หากใครสนใจอยากเยี่ยมชมสวนมะพร้าวแห่งนี้ พร้อมพูดคุยกับ

คุณเดี่ยว บ้านแพ้ว อย่างเป็นกันเอง ในบรรยากาศสบายๆ ท่ามกลางสวนมะพร้าวที่ร่มรื่น สามารถเดินทางไปกับ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้ในกิจกรรมเสวนาเชิงปฏิบัติการ “มะพร้าวน้ำหอมยุคดิจิตอล” ชมกิจการมะพร้าวอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูก แปรรูป และด้านตลาด ในวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ค่าใช้จ่าย ท่านละ 1,200 บาท ผู้สนใจ สมัครจองที่นั่งก่อน แล้วโอนเงิน (ตามจำนวนที่ระบุ) เข้า ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนประชาชื่น เลขที่บัญชี 193-079484-5 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) Fax (02) 580-2300 เลขที่ผู้เสียภาษี 0107536001451 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 580-0021 ต่อ 2335, 2339, 2342, 2343 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สับปะรดห้วยมุ่น เป็นผลไม้เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองน้ำผึ้ง กลิ่นหอม รสหวานฉ่ำแบบธรรมชาติ กินไม่กัดลิ้นหรือมีกากใยช่วยในระบบการย่อยที่ดีต่อสุขภาพ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ปลูกง่าย กำไรงาม เกษตรกรได้จัดการปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อผลิตให้ได้ผลสับปะรดห้วยมุ่นคุณภาพนำออกสู่ตลาด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เงินแสนบาทนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

คุณพี่บัวผัน มูลเงิน เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น 5 ไร่ ได้เริ่มปลูกเมื่อปี 2554 หลังการปลูกได้ดูแลรักษาที่ดีมีผลผลิตคุณภาพออกขาย แต่ด้วยความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น จึงเห็นว่าจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ จึงเช่าพื้นที่ 20 ไร่ เพื่อปลูกสับปะรดเพิ่ม มีค่าใช้จ่ายในการเช่า 5,000 บาท ต่อปี ต่อไร่

การปลูกครั้งแรก ได้ไปซื้อหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมา 20,000 หน่อ หน่อละ 1.50 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ด้วยลักษณะภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมพื้นที่ปลูกมีความแตกต่างจากแหล่งปลูกเดิม จึงทำให้ได้ผลสับปะรดคุณภาพที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น จึงเรียกว่า สับปะรดห้วยมุ่น เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้ มีความมั่นคง

พื้นที่ปลูกสับปะรด มีลักษณะลาดเอียงระบายน้ำได้ดี เมื่อเตรียมแปลงแล้ว ถ้าเป็นการปลูกฤดูฝนได้วางหน่อเอียง 45 องศา เพื่อไม่ให้น้ำฝนขังในยอด ถ้าปลูกฤดูแล้งได้วางหน่อตั้งตรง ปลูกแล้วเกลี่ยดินกลบ กดดินพอแน่น ระวังอย่าให้ดินเข้าในยอดใบ เพราะจะทำให้ใบเน่า ก่อนปลูกได้ดึงใบล่างสุดออก 2-4 ใบ หลังปลูก 18-24 เดือน จะได้ผลสับปะรดแก่สุก

การปลูกด้วยหน่อ ได้คัดเลือกหน่อพันธุ์ขนาดเท่ากัน ปลูกในแปลงเดียวกัน เพื่อให้ต้นสับปะรดเจริญเติบโตเท่ากันและตัดเก็บได้พร้อมกัน ก่อนปลูกได้แช่หน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช วางหน่อปลูกเกลี่ยดินกลบกดดินพอแน่น

จุกเป็นส่วนที่เกิดจากการเจริญเติบโตอยู่ที่ปลายผลสับปะรด เมื่อจุกมีขนาดความยาวครึ่งหนึ่งของขนาดความยาวผลได้ตัดมาเป็นพันธุ์ปลูก วิธีปลูกได้วางหน่อลงในหลุมปลูก เกลี่ยดินกลบกดดินพอแน่น ระวังอย่าให้ดินเข้าไปในยอด เพราะจะทำให้ใบเน่าเสีย สับปะรดที่ปลูกด้วยจุกระบบรากจะแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี

ก่อนปลูกได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกแห้งรองพื้น ในอัตรา 60-100 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อช่วยให้การติดดอกติดผลดี ครั้งที่ 2 หลังปลูก 1-2 เดือน เป็นระยะเริ่มออกราก ใส่ปุ๋ย สูตร 21-0-0 ในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น ครั้งที่ 3 เมื่อต้นสับปะรดอายุ 4-6 เดือน ใส่ปุ๋ย สูตร 21-0-0 ในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น ครั้งที่ 4 ก่อนออกผล 1-2 เดือน ได้ใส่ปุ๋ย สูตร 21-0-0 ในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น ครั้งสุดท้าย หลังการออกผลหรือบังคับผล ได้ฉีดพ่นปุ๋ยชีวภาพทางใบหรือฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมพืชทางใบเพื่อช่วยทำให้ได้ผลสับปะรดคุณภาพ

การบังคับให้ออกดอก

เมื่อต้นสับปะรดอายุราว 12 เดือน ได้ใช้สารเอทิฟอน ในอัตรา 10 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร นำไปหยอดที่ยอด 70 ซีซี หยอด 2 ครั้ง ในเวลาเช้า ห่างกัน 7 วัน หลังการหยอดถ้ามีฝนตกต้องรีบมาหยอดใหม่ให้เร็วที่สุด

ต้นสับปะรดต้องได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในฤดูฝนให้ต้นสับปะรดได้รับน้ำจากน้ำฝน ในฤดูแล้งจะไม่ให้ขาดน้ำนาน ต้องคอยฉีดพ่นน้ำให้เต็มยอดสับปะรดทุก 7 วัน ต่อครั้ง จะทำให้ต้นสับปะรดเติบโตได้ผลผลิตคุณภาพ

การห่อผล

ก่อนตัดเก็บผลสับปะรด 45-60 วัน ได้นำฟางแห้งมาคลุมปิดผลสับปะรดเพื่อทำให้เปลือกผลสับปะรดสีสวย เนื้อเต่งเหมาะที่จะกินเป็นผลสดได้รสอร่อย ถ้าไม่คลุมด้วยฟางแห้งผลสับปะรดจะได้รับแสงแดดมาก อาจทำให้ผลสับปะรดด้อยคุณภาพ ได้จัดการคัดแยกออกมานำส่งขายให้กับโรงงานแปรรูปทำเป็นสับปะรดกระป๋อง

คุณพี่บัวผัน เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า การเก็บเกี่ยว หลังจากบังคับให้ออกดอก 180 วัน เปลือกเป็นสีเหลือง 1 ใน 3 ของผล หรือระยะผลสับปะรดแก่สุก ได้เข้าไปตัดเก็บเวลาเช้าหรือเย็น ตัดให้มีก้านผลยาว 3-5 นิ้ว จะทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,800 กิโลกรัม ต่อไร่ นำไปเก็บรักษาไว้ในที่อากาศโปร่งเพื่อเตรียมส่งขาย
ตลาด

สับปะรดกินผลสดได้ขายให้กับพ่อค้าคนกลาง 11-13 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 52,800-62,400 บาท ต่อไร่ ผลสับปะรดตกเกรดได้ขายแบบคละ 3-5 บาท ต่อกิโลกรัม ให้โรงงานแปรรูป หรือตัดแต่งพร้อมบริโภคขายเป็นรายได้ การปลูกสับปะรดห้วยมุ่นทำให้มีรายได้ต่อเนื่อง มีรายได้แสนบาทที่ยังไม่หักต้นทุนการผลิต ทำให้ครัวเรือนมีความมั่นคง

จากแหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ว่า พื้นที่การเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์มี 1,255,225 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ทำนา 593,196 ไร่ ทำพืชไร่ 268,848 ไร่ ทำพืชสวน 273,879 ไร่ และพื้นที่เกษตรอื่น 119,302 ไร่ การปลูกสับปะรดห้วยมุ่น คือสุดยอดผลไม้เศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย

สับปะรดห้วยมุ่น สินค้าจีไอ

สับปะรดห้วยมุ่น เป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ปลูกง่าย โตไว กำไรงาม ได้ผลสับปะรดคุณภาพ เนื้อภายในผลสีเหลืองน้ำผึ้ง กลิ่นหอม หวานฉ่ำ กลมกล่อม กรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีประกาศเรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สับปะรดห้วยมุ่น ทะเบียนเลขที่ สช 56100056 เพื่อแสดงความเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญประจำถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเกษตรกรปลูกสับปะรดห้วยมุ่น 607 ราย พื้นที่ 19,596 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,950 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือได้ผลผลิตรวม 97,000.20 ตัน การซื้อ-ขาย อยู่ที่ราคา 8-13 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาเปลี่ยนแปลงตามกลไกตลาด

คุณภาพสับปะรดห้วยมุ่น

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาการผลิตด้วยการจัดการฟาร์มที่เหมาะสม ให้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่นในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลสับปะรดคุณภาพเพื่อผู้บริโภค และส่งผลให้เกษตรกรยกระดับรายได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

เรื่องราว สับปะรดห้วยมุ่น รสหวานฉ่ำ พืชเศรษฐกิจ ปลูกง่าย กำไรงาม เป็นวิถีทางเลือกที่เกษตรกรปลูกและผลิตในระบบ GAP เพื่อให้ได้ผลสับปะรดห้วยมุ่นคุณภาพสู่ตลาดผู้บริโภค สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณพี่บัวผัน มูลเงิน 110/46 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โทร. 082-010-5494 หรือ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร. 055-440-894 ก็ได้ครับ

จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการปลูกอ้อยมาก (ปีละประมาณ 6 แสนไร่เศษ) เช่นเดียวกับหลายจังหวัดในภาคอีสาน เป็นพืชที่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ต้นทุนการผลิตสูง บางปีราคาดี แต่บ่อยครั้งราคาตก อย่างเช่นในฤดูการล่าสุด ราคาตันละประมาณ 400 บาท บางรายขายแบบเหมาสวนไร่ละ 3,500-4,000 บาท ซึ่งขาดทุน แต่ก็ยอมขาย เพราะหากจ้างเขาตัดก็จะขาดทุนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกษตรกรหลายรายขาดทุน ที่กล่าวมาไม่ขาดทุนเฉพาะปีล่าสุดเท่านั้น แต่มีหลายคนที่ประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาต่อเนื่องหลายปี แทบล้มละลาย เป็นหนี้สินนับสิบยี่สิบล้านบาท

ท่านที่เคารพครับ !!! ฉบับนี้ จึงขอหยิบยกกรณีตัวอย่างของเกษตรกรท่านหนึ่งที่เป็นหนี้สินจากการปลูกอ้อยราว 20 ล้าน แต่ด้วยการนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ทำให้เวลานี้ปลดหนี้ได้เกือบหมด นั่นคือ คุณพิเชษฐ์ อินทรพานิช อายุ 46 ปี อยู่หมู่ที่ 10 บ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. (092) 334-3034

คุณพิเชษฐ์ ให้ข้อมูลว่า จบการศึกษาด้านการเกษตรระดับ ปวส. จากวิทยาเขตเกษตรกาฬสินธุ์ ปี 2536 แล้วเรียนต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชน หลังจบการศึกษา ไปทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2538-2540 ในปี 2540 มาทำงานใกล้บ้าน เป็นเจ้าหน้าที่ผสมเทียม (ลูกจ้างชั่วคราว) ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอนาวัง จากนั้นปี 2542 ไปทำหน้าที่ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอศรีบุญเรือง เป็นเวลา 2 ปี แล้วลาออกไปทำงานที่สหกรณ์โคนมนาวัง

ปี 2545 ไปเปิดร้านขายปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์การเกษตรที่อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ระหว่างนั้นได้ทำไร่อ้อยควบคู่กันไปด้วยเป็นเวลา 5 ปี ปลูกอ้อย (เช่าที่) ปีละประมาณ 400 ไร่ และซื้ออ้อยเขียวอีกปีละ 1,000 ไร่ ปรากฏว่าขาดทุนสะสมประมาณ 20 ล้านบาท

