรัม น้ำตาลทรายขาว 1 ช้อนโต๊ะ ผงฟู 1 ช้อนชา น้ำเปล่า 250 กรัม แป้งบัตเตอร์เค้กสำเร็จรูป 1 ถุง หลังจากนั้นคนให้เข้ากัน โดยใช้วิธีการคนไปในทิศทางเดียวกัน และทำการพักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วนำแป้งไปใส่แม่พิมพ์โดนัทได้เลย โดยใช้วิธีการนึ่งเพราะจะทำให้แป้งนิ่มและน่าทานมากขึ้น

ราคาของโดนัทจิ๋วผลไม้แฟนตาซีจะอยู่ที่ราคา 25 บาทต่อ 1 กล่อง โดนัทแฟนตาซีตุ๊กตา ราคากล่อง 30 บาท โดนัทธรรมดา ราคา กล่องละ 40 บาท ส่วนเค้กส้มกล่องละ 35 บาท 3 กล่อง 100 บาท แล้วจะมีลูกบอลแฟนตาซี ไม้ละ 5 บาท และการเก็บรักษาถ้าเป็นโดนัทจิ๋วทั้งหมดก็จะไว้ได้เพียงแค่ 5 วัน เท่านั้น เพราะไม่มีการใส่วัตถุกันเสีย ส่วนเค้กส้มจะเก็บไว้ได้ประมาณ 9 วัน และควรเก็บไว้ในตู้เย็น

ด้าน วรรณณา แก้วคงที่ ลูกค้าประจำของทางร้านรายหนึ่งบอกว่า โดนัทจิ๋วแฟนซีของทางร้านมีความพิเศษ นอกจากหน้าตาสีสันน่ารับประทานแล้ว ยังมีรสชาติอร่อยเนื้อนิ่ม เด้งดึ๋ง ส่วนเค้กส้มก็มีความหวานๆ เปรี้ยวๆ อร่อยกลมกล่อม

สำหรับใครที่สนใจอยากจะสั่งไปลองชิม หรือสั่งเป็นของฝากในช่วงเทศกาลต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก WaritthaChobtang และทางไลน์ Waritthapoy11 หรือติดต่อสั่งได้ทางโทรศัพท์ หมายเลข (087) 396-4521, (087) 633-8911

ส.โรงสีข้าวฯ ชง นบข.คุมเข้มเครื่องวัดความชื้น “ข้าวสาร” เทียบเท่าข้าวเปลือก ลดต้นทุนแฝงโรงสี-สร้างมาตรฐานทั้งระบบอุตสาหกรรมข้าว

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ตนพร้อมคณะผู้บริหารสมาคม ได้ประชุมร่วมกับผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำนายกรัฐมนตรี (นางจินตนา ชัยยวรรณาการ) เพื่อหารือถึงแนวทางกำหนดมาตรฐานอัตราและเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกและข้าวสารทั้งระบบ สำหรับเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารและจัดการข้าว (นบข.) ในวันที่ 2 มี.ค.นี้

“ทั้งที่ประกาศกำหนดว่า การค้าข้าว หมายถึง ข้าวทุกชนิด ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร แต่กลับบังคับให้เฉพาะโรงสีติดเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกเท่านั้นจึงเสนอให้มีเครื่องวัดความชื้นข้าวสารด้วย เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ ขณะนี้โรงสีกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบการทำบัญชีเดียว การตัดลดค่าความชื้นเป็นต้นทุนแฝงทางบัญชีของโรงสี ทุก 1% เท่ากับค่าข้าว 15 กรัม นอกจากนี้ยังเสนอให้ปรับลดค่าความชื้นเฉลี่ยจากเดิมที่กำหนด 15% เหลือ 14% ให้เป็นระดับเดียวกันทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร เพื่อประโยชน์ต่อระบบห่วงโซ่การค้าข้าว” นายเกรียงศักดิ์กล่าว

