อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เผยเพิ่มเติมด้วยว่า ในทุกปีกรมส่งเสริม

จะจัดประกวดสหกรณ์และบุคคลดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวงขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของเกษตรกรสมาชิก และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการหลวง และเพื่อเป็นการสนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในสหกรณ์ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมฯ กำหนด พร้อมร่วมกันวางแผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิด การออกแบบ การผลิตการแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โดดเด่นอย่างทันสมัย

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้แนะนำส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการนำแนวการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาสหกรณ์อย่างยั่งยืน (บันได 7 ขั้น) มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการยกระดับสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ มีระบบการบริหารการจัดการที่ดี รวมถึงการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบริการทางธุรกิจเป็นที่พึ่งของสมาชิกสหกรณ์ และยกระดับสหกรณ์ให้ดีขึ้น” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว ​

สำหรับสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด มีจุดสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของสหกรณ์ คือการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพืชหลักที่เกษตรกรปลูกประกอบด้วย ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง เสาวรส กาแฟใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ ทำให้การดำรงชีวิตแบบอยู่ป่าไม้ได้อย่างสมดุล และนับเป็นพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือสบเมยโมเดล “คนอยู่กับป่า” ได้เป็นอย่างดี

ไม่ว่าจะเรียนจบสายไหน ก็มาสมัครทุน “ต้นกล้า เพื่อพัฒนาประเทศ” ของคณะนวัตกรรมเกษตร ที่มีรายวิชากัญชาศาสตร์แห่งแรกในมหาวิทยาลัยของไทย โดยไฮไลท์ของหลักสูตรอยู่ที่การเรียนการเกษตรซึ่งเป็นแบบองค์รวมในทุกสาขา เสริมความเข้มข้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจสำหรับการค้าสินค้าเกษตรออนไลน์ในยุคดิจิตอล https://www.facebook.com/agriculturalRSU

คณะนวัตกรรมเกษตรมีข่าวดีสำหรับสำหรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สนใจเข้ามาศึกษาด้านนวัตกรรมเกษตรและมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากัญชาศาสตร์เพื่อทางการแพทย์ โดยในปีการศึกษา 2565 คณะนวัตกรรมเกษตร วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต มีทุนการศึกษา “ทุนต้นกล้าเกษตร เพื่อพัฒนาประเทศ” (เรียนฟรีตลอด 4 ปี) หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (นวัตกรรมเกษตร) ระดับปริญญาตรี มอบให้สำหรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต ที่มีเกรดเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป สายศิลป์และผู้ที่จบระดับชั้น ปวช. ที่มีเกรดเฉลี่ย 2.75 ขึ้นไป (รับนักศึกษาจบปีการศึกษา 2564 เท่านั้น) โดยผู้สนใจขอสมัครรับทุน “ทุนต้นกล้าเกษตร เพื่อพัฒนาประเทศ” ได้ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2565 ผ่านระบบ Online ตามลิงค์ https://forms.gle/2SFUgAgQgcpvF72j9 หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02 997 2222 ต่อ 3428,3441 หรือ 094 4956351

เกาะนารอบโฮมสเตย์ แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)สาขา อ.กงหรา จ.พัทลุง แนะนำเกษตรก้าวไกล ให้ไปเยี่ยมชม ตั้งอยู่ใกล้ๆ จุดชมวิวควนนกเต้น เป็นทะเลหมอกอันสวยสดงดงามแห่งหนึ่งของ อ.กงหรา ที่มาแรง

คุณไพศาล ช่วยเทศ หรือ “น้องป๊อก” เกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่สานต่องานของ พ่อเพียร ช่วยเทศ ผู้มาบุกเบิกพื้นที่แห่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยสืบทอดมาจากบรพบุรุษเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่เพิ่งได้มาพัฒนาเป็นบ่อเลี้ยงปลาเล็กๆ และโฮมสเตย์แบบปัจจุบัน กล่าวว่า จุดตรงนี้เกิดขึ้นเนื่องจากคนจะไปเที่ยวทะเลหมอกเกาะนกเต้น เราจึงมาสร้างโฮมสเตย์ดักรอ คนล้นจากที่พักบนควนนกเต้น ก็จะมาพักกับเรา

