อดีตข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ทำสวนอินทรีย์ ที่ราชบุรี

คุณโชคดี ตั้งจิตร อยู่บ้านเลขที่ 55/1 หมู่ที่ 8 ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี หลังจากเกษียณอายุราชการ ได้ตั้งใจแน่วแน่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยนำความรู้ ประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดชีวิต พร้อมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติ ปลูกเอง แปรรูปเอง ขายเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต คนปลูกปลอดภัย ผู้บริโภคย่อมปลอดภัย ถึงจะเกษียณอายุราชการแล้ว ยังคงถ่ายทอดความรู้ไปสู่พี่น้องเกษตรกร

เริ่มทำการเกษตร พ.ศ. 2558 เนื้อที่ทำการเกษตรประมาณ 10 ไร่ แรกเริ่มทำเกษตรเชิงเดี่ยว ทำนาข้าว ส่งให้โรงสี โรงสีเป็นผู้กำหนดราคา ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการบริหารจัดการพื้นที่ ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย บ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ใช้สปริงเกลอร์รดน้ำช่วยประหยัดน้ำ นาข้าว ปลูกข้าวหอมปทุมธานี 1 และข้าวหอมมะลิ ปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ ฝรั่งกิมจู ขนุน ผักพื้นเมือง ชะมวง เป็นต้น

ปลูกผักสลัดยกแคร่ ใช้ซาแรนคลุม ช่วยลดปัญหาด้วงหมัดผัก น้ำค้าง น้ำฝน ป้องกันหอยทากเข้าทำลาย พื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีทั้งปลูกพืชระยะสั้นและระยะยาว ปรับเข้าสู่เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS : Participatory Organic Guarantee System คือ การรับประกันคุณภาพผลผลิตอินทรีย์โดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมวิถีชีวิตวัฒนธรรม และการเกษตรของท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อจําหน่ายในชุมชน หรือจําหน่ายตรงเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มีการตั้งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีหน่วยงานและกลุ่มเครือข่ายร่วมมือกันในการดำเนินงาน เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม กลุ่มเกษตรอินทรีย์ร่มเย็นราชบุรี กลุ่มเกษตรอินทรีย์ปากท่อร่วมใจ กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายขยายผลโครงการพระราชดำริเขาชะงุ้ม เป็นต้น

ปัจจุบันได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand ของกรมวิชาการเกษตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจังหวัดราชบุรีได้จัดตั้งสวนโชคสมบูรณ์เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ประจำจังหวัดราชบุรี และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ BCG ของคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเปิดโอกาสให้เกษตรกร เยาวชน ผู้สนใจ ทั้งในและต่างประเทศได้เข้ามาร่วมเรียนรู้

ใช้หลักตลาดนำการผลิตให้มีรายได้ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และรายเดือน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น ข้าวอินทรีย์ แปรรูปเป็นข้าวสาร บรรจุถุง มีทั้งข้าวกล้อง ข้าวขาว ซึ่งเป็นข้าวใหม่ไม่ข้ามปี เป็นข้าวที่มีชีวิต ไม่รมสารเคมีใดๆ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเหมาะกับผู้รักสุขภาพ ขายสิ่งดีๆ ให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ การแปรรูปข้าวยังได้แกลบ ได้รำ ได้ปลายข้าว ได้ฟางข้าว ของเหลือใช้นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในสวนอีกด้วย ลดปัญหาขยะ ลดต้นทุนการผลิต ของเหลือใช้ในสวนเป็นศูนย์ ทั้งการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี ได้นำแกลบมาเป็นวัสดุรองพื้นเลี้ยงไก่ไข่ ช่วยดูดซับกลิ่นมูลไก่ มีธาตุอาหารซิลิกานำมาปลูกผักได้คุณภาพดีแข็งแรง ใบไม้ต่างๆ รวมกับฟางข้าว มูลไก่ทำปุ๋ยหมัก

