อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ย้ำมาตรการกำจัดหนอนหัวดำ

มะพร้าวให้สิ้นซากนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ด้วยวิธีผสมผสานแบบครอบคลุมพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาดของศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในมะพร้าวอย่างเร่งด่วน ในพื้นที่ที่พบการระบาด 29 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร นนทบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม เพชรบุรี สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด อุดรธานี สงขลา สตูล นราธิวาส บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และปัตตานี รวมพื้นที่ดำเนินการ 78,954 ไร่

สำหรับมาตรการในการแก้ไขปัญหาศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในครั้งนี้ จะใช้วิธีการแบบผสมผสาน คือ การรณรงค์ตัดทางใบมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำทำลายแล้วนำมาเผา เพื่อทำลายแหล่งอาศัยของศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ร่วมกับการปล่อยแตนเบียนบราคอนในสวนมะพร้าวเพื่อลดปริมาณศัตรูพืชและรักษาสมดุลในธรรมชาติ

จากนั้นใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นในมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร หรือพ่นสารเคมีทางใบในมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร ซึ่งการดำเนินมาตรการต่างๆ เหล่านี้ต้องดำเนินการแบบครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างพร้อมเพรียงกันและทำอย่างต่อเนื่อง

ฉะนั้นจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สำคัญคือตัวเกษตรกร และเจ้าของที่ดินที่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูมะพร้าว นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบให้ใช้มาตรการทางกฎหมายในการประกาศเขตควบคุมพื้นที่ระบาดในกรณีที่เจ้าของไม่ยินยอมหรือมีปัญหาในการดำเนินการ เพื่อให้ภาครัฐสามารถเข้าไปจัดการกับศัตรูพืชได้

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำจัดศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ในมะพร้าว ต้องกำจัดให้สิ้นซากเพื่อตัดวงจรและลดจำนวนประชากรศัตรูมะพร้าว (หนอนหัวดำ) ให้หมดไป ตามเจตนารมณ์ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า

…หนอนหัวดำต้องไม่มีที่ยืนในประเทศไทย เนื่องจากการทำลายของหนอนหัวดำ ทำให้ผลผลิตมะพร้าวลดลง ส่งผลถึงรายได้ของเกษตรกร และกระทบต่อเศรษฐกิจในภาครวมของประเทศด้วย ทั้งยังต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการจำนวนมาก จึงต้องจัดการให้เด็ดขาด เพื่อแก้ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างยั่งยืน…

จากเหตุการณ์สลดที่ต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่อาคารอัลม่าลิ้งค์บริเวณถนนชิดลมล้มพาดเข้าใส่สายสื่อสารทำให้เสาไฟฟ้าในบริเวณดังกล่าวล้มลงจำนวน 8 ตัน และล้มทับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รายหนึ่งเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา และยังมีผู้บาดเจ็บอีก 2 ราย

โดยเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้ระบุว่า ต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นไม้ในตระกูลต้นไทร มีความสูง 4 เมตร และรากแก้วที่ใช้ยึดลำต้นตายทั้งรากไปจนถึงโคนต้น มีเพียงรากแขนงที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2-4 เซนติเมตร ลึกจากพื้นดิน 50-60 เซนติเมตรเท่านั้น ประกอบกับดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินเหียวปนทราย จึงอุ้มน้ำไว้เยอะ เมื่อเกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน จึงมีความชื้นสูงมาก ส่งผลให้การยึดตัวของรากไม่แข็งแรง รากไม่ขยายออก เมื่อลำต้นโยกและเกิดฝนตกทำให้รากรับน้ำหนักไม่ไหวจนต้นล้มลงมา

เหตุการณ์ “ต้นไม้ล้ม” กลางเมืองนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก หลายคนคงต้องเคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์ดังกล่าว แม้กระทั่งในต่างประเทศเอง ก็มักมีข่าวมาอยู่บ่อยๆ ว่าเกิดต้นไม้ล้มเข้าใส่ถนนหรือบ้านคน เนื่องจากฝนตกหนักและลมแรง จนทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต

อย่างเช่นเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ชาวเทลฟอร์ด อังกฤษ กว่า 900 หลังคาเรือนต้องไม่มีไฟฟ้าใช้ไปชั่วขณะ เนื่องจากต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มและพาดไปโดนสายไฟฟ้า ทำให้การไฟฟ้าต้องระงับการจ่ายไฟเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งถึงแม้จะโชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่รถและบ้านเรือนที่อยู่บริเวณนั้นก็ยังได้รับความเสียหายไปด้วย

ประเด็นดังกล่าวเป็นที่พูดถึงไปทั่วโดยเฉพาะเรื่องของการปลูกต้นไม้ในเมืองว่าจะทำอย่างไรให้ไม่ล้มและสามารถอยู่ไปได้อย่างยาวนานโดยบทความจากต่างประเทศพูดถึงการปลูกต้นไม้นิมถนนไว้ว่า”น่าเสียดายที่ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ริมถนนนั้นถูกปลูกในพื้นที่จำกัดของการแผ่ขยายของรากทำให้พวกมันมักจะมีสุขภาพดีน้อยกว่าต้นไม้ที่ปลูกในภูมิทัศน์อื่นๆเนื่องจากความเครียดด้านสิ่งแวดล้อม (อย่างเช่น ปริมาณดินน้อย, ดินคุณภาพต่ำ เป็นต้น) ซึ่งทำให้รากไม่สามารถแพร่กระจายได้อย่างสมดุล จนนำไปสู่การสูญเสียรากและต้นไม้ล้มในที่สุด”

คราวนี้เราลองมาดูคำแนะนำจากต่างประเทศสำหรับการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน,ถนน,ทางเดินแบบไม่ให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุ

เริ่มต้นจากบริเวณของสถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆที่แต่ละบริเวณก็จะมีลักษณะของดินแตกต่างกันออกไปดังนั้นในการปลูกต้นไม้อาจจะต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือรุกขกรก่อนว่าต้นไม้ดังกล่าวเหมาะสมกับดินที่จะปลูกหรือไม่ หรือมีรูปทรงอย่างไรเมื่อมีขนาดใหญ่ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดก็คือ “ราก” เพราะเรียกได้ว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของต้นไม้ รากมีหน้าที่ในการดูดน้ำและสารอาหาร และสำหรับ “รากแก้ว” แล้ว จะเกิดขึ้นเมื่อเมล็ดงอก ทอดลงดิน และช่วยยึดให้ต้นอ่อนตั้งอยู่ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่รากอื่นๆ จะแตกออกมาภายหลัง ซึ่งเมื่อต้นไม้เริ่มโตขึ้น รากก็เริ่มแผ่ออกด้านข้าง ส่วนความลึกนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในดิน และส่วนประกอบของดิน รากที่แผ่ออกไปด้านข้างจึงเข้ามามีบทบาทในการยึดเกาะดินไม่ให้ต้นไม้ล้ม

โดยในบทความจากต่างประเทศได้แนะนำวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ระบบรากสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างหรือเป็นแนวปลอดภัยของการปลูกต้นไม้ให้ต้นไม้มีสุขภาพดีเรียกว่า “โซนป้องกันราก” Protected RootZone (PRZ) หนึ่งในวิธีที่เป็นที่รู้กันดีคือการแผ่กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ซึ่งบริเวณที่โซนป้องกันราก ก็คือแนวกิ่งก้านสาขาที่แผ่ออกไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม รากบางส่วนก็ยังยาวออกไปมากกว่ากิ่งที่ยาวที่สุดเสียอีก ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีขยายพื้นที่โซนป้องกันรากออกไปอีก ด้วยการคำนวณโซนป้องกันรากจากค่า critical root radius โดยคูณเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นที่ความสูงระดับอก (ในหน่วยนิ้ว) เข้ากับ 1 หรือ 1.5 (ใช้ 1.5 เมื่อเป็นต้นไม้แก่มาก หรือต้นไม้ป่วย) นำผลลัพธ์ที่ได้คูณสอง ก็จะออกมาเป็นระยะของโซนป้องกันราก

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลต้นไม้ขนาดใหญ่ให้อยู่ไปได้นานๆเท่านั้นแต่ยังมีวิธีอื่นๆที่จะช่วยดูแลต้นไม้ใหญ่เหล่านี้จึงขึ้นอยู่กับผู้ปลูกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ควรจะต้องหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียขึ้นอีก

ธนาคารกลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1 ขยายตัว 5.6% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 2 ปี โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออก รวมทั้งการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนที่แข็งแกร่งขึ้น

พบแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใหม่ “คลองบ้านด่านโลด” จัดว่าเป็นเพชรเม็ดงาม ปราศจากการเจียระไน เนรมิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์เชิงนิเวศ ลำคลองสัตว์น้ำสมบูรณ์ 2 ฝั่งคลองมีพืชผักกินได้ มีต้นไม้หายาก เรียงรายด้วย มัสยิด วัด จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวฮาลาล พร้อมศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน

คุณทวีศักดิ์ ทักษิณาวานิชย์ อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลควนเสาธง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ในฐานะประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติบ้านด่านโลด ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า กลุ่มเยาวชนจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติขึ้น และศึกษาแหล่งท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางน้ำคลองสายบ้านด่านโลด หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์จากต้นน้ำเทือกเขาบรรทัด เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

คลองบ้านด่านโลด มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ต้นทางจากบริเวณบ้านควนอินนอโม หมู่ที่ 7 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด สุดปลายน้ำที่บ้านแม่ขรี ตำบลแม่ขรี มีความกว้าง 60 เมตร น้ำลึกประมาณ 1-2 เมตร มีน้ำไหลและลึกตลอดทั้งปี จึงมีการศึกษาค้นหา และได้จัดตั้งขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทางน้ำ ทั้งฝั่งคลองมีต้นไม้หายาก เช่น ต้นคล้าย หรือดอกซากุระเมืองไทย ยามออกดอกงดงามอย่างยิ่ง ต้นจิก ต้นข่อย และกล้วยไม้ ฯลฯ และยังมีพืชผักเป็นอาหารสวนครัว เช่น ผักกูด ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีสัตว์น้ำที่สมบูรณ์ กุ้ง หอย ปู ปลา เช่น ปลากด ปลาโสด ปลาหลวน และกุ้งก้ามกราม ล้วนแต่เป็นสัตว์น้ำราคาสูง มีราคาตามฤดูกาล

คุณทวีศักดิ์ เล่าอีกว่า ทางชมรมได้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและอนุรักษ์ไว้ พร้อมไว้ศึกษาเรียนรู้ โดยได้จัดเรือแคนนูไว้รองรับ ประมาณ 20 ลำ ไว้บริการ ซึ่งล่องแก่งผ่านชุมชนบ้านด่านโลด บ้านทุ่งเหรียง บ้านควนปาบ จรดปลายทางที่บ้านแม่ขรี ระหว่างริมคลองมีมัสยิดและวัด สามารถทำพิธีทางศสานาได้

“ยังมีศูนย์เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ทางด้านประมง ปศุสัตว์ และการเกษตร เช่น กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มเลี้ยงวัวพื้นบ้าน โคขุน และวัวชน กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มปลูกผัก สวนผลไม้ และสวนยาง กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองปด กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง สายใยรักแห่งครอบครัว” คุณทวีศักดิ์ กล่าว

คลองบ้านด่านโลด อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม ถนนยาวหลักที่การคมนาคมผ่านสู่ทุกจุดทั่วประเทศไทย ห่างจากถนนประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 30 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมือง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประมาณ 50 กิโลเมตร ส่วนสถานที่พักมีความพร้อม ทั้งโฮมสเตย์ รีสอร์ต โรงแรม ทั้งของประชาชน และในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ทั้งนี้ ยังความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงศาสนา วัฒนธรรม 2 ศาสนา มีมัสยิดและวัด สามารถทำพิธีทางศาสนาได้ สำหรับชาวมุสลิมมีความพร้อมที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวฮาลาล ความพร้อมของอาหารทั้งอาหารพื้นบ้าน ความพร้อมเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

