“ห้วยมุ่น” สับปะรดคุณภาพดีที่สุดในโลกเกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า

จังหวัดอุดรดิตถ์นอกจากโดดเด่นในเรื่องทุเรียนรสเยี่ยมแล้ว สับปะรดห้วยมุ่น ก็เป็นสินค้าเด่นอีกชนิดที่ขายดิบขายดีไม่แพ้กัน เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สับปะรดห้วยมุ่น ของจังหวัดอุดรดิตถ์ มีต้นกำเนิดจาก คุณพรมมา พุฒิแพง (นายฮ้อยแดง) ขี่ช้างนำสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย จากจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี 2409 จำนวน 60 หน่อ มาปลูกในพื้นที่เชิงเขา ซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย ที่เกิดจากการพัดพาของน้ำ มีการสลายตัวตามธรรมชาติ ปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ สภาพอากาศอุณหภูมิเฉลี่ย 26-30 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ที่นำมาปลูกจึงเกิดการกลายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร โดยมีลักษณะผลกลม ขนาดน้ำหนัก 1.5-3.5 กิโลกรัม เฉลี่ยน้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม ต่อผล ผิวเปลือกบาง ตาตื้น ผลดิบสีเขียวคล้ำ ผลแก่เปลือกสีเหลืองอมส้ม เนื้อหนานิ่ม สีเหลืองเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติหวานฉ่ำ กลิ่นหอม ที่สำคัญไม่กัดลิ้น

เนื่องจากสับปะรดพันธุ์ใหม่นี้ ถูกค้นพบในพื้นที่ ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุดรดิตถ์ จึงถูกเรียกขานว่า สับปะรดห้วยมุ่น มาจนถึงทุกวันนี้ สับปะรดห้วยมุ่นมีจุดขายสำคัญคือ รสชาติอร่อย ไม่กัดลิ้น ถือเป็นสับปะรดคุณภาพดีที่สุดในโลก เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไปอย่างกว้างขวาง

สับปะรดห้วยมุ่น นิยมปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่ตำบลห้วยมุ่น และตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก สับปะรดห้วยมุ่นในช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของทุกปี เพราะสะดวกในการเตรียมพื้นที่ปลูก และเตรียมพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตมากที่สุด คุณภาพดีที่สุด ประมาณช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

ในปี 2561 จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น จำนวน 30,707 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 27,719 ไร่ คิดเป็นน้ำหนักกว่า 122,700 ตัน ทุกวันนี้ สับปะรดห้วยมุ่นของจังหวัดอุดรดิตถ์ ได้รับการประกาศให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI.) ตั้งแต่ วันที่ 13 มิถุนายน 2555 ทะเบียนที่ 56100056 โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

คุณอดุลย์ศักดิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน สับปะรดห้วยมุ่น มีช่องทางการขายใน 2 ลักษณะ คือ ขายสับปะรดบริโภคผลสด โดยแบ่งเกรดการขาย เป็นเนื้อ 1, 2, 3 หรือ เกรด A, B, C ตรวจสอบได้โดยการสัมผัส ดีด เคาะ เกษตรกรนิยมจำหน่ายผลผลิตในพื้นที่ บางท้องถิ่นก็มีพ่อค้ารายย่อยเข้าไปรับซื้อผลผลิตถึงสวน หรือเกษตรกรบางรายนำผลผลิตออกมาวางขายเอง อีกกลุ่มขายเป็นสับปะรดโรงงาน โดยมีแผงค้าหรือล้งเป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากสวนส่งขายโรงงานแปรรูปที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี ตราด โดยใช้รถบรรทุกขนาดใหญ่ ติดพ่วง จากโรงงานขึ้นไปรับผลผลิตจากแหล่งผลิต ครั้งละ 15-30 ตัน ต่อคัน

