อนึ่ง โปรดติดตามดูผลงานการติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่

รอบบ้านอาจารย์ดำรงที่ได้ทำมาตลอดปีที่ผ่านมาในขณะออกดอก โดยจะทยอยอัพโหลดขึ้นในยูทูปตลอดทั้งปีตามที่กลุ่มกล้วยไม้ทยอยออกดอกตามฤดูกาลของเขา เช่นดูตอนแรก เป็นวาระของเอื้องสายน้ำผึ้ง (Dendrobium pimulinum) ดูที่ลิงก์

ถ้าเปิดไม่ออก รบกวนแปะ The Orchid Eden Project @ChiangMai เพื่อค้นในยูทูป และเพื่อความสะดวกในการติดตามชมตอนต่อๆ ไปโปรดกด “ติดตาม” Dumrong Leenanuruksa ผู้อัพโหลดในยูทูป

ความสำคัญของการกราดแดดให้กล้วยไม้

ที่เน้นเรื่องความสำคัญของการกราดแดดของกล้วยไม้ที่จะนำมาติดต้นไม้ในการจัดสวนแบบงานโครงการ ที่มีวงจรดังนี้ นั่นคือ เริ่มจากเจ้าของโครงการจ้างนักภูมิสถาปัตย์เขียนแบบ การเขียนแบบ การประกาศให้บริษัทรับจัดสวนเสนอราคา การเสนอราคา การประกาศผู้ได้งาน การเซ็นสัญญารับงาน การปฏิบัติ การส่งงาน และการตรวจรับงาน จะเห็นได้ว่าในขั้นตอนตรวจรับงาน กล้วยไม้ที่นำมาติดต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะที่ตามแบบเป็นการติดบนต้นมะพร้าว ต้นปาล์ม ต้นหมากที่รับแสงตรงๆ ทั้งวัน หรือแม้จะเป็นต้นไม้ใหญ่อื่นที่ผ่านการล้อมมาปลูกที่มักถูกตัดกิ่งตัดใบจนโล่งแสงส่องลงมาแทบจะเต็มที่

ซึ่งถ้าผู้รับงานไปเอากล้วยไม้จากสวนที่ปลูกใต้ซาแรนมาปลูกโดยตรง ก็จะเสียหาย ใบไหม้แดด หรือช้ำบวมแบบน้ำร้อนลวก ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่ผ่านการตรวจรับ เพราะถือต้นกล้วยไม้เสียหายไม่สมบูรณ์ ดังนั้น เพื่อให้ธุรกรรมนี้ได้ดำเนินไปอย่างมืออาชีพ การประสานงานให้มีสวนกล้วยไม้หลายๆ สวนทำหน้าที่เป็นซัพพลายเออร์ “กล้วยไม้ที่ผ่านการกราดแดด” จึงสำคัญ และถือเป็นหัวใจของห่วงโซ่ธุรกิจ “การติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่เพื่อการปรับภูมิทัศน์”

ส่วนประชาชนทั่วไปที่จะนำไปปรับใช้ ก็สามารถนำต้นกล้วยไม้ไปติดบนต้นไม้ใหญ่ได้เลย ด้วยความเข้าใจเรื่องการกราดแดด และพยายามติดต้นกล้วยไม้ที่ผ่านการเลี้ยงใต้ซาแรนมาให้หลบแดดตรงๆ ในช่วง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง อนึ่ง ถ้าสังเกตเห็นว่าต้นกล้วยไม้โดนแดดจัดไป เช่น สีใบที่เคยเขียว ซีดและคล้ำไป ก็ต้องค่อยสังเกตต่อไปว่าใบแห้งตายไปไหม เพื่อขยับเปลี่ยนที่ปลูกให้โดนแดดน้อยลง เป็นต้น แล้วท่านจะสนุกกับงานและการเรียนรู้

