หากใครสนใจอยากเยี่ยมชมกิจการสวนละมุดบางกล่ำ

หรือชมการเลี้ยงผึ้งชันโรงของชุมชนแห่งนี้ ติดต่อได้โดยตรงกับ คุณเดชา ศิริโชติ (คุณโอ) เจ้าของสวนแห่งนี้ โทร. 089-197-8192 คุณพัสณากรณ์ สุระกำแหง โทร. 087-418-9327 คุณธนพล พรหมวิสุทธิคุณ โทร. 083-190-9729 (จำหน่ายรังเลี้ยงผึ้งพร้อมแม่พันธุ์) คุณเอกวิวิชย์ ถนอมศรีมงคล โทร. 089-466-4919 หรือติดตามข่าวสารของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ ได้ทางเฟซบุ๊ก “กลุ่มเลี้ยงผึ้งชันโรงตำบลบางกล่ำ” ได้ตลอดเวลา

“ดาวเรือง” จัดเป็นไม้ดอกที่มีความผันผวนทางด้านราคาค่อนข้างสูง หากปีไหนความต้องการมากแต่ผลผลิตน้อยเกษตรกรก็ยังพอยิ้มออกหน่อย เพราะราคาจะดีดขึ้นไปสูงถึงดอกละ 2.50-3 บาท แต่หากช่วงไหนผลผลิตล้นตลาด ราคาจะร่วงลงมา ชนิดที่ว่าคนปลูกก็ร่วงลงมาตามกันเลยทีเดียว และยิ่งมาประจวบเหมาะกับสถานการณ์โควิด-19 เทศกาลงานต่างๆ ถูกยกเลิก ส่งผลให้ราคาดาวเรืองตกต่ำซ้ำเติมเกษตรกรเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรควรที่จะเริ่มหาทางออกให้ตัวเอง ด้วยการนำผลผลิตที่มีอยู่นำมาแปรรูป เนื่องจากได้มีงานวิจัยจากออกมาว่า “ดอกดาวเรือง” ไม่ได้มีดีแค่นำมาร้อยพวงมาลัยหรือจัดแจกันไหว้พระเพียงเท่านั้น แต่ยังมีสารสำคัญที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตาและบำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย

คุณนฤดี ทองวัตร หรือ พี่อุ๋ย อยู่บ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เกษตรกรนักสู้ ผิดหวังกับการปลูกดาวเรืองแบบขายดอกสด พลิกวิกฤตเปลี่ยนเส้นทางการตลาดหันทำชาดอกดาวเรืองขาย สร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมได้กว่าครึ่ง

พี่อุ๋ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการแปรรูปชาดอกดาวเรืองว่า ตนเองประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกดาวเรืองมานานกว่า 13 ปี แต่ช่วงหลายปีหลังมานี้ต้องประสบกับปัญหาด้านการตลาดมาอย่างต่อเนื่อง เกิดความไม่แน่นอนในชีวิต เป็นเหตุให้ต้องตัดสินใจลองเปลี่ยนวิธีการสร้างรายได้แบบใหม่เกิดขึ้น ด้วยการพยายามมองหาจุดเด่นสำคัญของดอกดาวเรือง จนได้ค้นพบว่าดอกดาวเรืองมีสารสำคัญที่ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณได้ และได้ต่อยอดจากจุดเด่นตรงนี้หันมาทดลองแปรรูปดาวเรืองทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะมองว่ากระแสรักสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงตัดสินใจเบนเข็มจากการขายดอกสดเปลี่ยนมาทำชาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี

ด้วยการทดลองปลูกดาวเรืองในโรงเรือน ซึ่งข้อแตกต่างของการปลูกดาวเรืองแบบนอกโรงเรือนกับในโรงเรือนนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก แต่สาเหตุที่ต้องแยกกันปลูกนั้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ของการนำดอกไปใช้ที่แตกต่างกัน

