ห้ามพลาด! 3 ธ.ค.นี้ สดร.ชวนคนไทยชม “ซูเปอร์ฟูลมูน” ใหญ่สุด

ในรอบปีวันที่ 29 พฤศจิกายน นายศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 3 ธันวาคม 2560 จะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่ระยะห่างประมาณ 357,973 กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าขณะอยู่ไกลโลกมากที่สุดประมาณ 14% และมีความสว่างมากกว่าประมาณ 30% หรือเรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป

“ตามปกติดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 356,400 กิโลเมตรและตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีตำแหน่งโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์ไม่ได้ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง”นายศรัณย์ กล่าว

ผู้อำนวยการ สดร.กล่าวว่า แม้ว่าในครั้งนี้จะเป็นดวงจันทร์เต็มดวงที่ใหญ่ที่สุดในปี 2560 แต่ในวันที่ 2 มกราคม 2561 อีกหนึ่งเดือนนับจากนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงจะอยู่ใกล้โลกกว่านี้ที่ระยะห่างประมาณ 356,595 กิโลเมตร ทำให้มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าครั้งนี้อีกเล็กน้อย วันดังกล่าวจะเป็นซูเปอร์ฟูลมูนที่ใหญ่ที่สุดในปี 2561 ทั้งนี้ การที่เรามองเห็นดวงจันทร์ขณะอยู่บริเวณใกล้ขอบฟ้าแล้วรู้สึกว่ามีขนาดปรากฏใหญ่กว่าตำแหน่งอื่น ๆ บนท้องฟ้า แท้จริงแล้วเป็นเพียงภาพลวงตาที่เรียกว่า”Moon Illusion” เนื่องจากบริเวณขอบฟ้ามีวัตถุให้เปรียบเทียบขนาด เช่น ภูเขา ต้นไม้ อาคาร เป็นต้น แต่บริเวณกลางท้องฟ้าไม่มีวัตถุใดมาเปรียบเทียบขนาด ทำให้ความรู้สึกในการมองดวงจันทร์บริเวณกลางฟ้าดูมีขนาดเล็กกว่าปกติ

“สดร.ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมความสวยงามของดวงจันทร์ในคืนดังกล่าว โดยเฉพาะโรงเรียนในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด เปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า ที่รับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก สดร. รวมถึงโรงเรียนอื่น ๆ ที่สนใจใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน เชิญชวนนักเรียนและชุมชนรอบข้างร่วมสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ส่องจันทร์ดวงโตแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ ในคืนดังกล่าว ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานแสดงผลงาน “การจัดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต กศน.สิงห์บุรี ประจำปี 2560” ร่วมกับนายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี และนายสันติ ต่วนชะเอม ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดสิงห์บุรี ว่า การจัดงานครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าจังหวัดสิงห์บุรีให้ความสำคัญกับการจัด และส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ส่งผลกระทบไปสู่การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะให้ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงผลการดำเนินงานของสำนักงาน กศน.และสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง เพื่อสนับสนุน เชิญชวนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและตรงตามความต้องการของประชาชนมากที่สุด

เลขาธิการ กศน.กล่าวต่อว่า การมอบเกียรติบัตรแก่ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่นของสำนักงาน กศน.สิงห์บุรี ประจำปี ยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร ภาคีเครือข่าย ที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนจังหวัดได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ สำนักงาน กศน.ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ 2561 ซึ่งมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในสังกัด นำนโยบายและจุดเน้นไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เป็นรูปธรรม สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมอุดมปัญญาด้วยการจัดการให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และทำให้สำนักงาน กศน.จังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล และสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 ตลอดจนวิสัยทัศน์ของจังหวัดสิงห์บุรี ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน

นิวซีแลนด์ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาอันดับ 7 ของโลก จาก The Annual Universitas 21 league table อีกทั้งมหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งของนิวซีแลนด์ล้วนติดท็อป 3 ของโลก โดย QS World University Ranking 2018

ที่ผ่านมาประเทศนิวซีแลนด์กับสถาบันการศึกษาไทยมีความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือการผนึกกำลังของหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand : ENZ) กับ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) จัดโครงการ “การพัฒนาการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อของคณาจารย์กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล” โดยจัดฝึกอบรมในประเทศไทย พร้อมไปศึกษาเทคนิคและกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาชั้นนำที่นิวซีแลนด์

