หากใครแวะมาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ ต้องแวะไปเรียนรู้

เทคนิคการทำโรงเรือน หรือ “เล้าเป็ดแบบเคลื่อนที่” ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคุณนิวัฒน์ เขาใช้ซาแรนกั้นบริเวณเลี้ยงเป็ด ภายในมีคอกเล็กๆ ที่ทำจากโครงเหล็กสูงสัก 1 เมตร ใช้ไม้วางพาดเป็นร่มเงาให้เป็ดใช้เป็นที่อาศัยหลับนอน เล้าเป็ดของที่นี่ เปิดโล่งตามธรรมชาติ ถ่ายเทอากาศได้ดี มีพื้นที่กว้างขวางให้เป็ดเดินเล่นและหากินแบบไม่เครียด ทำให้เป็ดอารมณ์ดี ไข่ดกมากๆ

เมื่อต้องการย้ายเล้าเป็ดไปยังพื้นที่อื่นๆ ในสวน คุณนิวัฒน์จะเก็บซาแรนที่ใช้กั้นบริเวณพื้นที่เลี้ยงเป็ดออก ย้ายคอก (รังนอนของเป็ด) ไปตั้งในพื้นที่ใหม่ที่ต้องการ เป็ดก็จะเดินตามคอก (รังนอน) ไปยังพื้นที่แห่งใหม่โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้น คุณนิวัฒน์ จึงใช้ซาแรนกั้นบริเวณเล้าเป็ดแห่งใหม่ ก็ถือว่าเสร็จขั้นตอน หากเป็นคอกขนาดเล็ก คุณนิวัฒน์จะย้ายพื้นที่เลี้ยงเป็ดทุกๆ 1 สัปดาห์ ส่วนคอกขนาดใหญ่จะย้ายพื้นที่ใหม่ทุกๆ 1 เดือน

คุณนิวัฒน์ บอกถึงข้อดีของเล้าเป็ดแบบเคลื่อนที่ว่า จะทำให้เป็ดมีแหล่งอาหารใหม่อยู่ตลอดเวลา วัชพืช แมลง หอย ที่อยู่ในบริเวณที่กั้นคอกจะกลายเป็นอาหารเลี้ยงเป็ดตามธรรมชาติแล้ว คุณนิวัฒน์ยังทำอาหารเสริมสำหรับเลี้ยงเป็ด โดยใช้เศษปลา เศษกุ้ง ที่ซื้อมาจากตลาด มาต้มให้สุก มาใช้เลี้ยงเป็ดในแต่ละสัปดาห์ ทำให้เป็ดเติบโตแข็งแรงให้ไข่ดกมาก ข้อดีประการต่อมาของเล้าเป็ดแบบเคลื่อนที่คือ มูลเป็ด กลายเป็นปุ๋ยคอกชั้นดีในการบำรุงต้นไม้ภายในสวน

นอกจากนี้ คุณนิวัฒน์ ยังนำความรู้ที่ได้จากการเป็นหมอดินมาประยุกต์การทำปุ๋ยหมัก โดยการนำมูลสัตว์มาหมักกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ที่ได้จากสถานีพัฒนาที่ดินสงขลา เพื่อเก็บไว้ใช้ดูแลผลผลิต นอกจากปุ๋ยหมักแล้ว คุณนิวัฒน์ยังมีน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากเศษผักผลไม้เหลือใช้ในพื้นที่มาใช้ในแปลงเพาะปลูกด้วย เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบที่มีอยู่รอบตัวมาใช้หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง ช่วยสร้างผลผลิตที่ปลอดภัย ทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิต แถมได้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพอีกต่างหาก

ถั่วเหลือง เป็นพืชที่พบในประเทศจีน เมื่อเกือบ 5,000 ปีที่แล้ว บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง จากนั้นแพร่กระจายพันธุ์ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีก่อนเข้าสู่ยุโรปและอเมริกา ถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนชั้นยอดสำหรับวัว อเมริกามีพื้นที่การปลูกถั่วเหลืองและผลผลิตมากที่สุดในโลก