“เมื่อก่อนเราปลูกดอกดาวเรืองแบบนอกโรงเรือนเพื่อส่งให้แม่ค้าสำหรับร้อยพวงมาลัย แต่ช่วงหลายปีมานี้ดอกดาวเรืองราคาไม่ค่อยดีนัก เราจึงลองทดลองหันมาปลูกดาวเรืองในโรงเรือนเพื่อการนำไปบริโภค ทำเครื่องดื่ม ชาดอกดาวเรือง หรือทำสารสกัดจากดอกดาวเรืองเพื่อไว้ใช้ทำเวชสำอาง จึงต้องแยกปลูกในโรงเรือนเพื่อให้ปลอดภัยจากสารเคมีทุกชนิด และนอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มแสงสีแดงให้กับดาวเรือง เพื่อให้ได้สำคัญเพิ่มขึ้นอีกด้วย”

ปลูกดาวเรืองในโรงเรือน
ด้วยเทคนิคการเพิ่มแสง
เจ้าของบอกว่า เทคนิคการปลูกดาวเรืองเพื่อนำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม หรือปลูกเพื่อสกัดเอาสารสำคัญนั้น ขั้นตอนการปลูกไม่แตกต่างกันมากนัก สำคัญที่ความพิถีพิถันและความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก จำเป็นต้องปลูกในโรงเรือนเพื่อหลีกเลี่ยงจากสารเคมีทุกชนิด เพราะว่าด้วยตัวของดอกดาวเรืองเอง เป็นพืชที่ค่อนข้างดูดซับสารพิษในดินเข้ามาไว้ในตัว อย่างเช่น ถ้าปลูกในดินที่ผ่านการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงแล้วตกค้างในดิน ตัวดอกดาวเรืองมีคุณสมบัติในดูดซับสารเหล่านี้เข้ามาในต้น โดยจะดูดซับไว้ที่ส่วนรากมากที่สุด และอาจจะกระจายสู่ดอกได้ด้วย ฉะนั้น การปลูกในโรงเรือนถือเป็นวิธีที่ช่วยหลีกเลี่ยงสารเคมีได้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนคือจะต้องปลูกในถุง และต้องเป็นดินที่ไม่ได้ผ่านการใช้สารเคมีใดๆ มาก่อน ซึ่งอาจจะดูยุ่งยากไปสักหน่อย แต่การปลูกดาวเรืองเพื่อทำเครื่องดื่มชา มีข้อดีตรงที่ไม่จำเป็นต้องทำให้ดอกสวย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะต้องตัดเพื่อนำมาอบอยู่แล้ว มีแมลงกัดหรือนอนเจาะได้บ้าง

การรดน้ำ เหมือนกับการปลูกดาวเรืองนอกโรงเรือนทั่วไป ช่วงย้ายปลูก ประมาณ 7 วัน ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ดี รดน้ำวันละครั้งในช่วงเช้าและในช่วงที่ดอกบาน ไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค ดาวเรืองเป็นพืชที่ชอบการให้น้ำในลักษณะให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือชอบชื้นแต่ไม่ชอบแฉะ และน้ำท่วมขัง

เทคนิคสำคัญ “เปิดไฟให้พืช” โดยเทคนิคการเปิดไฟให้ดาวเรืองนี้เกิดขึ้นจากความอยากรู้ของตนเอง จึงได้มีการค้นคว้าข้อมูลงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช จนกระทั่งได้ไปเจอกับงานวิจัยของ ดร.เบญญา มะโนชัย ท่านเป็นอาจารย์สอนภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการวิจัยเทคนิคปลูกดาวเรืองสำหรับสกัดลูทีน แล้วเกิดความสนใจจึงได้มีการเรียนเชิญให้ท่านมาเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการทดลองใหม่ทั้งหมด ด้วยการเก็บดอกดาวเรืองที่ปลูกทั้งในและนอกโรงเรือน และการปลูกแบบเปิดไฟและไม่เปิดไฟ จะมีสารสำคัญต่างกันหรือไม่ ซึ่งผลการทดลองออกมาว่าการปลูกแบบเปิดไฟ ผลวิเคราะห์ออกมาว่ามีสารสำคัญในดอกสูงกว่าแบบอื่นอย่างมีนัยยะ

