หัวใจของความสำเร็จในการปลูกผักกาดขาวปลีกว่า 10 ปีของคุณมิน

อยู่ที่ความใส่ใจ มีการทดลองและปรับปรุงวิธีการอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งคอยศึกษาจากคนที่เขาประสบความสำเร็จว่าเขาทำกันอย่างไร โดยเฉพาะการทดลองใช้ปุ๋ยสูตรใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

คุณมิน กล่าวว่า “สำหรับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู นั้นตอนแรกก็ยังไม่กล้าใช้ เพราะว่าเป็นปุ๋ยสูตรใหม่เลยยังไม่มั่นใจว่าจะได้ผลดีหรือไม่ แต่พอเห็นแปลงผักกาดขาวปลีของแม่นั้นเขียวสวย ต้นอวบ ใบแข็งแรงขึ้นอย่างชัดเจน ด้วยความที่เราเป็นคนที่คอยพัฒนาผลผลิตของเราอยู่แล้วก็เลยถามแม่ดูว่ามีการบำรุงผักอย่างไร ก็เลยทราบมาว่าแม่ได้ใช้ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู

เมื่อเราเห็นผลลัพธ์ที่ดีจากแม่ ก็เลยลองเปิดใจใช้ดูบ้าง พอได้ใช้จริงก็ไม่ผิดหวัง เนื่องจากปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู มีแคลเซียม-โบรอน ช่วยให้ผักใบหนา ต้นอวบ เมื่อใบผักกาดขาวปลีสมบูรณ์ ก็ช่วยลดต้นทุนการฉีดฮอร์โมนได้ ไร่ละประมาณ 2,000 บาท ทั้งยังช่วยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอีกถึง 10% จากปกติที่เคยได้น้ำหนัก 80-90 กิโลกรัม/ร่อง ปัจจุบันได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 100-110 กิโลกรัม/ร่อง”

“การกองปุ๋ย” ภูมิปัญญาคนรุ่นเก่า
ได้ผลดี ผักโตไว ใบไม่เน่า
เคล็ดลับที่ส่งต่อกันมาของเกษตรกรผู้ปลูกผักกาดขาวปลีในอ.ท่าม่วง จ.กาญจบุรี คือ “วิธีการกองปุ๋ย” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้แล้วได้ผลดี

“การกองปุ๋ย” คือการนำปุ๋ยที่เตรียมไว้ มาโรยระหว่างแนวปลูกต้นผักกาดขาวปลี โดยกองปุ๋ยนั้นจะอยู่ห่างจากโคนต้นผักกาดขาวปลีประมาณ 3-4 นิ้ว จากนั้นให้น้ำตามด้วยระบบสปริงเกลอร์ วิธีให้ปุ๋ยลักษณะนี้เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสำหรับผักกาดขาวปลี เนื่องจากวิธีการนี้ทำให้เม็ดปุ๋ยไม่ตกค้างอยู่ที่ใบ เหมือนกับการหว่านปุ๋ยโดยทั่วไป และเม็ดปุ๋ยไม่สัมผัสกับใบผักโดยตรง ลดความเสี่ยงไม่ทำให้ผักเน่า คุณมินแนะนำว่า ปุ๋ยที่จะใช้ควรเป็นปุ๋ยที่สามารถละลายน้ำได้ดี เพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้ทันทีหลังจากที่เราให้น้ำ

ผลผลิตดี มีแม่ค้ารับซื้อถึงไร่
ได้กำไร ไม่ต้องหาตลาดเอง
ข้อดีของผักกาดขาวปลีก็คือ เป็นผักที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว ถ้าผักได้คุณภาพดี ตรงตามความต้องการของตลาด เกษตรกรแทบไม่ต้องหาตลาดเอง เพราะแม่ค้าจะมารับซื้อถึงไร่ ในราคาไร่ละ 25,000 – 30,000 บาท ซึ่งอาจจะมีบางรอบที่ราคาลดลงบ้างเป็นปกติของพืชผลทางเกษตรทุกชนิด หักต้นทุนค่าใช้จ่าย ยังเหลือผลกำไร 30% ถือว่าเป็นอีกพืชที่ทำกำไรได้ดี โดยที่ใช้เวลาไม่มาก ซึ่งผักกาดขาวปลีนั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 วิธี คือ เก็บเกี่ยวหลังหว่านเมล็ด ระยะ 40-45 วัน อีกวิธีหนึ่งคือการเก็บแบบ “ลุ้ยแชร์” ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ยังห่อหัวไม่แน่น และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 30-35 วัน

