อดีตวิศวกร ปลูกมะนาว ครบวงจร ขายผลสด กิ่งพันธุ์ รับออก

แบบระบบสวน อดีตวิศวกร ปลดหนี้ให้พ่อแม่ พร้อมสร้างอาชีพใหม่ที่มั่นคง ให้กับตัวเองด้วยการปลูกมะนาว คุณธรรมรัตน์ แย้มขจร หรือ พี่ต้น อดีตวิศวกรคุมเครื่องจักร อยู่บ้านเลขที่ 151 ซอยวัดสุขใจ ถนนนิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ที่หันมาเอาดีด้านการเกษตร จนทุกวันนี้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการขายมะนาว พร้อมมีแนวคิดที่ก้าวหน้า ปลูกมะนาวไม่จำเป็นต้องขายผลสดเพียงอย่างเดียว แต่รู้ไหมว่า มะนาว 1 ต้น สามารถตอนกิ่งขายได้เป็น 100-200 กิ่ง ราคากิ่งละ 60-80 บาท ขายได้ตลอดทั้งปี เพียงแค่เจ้าของสวนต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าให้ได้

ออกจากงานประจำ มาทำเกษตร
ช่วยปลดหนี้ให้พ่อแม่
พี่ต้น เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนมะนาว ตนเป็นวิศวกรคุมเครื่องจักรมานานนับ 10 ปี ใช้ชีวิตในเมืองกรุง ค่าใช้จ่ายสูง มีเงินเดือนหลายหมื่นแต่ก็ไม่เคยเหลือ จึงคิดว่าอยากกลับมาช่วยพ่อแม่ทำการเกษตร แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร พ่อแม่เป็นชาวนาอยู่แล้ว แต่ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ จึงอยากกลับมาเปลี่ยนแปลงที่บ้าน อยากทำให้พ่อแม่รู้ว่าเราก็สามารถดูแลเลี้ยงเขาได้จากอาชีพเกษตรกรรม จึงอยากทดลองทำอะไรแปลกๆ เพราะอาจจะเป็นวิธีที่สามารถทำให้ครอบครัวอยู่รอดได้ในขณะที่ข้าวมีแต่ถูกลง

“ตอนแรกบอกพ่อว่า จะปลูกมะนาว พ่อบอกทำไปก็ไม่สำเร็จหรอก มันยาก แต่ผมบอกขอลองทำก่อนได้ไหม พ่อก็ให้ลองเปลี่ยนแปลงนา จากเดิมมี 25 ไร่ ลดเหลือ 21 ไร่ แบ่งให้ผมปลูกมะนาว 4 ไร่ เริ่มแรกการปลูก ลงทุนไป 250,000 บาท พยายามทำแบบฉีกแนวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง คือการปลูกมะนาวในวงบ่อ แบบ 2 บ่อซ้อนกัน เป็นวิธีที่แปลกแต่ได้ผลผลิตที่ดก และสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูได้ จนถึงปัจจุบันนี้ผมสามารถปลดหนี้ให้พ่อแม่ได้หลักแสน และยังสามารถสร้างอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงคนในครอบครัวได้จากการปลูกมะนาวนี่แหละครับ” พี่ต้น บอก

เทคนิคปลูกมะนาวให้ลูกดก ออกนอกฤดู
ปลูกในวงบ่อ หรือปลูกบนดินก็ได้เหมือนกัน
พี่ต้น บอกว่า ทุกวันนี้การทำเกษตรของเขาก็ยังเป็นเกษตรผสมผสานอยู่ ถึงแม้ว่ามะนาวจะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ก็จำเป็นต้องมีพืชอย่างอื่นมารองรับ ที่สวนก็ยังปลูกข้าวไว้กินเอง มีเหลือไว้ขายบ้างเล็กน้อย พยายามทำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ตามคำสอนของในหลวง รัชกาลที่ 9 ปลูกพืชผสมผสาน ทำเกษตรอินทรีย์ และอยากให้ทุกคนรู้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์นี้ส่งผลดีกับตัวเกษตรกรเองขนาดไหน ทั้งในเรื่องการลดต้นทุน เรื่องสุขภาพ ทั้งของผู้ซื้อและผู้ปลูก ทำเกษตรอินทรีย์ก็สามารถทำให้ผลผลิตดกสู้เคมีได้ เพียงแค่ต้องใส่ใจ และหมั่นศึกษาคิดค้นเทคนิคต่างๆ เพื่อเอามาสู้กับแมลง ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้ผลดีมากด้วย