โดยเทคนิคการใช้แสงไฟเพื่อรักษาสารสำคัญในดาวเรืองนั้น จะเริ่มเปิดไฟตั้งแต่ช่วงที่ดาวเรืองมีตาดอกแล้ว ก็คือหลังจากปลูกได้ 45 วันขึ้นไป โดยช่วงระยะเวลาการเปิดจะแบ่งเปิดเป็น 2 ช่วง คือ 1. เปิดในช่วงเช้า ตี 4 ถึง 7 โมงเช้า และช่วงเย็น 5 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม เปิดไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ผลผลิต ปลูกในโรงเรือนจะให้ดอกดกกว่า และมีอายุการเก็บเกี่ยวได้นานกว่า เช่น ปลูกนอกโรงเรือนมีอายุเก็บเกี่ยวได้ 1 เดือน แต่ถ้าปลูกในโรงเรือนสามารถยืดระยะเวลาออกไปได้เป็นเดือนครึ่ง และดอกจะมีความสมบูรณ์แข็งแรงกว่าด้วย

เทคนิคการแปรรูป
“ชาดอกดาวเรือง”
พี่อุ๋ม บอกว่า สำหรับการแปรรูปดอกดาวเรือง ตนเองทำมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปีแล้ว โดยในปีแรกจะเน้นการนำดอกที่ปลูกนอกโรงเรือนมาทำเป็นสีย้อมผ้าเพราะทำได้ง่าย แต่เมื่อทำไปได้สักพักก็ได้ทราบถึงปัญหาว่าด้วยความที่เป็นสีจากธรรมชาติ ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจว่าสีธรรมชาติสามารถตกได้ ซีดได้เมื่อซักบ่อยๆ ทำให้ตลาดแคบลง จึงได้เริ่มต้นที่จะแปรรูปสินค้าตัวใหม่ออกมาคือชาดอกดาวเรือง เมื่อทำออกมาแล้วถือว่าได้ผลตอบรับที่ดีมากๆ กระแสดีมาตลอดแม้จะเกิดวิกฤตโควิด-19 ชาก็ยังขายได้ดี เนื่องจากกระแสรักสุขภาพยังมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อะไรก็ช่างที่เป็นธรรมชาติ บริโภคเข้าไปแล้วเข้าไปช่วยฟื้นฟูและรักษาสุขภาพให้ดีขึ้นก็ได้รับความสนใจของตลาด

ขั้นตอนการแปรรูป
จะเก็บเกี่ยวดอกดาวเรืองที่บานเต็มที่ นำมาตัดเอาเฉพาะกลีบดอก ไม่ให้ติดเกสรออกมา เนื่องจากตรงส่วนของเกสรจะทำให้มีกลิ่นฉุน เหมือนที่เวลาได้กลิ่นของดอกดาวเรือง จริงๆ แล้วได้กลิ่นจากเกสร ไม่ใช่กลีบ และนอกจากนี้ ยังมีผลทดสอบออกมาว่าในกรณีผู้ที่แพ้ดอกดาวเรืองส่วนใหญ่จะแพ้เกสร คือส่วนที่เห็นเป็นเม็ดดำๆ
เมื่อตัดกลีบดอกเสร็จ ให้นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี หรือจะใช้วิธีอบก็ได้ ในกรณีถ้าเป็นตู้อบลมร้อนทั่วไปควรจัดเรียงไม่ให้กลีบดอกทับกันหนาเกิน 3 เซนติเมตร และอบในอุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียส ไม่ให้เกินนี้
ใช้เวลาอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง
จากนั้นนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เตรียมจำหน่าย
หมายเหตุ ดอกดาวเรืองสดจำนวน 1 กิโลกรัม เมื่อนำมาอบเป็นชาแล้วจะได้ประมาณ 100 กรัม

สรรพคุณ ดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี โดยทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตาได้ ช่วยกรองแสงสีฟ้า และยังเป็นสารออกซิเดชั่น ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่จะทำลายประสิทธิภาพการทำงานของจอประสาทตา โดยการนำเอาสารบำรุงสายตาจากดอกดาวเรืองมาใช้ แนะนำให้ชงเป็นชาดื่ม 1 หยิบมือต่อน้ำร้อน 1 แก้วกาแฟ เท่านี้ก็จะได้รับสารบำรุงสายตาที่ซ่อนอยู่ในดอกดาวเรืองแล้ว

