อยากจะบอกถึง คำว่า “สับปะรดโรงงาน” กับ “สับปะรดบริโภคสด”

ว่าแตกต่างกันอย่างไร แท้ที่จริงแล้วก็คือ สับปะรดอันเดียวกัน ถ้าเป็นสับปะรดที่ส่งโรงงาน ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “สับปะรดหัวโล้น” ในการเก็บเกี่ยว จะตัดก้านและจุก หรือตะเกียงออกทิ้งหมด ไม่มีการคัดเกรดว่าเนื้อหนึ่งเนื้อสอง ตัดเสร็จก็หอบหิ้วขนย้ายไปรวมกันเพื่อชั่ง ให้แผนกรับส่ง หรือแผง หรือจุดรับซื้อของโรงงาน มีรถโรงงานที่เป็นรถขนาดใหญ่ติดรถพ่วงด้วย เที่ยวหนึ่งที่ต้องรวบรวมก่อนขนออกจากพื้นที่ ขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ติดพ่วง 30-32 ตัน ส่งไปเข้าโรงงาน นับจากวันเก็บไปถึงโรงงานก็ใช้เวลานานพอสมควร

เพราะฉะนั้น สับปะรดที่เกษตรกรจะตัดขายให้โรงงาน จึงคละเคล้ากันออกมาทั้งลูกเล็ก ลูกใหญ่ แก่บ้างดิบบ้าง และในส่วนหนึ่งที่เป็นสับปะรดหลงขนาดที่โรงงานไม่เอา ก็จึงมีการขายสดบ้าง แจกบ้าง คนไปขอซื้อบ้าง มีหลายรายที่ไปซื้อมากินแล้วเกิดข้อกังขาขึ้นมา ส่วนสับปะรดที่ตั้งใจปลูกเพื่อขายผลบริโภคสด ด้วยกรรมวิธีผลิตแบบธรรมชาติอินทรีย์ ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจได้แน่นอน เพราะสับปะรดห้วยมุ่น ชาวห้วยมุ่นเขาหวงแหนในชื่อเสียงคุณภาพของเขาอย่างที่สุด

สับปะรดบริโภคผลสด เกษตรกรจะตัดติดทั้งขั้วและจุกหรือตะเกียง บอกได้ว่าไม่ใช่เพื่อให้มีน้ำหนักมากจะได้ขายได้เงินเยอะ ไม่ใช่นะ สาเหตุที่ต้องตัดมีติดขั้วและจุก ก็เป็นตามหลักวิชาการ และเป็นข้อพิสูจน์สำหรับผู้บริโภคว่า เป็นของสดแท้ ปลอดภัยจากศัตรูพืช เช่น โรค แมลง ซึ่งก็อย่างที่รู้กัน ถ้ามีอาการที่ไม่สมบูรณ์ทั้งที่เปลือกผล ขั้ว จุก แสดงว่ามีศัตรูพืชรบกวน และมีการใช้สารเคมีในการดูแลรักษาอย่างแน่นอน สับปะรดผลสด นอกจากจะไปเสาะหาลิ้มรสได้จากในสวนในไร่ห้วยมุ่นแล้ว ก็ยังจะมีพ่อค้าผลไม้ไปรับซื้อออกมาจำหน่าย หรือสั่งซื้อจากผู้รวบรวมในพื้นที่

ถ้ามีผู้สั่งซื้อจากที่ไกลๆ ก็มีผู้ทำอาชีพบริการรับส่งสับปะรด ดังนั้น สับปะรดห้วยมุ่น ของแท้จึงกระจายไปทั่วประเทศ และแม้แต่ต่างประเทศ เมื่อเส้นทางเดินของสับปะรดห้วยมุ่นเป็นเช่นนี้ ในบรรยากาศที่ชื่อเสียงคุณลักษณะที่โดดเด่นของสับปะรดห้วยมุ่นพุ่งสูง ย่อมมีโอกาสที่เกิดการสับสน จะบอกว่าอย่างไรดี ถ้ามีการปะปนหรือแปลกปลอมหรือตั้งใจหลอกล่อกันรับบริการเอาของที่ “ไม่ใช่” สิ่งเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

สับปะรดห้วยมุ่น เป็นสับปะรดที่ได้รับการพัฒนา และดูแลการผลิตทุกด้าน เป็นสับปะรดคุณภาพมาตรฐานปลอดภัย GAP ปราศจากสารไนเตรต ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผลิตสับปะรดนอกฤดูโดยใช้สารเร่ง หรือจากปุ๋ยไนโตรเจนหลังการบังคับดอก หรือจากการตอนจุก เมื่อส่งเข้าโรงงานสับปะรดกระป๋องแล้ว สารไนเตรตจะทำปฏิกิริยากับกระป๋องดีบุก กลายเป็นสารก่อมะเร็ง และทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นลง โรงงานสับปะรดกระป๋องจึงถูกตีกลับสินค้ากันหลายราย สร้างความเสียหายมาก สับปะรดส่วนใหญ่คือ สับปะรดบริโภคสด ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เกษตรกรผู้ผลิตก็ถูกตีตราความไม่ปลอดภัยไปด้วย ความไว้วางใจก็หดหายตามไป ซึ่งอาจจะลุกลามถึงสินค้าหรือผลผลิตจนเกิดปัญหาตามมาอีกหลายด้าน ที่แน่นอนคือ กระทบต่อการตลาด ราคา และความเชื่อถือ