สำหรับข้อเสนอของสมาคม ประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ 1. เครื่องวัดความชื้นนั้น ไม่ว่าเครื่องชนิดบิดหรือเครื่องชนิดกระบอก โดยหลักการแล้วจะต้องวัดความชื้นได้เท่ากัน ทั้งนี้ กฎกระทรวงกำหนดเครื่องวัดในบังคับ พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 ให้คำนิยาม “ข้าว” หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวสาร และข้าวกล้องด้วย ประเด็นปัญหาที่นำเสนอ คือ ผู้ประกอบการโรงสีถูกกำหนดให้ใช้เครื่องวัดความชื้นทรงกระบอก (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์) โดยตัดโปรแกรมอื่นๆ ออกเพื่อให้วัดความชื้นของข้าวเปลือกได้อย่างเดียว โรงสีจึงไม่มีเครื่องมือวัดข้าวสารและข้าวกล้องที่เป็นมาตรฐานตามการรับรองของชั่ง ตวง วัด ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้ สะท้อนว่ามาตรฐานในการวัดความชื้นยังแตกต่างกันอยู่มาก อีกทั้งในกรณีที่โรงสีขายข้าวสารให้ผู้ส่งออกซึ่งใช้เครื่องวัดความชื้นชนิดบิดคนละแบบกันกับโรงสี โดยหลักการแล้วไม่ว่าเครื่องชนิดใด รูปแบบใด ต้องวัดค่าได้เท่ากันด้วย

2. ทางสมาคมจึงขอให้เพิ่มเติม ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การใช้เครื่องวัดความชื้นข้าวในการซื้อขายหรือจำหน่ายข้าวเปลือก ซึ่งออกมาตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 2560 ให้ครอบคลุมถึงข้าวเปลือก ข้าวสาร และข้าวกล้อง ตามคำนิยาม “ข้าว” ตามกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการค้าข้าว

และ 3. เสนอให้ปรับมาตรฐานความชื้นทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารให้อยู่ที่ 14% จากเดิมที่กำหนดให้ความชื้นข้าวเปลือกอยู่ที่ 15% และข้าวเหนียวที่ 12% เพื่อที่ได้ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริง เพราะถ้าสูงกว่านั้นจะเก็บรักษายาก เสี่ยงต่อการเสียหาย เพื่อลดปัญหาต้นทุนแฝงจากค่าความชื้นซึ่งสูงมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 22 – วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 จากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศ กลับมีอีกหนึ่งความพยายามของหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่ช่วยกันผลักดันและฟื้นคืนทรัพยากรสัตว์น้ำตลอดจนการสร้างอาชีพให้เกิดรายได้ให้กับประชาชนชาวไทยทั้งน้ำจืด น้ำทะเล รวมถึงประชาชนรอบชายฝั่ง หน่วยงานนั้นก็คือ “กรมประมง” ธนาคารเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่ แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อช่วยฟื้นฟูสัตว์น้ำให้แก่ชุมชนในเขตพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย โดยเน้นรูปแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม ดำเนินการต่อได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ แต่ก่อประโยชน์ให้กับธรรมชาติเศรษฐกิจ และปากท้องของคนในชุมชนได้อย่างมหาศาล

นายสนธิพันธ์ ผาสุขดี ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กล่าวว่า โครงการธนาคารผลผลิตการเกษตรด้านประมงเกิดขึ้นตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มอบหมายให้กรมประมงดำเนินการเพื่อสร้างแหล่งอาหารให้กับชุมชน โครงการนี้จะนำแหล่งน้ำของชุมชนที่ไม่ได้
ใช้ประโยชน์มาส่งเสริมในเรื่องของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และวิธีบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงชีพ โดยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ

เบื้องต้นทางชุมชนจะต้องมีแหล่งน้ำพื้นที่ตั้งแต่ 15-100 ไร่ ใกล้กับหมู่บ้านเพื่อจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิด หลังจากชุมชุนผ่านการคัดเลือกทางกรมประมงจะสนับสนุนงบประมาณพร้อมลูกพันธุ์สัตว์น้ำในปีแรก และจะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดและศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดในพื้นที่เข้าไปให้คำแนะนำ และความรู้ด้านประมงให้แก่คณะกรรมการชุมชนเพื่อนำไปปรับใช้พัฒนางานด้านประมงในพื้นที่