ประเทศไทย เริ่มปลูกถั่วเหลืองกันกว่า 200 ปีแล้ว สันนิษฐานว่าเมล็ดพันธุ์ได้มาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 หน่วยงานของรัฐได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองให้เหมาะสมกับภูมิอากาศบ้านเรา เช่น พันธุ์สุโขทัย 1-3 พันธุ์นครสวรรค์ 1 พันธุ์เชียงใหม่ 60 พันธุ์ สจ.4 และ สจ.5

ปัจจุบันนี้ การผลิตถั่วเหลืองยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้มีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศมาบริโภคในครัวเรือนและส่วนใหญ่นำเข้ากากถั่วเหลืองมาเพื่อผลิตอาหารสัตว์ พื้นที่ปลูกในประเทศจะเป็นภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกถั่วเหลืองมากที่สุดเนื่องจากอากาศค่อนข้างเย็นกว่าภาคอื่น

ถึงแม้ว่าถั่วเหลืองไม่ใช่พืชบ้านเรา แต่ก็มีการนำถั่วเหลืองมาใช้บริโภคกันอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการหมัก เช่น เต้าเจี้ยว ซอสถั่วเหลือง ถั่วเน่า เต้าหู้ยี้ ในอาหารประเภทผัดไฟแดง ก็ขาดเต้าเจี้ยวไม่ได้เด็ดขาด สรรพคุณของถั่วเหลืองได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งถั่ว” ถ้ากินเป็นประจำช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว และโรคยอดนิยมในปัจจุบันคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

ถั่วเหลืองอินทรีย์ ของ ฟาร์มคุณทวด ตั้งอยู่ในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เริ่มต้นจาก คุณกฤตวิทย์ วางขุนทด หรือ คุณมาร์ค ที่เติบโตจากครอบครัวคนเมืองที่กรุงเทพฯ หลังจากเรียนจบวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน แล้ว ได้ไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่ University Sussex ในเมือง Brighton ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ

เนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่แถบชานเมืองจึงมีโอกาสได้เห็นชีวิตของคนชนบทที่ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคภายในครอบครัวเอง ส่วนที่เหลือก็นำมาขายในตลาดฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต จากที่ได้มีโอกาสสัมผัสและซื้อผักดังกล่าวมาทำอาหารกินในตอนเรียนนั้น ทำให้คุณมาร์ค ประทับใจในวิถีชีวิตชนบทซึ่งไม่มีโอกาสได้สัมผัสในเมืองไทย จึงมีความคิดตลอดที่จะปลูกพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์

หลังจากได้กลับบ้าน เมื่อเรียนจบได้มาทำงานเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่เรียนมาในกรุงเทพฯ อยู่ 3 ปี ระหว่างนั้นช่วงวันหยุดได้ออกไปต่างจังหวัดแถบจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศของเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

ในช่วงนี้ นาจำนวนสิบกว่าไร่ของคุณทวดที่เชียงรายที่เคยให้เช่าก็เปลี่ยนมาทำเอง โดยการปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมดแล้วปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง ไผ่ มะขาม มะละกอ กล้วย มะขามเปรี้ยว ขนุน และฝรั่งกิมจู จนต้นไม้เริ่มโตและบางชนิดให้ผลผลิตแล้วจึงลาออกมาทำการเกษตรเต็มตัว

พืชชนิดแรกที่ทำเองคือการปลูกข้าว ทั้งข้าวหอมมะลิ และไรซ์เบอร์รี่ และต่อมาจึงได้ปลูกถั่วเหลืองอินทรีย์โดยใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60 และได้เก็บพันธุ์มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

ถั่วเหลือง ปลูกง่ายๆ ในภาคเหนือ

การปลูกถั่วเหลืองของทางภาคเหนือปลูกไม่ยากเหมือนภาคอื่น เพราะสภาพภูมิอากาศเหมาะสม ฟาร์มคุณทวด ปลูกถั่วเหลืองด้วยวิธีการไถพรวนพื้นที่ทั้งแปลง แล้วยกร่องขึ้นให้สูง 15-20 เซนติเมตร ความกว้างแปลง 1.5 เมตร ยาวตามพื้นที่แต่ก็ไม่เกิน 20 เมตร ตอนไถพรวนได้ใส่ปุ๋ยขี้วัวและขี้เป็ดซึ่งได้หมักไว้แล้ว จำนวน 20-30 กระสอบ ต่อไร่