“เนื่องจากในปีนี้สภาพภูมิอากาศดี ทั้งปริมาณน้ำ ความชื้น ความหนาวเย็นเหมาะสม ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลเอาใจใส่การผลิตที่ดี มีการรวมกลุ่มผลิตที่เข้มแข็ง และมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสม ทำให้ปีนี้ผลผลิตสับปะรดห้วยมุ่นออกสู่ตลาดผู้บริโภคมากกว่าปีก่อน” คุณอดุลย์ศักดิ์ กล่าวในที่สุด

การปลูกมันเทศในเชิงพาณิชย์จะให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เกษตรกรผู้ปลูกจะต้องมีความรู้ มีการวางแผนและการจัดการที่ดี รวมถึงมีเทคนิคและการดูแลเฉพาะในแต่ละฤดูปลูกอีกด้วย เพื่อให้การปลูกมันเทศบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ “ให้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด ได้หัวมันที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีต้นทุนในการผลิตต่ำ และขายได้ราคา”

“สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 901-3760, (081) 886-7398 ได้คลุกคลีกับการปลูกมันเทศมานานประมาณ 10 ปี โดยสายพันธุ์ที่นำมาปลูกล้วนแต่เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อาทิ มันเทศเนื้อสีม่วงโอกินาวา จากญี่ปุ่น, มันเทศเนื้อสีเหลืองเบนิฮารุกะ จากญี่ปุ่น (มันหวานญี่ปุ่น), มันเทศเนื้อสีส้ม จากญี่ปุ่น, มันเทศเนื้อสีเหลือง จากไต้หวัน, มันเทศเนื้อสีเหลือง จากเกาหลีใต้ 5 สายพันธุ์ และมันเทศเนื้อสีม่วงสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดจากสวนคุณลี (ที่ได้จากการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติในแปลงปลูก ซึ่งมีรสชาติหวาน เนื้อละเอียดเนียน หัวใหญ่ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 90-100 วัน เท่านั้น)

การปลูกมันเทศให้ลงหัวได้ดีนั้น ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เรื่องของโครงสร้างของดิน ถึงแม้ว่ามันเทศจะสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมที่สุด สภาพดินที่ปลูกมีผลต่อการลงหัวของมัน หรือรูปทรงของหัวมันในสภาพดินปลูกที่มีโครงสร้างของดินแข็ง ดินแน่น และมีการระบายน้ำไม่ดี ควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะลงมือปลูก สำหรับพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลวัว มูลไก่ ฯลฯ ในอัตรา 1-2 ตัน หรือใส่ปุ๋ยคอกพร้อมกับการเตรียมแปลงเลย

วิธีการเตรียมแปลงปลูก

ให้ไถดะก่อน 1 ครั้ง และตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน จากนั้นไถพรวนแปลง 1-2 รอบ หรือใช้โรตารี่ติดรถไถตีดินให้ดินมีความละเอียดยิ่งขึ้น หลังจากนั้นให้ยกร่องแปลงปลูกขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 50-80 เซนติเมตร สูง 30-50 เซนติเมตร (ความสูงของแปลงยิ่งมีความสูงยิ่งส่งผลต่อการลงหัวมันดี) ส่วนความยาวของแปลงปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ อย่างสวนคุณลีนั้นจะปลูกแบ่งเป็นแปลงเล็กขนาด 100-400 ตารางเมตร

เนื่องจากต้องการปลูกมันเทศหลากหลายสายพันธุ์ให้ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีช่วงเวลาขายอย่างน้อย 7-15 วัน จนหมด ก่อนที่มันเทศแปลงต่อๆ ไปจะสามารถขุดขึ้นมาขายต่อ เนื่องจากตอนนี้สวนคุณลี เน้นการขายมันเทศผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคา กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งตรงกับคำพูดที่ว่า “ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย” เนื่องจากมีเวลาในการเอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีนั่นเอง