“สับปะรดห้วยมุ่น” เป็นผลไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตามประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เลขที่ประกาศ 62 เล่มที่ 16 ตั้งแต่ วันที่ 13 มิถุนายน 2555 ระบุว่า สับปะรดห้วยมุ่น (Pineapple Hauymon) หมายถึง สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ที่มีผิวบาง ตาตื้น เนื้อหนา สีเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติหวาน หอม ฉ่ำน้ำ ไม่ระคายลิ้น ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ตำบลห้วยมุ่นและตำบลน้ำไผ่ของอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะทั่วไปทางกายภาพ ผลมีรูปทรงกลม น้ำหนักผลระหว่าง 1.5-3.5 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 2.2 กิโลกรัม เปลือกผิวบาง ตาตื้น ผลดิบจะสีเขียวคล้ำ ผลแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม

สับปะรดห้วยมุ่น มีประวัติชื่อเสียงดีมาตลอด คุณภาพคงเส้นคงวา การดำรงรักษาความดี ลักษณะโดดเด่นไว้ให้มั่นคง จึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรชาวไร่สับปะรดห้วยมุ่นต้องตระหนัก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วมช่วยดำรงรักษา ซึ่งประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น” ทะเบียนเลขที่ สช 5610056 ให้ขึ้นทะเบียนสับปะรดห้วยมุ่น เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 13 มิถุนายน 2555 ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน 2556 การดำรงรักษาคุณลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์ของสับปะรดห้วยมุ่นมีข้อกำหนด ระบุไว้ประกอบในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สับปะรดห้วยมุ่น” อย่างชัดเจน และ ปี 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้ช่วยดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ พร้อมทั้งจัดการด้านมาตรฐานสับปะรดห้วยมุ่น ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ความเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คงไว้ในมาตรฐานความเป็น “สับปะรดห้วยมุ่น” อย่างชัดเจน

หากใครรู้สึกเบื่อเซ็งกับสังคมเมือง อยากปลีกวิเวกไปหาความสงบทางกายและจิตใจ ขอแนะนำให้แวะไปเที่ยวพักผ่อนสมองท่ามกลางบรรยากาศบ้านสวนที่ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” เป็นโฮมสเตย์เล็กๆ แสนอบอุ่น อยู่กลางสวนทุเรียน ที่จังหวัดระยอง ที่นี่อาหารอร่อย มีบ้านพักที่สะดวกสบาย เพราะมีกิจกรรม Adventure สุดสนุกไว้บริการเด็กวัยรุ่น หนุ่มสาวไฟแรง คุณหมี (พ.จ.อ. ไววิทย์ พงษ์สุข) เจ้าของ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” ให้บริการลูกค้าด้วยความเป็นกันเอง ลูกค้าสนุกครื้นเครงได้เต็มที่ ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนมาเที่ยวบ้านญาติ ลูกค้าขาประจำแวะมาเที่ยวที่นี่ได้ทั้งปี ไม่มีวันเบื่อ

คุณหมี เล่าย้อนอดีตในช่วงวัยเด็กให้ฟังว่า ตอนเด็กๆ เขาต้องมาช่วยพ่อชั่งน้ำหนักผลไม้เวลาพ่อค้ามารับซื้อผลไม้ที่สวน และเห็นภาพพ่อค้าเอาเปรียบเรื่องราคาสินค้าเสมอ ก็เลยบอกกับตัวเองว่า วันไหนพ่อไม่อยู่ จะไม่เป็นเกษตรกรและตั้งใจขายสวนทิ้ง เพราะเขามีอคติกับอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องเป็นเกษตรกร เพราะทำไปก็ไม่มีวันรวย โดนพ่อค้ากดราคารับซื้อผลผลิตตลอด หลังเรียนจบ ก็หันไปเป็นทหารแทน