จากการประสบปัญหาขาดทุนดังกล่าว ทำให้เครียด จิตฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิทำอะไร ต่อมาจึงตั้งสติ ค่อยๆ คิดหาทางแก้ปัญหา เริ่มจาก ขายที่ดินบางส่วนใช้หนี้ ราว 5 ล้านบาท ควบคู่กับปรับปรุงกิจกรรมการเกษตรที่ทำอยู่ บนที่ดิน 6 ไร่ เดิมปลูกลำไย กว่า 200 ต้น ซึ่งได้ผลผลิตปีละครั้ง ได้ทำการตัดโค่นบางส่วนคงเหลือไว้ทำแปลงขยายพันธุ์ จากนั้นทำการเกษตรหลายอย่าง ได้แก่ ปลูกฝรั่งไร้เมล็ด (พันธุ์กิมจู) ปีแรกปลูก 100 ต้น ต่อมาขยายพันธุ์ปลูกเพิ่มอีก 100 ต้น รวมเป็น 200 ต้น ส้มโอทับทิมสยาม ขนุน ผักปลอดสารพิษ ผักหวานป่า เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงปลาในบ่อ 5 บ่อ เช่น ปลาสลิด ปลาสวาย ปลาดุก ตะเพียน มีการเพาะพันธุ์กบขายด้วย โดยมีพ่อแม่พันธุ์ 50 คู่ พร้อมเจาะบ่อบาดาลนำน้ำมาใช้ในการเกษตรด้วย

คุณพิเชษฐ์ บอกอีกว่า กิจกรรมที่ทำรายได้อันดับหนึ่งคือ ฝรั่ง ถึงจะปลูกไม่มากนักแต่สามารถทำรายได้แทบทุวัน โดยจะเก็บผลผลิตวันเว้นวัน ขายปลีก กิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโลกรัม ต่อ 100 บาท รายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 22,000 บาท หรือปีละร่วม 3 แสนบาท

เทคนิคการปลูก โดยใช้ระยะปลุก 2×2 เมตร เน้นระบบชิด ดูแลและกระตุ้นให้ออกดอกติดผลด้วยการตัดแต่งกิ่ง และขยายพันธุ์ (ตอน) จำหน่ายควบคู่กันไปด้วย มีการให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมื่อติดผลขนาดเท่าผลมะนาวต้องห่อผลด้วยถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่งจะทำให้กันแมลงและผิวสวย ผลผลิตที่ได้จะหวาน กรอบ อร่อย ปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็นต์

การผลิตพืชภายในสวนแห่งนี้ทุกชนิดจะผลิตแบบอินทรีย์ทั้งหมดคือไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ได้แก่ น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์แห้ง โดยมีส่วนผสม ได้แก่ ขี้ไก่ไข่ ขี้วัว ขี้หมู กากหม้อกรองอ้อยจากโรงงานน้ำตาล และน้ำหมักชีวภาพ นำส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 เดือน เมื่อเย็นแล้วนำมาใส่ต้นพืช) และไม่ใช้สารเคมีควบคุมแมลงศัตรูพืชทุกชนิด โดยผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ผลิตเชื้อเมตตาไรเซี่ยมกำจัดแมลง โดยได้รับความรู้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองหนองบัวลำภูและสถานีพัฒนาที่ดินให้การสนับสนุนสระน้ำในไร่นา การผลิตน้ำหมักชีวภาพด้วย

นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผล เช่น ฝรั่ง ลำไย ขนุน ปลาหลากหลายชนิด สุกรแม่พันธุ์ (ขายลูก) มีเขียงหมูเป็นของตนเอง และที่กำลังทดลองเลี้ยงคือหนูพุก 4 บ่อ และปูนา

คุณพิเชษฐ์ บอกว่า ข้อดีของการทำการเกษตรแบบผสมผสานคือทำให้มีรายได้ทุกวัน โดยมีแผงขายสินค้าเป็นของตนเองที่ตลาดลานค้าชุมชนห้วยเดื่อ (อยู่ใกล้บ้าน) อยู่ติดถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี สำหรับลานค้าชุมชนห้วยเดื่อเป็นตลาดใหญ่ ประมาณ 300 แผง มีสินค้าหลากหลาย ทั้งผัก ผลไม้ ของป่า ผู้คนแวะมาซื้อสินค้าวันละนับ 1,000 คน ถ้าวันหยุดหรือเทศกาลก็หลาย 1,000 คน ตนเองทำหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ค้าในตลาด โดยตนเองนำสินค้าเข้าตลาดประมาณ 10 โมงถึงบ่ายเล็กน้อย เมื่อสินค้าหมดก็กลับ ไปทำกิจกรรมภายในฟาร์ม ทำให้มีสินค้าอะไรก็ขายได้หมด

