อดีตตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร อำเภอหัวหิน เล่าความประทับ

เข้ารับราชการเป็นครั้งแรกที่ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร มีโอกาสเข้าเฝ้ารับใช้ถวายรายงานอย่างใกล้ชิด โดยได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต้นสังกัดให้ทำหน้าที่ขับรถไถยี่ห้อแคทเตอร์ พิลล่า รุ่นดี 4 มาใช้งานก่อสร้างถนนสายห้วยมงคลระยะทางกว่า 11 กิโลเมตร ปัจจุบันรถไถคันนี้ถูกเก็บไว้ในค่ายนเรศวร

ส่วน “อ่างเก็บน้ำเขาเต่า” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ห่างตัวเมืองไปทางทิศใต้ 14 กิโลเมตร ในอดีตเป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำจืดอุปโภคบริโภค โดยครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินด้วยรถยนต์พระที่นั่งติดหล่มบริเวณใกล้วัดเขาเต่า พระองค์ทรงสอบถามชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถ และทรงทราบว่าชาวบ้านขาดแคลนน้ำจืดอย่างแสนสาหัส

ต่อมา พระองค์มีพระราชดำริให้จัดสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า แต่การดำเนินการมีอุปสรรคบางประการ กระทั่งปี พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 60,000 บาท สมทบกับงบประมาณของทางราชการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า และในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมเสาหลักทำนบอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เป็นปฐมฤกษ์แห่งการก่อสร้าง และอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สร้างเสร็จในปี 2506

อ่างเก็บน้ำเขาเต่า การก่อสร้างเขื่อนดินสูง 5 เมตร ยาว 600 เมตร ช่วยปิดกั้นน้ำจืดไว้ ขณะเดียวกันมีการสร้างเขื่อนกันน้ำด้านลำคลองหน้าโรงเจข้างเขาเต่า ช่วยปิดน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามา มีพื้นที่กักเก็บน้ำจืดประมาณ 300 ไร่ สามารถเก็บน้ำได้ 6 แสนลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) นอกจากราษฎรได้ใช้ในการอุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ ยังสามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชดำริเรื่องน้ำคือชีวิตของประชาชน

นอกจากนี้ อีกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สร้างความปลื้มปีติอย่างหาที่สุดมิได้แก่พสกนิกรชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์จากพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล พร้อมคุณทองแดงสุนัขทรงเลี้ยง โดยพระองค์ทรงสูทสีน้ำตาล สะพายกล้องถ่ายรูป โดยพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินยังอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เพื่อทรงทอดพระเนตรแข่งเรือยาวประเพณีอ่างเก็บน้ำเขาเต่า พระองค์ทรงถ่ายภาพการแข่งขันตลอดเวลาและทรงแย้มพระสรวล

หลังจบการแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานถ้วยรางวัลการแข่งขันให้ทีมเรือที่เข้าร่วมแข่งขัน สร้างความปลาบปลื้ม และถือเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงของผู้เข้าร่วมแข่งขัน จากนั้นพระองค์เสด็จยังท่าน้ำที่เรือยาวทั้งหมดจอดอยู่ ทรงทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำเขาเต่า ท่ามกลางประชาชนเปล่งเสียงทรงพระเจริญอย่างกึกก้องต่อเนื่อง พระองค์ทรงโบกพระหัตถ์ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 5 ธันวาคม 2560 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดสร้างศาลากลางอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวทรงจตุรมุขจำลองแบบจากพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ภายในถ้ำพระยานคร ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 หล่อด้วยโลหะสำริดนอก ขนาด 1.5 เท่าพระองค์จริง พระอิริยาบถทรงงาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์และอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีที่พระองค์ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริด้านแหล่งน้ำแห่งแรกในประเทศ

ผศ. ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า มทร.ศรีวิชัย กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทำโครงการวิจัย โดยโครงการเด่น “ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ” เป็นผลงานของ นายพิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ประสบความสำเร็จไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นการสนับสนุนอาชีพและยกระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมตามนโยบายของรัฐบาล ขับเคลื่อนประเทศ Thailand 4.0 มีรางวัลรับรองคุณภาพคือ รางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2560 รางวัล Silver Medal จากงาน 2015 Kaohsiung International Inventional and Design EXPO (KIDE 2015) รางวัลผู้นำนวัตกรรม Leading Innovation Award จาก IIPNF