ปัจจัยการปลูกมะนาวให้ประสบผลสำเร็จ
ดินต้องดี น้ำต้องดี ถ้าดินไม่ดี น้ำไม่ดี ก็ปลูกไม่ได้ มะนาวที่สวนเลือกปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์แป้น เปลือกต้องบาง เม็ดน้อย น้ำเยอะ และต้องมีกลิ่นหอม
ต้องเลือกสายพันธุ์มะนาวให้ดี ถ้าสายพันธุ์ไม่ดี ผลผลิตก็ไม่ดีตาม บางคนไม่รู้ก็เลือกปลูกพันธุ์ที่เปลือกหนามาเลย ซึ่งตลาดไม่ต้องการมะนาวที่เปลือกหนา แนะนำว่าถ้าติดต่อซื้อต้นพันธุ์ทางออนไลน์ ให้คลิกเข้าไปดูก่อนว่า สวนที่ขายเปิดมากี่ปีแล้ว ผลผลิตที่เขาปลูกเป็นอย่างไร ดกไหม มีปัญหาเรื่องโรคหรือเปล่า ต้องดูสวนที่ไว้ใจได้
ดินปลูกต้องผสมให้ดี อัตราส่วน คือ
ดิน 3 ส่วน
แกลบดำ 2 ส่วน
แกลบดิบ 1 ส่วน
ขุยมะพร้าว 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขุดหลุมไม่ต้องกว้างมาก ศอกคูณศอก ขุดเป็นสี่เหลี่ยม แล้วนำดินที่ผสมใส่ลงไปในหลุม ส่วนขี้วัวยังไม่แนะนำให้ใส่เพราะช่วงแรกมีสารอาหารอยู่แล้ว ให้ใส่ขี้วัวตอนที่มะนาวเริ่มแตกใบอ่อน ผ่านไปประมาณ 1 เดือน

ทำโคกแล้วขุดหลุม ประมาณ 1 ฝ่ามือ แล้วกรีดถุงดำออก นำต้นลงปลูก แล้วโกยดินปิด บางคนปลูกมะนาวเข้าใจว่าต้องปลูกลึกๆ แต่ปลูกตื้นๆ จะได้ลูกดก เพราะรากจะแผ่ออกไป ต้นจะลอย โคนจะลอย เวลาหน้าแล้งก็บังคับได้

ระยะห่างระหว่างต้นต้องเหมาะสม ควรเว้นระยะระหว่างต้น 3 เมตร และไม่ทำมะนาวให้ต้นใหญ่ เมื่อปลูกไป 1 ปี เก็บผลผลิตแล้วให้ตัดแต่งต้นลงมาให้เตี้ยเท่าเดิม ตัดโคนต้นให้โล่งเพื่อข้างบนจะทำลูกง่าย การจัดการก็ง่าย ไม่ต้องเปลืองไม้ค้ำ การเก็บเดินเก็บได้สบายๆ ไม่ต้องทำเหมือนสวนอื่นใช้ไม่สอยเพราะต้นสูงไป
ระบบน้ำ เดินท่อ พีอี ต่อหัวมินิสปริงเกลอร์ หรือเดินท่อ พีอี แล้วเจาะรูเป็นระบบน้ำหยดไม่ต้องเปลืองน้ำ ให้แบบตรงจุด บางคนให้น้ำเยอะไป ไม่ใช่เรื่องดี ทฤษฎีในการปลูกมะนาวคือ ไม่ต้องการน้ำเยอะมากลูกจะร่วง