คุณพ่อของคุณหมีก็รู้ใจลูกชาย ว่าไม่ชอบอาชีพเกษตรกรรมหรือการเป็นเกษตรกร จึงสั่งเสียลูกชายว่า หากทำไม่ไหวจริงๆ ก็ขายที่ดินทิ้งได้ และนำเงินจากขายที่ดินมาเลี้ยงดูแม่ให้สุขสบายตลอดชีวิต ภายหลังคุณพ่อของคุณหมีเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ตอนแรกเขาปิดป้ายประกาศขายสวนแห่งนี้ เพราะไม่มีเวลาดูแล เนื่องจากเขารับราชการเป็นผู้ช่วยนักบิน สังกัดฝูงบิน 103 กองบิน 1 กองการบินทหารเรือ สนามบินอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ช่วงนั้น คุณหมีประกาศขายที่ดินเนื้อที่ 17 ไร่ ในราคา ไร่ละ 600,000 บาท หากขายได้จะมีเม็ดเงินเข้ากระเป๋าประมาณ 10 ล้านบาท ติดป้ายประกาศขายกว่า 5 เดือน มีคนสนใจติดต่อเข้ามาหลายราย แต่แคล้วคลาดขายไม่สำเร็จสักที

ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอย รัชกาลที่ 9

วันหนึ่ง คุณหมี มีโอกาสฟังคำบรรยาย เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ทำให้เขาเปลี่ยนความคิดที่จะขายสวนทิ้งทันที เพราะคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 เป็นคำสอนที่ทันสมัยมาก เพราะสอนให้คนรู้จักพึ่งพาตัวเองในการดำรงชีวิตประจำวัน มีความพอประมาณ อย่าทำอะไรเกินตัว ใช้เหตุใช้ผล ใช้สติปัญญา อย่าใช้อารมณ์ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นภูมิคุ้มป้องกันตัวเองที่ดี ลดความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี

เมื่อคุณหมีตัดสินใจที่จะรักษาที่ดินมรดกของพ่อไว้ เขาก็ใช้เวลาว่าง รีบตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อทำงานในสวน ก่อนไปทำงาน และหลังเลิกงานก็รีบกลับมาทำงานในสวนต่อ เพื่อบำรุงดูแลผืนดินแห่งนี้ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้สำหรับเลี้ยงดูครอบครัวของเขา ตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมของพ่อ

ปรับปรุงสวนใหม่

คุณหมี ยอมรับว่า การทำเกษตรในระยะแรก ค่อนข้างเหนื่อย เพราะที่นี่ปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด ทั้งทุเรียน มังคุด ซึ่งพืชแต่ละชนิดต้องอาศัยการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน และให้ผลตอบแทนแตกต่างกันด้วย เขาจึงเปิดใจคุยกับแม่ ขอปรับปรุงสวนใหม่ เพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน แม่ก็เห็นด้วย

เขาพยายามรักษาความรู้สึกของแม่ ว่าสวนไม่ได้ถูกทำลาย เขาค่อยๆ ปรับปรุงสภาพสวนให้มีสภาพที่ต้องการ โดยทยอยตัดต้นมังคุดออกทีละเล็กทีละน้อย เหลือไว้แต่ต้นทุเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ที่มีรสชาติอร่อยและขายได้ราคาดี เมื่อตัดต้นมังคุดที่ปลูกแซมในสวนออกไป ต้นทุเรียนก็เติบโตได้ดีขึ้น ให้ผลผลิตคุณภาพดีมากขึ้น

คุณหมี นายทหารผู้มีใจรักการเกษตร แห่ง “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” ยอมรับว่า เขามีความรู้ด้านการเกษตรค่อนข้างน้อย เพราะสมัยเด็กๆ ไม่ค่อยสนใจเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรจากพ่อสักเท่าไร เมื่อนำที่ดินมรดกจากพ่อมาดูแลเอง จึงต้องศึกษาเรียนรู้จากหนังสือตำรา สำนักงานเกษตรจังหวัด และสมัครเข้าร่วมโครงการ Yong Smart Farmer (YSF) จังหวัดระยอง คุณหมี มีโอกาสรวมกลุ่มพูดคุยกับเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปลูกดูแลสวนทุเรียนอย่างตั้งใจ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนากิจการ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” ให้เจริญเติบโตต่อเนื่อง

สวนทุเรียนและกิจการโฮมสเตย์ของคุณหมีประสบความสำเร็จอย่างงดงามตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เขากลายเป็นดาวเด่นในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer Rayong ที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากเพื่อนสมาชิกและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

คุณหมี ได้ถ่ายทอดประสบการณ์อาชีพเกษตรกรรมของเขา ลงบนป้ายขนาดใหญ่ติดไว้ในสวนแห่งนี้ โดยมีใจความว่า

“เกษตรกร” อาชีพที่ผมหนีมาตลอดชีวิต แต่วันนี้ผมกลับมาเป็นเกษตรกรด้วยความเต็มใจ

อย่าอายที่จะบอกใครว่า เราเป็น “เกษตรกร” ไววิทย์ พงษ์สุข (หมี) จับตลาดให้ถูกทาง

เนื่องจากคุณหมีและภรรยาทำงานประจำทั้งคู่ จึงใช้วิธีการขายผลผลิตผ่านตลาดออนไลน์ โดยเน้นขายทุเรียนผลสด ให้บริการส่งสินค้าถึงที่ ลูกค้าให้ผลตอบรับที่ดีมาก แต่สินค้าบางล็อตไม่ถูกใจลูกค้า เพราะลูกค้าแกะเนื้อทุเรียนออกรับประทานไม่ถูกจังหวะ ทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ และคุณหมีต้องหาสินค้าใหม่เข้าไปชดเชยความพึงพอใจของลูกค้า