การดูแลรักษากล้วยไม้หลังการเกาะติดกับต้นไม้ใหญ่

ฤดูที่ปลูก ถ้าเลือกเวลาของการเริ่มงานการติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ได้ แนะนำให้เริ่มในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อให้น้ำฝนเป็นตัวช่วยให้ความชื้นและเร่งรากให้งอกเร็ว รากเกาะติดต้นไม้ใหญ่เร็ว และทำให้ต้นกล้วยไม้ตั้งตัวได้เร็ว ซึ่งตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการดูแลรักษากล้วยไม้หลังการเกาะติดบนต้นไม้ใหญ่ ถ้าบังเอิญเราเลือกเวลาเริ่มงานไม่ได้ ด้วยเป็นไปตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้าง แล้วต้องดำเนินการในเดือนที่ไม่มีฝนตกเลย การรดน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง หรืออาจจะมากถึงสองสามครั้งในฤดูแล้งในเขตภาคเหนือหรืออีสานก็จำเป็น ควรจะต้องวางเป็นหลักปฏิบัติไว้เลยว่า ไม่ว่าจะติดกล้วยไม้ฤดูใด ในวันที่ฝนไม่ตกจะต้องรดน้ำอย่างน้อยในช่วง 2 เดือนแรก

การรดน้ำ หรือการฉีดพ่นน้ำให้กล้วยไม้หลังการติดบนต้นไม้ใหญ่ ปกติในการรับจ้างจัดสวนก็เหมือนการจ้างทำของหรือสร้างบ้าน คือถ้าไม่มีการระบุในสัญญาจ้างงาน เมื่อส่งงาน ผ่านการตรวจรับงาน และรับเงินตามสัญญาจ้างงวดสุดท้ายแล้ว ก็หมดหน้าที่ผู้รับจ้าง นอกจากจะมีระบุผูกพันในสัญญาว่าต้องรับงานดูแลต่อไปอีกกี่เดือน หรือมีสัญญาผูกพันการว่าจ้างเพิ่ม ให้รับผิดชอบดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ฯลฯ แล้วแต่ที่มีระบุในสัญญาจ้าง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ยังใหม่สำหรับเรื่องงานติดกล้วยไม้ ในเรื่องการรดหรือฉีดพ่นน้ำให้กล้วยไม้ที่ติดบนต้นไม้ใหญ่นี้

ผู้เขียนก็คงจะแนะนำได้เพียงจากการปฏิบัติด้วยตัวเองในโครงการที่บ้านที่ผ่านมาครบ 13 เดือนเต็มได้ดังนี้คือ ตั้งแต่เริ่มโครงการมา 13 เดือนนี้ ด้วยเป็นช่วงที่ผู้เขียนวางมาตรการเข้มเรื่องการกักตัวอยู่บ้านด้วยการระบาดของโควิด-19 วันไหนที่มีฝนตกก็ไม่มีการรดน้ำ นอกนั้น รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ด้วยตัวเอง ปริมาณงานมากไหม? คำตอบคือผู้เขียนใช้เวลาเดินรดน้ำวันละ 4 ชั่วโมงมาทุกวันที่ฝนไม่ตกในรอบ 13 เดือนที่ผ่านมา (ด้วยผู้เขียนเป็นคนสูงอายุและปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิวิปัสสนามานานแล้ว จึงใช้เวลาที่ทำงานรดน้ำนี้นอกจากเป็นการออกกำลังกายแล้ว ถือเป็นปฏิบัติธรรม เหมือนการเดินจงกรมไปในตัว)

เอื้องช้างกระ กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปลูกเป็นกอใหญ่ปลูกเกาะบนตอไม้แขวนกราดแดดครึ่งวันตั้งแต่เที่ยงมาประมาณ 6 เดือน สังเกตใบจะออกเหลืองด้วยกร้านแดด และใบมีรอยปื้นดำ ด้วยในอดีตเคยโดนแมลงบางชนิดวางไข่ในเนื้อใบ แล้วฟักเป็นหนอนตัวเล็กๆ อาศัยอยู่ในใบ ส่วนนี้เมื่อถูกแดดเผาจะไหม้ดำ บางใบที่เป็นมากก็แห้งแล้วร่วงหลุดไป ดูไม่สวย แต่ศักยภาพการให้ดอกกลับไม่ด้อยไปมาก ช้างกระต้นนี้ถือเป็นต้นที่มีลักษณะดี ช่อดอกแน่น ยาว ระเบียบดอกดี (เรียงตัวกันเป็นระเบียบสวยเหมือนพวงมาลัย และบานสุดช่อ คือบานจนสุดช่อดอก โดยดอกที่โคนช่อซึ่งเริ่มบานก่อน ยังบานอยู่เป็นปกติ ไม่ร่วงหรือเหี่ยวไป กล้วยไม้สกุลช้างเป็นพันธุ์หนึ่งที่นำมาติดต้นไม้ใหญ่ยาก คือเป็นไม้ที่งอแงพอสมควร จะได้กล่าวเรื่องเหล่านี้ในบทความตอนต่อไป
ดังนั้น คำแนะนำเบื้องต้นต่อเรื่องการรดน้ำนั้น อย่างน้อย 6 เดือนแรกควรปฏิบัติเช่นเดียวกับที่ผู้เขียนปฏิบัติคือรดน้ำทุกวันที่ไม่มีฝนตก ส่วนหลังจากนั้นอยู่ที่วิจารณญาณของท่านทั้งหลายเอง แต่ผู้เขียนฝากข้อคิดในเรื่องนี้ไว้ดังนี้ครับ