เพราะได้น้ำเยอะเกินไป มะนาวจะงามแต่ใบ ขอเพียงให้มีน้ำหล่อเลี้ยงอาทิตย์หนึ่งรด 3 ครั้ง ก็พอ
ปุ๋ย มะนาวได้อายุ 1 เดือน เริ่มแตกใบ ให้ใส่ขี้วัวสัก 1-2 กำมือ ผ่านไปอีก 2-3 เดือน ใส่อีกครั้ง ดูแลแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงอายุ 8-9 เดือน ต้นเริ่มใหญ่ เริ่มจะทำลูกให้ในปีแรก หรือบางคนอาจจะทำลูกตอนต้นอายุครบ 1 ปี บางคน 8 เดือน ทำลูก แล้วแต่ความเหมาะสม แต่มะนาวถ้าจะให้ดีต้องไม่เกิน 7-8 ปี ถ้ามากกว่านี้ต้นจะโทรม ให้ผลผลิตน้อย แนะนำให้โค่นทิ้งแล้วปลูกใหม่จะดีกว่า

การดูแล ดูแลใบให้ดี ต้นทรงพุ่มให้งาม โคนต้นต้องให้แดดส่องถึงสม่ำเสมอ เพราะถ้าแดดส่องไม่ถึงจะทำให้เกิดเชื้อรา เพราะเชื้อราเกิดขึ้นทางดิน โรคที่มาจากดินเยอะมาก และมาตอนฝนแรกคือ โรคแคงเกอร์ เจ้าของสวนต้องตั้งสติให้ดี เพราะผมเคยจิตตกมาแล้ว โรคมาก็ไปซื้อสารเคมีมาฉีดอย่างเดียว แต่สารเคมีบางตัวช่วยได้แค่บรรเทา แต่รักษาไม่ได้ ผลสุดท้าย เชื้อราไปตกอยู่ที่โคนต้นหมด ก็หมักไปเรื่อย สุดท้าย มะนาว ก็ตายอยู่ดี ซึ่งวิธีแก้แบบธรรมชาติที่ได้ทดลองมาหลายวิธี ตอนนี้ก็ค้นพบแล้วว่า เพียงแค่ใช้ปูนขาวที่ใช้โรยตามสนามฟุตบอลมา 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร คนให้เขากัน ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำน้ำที่ใสๆ มาฉีดโรคแคงเกอร์จะไม่ค่อยมี

อุปสรรคในการปลูกมะนาว
ปัญหาเรื่องภัยแล้ง การปลูกมะนาวน้ำสำคัญ
ปัญหาเรื่องโรคแมลง เกษตรกรต้องรู้และเข้าใจกับโรคแมลงต่างๆ ที่เกิดและค่อยๆ แก้ปัญหา อย่าใช้แต่สารเคมีแก้ปัญหา เพราะนอกจากแมลงจะไม่หายแล้ว ต้นทุนจะหายไปด้วย
อุปสรรคด้านการตลาด พอเวลาถูกก็ถูกจริงๆ เวลาแพงก็แพงจริงๆ เพราะเวลาคนทำออกมา ทำออกมาพร้อมๆ กัน และเกษตรกรมักจะทำเลียนแบบกัน สมมุติว่าปลูกกล้วยก็ปลูกเหมือนกันหมด คือ ผลผลิตออกมาแล้วเป็นจำนวนมาก เวลาไปเทขายตลาดสินค้ามาก พ่อค้าคนกลางก็สามารถกดราคาได้ เกษตรกรต้องมีการวางแผน ถ้าใครมีที่เยอะแนะนำให้ปลูกพืชผสมผสานดีกว่า ผลผลิตอันนี้หมดสามารถขายอันต่อไปได้

ผลผลิตดก 800-1,000 ลูก ต่อต้น
ทำเองลดต้นทุน เพิ่มกำไร
การปลูกมะนาวแบบวิธีข้างต้นที่กล่าวมา พี่ต้น บอกว่า ถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตดก 800-1,000 ลูก ต่อต้น และช่วงนั้นเป็นช่วงหลังน้ำท่วม ปี 2554 มะนาว กำลังขาดตลาด ราคาดีดขึ้นถึงลูกละ 7-8 บาท ก็ทำให้ฟื้นขึ้นมาจากที่ลงทุนไป 250,000 บาท และรายได้ก็ตอบโจทย์มาถึงทุกวันนี้ การปลูกมะนาวถ้าจะทำให้อยู่รอดนอกจากเทคนิคที่ดีแล้ว ยังต้องบริหารจัดการให้เป็น ปลูกเองทำเองจะเห็นกำไรมาก ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยขี้วัว ราคาไม่กี่บาท แต่ถ้าทำแบบเคมีต้องซื้อยาซื้อปุ๋ยเงินลงทุนก็จะหายไป

การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่เพียงปลูกได้ แต่ต้องขายให้เป็น และต่อยอดไปได้เรื่อยๆ บางคนมองขายแค่ผลสด เพราะว่าทำมะนาวไม่รู้จะไปขายอะไรต่อ เกษตรกรต้องมีโจทย์ให้กับตัวเอง ซึ่งแนวคิดตอนนั้นคือ ถ้าขายลูกอย่างเดียว ก็มีรายได้ทางเดียว แต่ถ้าขายกิ่งพันธุ์ด้วย จะมีรายได้เพิ่มมาอีกทาง ราคากิ่งพันธุ์ 60-80 บาท ต่อ 1 กิ่ง 1 ต้น สามารถตอนได้เป็นร้อยกิ่ง คือจำนวนกิ่งกับราคาลูกมันต่างกัน 1 ลูก อาจจะ 5 บาท ต่อให้แพงจริงๆ ยังไงก็ส่งได้ กิโลละ 70-80 บาท แต่กิ่งพันธุ์ขายได้ทั้งปี ทั้งยังรับออกแบบวางระบบสวนมะนาวให้กับเกษตรกรมือใหม่ แน่นอนว่ารายได้ต้องไม่ธรรมดา

แต่ละอย่างมีรายละเอียด ดังนี้

ขายผลสด ต้องมีผลผลิตส่งร้านอาหาร ส่งโรงแรมทุกวัน อย่างน้อย วันละ 20-30 กระสอบ เดือนละ 2-3 ตัน แล้วถามว่า ปลูกแค่ 4 ไร่ มีส่งขายพอหรอ ตอบเลยว่า ไม่พอ ต้องมีลูกไร่ให้เขาทำส่ง และให้ราคามากกว่าราคาตลาดกลาง ซึ่งมีข้อแม้ว่า ลูกไร่ทุกคนต้องปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้น
ขายกิ่งพันธุ์ เมื่อมะนาวลูกดกคนเห็นก็อยากได้กิ่งพันธุ์ไปปลูก ผมมีหน้าที่ผลิตกิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพให้ลูกค้า ลูกค้าคนหนึ่งสั่งไม่ใช่แค่ 20-30 กิ่ง แต่สั่งครั้งละ 200-300 กิ่ง เมื่อลูกค้าได้กิ่งตอนที่มีคุณภาพ ปลูกแล้วได้ผลผลิตดี ก็จะเกิดการซื้อซ้ำอยู่อย่างนั้น
รับออกแบบวางระบบสวนมะนาว เดินระบบน้ำ ธุรกิจออกแบบระบบสวนนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากที่ผลิตมะนาวได้เยอะ มีคุณภาพ และที่สำคัญคือ ต้องทำให้คนอื่นเห็นและเกิดความเชื่อถือ วิธีการคือ ต้องมีรูปสวนตัวเองที่ปลูกแล้วได้ผลผลิตจริง หมั่นโพสต์เรื่องราวกิจกรรมต่างๆ ที่ทำภายในสวนบ่อยๆ ว่าเราทำได้จริง