โดยปกติทั่วไปสำหรับเกษตรกรที่ปลูกมันเทศทั่วประเทศมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบน้ำในแปลงปลูก ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนอาจจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น ถ้าปลูกในฤดูแล้งอาจจะมีการให้น้ำแบบท่วมแปลงบ้างเท่านั้น แต่การปลูกมันเทศสมัยใหม่ควรจะมีการจัดระบบน้ำที่ดี ในแปลงปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศของสวนคุณลี จะมีการวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ซึ่งมีรัศมีกระจายน้ำได้ 3-5 เมตร

เตรียมท่อนพันธุ์มันเทศอย่างไร

ในการตัดท่อนพันธุ์ ควรจะตัดให้มีความยาวราว 30 เซนติเมตร จะไม่ลิดใบทิ้งหรือลิดทิ้งก็ได้ เนื่องจากยอดมันเป็นพืชที่แตกยอดออกมาใหม่ได้ง่าย ถ้าลิดใบทิ้งก็จะทำให้เสียเวลา แต่ยอดมันเทศเมื่อลงปลูกจะตั้งตัวได้เร็วกว่าไม่ลิดใบ เมื่อตัดท่อนพันธุ์มาแล้วควรจะมัดรวมกันเป็นท่อนหรือเป็นกำ เอาใบตองหรือกระสอบปุ๋ยห่อมัดเอาไว้ ควรนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาฆ่าแมลง ในกลุ่ม “คาร์โบซัลแฟน” (เช่น โกลไฟท์) จุ่มแช่ไว้นานราว 5-10 นาที จะช่วยลดเรื่องแมลงที่จะติดไปกับท่อนพันธุ์ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้น ให้นำมัดท่อนพันธุ์วางไว้ในที่ร่ม รดน้ำ เช้า-เย็น ประมาณ 2-3 วัน ยอดท่อนพันธุ์ก็จะมีรากงอกออกมาตามข้อ แสดงว่าท่อนพันธุ์พร้อมปลูกลงแปลงแล้ว

ถ้าจะให้ดี ท่อนพันธุ์มันเทศที่จะตัด ควรจะตัดจากต้นที่มีอายุไม่เกิน 45 วัน หรือก่อนที่จะมีการฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อหยุดยอด ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนมันเทศประมาณ 8,000-16,000 ยอด (ขึ้นอยู่กับระยะปลูก)

การปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ

ก่อนที่เกษตรกรจะลงมือปลูก ควรจะมีการให้น้ำในแปลงปลูกอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้นและปลูกได้ง่ายและรวดเร็ว วิธีการเตรียมหลุมปลูก แบ่งได้ 3 วิธี คือ ปลูกแบบใช้จอบขุด ปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อน หรือจะปลูกแบบนำท่อนพันธุ์เสียบลงแปลงปลูกเลย จากการทดลองปลูกทั้ง 3 วิธี พบว่า วิธีปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำไปก่อนได้ผลดีกว่าวิธีการอื่น เพราะทำได้ง่ายรวดเร็ว ไม่เสียแรงในการขุดดินและท่อนพันธุ์ไม่ช้ำ

ระยะปลูกระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร หากใช้จอบขุดปลูกบนสันร่อง หลุมที่ปลูกควรมีความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ควรจะวางยอดท่อนพันธุ์ทำมุม 45 องศา ฝังลึกลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนพันธุ์มันเทศ และให้ข้อโผล่พ้นดินขึ้นมา ประมาณ 2-3 ข้อ หลังจากนั้น กลบดินให้แน่นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์โยกคลอน แต่หากปลูกแบบใช้ไม้ปลายแหลมกระทุ้งนำ จะปลูกท่อนพันธุ์มันเทศให้เป็นคู่บนสันร่องโดยใช้ไม้แหลมกระทุ้งนำไปก่อน ทำมุม 45 องศา จากนั้นเสียบท่อนพันธุ์ลงดิน 2-3 ข้อ ของท่อนมันเทศ ในพื้นที่ปลูกมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 ไร่ จะใช้ท่อนพันธุ์มันเทศ ประมาณ 11,000-12,000 ยอด ซึ่งพบว่าเป็นจำนวนที่ให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างดี