อีกทั้งมีการเลี้ยงแหนแดงไมโครฟิลล่า นำมาเป็นอาหารเสริมที่มีโปรตีนสูง ประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่ไก่ไข่ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ไก่ชอบมาก ถ่ายคล่อง มูลไม่มีกลิ่น ไข่ไก่ที่ได้เนื้อไข่นูนเด่น ไข่สีแดงดี เปลือกหนา ขนส่งจะไม่แตกง่าย เลี้ยงไก่ไข่ทำให้มีรายได้ทุกวัน แถมช่วยกำจัดวัชพืชใต้ต้นไม้ด้วย จำหน่ายไข่ไก่และผลผลิตในสวนแบบพรีออร์เดอร์ สั่งจองล่วงหน้า โดยได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดความรู้ และการติดต่อสื่อสารให้สอดคล้องกับยุคสมัย และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทั้งในกลุ่มไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ

แหนแดงไมโครฟิลล่าเป็นพืชตระกูลเฟิร์นชนิดลอยน้ำได้ นอกจากใช้เป็นอาหารเสริมให้ไก่ไข่แล้ว ยังช่วยลดต้นทุน ทดแทนการใช้ปุ๋ยในนาข้าว เนื่องจากกาบใบบนด้านหลังของแหนแดงมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง ยังมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสูงกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีอยู่ ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อหว่านแหนแดงไปในนา 1 ไร่ จะมีผลผลิตแหนแดง 3,000 กิโลกรัม (3 ตัน) เทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว สามารถนำมาตากแห้งทำปุ๋ยในแปลงผักสลัด นำมาใช้กับการทำเกษตรอินทรีย์ได้

ทั้งนี้ ได้ทำการทดลองร่วมกับกรมวิชาการเกษตร แปลงที่ใส่แหนแดงไมโครฟิลล่าจะให้ผลผลิตสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญ ดินร่วนซุยขึ้น มีธาตุอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย วิธีการเลี้ยงแหนแดงไมโครฟิลล่า ก็ไม่ยุ่งยาก ที่สวนโชคสมบูรณ์มีจำหน่ายกิโลกรัมละ 70 บาท นอกจากนี้ ยังมีการหว่านปอเทืองปุ๋ยพืชสด ไม่เผาตอซัง หมักฟางข้าว ลดมลพิษในอากาศ ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และปลูกทองหลางรอบแปลงร่วมด้วย สามารถลดต้นทุนได้จริง

ท่านใดสนใจผลผลิตเกษตรอินทรีย์ พบกันได้ที่ ตลาดเกษตรกร ทุกวันอังคารและศุกร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-11.00 น. ตรงข้ามโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี, สำหรับสถานีออแกนิคราชบุรี เปิดจำหน่ายในวันเสาร์ ณ ปั๊ม ปตท. อัศวะ ถนนอู่ทอง อำเภอเมืองราชบุรี, วันอาทิตย์ พบกันที่โครงการพระราชดำริเขาชะงุ้ม และในเร็วๆ นี้ ที่ ธ.ก.ส. สาขาเขาขวาง อำเภอโพธาราม ทุกวันจันทร์ พุธ และพฤหัสบดี

หากท่านใดสนใจความรู้เพิ่มเติม สามารถมาเยี่ยมชมสวนโชคสมบูรณ์ได้ หรือติดตามผลงานคุณโชคดี ตั้งจิตร ยินดีให้คำแนะนำ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 089-913-3014 หรือทาง เฟซบุ๊ก : Chokdee Tungjit หรือ ยูทูบ : สวนโชคสมบูรณ์เกษตรอินทรีย์

มะขามเทศ พืชปลูกง่าย พบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นริมถนนหนทาง สวนหลังบ้าน ตามท้องทุ่งนา หรือเกิดขึ้นเองในที่รกร้าง เพราะเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลงศัตรูพืช

คุณไพลี พึ่งแก้ว หรือ พี่ลี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อำเภอโนนไทย อยู่บ้านเลขที่ 110 หมู่ที่ 2 ตำบลกำปัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก ปลูกมะขามเทศเพชรโนนไทยเป็นอาชีพเสริม ขายทั้งฝัก และต้นพันธุ์จนสามารถสร้างรายได้กว่าครึ่งแสน บนพื้นที่การปลูกมะขามเทศเพียง 1 ไร่ เท่านั้น