“คลองบ้านด่านโลด เป็นเพชรเม็ดงาม ที่ปราศจากการเจียระไน ขณะอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และอนุรักษ์ เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ การทำมาหากิน ทั้งด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ของกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้มีประชาชนเป็นจำนวนมาก ให้การตอบรับเกินความคาดหมาย แต่ทางชมรมจะทยอยดำเนินการอย่างรอบคอบมั่งคงและยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์สืบทอดกันไปถึงคนรุ่นหลัง แนวโน้มเมื่อเกิดความเข้มแข็ง ความพร้อม ที่จะสามารถรับและบริการนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ที่สามารถบริการ เช่น อาหารพื้นบ้าน โฮมสเตย์ รีสอร์ต สินค้าพื้นเมือง พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ จะก่อให้เกิดแรงงานและรายได้เข้าสู่ชุมชนและจังหวัด” คุณทวีศักดิ์ กล่าวในที่สุด

ยังคง…แชร์วนไป และเวียนกลับมาให้อ่านกันอยู่ทุกปี

ประเด็นที่อยู่ในตำนานของการแชร์มั่ว คือ “มะนาวโซดา” ที่ยิ่งส่งต่อเท่าไหร่ก็ยิ่งมีอิทธิฤทธิ์มากขึ้นเท่านั้น กล่าวอ้างกันว่าสามารถ “ฆ่าเซลล์มะเร็ง” ได้ผลดีกว่าการทำคีโมถึง 10,000 เท่า ไม่มีผลข้างเคียงอีกต่างหาก

และยังมโนต่อไปถึงขนาดบอกว่า ความวิเศษนี้ถูกปิดลับจากหน่วยงานระดับชาติเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน อาจทำให้บริษัทยาสูญเสียรายได้มหาศาล นอกจากยังมีการอวดอ้างว่า กรดซิตริกและโพลีฟีนในน้ำมะนาวช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดดำ ปรับสมดุลของการหมุนเวียนของเลือด

แม้กระทั่ง มะนาวเมื่อมาผนึกกำลังกับเกลือ ใช้ถูหน้าผาก ยังบันดาลให้โรคไมเกรนบรรเทาเบาบางลงได้อีก

เป็นความเชื่อผิดๆ ที่มีการแชร์ไปโดยที่ไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

ล่าสุดไม่เพียงการขยายแนวร่วมเข้าไปกระจายกันอยู่ในไลน์กลุ่มผู้สูงอายุ ความมหัศจรรย์ของมะนาวในการรักษาสารพัดโรคยังระบาดข้ามฝั่งโขงไปยังประเทศลาว

ทำไม “มะนาว” จึงกลายเป็นพืชวิเศษ สามารถดลบันดาลให้โรคร้ายของคนพอศอนี้หายได้ราวกับเนรมิต ผศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ รองผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมะนาวโซดารักษาโรคมะเร็งได้ มาจากการจับแพะชนแกะ โดยก่อนหน้านี้มีงานวิจัยจากต่างประเทศพูดถึง “เบคกิ้งโซดา” หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ใช้รักษาคนไข้มะเร็งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน คือการทำคีโม

“โซเดียมไบคาร์บอเนต ไม่ได้ช่วยให้หายจากมะเร็งแต่อย่างใด”

ผศ.ดร.เอกราช บอกและอธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าจะมีงานวิจัยกล่าวถึงสภาวะความเป็นด่างทำให้ขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง แต่การหยิบเอามะนาว ซึ่งมีฤทธิ์ในการปรับสมดุลร่างกายให้เป็นด่างนั้น เมื่อนำมาผสมกับโซดา ที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไม่ได้ทำให้เกิดสภาวะด่าง และไม่ได้ช่วยรักษามะเร็ง

“มะนาว ถ้าใช้ปกติ เช่น ผสมน้ำอุ่น-ดื่ม เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีวิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ฯลฯ แต่ถ้าดื่มเพียวๆ ไม่แนะนำ เพราะมีความเป็นกรดสูง ยิ่งถ้าทำเป็นประจำจะทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือเป็นกรดไหลย้อน เป็นอันตรายได้”

ส่วนในกรณีที่นำมะนาวและเกลือถูหน้าผากบรรเทาอาการปวดไมเกรนนั้น รอง ผอ.สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล อมยิ้มแล้วอธิบายว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ไมเกรนเป็นเรื่องของความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ถ้าถูๆ แล้วได้กลิ่นหอมจากมะนาวแล้วคลายเครียดก็พอเป็นได้