น้องป๊อก พาทีมงานเราเดินชมรอบๆ บริเวณโฮมสเตย์ เริ่มจากบ่อปลาทับทิม ครั้งแรกจะเลี้ยงไว้ขายคนในชุมชน ต่อมามีนักท่องเที่ยวมาเยอะขึ้นจึงสร้างเป็นบ่อปลาสวยงาม เพื่อเป็นแหล่งให้อาหารปลาให้กับนักท่องเที่ยว โดยเน้นการเลี้ยงปลาคาร์ป นักท่องเที่ยวจะนิยมมาชมปลาและมาให้อาหารปลา ปลาคาร์ปเราเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กๆ ซื้อมาตัวล่ะ 3-4 บาท เลี้ยงไว้ 3 ปี ก็จะโตขึ้นเต็มสระ และฝึกให้ปลาคุ้นเคยกับการให้อาหารปลาของนักท่องเที่ยวที่เรียกว่า “ปลาคาร์ปดูดนม” นั่นก็คือการนำอาหารมาใส่ในขวดนมและนำขวดนมไปให้ปลาดูด เป็นที่สนใจของลูกหลานเป็นอย่างมาก โดยบ่อปลาเราเลี้ยงในระบบน้ำไหลเวียน จึงไม่มีเชื้อโรคใดๆ ไม่ต้องติดเครื่องทำออกซิเจน เพราะข้างบนภูเขามีน้ำตกอยู่ ทำให้น้ำไหลหมุนเวียนในสวนตามธรรมชาติ ไหลจากที่สูงลงต่ำ

“จุดไฮไลท์สำคัญเราสร้างชิงช้าต้นมะพร้าว นักท่องเที่ยวต่างชื่นชอบมาเล่นสนุกสนาน เมื่อก่อนตรงนี้เป็นทุ่งนา พื้นที่ของเราเหมือนเป็นเกาะ จึงตั้งชื่อว่าเกาะนารอบ และที่สำคัญนักท่องเที่ยวมาเยือนเรา สามารถสอยมังคุดในสวนรับประทานได้ฟรี เพราะช่วงที่ผ่านมาราคามังคุดตกต่ำ ถือเป็นบริการเสริมให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน” น้องป๊อก กล่าวและว่าพื้นที่ใกล้เคียงกันก็เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ในส่วนของตนมีบ้านพักในราคา 800 บาท 2 หลัง และราคา 1,200 บาท จำนวนหนึ่งหลัง บ้านพักของตน เห็นใจนักท่องเที่ยว จะมาพักกี่คนก็ได้

ท้ายสุด น้องป๊อก กล่าวขอบคุณธ.ก.ส.สาขากงหรา ที่มาช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อเพื่อมาสร้างโฮมสเตย์ในเบื้องต้น ซึ่งจะซื้อวัสดุมาก่อสร้างด้วยตนเองกับลูกมือที่เป็นคนในชุมชน บ้านหลังหนึ่งๆก็เป็นแสนบาท ธ.ก.ส.ต้องการให้จุดนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เราต้องขอบคุณธ.ก.ส.ที่มาสนับสนุน ขาดเหลืออะไรก็ไปบอกได้ ส่วนการตลาดเราจะโปรโมททางเฟสบุ๊ค ชื่อ “เกาะนารอบโฮมสเตย์” ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่มาเยือนต่างโพสต์เฟสบุ๊ค บอกต่อๆกันไป ต้องขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมธรรมชาติ มาให้อาหารปลาคาร์ปดูดนมและเล่นน้ำที่ไหลหมุนเวียนมาจากน้ำตก

ด้าน พ่อเพียร ช่วยเทศ กล่าวว่า เมื่อประมาณสัก 50-60 ปีที่แล้ว ซื้อมาในราคาไร่ละ 3 บาท ใช้เงินซื้อมา 2 ไร่ ราคา 6 บาท เริ่มแรกปลูกต้นมะพร้าวและมังคุด และต่อมาได้ขุดบ่อปลาเพิ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เพื่อปรับเปลี่ยนจากสวนมังคุด สวนมะพร้าวเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างบ้านหลังแรกๆ ก็มีครูต่างชาติมาเช่า ทำให้มีกำลังใจ ต่อมาก็สร้างที่พักเพิ่มเรื่อยๆ ราคา 800-1200 บาท

สนใจมาเที่ยวได้ที่เกาะนารอบโฮมสเตย์ ติดต่อมาได้ เลขที่ 315 หมู่ 4 ต.คลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง โทรศัพท์ 08-9978-0092 ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความเต็มใจ

สำหรับท่านที่ต้องการเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่เกาะนารอบไปพลางๆก่อนไปชมจริง รวมทั้งฟังความเห็นจากน้องป๊อกและคุณพ่อเพียร “คุณพ่อดีเด่นแห่งกงหรา” ชมกันเต็มอิ่มจากคลิปข้างบนนี้หรือคลิกลิงก์นี้ https://youtu.be/OSoL9Ij0-aY ขอบคุณ ธ.ก.ส.สาขากงหรา ที่แนะนำ และฟอร์ดประเทศไทยที่สนับสนุนพาหนะลุยพื้นที่ภาคใต้ในครั้งนี้