พี่ลี เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกมะขามเทศเป็นอาชีพเสริมว่า อาชีพหลักคือ การค้าขาย แต่ด้วยความที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี จะให้ทำอาชีพค้าขายอย่างเดียวคงไม่รอด ลำพังจะให้ประกอบอาชีพเดิมคือทำนา ก็เห็นทีจะไม่ไหว ทั้งในด้านของราคาผลผลิตที่ตกต่ำ และการจัดการที่เกินกำลัง จึงจำเป็นต้องคิดหาทางรอดจากพืชชนิดอื่น ซึ่งก็มาพอดีกับที่ช่วงนั้นมีโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์กำลังเปิดรับสมัครเข้ามา ตนจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อที่จะไปหาองค์ความรู้ใหม่ๆ มาต่อยอดสร้างอาชีพเสริม แต่เนื่องจากลักษณะพื้นดินของที่นี่เป็นดินเค็ม น้ำกร่อย ปลูกพืชผักผลไม้ให้รอดยาก ดังนั้น เกษตรกรอำเภอโนนไทยจึงต้องมองหาพืชเศรษฐกิจที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คือ ทนแล้งและดินเค็ม เพื่อเป็นพืชทางเลือก และก็ได้พบว่า มะขามเทศ เป็นผลไม้ที่เหมาะสมที่จะปลูกบนพื้นที่นี้ที่สุด

ส่วนที่มาของมะขามเทศโนนไทยนั้น ขออนุญาตอ้างอิงจาก หนังสือ อาหารว่าง และขนมไทย จากมะขามเทศ โดย รองศาสตราจารย์วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย ได้เขียนให้ข้อมูลไว้ว่า มะขามเทศเพชรโนนไทย หมายถึง มะขามเทศพันธุ์ฝักใหญ่ ฝักของมะขามเทศมีลักษณะโค้งเป็นวงกลมหรือเป็นวงแบบสปริง ฝักอ่อนมีลักษณะแบน มีสีเขียวแก่ มีลักษณะอวบใหญ่ มีรอยหยักเล็กน้อยตามตำแหน่งที่มีเมล็ด ฝักแก่จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเขียวแกมสีแดง มีเนื้อด้านในสีขาวขุ่น เมล็ดสีดำ รสชาติหวานมัน เนื้อกรอบ ตรงกับที่ทางอำเภอได้มีการตั้งสโลแกนให้กับมะขามเทศเพชรโนนไทยว่า “ดินเค็ม น้ำกร่อย มะขามเทศอร่อย มะขามเทศเพชรโนนไทย”

“มะขามเทศเพชรโนนไทย” ปลูกง่ายตามหัวไร่ปลายนา
มีพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสร้างรายได้เสริมดีไม่น้อย
เจ้าของบอกว่า ตนมีพื้นที่ปลูกมะขามเทศเพชรโนนไทยเพียง 1 ไร่ ตามหัวไร่ปลายนา เพราะตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้คือปลูกไว้เพื่อศึกษาวิธีการปลูกดูแลรักษาให้เกิดความชำนาญเพื่อกระจายความรู้สู่ชุมชน เพราะนอกจากอาชีพหลักคือการค้าขายแล้ว ตนยังเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนอีกด้วย โดยหลักๆ จะเน้นให้องค์ความรู้กับเกษตรกรในหมู่บ้าน ใครมีปัญหาก็จะเข้าไปให้คำปรึกษา ให้ความรู้ รวมถึงเป็นศูนย์กลางหาตลาดให้กับคนในหมู่บ้านด้วย เพราะฉะนั้นจึงเลือกปลูกบนพื้นที่ไม่มาก อาศัยทำร่วมกันในชุมชน ถือเป็นรายได้เสริมเล็กๆ น้อยๆ ดีกว่าการปลูกข้าวที่ราคาไม่แน่นอน ผิดกับการปลูกมะขามเทศที่มีพื้นที่เพียงน้อยนิดก็สามารถทำเงินได้ดี ปลูกดูแลง่าย มะขามเทศจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างความมั่นคงด้านอาชีพ ด้านรายได้ ให้กับชุมชนต่อไป