“เวลารับข่าวสารควรเช็กความถูกต้องก่อนแชร์ เพราะจากความปรารถนาดีอาจให้ผลร้ายตามมา เช่น กรณีที่มีการแชร์กันว่า ดื่มน้ำมะนาวมากๆ ทำให้กระเพาะอาหารเลือดออก อาเจียนเป็นเลือด ก็ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะในกระเพาะอาหารมีเยื่อเมือกที่ป้องกันความเป็นกรดได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าดื่มอย่างเข้มข้นทุกวันอาจเกิดการระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้กระเพาะทะลุ”

และว่า ประเด็นชวนเชื่อเช่นนี้มีเข้ามาเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 2 เรื่อง เป็นเรื่องที่แชร์กันโดยไม่มีการตรวจสอบ บ้างมีการแปลงสาร จึงอยากให้รับข้อมูลข่าวสารด้วยความพินิจพิจารณา

ให้ความรู้ต้นทาง ลดเหยื่อโซเชียล

จากนักวิชาการ มาฟังความเห็นของผู้ที่เป็นหนึ่งแรงในการขับเคลื่อนให้มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรอย่างลุ่มลึก สร้างเป็นหลักสูตรสอนในสถาบันการศึกษา รวมทั้งผลักดันให้เกิดเภสัชกรทางด้านสมุนไพร เพื่อให้ความรู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรในทางการรักษาและดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง รศ. (พิเศษ) กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ที่ปรึกษาสภาเภสัชกรรม ซึ่งรับผิดชอบการพัฒนาสมรรถนะของเภสัชกรในด้านสมุนไพร ให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจุบันด้วยโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญ มีการโฆษณาชวนเชื่อมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้สมุนไพร การสร้างองค์ความรู้ด้านสมุนไพรที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็น

“จริงๆ เกี่ยวกับสมุนไพรเรามีภูมิปัญญาอยู่แล้วว่าใช้รักษาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่หลายตัวยังไม่มีการพิสูจน์ว่าใช้ได้จริงแค่ไหน และถ้าจะให้ได้ผลต้องใช้ในปริมาณเท่าไร ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะสามารถนำความรู้นี้ไปเผยแพร่ได้ เราจึงอยากให้มีเภสัชกรเพื่อพัฒนาตำรับเหล่านี้ในการใช้อย่างมีคุณภาพ” ด้วยเหตุนี้เมื่อ มูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เปิดให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านเภสัชกรรม เพื่อสืบสานปณิธานต่อจากอาจารย์เกษม ผู้ได้สร้างคุณูปการต่อวิชาชีพเภสัชศาสตร์ ทางสภาเภสัชกรรมจึงเสนอขอรับการสนับสนุนโครงการงานประชุมวิชาการด้านสมุนไพร 1 ทุน จำนวน 200,000 บาท (จากทั้งหมดที่มีการมอบทุนในปีนี้รวม 6 ทุน)

“ทุนที่ได้เรานำไปอบรมเภสัชกรที่ทำงานอยู่ ซึ่งหลายคนทำงานอยู่ในโรงพยาบาลก็ทำเรื่องสมุนไพรเพื่อจะนำมาพัฒนาในเชิงองค์ความรู้ให้ชัดเจน เพราะตอนนี้สิ่งสำคัญคือ แพทย์ทั่วไปก็ยังไม่ค่อยให้ความสนใจด้านสมุนไพร การใช้สมุนไพรจึงไม่ค่อยแพร่หลายเท่าที่ควร ซึ่งถ้าเภสัชกรมีความรู้จะได้ไปกระตุ้นแพทย์ แล้วทำงานร่วมกันสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มาทดแทนยาแผนปัจจุบันได้บ้าง” รศ. (พิเศษ) กิตติ บอกและว่า

แม้ว่าปัจจุบันจะมีสมุนไพรที่ได้รับการจดทะเบียนอยู่ในบัญชียาหลักมากกว่า 20 ชนิด แต่พูดถึงการศึกษาวิจัยสมุนไพรโดยตรง ยังไม่มี ทางด้านเภสัชศาสตร์เกี่ยวข้องอยู่บ้าง แต่ประเมินแล้วยังไม่เพียงพอ เพราะมีทั้งที่เป็นแผนโบราณ และส่วนที่เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบัน เราจึงคิดว่าจะต้องสร้าง “เภสัชกร” ขึ้นมาช่วยดูแล เพื่อพัฒนาส่วนที่เป็นแผนปัจจุบันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