แรงกดดันที่เกิดขึ้น ทำให้คุณหมีและภรรยากลับมานั่งคุยหาทางแก้ไขปัญหากันใหม่ ก็ได้ข้อสรุปว่า สวนทุเรียนมีผลผลิตแค่ปีละ 1 ครั้ง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน แต่ครอบครัวต้องกินต้องใช้ 12 เดือน หากปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ก็อยู่ไม่รอด จึงตัดสินใจเปิดกิจการ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” กลางสวนทุเรียนขึ้นมา เพื่อดึงให้ลูกค้ามาซื้อผลผลิตในสวน ให้บริการที่พักและบริการอาหารรสชาติอร่อย สร้างจุดขาย ดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในสวนแห่งนี้ตลอดทั้งปี

ลูกค้าติดใจ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์”

“บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” เปิดให้บริการได้ประมาณปีเศษ ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าทั้งไทยและเทศอย่างล้นหลาม หากใครอยากมาพักผ่อนที่นี่ ก็ต้องจองคิวกันล่วงหน้า เพราะคิวแน่นตลอด เพราะที่นี่ให้บริการโฮมสเตย์ในบรรยากาศเหมือนมาเยี่ยมบ้านญาติ นักท่องเที่ยวได้รับบริการในราคาสบายกระเป๋า 1,200 – 2,500 บาท ราคาที่พักรวมอาหารเช้าสำหรับแขกทุกท่าน นักท่องเที่ยวกลุ่มวัยรุ่น หนุ่มสาวไฟแรงยังได้ออกกำลังกายกับกิจกรรมแนวแอ๊ดเวนเจอร์อย่างสนุกสนานได้ตลอดทั้งวัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของโฮมสเตย์แห่งนี้ ที่ใครๆ ก็อยากแวะเข้ามาเที่ยวพักผ่อน

“บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” เดินทางไปมาสะดวกสบาย เพราะอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดระยองหลายแห่ง อยู่ห่างจากท่าเรือไปเกาะเสม็ด และตลาดบ้านเพ เพียงแค่ 12 กิโลเมตร อยู่ห่างจากหาดแหลมแม่พิมพ์แค่ 20 กิโลเมตร ปัจจุบัน “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” ตั้งอยู่เลขที่ 94/1 หมู่ที่ 6 ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21190 เบอร์โทร. (085) 844-5646 และ (098) 562-9695

อนึ่ง นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน บมจ. มติชน ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว “พงษ์สุข” ที่สูญเสีย คุณหมี (พ.จ.อ. ไววิทย์ พงษ์สุข) ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป ขอส่งกำลังใจให้ครอบครัว “พงษ์สุข” รักษากิจการ “บ้านสวน ปู่-ย่า โฮมสเตย์” ตามเจตนารมณ์ของคุณหมี ที่ต้องการให้สวนแห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้อาชีพเกษตรกรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกคนต่อไป

คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สูงจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบัน พี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา 3 ปี ถือว่าราคาดีมาตลอด

ปลูกเพียง 2 ไร่ แบ่งปลูกหอมเป็น 2 พันธุ์ ด้วยกัน คือ พันธุ์ขาไก่ 1 ไร่ และพันธุ์อุตรดิตถ์ 1 ไร่ หอมทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป อย่างพันธุ์ขาไก่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สายพันธุ์นี้ต้องดูแลนานก็จริงแต่คุ้ม เพราะสามารถเก็บไว้รอราคาขึ้นได้ ส่วนสายพันธุ์อุตรดิตถ์ให้ผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 35-40 วัน เก็บขายได้เร็ว ไม่ต้องดูแลมาก

หอม เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหน้าฝนราคาจะสูงถึงกิโลกรัม 150 บาท พูดง่ายๆ ว่า ผลผลิตยังคาแปลงพ่อค้าแม่ค้าก็มาแย่งจองกันแล้ว อย่างที่นี่ทำได้ตลอด เพราะรู้แล้วว่าช่วงฤดูฝนมาต้องทำอย่างไร ยกร่องแปลงสูงขนาดไหน หน้าฝนทีไรเรายิ้มออก เพราะมีการจัดการที่ดี