ขั้นตอนการปลูก
การปลูกมะขามเทศเหมือนกับไม้ผลอื่นๆ มีการขุดหลุม เตรียมหลุมปลูก และใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับไม้ผลอื่นๆ ซึ่งในระยะต้นเล็กสามารถปลูกพืชอื่นแซมได้ เช่น มะม่วง ฝรั่ง กล้วย

การเตรียมดิน
เริ่มต้นจากการไถดะ พลิกหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช และตากดินให้แห้ง แล้วไถแปร เพื่อย่อยดินและคลุกเคล้าเศษวัชพืช ลงไปในดินแล้วเตรียมปลูก จากนั้นมาสู่ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ โดยพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เนื่องจากมะขามเทศเป็นพืชที่กลายพันธุ์ได้ง่าย

เตรียมหลุมปลูก…ที่มีขนาดกว้างxยาว 30×30 เซนติเมตร หรือจะขุดลึก 50×50 เซนติเมตร ก็ได้ ขึ้นอยู่กับต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกว่าเป็นตุ้มตอน หรือกิ่งตอนลงถุงดำ

หลังจากขุดหลุมเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมเล็กน้อยก่อนปลูก จากนั้นเมื่อลงต้นพันธุ์เสร็จแล้วกลบดิน และถ้ามีฟางหรือเศษหญ้าแห้ง ให้นำมาคลุมผิวดินเพื่อช่วยเก็บความชื้น

ระยะห่างระหว่างต้น… 5×5 เมตร สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย แต่ถ้าสำหรับคนที่มีพื้นที่มาก แนะนำให้ปลูกระยะห่างประมาณ 8×8 เมตร จะเป็นแปลงสวยงาม การจัดการง่าย เฉลี่ยแล้ว 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 20-25 ต้น

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก… คือช่วงปลายฝน เพราะถ้าหากปลูกช่วงหน้าฝน ปริมาณน้ำฝนจะมีมากเกินไป ส่งผลให้เกิดรากเน่าเสียหายได้

ขนาดความสูงของต้น… ถ้าเกษตรกรหมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นประจำ ความสูงของต้นจะสูงประมาณ 2.50 เมตร หรือพูดง่ายๆ ว่าพอหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ก็ให้เริ่มตัดแต่งกิ่ง เหมือนเป็นการทำสาวให้ต้นไม้ ซึ่งเทคนิคที่อยากแนะนำในการตัดแต่งกิ่งให้ต้นมีความสูงในระดับที่เก็บเกี่ยวได้ง่าย แนะนำว่าให้นำขวดพลาสติกใส่น้ำแล้วนำมาแขวนถ่วงกิ่งให้โค้งลงมา ทำวิธีนี้กิ่งและต้นของมะขามเทศจะไม่สูงเหมือนต้นมะขามเทศทั่วไป

วิธีดูแลรักษา
น้ำ… เมื่อปลูกแล้วรดน้ำทุกวัน จนต้นแข็งแรง จากนั้นทิ้งระยะเวลาการให้น้ำ ประมาณ 4-5 วันครั้ง ทั้งนี้เพราะรากหาอาหารได้ไกล และทนแล้ง เมื่อโตเต็มที่แล้วแทบไม่ต้องให้น้ำ นอกจากได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติก็เจริญเติบโตอยู่รอดได้ แต่ถ้ามีการให้น้ำและให้ปุ๋ยเพิ่มเติมก็จะทำให้ผลผลิตมากยิ่งขึ้น

ปุ๋ย… หากเริ่มปลูกช่วงปลายฝน หรือช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะเริ่มพรวนดินเตรียมใส่ปุ๋ยรอบแรกเดือนกันยายน โดยจะใส่ขี้ไก่หรือขี้วัวผสมกับปุ๋ยยูเรีย ปริมาณเพียง 1 กำมือ เพราะมะขามเทศจะไม่กินปุ๋ยเยอะ จะเน้นใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ไก่มากกว่า โดยวิธีการใส่สังเกตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ถ้าใบแผ่ออกไปกว้างถึงตรงไหน ก็แปลว่ารากไปถึงตรงนั้น ก็ให้ใส่ปุ๋ยตรงนั้น เพราะถ้าหากใส่ปุ๋ยที่โคนต้นจะทำให้น็อกปุ๋ย เนื่องจากดินมีความเค็มอยู่แล้วเป็นทุนเดิม และนอกจากปุ๋ยทางดินแล้วก็มีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เป็นปุ๋ยหมักผลไม้ที่ทำเอง ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ฉีดสลับกับน้ำส้มควันไม้เพื่อป้องกันแมลง