ปลูกมะนาว ทำตลาดเป็น
สร้างเงินไว มีเงินเข้ากระเป๋าทุกวัน
เจ้าของบอกว่า การปลูกมะนาวดีตรงที่ได้เงินไวกว่าพืชชนิดอื่น ได้เงินทุกวัน สามารถทำให้ผลผลิตมีออกขายทุกวัน อย่างน้อยมะนาวลูกละ 1-4 บาท ก็ทำเงินได้แล้ว ทำสวนมะนาวรวยเร็ว แต่ก็เจ๊งเร็วเช่นกัน ที่เจ๊งเพราะทำเคมีกันมากไป ใส่ปุ๋ยเยอะ สั่งมาแต่ละครั้ง 1 เดือน หมดไปเท่าไร เขาเรียกว่าทำแล้วไม่คุ้มทุน แต่วิธีของผมทำแล้วเห็นกำไร ลูกฟาร์มก็แฮปปี้ เพราะเขาไม่ต้องมีต้นทุนมาก ผมก็ไปสอนการจัดการให้เขา สอนให้ปลูกระบบอินทรีย์ ทำอย่างไร ลูกฟาร์มสามารถทำตามได้ หรือใครที่ไม่ใช่ลูกฟาร์มก็ยินดีสอน

นอกจากปลูกเป็นแล้ว การตลาดก็ต้องเป็นด้วย ถ้าหากย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว กระแสโซเชียลยังไม่เป็นที่นิยม ผมถือเป็นเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่เริ่มเปิดตลาดออนไลน์ ขายมะนาว ขายกิ่งพันธุ์ ผ่านเฟซบุ๊ก เฟซบุ๊กสามารถมีเพื่อนได้ประมาณ 5,000 คน ผมก็เป็นเพื่อนจนครบ แล้วสร้างอีก 2-3 แอคเคาท์ คิดดูว่าเราสามารถมีเพื่อนได้เป็นหมื่นคน จะมีคนเป็นหมื่นที่เห็นผลผลิตเรา และคนอีกหมื่นคนก็แชร์ไป เป็นลูกโซ่กลายเป็นว่าเราแทบไม่ต้องหาตลาดยากเลย แค่สร้างความเชื่อมั่นให้เขาเห็นแค่นั้น

“แต่ก่อนผมไม่เคยคิดหรอกว่า ปลูกแล้วจะไปขายให้ใคร ผลผลิตออกมาเป็นตัน ก็เอาไปขายให้พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าคนกลางก็กดราคา ตั้งแต่นั้นมาจึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดสร้างตลาดให้ตัวเอง มีตลาดอยู่ในมือคือ โซเชียล ก็หันมาหาตลาดทางนี้ และก็ผันตัวเองมาเป็นพ่อค้าคนกลางเอง เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าผมรับซื้อมะนาวในราคาที่แพง ทั้งผู้ซื้อผู้ขายแฮปปี้ทั้งสองฝ่าย ต่างคนต่างเกื้อกูลกัน เหมือนเพื่อนเกษตรมากกว่า เราไม่ได้บวกกำไรมากจนเกษตรกรอยู่ไม่ได้” พี่ต้น กล่าวทิ้งท้าย

หัวไชเท้า หรือ ผักกาดหัว เป็นพืชผักยอดนิยมชนิดหนึ่ง เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู แถมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร และปรับสมดุลในระบบย่อยอาหาร หัวไชเท้าจึงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่น่าสนใจที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 (สศท. 4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ปัจจุบัน หัวไชเท้า เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดขอนแก่น โดยแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแฮด และอำเภอบ้านไผ่ หัวไชเท้าเป็นพืชอายุสั้น มีอายุเก็บเกี่ยว 30 วัน ให้ผลตอบแทนดี โดยมีต้นทุนการผลิต ไร่ละ 13,428 บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 1.78 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลผลิต 7,500 กิโลกรัม/ไร่ ขายได้ในราคา 4.18 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 2.4 บาท/กิโลกรัม หรือ 18,000 บาท/ไร่ ทีเดียว

อำเภอบ้านแฮด มีพื้นที่ปลูกหัวไชเท้า รวม 211 ไร่ มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหัวไชเท้า รวม 97 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มผู้ปลูกผักกาดหัวหนองโง้ง ตำบลบ้านแฮด พื้นที่ 103 ไร่
กลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ตำบลโคกสำราญ พื้นที่ 102 ไร่
กลุ่มผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ตำบลบ้านแฮด พื้นที่ 6 ไร่