การให้น้ำมันเทศ…ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ปลูกท่อนมันเทศลงดินไปแล้ว จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ 3 วันแรก จะต้องให้ทุกวัน เช้า-เย็น ให้ครั้งละประมาณ 1-2 ชั่วโมง (กรณีที่ให้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์) หลังจากนั้น จะให้น้ำวันเว้นวัน หรือ 3 วัน หรือ 5 วัน หรือ 7 วัน ต่อครั้ง แต่การให้น้ำนั้นต้องสังเกตจากความชื้นของดินเป็นหลัก เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน หลังจากมันเทศอายุได้ 2 เดือน ก็จะเริ่มห่างน้ำ เป็นการบังคับทางหนึ่งที่ให้ต้นมันเทศลงหัวได้ดี อาจจะให้เดือนละ 2-4 ครั้ง ตามความเหมาะสมกับสภาพดินของแต่ละพื้นที่ และควรฉีดปุ๋ยทางใบควบคู่กันไป เช่น สูตร 0-52-34 ทุกๆ 10-15 วัน เพื่อให้การลงหัวดีมากขึ้น

อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศ…ความจริงแล้ว อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 100-140 วัน หลังจากปลูกท่อนพันธุ์ลงไป ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เช่น ฤดูกาลปลูก ความสมบูรณ์ของต้น สายพันธุ์ที่ปลูก เป็นต้น

จากตัวเลขในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศสายพันธุ์ต่างประเทศทุกสายพันธุ์ในแปลงปลูกของสวนคุณลีถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดี จะให้ผลผลิตได้เฉลี่ย 3,000-4,000 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่

วิธีการปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและกระถาง

บริโภคในครัวเรือน สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ในปัจจุบันนี้ การปลูกมันเทศในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ ได้มีการนำพันธุ์มันเทศจากต่างประเทศมาปลูกในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น ————————–อาทิ มันเทศเนื้อสีเหลือง เนื้อสีม่วงและเนื้อสีส้ม จากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยแต่ละสายพันธุ์ล้วนมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกัน จากข้อมูลพบว่า “มันเทศเนื้อสีส้ม” เป็นแหล่งของสารเบต้าแคโรทีน เมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย และใน “มันเทศเนื้อสีม่วง” จะมีสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสื่อมของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ยับยั้งเชื้ออีโคไลซึ่งเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษและท้องร่วง ที่สำคัญเป็นมันเทศที่มีรสชาติอร่อย

อย่างกรณีของ มันเหลืองญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศและนำมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคคนไทยในราคาไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 100 บาท ทาง “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ได้นำมันเทศสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นสายพันธุ์จากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ประมาณ 10 สายพันธุ์ เข้ามาปลูกในเชิงการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร จนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ให้ผลผลิตและรสชาติหวานตรงตามสายพันธุ์ สามารถจำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 80-100 บาท ออกจากสวน

นอกจากการปลูกมันเทศในแปลงที่มีการเตรียมดินและระบบน้ำที่ดี ได้มีการประยุกต์วิธีการปลูกในรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน มีพื้นที่น้อย อยู่ในบ้านจัดสรรหรือปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริม ด้วยการ “นำมาปลูกในพื้นที่จำกัด” เช่น ถุงพลาสติกดำ กระสอบปุ๋ยเก่า ตะกร้าพลาสติก ยางรถยนต์เก่า วงบ่อปูน ฯลฯ ใช้เวลาปลูกเพียง 3 เดือนครึ่ง ถึง 4 เดือนครึ่งเท่านั้น (ตามอายุเก็บเกี่ยวแต่ละสายพันธุ์) สามารถขุดหัวมาบริโภคหรือจำหน่ายได้