“ปัจจุบันมีเภสัชกรที่ดูแลตรงนี้ แต่เรายังไม่มีที่ศึกษาด้านสมุนไพรเพื่อมารองรับโดยตรง เป็นการศึกษาเพิ่มเติมเหมือนโรงพยาบาลอภัยภูเบศรที่ศึกษาไปเรื่อยๆ เราต้องการสร้างเภสัชกรด้านสมุนไพรเพื่อเป็นมาตรฐานของคนที่สนใจด้านสมุนไพร โดยสร้างเป็นหลักสูตร เราต้องการในเรื่องของการพัฒนาเชิงนวัตกรรมของยาใหม่ๆ”

สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คือเอาสมุนไพรมาทดแทนแผนปัจจุบัน เอาไปรักษาเอาไปดูแลผู้ป่วย ในสถาบันการศึกษาก็เป็นเรื่องของการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างองค์ความรู้สำหรับใช้อบรมที่โรงพยาบาล อบรมเภสัชกรที่เกี่ยวข้องที่ทำงานในโรงพยาบาล ซึ่งเราอบรมมา 2 หลักสูตรแล้ว รวมทั้งเภสัชสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ต้องดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย เพราะตอนนั้นสมุนไพรก็มีเรื่องของการโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก

จากทางเลือก สู่ทางรอด

รศ. (พิเศษ) กิตติ บอกอีกว่า ถ้าให้ประเมินการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ยอมรับว่ามีไม่มาก

แม้เรามีตัวยาหลายตัวที่ชัดเจน แต่ยังไม่มีการสรุปอะไรชัดเจน อย่าง ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ การใช้ยังไม่ชัดเจน เพราะบางทีแพทย์ยังไม่เข้าใจก็ยังไม่กล้าสั่งใช้ แพทย์แผนไทยก็มีน้อยมาก

การที่มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพราะเป็นพืชจากธรรมชาติ อันตรายน้อยกว่าสารเคมี และไม่มีผลข้างเคียง อย่าง ขมิ้นชัน แทนยาลดกรดได้ ฟ้าทะลายโจร ใช้เวลาเป็นหวัดเมื่อเราต้องใช้ยาแอนตี้ไบโอติก ไม่ทำให้เชื้อดื้อยา ฯลฯ

และที่น่าสนใจคือ สมุนไพรหลายชนิดช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่เสียหาย แต่ยาแผนปัจจุบันแค่รักษา อย่างยาฆ่ามะเร็งก็แค่ทำลายเซลล์ แต่สมุนไพรทำให้เซลล์ดีขึ้นได้

“ถ้าเราทำเอง เราลดการนำเข้าซึ่งปัจจุบันนำเข้ายาแผนปัจจุบันประมาณ 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้าล้วนๆ แม้เราบอกว่าเรามีโรงงานผลิต แต่เอาก็นำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด แต่ถ้าสมุนไพร เราผลิตในบ้านเราเอง ถ้าเราทำได้เอง ก็ช่วยลดการนำเข้าได้แน่นอน แต่อยู่ที่ว่าเราจะทำได้มากแค่ไหน”

หลายโรงพยาบาลก็มีการปลูกสมุนไพรอยู่แล้ว เพราะอย่างกรมการแพทย์สมุนไพร ก็มีนโยบายให้ทั่วประเทศมีโรงพยาบาลผลิตสมุนไพรเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลอื่น มี 40-50 แห่ง ซึ่งเภสัชกรก็เข้าไปช่วยดู ช่วยกระตุ้นชาวบ้านให้ปลูก รวมทั้งควบคุมคุณภาพให้ชัดเจน

“ตอนนี้เรากำลังทำมาตรฐาน เพราะสมุนไพรมีปัญหาประการหนึ่งคือ สมุนไพรชนิดเดียวกัน ถ้าปลูกคนละที่ จะได้สารสมุนไพรที่ต่างกัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังจะวางมาตรฐานว่าการปลูกจะต้องมีสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพ” ที่ปรึกษาสภาเภสัชกรรม บอกและว่า สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดข้อมูลด้านสมุนไพร สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของกรมแพทย์แผนไทย หรือศูนย์ข้อมูลสมุนไพร ม.มหิดล ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะมีการเชื่อมข้อมูลข่าวสารเป็นเครือข่ายเดียวกัน