“ล่าสุดได้ส่งมอบตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ 5 ตู้ ให้ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในงานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ‘วิจัยขายได้’ ที่อาคารไปรษณีย์กลางและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บางรัก กรุงเทพฯ และส่งมอบผ่าน ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มอบ นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นำไปพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภายในจังหวัด”

แม้ว่าโครงการจะสิ้นสุดไปแล้ว แต่ผลจากการทำ “ฟาร์มชุมชน ตำบลดอนรัก” ภายใต้โครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อ กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการพลิกผืนแผ่นดินเปล่า แปลงเป็นทุนตั้งต้นในการทำอาชีพของผู้คนในตำบลดอนรัก ชุมชนเล็กๆ ที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ด้วยแรงร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกรมส่งเสริมการเกษตร กำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต.ดอนรัก และขาดไม่ได้ คือ ชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้โครงการเกิดเป็นรูปร่าง เวลานี้ใครขับรถจากสงขลามาปัตตานี ตามถนนหลวงหมายเลข 42 จะเห็นป้ายฟาร์มชุมชนตำบลดอนรักตั้งเด่นหรา ด้านหน้ามีซุ้มจำหน่ายผักผลไม้สดปลอดสารพิษ น้ำสมุนไพรเย็นชื่นใจ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากฝีมือชุมชน เช่น เสื้อยืด หมวก ลึกเข้าไปด้านในเป็นฟาร์มปลูกผักหลากหลายชนิดที่งอกงาม และกำลังทยอยออกผล

“จักรี เจ๊ะสอเหาะ” กำนันตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก เล่าว่า ก่อนหน้านี้มีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะทำสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ด้วย มีการพูดคุยกับชาวบ้านในร้านน้ำชาถึงเรื่องปลูกผัก ขณะนั้นได้ทำเป็นกลุ่มเล็กๆ 7-15 คน กระทั่งมีโครงการ ๙๑๐๑ ที่มีงบประมาณมาให้ 2.5 ล้านบาท จึงได้ทำประชาคมร่วมกับชาวบ้านอีกครั้ง ลงความเห็นว่าทำฟาร์มปลูกผักกัน จึงแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน คือ ค่าแรง 1.5 ล้านบาท สำหรับสมาชิก 500 คน คนละ 300 บาท เป็นเวลา 10 วัน และค่าวัสดุ ค่าบริหารจัดการอีก 1 ล้านบาท โดยพยายามทำทุกอย่างตามรอยเท้าพ่อ เช่น ในพื้นที่ปลูกผักจะมีแก้มลิงเล็กๆ ไว้กักเก็บน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“วันนี้โครงการจบแล้ว แต่เรายังบริหารให้เดินต่อไป อยู่ระหว่างขยายเครือข่ายของหมู่บ้าน ซึ่งมี 7 หมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะทำนา และปลูกผัก เราเลยแบ่งชาวบ้านเป็น 2 ชุด ชุดแรกให้ไปปลูกที่บ้าน แล้วนำมาขายหน้าร้าน เน้นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อีกชุดต้องหาคนที่อยากจะมาปลูกที่นี่ รายได้เท่าไหร่ต้องแบ่งให้ชาวบ้านได้ประโยชน์มากที่สุด อีกส่วนนำมาบริหารฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันฟาร์มมีรายได้เฉลี่ยวันละ 1 พันบาท”

ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเกิดความยั่งยืน มีแผนจะพัฒนาให้เป็นฟาร์มเชิงท่องเที่ยว ซึ่งในเรื่องทำเลนั้นหายห่วง เนื่องจากที่ตั้งของฟาร์มเป็นพื้นที่ของชลประทานอยู่ติดกับถนนสายหลัก หมายเลข 42 ถามว่าทำเลดีแค่ไหน เอาเป็นว่าราคาที่ดินฝั่งตรงข้ามทะยานไปที่ไร่ละ 10 ล้านบาทแล้ว
“ที่ตั้งเราเหมือนเป็นประตูเมือง จากสงขลาก็ต้องผ่านตรงนี้ จะเข้าเมืองต้องมาตรงนี้หมด ถือเป็นจุดเด่นของเรา และมีชลประทานล้อมรอบ ดังนั้นอนาคตอาจจะทำเชิงท่องเที่ยว เช่น นั่งแพ เรือพาย เปิดร้านกาแฟ เราต้องพยายามทำทุกอย่าง ล่าสุดออกแบบเสื้อยืดขาย เพื่อให้มีรายได้เข้าฟาร์มมาบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน”

ด้าน “ณัฐชนา วาโย” เกษตรตำบลดอนรัก ดูแลฟาร์มดอนรักในโครงการ ๙๑๐๑ เล่าว่า ฟาร์มตั้งอยู่บนพื้นที่ของชลประทาน 6 ไร่ โดยทำหนังสือจากสำนักงานเกษตรอำเภอในนามของคณะกรรมการ ๙๑๐๑ ขอใช้พื้นที่ ซึ่งชลประทานให้เราใช้ได้ตลอด เริ่มต้นมาให้ความรู้ชาวบ้านที่เข้าร่วม 500 คน เช่น การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ตอนนี้ผลผลิตหลักๆ คือ ผักบุ้ง เห็ดนางฟ้า แตงกวา ข้าวโพด เป็นต้น โดยเน้นเรื่องปลอดสารพิษ
“สิ่งที่ท้าทายคือ หลังจบโครงการเมื่อไม่มีงบประมาณในการจ้างแล้วจะทำอย่างไร ซึ่งจากการพูดคุย ฟาร์มต้องเดินต่อไปได้ เราอย่าให้ใครมาดูถูกว่าพอไม่มีเงินแล้วเราจบ กลับเป็นที่รกร้างเหมือนเดิม”

ณัฐชนา บอกอีกว่า จากการพูดคุยกับสมาชิกทั้ง 500 คนแล้ว บางส่วนจะกลับไปเป็นลูกไร่ โดยปลูกที่บ้านของตนเองแล้วส่งมาขายที่ฟาร์ม ขณะที่คนที่ยังอยากทำงานในฟาร์มมีประมาณ 10 คน ที่ไม่มีพื้นที่ของตัวเอง สามารถมาใช้พื้นที่ฟาร์มได้ โดยมาแค่ตัวกับใจที่อยากทำงาน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เรามีให้หมด จากนั้นผลผลิตจำหน่ายได้เท่าไหร่นำมาแบ่งกันคนละครึ่งกับฟาร์ม

“วันนี้เราทำงานให้พ่อหลวงของเรา เดินตามรอยเท้าพ่อ และมีชาวบ้านร่วมอุดมการณ์ทำ เราปลูกฝังเรื่องหนึ่งว่า วันนี้เราได้เงินของพ่อมาสองล้านห้า เงินของพ่อมาฝังอยู่ที่ดอนรักแล้ว เราจะต้องทำให้เงินงอกเงยให้ได้ นี่คือความคาดหวังในอนาคต”
ดังนั้น จึงไม่เพียงส่งเสริมการปลูก วันนี้เกษตรตำบลต้องควบหน้าที่ส่งเสริมการขายด้วย โดยช่วยหาตลาด มีทั้งแบบปากต่อปาก หรือ โซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ รวมถึงการประสานกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐเพื่อหาช่องทางจำหน่าย

“ทุกวันนี้ตอนเช้าก่อนจะไปทำงาน จะมาให้เด็ก ๆ เปิดร้าน แล้วจะถ่ายรูปเข้าไลน์กลุ่มสำนักต่างๆ ว่าวันนี้ฟาร์มดอนรักมีผักอะไรขายบ้าง เรามีโปรโมชั่น พื้นที่อำเภอเมือง และหนองจิก ส่งฟรี นอกจากนี้เราต่อยอดด้วยการทำเสื้อยืดฟาร์ม เช่น ถ้าใครเป็นลูกค้าใส่เสื้อมา เรามีโปรโมชั่นลดพิเศษ เป็นต้น”
เสียงเกษตรตำบลย้ำอีกว่า ตนเองนั้นเป็นคนต่างถิ่นมาทำงาน วันหนึ่งก็ต้องไป แต่หลังจากที่เราไป ชาวบ้านทุกคนต้องอยู่ได้ และยั่งยืน