เกษตรกรรุ่นใหม่ ต้องเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอยู่เสมอ อย่ายึดติดกับสิ่งที่เคยทำมาอย่างเดียว ซึ่งถือได้ว่า “คุณมิน ”เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ผสมผสานองค์ความรู้เดิมของครอบครัว และทดลองในวิธีการของตัวเอง ลองผิดลองถูก หมั่นสังเกต และเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมลงมือปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น สร้างรายได้และผลกำไรต่อไร่มากขึ้น

กลางวันแดดแรงอากาศร้อนและแห้ง ส่วนกลางคืนอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ มักพบเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกและติดผลอ่อน จนถึงระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช

สำหรับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของเพลี้ยไฟชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนดอกและยอดอ่อน หากพบเพลี้ยไฟจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวต่อ 4 ดอก หรือ 1 ตัวต่อยอด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟสามารถต้านทานสารฆ่าแมลงได้

ในระยะนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเฝ้าระวังติดตามการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วใน 2 ระยะ คือ ช่วงถั่วเหลืองปลูกใหม่อายุไม่เกิน 14 วัน มักพบหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วเข้าทำลายถั่วเหลืองตั้งแต่ระยะต้นกล้า เมื่อหนอนฟักออกมาจากไข่จะชอนไชตามเส้นใบไปที่ก้านใบ เพื่อเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อที่บริเวณไส้กลางลำต้น ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลงมากกว่า 40%

เกษตรกรควรคลุกเมล็ดถั่วเหลืองก่อนปลูกด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิลยูเอส อัตรา 2 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พ่นครั้งแรก เมื่อใบจริงคู่แรกคลี่ออกมาเต็มที่ หรืออายุประมาณ 7-10 วันหลังถั่วเหลืองเริ่มงอก

ระยะนี้อุณหภูมิสูงขึ้น และมีหมอกในตอนเช้ามืด กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ให้เฝ้าระวังไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ เพราะเป็นไรศัตรูลิ้นจี่ที่มีความสำคัญมาก สามารถพบได้ในระยะใบเพสลาดและระยะเริ่มแตกใบอ่อนชุดที่สาม มักพบไรชนิดนี้ชอบดูดทำลายตาดอก ใบอ่อน ยอด และผลของลิ้นจี่ ทำให้ตาดอกไม่เจริญ

ใบที่ถูกไรเข้าทำลายจะมีลักษณะอาการหงิกงอ และโป่งพองขึ้นเป็นกระเปาะ ผิวใบบริเวณที่ไรดูดกินจะสร้างขนสีน้ำตาลขึ้นและสานเป็นแผ่นติดต่อกัน ซึ่งไรจะใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวอยู่ในขนที่สร้างขึ้นที่ผิวใบนี้ โดยจะมีลักษณะนุ่มหนาคล้ายพรม เมื่อเริ่มในระยะแรกจะมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในเวลาต่อมา

จากนั้นไรจะเริ่มเคลื่อนย้ายหาใบใหม่เพื่อดูดทำลายต่อไป ใบและยอดที่ถูกทำลายจะแห้งและร่วง ต้นที่ถูกไรทำลายรุนแรง จะแคระแกรน และไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร บางครั้งจะพบปื้นขนสีน้ำตาลเกิดขึ้นที่ช่อดอกและผลอ่อนด้วย