โดยเฉลี่ยจะมีรายได้รวมปีละประมาณ 5 แสนบาท ส่วนเขียงหมู มีกำไรวันละประมาณ 1,000 กว่าบาท จากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชามาปรับใช้ ทำให้ทยอยใช้หนี้ได้เกือบหมด ขณะนี้เหลืออยู่ราว 2 ล้านบาท ทยอยส่งรายเดือน คาดว่าจะใช้หนี้หมดในเวลาไม่นาน จากอดีตที่เคยดื่มเหล้าหนัก เครียด แต่ปัจจุบันนี้เลิกเหล้า ประกอบกับขายสินค้าทำให้ได้พูดคุยกับผู้คน ทำให้ชีวิตเริ่มดีขึ้น

ข้อคิด “อย่าทำใหญ่โตเกินกำลังตนเอง ให้เริ่มจากน้อยไปหามาก ค่อยๆ ศึกษาเรียนรู้”

ท่านที่เคารพครับ !!! จะเห็นว่าการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวนั้นมีความเสี่ยงสูง ทั้งด้านภัยธรรมชาติและเสี่ยงด้านการตลาดและราคา ดังนั้น จึงควรทำการเกษตรหลายอย่างที่เรียกว่าไร่นาสวนผสมหรือทำกิจกรรมหลายอย่างแล้วมีผลพลอยได้มาใช้เกื้อกูลภายฟาร์มช่วยลดต้นทุน ที่เรียกว่า เกษตรผสมผสาน จะทำให้มีรายได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับน้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ หากท่านใดอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ กับคุณพิเชษฐ์ ติดต่อได้ที่ โทร.

เกือบ 40 ปี ที่คลุกคลีอยู่ในวงการมะพร้าวน้ำหอม คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน ผู้ก้าวจากเกษตรกรหนุ่มทำสวนมะพร้าว บุกเบิกตลาดค้าส่งมะพร้าวน้ำหอมด้วยตนเอง จนเติบโตรุกตลาดต่างประเทศด้วยแนวคิด ต้องการความยั่งยืนจากการทำการเกษตร ด้วยการก่อตั้งบริษัท แปรรูปสินค้า สร้างแบรนด์สินค้า และส่งออกด้วยตนเอง ครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ มีพนักงานบริษัทอยู่ในความดูแลถึง 400 ชีวิต ตลาดมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งออกยังต่างประเทศมีไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของการผลิต ทั้งยัง เป็นแหล่งรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากลูกสวนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ด้วยการรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวตามราคาซื้อขายสินค้าเกษตรที่แท้จริง

ความโดดเด่นของเกษตรกรรายนี้ เพราะความเป็นลูกชาวสวน จบการศึกษาเพียงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ เติบโตคู่มากับการทำการเกษตรจริงๆ นับตั้งแต่ครั้งพ่อและแม่ ที่เป็นชาวสวน มีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ปลูกพืชผักผลไม้ไปตามฤดูกาล และมะพร้าวน้ำหอม ก็เป็นผลไม้หนึ่งที่ปลูกมาตั้งแต่ยุคแรก ต่อเมื่อพืชอื่นมีความจำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมี คุณณรงค์ศักดิ์ จึงหยุดปลูกพืชเหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แล้วหันมาดูแลสวนมะพร้าวน้ำหอมเพียงชนิดเดียว