“ที่เราติดกล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ เราหวังให้รากกล้วยไม้เกาะติดเปลือกหรือผิวต้นไม้ ที่เมื่อรากเดินเกาะดีแล้ว กล้วยไม้จะอาศัยความชื้นและธาตุอาหารจากเปลือกต้นไม้ในระดับหนึ่ง เลียนแบบธรรมชาติในป่าที่กล้วยไม้ป่าเกิดอาศัยอยู่ ดังนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณาคือ รากกล้วยไม้ทั้งหมดเดินดีไหม ส่วนใหญ่รากเกาะแนบเดินไปตามต้นไม้หรือไม่? ถ้ารากแทบไม่เกาะต้นไม้เลย นั่นคือกล้วยไม้แทงรากลอยเป็นส่วนใหญ่ เขาก็ไม่ได้รับน้ำหรือความชื้นผ่านผิวหรือเปลือกต้นไม้ กล้วยไม้พวกที่รากลอยไม่เกาะต้นไม้ใหญ่นี้ มักจะทรุดโทรม โตช้า ไม่แข็งแรง สุดท้ายเหี่ยวเฉาไป ถึงไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต เป็นต้น ดังนั้น การตัดรากกล้วยไม้ออกให้เหลือสั้นๆ ก่อนติดต้นไม้ใหญ่ เพื่อเร่งรากใหญ่ของกล้วยไม้ให้งอกใหม่ออกจากต้นและเกาะเปลือกไม้ ที่แนะนำไว้ในบทความชุดนี้ตอนที่ 3 จึงสำคัญมาก”

การให้ปุ๋ย ได้เคยเขียนแนะนำเรื่องปุ๋ยไปบ้างแล้วในตอนที่ 5 จะไม่นำมากล่าวซ้ำ แต่จะเพิ่มคำแนะนำว่ากล้วยไม้ที่ผ่านการเกาะต้นไม้ใหญ่มาระยะหนึ่งแล้ว และถือว่ารากเดินเกาะบนเปลือกไม้ดีแล้ว พอจะถือหรืออนุโลมได้ว่าคล้ายเราปลูกกล้วยไม้ในกระเช้าหรือกระถางด้วยวัสดุปลูกเป็นเปลือกไม้ 100% ในกรณีนี้ มีคำแนะนำการให้ปุ๋ยแก่กล้วยไม้ที่ใช้วัสดุปลูกเป็นเปลือกไม้ ว่า “เปลือกไม้มีหรือให้ไนโตรเจน (N) ต่ำ จึงควรใช้ปุ๋ยละลายน้ำชนิดที่มีค่า N สูง เช่น 30-10-10 โดยฉีดพ่นให้สัปดาห์ละครั้ง ความเข้มข้น 75 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ดู

มันแกว เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม่ชอบดินชื้นแฉะ เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทราย ปัจจุบันพบมีการปลูกเกือบทั่วประเทศ มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ขอนแก่น หนองคาย นครพนม ส่วนภาคอื่นมีปลูกน้อย

ปัจจุบัน มันแกว เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกมากในแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเรียกมันแกวในภาษาอีสานว่า “มันเพา” พืชชนิดนี้เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนาน แบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด ชาวอีสานนิยมปลูกมันแกวเป็นพืชเสริมรายได้หลังหมดฤดูทำนา เพราะใช้ระยะเวลาปลูกดูแลสั้นๆ เพียงแค่ 90 วัน ก็เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว

กล่าวกันว่า เป็นมันแกวที่ให้รสชาติหวาน กรอบ อร่อยที่สุด คือ มันแกว ที่ปลูกในพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เรียกกันติดปากว่า “มันแกวบรบือ” เนื่องจากเป็นมันแกวที่ปลูกได้จากอำเภอบรบือ ที่ผ่านมา กลุ่ม OTOP ของจังหวัดมหาสารคาม ได้แปรรูปมันแกวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น กะหรี่ปั๊บ พาย มันแกวทอดกรอบ เป็นต้น

มันแกว นอกจากมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย เป็นจุดขายแล้ว มันแกว ยังมีสารต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นฤทธิ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเป็นเวชสำอางบำรุงผิวให้กระจ่างใส เช่นเดียวกันกับสมุนไพร กวาวเครือขาว ที่คนไทยรู้จักกันดี ปัจจุบัน อินโดนีเซียนิยมใช้หัวมันแกวเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวหน้าให้ขาวและป้องกันแสงแดด วางขายในรูปของครีม ซีรัม เป็นต้น

“อำเภอกุดรัง” เปรียบเสมือนเมืองหน้าด่านของจังหวัดมหาสารคาม ที่นี่มีของดีมากมาย ดั่งคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า “ประตูสู่สารคาม ไหมงามลายสร้อยดอกหมาก ของฝากมันแกวลือชื่อ ใกล้สะดืออีสาน”
ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ระบุว่า “มันแกว” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของท้องถิ่นมานานกว่า 40 ปี สร้างอาชีพและรายได้ให้เกษตรกรชาวจังหวัดมหาสารคาม มากกว่าปีละ 30 ล้านบาท โดยแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอบรบือ และอำเภอกุดรัง

ทั้งนี้ มันแกวบรบือ ได้รับการยกย่องว่า เป็นมันแกวคุณภาพดีที่สุดพันธุ์หนึ่งของเมืองไทย เนื่องจากมีรสชาติอร่อยหวานกรอบ เพราะปลูกในพื้นที่ดินร่วนปนทราย มันแกวหัวสดที่ปลูกในจังหวัดมหาสารคามมีรสชาติหวานกรอบกว่าแหล่งอื่นแล้ว เปลือกมันแกวยังมีสีขาวนวลเด่นสะดุดตาผู้ซื้ออีกต่างหาก

ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ และอำเภอกุดรัง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันสนับสนุนให้เกษตรกรร่วมปลูกมันแกว เพื่อคงเอกลักษณ์พืชเศรษฐกิจประจำท้องถิ่นไว้อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรชาวมหาสารคามสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกมันแกวกว่า 2,000 ไร่

โดยปีหนึ่งสามารถปลูกมันแกวได้ 3 รุ่น ต่อปี รุ่นแรก ปลูกช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะได้ผลผลิตเฉลี่ย ไร่ละ 10 ตัน รุ่นที่ 2 ปลูกช่วงปลายฤดูฝน ระหว่างเดือน กันยายน-เดือนตุลาคม จะได้ผลผลิต 5-6 ตัน ต่อไร่ และรุ่นที่ 3 ปลูกช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จะได้ผลผลิตเฉลี่ย ไร่ละ 4-5 ตัน ต่อไร่ มันแกวจะใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน

สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ระบุว่า เกษตรกรที่ปลูกมันแกวในช่วงปลายฤดูฝนและช่วงฤดูแล้ง สามารถขายผลผลิตได้ในราคาดี เพราะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตรงกับช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมีโอกาสซื้อมันแกวติดมือกลับบ้านเป็นของฝากคนที่บ้าน

พบในบางจังหวัดเท่านั้น มันแกว เป็นพืชใช้น้ำน้อย ที่ใช้ระยะเวลาปลูกดูแลแค่ 3 เดือน นิยมปลูกเป็นพืชสร้างรายได้ ในช่วงฤดูแล้ง โดยทั่วไปพื้นที่ปลูกมันแกว 1 ไร่ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 บาท ส่วนหนึ่งเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ไร่ละ 2,500 บาท ที่เหลือเป็นค่าไถ ค่าเตรียมดิน ค่าปุ๋ยเคมี ค่าดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว สร้างรายได้ ประมาณ 15,000-30,000 บาท ต่อไร่ ทีเดียว