หลังจากนั้น ก็จะเอาไม้ยาวๆ จิ้มให้เป็นหลุมแล้วจะมีคนหยอดตามหลุมละ 5 เมล็ด โดยมีระยะแถวและระยะต้น 15 เซนติเมตร ใน 1 แถว จึงปลูกได้ 8 หลุม หลังจากหยอดเสร็จแล้วก็เอาฟางข้าวในนาของตัวเองมาคลุมค่อนข้างหนาเพื่อป้องกันวัชพืช และเป็นการรักษาความชื้นให้ได้มากที่สุด แล้วจึงปล่อยน้ำเข้าแปลงตามร่องของแต่ละแปลงที่ทำไว้ การปล่อยน้ำเข้าจะทำทุก 7 วัน หรือเห็นว่าดินแห้ง

หลังจากนั้น 7 วัน ต้นถั่วเหลืองจะเริ่มงอก ครบ 45 วัน จะใช้คนถอนวัชพืชออกจากแปลง ถั่วเหลืองจะเริ่มออกดอกและติดฝักเมื่ออายุ 90 วัน

ช่วงนี้จะมีศัตรูพืชรบกวน สิ่งนั้นคือหนู แต่ทางฟาร์มคุณทวดจะเลือกใช้วิธีปล่อยให้นกแสกมาทำรังในสวนเพื่อกำจัดหนู วิธีนี้ใช้ได้ผลในการกำจัดหนูศัตรูของเมล็ดถั่วเหลืองเป็นอย่างดี

เนื่องจากทางฟาร์มคุณทวดไม่ได้ใช้สารเคมี หรือปุ๋ยเคมีใดๆ รวมถึงยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชจึงทำให้ระบบนิเวศเป็นไปอย่างสมดุล มีการเกื้อกูลกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน

ปัจจุบัน ฟาร์มคุณทวด มีแรงงานอยู่ 4 คน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ซึ่งพอใจที่ทำงานในฟาร์ม เนื่องจากไม่ใช้สารเคมีจึงไม่ต้องห่วงต่อการสูดดมสารเคมีซึ่งเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ

ปลูกสลับกัน ระหว่างถั่วเหลืองกับข้าว ผลผลิตได้ดี

บนผืนดิน 7 ไร่ ที่ปลูกถั่วเหลืองอินทรีย์ จะถูกแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นแรกปลูกเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวได้ในกลางเดือนพฤษภาคม มีผลผลิตถั่วเหลืองต่อไร่ประมาณ 150 กิโลกรัม รวมผลผลิตทั้งหมดประมาณ 1 ตัน รอบนี้ผลผลิตส่วนใหญ่จะนำมาจำหน่าย และเหลือเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับปลูกรุ่นต่อไป

รุ่นที่สอง เริ่มปลูกปลายเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเอาปลายเดือนตุลาคม สำหรับรุ่นสองพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองใช้แค่ 300 ตารางวา เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์เท่านั้น ส่วนพื้นที่เหลือจะปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอร์รี่

เก็บฝักด้วยมือ

การเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง จะใช้วิธีให้คนเก็บด้วยเคียวเกี่ยวข้าว แล้วนำมาตากแดดบนนั่งร้าน ที่ทำด้วยตาข่ายรูพรุนสำหรับระบายอากาศได้ดี สักประมาณ 3 แดด ก็นำมาแยกฝักออกจากต้น แล้วนำมาเข้าเครื่องแยกเมล็ดที่ผลิตขึ้นเอง แล้วนำมาฝัดเศษเปลือกทิ้ง

เสร็จแล้วจึงนำมาใส่กระด้งเกลี่ยให้กระจายไปทั่วกระด้ง แล้วเลือกเมล็ดที่ไม่ได้คัดทิ้งทีละเมล็ด เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคว่าถั่วเหลืองทุกเมล็ดที่ไปจากฟาร์มคุณทวด ได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดี

เมื่อได้เมล็ดถั่วเหลืองอินทรีย์ที่มีคุณภาพแล้ว ก็จะนำมาบรรจุถุงพลาสติกสานที่มีรูพรุนเพื่อให้เกิดการระบายอากาศ วางบนชั้นไม้ไม่ให้สัมผัสพื้นโดยตรงในห้องเก็บผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะ

สำหรับเปอร์เซ็นต์การงอก ท่านที่ต้องการเอาไปทำพันธุ์ หรือเพาะเป็นถั่วงอกหัวโต จะมีอายุประมาณ 2-3 เดือน เท่านั้น สำหรับแพ็กสุญญากาศของผลิตภัณฑ์จะทำให้ถั่วเหลืองสามารถเก็บไว้สำหรับบริโภคได้นาน

ขายผ่านสื่อออนไลน์

เนื่องจากฟาร์มคุณทวด ได้เป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจผูกปิ่นโตข้าว จึงสามารถสื่อสารได้กว้างไกล ผลิตภัณฑ์ของฟาร์มนอกจากข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ถั่วเหลือง แล้วยังมีพืชสวนครัว ไข่เป็ด น้ำพริกถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อื่นอีกในฟาร์ม สนนราคาข้าวไรซ์เบอร์รี่และถั่วเหลืองอินทรีย์ แพ็กละ 1 กิโลกรัม ขาย 100 บาท ไม่รวมค่าส่ง

ส่วนข้าวหอมมะลิกิโลกรัมละ 80 บาท จะเลือกเป็นข้าวกล้องหรือขัดขาวก็ได้ สนใจรับสินค้าปลอดภัยจากสารเคมี สามารถติดต่อได้ที่ คุณมาร์ค โทร. (084) 929-5301 Line: khunthuad Fanpage : khunthuad Farm หรือติดต่อโดยตรงที่ ฟาร์มคุณทวด ตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

คำแนะนำของคุณมาร์ค สำหรับผู้ที่ต้องการออกจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนนี้คือ จะต้องศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้เสียก่อน ทั้งการผลิตและการตลาด นอกจากนี้ ปัจจัยการผลิตที่เป็นทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก นอกจากนี้ การได้ทดลองทำไปก่อนในช่วงที่ยังทำงานประจำอยู่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจอย่างนี้ ถ้าไม่แน่จริง ไม่แนะนำให้ออกจากงานครับ

มะยงชิด-มะปรางหวาน ของดีนครนายก เป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลหรือกิ่งพันธุ์ เพราะมีจุดเด่นในเรื่องรสชาติหวานและขนาดใหญ่ของผลแล้ว ยังได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์อีกด้วย ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของมะปรางหวาน มะยงชิด นครนายก ดีเพิ่มขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกมะยงชิด-มะปรางหวาน ของจังหวัดนครนายก ยังประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยใช้เทคนิคติดหลอดไฟ ทำให้เจ้าผลไม้ลูกสีเหลืองทองนี้ออกดอกออกช่อติดผลเยอะๆ ด้วย

เจ้าของแนวคิดดังกล่าว คือ ร.ต.ต. อำนวย หงษ์ทอง ตำรวจวัยเกษียณ อายุ 66 ปี หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ดาบนวย” นายกสมาคมชาวสวนมะปราง จังหวัดนครนายก และได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะปรางมะยงชิดขั้นเทพ เพราะปลูกผลไม้ชนิดนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว และเป็นเจ้าของ “สวนนพรัตน์” ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เนื้อที่เกือบ 50 ไร่ รวมกับอีกแปลงที่อยู่ตำบลสาลิกา อำเภอเมือง ถือเป็นเกษตรกรยุคแรกๆ ที่เริ่มปลูกมะปรางในจังหวัดนครนายก ซึ่งมีไม่กี่ราย

เทคนิคติดหลอดไฟ พบโดยบังเอิญ

ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของต้นมะปราง หากไม่เจออากาศหนาว จะไม่แทงช่อดอก ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็น 22-24 องศาเซลเซียส เปลี่ยนจากอากาศหนาวมาเจออากาศอุ่น ต้นมะปรางจึงจะแทงช่อดอกออกมาได้

แต่ ดาบนวย ได้เรียนรู้เทคนิค ติดหลอดไฟที่ช่วยกระตุ้นให้ต้นมะปรางออกดอกเร็วและดกกว่าปกติ ด้วยความบังเอิญ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ที่สวนนพรัตน์ ได้ติดหลอดไฟ ขนาด 40 วัตต์ แถวโต๊ะม้าหินอ่อน เปิดตั้งแต่ 6 โมงเย็น จนถึงเช้า ทำให้มีแสงสว่างไปกระทบถูกกิ่งพันธุ์ต้นมะปรางที่ปลูกไว้ จำนวน 10 กว่าต้น เกิดแทงช่อดอกออกมา 1-2 กิ่ง ในช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเพราะโดยทั่วไปช่อดอกจะออกตอนช่วงหน้าหนาวเท่านั้น