เดินทางล่องใต้เที่ยวนี้ได้พบว่าพี่น้องเกษตรกไทยตื่นตัวสุดๆ หมายมั่นปั้นมือว่าโควิดที่เกิดขึ้นจะจุดไฟเกษตรให้เจิดจ้า “โอกาสเกษตรเกิดขึ้นทันตาเห็น” อย่างที่ “ล่องแก่งหนานมดแดงพัทลุง” ได้ใช้โอกาสนี้เติมเต็มความสนุกให้กับล่องแก่งที่มีความแกร่งเป็นทุนเดิม ด้วยสกายวอล์คและสไลด์เนอร์บนยอดไม้

ทั้งหมดนี้คือความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นจาก “โยธิน เขาไข่แก้ว” เกษตรกรชาวสวนผู้ไม่ยอมหยุดนิ่ง ด้วยหวังว่ารูปแบบที่ทำขึ้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าสวนเกษตรและสร้างชุมชนท่องเที่ยวให้เป็นที่ปรากฏแก่ชาวโลก

คุณโยธิน เขาไข่แก้ว เล่าว่า เมื่อก่อนพื้นที่ ต.ลานข่อย อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง อันเป็นที่ตั้งของล่องแก่งหนานมดแดง เป็นพื้นที่สีแดง สมัยเมื่อปี พ.ศ. 2516 ครอบครัวของตนได้มาพัฒนาพื้นที่ปลูกสวนผลไม้ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง ฯลฯ แต่เมื่อประมาณปี 2553-2554 เกิดวาตภัย พายุดีเปรสชั่นพัดสวนผลไม้ล้มจนเป็นพื้นที่โล่ง เปิดพื้นที่กว้าง ตนจึงไปขอสินเชื่อจากธ.ก.ส.ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยราคาพิเศษ ที่ได้จัดให้กับผู้ประสบภัย จากเงินก้อนนั้นก็เริ่มมาก่อสร้างที่พัก พาชาวบ้านในชุมชนมาจัดกิจกรรมล่องแก่ง เพราะมีน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใสไหลทั้งปี เหมาะแก่การล่องแก่ง ผจญภัยทางธรรมชาติ และด้วยความสนุกสนานของนักท่องเที่ยวที่บอกกันปากต่อปาก และมาเที่ยวแล้วปลอดภัยก็ทำให้เกิดความมั่นใจ นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากมาย จึงเป็นที่มาของการเกิดรีสอร์ทอื่นๆ อีกนับสิบๆที่อยู่ใกล้เคียงกัน

นับว่าเป็นการจุดกระแสท่องเที่ยวชุมชนให้ทุกคนหันมามองครั้งใหญ่ ได้สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่น จากตำบลที่ถูกมองข้ามด้วยเรื่องราวในทางลบในอดีตก็ค่อยๆกลับมาเป็นที่รู้จักและทางราชการเห็นความสำคัญจึงก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคถนนหนทางต่างๆจากถนน 2 เลน กลายเป็นถนน 4 เลน

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิดทำให้ได้รับผลกระทบเสมือนจนพายุดีเปรสชั่นอีกรอบหนึ่ง จากพนักงานที่มีอยู่กว่า 100 คน ก็ต้องแบกภาระและคิดหาหนทางที่จะกลับมาใหม่ ด้วยการลงทุนสร้างสรรค์กิจกรรมขึ้นมา และนำพนักงานทุกคนมาช่วยกันสร้าง นั่นคือการก่อสร้างสกายวอล์คยาว 111 เมตร ลัดเลาะไปตามยอดไม้ ซึ่งก็คือสวนผลไม้ดั้งเดิมที่ยังคงอนุรักษ์ไว้

วันที่ทีมงานเกษตรก้าวไกลมาเยือน คุณโยธิน พาเดินชมสวนผลไม้ที่บัดนี้ทำเป็นวอล์คเวย์หรือสกายวอล์คด้วยความภาคภูมิใจ เพราะตลอดเส้นทางจะมีจุดเช็คอินเรียงรายอันเกิดขึ้นจากไอเดียสร้างสรรค์ของคุณโยธินและชาวคณะหนานมดแดง ที่พร้อมใจกันเป็น “สถาปนึก” โดยเน้นวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG ตามนโยบายของรัฐบาล (สามารถชมจุดเช็คอินไอเดียระดับโลกไม่แพ้ชาติใดได้เต็มๆจากคลิปประกอบข่าวนี้)

สำหรับสกายวอร์คนักท่องเที่ยวทุกคนสามารถเดินชมได้ฟรีๆ ยกเว้นสไลด์เดอร์บนยอดไม้ที่สร้างขึ้นก่อนหน้า เก็บค่าเล่นเพียง 50 บาท เพราะต้องใช้เครื่องสูบน้ำมาหมุนเวียนบนเครื่องเล่น แต่สามารถเล่นได้ทั้งวัน และเน้นความปลอดภัยสูงสุด

คุณโยธิน ให้ความคิดเห็นเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตรบอกว่าเป็นโอกาสของเกษตรกร โดยตนเองนั้นยึดอาชีพการเกษตรมาโดยตลอด ซึ่งเดิมนั้นเคยรับราชการเป็นเกษตรอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ แต่ได้ลาออกมาดูแลแม่ที่มีอายุมาก และจุดเปลี่ยนสำคัญมาจากการประสบปัญหาวาตภัยและได้เงินสินเชื่อจากธ.ก.ส. “ถ้าไม่มีธ.ก.ส.ในวันนั้นก็ไม่มีผมมายืนอยู่ในวันนี้” ดังที่ได้เล่าในเบื้องต้น ซึ่งตนอยากชี้ให้เห็นว่าทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ พื้นที่ตรงนี้พลิกจากสวนเกษตร สวนผลไม้ เมื่อ 12 ปีที่แล้ว มาทำเป็นล่องแก่งเป็นการเพิ่มมูลค่าสวนเกษตรและสร้างสรรค์ให้เหมือนสวนสนุกในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุง

คุณโยธิน กล่าวเชิญชวนเกษตรกรและพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ จากประสบการณ์ของตนเองที่เริ่มต้นบุกเบิกมา เราสามารถเปลี่ยนพื้นที่ทำเกษตรมาดัดแปลงสร้างสรรค์เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ถึงเวลาที่เราจะต้องยกระดับทำการเกษตรและการท่องเที่ยวให้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น เราปลูกปาล์มมีสวนปาล์ม เราก็สามารถนำกล้วยไม้มาแปะไว้ที่ต้นปาล์ม แปลงสวนปาล์มเป็นสวนกล้วยไม้ และเมื่อกล้วยไม้เราสวยๆ แล้วก็ทำวอล์คเวย์ ให้คนเข้ามาชม หรือถ้าเป็นสวนยางก็สามารถปลูกเป็นสวนป่าทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้เช่นกัน และเราสามารถขาย “น้ำแข็ง” เปิดร้านกาแฟ หรือนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายในสวน เราก็ไม่ต้องไปขายไกล เราสามารถนำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวได้ มีคนมาซื้อถึงพื้นที่ หรือทำเป็นจุดเช็คอินสวยๆ อนาคตจะเกิดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อาชีพเกษตรกรจึงมีโอกาสเป็นอย่างมาก

สำหรับ ล่องแก่งหนานมดแดง คุณโยธินบอกว่า โชคดีที่จุดนี้ล่องแก่งได้ทั้งปี เนื่องจากได้รับผลดีจากโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ มวลน้ำทั้ง 5 สาย จากเทือกเขาบรรทัด จะไหลมาเก็บไว้ที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะไม่ท่วม ถึงฤดูแล้งน้ำก็จะปล่อยน้ำช่วยเหลือให้เกษตรกรที่อยู่ด้านล่าง เราก็ใช้น้ำในส่วนนี้เป็นพื้นที่ล่องแก่ง เป็นการ “เพิ่มมูลค่าน้ำ” ทำให้เกิดอาชีพสามารถเลี้ยงครอบครัวและสร้างงานให้ชุมชนได้

“สิ่งสำคัญสถานที่แห่งนี้ ผมจะสร้างเหมือนสวนสาธารณะ ทุกคนเข้ามาเที่ยว มาเยือนได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ผมอยู่อีกไม่กี่ผืนเสื่อ ตายไปคงเอาอะไรไปไม่ได้ จึงมีความคิดว่าจะแปลงสินทรัพย์เป็นบุญ เห็นทุกคนมาเที่ยวแล้วยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนุกผมก็มีความสุข” คุณโยธิน กล่าวทิ้งท้ายและเชิญชวนมาเที่ยวได้ทั้งปี

สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจจะมาล่องแก่งหนานมดแดง ซึ่งปัจจุบันถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง ที่นอกจากจะมีล่องแก่ง มีสกายวอล์ก สไลด์เนอร์ ยังมีที่พัก มีร้านเครื่องดื่ม ร้านของของที่ระลึกของชุมชน ติดต่อได้ที่โทร. 081-0820206 และชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/zSKZsp4SRyE ขอบคุณ ธ.ก.ส.สาขาป่าพะยอม ที่แนะนำให้มาเที่ยวในครั้งนี้

หากฝันอยากทำเกษตร สิ่งสำคัญ ต้องมีใจ พร้อมสู้ ด้วยการวางแผนบริหารจัดการที่ดี ได้รับการสนับสนุนที่ดี โดยเฉพาะในด้านเงินทุน นี่คือสิ่งที่ Smart New Gen จังหวัดอุทัยธานี ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่ชื่อ “โชค-ศศเศรษฐโชค ตามพระหัตถิ์” ใช้เป็นแนวทางก้าวสู่ความสำเร็จบนเส้นทางการเป็นเกษตรกรในวันนี้

“ก่อนหน้านี้ ทำงานบริษัทที่กรุงเทพฯครับ กลับมาบ้านเกิดได้ประมาณ 10 ปี มาปรับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 60 ไร่ให้เป็นแปลงเกษตรเลี้ยงชีวิต โดยยึดหลักตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9”

โชค ได้พลิกเปลี่ยนพื้นที่ที่เป็นมรดก ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 61 หมู่ 6 ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองขาหย่าง ที่ครั้งอดีตเคยแห้งแล้ง มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าว ให้กลายเป็นแปลงเกษตรที่มีกิจกรรมหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ สร้างรายได้มากมายอย่างน่าสนใจ ไม่ว่า จากการจำหน่ายข้าวกล้อง, ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวเหนียวกล่ำการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ด้วยการทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว เช่น แป้งข้าวหมาก ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบน้ำผึ้งผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยคั้นสด รวมถึงผลผลิตด้านปศุสัตว์ ทั้งเป็ด ไข่ และควาย

“ผมช่วยกันทำงานแบบครอบครัวครับ 3 คน เราใช้หลักของการบริหารพื้นที่เข้ามาช่วย โดยจัดพื้นที่ออกเป็นแปลงๆ เพื่อทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น ล่าสุด ได้จัดทำแปลงโคกหนองนาในพื้นที่ 5 ไร่” ภายใต้ชื่อ “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นชื่อที่มีความหมายมากๆสำหรับผู้หัวใจการเกษตรที่จะต้องต่อสู้อดทน..

โชคกับข้อแนะนำ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้น

เพราะการทำงานที่เน้นการวางแผน และมีหลักมั่นในการปฏิบัติ จากวันที่เริ่มต้นในวัย 39 ปี ผ่านมาวันนี้ 10 ปี จึงก้าวมาสู่ความสำเร็จ

“อย่างตอนเริ่มต้น ผมเริ่มจากพื้นที่ 5 ไร่ก่อน ปลูกไม้ยืนต้นผสมผสานกับพืชสวนอย่าง มะม่วง มะกรูด มะนาว เพราะไม้ยืนต้นนั้น ไม่ต้องเข้าไปดูแลมากนัก จากนั้นก็มาจัดการบริหารเรื่องที่นา และแหล่งน้ำ ค่อยๆทำ ค่อยๆสร้างมาตามกำลังครับ”

จากสิ่งที่ค่อยๆ ทำในแปลงเกษตร ได้นำมาซึ่งรายได้อย่างต่อเนื่องทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี สามารถสร้างสุขให้ชีวิตได้เป็นอย่างดี ผ่านจุดขายที่เน้นการผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ

แต่สิ่งสำคัญอีกประการที่เป็นข้อแนะนำ คือ การลดต้นทุนการผลิต ด้วยโชคบอกว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตของเกษตรกรนั้นเพิ่มสูงมากขึ้น ดังนั้น การที่จะอยู่ได้อยู่รอด ต้องลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด

“อย่างที่ผมทำและได้แนะนำให้กับเพื่อนเกษตรกรเสมอ คือ ใช้วิธีการปรับปรุงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช เช่น การใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก เพื่อปรับโครงสร้าง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน การใช้วิธีการห่มฟาง เป็นต้น เมื่อดินเรามีความอุดสมบูรณ์แล้ว จะทำให้ต้นพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรสามารถลดเรื่องการใช้ปุ๋ยใช้ยาลงไปได้ครับ”

“ดังนั้นในวันนี้ หากใครสนใจ อยากกลับบ้านมาทำอาชีพเกษตร ที่เป็นนักธุรกิจเกษตร เป็นสิ่งที่ต้องเติมแต่งให้สมบูรณ์ คือ แนวคิดในการบริหารจัดการพื้นที่ เช่น ดูว่า มีอะไรที่เราพอจะเริ่มทำได้เองบ้าง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น การทำปุ๋ยหมักใช้เอง การปลูกพืชผักสวนครัว เพาะเห็ด ไว้บริโภคในครัวเรือนก่อน เหลือแล้วค่อยขาย เป็นต้น หรือ ถ้ามีทุนน้อย ก็เริ่มทำน้อยๆ ตามกำลัง ค่อยๆ ทำที่ละนิด แล้วใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ทั้งการสื่อสารไปสู่ลูกค้าเป้าหมาย และใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่รู้ผู้ที่สำเร็จ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาของเรา”

สิ่งหนึ่งที่ Smart New Gen ผู้นี้ได้บอกเล่า คือ ความยากลำบากในการเริ่มต้น ที่ต้องอาศัยสรรพกำลังมากมาย กว่าจะทำให้ทุกอย่างออกมาสวยงาม เหมือนกับภาพของแปลงเกษตรสวยๆ ที่เผยแพร่กันตามสื่อต่างๆ

“อย่างพื้นที่ 3 ไร่ ที่ทำโคกหนองนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองขาหย่าง ดินที่ขุดจากบ่อซึ่งลึก 6 เมตร แล้วนำขึ้นมาถมพื้นที่ จะเป็นดินที่เรียกว่า ดินเลนผสมกรวด พอแห้งแล้วน้ำจะไม่ซึมแห้งแล้วจะเหมือนปูนเลย ซึ่งไม่อุดมสมบูรณ์แบบสุดๆ น้ำไม่ซึมผ่าน มีพืชชนิดเดียวที่ขึ้นได้งามมากคือ หญ้าแฝก ซึ่งหลายคนที่ผมได้พบ จะเจอปัญหานี้ คือขุดบ่อเอาดินขึ้นมาถมแล้ว ปลูกอะไรไม่ได้ และไม่รู้จะทำอย่างไร จึงทำให้ท้อและเลิกไปในที่สุด”

ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไข ด้วยการปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การปรับโครงสร้างด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ใส่ปูนโดโลไมท์ ราดด้วยน้ำจุลินทรีย์ ห่มฟาง ปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น โชคบอกว่า แม้ดินไม่ดี แต่แก้ไขได้ ขอเพียงศึกษาหาองค์ความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค่อยๆทำค่อยๆปรับ แล้ววันหนึ่งจะสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายได้

“สิ่งที่ผมอยากแนะนำคือ จุดที่เราจะปลูกต้นไม้นั้น ยังไม่สามารถทำได้ ก็ปรับไปทำกิจกรรมอื่นที่จะเข้ามาช่วยสร้างรายได้ อย่างเช่น ไปเลี้ยงปลาในคลองไส้ไก่ เป็นปลาดุก หรือปลาธรรมชาติ เลี้ยงไปประมาณ 3 เดือนก็สามารถได้จับมากินมาขายแล้ว หรือจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงกบ โดยกบตอนนี้ราคาดีมาก กิโลกรัมหนึ่งอยู่ที่ 70 บาท หากเลี้ยงกบ 1 กระชังก็สามารถสร้างเงินหมื่นได้ หรือถ้าเป็นพืช ที่เก็บขายได้เร็วก็จะเป็นกล้วยและอ้อยคั้นน้ำ เป็นต้น ผมอยากให้เริ่มตรงจุดไหนที่สามารถทำได้ทำก่อน ตรงไหนที่ต้องปรับต้องปรุงก็ค่อยๆทำไป ซึ่งขึ้นอยู่แนวความคิดของแต่ละคน เป็นเรื่องสำคัญ”

อย่างไรก็ตาม บนก้าวแห่งชีวิตการเป็นเกษตรกรที่สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นวันนี้ หนึ่งในพลังสำคัญที่จะเสริมและสนับสนุนคือ หน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง “ถนนทุกสายมุ่งสู่โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” โดยในจำนวนนี้ ธ.ก.ส. คือ หนึ่งพลังที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนด้านทุนดำเนินการ จนทำให้สามารถก้าวเดินได้อย่างไม่ติดขัด

“ธ.ก.ส.ให้โอกาสผมหลายอย่าง ไม่ว่า การสนับสนุนด้านการเพิ่มพูดความรู้ ด้วยการส่งเข้ารับการอบรมในโครงการต่างๆ ของ ธ.ก.ส. ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากร มาต่อยอดการประกอบอาชีพได้ และการสนับสนุนด้านเงินทุนจากโครงการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาลผ่าน ธ.ก.ส. เช่น สินเชื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อผู้ประสบภัยแล้ง สินเชื่อ Green Credit ผ่านพันธบัตร Green Bond ปลาในนาข้าวครับ” โชคกล่าว

อีกสิ่งที่ได้เห็นจากความมุ่งมั่นของเกษตรกรผู้นี้คือ การสร้างอนาคตในด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่เน้นกิจกรรมเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“ผมอยากตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ ภายใต้ชื่อ Ecovillage by Chok มีการใช้พลังงานสะอาด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีการจัดการเรื่องป่า เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีก 3 ปีครับ ผมจะทำ Ecovillage by Chok ให้สำเร็จ” โชค กล่าวทิ้งท้าย

โชค-ศศเศรษฐโชค ตามพระหัตถิ์ นี่คืออีกอีกตัวอย่างความสำเร็จที่ไม่ได้เพราะโชคช่วย แต่มาจากโชคที่ลงมือทำจริง ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเททำจริง และได้นำมาซึ่งความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพตลอดไป

ในช่วงเวลาต่อเชื่อมระหว่างปี 64 กับ 65 ทีมงานเกษตรก้าวไกลได้มีโอกาสเดินทางลงพื้นที่เกษตรหลายจังหวัด สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือพี่น้องเกษตรกรตื่นตัวมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา อาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาจาก ยุค Covid ที่บีบให้มนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ยุค Disrupt ที่ผลักให้ทุกคนเข้าสู่ดิจิทัล ทุกคนมีเครื่องมือสื่อสารอยู่ในมือ ทุกอย่างมันสอดรับกันอย่างรวดเร็ว โอกาสเกษตรก็เกิดขึ้นทันตาเห็น “เกษตรมีโอกาสเหลือเฟือ” หลายคนเปลี่ยนพื้นที่เกษตรเพิ่มมูลค่าพื้นที่เกษตรด้วยการนำผลผลิตมาต่อยอดมาแปรรูป นำสิ่งที่มีอยู่ในผืนดินมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สร้างเป็นโฮมสเตย์หรือฟาร์มสเตย์ขึ้นมาบ้าง จากนั้นก็ใช้สื่อที่อยู่ในมือสื่อสารออกไป

ตรงนี้จะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals – SDGs ซึ่งมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

อย่างเช่นเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย แค่ 2 เป้าหมายนี้สอดคล้องกับภาคเกษตรของเราแบบจังๆ ยังไม่ต้องไปดูเป้าหมายที่ 10 ที่บอกว่าจะลดความเหลื่อมล้ำ เอาเป็นว่าทุกเป้าหมายตรงกับประเทศไทย เราจะขจัดความยากจนได้อย่างไร ซึ่งคนส่วนใหญ่ของเราอยู่ในภาคเกษตร แต่สัดส่วน GDP กลับน้อยกว่าอย่างสิ้นเชิง ผลที่ผ่านมาก็เลยทำให้เกิดคามเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม “รวยกระจุกจนกระจาย” ทำได้ทางเดียวก็คือเราต้องทำให้ภาคเกษตรของเรา “เกษตรคือประเทศไทย” มีอัตราการเติบโตทางรายได้ที่มากขึ้น ให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น “ยกระดับเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการทั้งประเทศ” ไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะลดความเลื่อมล้ำตรงนี้ได้

ประเทศไทยของเรานั้นได้ขานรับทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน ตั้งแต่การประกาศเป็นประเทศไทย 4.0 จนมาล่าสุดนี้ คือ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/)

ดังจะเห็นได้ในช่วงที่ผ่านมาถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกรและมีพี่น้องเกษตรกรตื่นตัวกันมาก ที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นมา และขณะเดียวกันได้ยกระดับอาชีพการเกษตรสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นทุกขณะ ดังเช่นคลิปวิดีโอที่เราได้ถ่ายทำมาเมื่อเร็วๆนี้

คลิปที่ 1 ความผูกพันพ่อแม่ลูกสู่ “สมจิตฟาร์มสเตย์” เท่ด้วยไม้ไผ่และหัวใจ ธ.ก.ส.หนุนสุดๆที่ชลบุรี วันนี้จึงไม่แปลกที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกรไทย หลายสวนหลายฟาร์มที่เราไปเห็นมาว่า หน่วยงานต่างๆกำลังเข้าไปให้การส่งเสริมและสนับสนุน หลายที่หลายแห่งเราเห็นว่า เขากำลังยกระดับสวนเกษตรของเขาขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรเป็นภาพที่ชัดเจนมากในยามนี้ มีเกษตรกรที่เป็น Young Smart Farmer หลายคน หรือ เกษตรกร Smart New Gen หลายคนที่กำลังมุ่งหน้าสู่บ้านเกิดไปพัฒนาต่อยอดอาชีพของพ่อแม่

เราเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยของเราจะถูกผลักดันให้เป็นประเทศท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ดีที่สุดในโลก ถามว่าตอนนี้พี่น้องเกษตรกรไทยของเราได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงตรงนี้มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นสิ่งที่เราคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันจะต้องให้ความร่วมมือครั้งสำคัญ..เกษตรก้าวไกลไปด้วยกันทั้งประเทศ..โอกาสอันยิ่งใหญ่ของเรามาถึงแล้วครับ

ในรอบปี 2564 เป็นปีที่ “เกษตรก้าวไกล” ไม่สามารถเดินทางลงพื้นที่เกษตรได้สะดวกนั้น ช่วงเวลานั้นเราได้ใช้วิธี LIVEสดผ่านระบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย โดยเราได้เดินทางไปเปิดตัวที่ไร่คุณชาย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และระหว่างทางที่จะไปถึงไร่คุณชายเพื่อเตรียมงานนั้นเราได้แวะที่สวนฟ้าใส อ.ท่าม่วง ของ คุณเอ “สุรฤทธิ์ กาญจนคชินทร์” เจ้าตำรับปลูกทุเรียนไม่ตาย ซึ่งเคยได้สร้างความฮือฮากับคลิป “ทำไมทุเรียนตาย? พบวิธีปลูกทุเรียนสูตรโบราณ โดยมหาบัณฑิตแปลงร่างมาขายพันธุ์ทุเรียน”

จากคลิปนี้ก็ได้มีการติดตามเรื่องราวของคุณเอ หรือ “อาจารย์เอ” มาฝากผู้สนใจเป็นระยะ เพราะอาจารย์ทิ้งท้ายไว้ว่าจะสอนวิธีปลูกทุเรียนในเข่งให้ออกลูก และการปลูกทุเรียนยกโคกแบบคนขี้เกียจ นั่นจึงเป็นที่มาของคลิปนี้ คือการปลูกทุเรียนในเข่งสูตรดินพิเศษ(ตามรายละเอียดในคลิป) ซึ่งในวันดังกล่าว (13 มิถุนายน 2564) เราได้ LIVE สด เนื่องจากมีเวลาจำกัด ได้นัดเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีและเกษตรอำเภอไทรโยคที่รออยู่ที่ไร่คุณชาย

สรุปว่าเป็นคลิปที่ไม่ได้เตรียมการอะไรมากนัก แต่จากเนื้อหาสาระที่ได้ก็ได้รับความสนใจ จนกลายเป็นคลิปที่ได้รับความนิยมสูงสุด สามารถบรรลุ 1 ล้านวิว ภายใน 6 เดือน..จึงขอขอบคุณผู้ติดตามรับชมทุกท่านมา ณ โอกาสนี้..ส่วนท่านที่ยังไม่ได้รับชมก็เชิญชมได้ครับ

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานความร่วมมือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2565 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการเกษตร โดยเชิญชวนประชาชนคนไทยเที่ยวเมืองไทย เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและชุมชน พร้อมทั้งสนับสนุนสินค้าเกษตรเป็นของฝากของที่ระลึก เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐานและมีความยั่งยืน

นายนราพัฒน์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และมีมติให้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เพื่อความหลากหลายในการท่องเที่ยว โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานในท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะประสานรายละเอียดเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวที่มีการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรร่วมกับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer: YSF) ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านการเกษตร การเรียนรู้วิถีเกษตร โดยให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้ 1. ภาคตะวันตก จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง ชุมชนท่องเที่ยวบ้านไร่กร่าง มาลัยฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้การปศุสัตว์ (ด่านกักกันสัตว์เพชรบุรี) สหกรณ์การเกษตรหุบกระพง จำกัด และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ 2. ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ประกอบด้วย สวนสุภัทราแลนด์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา (มีสุขฟาร์ม) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านทะเลน้อยระยองฮิ

ทุ่งโปรงทอง และวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์มหาวิทยาลัยบ้านนอกบ้านจำรุง 3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย สวนแม่กรทอง สวนแม่หม่อน ปาป้าฟาร์มสเตย์ สวนสัปปะรดสีบ้านพระอังคาร รักจังเมล่อนฟาร์ม และวังน้ำเขียวฟาร์ม 4. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) สถานีวิจัยเกษตรหลวงดอยอินทนนท์ และดอยอินทนนท์ เป็นต้น โดยจะพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพิ่มเติม อาทิ ธนาคารปูม้า ฟาร์มกุ้ง และฟาร์มปศุสัตว์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2565 ภายใต้มาตรการตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สังคมเป็นต้นแบบการใช้ชีวิต และทำกิจกรรมภายใต้สถานการณ์โควิดอย่างปลอดภัย

โดยนิสิต อาจารย์ และบุคลากร สมัครพนันออนไลน์ จะมีส่วนร่วมนำองค์ความรู้ผลลัพธ์ จากผลิตภัณฑ์งานวิจัย การเรียนการสอน ถ่ายทอดแก่ประชาชน นอกจากนี้ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มูลนิธิฯ ให้มีช่องทางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าแปรรูป สินค้าอุโภคบริโภค ฯลฯ รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