อย่างไรก็ดี แผนความร่วมมือยังมีต่อเนื่อง โดย “กรานท์ แมคเฟอร์สัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ ให้ข้อมูลว่า ได้มีการพูดคุยกับทางกลุ่ม มทร. ในการต่อยอดโครงการดังกล่าว ซึ่งจะจัดรุ่นต่อไปในเดือน ก.พ. 2561 พร้อมขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการเป็นอาจารย์ที่สอนด้านวิชาชีพ จากเดิมที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ

นอกจากนั้นในปีหน้าจะมีการฝึกอบรมศักยภาพขั้นสูงด้านความคิดสร้างสรรค์ และคิดเป็นเหตุเป็นผล (critical thinking) โดย Auckland University of Technology (AUT) เพื่อให้คณาจารย์ของ มทร.มีเทคนิคการสอนที่สร้างสรรค์มากขึ้น สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการคิดที่สำคัญในห้องเรียนได้

“การร่วมมือกันระหว่างเรากับ มทร.จะสามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาได้ ซึ่งเราเห็นว่าไทยมุ่งเน้นพัฒนาภาษาอังกฤษ และศักยภาพของครู และนิวซีแลนด์ก็มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ ในทางกลับกัน เราจะดูว่าสถาบันการศึกษาของไทยมีความเชี่ยวชาญด้านไหนที่จะสามารถสนับสนุนการศึกษาของนิวซีแลนด์ได้ด้วย”
“กรานท์” บอกอีกว่า มหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์หลายแห่งได้ทำความร่วมมือกับ มทร.แห่งต่าง ๆ อาทิ มทร.อีสานได้ประชุมหารือกับ University of Otago Language Center เพื่อร่วมจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ ขณะที่ มทร.ธัญบุรีได้หารือกับ AUT ในการสร้างวิทยาเขตระดับปริญญาตรี-โท และการทำหลักสูตร 2 ปริญญาในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ

ไม่เพียงเท่านั้น มทร.กรุงเทพ และ Waikato Institute of Technology (WINTEC) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเปิดศูนย์การฝึกอบรมภาษาอังกฤษไทย-นิวซีแลนด์ ขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย โดยระยะแรกจะเป็นการฝึกอบรมคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยก่อน แล้วระยะที่ 2 ช่วงเดือน มี.ค. 2561 มทร.แห่งอื่น ๆ จะเข้าร่วมในการพัฒนาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการเรียนการสอน รวมถึงเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ

สำหรับ 1 ใน 9 มทร.ที่เป็นพันธมิตรกับนิวซีแลนด์ “รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์” อธิการบดี มทร.พระนคร กล่าวว่า จากการส่งอาจารย์ไปอบรมโครงการการพัฒนาการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อฯ ซึ่งมีการสอนด้านภาษาอังกฤษและวิชาชีพ ปรากฏว่าอาจารย์ได้เทคนิคการสอนแบบ active learning เป็นการสอนที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วม รู้จักคิด และวิเคราะห์ ขณะเดียวกันได้สัมผัสกับรูปแบบการสอนที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน ทั้งไอโฟนและไอแพด โดยเราจะนำมาปรับใช้กับ มทร.พระนคร ที่มีเป้าหมายในการเป็น digital university

“นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีจุดเด่นด้านการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งจุดอ่อนของเด็กไทยหรือเด็ก มทร.คือด้านนี้ ซึ่งเมื่ออาจารย์ไปอบรมแล้ว เขาได้กลับมาทำ Knowledge Management (KM) ให้กับอาจารย์สอนภาษาอังกฤษทั้งหมด เพื่อขยายผลและกระจายความรู้ให้อาจารย์ท่านอื่นไปปรับใช้ในการสอนนักศึกษา”

“ด้วยความที่ มทร.เน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ดังนั้นนักศึกษาของเราเรียนจบออกไปแล้วไม่ตกงาน และสามารถทำงานได้เลย นักศึกษา มทร.จึงเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน กระนั้น สิ่งที่เด็กของเราขาดคือภาษาอังกฤษ ถ้าเราติดอาวุธด้านภาษาอังกฤษให้กับเขา นักศึกษาจะสามารถเติบโตในวิชาชีพได้มากขึ้น ทั้งในตลาดแรงงานของไทยและต่างประเทศ”