หอม เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหน้าฝนราคาจะสูงถึงกิโลกรัม 150 บาท พูดง่ายๆ ว่า ผลผลิตยังคาแปลงพ่อค้าแม่ค้าก็มาแย่งจองกันแล้ว อย่างที่นี่ทำได้ตลอด เพราะรู้แล้วว่าช่วงฤดูฝนมาต้องทำอย่างไร ยกร่องแปลงสูงขนาดไหน หน้าฝนทีไรเรายิ้มออก เพราะมีการจัดการที่ดี

เทนนิคการปลูก ยกร่องหนีฝน

การปลูกหอมแบ่งของพี่อุ้ม จะไถดิน 2 ครั้ง และยกร่องให้สูง หากอยู่ในช่วงฤดูฝนใช้วิธีนี้ ปัญหาหอมเน่ารากเน่าจะไม่เกิด ขั้นแรกไถพรวนผาล 3 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วยกร่อง ครั้งที่ 2 ไถพรวนผาล 4 ตากดินทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ และยกร่องขึ้นมาใหม่ให้ร่องสูงประมาณหัวเข่า เพื่อแก้ปัญหาในช่วงฤดูฝนกันรากเน่า ความยาวของแปลงตามสะดวก เมื่อทำเสร็จให้รดน้ำ 2 วัน แล้วใช้เครื่องตีดินแบบเดินตาม เพื่อให้ดินร่วนซุยอีกครั้ง

เมื่อเตรียมดินยกร่องปลูกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้นำหัวหอมที่เตรียมไว้มาปักลงดิน เพียงครึ่งหัว ความห่างระหว่างต้น 1 คืบมือ 1 หัว จะแตก 4-5 ต้น ถือว่าได้ผลผลิตกำลังพอดี ถ้าให้มากกว่านี้ หลอดจะเล็ก ตลาดไม่ต้องการ เราต้องทำให้ตรงกับความต้องการของตลาดถึงจะขายได้

การดูแล-ระบบน้ำ

ระบบน้ำที่ใช้เป็นระบบสปริงเกลอร์หัวปกติ รดน้ำเช้า-เย็น ในตอนเช้าเปิดรดน้ำ 5 นาที ตอนเย็นรดเพียง 2 นาที เมื่อหอมขึ้นประมาณ 1 ข้อนิ้ว ให้พักรดน้ำเป็นวันเว้นวัน หากรดทุกวันตาจะไหม้

มีเป็นปกติ ยิ่งช่วงหน้าร้อนต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะหนอนหลอดจะระบาด วิธีการดูแลอาจต้องมีการใช้สารเคมีผสมกับอินทรีย์บ้าง อย่างการใช้น้ำส้มควันไม้เข้าช่วย จะให้ใช้สารเคมีอย่างเดียวผู้บริโภคก็ไม่ไหว เกษตรกรตัวเราเองร่างกายก็รับไม่ไหวเหมือนกัน

การเก็บเกี่ยว

ใช้แรงงาน ถอนช่วงเช้าๆ 45 เข่ง ก็ได้เป็น 100 กิโลกรัมแล้ว เราไม่ได้ถอนทั้งวัน ถอนแล้วตั้งไว้ ล้างน้ำเปล่า ตากไว้ในที่ร่ม หอมจะไม่เหี่ยว ตกเย็นมาขับรถไปส่งที่ตลาด ลงทุนน้อย กำไรมาก

ปลูกหอมแบ่ง 2 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 2-3 ตัน ต่อไร่ หากคิดราคาในปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท ราคามีดีบ้างไม่ดีบ้าง หากขายไม่ได้ก็สามารถนำมาทำพันธุ์ต่อได้ ทำมา 2 ปี ถ้าเทียบกับการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังถือว่าคุ้มกว่ากันมาก ปลูกหอมใช้เงินลงทุน ประมาณ 15,000-20,000 บาท ราคานี้รวมค่าพันธุ์หอม ค่าแรง ค่าอุปกรณ์แล้วทุกอย่าง แต่ถ้าปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง บวกกับค่าเช่าที่แล้ว ต้องใช้เงินลงทุน ไร่ละ 200,000 บาท ทำไปก็เป็นหนี้ ซึ่งตอนนี้มีแผนที่จะยกเลิกการปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง แล้วเปลี่ยนมาขยายเป็นการปลูกหอมและผักชีเพิ่ม

เมื่อพูดถึง “ถ่าน” หลายคนคุ้นกับชิ้นไม้สีดำที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้มมากันยาวนาน ความจริงแล้วประโยชน์ของถ่านยังช่วยดูดซับกลิ่นเหม็นอับไม่พึงประสงค์ในจุดต่างๆ ได้อีก จนกระทั่งในปัจจุบันพบว่าถ่านที่เกิดจากการนำไผ่มาเผา มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในการเป็นเชื้อเพลิงได้มีประสิทธิภาพมากกว่าถ่านทั่วไป พร้อมกับยังถูกนำไปแปรรูปใช้ในวงการอุตสาหกรรมอื่นๆ สร้างมูลค่าได้มหาศาล