อย่างไรก็ตามการเข้าไปส่งเสริมของเจ้าหน้าที่กรมประมงจะเปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิดให้เกษตรกรโดยเน้นในเรื่องของการเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ อาทิ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำกองอาหารสัตว์น้ำ การพัฒนาคุณภาพน้ำ ฯลฯ เรียกได้ว่าทางเจ้าหน้าที่จะนำหลักวิชาการที่เข้ามาสนับสนุน แต่ทางชุมชนจะต้องร่วมกันตัดสินใจหาแนวทางบริหารจัดการที่เหมาะสมในการพัฒนาธนาคารผลผลิตเกษตรด้านประมงของตนเอง

โครงการธนาคารผลผลิตเกษตรด้านประมงภายใต้การสนับสนุนของกรมประมงเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี2559 – 2561 ปัจจุบันมีชุมชนสนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว 40 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละแห่งจะดำเนินการ ตามข้อตกลงหรือข้อกำหนดของกรมประมง เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการประจำแหล่งน้ำเพื่อดูแลแหล่งน้ำ มีข้อกำหนดเรื่องผลประโยชน์ที่จะได้รับและวิธีนำเงินมาบริหารจัดการในชุมชน

นายสมบุญ ธัญญาผล รักษาการประมงจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการสนับสนุนในส่วนของสำนักงานประมงจังหวัดบุรีรัมย์ว่า ทางสำนักงานประมงจังหวัดบุรีรัมย์ได้สำรวจพื้นที่ชุมชนบ้าน
ซับสมบูรณ์จัดเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพพัฒนาได้ในเรื่องของการประมง หลังจากที่ชุมชนบ้านซับสมบูรณ์ได้เข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว ทางชุมชนก็ได้มีการประชาคมระดมความคิดเห็นกันในหมู่บ้านว่าจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อพัฒนางานด้านการประมงในพื้นที่หนองซับสมบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ

กรมประมงให้คำปรึกษาในเรื่องของหลักวิชาการ โดยกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการอยู่จะมีกิจกรรมหลักๆ ดังนี้ 1.กิจกรรมการอนุบาลลูกปลาในคอกเพื่อนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำในชุมชน2.กิจกรรมอนุบาลลูกปลาเพื่อจำหน่ายลูกพันธุ์ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจนำไปเพาะเลี้ยง3.กิจกรรมเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อนำไปจำหน่ายให้ประชาชนในพื้นที่นำไปบริโภคอีกทั้งยังมีการต่อยอดด้วยการนำไปแปรรูปเป็นปลาแดดเดียวและปลาส้มเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย 4.กิจกรรมเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำด้วย

การปล่อยปลาและเสริมอาหารธรรมชาติ เช่น ทำคอกปุ๋ยในแหล่งน้ำเพื่อช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติ นางหนูแดง ทองใบ ประธานโครงการธนาคารผลผลิตเกษตรด้านประมงบ้านหนองซับสมบูรณ์ กล่าวในฐานะตัวแทนชุมชนว่า ชุมชนบ้านซับสมบูรณ์มีหนองซับสมบูรณ์ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.ทุ่งจังหัน อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่ขนาด 40 ไร่ใกล้ชุมชน เดิมยังไม่ได้มีการนำแหล่งน้ำมาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร แต่เมื่อปี 60 ทางชุมชนสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เป็นอย่างมากจึงได้มีการประเมินพื้นที่ร่วมกับกรมประมง โดยในปีแรกหลังเข้าร่วมโครงการฯ ทางชุมชนได้รับสนับสนุนลูกพันธุ์ปลาและงบประมาณจากกรมประมง จำนวน 173,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการเริ่มก่อตั้งโครงการฯ ทางชุมชนได้นำงบประมาณดังกล่าวมาสร้างโรงเรือน สร้างบ่อเลี้ยงปลา รวมถึงสร้างกระชังเพื่ออนุบาลลูกพันธุ์ปลา