“รศ.สุภัทรา” ระบุด้วยว่า มทร.พระนครกำลังจัดทำหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ร่วมกับ AUT ซึ่งจะมีการฝึกงานเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้จะมีโครงการแลกเปลี่ยนครูและบุคลากรเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้วย
ทั้งนั้น “กรานท์” กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศนิวซีแลนด์มีนักเรียนต่างชาติกว่า 1.3 แสนคน จาก 180 ประเทศทั่วโลก โดยมีคนไทยที่เรียนในนิวซีแลนด์กว่า 3,500 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของโรงเรียนและคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ดี นิวซีแลนด์ยังโฟกัสต่อเนื่องกับกลุ่มผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งการร่วมมือกับ มทร.เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนของตลาดมหาวิทยาลัยโตได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในส่วนของอาชีวศึกษา เราต้องการให้เกิดความร่วมมือและมีนักเรียนไทยไปเรียนระดับนี้ที่นิวซีแลนด์มากขึ้น

“จำนวนผู้เรียนไทยโตขึ้น 8% จากปีที่แล้ว หากเทียบเม็ดเงินที่ได้จากตลาดการศึกษาของไทยของปี 2559 อยู่ที่ 120 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ ซึ่งตลาดการศึกษาต่อต่างประเทศของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้น อีกทั้งตลาดอาเซียนมีสัดส่วนการเติบโตถึง 34%”

“อย่างไรก็ดี นอกจากการร่วมมือกับกลุ่ม มทร. นิวซีแลนด์ยังเดินหน้าส่งเสริมการศึกษาไทยผ่านความร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งล่าสุดเราได้เข้าหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในการจัดทำความร่วมมือระหว่างโรงเรียนนิวซีแลนด์กับโรงเรียนเอกชนของไทย รวมถึงได้พูดคุยกับสถาบันพระบรมราชชนก สำหรับการจัดทำหลักสูตรด้านสาธารณสุขให้เข้มแข็งมากขึ้น”

สุรินทร์ – ช่วงนี้ในพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆ ในภาคอีสาน จะพบเห็นตามทุ่งนา ชาวนากำลังเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกหอมมะลิ และนำมาตากแดดตามถนนภายในหมู่บ้าน หรือตามสนามร.ร. แม้กระทั่งลานวัด แทบไม่มีเวลาไปตลาดชื้อกับข้าว ขณะที่พ่อค้าแม่ค้ารถเร่แบบเดลิเวอรี่ ขายของกันอย่างคึกคัก

อย่าง นายสุวรรณ์ สูงยิ่ง ชาวบ้านหนองละคร ตำบลแคน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ใช้มอเตอร์ไซค์ ฮอนด้าเวฟ ส่วนท้ายรถติดตะกร้าไม้สี่เหลี่ยมตอกตะปูไว้รอบข้างไว้ห้อยถุงอาหาร สด แห้ง ผลไม้ ขนมขบเคี้ยว ของทอด เป็นต้น ขายถุงละ 10 บาท ออกวิ่งเร่ขายไปตามถนนที่ชาวบ้านตากข้าวกัน ลงทุนไป 1,500 บาทขายได้ 2,000 กว่าๆ ได้กำไรวันละ 500-600 บาท

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน นายศุภนารถ เกตุเจริญ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดสรรงบประมาณดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ 29 จังหวัด งบประมาณกว่า 289 ล้านบาท ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดซื้อจัดจ้างสารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและส่งมาในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบพื้นที่การระบาดมากที่สุดในประเทศ โดยทีมเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ดำเนินการในสวนมะพร้าว ทำเครื่องหมายไว้จำนวนกว่า 3 ล้านต้น