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจส่องดูไรกำมะหยี่ลิ้นจี่ในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบมีการระบาดของไรรุนแรงจนมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมี ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งที่ใบและยอดถูกไรทำลายนำไปเผาทิ้งนอกแปลงปลูกก่อน

แล้วจึงพ่นสารกำจัดไรในครั้งแรกด้วยสารอะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งพบว่าสารกำจัดไรชนิดนี้ใช้ได้ผลดีในการกำจัดไร หรือพ่นด้วยกำมะถัน 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งหน้าใบและหลังใบ

นอกจากนี้ ในการพ่นสารกำจัดไรครั้งที่ 2 ให้เกษตรกรพ่นสารกำจัดไรเมื่อลิ้นจี่เริ่มแตกใบอ่อน จากนั้นให้พ่นซ้ำอีก 2 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน สำหรับการปลูกต้นลิ้นจี่ในแปลงที่ปลูกใหม่ ให้เกษตรกรเลือกใช้ลิ้นจี่พันธุ์ต้านทาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย มีความต้านทานต่อการทำลายของไรกำมะหยี่ได้ดีกว่าพันธุ์โอเฮี๊ยะ

เมื่อเข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวนาตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคามมักเจอปัญหาลมหนาวพัดกระโชกแรง ทำให้ต้นข้าวที่กำลังออกรวงล้มระเนระนาด ชาวนาต้องจ่ายค่าเก็บเกี่ยวข้าวล้มในราคาแพงขึ้นจากไร่ละ 600-700 บาท เป็นไร่ละ 800-1,000 บาท เนื่องจากรถเกี่ยวเก็บทำงานได้ช้าลงเพราะข้าวล้มเก็บเกี่ยวข้าวได้ยากกว่าปกตินั่นเอง

ชาวนาตำบลห้วยเตย จึงปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากนาหว่านมาเป็นนาดำ ช่วยให้ต้นข้าวล้มน้อยลง เพราะข้าวที่ปลูกด้วยวิธีนาดำ มีรากที่ลึกลงไปในดิน ล้มยากกว่าข้าวนาหว่าน ที่รากเจริญเติบโตอยู่ที่ผิวดิน นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ได้ลงทุนซื้อเครื่องเกี่ยวนวดข้าวคูโบต้า ที่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวล้มได้ดี ข้าวร่วงหล่นน้อย โดยคิดค่าบริการสมาชิกแค่ไร่ละ 650บาท ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยสมาชิกเก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง ได้ข้าวเต็มเมล็ด น้ำหนักดี ขายข้าวได้ราคาอีกต่างหาก

เครื่องเกี่ยวนวดข้าวคูโบต้า มาพร้อมกับ นวัตกรรมอัจฉริยะ Kubota Intelligent Solutions ( KIS ) แม้นั่งทำงานอยู่บ้าน มีระบบ GPS ติดตามรถ ติดตามตรวจสอบการทำงานของรถเกี่ยวนวดข้าวคูโบต้าที่อยู่ในแปลงนาได้ เรียกว่า นวัตกรรมอัจฉริยะของคูโบต้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดเงินและเวลาการทำงาน ลดต้นทุน ทำให้ชาวนามีผลกำไรเพิ่มมากขึ้น

ในระยะ 3-4 ปีมานี้ คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “โค่นยางพารา หันมาปลูกทุเรียน” ซึ่งจากสภาพความต้องการของตลาด และราคา ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้จริง และไม่เฉพาะแต่ยางพารา พืชเศรษฐกิจอื่น ทั้งเงาะ ส้ม และกาแฟ ก็โดนด้วย เพราะราคาและคำสั่งซื้อทุเรียนจากจีนมันล่อตาล่อใจ