การสร้างมูลค่า
ในเรื่องของราคาแน่นอนว่ามีความแตกต่างกันอยู่แล้ว เพราะปริมาณชาดอกดาวเรือง 10 กิโลกรัม ขายในราคา 2,500-3,000 บาท ต่างจากการขายดอกสด 10 กิโลกรัม จะได้เงินประมาณ 300 บาท แต่ในแง่ของกระบวนการแปรรูปย่อมมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ยังไงรายได้ก็สูงอยู่ และอีกข้อดีของการแปรรูปทำชาคือสามารถเก็บไว้จำหน่ายได้นานเป็นปี ต่างจากลักษณะของดอกสด ถ้าผ่านไปสัก 3-5 วัน จะกลายเป็นขยะทันที

รายได้ ดีขึ้นกว่าตอนปลูกแบบเดิม และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกหากไม่เกิดสถานการณ์โควิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากกระแสของชาดอกไม้มาดีอยู่แล้ว และคนทำยังไม่มาก ยังถือเป็นสินค้าใหม่สำหรับประเทศไทย ชาดอกไม้ตลาดยังไม่ได้กว้าง แต่ทางกลับกันคู่แข่งทางการตลาดก็น้อยเช่นกัน ถือว่ามองว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับตนเองและเกษตรกรท่านอื่นๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

ตลาด ตอนนี้เป็นกลุ่มลูกค้าร้านชาต่างๆ 1. กลุ่ม “ชาเบลนด์” คือ การนำสมุนไพร ผลไม้ หรือดอกไม้อบแห้งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ผสมลงไปในขั้นตอนการชงชา 2. กลุ่มชาเพื่อสุขภาพ และได้ลูกค้าเพิ่มจากการบอกกันปากต่อปาก ซึ่งร้านชาที่มีชื่อเสียงหลายๆ ร้าน ก็ใช้ชาของที่นี่เป็นวัตถุดิบหลัก มีทั้งลูกค้าจากกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือภาคใต้ก็มี ร้านเบนชาที่มีชื่อเสียงหลายๆ ร้านก็ใช้ชาของเราเป็นวัตถุดิบผสม มีทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภาคใต้ ก็มี 3. วางขายหน้าร้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวเรืองภูเรือ 4. ผ่านออนไลน์ “ช้อปปี้ (Shopee)” และ 5. เพจเฟซบุ๊ก ดีธรรมดา by ทุ่งดาวเรืองภูเรือ

ฝากถึงเกษตรกร
“ต้องบอกว่าเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำของพืชผลทางการเกษตรของไทยเป็นทุกอย่างอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจัยของเราคือเราทำตามกระแส ปลูกตามๆ กันไป เห็นพืชชนิดไหนมีราคาดีหน่อยก็แห่ปลูกตามกัน ฉะนั้น มันหนีไม่ได้เลยที่เราจะถูกกำหนดราคาจากปัจจัยภายนอก แต่สิ่งที่เราจะแก้ได้คือถ้าไม่อยากจะเปลี่ยนในสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว ทางเดียวจะช่วยเราได้คือ การแปรรูป เพราะสุดท้ายแล้วการแปรรูปจะทำให้เราสามารถเก็บของไว้ขายได้นาน ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปด้วยวิธีไหน อยากให้ทุกคนสู้ หากเจอปัญหาอย่ายอมแพ้ ปัญหาทุกอย่างแก้ได้จากการมีสติเรียนรู้เพื่อที่จะแก้ไข อยากให้เคสของพี่เป็นตัวอย่าง ถึงแม้พี่จะไม่ได้สำเร็จครบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่เรายังไม่หยุดคิด หยุดพยายาม พี่คิดว่าสิ่งที่ทำอยู่มันจะมีทางออกให้ เพียงแค่เราต้องเรียนรู้ และพัฒนาแก้ปัญหาต่อไป” พี่อุ๋ม กล่าวทิ้งท้าย