เริ่มจากการเจาะลำต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร ประมาณ 2.3 ล้านต้น ตั้งเป้าหมายใน 1 สัปดาห์ จะต้องฉีดให้ได้ประมาณ 2,100 ต้น หรือวันละ 300 ต้น คาดว่าใช้เวลา 30 วัน จะเจาะลำต้นมะพร้าวเสร็จสิ้น จากนั้นจะเริ่มดำเนินการในส่วนของต้นมะพร้าวที่มีขนาดต่ำกว่า 12 เมตร มีประมาณ 9 แสนต้น โดยวิธีการฉีดพ่นทางใบเพื่อทำลายหนอน พร้อมขอความร่วมมือเกษตรกรเจ้าของสวนร่วมตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ด้วย ตรวจสอบว่าได้ดำเนินการครบทุกต้นตามที่ได้ทำเครื่องหมายไว้หรือไม่ เพื่อป้องกันการทุจริต นอกจากนี้ภาครัฐยังส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแตนเบียน และรณรงค์ประชาชนตัดทางใบเผาทำลายควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้การกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวกรณีนายแสงชัย แหเลิศตระกูล เจ้าของตำรับสมุนไพรบำบัดโรคมะเร็ง ได้ทำการแจกตัวสมุนไพรที่มีลักษณะเป็นแคปซูล เพื่อแจกให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในระยะท้าย ซึ่งมีประชาชนไปรอรับเป็นจำนวนมากกว่า 5,000 คนต่อวัน จนเกิดคำถามในสังคมออนไลน์ว่ามีสรรพคุณจริงหรือไม่ และกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการยืนยันความปลอดภัย รวมถึงประสิทธิภาพของยาอย่างไรนั้น

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมด้วยนายแสงชัย แหเลิศตระกูล เจ้าของตำรับสมุนไพรบำบัดโรคมะเร็ง ร่วมแถลงข่าวกรณีตำรับสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งจังหวัดปราจีนบุรี โดย นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า จากปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งทั่วประเทศ เดินทางมารับยาสมุนไพรตำรับดังกล่าวจากนายแสงชัย จำนวนมากกว่า 5,000 คนต่อเดือน ดังนั้น กรมแพทย์แผนไทยฯ ในฐานะเป็นกรมวิชาการ เห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ เพราะสมุนไพรมีจำนวนมากที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคได้ แต่ต้องผ่านการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ทางกรมจึงได้ประสานไปยังนายแสงชัย และร่วมกับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการดำเนินการวิจัยเพื่อให้เกิดความชัดเจน

“โดยจะศึกษาใน 2 ประเด็น คือ 1.การศึกษาประสิทธิผลเบื้องต้นต่อเซลล์มะเร็งต่างๆ ในหลอดทดลอง รับผิดชอบโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ 2.การศึกษาลักษณะประชากรและประเมินกลุ่มเสี่ยงในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับสมุนไพรรักษามะเร็งดังกล่าว โดยจะมีการศึกษาเบื้องต้น คาดว่าใช้เวลา 3 เดือน หากได้ผลเป็นบวก ไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย จะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานวัตถุดิบและยาสำเร็จของตำรับต่อไป คาดว่าหากถึงขั้นนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี” นพ.เกียรติภูมิกล่าว และว่า แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงย้ำเสมอว่า ผู้ป่วยมะเร็งจะต้องตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันก่อน การรักษาก็ยังต้องอิงตามแพทย์แผนปัจจุบัน ส่วนแพทย์แผนไทยจะเป็นทางเลือกคู่ขนาน ซึ่งการรักษาโรคต่างๆ สามารถรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีนายแสงชัย จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานการผลิตสมุนไพรหรือไม่ รวมถึงเกณฑ์การจ่ายยาต้องได้รับขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้านหรือไม่ นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า สมุนไพรเป็นสารกึ่งยา ต้องมีกฎหมายเฉพาะ ซึ่งจะใช้กฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับกฎหมายเฉพาะนั้น ขณะนี้กรม ได้ผลักดันกฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งจะครอบคลุมการใช้ การผลิตสมุนไพร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนการขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้านนั้น ทางนายแสงชัยได้ส่งเรื่องเข้ามาขอขึ้นทะเบียนเช่นกัน โดยกรมอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดและเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งหมอพื้นบ้าน จะเป็นหมอที่ได้รับหนังสือรับรองหมอพื้นบ้าน เป็นผู้ที่มีบทบาทในการดูแลชาวบ้านในชุมชน ซึ่งอาจไม่มีใบประกอบโรคศิลปะแต่ต้องผ่านการรับรองจากกรมก่อน