โรคแมลง… ศัตรูตัวสำคัญของมะขามเทศ คือ แมลงวันทอง และแมลงปีกแข็ง หรือที่ชาวบ้านแถวนี้เรียกกันว่า แมงอีนูน โดยจะระบาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตกำลังเก็บเกี่ยวพอดี จึงไม่สามารถฉีดพ่นฆ่าด้วยสารเคมีได้ เพราะฉะนั้นวิธีแก้คือ ต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือพอตกกลางคืนมาชาวบ้านจะเตรียมขวดเพื่อไปจับแมงอีนูนทิ้ง ส่วนวิธีการกำจัดแมลงวันทอง จะใช้วิธีก่อกองไฟ โดยให้ควันไฟที่ก่อเป็นตัวไล่แมลงวันทอง ถือเป็นวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่ปลอดภัยและใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้

ผลผลิต… ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 700 กิโลกรัม ต่อไร่ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม มะขามเทศเป็นพืชที่ปลูกง่าย โดยจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป และถ้าพันธุ์ดีฝักโต รสหวานมัน จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 60-80 บาท และมีวางขายในห้างสรรพสินค้าชนิดฝักใหญ่รสชาติดี ราคากิโลกรัมละ 120 บาท สามารถสร้างรายได้จากมะขามเทศ 1 ไร่ ได้ประมาณ 50,000-60,000 บาท ต่อไร่ รวมกับการขายกิ่งพันธุ์ด้วย ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากๆ

อนาคตการตลาดสดใส
“การทำตลาดมะขามเทศเพชรโนนไทยของพี่เริ่มจากการเก็บขายให้คนในชุมชน จากนั้นทางหน่วยงานรัฐก็ได้เข้ามาสนับสนุน มีการจัดงานเทศกาลมะขามเทศประจำปีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ โดยรายละเอียดของการจัดการจะมีการประกวดมะขามเทศฝักใหญ่ คุณภาพดี รวมถึงการจัดประกวดสุดยอดเมนูแปลกใหม่จากมะขามเทศด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนทั่วไปได้รู้ว่า มะขามเทศ ไม่ได้เป็นแค่ผลไม้ แต่ยังสามารถนำมาแปรรูปได้อีกหลากหลายเมนู หลากหลายผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่าง ในส่วนของพี่เอง ก็มีการนำมะขามเทศมาแปรรูปเป็นไอศกรีมมะขามเทศ

และที่แปลกแหวกแนวไปกว่านั้น คือเมนูน้ำยากะทิมะขามเทศ ที่ใช้เนื้อมะขามเทศมาทำแทนเนื้อปลา รสชาติที่ได้ออกมาก็อร่อย หวานมัน แปลกไปอีกแบบ และนอกจากนี้แล้วจากการที่เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์หาตลาด จึงทำให้พี่ได้มีโอกาสรู้จักกับฝ่ายจัดซื้อของห้างเซ็นทรัล ซึ่งทางฝ่ายจัดซื้อก็ได้มีการติดต่อให้ส่งมะขามเทศไปจำหน่าย โดยปีนี้เริ่มทำตลาดเป็นปีแรก ที่ถือเป็นการเริ่มต้นตลาดห้างสรรพสินค้าได้ดี สามารถขยายตลาดได้ 4 แห่ง คือ เซ็นทรัลโคราช เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลเวสต์เกต และเซ็นทรัลขอนแก่น ซึ่งรูปแบบในการจัดส่งสินค้าเป็นรูปแบบกลุ่ม คือมีการรวบรวมผลผลิตของคนในชุมชนส่งไปด้วย ถือเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนไปด้วยกัน” พี่ลี กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจกิ่งพันธุ์มะขามเทศเพชรโนนไทย ติดต่อ คุณไพลี พึ่งแก้ว หรือ พี่ลี ได้ที่ เบอร์โทร. 098-260-9757 กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินงานโครงการเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ระบบการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม PGS (Participatory Guarantee System) เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แต่พบว่ามีเกษตรกรกลุ่มใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ในปริมาณที่น้อย นอกจากนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้ภาคเหนือตอนบนจัดทำแผนบูรณาการเกษตรอินทรีย์ เพื่อช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมทั้งในดิน น้ำ และอากาศ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้บริโภคส่วนใหญ่ ได้รู้จักระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS

ซึ่งระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS เป็นกระบวนการในการรับรองที่เป็นระบบสากลที่มีมาตรฐานทั่วโลกให้การยอมรับ ซึ่งคิดค้นโดย IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) มีความเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อีกทั้งเป็นระบบที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุน

กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรเกี่ยวกับดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรดินตามโครงการเกษตรอินทรีย์ ทางด้านข้อมูลความรู้วิชาการการจัดการดิน การเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ การให้บริการปัจจัยการผลิต การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อขยายผลการปฏิบัติไปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งพัฒนากลุ่มเกษตรกรเข้าสู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS

คุณผ่องพรรณ สะหลี เจ้าของสวนฮ่มสะหลี ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 112/2 บ้านหนองเต่าคำ หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS ได้มีการมาปรับที่ดินของตนเองทำเกษตรผสมผสาน ไปพร้อมกับการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้บริเวณพื้นที่ของเธอมีการจัดการสวนแบบมีระบบ ช่วยให้เกิดรายได้และมีผลผลิตทางการเกษตรขายตลอดทั้งปี ยึดเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ไม่น้อยทีเดียว

คุณผ่องพรรณ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพรับจ้างเย็บผ้าและทำนาข้าว เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่งประสบปัญหาผลผลิตต่ำ มีต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ขาดทุน ประกอบกับการนั่งเย็บผ้านานๆ ทำให้ปวดหลัง สุขภาพไม่ดี จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนอาชีพที่ตนเองทำอยู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2556 จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากทำนาเพียงอย่างเดียว มาแบ่งสันปันส่วนทำการเกษตรให้หลากหลายมากขึ้น โดยช่วงแรกเป็นการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน เช่น ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา พริกขี้หนู จิงจูฉ่าย ผักบุ้ง และไม้ผลยืนต้นต่างๆ เมื่อปลูกนานวันผลผลิตมีจำนวนมากขึ้นทำให้มีปริมาณมากพอ จึงนำผลผลิตเหล่านั้นไปจำหน่ายในชุมชน เมื่อเห็นว่าการทำเกษตรผสมผสานสามารถสร้างรายได้ยั่งยืนจึงปรับเปลี่ยนมาทำอย่างจริงจังและสร้างเป็นเกษตรอินทรีย์มาจนถึงทุกวันนี้

“เกษตรอินทรีย์ถือว่าค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับเรา cubiclebot.com พอศึกษาอย่างจริงจัง นอกจากดีต่อสุขภาพเราแล้ว ผู้บริโภคก็มั่นใจในผลผลิตของเราด้วย เราก็เลยมาขุดบ่อน้ำไว้สำหรับเลี้ยงปลา ขุดร่องสวนเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อพืชในสวน พร้อมทั้งเข้าอบรมการทำเกษตรแบบอินทรีย์จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ทำให้ได้รับองค์ความรู้ ในการผลิตพืชอินทรีย์ที่ถูกต้อง ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช พร้อมดำเนินการจัดหาตลาด เพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัว” คุณผ่องพรรณ บอก

โดยมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์ที่สวนของเธอใช้เป็นระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมพีจีเอส (Paricipatory Guarantee System PGS) ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย เป็นการจุดประกายความคิด มุ่งมั่น และตั้งใจ ที่จะทำให้ผลผลิตทุกชนิดจากสวนฮ่มสะหลี จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

