อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

กรมวิชาการเกษตรจึงได้พัฒนาพันธุ์ถั่วลิสงในกลุ่มที่มีขนาดเมล็ดปานกลางเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีขนาดเมล็ดโตขึ้น และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานไทนาน 9 และ ขอนแก่น 5 เพื่อพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำให้เกษตรกรได้เลือกปลูก โดยได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ในปี 2540 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และแปลงทดลองห้วยหลวง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี และประเมินผลผลิตทั้งในแปลงทดลองและแปลงของเกษตรกร ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ จนได้ถั่วลิสงพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่คัดได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์ KKFC4000-1 กับพันธุ์ไทนาน 9

ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9 มีลักษณะเด่น คือ ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์มาตรฐานที่อยู่ในกลุ่มขนาดเมล็ดปานกลาง โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 52.8 กรัม ซึ่งขนาดเมล็ดโตกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 ที่มีน้ำหนัก 100 เมล็ด 44.2 กรัม และขอนแก่น 5 จำนวน 48.5 กรัม รวมทั้งถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9 ยังให้ผลผลิตฝักแห้ง 264 กิโลกรัม ต่อไร่ สูงกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 ที่ให้ผลผลิตฝักแห้ง 247 กิโลกรัมต่อไร่ และขอนแก่น 5 ให้ผลผลิตฝักแห้ง 250 กิโลกรัม ต่อไร่

“จากการสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่า ส่วนใหญ่ยอมรับในคุณสมบัติของถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9 มากกว่าพันธุ์ไทนาน 9 โดยลักษณะที่เกษตรกรยอมรับมากที่สุด คือ ผลผลิตและการงอก รองลงมาเป็น ขนาดฝัก และการเก็บเกี่ยว การติดฝัก ขนาดเมล็ด และการปลิดฝัก โดยรวมเกษตรกรชอบพันธุ์ขอนแก่น 9 ที่ให้ผลผลิตสูง ฝักดก ขนาดฝักและเมล็ดโต และปลิดฝักง่าย ซึ่งถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 9 นี้ถือได้ว่าเป็นงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตรที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อทดแทนการทำนาปรังในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากถั่วลิสงจัดอยู่ในกลุ่มพืชไร่ที่ใช้น้ำน้อย โดยในปี 2563 นี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น (โทร. 0-4324-6669) มีเมล็ดพันธุ์คัด เมล็ดพันธุ์หลัก และเมล็ดพันธุ์ขยายเพื่อให้เกษตรกรใช้ปลูกในฤดูแล้งได้คิดเป็นพื้นที่ปลูกจำนวนประมาณ 50 ไร่” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ทุเรียน นับเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้ในปัจจุบันเกษตรกรหลายรายหันมาปลูกทุเรียนทดแทนพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งนับเป็นแหล่งผลิตทุเรียนคุณภาพแหล่งใหญ่ของประเทศ

คุณพงษ์ศักดิ์ ผลมรุกต์ (คุณปาล์ม) เกษตรกรทำสวนทุเรียน นับเป็นอีกหนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กล้าหันหลังให้กับชีวิตอันศิวิไลซ์ในเมืองกรุง กลับมาสานต่อธุรกิจครอบครัวดูแลสวนทุเรียนหมอนทอง ภายใต้แนวคิด “ลดต้นทุนการผลิตทุเรียน” อาศัยการนำความรู้ในการทำเกษตรแบบเก่าเข้ามาผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อเป้าหมายลดรายจ่ายทั้งในส่วนของปุ๋ยบำรุงต้น และยารักษาโรค ซึ่งนับเป็นรายจ่ายหลักที่ชาวสวนทุเรียนจะต้องพบเจอ

คุณพงษ์ศักดิ์ บอกเล่าเรื่องราวของตนเองอย่างอารมณ์ดีว่า ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนทุเรียนอย่างเต็มตัวนั้น เดิมทีได้ทำงานอยู่ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ตำแหน่ง IT Support เนื่องจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภายหลังจากทำงานมาได้ระยะหนึ่งจึงเกิดความเบื่อหน่าย หมดความท้าทายกับการใช้ชีวิตในเมืองกรุง จึงได้ตัดสินใจลาออกกลับมาทำสวนทุเรียนต่อจากบิดา (คุณพนนท์ ผลมรุกต์) ในตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นถิ่นพำนักในปัจจุบันนั่นเอง