สำหรับวัสดุปลูกที่สำคัญคือ ดินร่วน แกลบดำ แกลบดิบ และปุ๋ยคอกเก่า (หรือประยุกต์ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น) ในอัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำวัสดุปลูกใส่ในถุงให้เต็มและอัดให้แน่น นำถุงพลาสติกไปวางไว้บริเวณกลางแจ้ง รดน้ำให้ชุ่ม นำยอดมันเทศที่เตรียมไว้ (ตัดยอด ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร) ใช้ไม้แหลมแทงดินในถุงให้เป็นรู ให้รูเฉียงประมาณ 45 องศา โดยประมาณ นำยอดปลูกลงไปให้มีความลึก ประมาณ 3-5 ข้อ โดยจำนวนยอดที่จะปลูกลงไป ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของภาชนะที่เลือกใช้ เช่น ถุงดำ ก็จะใช้ยอดพันธุ์มันเทศราวๆ 3-5 ยอด กดดินให้แน่นพอประมาณ ช่วง 7 วันแรก หลังจากที่ปักยอดมันเทศลงไป ควรจะรดน้ำเป็นประจำทุกเช้า (ระวังอย่าปล่อยให้ถุงแห้งขาดน้ำ) หลังจาก 7-10 วัน จะพบว่า ยอดมันที่ปักชำลงไปเริ่มแทงรากออกมาให้เว้นการให้น้ำให้ห่างขึ้นเป็นวันเว้นวัน และห่างเป็น 2-3 วัน ต่อครั้ง ตามความเหมาะสม เมื่อต้นมันเทศมีอายุต้นได้ 45 วัน และพบว่า ใบมันเทศไม่มีอาการเหี่ยวให้เห็น ก็ไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำ เนื่องจากการให้น้ำบ่อยๆ จะทำให้ต้นมันเทศมีอาการบ้าใบและไม่ลงหัว

การปลูกมันเทศในถุงพลาสติกและมีความต้องการให้มีการลงหัวและรสชาติที่ดี จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีบ้าง เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ในช่วงแรกใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพียง 1 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน และโดยเฉพาะเมื่อต้นมันเทศมีอายุครบ 2 เดือน เป็นช่วงของการลงหัว ควรจะใส่ปุ๋ยเคมีที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 16-16-16 หรือ สูตร 13-13-21 ฯลฯ เพื่อให้หัวมันเทศใหญ่ มีรสชาติหวานตามสายพันธุ์ ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมันเทศ อายุต้นจะต้องเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 100-140 วัน โดยอาจจะสุ่มขุดดูว่าหัวมันเทศมีขนาดที่เราต้องการนำมาบริโภคได้หรือยัง

ปัจจุบัน “มันเทศ” จัดเป็นสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพที่ตลาดมีความต้องการมาก เนื่องจากเป็นมันเทศที่มีปริมาณสารอาหารที่มีประโยชน์สูงมาก ในบางประเทศส่งเสริมให้รับประทานข้าวในบางมื้อ หรือสับเป็นชิ้นเล็กๆ หุงพร้อมข้าว

มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย มะม่วงหาวมะนาวโห่ จัดเป็นผลไม้ประเภทกินผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก เป็นแหล่งสำคัญของธาตุเหล็ก วิตามินซี และยังมีปริมาณเพกติน ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ในปริมาณสูง (Pal et al,19751) พบว่า ผลของพืชสกุล Carissa caradas มีสารกลุ่มฟินอลิกปริมาณมาก โดยสารประกอบฟินอลิกได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ สารฆ่าเชื้อ