เมื่อทำไปเรื่อยๆ นอกจากผลผลิตจะเป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว คุณผ่องพรรณ บอกว่า ยังมีกลุ่มผู้สนใจในการทำเกษตรอินทรีย์เข้ามาศึกษาดูงานอยู่เสมอ จึงทำให้เธอเกิดกำลังใจและเชื่อมั่นว่าการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของเธอนั้น สามารถเป็นแรงบันดาลใจและสร้างจุดเริ่มต้นเล็กๆ ให้กับผู้สนใจแบบค่อยเป็นค่อยไปจนสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างรายได้ในอนาคต

“ตอนนี้รายได้เราหลักๆ ก็จะเป็นการขายพืชผักสวนครัว เป็นรายได้รายวัน ซึ่งราคาก็สามารถได้ราคาที่ดีกว่าผักทั่วไป ส่วนรายได้รายเดือนหรือรายปี ก็จะมีปลาที่เราเลี้ยงเองภายในบ่อ นอกจากนี้ เรายังมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านจำหน่ายด้วย พร้อมกับการแปรรูปผลผลิตในสวนต่างๆ จึงทำให้เรามีรายได้หลากหลายช่องทาง ในเดือนหนึ่งสามารถสร้างรายได้หลักหมื่นบาท ก็ถือว่าเกษตรผสมผสานในระบบอินทรีย์ สามารถสร้างรายได้จนมีเงินเหลือเก็บและใช้จ่ายในครัวเรือนให้กับเราได้” คุณผ่องพรรณ บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณผ่องพรรณ สะหลี หมายเลขโทรศัพท์ (084) 489-1910 การเขียนคอลัมน์เกษตรอินทรีย์มาหลายปี ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องผักปลอดภัยอยู่พอสมควร ยิ่งรู้มากยิ่งกินผักลำบากขึ้น จิตค่อยข้างวิตกทุกครั้งที่กินผักที่ไม่รู้ที่มา เพราะส่วนหนึ่งใช้ผักอินทรีย์ที่ปลูกเองหรือซื้อผักอินทรีย์จากสวนที่มั่นใจว่าเขาไม่ได้ใช้สารเคมีแน่

วันนี้พอเห็นผักจากเมืองจีนที่เข้าเมืองไทยมาวันหนึ่งเป็นร้อยเป็นพันตันยิ่งขยาด จากที่เห็นในข่าวที่พ่อค้าเอามือลูบต้นหอมแล้วหงายฝ่ามือให้ดูเห็นเป็นผงสีฟ้าๆ ติดมือมามากพอสมควร มีอาจารย์มหาวิทยาลัยบอกว่าเป็นยาป้องกันเชื้อราชื่อแมนโคเซบ ยิ่งผวาเข้าไปใหญ่ เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่นำผักมาประกอบอาหารมักจะไม่ล้างก่อน ตอนนี้ถ้าเป็นไปได้ต้องใช้ความระมัดระวังผักที่ซื้อในตลาดให้มากยิ่งขึ้นกว่า ผักพื้นบ้านส่วนใหญ่จะปลอดสาร เลี่ยงผักจีนได้ก็ควรเลี่ยง

“คนปลูกไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ปลูก” เป็นความจริงเมื่อผู้เขียนมาอยู่ในดงผัก คราวหนึ่งจะไปขอซื้อผักคะน้าต้นงามมากของสวนใกล้ๆ กัน เจ้าของสวนเห็นเราชี้ผักคะน้าแปลงด้านหน้า เขาบอกว่า ไปเอาแปลงหลังขนำโน่น เราเดินไปดูพบว่าคะน้าแปลงนั้นขี้เหร่กว่าแปลงข้างหน้าเยอะ ก็ทำให้ไม่พอใจไม่อยากซื้อ เจ้าของสวนเห็นสีหน้าเราก็หัวเราะ ไม่สวยละซิ แปลงนี้ผมจึง (แบ่งไว้ กันไว้) ไว้กินเองไม่ฉีดยา ทำเอาผมขนลุกเกรียวเพราะเรากินคะน้าสวยๆ ที่ฉีดยาไปแล้วไม่รู้เท่าไหร่ ผักแบบนี้คนปลูกยังไม่กินเลย