ประเด็นนำเข้าหมูใช้สารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐยังไม่จบ!!! “พาณิชย์” ชี้ไทยต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน CODEX ลุ้นท่าที 2 หน่วยงานหลัก ‘กษ.’ถือกฎหมายควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์-‘อย.’ ถือประกาศมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าไทยถูกกดดันจากประเทศผู้ส่งออกในประเด็นการเปิดนำเข้าเนื้อสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงว่า ไทยต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นประเทศการค้า และสมาชิกขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) และองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศภายใต้การทำงานร่วมกันขององค์การอาหารและเกษตรสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) มีสมาชิก 187 ประเทศ รวมทั้งไทย ทำหน้าที่ด้านการกำหนดมาตรฐานอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ได้มีมติเมื่อเดือนก.ค. 2555 กำหนดค่าปริมาณสารเร่งเนื้อแดงในสุกรตกค้างที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ทั้งนี้ เนื้อสุกรทั้ง 4 ชนิด ที่โคเด็กซ์กำหนดปริมาณสารเร่งเนื้อแดงตกค้างที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ได้แก่ กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต ทำให้ประเทศผู้ส่งออก เช่น สหรัฐ และแคนาดาผลักดันให้ไทยเร่งดำเนินการยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง และให้เปิดให้มีการนำเข้าได้ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานที่โคเด็กซ์ กำหนด โดยขอให้ไทยเร่งปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกับมติโคเด็กซ์ตั้งแต่ปี 2555 โดยเร็ว

“มติของโคเด็กซ์ดังกล่าว ส่งผลให้ไทยต้องมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ ในฐานะเป็นประเทศการค้า และเป็นสมาชิกของโคเด็กซ์ หากไม่ปฏิบัติตามอาจจะถูกประเทศคู่ค้าฟ้องร้องได้ ขณะเดียวกันเป็นโอกาสที่ไทยจะเร่งพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนยกระดับการผลิตของไทย ให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในสากล” นางอรมน กล่าว

นางอรมน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการนำเข้าหมูปลอดสาร โดยหากจะนำเข้าต้องมาขออนุญาตดำเนินกระบวนการตรวจสอบด้านสุขอนามัยก่อนจึงจะสามารถนำเข้าได้ ส่วนการนำเข้าหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างจากสหรัฐ ขณะนี้ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้นำเข้า เพราะจะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องก่อน

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ จะต้องมาพิจารณาว่าจะมีแนวทางในดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศและผู้บริโภค

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การแก้ไขกฎหมายมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 2 หน่วยงาน คือ กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบพ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ. 2558 ที่ห้ามผู้เลี้ยงผสมสารเร่งเนื้อแดงในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ รวมถึงหมูด้วย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ โดยห้ามมีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อสัตว์ และหมูในประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมฯกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ..โดยยืนยันว่า การปรับปรุงกฎหมายนี้ยึดผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มีการเอื้อผลประโยชน์ให้กับนายทุน ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจ

และยืนยันว่า เกษตรกรยังคงสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในฤดูต่อไปในพื้นที่ของตนเองได้โดยไม่มีโทษใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนการขยายการคุ้มครองจากส่วนขยายพันธุ์ไปถึงผลผลิตและผลิตภัณฑ์นั้น หมายถึง ขยายความคุ้มครองไปถึงเฉพาะ“ผลผลิต”หรือ“ผลิตภัณฑ์” ที่เกิดจากส่วนขยายพันธุ์ที่ได้มาโดยมิชอบ เท่านั้น