มะม่วงหาวมะนาวโห่จะอุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน เป็นสารสีม่วงแดงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า คุณภัทรฤทัย พรมนิล (ปุ๊) อยู่บ้านเลขที่ 182 หมู่ที่ 3 บ้านสมบูรณ์ ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อดีตครีเอทีฟรายการทีวีชื่อดัง ผันตัวเองเป็นเกษตรกรเพื่อสานต่อความฝันของพ่อ ก่อนหน้านี้คุณปุ๊ทำงานในกรุงเทพฯ นานกว่า 5 ปี เริ่มมีปัญหาสุขภาพ ด้วยลักษณะของงานที่ต้องใช้ความคิดเยอะ เครียด “ปุ๊จึงตัดสินใจลาออกจากงานและช่วงนั้นคุณพ่อเสียชีวิตพอดี จึงทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะกลับมาสานต่อความฝันของคุณพ่อให้สำเร็จ ซึ่งคุณพ่อของปุ๊ได้ปูทางอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ทิ้งไว้ แต่ช่วงนั้นปุ๊และพี่น้องอีก 2 คน ไม่มีใครสนใจอยากเป็นเกษตรกรเลย”

ผ่านไป 3 ปี ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่คุณพ่อปลูกไว้ออกลูกแต่ไม่มีใครเก็บ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ปุ๊จึงเริ่มมองเห็นโอกาสทำเงินจากสวนนี้ และด้วยความที่ปุ๊เป็นครีเอทีฟมาก่อน จึงคิดอยากสร้างแบรนด์สร้างทุกอย่างใหม่ จึงเริ่มคิดว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่ทำอะไรได้บ้าง หลายคนถ้าพูดถึงผลไม้ชื่อนี้ต้องคิดไปถึงคนป่วย ต้องป่วยถึงจะกินได้ แต่ปุ๊ไม่ได้คิดแบบนั้น

“ปุ๊คิดว่า คนทุกเพศ ทุกวัย เด็ก ผู้ใหญ่ ต้องสามารถกินได้ทุกคน เราจึงเริ่มต้นจากการทำโลโก้ ซึ่งโลโก้เราไม่เหมือนใครแน่นอน โลโก้ของเรามีเรื่องราว เราเอาคุณพ่อมาทำ คือคุณพ่อชื่อนพรัตน์ เราจึงตั้งชื่อเป็นนพรัตน์ฟาร์ม โลโก้ก็เป็นรูปคุณพ่อ ส่วนเด็ก 3 คน ที่เกาะหลังคือพวกเรา 3 คน พี่น้อง ปิ๋ว ป๋อง ปุ๊” คุณปุ๊ กล่าว

ปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ 1 ไร่ครึ่ง ทำอะไรได้บ้าง
ที่สวนคุณปุ๊ปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ไว้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง คิดเป็นจำนวนต้น คือปลูกได้ 300 ต้น

“ถามว่า ปลูกได้ 300 ต้น เยอะไหม เยอะมาก และปลูก 300 ต้น เราสามารถนำมาแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ได้มากขนาดไหน” คุณปุ๊ บอกและว่า ถ้าคิดอยากทำเยอะๆ ต้องหาลูกสวน ซึ่งตอนนี้ที่จังหวัดนครพนมได้มีการสนับสนุนให้คนในจังหวัดหันมาปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยมี ธ.ก.ส. เข้ามาช่วย โครงการในหมู่บ้าน มีการจัดการให้หมู่บ้านต่างๆ เอาต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ไปปลูก โดยจำกัดให้คนละ 100 ต้น

วิธีการปลูก
คุณปุ๊ อธิบายถึงขั้นตอนการปลูกแบบไม่ยุ่งยาก ปลูกแบบเดียวกับมะนาว ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่าง 3×3 เมตร ทำไมต้องขุดห่างขนาดนั้น ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่มีทรงพุ่มใหญ่ มีหนาม เมื่อต้นโตมีผลผลิต ต้องเก็บ เพราะฉะนั้นถ้าปลูกถี่ และปล่อยให้ต้นสูงมากจะเก็บลำบาก ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งเพื่อให้สวยและแตกยอด ฤดูที่เหมาะในการปลูกคือ ฤดูฝน ไม่ต้องรดน้ำมาก ถ้าปลูกหน้าแล้งมีปัญหาเรื่องน้ำ