คุณองอาจ ประจันทะศรี อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ที่ 7 บ้านโนนสำราญ ตำบลอินทร์แปลง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร นำลำไผ่อ่อนที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อมาสร้างมูลค่าด้วยการเผาแล้วรับซื้อจากชาวบ้าน แล้วนำไปเข้ากระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งที่มีคุณภาพสูง เหมาะกับร้านอาหาร ช่วยให้ประหยัดเวลา และประหยัดต้นทุน

“แนวคิดผลิตถ่านไผ่เกิดจากการนำต้นไผ่อ่อนที่ถูกตัดทิ้งเพื่อมาใช้ทำต้นกล้าเพาะขายที่เกิดขึ้นถึงปีละกว่า 4-5 หมื่นต้น มาเผาเป็นถ่านหุงต้ม ซึ่งโดยปกติทั่วไปนิยมใช้ไผ่แก่มาเผาทำให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพความร้อนสูง แต่ภายหลังจากทดลองนำลำไผ่อ่อนมาเผาแล้วปรับวิธีจนได้คุณภาพมาตรฐานพลังงานเทียบเท่าหรือมากกว่าถ่านจากไผ่แก่หรือจากไม้เบญจพรรณเสียด้วย”

คุณองอาจ บอกว่า แต่เดิมชาวบ้านมีการเผาถ่านไว้ใช้และขายกันตามปกติ โดยใช้ไม้ชนิดต่างๆ จึงมองว่าหากทำเช่นนั้นจะส่งผลกระทบความเสียหายต่อการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ อีกทั้งยังทำลายระบบนิเวศ ขณะเดียวกัน พบว่าลำไผ่อ่อนที่ชาวบ้านตัดเพื่อนำต้นกล้ามาเพาะพันธุ์มีอยู่เป็นจำนวนมากน่าจะใช้ประโยชน์ทดแทนได้ จึงขนย้ายไม้ไผ่อ่อนจากพื้นที่ที่ชาวบ้านแต่ละรายปลูกกันเอาไว้ แล้วนำมาตัดเป็นท่อนขนาดยาว 60 เซนติเมตร ให้เสมอความสูงของเตาเผา

“แนวคิดผลิตถ่านไผ่เกิดจากการนำต้นไผ่อ่อนที่ถูกตัดทิ้งเพื่อมาใช้ทำต้นกล้าเพาะขายที่เกิดขึ้นถึงปีละกว่า 4-5 หมื่นต้น มาเผาเป็นถ่านหุงต้ม ซึ่งโดยปกติทั่วไปนิยมใช้ไผ่แก่มาเผาทำให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพความร้อนสูง แต่ภายหลังจากทดลองนำลำไผ่อ่อนมาเผาแล้วปรับวิธีจนได้คุณภาพมาตรฐานพลังงานเทียบเท่าหรือมากกว่าถ่านจากไผ่แก่หรือจากไม้เบญจพรรณเสียด้วย”

คุณองอาจ บอกว่า แต่เดิมชาวบ้านมีการเผาถ่านไว้ใช้และขายกันตามปกติ โดยใช้ไม้ชนิดต่างๆ จึงมองว่าหากทำเช่นนั้นจะส่งผลกระทบความเสียหายต่อการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ อีกทั้งยังทำลายระบบนิเวศ ขณะเดียวกัน พบว่าลำไผ่อ่อนที่ชาวบ้านตัดเพื่อนำต้นกล้ามาเพาะพันธุ์มีอยู่เป็นจำนวนมากน่าจะใช้ประโยชน์ทดแทนได้ จึงขนย้ายไม้ไผ่อ่อนจากพื้นที่ที่ชาวบ้านแต่ละรายปลูกกันเอาไว้ แล้วนำมาตัดเป็นท่อนขนาดยาว 60 เซนติเมตร ให้เสมอความสูงของเตาเผา

เตาดินที่ใช้เผาถ่านไผ่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างด้วยดินแล้วยังเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้าน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร มีความสูง 1.60 เมตร ถือว่าเป็นเตาที่มีขนาดเล็กซึ่งชาวบ้านใช้งานเผาถ่านขายหรือไว้ใช้งานเป็นประจำโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินสร้างเตาเผาแบบเทคโนโลยีสมัยใหม่

ทั้งนี้ เตาเผาดินสามารถเผาไม้ไผ่อ่อนได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องปรับวิธีการใช้ความร้อนให้เหมาะสมด้วยการเรียงไม้ไผ่ที่จะเผาให้อยู่ในแนวตั้ง ไม่ต้องชิดกันให้เกิดช่องว่างระหว่างลำในลักษณะกากบาท เพื่อต้องการให้มีความร้อนผ่านช่อง ทำให้ไผ่ทุกท่อนได้รับความร้อนจากการเผาได้ทั่วถึงและเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ถ่านไผ่ที่ผลิตขึ้นตามแนวทางนี้ได้ผ่านการทดสอบความร้อนแล้วพบว่ามีคุณภาพเทียบเท่ากับไม้ไผ่แก่ที่นำมาเผาขายทั่วไปเช่นกัน