โดยสวนทุเรียนแปลงนี้ มีเนื้อที่กว่า 30 ไร่ มีทุเรียนหมอนทอง ประมาณ 250 ต้น ก่อนหน้านี้มีการนำกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเข้ามาปลูก แต่ภายหลังราคากาแฟค่อนข้างจะไม่แน่นอน จึงได้มีการนำทุเรียนพันธุ์หมอนทองเข้าไปปลูกร่วมด้วย ผนวกกับในระยะหลังต้นกาแฟเริ่มแก่และทุเรียนมีลำต้นขนาดใหญ่จึงได้ตัดโค่นต้นกาแฟออกทั้งหมดคงเหลือไว้แต่ทุเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สำหรับต้นพันธุ์ทุเรียนที่นำมาปลูกจะเลือกใช้ทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน (ทุเรียนเมล็ด) อาศัยหาเมล็ดพันธุ์จากสวนทุเรียนภายในท้องถิ่นมาปลูก โดยทุเรียนบ้านนี้มีคุณสมบัติเด่นทนทานต่อโรคและแมลง เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ อีกทั้งยังถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองจากร้านค้า (ทุเรียนถุง) ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่ากันมาก

ทางด้านกรรมวิธีในการปลูกทุเรียนบ้านนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากการปลูกทุเรียนถุงเท่าไรนัก อีกทั้งผู้ปลูกยังสามารถกำหนดได้ว่า ใน 1 หลุม ต้องการปลูกทุเรียนบ้านจำนวนเท่าไร อาจเลือกปลูก 1-3 ต้น/1 หลุม ในระยะห่างประมาณ 50 เซนติเมตร หรือ ปลูกทุเรียนหมอนทอง 1 ต้น และ ทุเรียนบ้าน 2 ต้น ร่วมอยู่ในหลุมเดียวกัน แล้วจึงคัดต้นพันธุ์อีกครั้งในตอนโต เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากมีทุเรียนต้นใดต้นหนึ่งตายก็ยังคงมีทุเรียนเหลืออีก ไม่ต้องเสียเวลามานับหนึ่งปลูกใหม่กันอีกครั้ง

ส่วนระยะปลูกในแปลงนี้ เนื่องจากเป็นสวนทุเรียนเก่า จึงใช้ระยะปลูกอยู่ที่ประมาณ 8 เมตร แต่ในปัจจุบันมีการเสริมต้นทุเรียนเข้าไป อยู่ในระยะห่าง 4 เมตร/ต้น เรียกว่า “ปลูกระยะชิด” เมื่อยอดทุเรียนมาชนกัน จึงตัดแต่งออกซึ่งข้อดีของการปลูกในระยะชิดนี้จะช่วยให้ปลูกทุเรียนได้ในจำนวนมาก ส่วนพื้นที่ตรงกลางระหว่างแถวก็เว้นไว้เพื่อให้สามารถนำเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยในการให้ปุ๋ย หรือจัดการสิ่งต่างๆ ภายในแปลงได้

เสริมขา เพิ่มความแกร่งให้กับทุเรียนเล็ก
คุณพงษ์ศักดิ์ เลือกใช้วิธีเสริมขาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหาอาหารให้แก่ต้นทุเรียนเล็ก โดยการทาบกิ่งในลักษณะนี้ภาษาชาวสวนจะเรียกกันว่า ทุเรียน 3 ขา มีข้อดี คือ ต้นทุเรียนบ้านทั้ง 2 ต้น ที่มีความแข็งแรงจะช่วยในการหาอาหารเสริมให้แก่ทุเรียนหมอนทอง 1 ต้น จนส่งผลให้ลำต้นมีความสมบูรณ์และต้านทานโรคได้มากกว่าทุเรียนหมอนทองที่มีการเพาะเสียบยอดในถุง

คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับต้นทุเรียนบ้านและทุเรียนหมอนทองที่เหมาะแก่การเสริมขานั้น จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ความสูงโดยเฉลี่ยควรอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน หรือสูงไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ส่วนกรรมวิธีในการเสริมขาก็ไม่ได้ยากเท่าไรนัก ให้โน้มกิ่งทุเรียนบ้านเข้าหาต้นทุเรียนหมอนทองก่อนจะปาดผิวในบริเวณที่ต้องการทาบ แล้วจึงรวบเข้าหากัน ใช้สก๊อตเทปใสพันโดยรอบเอาไว้ ในขณะที่ทาบกิ่ง มีดที่ใช้จะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อโรคที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราขึ้นตามมาได้