ต้องปลูกหน้าฝน ให้น้ำลงหาต้น ให้ต้นเก็บน้ำ หลังจากนั้นต้นจะค่อยๆ โต พอช่วงหน้าร้อนให้สังเกตว่าต้นโตหรือไม่โต ถ้าไม่โตให้พิจารณาว่าต้องใส่ปุ๋ยคอกไหม ถ้าไม่ใส่เรื่องของการแตกยอดจะลำบากหน่อย

ระยะเวลาในการปลูก ถ้าเป็นกล้าเล็ก ใช้ระยะเวลา 3 ปี ถึงจะโตมีลูกเต็มที่ การดูแลรักษา
“ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบแฉะถ้าแฉะแล้วตาย ให้รดน้ำแบบวันเว้นวัน หรือชื้นหน่อยก็ได้ แต่อย่าเปียกจนทำให้รากเน่า ไม่งั้นจะดูแลยาก ส่วนเรื่องแมลง จริงๆ มีปัญหาคือเรื่องหนอน หนอนอย่างเดียวเท่านั้น หนอนที่เป็นปัญหาคือ หนอนผีเสื้อ หนอนตัวใหญ่ๆ หนอนจะมาทำลายต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ กินใบซะเรียบ” เจ้าของบอก

ที่สวนคุณปุ๊ไม่ได้กำจัดหนอนด้วยยาฆ่าแมลง หรือวิธีที่พิสดารอะไร แต่ใช้วิธีการไปจับออก เพราะว่าอยากทำเป็นเกษตรอินทรีย์ อีกอย่างสรรพคุณของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีเยอะ เพราะฉะนั้นการเอาสารเคมีเข้าไปใส่ไม่ใช่เรื่องดี

คิดต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม
มะม่วงหาวมะนาวโห่ผลสดช่วงหนึ่งไม่มีใครรู้จัก คุณปุ๊จึงมานั่งคิดว่าในเมื่อมีผลสดอยู่แล้ว เสียดาย และถ้าขายลูกสดอย่างเดียว เวลาออกบู๊ธก็น่าเบื่อ ขายได้อย่างเดียว คุณปุ๊จึงคิดต่อยอดขายทั้งผลสดและแปรรูป อีกอย่างคือคนส่วนใหญ่กินผลสดไม่ไหว พอกินลูกสดไม่ไหว ทำยังไง ก็แปรรูปเป็นน้ำ พอต่อยอดได้หนึ่งอย่าง เริ่มมีกำลังใจ จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวที่สองออกมา คือเมื่อสกัดน้ำจนหมดก็จะเหลือกากของมะม่วงหาวมะนาวโห่ จึงลองเอามาถูแขน เมื่อนำมาถูแขนปรากฏว่าขี้ไคลออก จึงคิดนำกากมาทำเป็นสบู่ ผลิตภัณฑ์เริ่มต้นของฟาร์มคือสองชิ้นนี้

ยังไม่จบแค่นั้น คุณปุ๊ ยังเสริมอีกว่าตนได้คิดสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ขึ้นมาด้วยความคิดที่อยากให้เด็กกินสมุนไพรที่มีประโยชน์ได้ด้วย เพราะในหลายๆ ที่เขาทำขมมาก แต่คิดว่าจะทำไงเอาเมล็ดออก พอเอาเมล็ดออกแล้วไม่ขม จึงลองทำแยม เมื่อทำแยมได้ก็ต่อยอด เป็นวุ้น เยลลี่ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มะม่วงหาวมะนาวโห่ที่นี่จะไม่สร้างความจำเจให้กับคนกิน ต้องรู้จักปรับปรุง ในอนาคตจะทำเป็นคุกกี้มะม่วงหาวมะนาวโห่มาแน่ๆ