ปลูกมันแกว เสริมรายได้หลังนา

คุณอาธรณ์ สีแสด อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม โทร. 082-853-7419 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกมันแกวเป็นพืชเสริมรายได้หลังฤดูทำนา เล่าให้ฟังว่า “อาชีพหลักของผมคือ ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง เลี้ยงวัวขุน เมื่อสิ้นสุดฤดูทำนา ผมจะปลูกพืชน้ำน้อย อายุเก็บเกี่ยวสั้น เช่น มันแกว ถั่วลิสง แตงโม มันเทศสีส้ม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า มันแครอท เป็นรายได้เสริม”

โดยทั่วไป มันแกว มี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์หนัก และพันธุ์เบา ซึ่งผมเลือกปลูกมันแกวพันธุ์เบา ในพื้นที่ 2 งาน ใช้เงินลงทุนหลักพัน ใช้ระยะเวลาปลูกสั้น ให้ผลผลิตดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ผมจะซื้อเมล็ดพันธุ์มันแกวมาจากจังหวัดจันทบุรี นำมาปลูกในช่วงปลายปี ตรงกับช่วงฤดูหนาว เพราะจะช่วยให้มันแกวมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย แต่เกษตรกรบางรายจะเริ่มปลูกมันแกวในช่วงเดือนกันยายนและเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายในช่วงเทศกาลปีใหม่

การปลูกมันแกวไม่ยุ่งยาก เริ่มจากเตรียมดิน ใช้ปุ๋ยคอกรองพื้น ผมเริ่มปลูกมันแกวในช่วงเดือนตุลาคมปลูกหยอดเมล็ดในระยะห่าง ประมาณ 1 นิ้ว เพื่อให้มันแกวหัวเล็กที่ตลาดนิยมบริโภค โดยทั่วไป พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์มันแกว 14 กิโลกรัม หรือ 1 ถัง จะเริ่มให้น้ำในแปลงปลูกมันแกว เมื่อต้นมันแกวเริ่มลงหัว เปิดให้น้ำในระบบสปริงเกลอร์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้หัวมันแกวเหี่ยวขายไม่ได้ราคา แค่ 90 วัน ก็เก็บผลผลิตออกขายได้

“หากขายหน้าฟาร์ม จะได้แค่ กิโลกรัมละ 8 บาท หากตั้งแผงขายริมถนน จะขายได้ กิโลกรัมละ 30 บาท แต่ผมจะเก็บหัวมันแกวใส่รถซาเล้งออกไปขายในพื้นที่อำเภอโกสุมและอำเภอวาปี ในราคา กิโลกรัมละ 20 บาท วันหนึ่งจะมีรายได้ 2,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเหลือผลกำไรก้อนโต ถึง 20,000 บาท ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว” คุณอาธรณ์กล่าว

นอกจากนี้ สินค้าเด่นอีกชนิดของไร่แห่งนี้คือ มันแครอท ซึ่งเป็นมันเทศสีส้ม ขายดีเป็นที่ต้องการของร้านขายกล้วยทอด ขายได้ในราคา กิโลกรัมละ 20 บาท พืชชนิดนี้ปลูกได้ไม่ยาก แค่นำยอดมาปักลงแปลงปลูก ในระยะห่าง ประมาณ 2 ฟุต ระยะเวลาปลูกดูแลไม่นานก็เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว

ครอบครัวของ คุณมะโนทยาน พรมกอง อพยพจากอำเภอเดชอุดม มาตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านเลขที่ 165 หมู่ที่ 7 บ้านเกษตรสมบูรณ์ ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี สมัยก่อน ถึงแม้น้ำยืน จะเข้าออกลำบาก แต่ก็ดินดำน้ำดีกว่าที่เดชอุดม…ดีไม่ดีอย่างไรให้สังเกตดูที่ชื่อหมู่บ้าน คือเกษตรสมบูรณ์

เมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ๆ ครอบครัวของคุณมะโนทยาน ปลูกข้าวไว้กิน ขณะเดียวกัน ก็ปลูกพืชไร่ จำพวกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง มีอยู่ช่วงหนึ่ง มะเขือพวงมีราคา จึงปลูกกันพอสมควร ทำให้ผลผลิตมีมาก หากนำไปขายในตัวเมืองอุบลฯ หรือที่ตลาดอำเภอวารินชำราบ ขายได้ราคาไม่ดี จึงต้องนำไปขายไกลถึงจังหวัดจันทบุรี