“ไผ่” คือ คำตอบสำหรับการจัดการทรัพยากรพื้นที่ให้กับชาวชุมชนผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกไผ่ของชุมชนผาปัง มีเกือบ 20,000 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ ที่ดินสิทธิทำกิน และพื้นที่ป่าชุมชน ไผ่ที่ปลูกเกือบทั้งหมดเป็นไผ่ซาง ได้แก่ ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล ไผ่ซางบ้าน มีบ้างที่เป็นไผ่รวก เพราะเป็นไผ่ชนิดเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว

แต่ไม่ว่าจะเป็นไผ่ชนิดใด คุณรังสฤษฏ์ คุณชัยมัง ที่ปรึกษาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผาปัง ก็ยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า ไผ่ทุกชนิดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งยังเป็นพืชพลังงานสูง และในเชิงเศรษฐกิจเป็นพืชที่ลงทุนในปีแรกเท่านั้น ปลายปี 2558 มีข่าวว่า วิสาหกิจชุมชนผาปังแห่งนี้ ได้ทดลองโดยการนำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นแก๊สรถยนต์จนประสบความสำเร็จ และเป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกในเอเชีย เป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นกับตา

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า มีการก่อตั้งขึ้น ภายใต้ชื่อ วิสาหกิจผลิตไฟฟ้าชีวมวลพลังงานทดแทนชุมชน เป็นวิสาหกิจต่อเนื่องที่นำเศษข้อไผ่ จำนวน 800-2,400 กิโลกรัมต่อวัน มาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตก๊าซซิฟิเคชั่น (Gasification) ขนาดกำลังการผลิต 70 กิโลวัตต์ เป็นระบบที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด โดยจับคู่ธุรกิจชุมชน (Business Matching) ในความร่วมมือสนับสนุนจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มูลนิธิสร้างสุขชุมชน โดยชุมชนร่วมเป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของในลักษณะการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง

ที่น่าทึ่งและนับว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมจากไผ่คือ การทดลองนำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นพลังงานอเนกประสงค์ตามคำบอกของ คุณรังสฤษฏ์ ว่า เมื่อขับออกจากบ้าน คือรถยนต์ ไปถึงทุ่งนา สามารถแปลงกายเป็นเครื่องสูบน้ำ กลางวัน เมื่อกลับเข้าบ้านใช้เป็นแก๊สหุงต้ม กลางคืน แปรสภาพเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งหากทำได้ทั้งหมดนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นสุดยอดนวัตกรรมแน่นอน และชุมชนผาปังทำสำเร็จแล้ว

การประยุกต์ใช้พลังงานชุมชนในที่นี้ มีการศึกษาวิจัยระบบผลิตซินก๊าซ Syngas พลังงานทดแทนชุมชนจากถ่านไผ่ นำมาเป็นเชื้อเพลิงพลังงานสูบน้ำเพื่อการเกษตร และยานพาหนะขนส่ง เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายด้านพลังงาน ลดการนำเข้าพลังงาน ลดต้นทุนการผลิตเพื่อการเกษตร ลดสิ่งแวดล้อมและรักษาสุขภาพ

เทคโนโลยีผลิตซินก๊าซ Syngas ทดแทนการใช้ LPG ในครัวเรือน ร้านอาหาร และอบสมุนไพร ซึ่งถ่านไผ่ จำนวน 1 กิโลกรัมต่อ 1 ชั่วโมง (4 บาท) = LPG 0.45 กิโลกรัมต่อ 1 ชั่วโมง (10 บาท)

เทคโนโลยีตัวนี้ ยังสามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับชุมชน ตั้งแต่ 2-50 กิโลวัตต์ ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้อีกด้วย