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ระบุว่า ในปี 2560 ทั่วประเทศแห่ปลูกเพิ่มไปแล้วกว่า 5 หมื่นไร่ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออกทุเรียนมากเป็น อันดับ 1 ของโลก สายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ ทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง ในปี พ.ศ. 2561 พบว่าปริมาณการส่งออกทุเรียนรวมของประเทศสูงถึง 530,226 ตัน มากกว่าปี พ.ศ. 2560 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 16,343 ตัน แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของตลาดทุเรียนไทยมีมูลค่าสูงขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วน 80% ของส่วนแบ่งตลาดโลก สำหรับคู่แข่งทางการตลาดที่สำคัญของไทย ได้แก่ เวียดนาม และมาเลเซีย (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561)

ปัญหาใหญ่ของการปลูกทุเรียนคือ ปัญหาทางด้านโรคพืช ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า ที่มีมาช้านานแล้ว นักวิจัย ก็พบแล้วว่าเกิดจากเชื้อราที่สำคัญคือ ไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า (Phytophthora palmivora) อาการที่แสดงออกคือ มีแผลสีน้ำตาลเข้มโคนต้น ฉ่ำน้ำ เนื่องจากระบบรากถูกทำลาย

นอกจากนี้ ยังมีเชื้อราอีก ได้แก่ เชื้อราลาสิโอดิปโพลเดีย ทีโอโบรมี (Lasiodiplodia theobromae) สาเหตุโรคผลเน่า หรือเชื้อราไรซอคโทเนีย โซลาไน (Rhizoctonia solani) สาเหตุโรคใบติดของทุเรียน เป็นต้น

แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบว่า ทุเรียน มีอาการ กิ่งแห้ง บริเวณกิ่งมีเชื้อราสีขาวเจริญเป็นหย่อมๆ ใบที่ติดปลายกิ่งมีสีเหลืองและร่วงไป ซึ่งถ้ามองเผินๆ เกษตรกรอาจจะคิดว่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า สาเหตุเดียวกับโรครากเน่าโคนเน่า แต่นักวิจัยทดลองแยกเชื้อ ได้เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน (Fusarium solani) และเมื่อปลูกเชื้อกลับเข้าไปที่ต้นกล้าทุเรียน อายุ 5 เดือน พบบริเวณกิ่งเกิดอาการเช่นเดิม จึงสรุปออกมาว่า เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน เป็นเชื้อสาเหตุโรคกิ่งแห้งทุเรียน ซึ่งตอนนี้ระบาดมากแถวจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพบได้ในเขตจังหวัดจันทบุรีเช่นกัน

ทั้งนี้ การทราบว่า เกิดจากเชื้ออะไร สำคัญอย่างไร

สำคัญตรงที่ว่า เวลาแก้ปัญหาก็จะแก้ได้ตรงจุด ถ้าไม่ทราบว่าเกิดจากเชื้อสาเหตุตัวไหน เกษตรกรซึ่งยังคงใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดเดิมๆ ก็จะควบคุมโรคกิ่งแห้งไม่ได้ เชื้อราตัวนี้ เมื่อเข้าทำลายบริเวณกิ่ง จะทำให้ท่อลำเลียงน้ำและอาหารถูกทำลาย น้ำจากรากที่ถูกลำเลียงขึ้นมาไปเลี้ยงกิ่งและใบไม่ได้ ทำให้กิ่งแห้ง ใบเหลืองและแห้ง ร่วง และต้นตายในที่สุด

รองศาสตราจารย์ ดร. รัติยา พงศ์พิสุทธา ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นักวิจัย (ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม-สกสว.) ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลข้างต้น เผยว่า จากการทดสอบความสามารถในการเกิดโรคเพื่อยืนยันการเป็นเชื้อสาเหตุที่แท้จริง โดยการปลูกเชื้อแบบไม่ทำแผลลงบนกิ่งทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองอายุ 5 เดือน พบว่ากิ่งทุเรียนแสดงอาการโรคหลังการปลูกเชื้อ 3 วัน กิ่งที่ปลูกเชื้อมีแผลสีแดงเข้ม ขอบแผลสีน้ำตาล หลังการปลูกเชื้อ 7 วัน พบแผลสีน้ำตาลอ่อน เนื้อแผลด้านในสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม ใบที่ติดปลายกิ่งมีสีเหลือง ต่อมาหลุดร่วงไป