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ดาบนวย เล่าให้ฟังคือ ช่วงปลายปี 2559 ลูกน้องเปิดแผงขายขายจึงแขวนหลอดไฟบนกิ่งต้นมะปราง เปิดไฟตั้งแต่ 6 โมงเย็น ถึง 3 ทุ่ม และช่วง ตี 4-6 โมงเช้า พอถึงหน้าฝน ยังไม่เข้าสู่ฤดูหนาว ปรากฏว่าต้นมะปรางดังกล่าวกลับแทงช่อดอกอยู่ต้นเดียว และออกเฉพาะกิ่งที่ถูกแสงไฟ ทำให้รู้ว่า การออกช่อแบบนี้ผิดธรรมชาติ

ดาบนวย จึงเกิดแรงจูงใจ นำแนวคิดดังกล่าวมาทดลองใช้ในสวนนพรัตน์ ครั้งแรกติดหลอดไฟบนต้นมะปราง จำนวน 20 ต้น โดยใส่หลอดไฟไว้ตรงกลางต้นใหญ่ ปรากฏว่าต้นมะปรางแทงช่อดอกไม่เยอะ มีอยู่ 8-9 ต้น ที่แทงช่อเต็มต้น

ต่อมาเพิ่มจำนวนต้นทดลองเพิ่มขึ้นอีก 40 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 8×8 เมตร โดยติดหลอดไฟสลับแถวกัน เปิดไฟในบางแถว บางแถวไม่ใช้ไฟ ปรากฏว่าในส่วนมะปรางที่ใช้แสงไฟจะแทงช่อดอกทุกต้น ส่วนแถวต้นมะปรางที่ไม่ใช้ไฟ ไม่แทงช่อดอกแม้แต่ต้นเดียว

ด้วยเหตุนี้ดาบนวยจึงมั่นใจ ว่าเทคนิคการใช้แสงไฟได้ผลดี จึงทดลองติดหลอดไฟอีกรุ่น ห่างกันประมาณไม่เกิน 7 วัน ใช้จำนวนหลอดไฟ 40 หลอด กับต้นมะปราง จำนวน 20 ต้น ติดหลอดไฟต้นละ 2 หลอด เพื่อให้แสงไฟส่องสว่างอย่างทั่วถึง และติดหลอดไฟนานเป็นเดือน ส่งผลให้ต้นมะปรางแทงช่อติดดีมาก ติดเกือบจะทุกกิ่ง

“วิธีติดดวงไฟ เพื่อให้มะปรางออกช่อดอก เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ ผมได้ลองผิดลองถูก ทดลองอีก 3-4 รุ่น แต่บางรุ่น ดูแล้วไม่น่าจะดี เพราะอากาศร้อนมาก ทำได้ 10 กว่าต้นที่ออกช่อ จากการสังเกต ปกติช่อดอกช่อหนึ่งจะออกลูก 2-3 ลูก แต่พอใส่ไฟ ทำให้ออกลูกติดผลเป็น 10 ลูกเยอะมากเกิน 3 เท่า ของการออกลูกปกติ ตอนแรกคิดว่าไม่น่าอยู่รอด แต่แม้จะร่วงก็ยังเยอะอยู่ ร่วงประมาณครึ่งหนึ่ง ได้ผลดกมาก กิ่งย้อยลงมา”

สำหรับรสชาตินั้น ดาบนวย ระบุว่า เท่าที่ชิมใช้ได้ และผิวสะอาดใส โรคหนอนและแมลงแทบจะไม่ค่อยมี

ปกติมะปรางมะยงชิด จะออกช่อหน้าหนาว พอแทงช่อแล้ว นับไปอีก 75 วัน จะเก็บผลได้ บวกลบไม่เกิน 5 วัน ถ้าหน้าหนาวจะเป็น 80 วัน หากอากาศร้อนลดลงไปเหลือ 70 วัน เพราะหน้าร้อนลูกจะสุกเร็ว ส่วนหน้าหนาวลูกจะสุกช้า