คุณมะโนทยาน นำมะเขือพวงบรรทุกรถไปขายถึงเมืองจันท์ ซึ่งอยู่ไกลพอสมควร เมืองจันท์ในช่วงที่คุณมะโนทยานไปเห็นนั้นเป็นหน้าผลไม้ ตามข้างทางมีสวนเงาะสุกแดง ข้างทางบางแห่งมีทุเรียนวางขายอยู่เต็มไปหมด คณะที่ไปได้ซื้อชิมแล้วอร่อย

ขณะที่นั่งรถกลับบ้าน คุณมะโนทยาน เริ่มคิดว่า น่าจะปลูกทุเรียน เพราะสภาพพื้นดินของอำเภอน้ำยืน สีเดียวกับเมืองจันท์ เพราะเป็นตะเข็บชายแดนติดต่อกับกัมพูชา ฝนฟ้าก็ตกดี แหล่งน้ำก็หาได้

ไปขายมะเขือพวงเที่ยวใหม่ ขากลับคุณมะโนทยาน ซื้อพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาปลูกที่บ้านจำนวน 150 ต้น ครอบครัวนี้จำได้ชัดเจนว่า ตรงกับปี 2535 ปลูกไปได้ 5-6 ปี ทุเรียนเริ่มมีผลผลิต ถึงแม้ไม่มากนัก เจ้าของนำไปขายได้กิโลกรัมละ 20-30 บาท ทุกคนในครอบครัวตื่นเต้นและดีใจมาก เพราะข้าวโพดและมันสำปะหลัง ก่อนหน้านี้กิโลกรัมหนึ่งขายได้ไม่ถึง 5 บาท ถือว่างานปลูกทุเรียนเริ่มตั้งแต่ปี 2535 จากนั้นมาน้องชายของคุณมะโนทยาน คือ คุณเรืองศักดิ์ เห็นตัวอย่างจึงปลูกบ้าง ซึ่งก็ได้ผลดีเช่นกัน

วันที่ไปขอข้อมูลเพื่อนำมาเผยแพร่ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน คุณมะโนทยาน ติดภารกิจ การให้ข้อมูลจึงตกแก่ คุณธนะศักดิ์ พรมกอง ลูกชายของคุณมะโนทยาน ซึ่งถือว่าเป็นทายาทผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของผู้เป็นพ่อได้อย่างดีเยี่ยม

คุณธนะศักดิ์ บอกว่า หลังจากที่คุณพ่อนำต้นทุเรียนมาปลูกใหม่ๆ คนทั่วไปยังไม่เชื่อว่าจะมีผลผลิตให้เก็บกินเก็บขาย เนื่องจากมีความเข้าใจว่า ทุเรียนต้องที่ภาคตะวันออกและภาคใต้เท่านั้น ที่ศรีสะเกษก็ยังไม่มีข่าวว่าปลูกได้

เมื่อมีผลผลิต จึงเป็นอันสรุปได้ว่า ทุเรียนปลูกได้แน่แล้ว ที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะที่ทุเรียนลงหลักปักฐาน ที่สวนของคุณมะโนทยาน เป็นเวลากว่า 25 ปี

ถึงแม้ทุเรียนปลูกได้ที่ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน แต่ราคาทุเรียนเมื่อปี 2540 ไม่สูงอย่างปัจจุบัน คือกิโลกรัมละ 80-100 บาท การขยายจึงมีไม่มาก ความรู้ความชำนาญ เมื่อเปรียบเทียบกับท้องถิ่นเดิม ชาวสวนที่น้ำยืนยังมือใหม่ การขยายจึงมีไม่มาก

พืชเศรษฐกิจบางชนิดก็ท้าทายเจ้าของให้ทดลองปลูก อย่างปาล์มน้ำมัน ที่ผ่านมาคุณธนะศักดิ์ บอกว่า คุณพ่อได้ปลูกปาล์มน้ำมันแซมในสวนทุเรียน เวลาผ่านไปจึงทยอยตัดออก ซึ่งเป็นเรื่องหนักหนาพอสมควร เพราะกำจัดยากมาก

ยางพารา ก็เป็นพืชหนึ่งที่เพื่อนบ้านไม่อยากปลูกทุเรียน เนื่องจากทุเรียนดูแลมากกว่ายางพาราหลายเท่า เทคโนโลยีการผลิตลงตัว