ด้าน นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการศึกษาวิจัยนั้นจะมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก 3 เดือน โดยจะเป็นการศึกษาประชาชนที่มารับยา ผู้ป่วยที่มารับ ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 5,000-6,000 คนต่อเดือน เบื้องต้นขั้นต่ำจะเก็บข้อมูลประมาณ 2,000 คน ซึ่งจะเก็บข้อมูลที่ สถานีตำรวจภูธร (สภอ.) ปราจีนบุรี ซึ่งจะดูว่าป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งระยะใด และได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างไรบ้าง รวมทั้งที่ผ่านมารับยาไปแล้วอาการเป็นอย่างไร ส่วนขั้นการทดลองสารจากยา หาความปลอดภัย ตรวจหาเชื้อปนเปื้อนหรือตรวจหาสเตียรอยด์ จะเป็นหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนสถาบันมะเร็งแห่งชาติจะตรวจในระดับหลอดทดลองว่า มะเร็งชนิดไหนตายจากยาตัวนี้บ้าง

“หากผลการตรวจในระยะแรกออกมาเป็นบวก ก็จะนำไปสู่การทดลองระยะที่ 2 ซึ่งจะเป็นช่วงเปิดสูตรต่อไป และนำไปสู่ความร่วมมือการผลิตในรูปของยาสมุนไพรในอนาคต ซึ่งกรณีนี้จะต้องให้ชัดเจนก่อนว่าสมุนไพรของนายแสงชัย ไม่ส่งผลข้างเคียง และมีฤทธิ์ทางยาได้จริง” นพ.ปราโมทย์กล่าว

นายแสงชัยกล่าวว่า จริงๆ ตนไม่ใช่หมอ เพียงแต่ต้องการแจกสมุนไพรที่ได้สูตรมา เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย และมีใบรับรองแพทย์ตรวจวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็ง ตนจึงได้แจกผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งที่มีใบรับรองแพทย์มานานกว่า 12 ปีแล้ว ตัวผลิตภัณฑ์มีทั้งน้ำมันรำข้าวที่ได้จากการสีครั้งแรก และยังมีสมุนไพรที่เรียกว่า ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ และพิลังกาสา โดยใช้ทุนของตัวเองร่วมกับการได้รับสมุนไพรมาฟรีๆ จากชาวบ้าน ส่วนกระบวนการผลิตนั้นมีห้องผลิตอยู่แล้ว ทั้งนี้เดิมจะแจกให้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่รักษาไม่ได้แล้ว แต่ปัจจุบันมีทั้งคนป่วยมะเร็งระยะแรกๆ ก็มา ทำให้มีปัญหาว่าคนเยอะต้องแบ่งยาให้ ซึ่งอาจจะได้น้อย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคนป่วยมะเร็งระยะแรกนั้นตนอยากให้พบแพทย์แผนปัจจุบันก่อน

“จากที่ทำมา 12 ปี ไม่ได้มีการศึกษาวิจัยอะไร ใช้ประสบการณ์ ซึ่งจากการสังเกต และการบอกกล่าวของผู้ที่มารับผลิตภัณฑ์ และผลจากการตรวจเลือด ตรวจสุขภาพของผู้ป่วยเอง ซึ่งมะเร็งส่วนใหญ่ที่ได้ผลน่าพอใจจะเป็นมดลูก รังไข่ และเต้านม ที่ผ่านมามีบริษัทยาจากจีน และญี่ปุ่นเข้ามาติดต่อซื้อสูตรยา บางบริษัทมาขอให้เราผลิตให้เขาเลย แต่เราไม่ทำ คิดว่าการเข้าร่วมศึกษาวิจัยต่อยอดครั้งนี้น่าจะเกิดประโยชน์กับคนไทยมากกว่า” นายแสงชัยกล่าว และว่า ต่อจากนี้ก็ยังมีการแจกผลิตภัณฑ์เช่นเดิม แต่ในวันที่ 3 ธันวาคม เป็นครั้งแรกที่จะมีการทดลองระบบการแจกยาใหม่ โดยสแกนบัตรสมาร์ทการ์ด ให้คูปอง แล้วค่อยแจกผลิตภัณฑ์

สืบเนื่องจากพบผู้ป่วยติดเชื้อแอนแทรกซ์ (Anthrax) 3 ราย ที่ ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก หลังชำแหละและรับประทานเนื้อแพะที่ลักลอบนำเข้าจากประเทศเมียนมา
โดยพบว่าผู้ป่วยมีลักษณะของแผลเป็นตุ่ม นูนแดง ข้างในเป็นสีดำ จับแล้วไม่เจ็บ ซึ่งเข้าได้กับอาการของ 2 โรค คือ 1.เป็นโรคแอนแทรกซ์ หรือ 2.เป็นโรคสครับไทฟัส ซึ่งเก็บเชื้อตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดนั้น