“ช่วงเวลาเผาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3 วัน โดยวันแรกเผาเพื่อต้องการไล่ความชื้นออกจากไม้ พอวันที่ 2-3 ความร้อนจะเข้าไปในเนื้อไม้ ขณะเดียวกัน คนที่ดูแลเผาจะต้องควบคุมอุณหภูมิความร้อนให้มีความพอดี เพราะถ้าน้อยไปเชื้อไฟที่เผาจะดับหรือถ้ามากไปไผ่ที่เผาอาจจะกลายเป็นขี้เถ้าทันที

ฉะนั้น ผู้ที่อยู่หน้าเตาเผาจะต้องมีทักษะในการควบคุมความร้อนจากเชื้อเพลิงของหน้าเตากับควันที่ปล่อยออกมาจากท้ายเตาให้มีความพอดี ภายหลังที่ได้ครบเวลาก็จะปิดช่องด้านหน้าและหลังเพื่อรอให้ไฟในเตาดับสนิทเองก่อน จากนั้นจึงค่อยลำเลียงไม้ไผ่ถ่านออกมาใส่กระสอบขาย”

คุณองอาจชี้ว่า การให้ชาวบ้านเปลี่ยนเผาถ่านจากไม้เบญจพรรณมาเป็นไม้ไผ่ เนื่องจากต้องการอนุรักษ์ไม้เบญจพรรณทางธรรมชาติให้มีมากขึ้นทั่วทั้งผืนป่าทุกแห่ง ขณะเดียวกัน ในทุกปีชาวบ้านจะตัดไม้ไผ่อ่อนทิ้ง ดังนั้น จึงเห็นว่าน่าจะนำไม้ไผ่อ่อนมาใช้ประโยชน์สร้างมูลค่า ซึ่งถ้าชาวบ้านเผาถ่านจากไผ่ทางคุณองอาจจะรับซื้อเพื่อให้ชาวบ้านมีตลาดรองรับสร้างความเชื่อมั่น หรืออีกแนวทางคือต้องการหาพลังงานทดแทนอย่างอื่นแทนการใช้ไม้เบญจพรรณ

“หลังจากชาวบ้านเผาถ่านไผ่อ่อนเสร็จแล้วคุณองอาจจะรับซื้อไม้ไผ่ที่เผาแล้วจากชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกลุ่มในราคากระสอบละ 120 บาท จากนั้นนำถ่านมาบด ผสมน้ำ หมักน้ำไว้ 1-2 คืนให้ถ่านนิ่ม อัดเป็นก้อนตากให้แห้ง บรรจุลงในถุงพลาสติกตามจำนวนที่ลูกค้าสั่ง แล้วขายในราคากิโลกรัมละ 18 บาท”

สำหรับคุณสมบัติของถ่านที่ผลิตจากไผ่อ่อน คุณองอาจชี้ว่า มีประสิทธิภาพการให้ความร้อนสูง มีควันน้อย ไม่มีเปลวไฟ ประหยัดเวลาการใช้เพราะจะร้อนเร็วกว่าถ่านทั่วไปหลายเท่า แถมยังใช้ในจำนวนที่น้อยกว่าถ่านที่ผลิตจากไม้เบญจพรรณ

“เวลานำไปใช้งานลูกค้าถามว่าดูเหมือนจะไม่ค่อยร้อน แต่แท้จริงแล้วให้พลังงานความร้อนที่สูงและเป็นความร้อนคงที่ อย่างถ้าใช้ย่างปลาจะพบว่าเนื้อปลาด้านในสุกก่อนหนังปลา ต่างจากถ่านทั่วไปที่พบว่าหนังปลาจะไหม้ก่อนแต่เนื้อปลายังไม่สุกเลย”

ทางด้านการตลาดของคุณองอาจมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การผลิตเพื่อจำหน่ายสำหรับใช้ตามร้านอาหารประเภทปิ้ง ย่าง เผา และอีกทางคือการรับจ้างผลิตถ่านอัดแท่งเกรดคุณภาพพร้อมบรรจุส่งให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ขายต่อ

“การผลิตถ่านไม้ไผ่ของกลุ่มจะให้ความสำคัญกับคุณภาพเป็นหลัก ทั้งนี้ กลุ่มจะผลิตตามกำลังและให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ไม่เน้นปริมาณเท่ากับคุณภาพเพราะถ้าลูกค้านำสิ่งที่ไม่มีคุณภาพไปใช้จะเกิดความเสียหาย แล้วจะทำลายชื่อเสียงของกลุ่มตามมาในภายหลังด้วย” คุณองอาจ กล่าว