คุณรังสฤษฏ์ อธิบายว่า การนำถ่านมาผลิตเป็นแก๊สนั้น เป็นทฤษฎีสากลทั่วไป ซึ่งเดิมวิถีชีวิตของคนเราก็ใช้ถ่านกันมานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องถ่านไม้ไผ่ตั้งแต่ที่มีองค์การแบตเตอรี่ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปองค์การแบตเตอรี่ก็ถูกยกเลิก การวิจัยเรื่องถ่านไม้ไผ่ก็หายไปด้วย เปลี่ยนมาเป็นแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากประเทศอื่น แต่ในเมื่อกลุ่มของเรามีวัตถุดิบที่เป็นถ่านไม้ไผ่ เปรียบคือ คาร์บอน และอากาศก็เปรียบคือ ออกซิเจน เมื่อรวมกันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแก๊สได้ และเห็นว่าแก๊ส LPG และ NGV ก็สามารถนำมาใช้ในรถยนต์ได้ จึงเริ่มทดลองนำถ่านไม้ไผ่ ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูงมาก มาประยุกต์ทำเป็นแก๊ส โดยเริ่มทดลองกับแก๊สหุงต้มก่อน จึงขยับมาทดลองกับเครื่องยนต์ และทดลองกับรถยนต์ ตามลำดับ จนประสบความสำเร็จใช้งานได้จริง

“รถยนต์ที่นำมาทดลองติดตั้งแก๊สจากถ่านไม้ไผ่นั้น เป็นรถกระบะ มีถังสำหรับใส่ถ่านไม้ไผ่ ความจุ 25 กิโลกรัม ใช้วิธีการติดไฟให้ถ่านมีความร้อนอยู่ตลอดเวลา ใช้เครื่องยนต์ดูดแก๊สเข้าไปให้เครื่องยนต์ทำงานลักษณะเดียวกับแก๊ส LPG และ NGV ซึ่งถ่านไม้ไผ่ 5 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เพราะฉะนั้น หากบรรจุถ่านเต็มถัง 25 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทาง 500 กิโลเมตร และราคายังถูกกว่าแก๊สรถยนต์อื่นๆ เนื่องจากถ่านที่ใช้หากเผาเองจะราคากิโลกรัมละ 6 บาท ถังหนึ่งอยู่ที่ราคา 150 บาท เท่านั้น หากซื้อถ่านจากร้านค้าทั่วไป อยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เท่ากับถังละ 250 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 0.50 บาท เท่านั้น ถูกกว่าแก๊ส LPG และ NGV มาก เชื่อว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกของประเทศไทย และถือว่าเป็นคันแรกของเอเชียเลยก็ว่าได้”

Mr. Koen Uan Looken วิศวกรหนุ่มชาวเบลเยียม ผู้ที่ให้ความสนใจในการผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปัง อาสาตัวเข้ามาช่วยในเรื่องของการดำเนินการวิจัยและการทดลอง รวมถึงการพัฒนาให้การผลิตพลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปังก้าวไปข้างหน้า โดย Mr. Koen Uan Looken กล่าวว่า ชิ้นส่วนของไผ่ที่เหลือจากอุตสาหกรรมทั้งระบบ นำไปเข้าเตาเผา นาน 3-6 ชั่วโมง เมื่อได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ก็นำเข้าเครื่องบดหยาบ หากต้องการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต้นทางของพลังงาน เมื่อนำไปใส่ยังเครื่องผลิตพลังงานจากไม้ไผ่มีลักษณะเป็นถัง มีท่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งกำเนิดพลังงาน ไม่ได้มีระบบซับซ้อนแต่อย่างใด เป็นการแปรรูปพลังงานอย่างง่าย ไม่มีระบบออโตเมติกแม้แต่ชิ้นเดียว

“เราเรียกว่า พลังงานไฟฟ้า ใช้ถ่านไผ่เป็นเชื้อเพลิง เวลาใส่ถ่านไผ่เข้าไปที่เครื่องก็ควรใส่ให้เต็ม เป็นการเผาไหม้ที่ 1,500 องศาเซลเซียส เริ่มจากการจุดไฟที่ด้านล่างของอุปกรณ์บรรจุถ่านไผ่ 3-4 วินาที จากนั้นปิดฝา การจุดไฟที่ด้านล่างของอุปกรณ์ตามช่องที่มี เป็นการไล่ความชื้นจากถ่านออก เมื่อความชื้นหายไปจะทำให้ติดไฟ หากใช้แทนก๊าซหุงต้มก็สามารถเชื่อมต่อท่อจากเครื่องไปยังเตาแก๊ส แล้วจุดไฟตามปกติ ก็ได้แก๊สสำหรับหุงต้ม”