เมื่อวันที่ 28 พ.ย. นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข cubiclebot.com ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงผลการตรวจสอบหาเชื้อของ 2 ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อแอนแทรกซ์ หลังมีการชำแหละแพะที่ลอบนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้ป่วยเป็นชาว ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก ทั้งนี้ ผลพบว่า 1 รายมีผลเป็นบวก ติดเชื้อแอนแทรกซ์ แต่อีกรายยังรอคอนเฟิร์ม ส่วนรายละเอียดนั้นขอดูข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง

จากข้อมูล กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่า โรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล
แอนแทรกซ์เป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งใน พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง, เก้ง, กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค, กระบือ, แพะ, แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น เช่น เสือ, สุนัข, แมว, สุกร
โรคมักเกิดในท้องที่ซึ่งมีประวัติเคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน แต่ปัจจุบันเนื่องจากการคมนาคมสะดวกและรวดเร็ว พ่อค้าสัตว์มักจะนำสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวของโรคไปขายในท้องถิ่นอื่น ทำให้เกิดการกระจายของโรคไปไกลๆได้

เชื้อนี้ก่อให้เกิดโรคในคน คือ ที่ผิวหนัง, ที่ปอดจากการสูดดม, ที่ทางเดินอาหาร และ oro-pharynx จากการกินเชื้อนี้เข้าไป
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bacillus anthracis เป็นเชื้อ aerobic, non-motile, spore-forming rod (1-1.25 ? 3-5 nm) จัดอยู่ในตระกูล Bacillaceae เมื่อนำตัวอย่างเชื้อจากผู้ป่วยมาย้อมสีแกรมจะพบ square-ended gram-positive rods ขนาดใหญ่อยู่เดี่ยวๆ หรือต่อกันเป็น short chains เมื่ออยู่ในที่แห้งและภาวะอากาศไม่เหมาะสมจะสร้างสปอร์หุ้มเซลล์ไว้ มีความทนทานมากทั้งความร้อนความเย็น และยาฆ่าเชื้ออยู่ในธรรมชาติได้นานเป็นสิบๆปี

วิธีการติดต่อในคน ส่วนใหญ่จะติดทางผิวหนังโดยการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ได้มาจากสัตว์ป่วย บุคคลที่เป็นโรคนี้พบมากในกลุ่มที่มีอาชีพทางเกษตรกรรม
นอกจากนี้ได้แก่ คนชำแหละเนื้อ, สัตวแพทย์ หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย
โรคติดมาสู่คนเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือขาดความระมัดระวัง หรืออาจเป็นเพราะความยากจนเมื่อสัตว์ตายจึงชำแหละเนื้อมาบริโภค
อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นเกือบทุกครั้งมักจะเกิดขึ้นในสัตว์ก่อน แล้วคนจึงไปติดเชื้อเข้ามา
แอนแทรกซ์ผิวหนังจะเกิดจากเชื้อเข้าสู่ผิวหนังบริเวณรอยถลอกหรือบาดแผล
แอนแทรกซ์ทางเดินหายใจเกิดจากการสูดหายใจเอาสปอร์ ซึ่งติดมากับขนสัตว์ที่ส่งมาจากท้องถิ่นมีโรค (endemic area) การติดต่อทางระบบหายใจยังไม่เคยมีรายงานในประเทศไทย

ส่วนแอนแทรกซ์ของระบบทางเดินอาหารและออโรฟาริง มีสาเหตุจากการกินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคนี้ แล้วไม่ปรุงให้สุกเพียงพอ ส่วนมากสัตว์จะติดโรคจากการกินและหายใจโดยได้รับสปอร์ซึ่งอยู่ตามทุ่งหญ้าที่เคยมีสัตว์ตายด้วยโรคนี้มาก่อน
ในช่วงต้นๆของการระบาดของโรค(ปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน) สัตว์จะติดโรคจากการกินและจากการหายใจพร้อมๆกัน โดยเกิดจากขณะที่สัตว์แทะเล็มกินหญ้าก็จะดึงเอารากที่ติดดินขึ้นมาด้วย สปอร์ของแอนแทรกซ์ที่ติดอยู่ตามใบหญ้าและในดินก็จะเข้าทางปากและฝุ่นที่ปลิวฟุ้ง ขณะดึงหญ้าสปอร์ก็จะเข้าทางจมูกโดยการหายใจเข้าไป