นอกจากวิธีการเสริมขาต้นทุเรียนแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลี่ยงมาใช้วิธีการปลูกทุเรียนบ้านเพียงต้นเดียวก่อนปล่อยไว้ให้มีอายุอยู่ในระหว่างช่วง 2-3 ปี แล้วจึงเสียบด้วยยอดทุเรียนหมอนทองได้อีกเช่นกัน โดยที่สวนจะเลือกใช้วิธีการเสียบด้านข้างแทนที่การเสียบยอดจากด้านบน ซึ่งข้อดีของการเลือกใช้วิธีการนี้ จะทำให้สามารถเลือกเสียบยอดพันธุ์ทุเรียนได้หลายสายพันธุ์ตามความต้องการของผู้ปลูก อย่างไรก็ตาม การเลือกวันเสียบยอดทุเรียนภายในแปลงจะต้องเลือกวันที่ท้องฟ้าปิด อากาศมืดครึ้ม ไม่ร้อนมากจนเกินไป จะส่งผลให้มีโอกาสที่จะเสียบยอดติดมากกว่าในวันที่มีอากาศร้อนจัด

สำหรับวิธีการเสียบด้านข้าง ให้กรีดควั่นเปลือกบริเวณด้านข้างของลำต้นทุเรียนบ้านด้านใดด้านหนึ่งออก แล้วจึงกรีดให้มีลักษณะเป็นรอยบาก ก่อนจะนำยอดทุเรียนหมอนทองที่มีลักษณะอวบอ้วนสมบูรณ์นำมาปาดให้เป็นลิ่มเสียบข้างเข้ากับต้นทุเรียนบ้าน แล้วจึงใช้สก๊อตเทปใสพันบริเวณที่เสียบ จากด้านล่างขึ้นมาด้านบน โดยเว้นระยะห่างจากด้านล่างสุดที่เสียบยอดเอาไว้ ขึ้นมาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อระบายอากาศและไอน้ำ เนื่องจากบริเวณที่พันสก๊อตเทปจะเกิดการควบแน่นและคายน้ำออกมา หากพันปิดทึบทั้งหมดยอดที่เสียบอาจเน่าได้

ภายหลังจากการเสียบยอด ต้องปล่อยทิ้งไว้อีกประมาณ 15-20 วัน ยอดของทุเรียนจึงเริ่มติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากพบว่ายอดที่เสียบติดดีแล้ว ให้กรีดสก๊อตเทปที่พันออก โดยให้กรีดในด้านตรงกันข้ามกับด้านที่เสียบยอดเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดที่เสียบได้รับความเสียหายจากคมมีด และปล่อยไว้ให้คลี่ออกทีละน้อย จนได้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะพบว่า ยอดที่เสียบไว้จะเริ่มแตกใบอ่อน ให้ตัดยอดต้นทุเรียนบ้านด้านบนทิ้ง โดยเว้นระยะห่างเหนือยอดหมอนทองที่เสียบเอาไว้ ประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้น ต้นทุเรียนจะโตขึ้นเรื่อยๆ ต้องใช้ไม้ดาม คอยช่วยพยุงลำต้นให้อยู่ในลักษณะตรง ซึ่งจะกินระยะเวลาอยู่ประมาณ 1 ปี เมื่อครบกำหนดจึงตัดยอดต้นตอทุเรียนบ้านที่เหลืออยู่ออกทั้งหมด เพราะเมื่อต้นพันธุ์ที่เสียบไว้โต เนื้อไม้จะเข้าไปห่อหุ้มปิดส่วนปลายสุดของต้นตอทั้งหมดเอง

เผยเทคนิคป้องกันเชื้อราภายในสวนทุเรียน
คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ในช่วง 1-2 ปีแรก ให้เน้นใส่ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหน้าสูง เพื่อเร่งให้ต้นทุเรียนโต จำพวก 18-4-5 ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสานกับการฉีดปุ๋ยทางใบ สูตรที่มีตัวหน้าสูง 30-20-10 ฉีดควบคู่กันไปกับยาเชื้อรา และยาฆ่าแมลงอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน ซึ่งจะพบการระบาดมาก ส่วนในกรณีที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกใส่ทุเรียนเล็ก ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ และควรใส่ในวงนอกรัศมีใบ หากใส่มากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการที่ทุเรียนยืนต้นตายได้ ด้านการให้น้ำก็ต้องอาศัยการสังเกตที่ใบและโคนต้น หากแล้งมากก็จะให้น้ำมาก 3 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ไม่ได้มีการกำหนดอย่างตายตัว

เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปีที่ 3 ขณะทุเรียนมีการแตกใบอ่อน อาจมีการเพิ่มปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 ใส่ครั้งละประมาณ 2 กำมือ ผสานกับการฉีดปุ๋ยทางใบร่วมด้วย สลับกับการให้น้ำตามปกติ แต่จะเน้นหนักไปที่การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาเข้ามาปรับใช้ช่วยในการป้องกันเชื้อราภายในสวน ซึ่งจะมีมากในช่วงหน้าฝน โดยระยะเวลาในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะกินระยะเวลาประมาณ 7 วัน ชาวสวนจะต้องคอยฟังการพยากรณ์อากาศว่า ในช่วงใดที่ฝนตกหนักแล้วผลิตก่อนหน้านั้นเพื่อใช้ราดให้ทันในช่วงฝนตก

ที่สวนทุเรียนแห่งนี้ จะมีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) ที่ผ่านกรรมวิธีบ่มเชื้อเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 กิโลกรัม มาละลายน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้เหลือแต่น้ำเชื้อราเพียงอย่างเดียว ก่อนจะนำน้ำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ได้มาผสมเข้ากับน้ำสะอาด ปริมาณ 200 ลิตร คนให้เข้ากันก่อน ใช้ฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วโคนทุเรียน เพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า (ไฟทอปทอร่า) โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-4 วัน เพราะฉะนั้นหลังผลิตเสร็จควรใช้งานทันที อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาแบบน้ำพร้อมใช้บรรจุขวด ขวดละ 1 ลิตร มาให้เลือกใช้ตามความสะดวก ส่วนในช่วงปีที่ 4 ที่สวนยังคงเน้นใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ใส่ปีละ 2-3 ครั้ง สลับกับปุ๋ยเคมี สูตร 18-4-5 เพิ่มขึ้น ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม/ต้น พร้อมกับฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ในทุกๆ 15 วัน ควบคู่กันไปด้วย

จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงปีที่ 5 ทุเรียนบางต้นที่มีความสมบูรณ์พร้อมออกดอกให้เริ่มเตรียมต้นด้วยกรรมวิธีตัดแต่งกิ่งเพื่อทำยอด ทั้งนี้ควรเลือกตัดแต่งกิ่งแขนงที่ไม่ได้ไว้ลูก หรือกิ่งที่ไม่ได้สัดส่วนออกไป คงเหลือไว้แต่กิ่งที่เหมาะสำหรับการติดลูกแต่เพียงเท่านั้น โดยการตัดแต่งกิ่งนี้ควรเว้นระยะในการตัดกิ่ง ประมาณ 2-3 กิ่ง ต่อการตัด 1 ครั้ง เพื่อให้แสงแดดสามารถที่จะส่องลงมาถึงพื้นด้านล่างได้ และช่วยให้ไม่เกิดเชื้อราต่างๆ เสริมด้วยการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 20-20-20 ต้นละประมาณ 1 กิโลกรัม หากเลือกใช้ปุ๋ยคอก จำพวกขี้ไก่ ขี้วัว หรือขี้หมู จะต้องใส่ประมาณ 1 กระสอบ/ต้น ไม่ควรใส่มากไปกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ต้นอวบและเสี่ยงต่อการเน่าได้ เพราะได้รับไนโตรเจนสูงจนเกินไป

“โชยสาร” เพิ่มอัตราการติดดอก
เมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 เกษตรกรบางรายอาจเริ่มต้นการผลิตทุเรียนนอกฤดู (ทุเรียนทะวาย) ด้วยเหตุผลด้านราคาจำหน่ายที่สูงกว่าการทำทุเรียนตามฤดูกาล แต่คุณพงษ์ศักดิ์ยังคงเลือกที่จะผลิตทุเรียนนอกฤดูเมื่อทุเรียนมีอายุครบ 7 ปี โดยเลือกทำเพียงแค่บางต้นที่มีความสมบูรณ์เท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการที่ทุเรียนยืนต้นตาย

คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ที่สวนแห่งนี้เน้นการผลิตทุเรียนนอกฤดู ซึ่งหากมีการปล่อยให้ทุเรียนออกดอกตามฤดูกาลอาจมีการติดดอกประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แต่ในกรณีที่ใช้วิธีการโชยสารเข้าช่วยอาจส่งผลให้ต้นทุเรียนมีการติดดอกได้ในอัตราที่มาก 80-90 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นในกรณีที่ต้องการทำสารเมื่อทุเรียนมีอายุ 6 ปี ก็สามารถที่จะทำได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องเลือกฉีดสารแพคโคลบิวทราโซลในปริมาณที่น้อยให้เหมาะสมกับทุเรียนในช่วงอายุประมาณ 6 ปี โดยตามปกติแล้ว อาจมีการใช้ในปริมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ลดลงมาเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ไม่ได้เน้นฉีดเต็มที่เหมือนการผลิตทุเรียนนอกฤดูเมื่ออายุต้นทุเรียนครบ 7 ปี