โดยทั่วไปเกษตรกรปลูกหัวไชเท้าปีละ 2-3 รอบ เริ่มต้นปลูกในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม ของปีถัดไป นิยมปลูกเป็นพืชทางเลือกหลังฤดูทำนาและพื้นที่สวน คิดเป็นสัดส่วน 30 : 60 ตามลำดับ เกษตรกรจะขายส่งผลผลิตให้พ่อค้าที่รับซื้อ ณ ไร่นา โดยพ่อค้าจะนำสินค้าไปขายส่งที่ตลาดค้าส่งผักในจังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมา

ส่วนอำเภอบ้านไผ่ มีพื้นที่ปลูกหัวไชเท้ารวม 60 ไร่ มีกลุ่มเกษตรกรปลูกหัวไชเท้า 1 กลุ่ม คือกลุ่มเกษตรกรบ้านสว่าง ตำบลหินตั้ง มีจำนวนสมาชิก 32 ราย ในพื้นที่แห่งนี้ เกษตรกรจะรวมกลุ่มกันบริหารจัดการในการปลูกหัวไชเท้าหมุนเวียนกัน ปีละ 7-11 รอบ ผลผลิตที่ปลูกช่วงฤดูแล้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะได้ผลผลิตเข้าสู่ตลาด เฉลี่ยไร่ละ 3,000 กิโลกรัม ส่วนผลผลิตช่วงฤดูหนาวในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ จะได้ผลผลิตดีกว่า เฉลี่ยไร่ละ 7,000 กิโลกรัม ผลผลิตในแหล่งนี้ผลิตได้มาตรฐาน GAP ทั้งหมด คาดว่าภายในระยะ 1-2 ปี ทางกลุ่มจะสามารถผลิตหัวไชเท้าอินทรีย์ได้

ด้านการตลาด เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้กับห้างค้าปลีกรายใหญ่ Tesco Lotus ซึ่งมีความต้องการผลผลิตประมาณ 4,500 กิโลกรัม/สัปดาห์ โดยจะกระจายสินค้าในศูนย์ภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด โดยรับซื้อผลผลิตหัวไชเท้าทุกฤดู ในราคากิโลกรัมละ 12 บาท (ตั้งจุดรับซื้อ ณ สหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น) นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าทั่วไปมารับซื้อหัวไชเท้าจากกลุ่มเกษตรกร โดยในช่วงฤดูหนาวจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 4 บาท ส่วนช่วงฤดูแล้งรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 12 บาท เนื่องจากผลผลิตในฤดูแล้งมีน้อยจึงทำให้จำหน่ายได้ราคาดีกว่า

ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลการปลูกหัวไชเท้า สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณคำสอน เชิดโกทา ผู้ใหญ่บ้านสว่าง ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านสว่าง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โทร. 061-945-2066 หรือ สศท.

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะประธานศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งมีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ทำให้เหมาะสมต่อการระบาดของเพลี้ยไฟมังคุด จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยไฟมังคุดของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า มังคุดโดยเฉพาะในเขตจังหวัดจันทบุรี ระยอง ยะลา และระนอง อยู่ในระยะแตกใบอ่อน ออกดอก จนถึงระยะติดผลอ่อน มีการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ทำให้คุณภาพผลมังคุดลดลงไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และผลผลิตบางส่วนเสียหาย

เพลี้ยไฟมังคุดจะมีลักษณะลำตัวสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวรวดเร็ว ระยะตัวอ่อน 6-7 วัน จากนั้นเป็นระยะก่อนเข้าดักแด้ 1-2 วัน และตัวเต็มวัยอยู่ประมาณ 22 วัน ตัวเมียแต่ละตัววางไข่เฉลี่ย 60 ฟอง ตัวเต็มวัยเพศเมียมีความยาว 1.05 มิลลิเมตร กว้าง 0.19 มิลลิเมตร หนวดยาว 0.23 มิลลิเมตร ปีกยาว 0.54 มิลลิเมตร บริเวณปลายของปล้องท้องมีอวัยวะวางไข่เห็นได้ชัดเจน ขนาดยาว 0.70 มิลลิเมตร กว้าง 0.04 มิลลิเมตร ลำตัวสีเหลือง ตาสีแดง มีตาเดียว ตัวเต็มวัยเพศผู้มีความยาว 0.71 มิลิเมตร กว้าง 0.14 มิลลิเมตร หนวดและปีกยาว 0.16 และ 0.38 มิลลิเมตร ตามลำดับ