แต่หากส่วนขยายพันธุ์นั้นได้มาอย่างถูกต้องแล้ว ผู้ผลิตก็มีสิทธิในผลิตผลและผลิตภัณฑ์ นั้น เพื่อป้องกันเจตนาที่จะใช้ประโยชน์จากส่วนขยายพันธุ์ที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง และมีการนำพันธุ์นั้น ไปขยายต่อโดยวิธีใดๆก็ตาม เพื่อการพาณิชย์ แล้ว เจ้าของทะเบียนคุ้มครองที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่กรมวิชาการเกษตร เรียกร้องเพื่อการคุ้มครองสิทธิ เกษตรกรหรือผู้นำพันธุ์ไปใช้ในเชิงพณิชย์จะมีความผิดจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท

ทั้งนี้ พืชที่มีการจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 455 ทะเบียน แบ่งเป็น จดทะเบียนโดยเอกชน 310 ทะเบียน หรือ 68% ของทะบียนทั้งหมด จดทะเบียนโดยภาคราชการ 68 ทะเบียน หรือ 15% ของทะบียนทั้งหมด จดทะเบียนโดยเกษตรกร 68 ทะเบียน หรือ 11% ของทะบียนทั้งหมด และ จดทะเบียนโดยสถาบันการศึกษา 29 ทะเบียน หรือ 6% ของทะบียนทั้งหมด

ในจำนวนนี้ มีพืชที่คนไทย รู้จักและนิยมรับประทานจำนวนมาก ทั้งพืชไร่ และพืชสวน อาทิ ผักบุ้ง มะละกอ มะเขือเทศ มะระ ข้าว เป็นต้น

“ การปรับปรุงพันธุ์พืชไม่ใช้สิ่งใหม่ เพราะทะเบียนคุ้มครองพืช กฏหมายฉบับเก่าก็มีการกำหนด แต่ตลอดเวลาเกือบ 20 ปี ไม่ได้มีการฟ้องร้อง หรือ เรียกร้องความเสียหายจากการคุ้มครองสิทธิ กรณี เมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าวจะเป็นเจ้าของสิทธิ เพื่อป้องการการขโมยพันธุ์ แต่เกษตรกรสามารถใช้ได้ไม่มีปัญหา และ พืชสวน อาทิ ผักบุ้ง มะละกอ หากมีการซื้อมาเพื่อปลูกแล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อขายต่อถือว่าผิดกฏหมาย แต่ หากเก็บไว้เพื่อขยายพันธุ์และใช้ปลูกในครัวเรือนเกษตรกรไม่มีปัญหา”

นายสุวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ กรมฯกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชทางเว็บไซต์และขยายเวลาจาก 20 ตุลาคม ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560ซึ่งเป็นขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีการแสดงความคิดเห็นประกอบการเสนอต่อกระทรวงและ ครม.ตามลำดับต่อไป ถือเป็นเรื่องปกติที่หน่วยงานต้องทำการรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ โดยปัจจุบันหลายหน่วยงานที่มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็เปิดรับฟังความคิดเห็น ในเว็บไซต์ ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การปรับแก้กฎหมายครั้งนี้เป็นการเสนอร่างพ.ร.บ. ให้สอดคล้องกับข้อมูลของอนุสัญญา UPOV1991 แต่ยังมิใช่เป็นการขอความเห็นชอบในการเป็นภาคี กรมฯขอยืนยันว่าเกษตรกรไม่ได้เสียประโยชน์ใดๆ และ ยังได้รับประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการได้รับสิทธิ์การคุ้มครองพันธุ์พืชที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้ง เป็นการเพิ่มทางเลือกและให้ความเป็นธรรมต่อเกษตรกร

กรมฯยังอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น โดยที่ผ่านมา cerrochapelco.com มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาพิจารณ์ 2 ครั้ง ซึ่งมีทั้งเอ็นจีโอ ไบโอไทย เอกชน เข้าร่วมด้วย แน่นอนว่าการประชุมยังมีข้อถกเถียงไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดต้องผ่านความเห็นทุกฝ่ายก่อน จึงจะนำข้อสรุปมาเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯพิจารณาต่อที่ประชุมครม.เห็นชอบในหลักการ เเละส่งเข้าคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขก่อนเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ในวันที่ 18 ตุลาคม กรมฯเตรียมเรียกผู้แทนจากสหกรณ์ขนาดใหญ่ มาหารือและรับฟังความคิดเห็นนัดสุดท้าย ก่อนจะประกาศใช้เกณฑ์กำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ยูเนี่ยน เพิ่มเติมอีก 5 ข้อ ภายในสิ้นเดือนตุลาคม 2560 หลังจากที่ผ่านมายังมีข้อโต้แย้งจากสมาชิกสหกรณ์จำนวนมาก เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสหกรณ์ทั้งระบบ ทำให้กรมฯต้องมีการนำหลักเกณฑ์ไปปรับปรุง และเปิดรับฟังความคิดเห็นใหม่ ประกอบด้วย

1.การกำหนดอัตราส่วนหนี้สิ้นต่อหุ้นบวกทุนสำรองไม่เกิน 2 เท่า จากเดิมไม่เกิน 1.5 เท่า 2.กำหนดให้สมาชิกสามารถกู้วนซ้ำได้หลังจากผ่านมาแล้ว 1 ปี 3.กำหนดสัดส่วนการนำเงินไปลงทุนไม่เกิน 20% ของทุนตนเอง 4.กำหนดทุนสำรองของสหกรณ์ไม่ต่ำกว่า 3% จากเดิมที่กำหนดสูงถึง 6% โดยเป็นเงินสด 1% และในรูปพันธบัตร 2% 5.ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)จากเดิมต้องอยู่ในมาตรฐานของก.ล.ต.เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์กำกับฯดังกล่าวยังไม่มีการกำหนดให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตฯเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครดิตบูโร เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนตามพ.ร.บ.สหกรณ์ฉบับปัจจุบัน ยังไม่มีอำนาจบังคับให้เข้าร่วม สหกรณ์ต้องสมัครใจเข้าร่วมเองเท่านั้น ซึ่งต้องรอพ.ร.บ.สหกรณ์ ฉบับใหม่ประกาศใช้ก่อนจึงจะมีสภาพบังคับ

ซึ่งขณะนี้พ.ร.บ.สหกรณ์ฉบับใหม่ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่า จะส่งกับมายังกรมฯเพื่อทำประชาพิจารณาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ภายในปลายเดือนตุลาคม–ต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบในเดือนธันวาคม 2560 และเสนอต่อไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกเป็นกฎหมายบังคับต่อไป

ในส่วนความคืบหน้าของการติดตามและแก้ไขปัญหาการทุจริตและข้อบกพร่องและของสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2558 พบว่า มีสหกรณ์ทั้ง 1,228 แห่งที่เข้าข่าย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 43,566 ล้านบาท ปัจจุบันได้แก้ไขข้อบกพร่อง มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ทั้งสิ้น 202 แห่ง คิดเป็นมูลค่ารวม 13,117 ล้านบาท แบ่งเป็น การทุจริต 52 แห่ง มูลค่ารวม 555 ล้านบาท ประกอบด้วย การทุจริตเงินกู้ 11 แห่ง ทุจริตเงินสด 19 แห่ง ทุจริตเงินฝาก 6 แห่ง ทุจริตการรวบรวมผลผลิต 3 แห่ง ทุจริตน้ำมัน 5 แห่ง และทุจริตเงินยืมทดลอง 3 แห่ง กรมฯตั้งเป้าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคมนี้

สศก. ร่วมประชุมการเกษตรกรรมที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ Cochran Fellowship Program ณ สหรัฐอเมริกา หวังเสริมสร้างความร่วมมือในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตร เตรียมพร้อมด้านความมั่นคงอาหารต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การกำหนดทิศทางนโยบายภาคเกษตรของไทยที่ยั่งยืน

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมการเกษตรกรรมที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture) ภายใต้โครงการ Cochran Fellowship Program จัดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture: USDA) ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันที่ 12 – 20 กันยายนที่ผ่านมา โดยการประชุมดังกล่าว มีการรับฟังการบรรยาย ศึกษา ดูงาน และแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมชลประทาน สำนักการเกษตรต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นอกจากนี้ ยังมีสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมด้วย