มอบทุนด้านเภสัชศาสตร์
สานปณิธาน’อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์’

อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ อดีตนายกเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายกสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบันคนแรก

เป็นเภสัชกรไทยคนแรกที่สำเร็จปริญญาโทเภสัชศาสตร์จากต่างประเทศ

ในปี 2479 รับเชิญจากขุนเภสัชการโกวิท shareitforpcfreedownloads.com ให้ช่วยสอนนิสิตเภสัชฯ แผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นเป็นห้องเล็กๆ 2 ห้องอยู่ติดกับห้องผสมยาและจ่ายยาของโรงพยาบาลศิริราช มีนิสิตเพียง 4 คน

เพื่อให้นิสิตมีสถานที่ฝึกงาน และเภสัชกรก็เป็นมืออาชีพในการผลิตยาที่เป็นอุตสาหกรรมแผนปัจจุบัน จึงตกลงใจร่วมทุนกับบริษัท เมิร์ค ชาร์พ แอนด์ โดห์ม แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทยาแห่งแรกที่ได้รับบีโอไอ และเป็นโรงงานแรกที่เมิร์คฯ ร่วมก่อตั้งในเอเชีย เมื่อปี 2502

10 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีบริษัทยาเกิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง แต่ทำอย่างไรจะให้อุตสาหกรรมยาเข้มแข็ง จึงร่วมกับ พิชัย รัตตกุล ก่อตั้งสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันมองว่าเภสัชกรยังไม่เป็นที่รู้จักมากในวงการสาธารณสุข จึงมีความคิดว่าควรขยายบทบาทของเภสัชกร โดยเป็นกรรมการในมูลนิธิวิจัยประสาทในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ นพ.ประสพ รัตนากร

เป็นอุปนายกสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งขณะนั้นมีอุบัติการของวัณโรคดื้อยา รวมทั้งเป็นคนริเริ่มเรื่องการอบรมให้ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับวงการเภสัชศาสตร์ อาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เสียชีวิตเมื่อ 2519

40 ปีให้หลัง ชัยพงษ์ ปังศรีวงศ์ บุตรชาย จึงมีดำริก่อตั้งมูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ เพื่่อสืบสานปณิธาน สนับสนุนโครงการด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา งานประชุมวิชาการระดับประเทศ ทุนการศึกษา ทุนอบรมระยะสั้นในต่างประเทศ ทุนเชิญอาจารย์เภสัชศาสตร์จากต่างประเทศมาอบรมให้ความรู้ และทุนวิจัยพัฒนา ภายใต้เงินกองทุนทั้งสิ้น 100,000,000 บาท ในระยะเวา 20 ปี
ที่มา : ประชาชื่น มติชนรายวัน ผู้เขียน : พนิดา สงวนเสรีวานิช ระดมสมองภาครัฐดันแผนน้ำ 20 ปี ต้องเร่งแก้การบุกรุกลำน้ำและสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมให้เสร็จภายในกลางปีนี้ “สมเกียรติ” เผยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างมีปัญหามากที่สุด มีสิ่งกีดขวางปลูกสร้างรุกล้ำทางน้ำ 8,442 แห่ง และสาธารณูปโภค 221 แห่ง ชี้ต้องใช้ “ปทุมธานีโมเดล” ย้ายออก 50% ภายในปี 2564

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำและการบูรณาการแผนดำเนินการสิ่งกีดขวางทางน้ำว่า ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานมีแผนบริหารจัดการน้ำ แต่เนื่องจากแผนยังไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งกีดขวางทางน้ำ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ 20 ปีขึ้น กระทรวงเกษตรฯจึงต้องทบทวนแผนบริหารฯ 12 ปีของกรมชลประทานใหม่ทั้งหมด โดยให้มีแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำรวมอยู่ด้วย โดยสิ่งกีดขวางทางน้ำสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.การบุกรุก และ 2.ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้จึงต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายแห่ง ในกรณีผู้บุกรุกที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัยชุมชนนั้น จะต้องหารือ