การเข้าทำลายมังคุดเพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง เว็บเล่นบาคาร่า ทำให้ดอกมีรอยแผลสีน้ำตาลกร้าน หากมีการระบาดรุนแรงขณะออกและติดผลอ่อนจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วง ส่วนผลที่ไม่ร่วงหากมีการทำลายที่ผลจะทำให้เปลือกมังคุดมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่าผิวขี้กลากหรือผิวลาย คุณภาพต่ำไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือจำหน่ายไม่ได้ราคา

กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดปฏิบัติดังนี้ 1) ควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ 2) ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองขนาด 24 x 26 นิ้ว จำนวน 4 กับดักต่อต้น ติดตั้งในสวนมังคุดที่เริ่มแตกใบอ่อน 3) การใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ และด้วงเต่าตัวห้ำ ช่วยป้องกันการระบาดได้ 4) หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี แนะนำให้ใช้ ฟิโพรนิล อิมิดาโคลพริด และไซเพอร์เมทริน อัตราตามคำแนะนำในฉลากสารเคมี และมีการใช้สารเคมีสลับกลุ่มเพื่อป้องกันเพลี้ยไฟดื้อสารเคมี

5)หากพบการระบาดที่ไม่รุนแรงให้พ่นด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดความชื้น ทุก 2 – 3 วัน หากพบการระบาดรุนแรงควรพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลงให้ทั่วถึงทั้งลำต้น มิฉะนั้นแมลงจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นไม่ถึง นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงการปรับละอองฝอยหัวฉีด และระยะเวลาการพ่นด้วย หากมีข้อสงสัยให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

ก้าวเข้าเกษตรยุค 4.0 แล้ว เกษตรกรรุ่นเก่าที่ยังคงใช้ภูมิปัญญาในการบริหารจัดการแปลงเกษตรก็ยังคงมีอยู่ แม้จะค่อยๆ จางลงไป แต่ก็มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เรียกกันว่า ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ก้าวเข้ามาทดแทน สามารถบริหารจัดการด้วยการนำภูมิปัญญาผนวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในภาคเกษตร สานต่อ ทำให้แปลงเกษตรได้รับการต่อยอดและมีการพัฒนาไม่ใช่น้อย

ที่ ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่รวมตัวกันก่อตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าช้างขึ้น จดทะเบียนเมื่อปี 2549 เริ่มจากเกษตรกร จำนวน 14 คน ปัจจุบัน เพิ่มจำนวนเป็น 73 คน

ในจำนวนนี้ แท้ที่จริงเริ่มต้นจาก คุณวิวัฒน์ ฟักทอง เกษตรกรหนุ่มที่ทำงานประจำ แต่สนใจการทำการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะเห็ด เขาใช้เวลาว่างในการศึกษาการเพาะเห็ด ถึงกับสมัครไปเรียนรู้กับกลุ่มเพาะเห็ดหลายแห่งมาก่อนหน้า ในที่สุดจึงตัดสินใจควักเงินเก็บทำโรงเรือนเพาะเห็ดขึ้น 1 โรง ขนาด 4×4 เมตร ซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะ หมดเงินก้อนแรกไปกว่า 50,000 บาท แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ

คุณวิวัฒน์ บอกว่า ก้อนเชื้อเห็ดที่ซื้อมาทั้งหมด ไม่เปิดดอกเห็ดให้ เพราะเชื้อไม่เดิน เมื่อรู้สาเหตุของปัญหา จึงคิดเพาะก้อนเชื้อเห็ดเอง พยายามทดลองและศึกษา ลองผิดลองถูกนานเกือบ 2 ปี ในที่สุดก็ได้ก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ

เพราะเคยถูกหลอกจากการลงทุนซื้อก้อนเชื้อเห็ดมาเพาะก่อนหน้านี้ การทำก้อนเชื้อเห็ดเอง จึงเป็นก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์การให้ดอกครบทุกก้อน