Mr. Koen Uan Looken อธิบายว่า การเผาไหม้ของถ่านเมื่อใช้กับแก๊สหุงต้มจะไม่เกิดเขม่าหรือขี้เถ้า แต่จะหลงเหลือซิลิกาขนาดเล็กไว้แทน ซึ่งส่วนนี้ทางวิสาหกิจชุมชนผาปังก็นำไปจำหน่ายให้กับโรงงานทำกระจก เป็นรายได้จากไผ่อีกทอดหนึ่ง เมื่อถ่านไผ่ปริมาณลดลงตามการใช้งานก็สามารถเติมถ่านไผ่เข้าไปได้อีก

เมื่อมีโอกาสได้เห็นกับตา และพูดคุยกับคุณรังสฤษฏ์ และ Mr. Koen Uan Looken แล้ว เชื่อว่า ถ่านไม้ไผ่ให้พลังงานที่สะอาด และสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายมากกว่าที่คิด ซึ่งคุณรังสฤษฏ์ ยืนยันว่า หากท่านใดมีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมถึงชุมชนผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง แล้ว จะสามารถกลับไปทำด้วยตนเองได้อย่างแน่นอน

พื้นที่ที่เกือบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และเป็นเกาะแก่งกลางน้ำ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ถูกทิ้งไว้มาหลายปี เพราะเจ้าของต้องไปทำไร่อ้อยและไร่ข้าวโพดอีกที่หนึ่ง ไม่มีเวลาดูแล กระทั่งเมื่อ 6 ปีก่อน พื้นที่นี้ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง

คุณวิทยา โพธิลำเนา เกษตรกรชาวตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ 6 ไร่ แต่เพราะพื้นที่นี้ถูกน้ำท่วมหลากเป็นประจำทุกปี ทำให้คุณวิทยาไม่คิดปลูกพืชอะไรไว้ เพราะเกรงว่าจะไม่รอด แต่มีตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ปลูกไม้ผลจนประสบความสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณวิทยาคิดทำตามแบบอย่าง

เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกเงาะ ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คุณวิทยาจึงเอาแบบอย่าง ซื้อกิ่งพันธุ์เงาะมาบ้าง ลงปลูกเต็มพื้นที่ 6 ไร่ จำนวน 160 ต้น แต่เห็นพื้นที่ระหว่างต้นเงาะยังว่าง จึงนำกิ่งพันธุ์ฝรั่งกิมจูมาลงปลูกระหว่างเงาะแต่ละต้น ทำให้ได้จำนวนฝรั่งอีก 400 ต้น หลังปลูกก็ปล่อยไว้อย่างนั้น แล้วออกไปทำไร่ตามปกติ แต่หลังจากนั้น 6 เดือน เข้ามาดูเห็นฝรั่งเริ่มติดดอก หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เข้ามาดู ก็พบว่า ฝรั่งให้ผลผลิตแล้ว

“พอเข้ามาดูก็เห็นฝรั่งดกเต็มต้น แต่ห่อไม่ทัน ผลฝรั่งเน่าคาต้นเยอะมาก เห็นผลผลิตดีขนาดนี้ ทำให้ตั้งใจว่า จะดูแลให้ดี เพราะทุกผลที่ห่อคือเงิน ส่วนเงาะปีแรกให้ผลผลิตพอได้กิน ปีที่ 2 ผลผลิตที่ได้กินอิ่ม ผลผลิตปีที่ 3 เก็บผลผลิตขายได้พร้อมๆ กับฝรั่งกิมจู”