ท่านใดที่เป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารแนวปิ้ง ย่าง และเผา กำลังมองหาถ่านหุงต้มคุณภาพแล้วให้ประสิทธิภาพความร้อนสูง ประหยัดเวลาและเงินทุน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น ติดต่อได้ที่ คุณองอาจ โทรศัพท์ (084) 418-9436

หมายเหตุ : คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เปิดอบรมหลักสูตรฝึกอบรมนอกสถานที่เรื่อง “การฝึกวิชาชีพจากไม้ไผ่เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้” ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2561

ผู้สนใจติดต่อ คุณนิราวรรณ วงษ์ลุนลา โทรศัพท์ (064) 323-8740 ดร.พัดชา เศรษฐากา โทรศัพท์ (081) 768-9707 “ส้มเขียวหวาน” อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น มีชื่อเสียงในการผลิตส้มเขียวหวานรสชาติดี เป็นที่รู้จักกันมาแต่เนิ่นนานไม่น้อยกว่า 50 ปี ทั้งจำนวนพื้นที่ จำนวนเกษตรกร และผลผลิตเคยนำส่งไปขายยังต่างประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ เมื่อเวลาล่วงเลยไป จำนวนพื้นที่และผู้ปลูกได้ลดน้อยถอยลง ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย แต่ต่อมาได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาขึ้นมาอีกครั้ง กลับมาเป็นส้มเขียวหวานที่มีชื่อเสียงอีกครั้งเช่นอดีต จนเป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภค

อำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น ทั้ง 2 อำเภอ BETFLIK อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกส้มเขียวหวานมากที่สุด ตามข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ แจ้งไว้ว่า มีพื้นที่ปลูกรวม 17,422 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 14,294 ไร่ จำนวนเกษตรกร 2,460 ครัวเรือน และมีปลูกในอำเภอร้องกวางและหนองม่วงไข่แต่ไม่มากนัก (ข้อมูล ปี 2560)

ลักษณะเด่นของส้มเขียวหวาน ลอง-วังชิ้น

ผล ผลใหญ่ ผลกลมแป้น ผิวเนียน สีผิวเขียวอมเหลือง เส้นใยไม่ติดเนื้อ เรียกกันว่า ส้มเปลือกล่อน เนื้อ สีเหลืองส้ม ฉ่ำน้ำ น้ำในผลสม่ำเสมอ เนื้ออวบเต้ง (คำว่า เต้ง เป็นคำท้องถิ่น หมายถึง อวบ เต่งตึง)

รสชาติ หวานกลมกล่อม และหวานอมเปรี้ยวในบางฤดู ผลผลิตจะออกสู่ตลาดปีละ 3 รุ่น

รุ่นที่ 1 เดือนตุลาคม-มกราคม จะมีปริมาณมากที่สุด ส้มมีรสหวาน

รุ่นที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ปริมาณอยู่ในระดับปานกลาง ส้มมีรสหวานนำเปรี้ยว รุ่นที่ 3 เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม มีปริมาณน้อย และส้มมีรสเปรี้ยวนำ

ซึ่งแต่ละปีผลผลิตส้มเขียวหวานจะออกมาพร้อมๆ กัน กอปรกับเกษตรกรแต่ละรายมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก มักจะมีปัญหาที่ต่างคนต่างขาย รีบขาย เพราะมีค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงมีผลต่อราคา และการรวบรวมผลผลิต นั่นคือ ภาพในอดีต แต่ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตส้มเขียวหวานของทั้ง 2 อำเภอ ดีขึ้นเป็นลำดับ ปัจจัยหนึ่งมาจากนโยบายของทางราชการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิตด้วยระบบเกษตรแปลงใหญ่

เพื่อให้เห็นภาพของการรวมกลุ่มกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ส้มเขียวหวาน ผมจึงได้ลงพื้นที่ไปดูแปลงปลูกและนำมาเสนอผลการขับเคลื่อนระบบเกษตรแปลงใหญ่ส้มเขียวหวานของทั้ง 2 อำเภอ โดยขอนำมาเป็นบทความเดียวกัน เนื่องด้วยทั้งอำเภอลองและอำเภอวังชิ้นมีประวัติศาสตร์ทางการปกครองในอดีตมาเหมือนๆ กัน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิสังคมของคนในพื้นถิ่นที่มีวิถีชีวิตผูกพันกันมา และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานอยู่นอกเขตชลประทาน แต่เกษตรกรก็มุ่งมั่นพากเพียรผลิตส้มเขียวหวานกันมาแต่เนิ่นนาน

ผมได้พบและสนทนากับ คุณปราณี สุวรรณชัย เกษตรอำเภอลอง และ สิบตำรวจตรีสมจิต ฟูบินทร์ เกษตรอำเภอวังชิ้น ก่อนที่ท่านและเจ้าหน้าที่จะนำผมไปลงพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ที่ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง และตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น