ทำนอกฤดูเหมือนมะม่วงไม่ได้

ดาบนวย เล่าว่า ช่วงหลายปีมานี้ ทั้งมะปรางและมะยงชิดที่นครนายกไม่ค่อยติดลูก จึงได้ไปปรึกษาขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากอากาศแปรปรวน นอกจากนี้ ยังเคยทดลองเพื่อให้ออกนอกฤดูแบบมะม่วงแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้

เดิมนั้นสวนของดาบนวย ปลูกมะปราง 30% ปลูกมะยงชิด 70% รวมพันกว่าต้น ต่อมาเจอปัญหาไม่ค่อยออกลูกเลยโค่นมะยงชิดปลูกมะปรางแทน เพื่อให้ได้ 50% เท่ากัน โดยปลูกมะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์และมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้า

นายกสมาคมชาวสวนมะปรางฯ บอกว่า ได้แนะนำให้สมาชิกของสมาคมใช้หลอดไฟติดตรงต้นมะปรางเพื่อให้ออกลูกดก หลายรายทดลองไปทำก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งเทคนิคนี้เป็นประโยชน์มากในการจัดงาน งานมะยงชิด-มะปรางหวาน ของจังหวัดนครนายก ในปีต่อๆ ไป เพราะสามารถกำหนดการจัดงานล่วงหน้าได้เป็นปี

ตนเองมั่นใจว่า 90% ใช้ได้ผล นอกนั้นขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ อย่างเช่น กำหนดจัดงาน ช่วงวันที่ 10 มีนาคม ก็ให้นับย้อนหลังไป ประมาณ 80 วัน แล้วเปิดไฟพร้อมกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงเดียวกัน

ดาบนวย แนะนำว่า เทคนิคการติดหลอดไฟ ควรทำเป็นรุ่นๆ เพื่อง่ายต่อการดูแลจัดการ และมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปกติเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ฝนหมดแล้ว ก็เริ่มติดหลอดไฟรุ่นแรก 100 ต้น ห่างอีก 1 เดือน ก็ทำอีก 100 ต้น โดยติดหลอดไฟประมาณ 25-30 วัน เน้นให้ทุกกิ่งได้รับแสงไฟอย่างทั่วถึง บางต้นอาจจะต้องติดมากกว่า 1 หลอด

แม้เทคนิคนี้ต้องเพิ่มต้นทุนค่าไฟเพิ่มขึ้น หากคำนวณต้นทุน กับจำนวนมะปรางที่ติดลูกและขายได้แล้ว ถือว่าคุ้มค่ามาก เพราะเสียค่าไฟหลักหลายพันบาท ขณะที่จะขายมะปรางมะยงชิดได้หลักหลายแสนบาท
สำหรับนครนายกนั้น ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งใหญ่ในการปลูกมะปราง-มะยงชิดหวาน ที่มีคุณภาพ โดยมีพื้นที่ปลูก 8,000 ไร่ แต่ละปีมีผลผลิตประมาณ 1,500-2,000 ตัน มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท

ในส่วนขนาดลูกใหญ่สุด (เท่าไข่ไก่ เบอร์ 0) ไม่เกิน 13 ลูก ต่อกิโลกรัม ขายได้ในราคา กิโลกรัมละ 250-300 บาท บางปีขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 400-450 บาท ในปีที่มีปัญหาแล้งจัด ส่วนเบอร์รองลงมาประมาณ 10 ลูก ขายกิโลกรัมละ 200 บาท นอกจากนั้น ราคากิโลกรัมละ 100-150 บาท ส่วนกิ่งพันธุ์ทั้งมะปรางและมะยงชิด ราคากิ่งละ 200-300 บาท ความสูงประมาIเมตรเศษๆ

เตือน 7-10 วัน อันตราย ช่วงแทงช่อ

ทั้งนี้ มะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรที่นครนายกนิยมปลูกกัน เพราะมะปรางหวานพันธุ์นี้มีจุดเด่น คือ ออกลูกง่าย ใช้เวลาปลูกเพียง 2 ปีเท่านั้น มีรสชาติหวาน และมีผลใหญ่เท่ากับมะยงชิด น้ำหนักเฉลี่ย ประมาณ 10-12 ลูก ต่อกิโลกรัม ทั้งยังมีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี ขณะที่มะปรางพันธุ์ทั่วไปจะออกลูกช่วง 3-5 ปี