ส่วนการป้องกันและควบคุม นั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาสารเคมีที่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุโรคที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคกิ่งแห้งและครอบคลุมโรครากเน่าของทุเรียน เพื่อหลีกเลี่ยงการผสมสารเคมีมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารเคมีลดลง

รองศาสตราจารย์ ดร. รัติยา แนะนำว่า จากการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมี จำนวน 18 ชนิด บนอาหารเลี้ยงเชื้อในระดับห้องปฏิบัติการ ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน และให้ผลครอบคลุมถึงเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า รวมถึงเชื้อราพิเทียม เว็กแซนส์ ซึ่งทำให้เกิดโรครากเน่าของทุเรียนได้เช่นกัน ผลการทดลองพบว่า สารเคมี hymexazole ความเข้มข้น 1,000 ppm และสารเคมี copper hydroxide ที่ความเข้มข้น 1,250 ppm มีประสิทธิภาพต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราดังกล่าว

สำหรับสารเคมี pyraclostrobin ความเข้มข้นตั้งแต่ 125 ppm สามารถควบคุมเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า รวมถึงเชื้อราพิเทียม เว็กแซนส์ ที่เป็นเชื้อราชั้นต่ำได้ ซึ่งสารเคมีชนิดนี้มีการแนะนำให้ใช้กับเชื้อราชั้นสูงก่อนหน้านี้

สำหรับการแพร่ระบาดนั้น เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน สาเหตุโรคกิ่งแห้งนั้น มีการแพร่กระจายไปทางอากาศ ดิน และน้ำ แม้ไม่มีการระบาดตามเส้นทางการไหลของน้ำแบบเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า แต่ความรุนแรงของโรคในสภาพแปลงรุนแรงไม่แพ้กัน

ส่วนเชื้อราไฟทอปทอร่า พาลมิวอร่า สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่ามีการแพร่กระจายไปทางอากาศ ดิน และน้ำ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกที่มีความสูง มีการระบาดของโรคจากพื้นที่สูงมายังพื้นที่ลาดชันได้ นอกจากนี้ โอกาสสูงที่จะเกิดการปนเปื้อนในน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกร่วมกันจากที่พื้นที่สูงลงต่ำ

เมื่อตัดแต่งกิ่ง/ส่วนที่เป็นโรค ไม่ควรทิ้งไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้ดินบริเวณนั้นเป็นแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค และสามารถกลับมาทำลายทุเรียนได้อีก ดังนั้น การควบคุมโรคกิ่งแห้งที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ การตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค ต้องนำไปเผาทิ้ง และจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพื่อหยุดการเจริญของเชื้อราสาเหตุ และลดความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียน

ที่สำคัญการบำรุงต้นให้แข็งแรงก็ควรทำอย่างยิ่ง เพราะเมื่อต้นแข็งแรง สามารถต้านทานโรคได้ดีกว่า เหมือนคนที่แข็งแรงก็ไม่ต้องกินยา ดังนั้น ธาตุอาหารนอกจาก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแล้ว ก็ต้องให้อาหารเสริมอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะต้นทุเรียนที่ถูกทำให้ออกนอกฤดู บังคับให้ติดดอกออกผล เพื่อได้ราคาดี แต่ต้นจะอ่อนแอ ก็ต้องบำรุงเป็นพิเศษ