คุณธนะศักดิ์ บอกว่า ที่ผ่านมา ทางครอบครัวไม่ได้ปลูกทุเรียนอย่างเดียว แต่มีกล้วยไข่ และที่ลงทุนลงแรงไปพอสมควรคือปาล์มน้ำมัน ล่าสุด ครอบครัวนี้โละปาล์มน้ำมันเกือบหมดแล้ว มีทุเรียนอยู่ จำนวน 400 ต้น มังคุด 50 ต้น ทุเรียนที่ให้ผลผลิตเต็มที่ปัจจุบันมีอยู่ 100 ต้น ต้นที่เก่าแก่สุดอายุ 25 ปี คือปลูกในปี 2535

เรื่องของผลผลิต บางปีมาก บางปีน้อย Genting Club อย่างเช่น ปี 2559 เกิดภาวะแห้งแล้ง แหล่งทุเรียนที่จันทบุรีผลผลิตลด ที่น้ำยืนผลผลิตก็ลดเช่นกัน “ผลผลิตเคยได้มากหน่อย 9 ตัน แต่ปี 2559 ได้ผลผลิต 3 ตัน ขายกิโลกรัมละ 80 บาท ได้เงินกว่า 2 แสนบาท ปี 2560 ต้นทุเรียนรุ่นแรกๆ ได้รับการดูแลอย่างดี ต้นใหม่ก็ทยอยให้ผลผลิต ผลผลิตคงได้มากกว่า 20 ตัน ราคาอาจจะสู้ปีก่อนๆ ไม่ได้ เรื่องความรู้เกี่ยวกับทุเรียน คิดว่าอยู่ตัวแล้ว ปลูกมานาน สำหรับมังคุดก็เป็นอีกพืชหนึ่ง ที่ปลูกแล้วให้ผลผลิตอย่างดี พื้นที่ทั้งหมดมี 20 ไร่ อาจจะขยายออกบ้าง ปลูกทุเรียน มังคุด ไม่ทำอย่างอื่นอีกแล้ว” คุณธนะศักดิ์ บอก

ดูแลได้อย่างมืออาชีพ

ความรู้เรื่องการปลูกและดูแลทุเรียน คุณมะโนทยาน ได้ศึกษาจากตำรา เจ้าหน้าที่เกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน และจากประสบการณ์ จากนั้นลูกชายคือ คุณธนะศักดิ์ สืบทอดต่อ ถือว่าปัจจุบันผลผลิตของที่นี่สวยงามได้คุณภาพ

“ของเราเคร่งครัดมากเรื่องการตัดทุเรียน จึงไม่มีปัญหาเรื่องทุเรียนอ่อน คือนับจากหลังดอกบาน ของเราทุเรียนหมอนทอง หลังดอกบาน 120 วัน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิต” คุณธนะศักดิ์ บอก

ที่นี่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จช่วงเดือนมิถุนายน จากนั้นจะตัดแต่งกิ่ง พร้อมกับใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 2 กิโลกรัม ต่อต้น สำหรับต้นที่ขนาดใหญ่ ต้นเล็กเพิ่งให้ผลผลิตก็ลดจำนวนลง เจ้าของจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอให้ถึงเดือนสิงหาคม (ใส่เดือนละครั้ง)

ปุ๋ยคอกใส่ขี้วัวแห้งให้ 1-2 กระสอบปุ๋ย ต่อต้น หลังใส่ปุ๋ยมักมีฝนตก จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำแต่อย่างใด ระหว่างนี้ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนออกมา ต้องหมั่นสำรวจว่า ถูกหนอนทำลาย หรือเพลี้ยไปเล่นงานหรือไม่ หากมีควรป้องกันกำจัด หากใบไม่ดีมีผลต่อการออกดอกติดผลด้วย

เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน เจ้าของใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้เดือนละครั้ง (ครั้งละ 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น แล้วแต่อายุ) เพื่อเตรียมต้นสำหรับการออกดอก

ช่วงหนาว ศัตรูอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือไรแดง จะทำลายใบแก่ หากใบแก่มีน้อย มีผลต่อผลผลิตบนต้นเช่นกัน คือมีใบปรุงอาหารน้อย ทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ พลอยจะทำให้แตกใบอ่อนและผลขนาดเล็กอาจร่วงหล่นได้