ทั้งนี้ วิธีการโชยสารนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับกรรมวิธีผลิตทุเรียนนอกฤดู แต่จะเน้นหนักไปที่การฉีดสารแพคโคลบิวทราโซลในปริมาณที่น้อยและการตัดแต่งกิ่งเตรียมต้นทุเรียนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยเลือกแต่งกิ่งแขนงขนาดเล็ก และแขนงน้ำค้างออก เพื่อให้แสงแดดส่องถึง รวมถึงฉีดล้างต้น เนื่องจากอาจมีเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ไปฝังอยู่ภายในเนื้อไม้ พร้อมทั้งฉีดสารกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในช่วงระยะนี้

เมื่อฉีดล้างต้นเสร็จ จึงใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมี นำมาใส่เพื่อเร่งยอด อย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง แล้วให้สังเกตยอดของทุเรียนที่จะเริ่มแตกออกมา ซึ่งในแต่ละยอดจะกินระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ต่อ 1 ยอด โดยจะเริ่มฉีดสารแพคโคลบิวทราโซล เมื่อยอดที่ 2 เริ่มแก่ (ใบเพสลาด) ด้วยวิธีการฉีดภายใต้ทรงพุ่ม และนอกทรงพุ่มของใบทุเรียน ภายหลังจากฉีดสารเสร็จแล้วจึงงดให้น้ำอีก ประมาณ 15-20 วัน เพื่อให้ใบเฉาเต็มที่ เปรียบเสมือนการสร้างบรรยากาศให้คล้ายคลึงกับในช่วงหน้าหนาวมากที่สุด เมื่อสังเกตเห็นว่าเริ่มมีตาดอกออกมาแล้ว จึงเริ่มให้น้ำอีกครั้ง และฉีดยาฆ่าเชื้อราบนต้นทุเรียนเพื่อรักษาดอกผสานกับการฉีดธาตุอาหารเสริมเพื่อบำรุงต้นทุเรียน

เมื่อดอกทุเรียนมีการพัฒนาไปเป็นผลที่มีขนาดโตเท่าไข่ไก่แล้ว จึงเริ่มแต่งลูก คัดเฉพาะลูกที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งทุเรียนอายุต้น 6-7 ปี ไม่ควรเอาลูกไว้เกิน 70-80 ลูก/ต้น โดยเว้นระยะห่าง 1 ฟุต/1 ลูก เฉลี่ยแล้วใน 1 กิ่งจะมีประมาณ 5 ลูก หรือขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้แต่งลูก ในระหว่างนี้ควรฉีดธาตุอาหารเสริมเพื่อบำรุงลูกทุเรียน อาทิ ปุ๋ยทางดิน สูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 ผสานกับการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ 25-5-30 ควบคู่กันไปด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนด 110 วัน นับตั้งแต่ทุเรียนออกดอกบานไปจนถึงทุเรียนแก่ตามขั้นตอนการผลิตทุเรียนนอกฤดูแล้ว เกษตรกรก็สามารถที่จะตัดลูกเพื่อจำหน่ายได้โดยเน้นตัดเมื่อผลทุเรียนแก่ได้ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ไม่ปล่อยให้ทุเรียนสุกจนเต็มที่ เพื่อป้องกันทุเรียนเน่าเสียในระหว่างการขนส่ง ส่วนราคาเฉลี่ยของทุเรียนที่ตัดได้ส่วนใหญ่ จะอยู่ในช่วงราคาประมาณ กิโลกรัมละ 100 บาท ขึ้นไป ซึ่งน่าพอใจเป็นอย่างมาก”

เลี้ยงหมูป่า ผลิตปุ๋ยหมัก
นอกจากการผลิตทุเรียนคุณภาพแล้ว คุณพงษ์ศักดิ์ ยังนำวิธีการลดต้นทุนเข้ามาปรับใช้ ด้วยการเลี้ยงหมูป่า (หมูเถื่อน) เพื่อเป็นตัวช่วยในการกำจัดของเสียภายในสวน ซึ่งจะมีทั้งกล้วยหอมและผลทุเรียนที่เน่าเสียจะต้องกำจัดทิ้ง หากปล่อยไว้จะเป็นตัวการให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า หรือเชื้อราขึ้นได้

คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า มีการเลี้ยงหมูป่าเอาไว้ในคอก จำนวน 25-30 ตัว เพื่อเอาไว้กินของเสียภายในสวน ไม่ได้มีการจำหน่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะให้อาหารหมู วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เลือกให้กล้วย หรือทุเรียนในช่วงเช้า แล้วให้อาหารเม็ดในตอนเย็น ภายในคอกหมูจะใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบข้าว ทะลายปาล์มเหลือทิ้งจากโรงเพาะเห็ดและใบทุเรียนนำมารองพื้นคอก เมื่อหมูขับถ่ายของเสียแล้วเหยียบย่ำมูลหมูก็จะไปผสมกับวัสดุรองพื้นที่เตรียมเอาไว้ส่งผลให้ในทุกๆ ปี จะได้ปุ๋ยหมักจากมูลหมูอยู่เป็นประจำ ช่วยให้สามารถลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีบำรุงต้นทุเรียนไปได้อีกช่องทางหนึ่ง

โดยการเก็บมูลหมูจะเก็บในทุกๆ 6 เดือน หรือเมื่อสังเกตเห็นว่ามีจำนวนมูลหมูภายในคอกมากจึงตักออก เมื่อตักมูลหมูออกมาแล้ว จะต้องนำมาวางพักทิ้งไว้ก่อนประมาณ 1 เดือน เพื่อให้แห้ง จึงสามารถนำไปใช้ได้ ทั้งนี้โดยเฉลี่ยแล้วมูลหมูภายในคอกเมื่อตักออกจะได้ปุ๋ยหมักจากมูลหมูอยู่ที่ประมาณ 100 กระสอบ ซึ่งจะนำไปใส่ทั้งทุเรียน ลองกอง ปาล์ม และกล้วย เป็นลำดับต่อไป

นอกจากนี้แล้ว ปัจจุบัน คุณพงษ์ศักดิ์ ยังได้มีการจัดทำหมายเลขไว้ที่ต้นทุเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการสั่งงาน เพียงแค่ระบุหมายเลขต้น คนงานก็สามารถเข้าไปจัดการได้ภายในทันที ไม่ต้องเสียเวลาให้เจ้าของสวนนำไปแต่อย่างใด อีกทั้งยังสะดวกต่อการจัดเก็บข้อมูลว่าในแต่ละต้นมีการให้ผลผลิตในปริมาณเท่าไร มีความสมบูรณ์มากเพียงใด รวมถึงประวัติการเกิดโรคต่างๆ อีกด้วย

คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงผู้สนใจปลูกทุเรียนว่า สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกทุเรียน ปัจจุบันมีสื่อและเทคโนโลยีให้ศึกษาข้อมูลอยู่มาก และสามารถสอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตทุเรียนที่ค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้นจะต้องมีการปลูกพืชชนิดอื่นภายในแปลงเพื่อช่วยหมุนเวียนเสริมรายได้ แทนที่การรอผลผลิตทุเรียน ซึ่งจะได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น

ผมรู้จัก ปริ๊นซ์ – คุณนคร ลิมปคุปตถาวร มานานพอสมควร แวดวงคนรักสุขภาพคงรู้จักเขาในนาม “เจ้าชายผัก” แห่งโครงการสวนผักคนเมือง ผู้ริเริ่มชักชวนผู้คนปลูกผักกินเองอย่างง่ายๆ ทั้งพยายามแผ่ขยายเครือข่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบอินทรีย์อย่างเป็นระบบในวงกว้าง แถมปริ๊นซ์ยังมีพื้นที่ทำนาปลูกพืชสวนอยู่ที่เพชรบูรณ์ ที่ซึ่งเขาได้ทดลองวิธีการปลูกพืชล้ำๆ หลายวิธี ทั้งเกษตรอินทรีย์ และไบโอไดนามิคส์

ล่าสุด วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ตำบลไทรม้า เมืองนนทบุรี เขามาสาธิตอบรมวิธีการเตรียมดินแบบใหม่ ที่เขาเพิ่งค้นพบโดยได้รับคำชี้แนะจากกูรูด้านการเกษตรชาวต่างประเทศ การเตรียมดินที่เรียกได้ว่าดูสุดแสนจะสามัญธรรมดา แต่ทั้งข้าวและพืชผักที่เขาลงแรงปลูก ตลอดจนเคยแบ่งปันให้ผมได้ลองชิมหลายครั้ง ทำให้ผมแทบไม่สงสัยถึงประสิทธิผลของวิธีที่เขาเล่าให้ผู้เข้าร่วมอบรมฟังในวันนั้นแม้แต่น้อย