เพราะคลุกคลีกับพืชไร่ที่ต้องใช้สารเคมีมาโดยตลอด วิธีแทงบอล SBOBET ทำให้การปลูกไม้ผลบนพื้นที่ 6 ไร่นี้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีให้มากที่สุด คุณวิทยา เล่าว่า ปีแรก เราไม่รู้อะไรก็ใส่ปุ๋ยเคมีลงไป แต่สังเกตเห็นต้นไม้โทรม จึงลองสั่งขี้ไก่มาใส่แทนเคมี ปรากฏว่าต้นไม้งาม เจริญเติบโตดี แตกยอดไม่หยุด ทำให้รู้ว่าเคมีไม่ได้ช่วยอะไรมาก

พื้นที่เหลือจากลงปลูกเงาะและฝรั่งอีกไม่มาก เมื่อเห็นต้นไม้เจริญเติบโตและงอกงามดี จึงตัดสินใจซื้อไม้ผลชนิดอื่น เช่น ลองกอง ทุเรียน มาลงปลูกเพิ่ม แม้ยังไม่ได้ผลผลิต แต่การเจริญเติบโตของกิ่งพันธุ์ที่ลงไว้งอกงามดี

นอกเหนือจากไม้ผลที่กล่าวมาแล้ว พื้นที่อีกนิดหน่อย คุณวิทยาไม่ต้องการให้สูญเปล่า จึงนำมะเขือหลากหลายชนิดมาปลูก โดยเน้นไปที่มะเขือพื้นบ้าน ซึ่งหาซื้อได้ยากไปลงปลูกไว้ เมล็ดพันธุ์ คุณวิทยาบอกว่า ไม่ซื้อ เก็บและเพาะเมล็ดเอง เพราะพืชพื้นบ้านเหล่านี้เจริญเติบโตและมีความเหมาะสมกับสภาพอากาศบ้านเราอยู่แล้ว การเพาะเมล็ดเองก็ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

ปัญหาของพื้นที่ตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา ส่วนใหญ่คือ ความแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร และดินไม่ดี พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย

อำเภอสุวรรณคูหาส่วนใหญ่จะห่างไกลแหล่งน้ำทำการเกษตรและดินไม่สมบูรณ์ แต่พื้นที่ 6 ไร่ ของคุณวิทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ลึก แต่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ถึง 2 แหล่ง และน้ำไม่เคยแห้ง แม้จะอยู่ในฤดูแล้ง แต่หลายคนมองว่าข้อเสียของพื้นที่นี้คือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม ปลูกพืชอาจไม่ได้ผล แท้ที่จริงแล้วฤดูน้ำหลากที่ว่า จะพัดพาเอาตะกอนและแร่ธาตุที่ดีมาทับถมที่พื้นที่แห่งนี้ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และน้ำหลากที่ท่วมระยะหนึ่งไม่ได้นานจนทำให้พืชเกิดปัญหา อีกทั้งอยู่ไม่ห่างจากแหล่งน้ำถึง 2 แหล่ง จึงทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำเหมือนพื้นที่อื่น

เมื่อถามคุณวิทยาว่า ทราบหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดพื้นที่แห่งนี้จึงปลูกพืชอุดมสมบูรณ์ดี คุณวิทยา บอกว่า ไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุมาทับถมตามน้ำที่หลากมาในฤดูน้ำหลาก แต่พื้นที่ด้านท้ายของไร่ ประมาณ 2 งาน เห็นว่า ดินดีกว่าบริเวณอื่น จึงสังเกตรอบข้าง พบว่า มีต้นยางนาอยู่ 2 ต้น ใบยางนาร่วงปกคลุมดินบริเวณดังกล่าว ทับถม เมื่อขุดดินที่ใบยางนาทับถม ก็พบว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก จึงคิดว่าเป็นเพราะใบยางนาที่ช่วยสร้างแร่ธาตุในดินให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และพืชที่นำไปปลูกบริเวณนั้น เช่น มะเขือพื้นบ้านหลายชนิด เจริญงอกงามและให้ผลผลิตดีมาก

ส่วนการดูแลไม้ผลในแปลง 6 ไร่ ที่ลงปลูกไว้ คุณวิทยา อธิบาย ดังนี้