ชื่ออื่นๆ เทียนบ้าน เทียนไทย เทียนสวน เทียนดอก เทียนสี เทียนทอง

“จุดเทียนบวงสรวงปวงเทพเจ้า สวดมนต์ค่ำเช้า…ฯลฯ” หนูมีความสุขที่ได้ฟังเพลงพระราชนิพนธ์ส่งท้ายปีเก่า และดีใจมากที่ได้กราบสวัสดีปีใหม่ก่อนใครๆ หนูรู้ดีว่าหนูไม่ใช่มีชื่อแปลก เหมือนที่ท่านเคยรู้จักชื่อไม้แปลกอื่นๆ แต่ที่หนูอยากจะโชว์ตัวลำดับแรกนี้ เนื่องจากชื่อของหนูทำให้ทุกคนที่ได้ยินเข้าใจผิดไปหมด คือไม่ได้คิดถึงตัวหนูหรือญาติๆ ของหนูเลย กลับไปคิดถึงแต่ “เทียนไข” หรือเทียนขี้ผึ้ง ที่ใช้จุดบูชาพระ และให้แสงสว่าง บางคนคิดไกลถึง “เทียนพรรษา” ไปอีก หนูจึงต้องรีบแถลงข่าวสวัสดีปีใหม่ก่อนใครๆ ด้วยเหตุฉะนี้

เชื่อว่าเอ่ยคำว่า “เทียน” ทุกบ้านต้องเคยนำมาใช้ ตั้งแต่ผู้ใหญ่ถึงเด็กประถม หรือจะลงถึงเด็กอนุบาลก็ต้องเคยเห็น หรือรู้จัก แต่นั่นเป็นเทียนไขให้แสง หรือจุดในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาซึ่งมีมานานก่อนร้อยปีมาแล้ว หรือที่ชอบจุดเทียนคล้ายวันเกิด และสำหรับคนรักเสียงเพลง คงจะเคยได้ยินบทเพลงที่คุณลุง ทูล ทองใจ ขับร้องไว้ตั้ง 60 ปี ที่แล้ว ขึ้นต้นว่า “คืนหนึ่งฉันนอนสะท้อนดวงใจ เห็นน้ำตาเทียนหยดไหล เหมือนใครหลั่งน้ำตานอง ในกระท่อมเหมือนดังเป็นวังเวียงทอง…ฯ” แหม…! หนูนี้ปลื้มเชียว เพราะเพียงมีแสงเทียนในกระท่อมก็กลายเป็นวังทองไปได้

ที่หนูต้องพูดเรื่องนี้มาก เพราะต้องการย้ำให้ชัดเจน ว่าหนูไม่ใช่เทียนไข แต่หนูต้องการชี้แจงว่า “เทียน” ที่พูดถึงนี้คือ ต้นเทียน ไม้ดอกสวยสีหวานหลากสีที่ปลูกกันทั่วไป และมีวงศาคณาญาติเป็นร้อยๆ เหล่ากอ หลากหลายชื่อพันธุ์ หากเขียนชื่อขึ้นต้นด้วย เทียน หนูว่ารวมญาติๆ หนูแล้ว ตั้งทีมฟุตบอลได้เป็น 10 ทีม แน่นอน หนูลอง sample ให้ดูชื่อนะ ทั้งชื่อแปลกๆ ก็มาก เช่น เทียนขโมย เทียนแดง เทียนใบด่าง เทียนหยด เทียนญี่ปุ่น เทียนนิวกินี เทียนทอง เทียนหลอด เทียนกบ เทียนทะเล เทียนสีม่วง เทียนดอกซ้อน เทียนน้ำ เทียนนา เทียนทยา และที่นักวิจัยสนใจมากก็คือ เทียนกิ่ง เพราะชายหญิงทุกคนปรารถนา ที่ใช้เปลี่ยนสีเส้นผม

มีกลุ่มชื่อเทียนอีกที่เป็นทั้งสมุนไพร และชื่อเทียนที่เป็นเครื่องยาในตำรับยาวิชาเภสัชกรรมโบราณ พูดถึงตอนนี้ หนูต้องกราบขอบพระคุณ อาจารย์ไพบูลย์ แพงเงิน อีกแล้ว ที่ท่านมีข้อมูลเกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย จึงทำให้รู้จักเทียนชนิดต่างๆ หลายรูปแบบ ทั้งเทียนต้นไม้ และเทียนยาสมุนไพร แล้วท่านยังเขียนถึงเทียนในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานอีกด้วย หนูจึงขอสรุปเท่าที่หนูพอจะจำได้นะคะ