เลยขอเอามาเล่าสู่กันฟังครับ เพราะมันเป็นวิธีที่ง่ายเหลือเชื่อจริงๆ แถมแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยอีกด้วย เรียกว่านึกจะทำก็แทบจะทำได้ทันทีเลยทีเดียว คำถามเกริ่นเข้าสู่ประเด็นในวันนั้นก็คือ เป้าหมายของการทำเกษตรคืออะไร ตอบง่ายๆ ก็คือเพื่อกินเอง และจำหน่ายเป็นรายได้เลี้ยงชีพ ปริ๊นซ์ เล่าเปรียบเทียบให้ฟังว่า เกษตรกร โดยเฉพาะชาวนามักตั้งเป้าว่า ที่นา 1 ไร่ ต้องได้ผลผลิตข้าว 1 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่แม้ทำได้จริง แต่กลับไม่มีเงินเก็บเลย ต่างจากพวกที่ลองหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ลดค่าใช้จ่ายการใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และจำกัดเวลาทำนาปีละ 2 ครั้ง แม้ผลผลิตน้อยลง แต่กลับมีเงินเหลือ ไม่มีหนี้สิน ดังนั้น มันคงจะมีเงื่อนงำบางอย่างที่บีบบังคับให้เกษตรกรต้องปฏิบัติซ้ำๆ กันเรื่อยมา โดยที่จริงๆ แล้วอาจมีวิธีอื่นที่ได้ผลกว่า

ปริ๊นซ์ บอกว่า ตัวเขาเอง เมื่อก่อนเวลาปลูกผัก ก็คิดถึงเรื่องขนาด ความใหญ่โต โดยเฉพาะผักคะน้า กวางตุ้ง แต่พวกหนอนก็ลงง่ายมากๆ และเมื่อคิดถึงการใช้ฟางคลุมดิน ปัญหาหอยทากก็ตามมา แถมการคลุมฟางนั้น เมื่อจะทำแปลงใหม่ก็ต้องรื้อฟาง รอดินแห้ง มีหลายขั้นตอนซับซ้อนยุ่งยาก

“ทีนี้มีคนมาทัก บอกว่า ไม่ต้องคลุมฟางก็ได้นะ ลองดูสิ เราตอนแรกก็ไม่เชื่อนะ แต่พอทดลองดู ปรากฏว่าผักของเรากลับแข็งแรง ก้านใบตั้ง ดินก็ระบายน้ำดีขึ้น ทีนี้พอเขามาเห็นเราทำปุ๋ยใช้เอง เขาทักอีก ว่าไม่ต้องทำหรอกปุ๋ยหมักน่ะ เสียเวลา” ปริ๊นซ์ เล่าถึงที่มาของการเปลี่ยนพฤติกรรมแบบถอนรากถอนโคน จากคำของ “ซือแป๋” ท่านนั้น

“ทีนี้ผมก็เลยลองเปลี่ยนวิธี คือปล่อยให้หญ้าขึ้นเต็มพื้นที่ไปเลยครับ พอจะทำดิน เราก็ตัดหญ้า ถอนวัชพืชมาแยะๆ สับๆ หั่นๆ วางโปะลงไปบนผิวดินนั้นแหละ ถ้ามีขี้วัวสดด้วยยิ่งดีเลย ขี้ของสัตว์กินพืชใช้ได้หมด ก็ผสมลงไปด้วย แล้วเอาคราดมาซุยๆ ดิน แทงดินให้พรุน เป็นการเพิ่มช่องว่างให้อากาศลงไปในดินได้ดีขึ้น แค่ซุยนะครับ ไม่ต้องไปพลิกดินข้างล่างขึ้นมา ดินพวกนั้นน่ะทั้งแข็งทั้งแน่น ยิ่งเปียกจะยิ่งแน่นมาก เราทำแค่นี้แหละ แล้วรดน้ำให้ชุ่มทั่วถึง รดทุกวันทั้งเช้าเย็น ถ้าวันไหนอากาศชื้น เราอาจรดแต่ช่วงเย็นก็พอ ไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มกับดินตรงนี้อีกเลยนะครับ รดน้ำอย่างเดียวพอ”

ด้วยวิธีที่ธรรมดาสามัญจนถึงขั้นแปลกประหลาดนี้ ปริ๊นซ์ บอกว่า ภายใน 1 เดือน ดินจะเข้าสู่กระบวนการ “บ่ม” จุลินทรีย์ในดินจะกิน ถ่าย ย่อยสลายเศษวัชพืชให้กลายเป็นฮิวมัสที่มีลักษณะเหมือนเจลสีดำ มันจะเคลือบดินให้มีความชื้น เย็น แต่ไม่เหนียวติดมือ และมีลักษณะโปร่ง แม้ในช่วงฤดูฝน

มีผู้ถามว่า ไม่ต้องทำอะไรเลยจริงๆ หรือ สมัครเว็บแทงบอล แม้แต่พรวนดินก็ไม่ต้องเลยหรือ คำตอบก็คือไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ในระหว่าง 1 เดือน ที่จุลินทรีย์ทำงานย่อยสลายอยู่นั้น มันจะมีทั้งความร้อนและปฏิกิริยาอื่นๆ ในดิน ที่ทำให้ทั้งหญ้าและวัชพืชไม่สามารถงอกได้อยู่แล้ว

“เราต้องรอให้ปฏิกิริยาการหมักดินดำเนินไปจนจบสิ้นกระบวนการ ถึงจะใช้ปลูกพืชได้ คือใช้มือเปล่าจับสัมผัสดูครับ ถ้ามีลักษณะร่วน ชื้น เย็น ไม่ติดมืออย่างที่ว่า ก็เรียกว่าเป็นดินที่สมบูรณ์ ใช้ได้แล้ว”

คำแนะนำของปริ๊นซ์ต่อเกษตรกรที่เปิดพื้นที่กว้าง คือปลูกปอเทือง และปล่อยให้มีวัชพืชอื่นในพื้นที่มากๆ ทางที่ดีควรมีมากกว่า 30 ชนิดขึ้นไป จากนั้นไถกลบ ลงผาลตื้นๆ คือเพียงกรีดดินและลากผ่านเท่านั้น

ข้อดีของการเตรียมดินแบบนี้ก็คือ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถจัดการเวลา วางแผนงานอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะการเพาะกล้าไม้ ปริ๊นซ์ บอกว่า วิธีปลูกพืชให้มีความแข็งแรง ก็คือให้พืชต้องใช้ความพยายามเองในการอยู่รอดตั้งแต่ยังเล็กๆ

“เพาะกล้าไม้ทำแบบง่ายๆ โดยทำกระบะไม้หรือโลหะ ผสมวัสดุที่มีดินก้ามปู มูลไส้เดือน ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว ทั้งหมดนี้เอามาร่อนตะแกรง เติมน้ำ แล้วคนจนกระทั่งเนียนดี แซะแบ่งเป็นก้อนๆ สี่เหลี่ยมหนาแบบขนม เวลาปลูกก็กดหลุม หยอดเมล็ด กลบปิด จากที่เคยทำมา แค่ 2 สัปดาห์ รากพืชจะแข็งแรงดี มีรากขนอ่อนฝอยจำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซึมกรดอะมิโนหลายชนิดในดินไปใช้ได้มากกว่า ถ้าหากพืชได้ใช้พลังในการต่อสู้เพื่อเติบโตในช่วงแรกๆ มันจะแข็งแรง เมื่อโตขึ้นมา แล้วเอาลงปลูกในดินที่เราเตรียมไว้อย่างดีแล้ว ต่อไปก็แค่รดน้ำ พรวนดินเท่านั้น”

ปริ๊นซ์ บอกว่า ความแตกต่างจะเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับพืชที่ปลูกแบบปกติ เช่น ใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักดูแลสภาพ เมื่ออากาศเปลี่ยน มันจะเกิดโรคและโทรมทันที เนื่องจากไม่แข็งแรง ถ้าหากปลูกในดินที่เตรียมมาดี ต้นแข็งแรง ก็เพียงให้น้ำอย่างเหมาะสม พรวนดินเพียงแต่ซุยตื้นๆ พอให้มีช่องว่างเท่านั้น

“เงื่อนไขอื่นๆ ที่จะทำให้ดินของเราอุดมสมบูรณ์ตลอดไป นอกจากที่เราจะไถกลบ รดน้ำ บ่มดินแบบนี้เมื่อพบว่ามันเริ่มไม่ร่วนซุยเท่าช่วงแรกๆ ก็คือเราควรปลูกพืชไม่ให้ซ้ำชนิดกันเกินไป หมุนเวียนปลูกพืชลงหัวบ้าง พืชใบ พืชดอกบ้าง โดยเฉพาะพวกถั่ว ที่จะมีธาตุอาหารในอากาศสะสมอยู่ที่ปมปลายราก ดินที่ดีคือมีอากาศหมุนเวียนจากการซุยพรวน มีรากพืช และไส้เดือนอยู่ได้”