หาวิธีการแปรรูป
คุณปุ๊ เล่าว่า ความรู้มี คาสิโน UFABET ใช้วิธีดูจากยูทูบและจดจำไปเรื่อยๆ แต่เขาโชคดีมีแฟนเป็นเชฟอยู่ที่กรุงเทพฯ เวลาอยากทำเมนูไหน ก็โทร.ถามสูตรแฟนว่าทำอย่างไร ผสมอะไรบ้าง แล้วแฟนก็บอกสูตร และขั้นตอนการทำมา ครั้งแรกลองผิดลองถูกเริ่มชิม จำความหวาน ความเปรี้ยวขนาดไหน อยากทำให้คนที่ป่วยสามารถกินได้ด้วย อย่างถ้าผู้ป่วยโรคเบาหวานถามว่าอยากกินวุ้นกินได้ไหม กินได้ เพราะไม่ได้ทำหวานมาก ต้องคิดถึงสุขภาพคนกินด้วย และมีคณะทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคามติดต่อปุ๊ 2 คณะ คณะวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมฯ เขาจะขอวิจัยสารแอนโทไซยานิน สารนี้จะค่อนข้างมีสูงในผลไม้ที่มีสีม่วง และรสเปรี้ยว เพราะฉะนั้นสารตัวนี้จะมีผลช่วยรักษาโรค เขาจะทำการวิจัย

นอกจากนี้ อยากทำผงสกัดพร้อมชงดื่ม ซึ่งยังไม่มีใครทำ ในอนาคตจะมีน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่สูตรเข้มข้น ดีต่อสุขภาพ และสามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ

แปรรูปแล้วขายดีมาก ผลิตไม่ทัน
ผลสดมะม่วงหาวมะนาวโห่ที่สวนคุณปุ๊ ราคาขายในสวน กิโลกรัมละ 200 บาท แต่เมื่อนำไปออกบู๊ธขายข้างนอก จะขาย กิโลกรัมละ 300 บาท และยิ่งช่วงนอกฤดู มีราคาขายถึงกิโลกรัมละ 500 บาท ฟังราคาผลสดเราก็สะดุ้งแล้ว แต่รู้หรือไม่เมื่อนำมะม่วงหาวมะนาวโห่มาแปรรูปแล้วสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เกือบสิบเท่าตัว ที่สำคัญเมื่อแปรรูปออกมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม แยม สบู่ เยลลี่ ผลตอบรับดีมาก ดีจนทำขายไม่ทัน ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการนำมาแปรรูป ด้วยความที่เมื่อแปรรูปออกมาแล้ว ผู้บริโภคสามารถบริโภคของดีมีประโยชน์ได้ง่ายขึ้น สินค้าเหล่านี้จึงกำลังเป็นที่นิยม

สำหรับท่านที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ หรืออยากเยี่ยมชม ลงสวนเก็บผลสดมะม่วงหาวมะนาวโห่กินเองกับมือ เชิญได้ที่นพรัตน์ฟาร์ม คุณปุ๊ ยินดีต้อนรับ โทร. (081) 888-7131

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง นับเป็นหนึ่งในทำเลทอง “เมืองแห่งอู่ข้าวอู่น้ำ” ที่อุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ภาคใต้ แต่ปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ได้สร้างความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตรในบริเวณนี้อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งโครงการส่งเสริมการเกษตรในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกรในทิศทางที่ดีขึ้น

ทุกวันนี้ เกษตรกรชาวปากพนังมีความสุขที่ได้แหล่งน้ำชลประทานจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ มาใช้ปลูกพืชเลี้ยงผัก สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งฟักทองเป็นหนึ่งในพืชทางเลือกของพวกเรา โดยใช้เวลาปลูกดูแลระยะสั้น แค่ 2 เดือนเศษ แต่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