ดาบนวย แจกแจงว่า แม้จะติดหลอดไฟที่ต้นมะปรางเพื่อให้ออกช่อและออกลูกดกนั้น แต่ในการดูแลรักษาก็ต้องใส่ใจเหมือนเดิม ซึ่งมะปรางและมะยงชิดนับเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ดีและไม่ต้องดูแลมากเหมือนผลไม้อื่นๆ

กรณีผู้ซื้อกิ่งพันธุ์ที่ทาบกิ่งไปปลูก ปกติจะออกช่อประมาณ 3 ปี เขาแนะนำว่า ควรขุดหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร ก็พอ จากนั้นใช้ดินผสมกับขี้วัวและแกลบฝังกลบหลุม ถัดมาอีก 3 เดือน ให้ปุ๋ยอีกรอบ หรือถ้าจะใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ ซึ่งไม่ควรให้ปุ๋ยมากเกินไป เพราะจะทำให้ต้นเฉาตาย และถ้าแดดร้อนเกินไปจะทำให้ใบแห้งไหม้

เรื่องการรดน้ำนั้น ดาบนวย กล่าวว่า สมัคร Sa Gaming หากให้น้ำมากเกินไปจะแฉะ แต่ช่วงปีแรกในการปลูก ต้องให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้องดูดินอย่าให้แห้ง พอผ่านไปถึงปี 2 ปี 3 ถึง 7 วัน ก็ให้น้ำสักครั้ง แต่ช่วงปลูกใหม่ๆ ต้องคอยหมั่นดูแล โดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อน ซึ่งอาจจะแตกได้ทั้งหน้าฝนและหน้าแล้ง อาจจะเจอแมลงหรือหนอนมากินใบอ่อน ทำให้ใบโกร๋นและเติบโตช้า

นอกจากนี้ ตอนมะปรางออกช่อ อาจจะเจอปัญหาเพลี้ยไฟหรือหนอนลงมาทำลายช่อ ส่งผลให้ไม่ติดลูก ดังนั้น ต้องหมั่นดูแลช่อ ซึ่งช่วง 7-10 วัน ถือเป็นอันตราย ต้องสังเกตอย่างละเอียด

หากเกิดปัญหาที่ว่าต้องใช้สารเคมีเข้าช่วย จะใช้พวกสารชีวภาพไม่ได้ผล อย่างไรก็ดี สามารถปรึกษาร้านขายปุ๋ยเคมีได้เลย เพราะใช้สารเคมีประเภทเดียวกับมะม่วง

อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมีกำจัดต้องใช้อย่างมีเหตุผล และรู้ระยะเวลาปลอดภัยส่วนเรื่องที่มีเกษตรกรและผู้คนทั่วไป ซื้อกิ่งพันธุ์ มะปราง-มะยงชิด จากนครนายก แล้วไปปลูกตามพื้นที่ต่างๆ นั้น ดาบนวย บอกว่า อย่างไรเสียรสชาติและคุณภาพก็คงไม่อร่อยเหมือนปลูกที่นครนายกแน่นอน เพราะอากาศและดินแตกต่างกัน เนื่องจากตำบลดงละคร มีระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 10 เมตร นั่นเอง

“การตอนกิ่งมะละกอ” ถือได้ว่าเป็นการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ด เนื่องจากการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดจะมีการกลายพันธุ์ถึง 90% เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงมากในการปลูกเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนกับต้นแม่ ผิดกับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกอย่าง

นายคำพันธ์ เหล่าวงษี ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2559 อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแตง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ขยายพันธุ์มะละกอโดยการตอน สามารถเก็บผลผลิตได้หลังปลูกเพียง 2 เดือน เท่านั้น

นายคำพันธ์ บอกข้อดีของการตอนมะละกอ ดังนี้

ได้ผลผลิตไม่กลายพันธุ์
ต้นเตี้ย เก็บเกี่ยว ดูแลรักษาง่าย
ต้นแข็งแรง ต้นไม่สูง ไม่หักโค่นง่าย
แตกกิ่งก้านมากขึ้น ได้ผลผลิตมากขึ้น
ให้ผลผลิตเร็ว หลังจากปลูกด้วยกิ่งตอน 2 เดือน