“จากเดิมเราก็ปลูกแล้วก็ขาย เหมือนสวนอื่นๆ แต่เรารู้ว่า เราไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จึงพยายามเข้าตลาดค้าส่งด้วยตนเอง เข้าไปติดต่อ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในอดีต ปี 2539 ก็มีคู่ค้าที่ผูกพันกันประจำแต่ละสวน การเปิดตลาดจึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นความโชคดีที่ปีนั้น ตลาดไทเปิดใหม่ ผมจึงเข้าไปติดต่อค้าส่ง ก็ได้คู่ค้าที่ดี ค้าส่งกันเรื่อยมา และภายใน 1-2 ปีแรก ผมก็สามารถเปิดตลาดค้าส่งที่ตลาดโคราชได้อีกแห่ง แต่ถึงแม้จะเปิดตลาดค้าส่งได้แล้ว แต่ผมก็ยังคงเป็นเกษตรกรที่ทำหน้าที่ทุกอย่างเอง ตั้งแต่เป็นชาวสวน จนถึงขับรถหกล้อส่งมะพร้าวน้ำหอมเอง”

การพัฒนาการของการค้ามะพร้าว ไม่ได้มีแค่มะพร้าวลูกเขียว หรือมะพร้าวสด แต่เริ่มเข้าสู่ยุคของการปอกเปลือกมะพร้าวเหลือแต่ลูกกะลา แล้วนำไปต้มหรือเผา นับเป็นก้าวที่ 2 ของการวงการมะพร้าวที่ไม่เฉพาะขายส่งมะพร้าวเขียว แต่เริ่มต่อยอดด้วยการแปรรูปให้เป็นผลรับประทานง่ายขึ้น

เมื่อมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดส่งออก ในปี 2544 เพราะมีเพื่อนแนะนำให้รู้จักกับลูกค้าชาวไต้หวัน และทำให้รู้จักการค้าในรูปแบบของ OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือ รับจ้างผลิต โดยยังไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง และขยายฐานลูกค้าจากไต้หวันไปอีกหลายประเทศ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ต้องการความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยการก่อตั้งบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด และต่อยอดการแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมปอกเปลือก เป็นวุ้นมะพร้าวในห่อสุญญากาศ ถือเป็นการทำการเกษตรครบวงจร และเริ่มค้าขายกับต่างประเทศภายใต้แบรนด์ เอ็นซี โคโคนัท กับหลากประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป

เปลือกมะพร้าว ที่เดิมเคยเป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าว สมัครพนันบอลออนไลน์ ปัจจุบัน ถูกขายให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้า เพราะการทิ้งเปลือกมะพร้าวเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง คุณณรงค์ศักดิ์ จึงศึกษาเรื่องการนำเปลือกมะพร้าวไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มชีวมวล อย่างน้อยก็ได้จัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าวเป็นเม็ดเงินกลับมา

คุณณรงค์ศักดิ์ บอกว่า ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทย ยังไม่ดีนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบ แต่สำหรับตลาดมะพร้าวน้ำหอมต่างประเทศ มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ซึ่งที่ผ่านมาการเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมในต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้การค้าในประเทศมีผลผลิตจาก เอ็นซี โคโคนัท เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกยังต่างประเทศมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยในประเทศวางจำหน่ายที่ห้างโมเดิร์นเทรด เช่น โลตัส ซุปเปอร์สโตร์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และศูนย์การค้าสยามพารากอน เท่านั้น

ปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ ยังคงทำสวนมะพร้าวอยู่ ขยายพื้นที่ปลูกไปหลายแปลงในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และช่วยเหลือเกษตรกรทำสวนมะพร้าวด้วยการรับซื้อมะพร้าวที่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ภายใต้ราคาซื้อขายของตลาดสินค้าเกษตร ทั้งยังยืนยันด้วยว่า มะพร้าวน้ำหอม ยังเป็นสินค้าเกษตรที่มีทิศทางและการเติบโตที่ดีในต่างประเทศอีกมาก

“บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน” เป็นคำกล่าวที่มีมานานตั้งแต่โบราณ เนื่องจากเจ้านายเชื้อพระวงศ์บางพระองค์มีพระตำหนักเรือกสวนอยู่ที่แขวงบางช้าง จึงเรียกสวนที่บ้านนอกในแขวงบางช้างว่า “บางช้างสวนนอก” ส่วนบางกอกนั้นก็ทรงมีเรือกสวนอยู่ชั้นในใกล้กับวังของเจ้านาย ท่านจึงเรียกว่า “บางกอกสวนใน”

จากคำกล่าวเปรียบเปรยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณของทั้งสองสวน บางช้างสวนนอกอยู่ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ดินแดนที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมหลากหลาย