อนาคต : ตู้เอทีเอ็มสีขาว แม้ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะเอื้ออำนวย

ในการทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล หรือ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้สมาร์ทโฟน และภาครัฐจะสนับสนุนส่งเสริมให้มี เช่น การใช้บัตรเดบิตหรือเครดิต การชำระด้วยคิวอาร์โค้ด เพื่อผลักดันให้ไทยเป็น Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดปีละหลายหมื่นล้านลงได้ แต่ยังต้องยอมรับว่าการใช้ “เงินสด” ยังมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย

ในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ยังต้องมีการใช้เงินสด ช่องทางปัจจุบันที่ประชาชนใช้ในการถอนเงินสด คือ ตู้ เอทีเอ็ม เพราะปัจจุบันคนไปใช้บริการที่สาขาธนาคารลดน้อยมาก และตู้เอทีเอ็มก็มีคุณสมบัติมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลาย ทั้งโอนเงิน ชำระบิลค่าบริการ ซื้อกองทุน

แต่การทำธุรกรรมต่างๆ เหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดจากต้นทุนของเครื่องเอทีเอ็ม รวมทั้งระบบที่แต่ละธนาคารได้ลงทุนไปแล้ว แม้ว่าเราจะสามารถกดเงินผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารอื่นได้ ก็ยังจำกัด เช่น ฟรีเดือนละ 5 ครั้ง โดยนับทุกธุรกรรมแค่เสียบบัตรเข้าตู้อื่น ก็นับเป็น 1 ครั้งแล้ว จากนั้น สิ่งที่จะตามมา คือ ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ครั้งละ 25-30 บาท

จึงเกิดแนวคิด ตู้เอทีเอ็มสีขาว หรือ White Label ATM เป็นตู้เอทีเอ็ม ที่ไม่มีการแสดงความเป็นเจ้าของ แตกต่างกับตู้เอทีเอ็มทุกวันนี้ แสดงความเป็นเจ้าของแต่ละธนาคาร ผ่านโลโก้และสีเฉพาะ ทั้ง สีเขียว ม่วง น้ำเงิน ฟ้า เหลือง ชมพู ส้ม แดง เป็นต้น รวมแล้วในระบบมีกว่า 7 หมื่นเครื่อง

แบงก์ชาติออกตัวแล้ว ที่จะสนับสนุนให้เกิดตู้เอทีเอ็มสีขาว เพราะเชื่อว่าจะช่วยลดต้นทุน จากการดำเนินงานของธนาคาร เพราะตู้เอทีเอ็ม สามารถทำธุรกรรมได้เหมือนกันๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนซ้ำซ้อนกัน และท้ายที่สุดจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับประชาชนผู้ใช้บริการนั่นเอง

จากการศึกษา พบว่า จะช่วยลดต้นทุนธนาคารลง 20% ส่วนการนำมาใช้จริงในระบบธนาคารไทย อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดเห็นเร็วสุดในไตรมาสแรกปี 2562

หากเริ่มจากศูนย์ เชื่อว่าตู้เอทีเอ็มสีขาวจะเกิดได้ง่าย แต่ประเด็นที่ยังไม่ตกผลึก คือ เรื่องต้นทุนตู้เอทีเอ็มของแต่ละธนาคารได้ลงทุนไปแล้ว กับ เรื่องความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน เนื่องจากธนาคารบางแห่งมองความได้เปรียบในจำนวนตู้ที่ให้บริการนั้น เพียงพอแล้ว

ดังนั้น ตู้เอทีเอ็มสีขาว จะเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งต้องวัดที่ใจและเล็งเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวม!! นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้ส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่มีเทคนิคการ แปรรูปสับปะรดผลสดที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากขายผลผลิตให้โรงงาน พร้อมส่งเสริมเกษตรปลูกสับปะรดผลสดเพื่อการบริโภค

นายปิติชัย ปลื้มจิตต์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีบ้านหนองปุหลก ตำบลบ่อนอก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้รวมกลุ่มชาวบ้านผลิตน้ำสับปะรด “ไร่ว่าน” จำหน่าย โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากนายสุวิทย์ พุกกะเวส นายอำเภอเมืองประจวบฯ ใช้ งบประมาณตามโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ปัจจุบันน้ำสับปะรด 100% บรรจุแพคทันสมัย มีมาตรฐานการผลิตจากห้องปลอดเชื้อ เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อควบคุมคุณภาพด้านความสะอาด ไม่มีสารกันบูด ตามมาตรฐาน GMP และได้การรับรองมาตรฐานฮาลาล อย. มาตรฐาน HACCP เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค และแข่งขันกับแบรนด์ดัง โดยมียอดสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง และสามารถผลิตได้วันละ 1,000 ชุด

เมื่อเร็วๆ นี้ นักเรียน นักศึกษา และครู คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคนิค (วท.) นครนายก ได้ประดิษฐ์ คิดค้น “ก้อนผักตบชวาปลูกพืชผัก” เพื่อเป็นวัสดุปลูกพืชผักทดแทนดินปลูก ซึ่งมีธาตุอาหารสูง เหมาะสำหรับการใช้ปลูกพืชผักทุกชนิด ก้อนผักตบชวามีขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่แคบ วางเรียงต่อกันได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนบนภาชนะต่างๆ

วิธีการทำก้อนผักตบชวา เริ่มจากการเตรียมส่วนผสม ประกอบด้วย ผักตบชวาตากแห้ง และกาวแป้งเปียก โดยนำส่วนผสมมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกันจนเป็นเนื้อเดียว นำไปใส่แท่นพิมพ์ที่ออกแบบให้มีรูตรงกลาง เพื่ออัดเป็นก้อน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จะได้ก้อนผักตบชวาที่มีลักษณะแห้ง แข็ง และเกาะตัวกันเป็นก้อน ส่วนวิธีการนำไปใช้ ให้นำดินใส่ที่รูตรงกลางก้อนเล็กน้อย หยอดเมล็ดพันธุ์ และรดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นรอให้เมล็ดพันธุ์งอก และเติบโตจนได้ผลผลิต

ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ก้อนผักตบชวาปลูกพืชผัก เป็นผลงานวิจัยที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มอบนโยบายให้ วท.นครนายก นำผักตบชวาที่ได้จากการบำบัดน้ำเสียภายในคลองเปรมประชากร กรุงเทพมหานคร ในโครงการ “จิตอาสาเพื่อพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีพอเพียง” ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์

โดยทำเป็นกระถางต้นไม้ ซึ่งจะเป็นอาหารพืชผักต่อไป ปัญหาของเกษตรกรในปัจจุบัน คือ แรงงานลดลง คนรุ่นใหม่สนใจที่จะทำงานด้านการเกษตรน้อยลง แรงงานที่เคยทำกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลผลิตด้านการเกษตรล้นตลาดเนื่องมาจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ส่งผลให้ผลิตผลมีราคาตกต่ำ หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหา คือ การ นำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำการเกษตรทดแทนแรงงานคน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณผลผลิต สร้างเกษตรกรให้เป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)

อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และทีมนักวิจัย จึงคิดพัฒนาหุ่นยนต์ 3 มิติ สำหรับการเกษตรแบบผสมผสานขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานและผลผลิตการเกษตรล้นตลาด

จากการสำรวจและลงพื้นที่ร่วมทำการเกษตรในหลายจังหวัดของทีมผู้พัฒนาหุ่นยนต์ 3 มิติ พบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการทำการเกษตร ประกอบด้วย การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวนั้น ใช้เวลาเพียงอย่างละ 1 เปอร์เซ็นต์ ของการทำการเกษตรทั้งหมด แต่ระยะเวลาที่เหลือคือ การดูแล ตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูก การให้ปุ๋ย ให้น้ำ การอารักขาพืช จนถึงการเก็บเกี่ยวต้องใช้ระยะเวลามากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นส่วนที่สำคัญในการดูแล ซึ่งการใช้หุ่นยนต์ 3 มิติ สำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน จะสามารถดูแลแทนคนได้แบบเบ็ดเสร็จในเครื่องเดียว พร้อมเก็บข้อมูลผลผลิตการเกษตร ช่วยคำนวณ ผลผลิต และวางแผนการทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำ

หุ่นยนต์ 3 มิติ สำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ คือโครงสร้างเป็นเครนเหล็กรูปตัวยู ลักษณะคล้ายเครนในโรงงานอุตสาหกรรม สูง 7 เมตร ยาว 18 เมตร สามารถปรับขนาดได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ใช้ระบบรางในการเคลื่อนที่ของเครนโดยมีล้อขนาดเล็กและแรงเสียดทานต่ำ รวมทั้งมีชุดอุปกรณ์เชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ และเซ็นเซอร์วัดระยะการเติบโตของพืช วัดสภาพดินและสภาพอากาศ ส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย ระบบควบคุม ระบบเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะแบบ Machine Learning ระบบสั่งการทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และตั้งโปรแกรมควบคุมระบบอัตโนมัติได้ โดยเคลื่อนที่เหมือนเครื่องพิมพ์ 3 มิติ คือทั้งในแนวราบ เลื่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง และในแนวดิ่ง ขึ้น-ลง

จุดเด่นของหุ่นยนต์ 3 มิติ คือ ช่วยลดการใช้แรงงานคน ลดต้นทุนการผลิต ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความแม่นยำ เก็บข้อมูลการเกษตรสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่นำมาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะ เพื่อปรับระบบการเกษตรสู่ความแม่นยำสูง นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังได้รับการออกแบบให้ดัดแปลงใช้กับเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรมีอยู่เดิมได้ด้วย รวมทั้งยังสามารถซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง ลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ

โดยหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นนี้ จะสามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเกษตรนั้นๆ ได้ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลปรับปรุงพัฒนาให้หุ่นยนต์มีความฉลาดยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จังหวัดบึงกาฬ ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำสะสมไหลลงลำห้วยสาขาที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีน้ำเหนือไหลลงมาสมทบทำให้น้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ได้หนุนลำน้ำสาขาที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ มีน้ำเอ่อล้นลำห้วยท่วมพื้นที่นาข้าวของชาวบ้าน

บ้านดอนยม หมู่ที่ 2 ประมาณ 60 ไร่ บ้านโนนแพง หมู่ที่ 9 ประมาณ 40 ไร่ และบ้านคำแสน หมู่ที่ 10 ประมาณ 100 ไร่ และยังมีพืชผลการเกษตรอื่นๆ เสียหายอีก ส่วนที่จังหวัดหนองคาย ระดับน้ำโขงที่ไหลผ่านจังหวัดหนองคายเริ่มลดลง ล่าสุดวัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ อยู่ที่ระดับ 9.26 เมตร ลดลงจากช่วงเดียวกันของวานนี้ 93 ชั่วโมง ต่ำกว่าตลิ่งเพียง 2.94 เมตร ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด คาดว่าพรุ่งนี้จะลดลงอีกหากไม่มีฝนตกทางตอนเหนือของไทย และสปป.ลาว และไม่มีฝนตกในพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 ได้มีมติรับทราบ ตามที่สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทยได้มีหนังสือ แจ้งว่า ปัจจุบันพบว่าพื้นที่วัดส่วนใหญ่ได้มีผู้นำสัตว์มาปล่อยละทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่า เช่น นก เต่า หมูป่า หรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว เป็นต้น ทำให้เกิดการแพร่กระจายขยายพันธุ์ของสัตว์นั้น บางครั้งอาจจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญ เป็นภาระกับพระภิกษุสามเณร ในการปฏิบัติศาสนกิจ รวมถึงประชาชนในพื้นที่รอบข้าง อีกทั้งบางพื้นที่ บางวัด มีการจัดจำหน่ายทำธุรกิจการค้าชีวิตสัตว์เพื่อนำมาปล่อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการทำลายวงจรชีวิตสัตว์ตามธรรมชาติ และเป็นการทารุณสัตว์อันไม่สมควร

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 23 กำหนดห้ามเจ้าของสัตว์ ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร มาตรา 32 กำหนดว่า เจ้าของไม่ปฏิบัติ หรือฝ่าฝืน มาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ขณะที่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 16, 19, 20 ประกอบมาตรา 47 กำหนด ห้ามล่า ครอบครองและการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง ถ้าไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์ฯ พิจารณาเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติ ดังนี้ 1. ให้กำหนดพื้นที่วัดเป็นเขตห้ามเจ้าของสัตว์ นำสัตว์มาปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำใดๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร 2. ให้กำหนดเขตพื้นที่วัดเป็นเขตห้ามซื้อขายหรือการทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าชีวิตสัตว์ภายในเขตวัด 3. ให้วัดต่างๆ ถือปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยเคร่งครัด

กรมชลประทาน พร้อมรับมือระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมที่ลุ่มต่ำหลายแห่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมย้ำแม่น้ำสายต่างๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง จะปิดประตูระบายน้ำไม่ให้น้ำจากแม่น้ำโขงไหลย้อนเข้ามาในพื้นที่ด้านใน พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำในลำน้ำสายหลักลงสู่แม่น้ำโขง

ดร. ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง มีระดับน้ำสูงขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่ทางตอนบน ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ติดกับแม่น้ำโขง คือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไป เกิดความกังวลว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านแม่น้ำสายหลักต่างๆ เป็นไปด้วยความล่าช้าหรือระบายไม่ได้ นั้น

กรมชลประทาน ขอยืนยันว่า ได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับวางมาตรการในการบริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ไว้รับมือแล้ว หากระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้น โดยที่ลุ่มน้ำก่ำ ที่รับน้ำจากหนองหาร ในเขต อ.เมืองสกลนคร ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณด้านท้ายประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต อ.ธาตุพนม จ.นครพนม จำนวน 8 เครื่อง และที่ประตูระบายน้ำหนองบึง 2 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง พร้อมแขวนบานประตูระบายน้ำทั้งหมด 7 แห่ง ในลำน้ำก่ำเพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม 2561 คาดว่าจะระบายน้ำได้ประมาณวันละ 20 ล้าน ลบ.ม./วัน

ส่วน แม่น้ำมูล การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง ยังสามารถระบายน้ำได้ เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลยังสูงกว่าแม่น้ำโขง ซึ่งกรมชลประทาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เตรียมพร้อมเครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำไว้แล้ว หากสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงสูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำมูล จะได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมในระยะต่อไป

นพ. ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการ ร.พ.จิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ กล่าวว่า ร.พ.ได้ทำโครงการเกษตรบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหลังพ้นระยะวิกฤต ลดความบกพร่องหรือความ ไร้สมรรถภาพ และพัฒนาผู้ป่วยให้มีทักษะทางสังคมและอาชีพการงาน ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวชุมชนได้อย่างอิสระเช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล เพียง 1 ไร่ ทำเป็นแปลงผักสวนครัวแบบอินทรีย์ ในช่วงแรกนี้จะใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารให้ผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาล และปลูกผลไม้ให้รับประทานระหว่างมื้อ

นพ. ธิติพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมโครงการเกษตร จะต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการดีขึ้นบ้างแล้ว สามารถควบคุมตนเองได้ มีความพร้อมกลับไปอยู่บ้าน ในแต่ละวันจะมีผู้ป่วยลงไปทำโครงการเกษตร 16 คน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ภายใต้การดูแลของสหวิชาชีพ โดยโรงพยาบาลสามารถจำหน่ายผู้ป่วยที่อาการหายหรือทุเลากลับบ้านวันละประมาณ 10 คน ภายหลังการฟื้นฟูตามกระบวนการนี้

บุรีรัมย์ – ที่สถานีเพาะชำกล้าไม้ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เกษตรกรมาขอรับพันธุ์กล้าไม้ยางนา และไม้ชนิดอื่นเป็นจำนวนมาก โดยมีการแย่งลงทะเบียนเพราะเกรงว่ากล้ายางจะหมดก่อน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะมีคนมาลงทะเบียนมากกว่าจำนวนกล้ายาง จากที่จะแจกให้รายละ 200 ต้น ต้องลดลงเหลือรายละ 150 ต้น เพื่อให้ เพียงพอกับเกษตรกรที่ตั้งใจเดินทางมาไกลสุดกว่า 100 ก.ม. แต่ยังมีอีกหลายคนต้องผิดหวังเพราะกล้ายางนา มีไม่เพียงพอ

ด้าน นายอภิรัตน์ พิรุฬห์ หัวหน้าสถานีเพาะชำ กล้าไม้บุรีรัมย์ กล่าวว่า กล้ายางนาที่เพาะไว้ทั้งหมดกว่า 50,000 กับพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่นไม้แดง ประดู อีกหลายชนิดรวมแล้วกว่า 100,000 ต้น ซึ่งวิธีการแจกกล้ายางนา ในครั้งนี้ไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อ เป็นเพียงการบอกต่อเท่านั้น แต่กลับมีเกษตรกรเดินทางมามากเกินกว่าที่คาดไว้

หัวหน้าสถานีเพาะชำกล้าไม้บุรีรัมย์ กล่าวด้วยว่า ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ จากก่อนหน้านี้เคยนำกล้าพันธุ์ไม้ไปแจก แต่ไม่มีใครสนใจ มาครั้งนี้เกิดความคาดหมาย สาเหตุคาดว่ากระแสการปลูกไม้ยืนต้นจะยั่งยืนกว่า โดยเฉพาะ ยางนาที่เกษตรกรสนใจมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ไม้ยืนต้นแล้ว ยังมีเห็ดธรรมชาติไว้รับประทานอีกด้วย ประกอบกับประชาชนเข้าใจ พ.ร.บ.ป่าไม้มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถตัดได้หากปลูกเอง และหากรัฐบาลยกเลิกมาตรา 7 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่ระบุให้เป็น 17 ชนิด เป็นไม้หวงห้าม จะเอื้อให้เกษตรกรปลูกป่าและตัดได้อย่างเสรี เชื่อว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าในประเทศได้ร้อยละ 25 ของประเทศ

นางเขียน ชนไพโรจน์ อายุ 66 ปี เกษตรกรชาวอำเภอบ้านด่าน กล่าวว่า เห็นคุณค่าของไม้ยืนต้นจากข่าวสาร โดยเฉพาะโครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยและส่งเสริมให้มีการปลูก จึงอยากจะปลูกไว้ให้ลูกหลานในอนาคต ถึงรู้ว่าอาจจะไม่ได้อยู่รอต้นไม้โตเต็มที่ก็ตาม

กาฬสินธุ์ – นายสุรเชษฐ์ พละเอ็น รอง ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 เป็นประธานกิจกรรมลงแขกดำนาโยน ที่แปลงนาอินทรีย์ โรงเรียนปอแดงวิทยา ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด โดยมี นางระเบียบ จันทร์ชมภู ผู้อำนวยการ ร.ร.ปอแดงวิทยา พร้อมด้วยผู้บริหารสถานศึกษากลุ่ม เครือข่ายยางตลาด คณะครู นักเรียน ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก พันธุ์ข้าวที่นำมาใช้สำหรับ ดำนาโยนนั้น เป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ร่วมกันเพาะอายุ 20 วัน นำมาโยนลงแปลงนาที่เตรียมไว้

นางระเบียบ กล่าวว่า ร.ร.ปอแดงวิทยา น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ ก่อนที่จะต่อยอดด้วยการปฏิบัติตามศาสตร์พระราชา โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงกบ ปลา เป็ด ไก่ และกันพื้นที่สำหรับดำนาปีอีก 1 ไร่ เพื่อนำผลผลิตเป็นอาหารกลางวัน สำหรับเลี้ยงเด็กระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รับประทานอย่างครบถ้วนและอิ่มพอ ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว 5 ปี ได้ผลผลิตปีละประมาณ 500 กิโลกรัม

กรมส่งเสริมสหกรณ์เผยสหกรณ์ 8 จังหวัดภาคเหนือตั้งเป้ารวบรวมลำไยจากเกษตรกรไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวบรวมและระบายสู่ตลาดแล้วกว่า 352.595 ตัน ขณะที่ราคาลำไย ช่วงต้นฤดูกาลแบบสดช่อ 27-30 บาท ต่อกิโลกรัม รูดร่วง 6-26 บาท ต่อกิโลกรัม พร้อมจับมือเครือข่ายสหกรณ์ทั่วประเทศ และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เร่งกระจายลำไยสู่ผู้บริโภค หวังดึงราคาและกระตุ้นการบริโภคลำไยภายในประเทศ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์แนวโน้มผลผลิตและราคาลำไยในภาคเหนือว่า ผลผลิตเริ่มทยอยออกมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสหกรณ์ 15 แห่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง และตาก ได้เปิดจุดรวบรวมผลผลิตลำไยจากสมาชิกเพื่อเร่งระบายสู่ตลาด คาดว่าสหกรณ์สามารถรวบรวมลำไยสดในฤดูกาลปีนี้ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัน และขณะนี้ได้กระจายผ่านช่องทางห้างโมเดิร์นเทรด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และเครือข่ายสหกรณ์ในภาคต่างๆ ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 352.595 ตัน

สำหรับการระบายลำไยสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านเครือข่ายสหกรณ์และคู่ค้าในจังหวัดต่างๆ นั้น ได้ทำการขนส่งโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก บรรจุ 3.5-6 ตัน จัดส่งให้กับสหกรณ์ปลายทางภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะทางและสหกรณ์ปลายทางจะนำไปกระจายสู่ตลาดและผู้บริโภคภายในจังหวัด โดยสหกรณ์ต้นทางจะรวบรวมลำไยสดช่อคุณภาพดี ขนาด AA และ A ส่งให้กับคู่ค้าปลายทาง แบ่งเป็น 4 ขนาด ได้แก่ บรรจุกล่องกระดาษขนาด 10 กิโลกรัม ราคา 350 บาท บรรจุตะกร้าขนาด 3 กิโลกรัม ราคา 120 บาท บรรจุตะกร้าขนาด 10 กิโลกรัม ราคา 370 บาท และลำไยออร์แกนิก บรรจุตะกร้าขนาด 3 กิโลกรัม ราคา 174 บาท ซึ่งขณะนี้สหกรณ์ได้รับซื้อลำไยคุณภาพเกรด AA และ A จากเกษตรกรในพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 25-30 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในช่วงนี้ยังคงส่งให้ตลาดบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