เทียนที่เป็นชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง BETFLIX ซึ่งได้จากผลและเมล็ดแห้งของไม้ล้มลุก และสำหรับที่เรียกเทียนทั้ง 5 ได้แก่ เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนดำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน ถ้าเป็นเทียนทั้ง 7 ก็เพิ่มเทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ ถ้าเป็นเทียนทั้ง 9 ก็เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย หรือเพิ่มเทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ เห็นไหมคะ แค่ขึ้นต้นก็จำไม่ไหวแล้ว และแต่ละเทียนก็เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องยาตำราสมุนไพรที่มีสรรพคุณให้รสยาชนิดต่างๆ รวมทั้งผสมอยู่ในยาหอม ยาดม อีกหลายขนาน ที่เกี่ยวกับแก้ลม วิงเวียน ยาระบาย หนูจึงขอแนะนำตัวแทนของต้นเทียนสักชนิดพันธุ์นะคะ ไม่ต้องโชว์ ชนิดที่มีดอกสวย เช่น เทียนหยด ที่เขาให้ฉายาว่า…ร้อนจากหยดเทียน เท่ากับความงามของ “เทียนหยด” หรือ เทียนญี่ปุ่น ที่สวย เซ็กซี่ ดังฉายา “ดอกบานสดชุ่มฤดี งามดั่งสาวคลี่กิโมโน” หนูจึงขอเสนอ “เทียนบ้าน” เป็นตัวแทนพี่ๆ น้องๆ เทียนทั้งหลายนะคะ

ชื่อเทียนรวมๆ ทั่วๆ ไปที่เรียก เทียนไทย เทียนสวน เทียนบ้าน นั้น ในภาษาจีน เรียก ห่งเซียง จึงกะฮวย จี๋กะเช่า เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อน เนื้อใส มีขนเล็กน้อย สูงไม่เกิน 1 เมตร ลำต้นมักจะเอียงไม่ตั้งตรง เปราะง่าย ใบเดี่ยว แตกออกตามก้านลำต้น มองเห็นเส้นในใบ ขอบใบหยัก ออกดอกเดี่ยว หรือติดกันช่อหนึ่ง 2-3 ดอก มีหลายสี ขาว ม่วง ชมพู แดง ส้ม หรือในหนึ่งดอกอาจจะมีหลายสี เมื่อแก่เป็นผลมีเมล็ดดีดออกได้ เมล็ดกลม เล็ก มีจำนวนมาก ใช้ขยายพันธุ์ได้ดี เพียงลงดินแล้วกลบให้เรียบชุ่มน้ำก็งอกง่ายๆ เพราะเป็นไม้ที่ชอบที่ร่มชื้น หรือหักกิ่งแก่ปักชำ แช่น้ำก็มีรากปลูกได้

สรรพคุณทางยา ใบสดให้รสเฝื่อน เพราะมีสารสำคัญซึ่งรายงานทางวิทยาศาสตร์ พบว่า มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นโรคกลาก เกลื้อน หรือบริเวณง่ามเท้า ฮ่องกงฟุ้ต รวมทั้งปรุงเป็นยาสลายลม ฟอกเลือด แก้บวม ปวดตามข้อ ถ้าเป็นลำต้นก็มีรสเฝื่อน ขับลมให้เลือดเดินสะดวก เส้นเอ็นคลายตัว แก้เหน็บชา แก้แผลเน่าเปื่อย ส่วน ราก มีรสเฝื่อนเมา ฟอกเลือด ลดบวมช้ำ ตกขาว หรือตกเลือด ที่พิเศษสุดในส่วนของใบและดอก นิยมนำมาตำละเอียดทาบริเวณที่เป็นแผลพุพอง หรือโปะไว้ที่ “เล็บขบ” ก็จะถอนพิษปวดแสบปวดร้อน กำจัดกลิ่นได้ดีด้วย