อยุธยาเร่งฟื้นฟูต้นพุทราเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี 779 ต้นในเขต

โบราณสถานเมื่อวันที่ 19 เมษายน นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานบวงสรวงอดีตบูรพมหากษัตริย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแผ่นดิน ที่พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง กลางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อขออนุญาตดำเนินงานตัดแต่งกิ่ง ปรับปรุงฟื้นฟู ใส่ปุ๋ย กำจัดมอดปลวก แมลง และพัฒนาต้นพุทราโบราณ ในเขตเกาะเมืองกรุงเก่า รวม 779 ต้น และในจำนวนนี้อยู่ในเขตพระราชวังโบราณ และพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ ฯ จำนวนมากถึง 550 ต้น ซึ่งต้นพุทราส่วนใหญ่ อายุประมาณ 70 ปี ถึงกว่า 100 ปี โดยต้นที่อายุเก่าแก่ที่สุด และยังไม่หักโค่น อยู่ในเขตวัดราชบูรณะ มีอายุมากถึง 135 ปี

นายสุจินต์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดรับผิดชอบโครงการนี้ กำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน เพื่อให้ต้นพุทราซึ่งมีภาพเป็นเอกลักษณ์อยู่คู่กับโบราณสถานเมืองกรุงเก่า ให้มีสภาพไม่ยืนต้นตาย และกิ่งก้านไม่รกรุงรัง นอกจากนี้ ยังจะได้ผลิดอกใบ ออกผล ซึ่งแต่ก่อนนั้น พุทราอยุธยาชื่อดังมาก หากกินผลสดจะว่ารสชาติอร่อย แต่หากนำมาแปรรูปเป็นพุทรากวน พุทราเชื่อม พุทราแผ่น จะมีรสชาติที่กลมกล่อม และเป็นสินค้าของฝากชื่อดังในอดีต

เมื่อวันที่ 19 เมษายน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานและคณะลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มต่ำ เขตสำนักงานชลประทานที่10 จังหวัดลพบุรี โดยมีนายสุขาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 10 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน

ทั้งนี้ โครงการชลประทานที่ 10 ได้มีการดำเนินการในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยทำการศึกษาและสำรวจการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งติดตามปริมาณน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนนำน้ำเข้าและออกจากพื้นที่

ซึ่งในเขตพื้นที่ชลประทานที่10 มีพื้นที่ลุ่มต่ำในความรับผิดชอบจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งบางบาล ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งบางกุ่ม รวมพื้นที่ 290,130 ไร่ สามารถเก็บกักน้ำได้ 544ล้าน ลบ.ม. ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในฤดูน้ำหลาก และพร้อมเริ่มส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร 2.01ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มต่ำได้ในวันที่ 1 พ.ค. 61และในเขตพื้นที่ดอน สามารถส่งน้ำได้เมื่อประกาศเข้าฤดูฝน ส่วนการเตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมได้มีการสร้างคั้นกันน้ำจำนวน 9 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ที่ประสบภัย พร้อมเฝ้าระวังและติดตามสภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่า เตรียมความพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที

ส่วนการดำเนินงานในโครงการไทยนิยมยั่งยืนของสำนักชลประทานที่ 10 ได้เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถทำอยู่ทำกินสร้างความมั่นคงได้อย่างยืน

และได้ทำการลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนพบว่า มีรายการงานที่ขอเพิ่มรวมจำนวน 92 รายการ เป็นการจ้างแรงงาน 6 รายการ ส่งเสริมการใช้ยางพารา จำนวน 12 รายการ พัฒนาแหล่งน้ำโครงการพระราชดำริ จำนวน 1 รายการ ฟิ้นฟูแหล่งน้ำเพื่องป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 73 รายการ รวมวงเงิน 612.992 ล้านบาท

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมรับฟังปัญหาการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการโครงการ เพื่อวางแผนขับเคลื่อนให้โครงการฯ สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่

จากนั้นเดินทางต่อไปยัง ที่ทำการกลุ่มผู้ใช้น้ำทุ่งบางกุ่ม ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี เพื่อร่วมรับฟังเสียงสะท้อนจาก เกษตรกรและชาวบ้านถึงปัญหาและความต้องการการใช้น้ำของชุมชน

เดิมพื้นที่บางกุ่มเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากแต่จากการบริหารการจัดการน้ำของกรมชลประทานและได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างดีในการเปลี่ยนปฏิทินการทำนาเป็นสองครั้งคือเดือนพฤษภาคม-กันยายน และเดือนธันวาคม-มีนาคม ทำให้การทำนาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

และกรมชลฯยังได้สนับสนุนการปล่อยน้ำลงในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ร่องเรือ ดูนก ยกย่อ สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ชุมชนจากการท่องเที่ยว และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงธรรมชาติเก็บกักน้ำลดความเสียหายจากน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากได้อีกด้วย

ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาทำให้ชาวบ้านในพื้นที่มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ในส่วนความต้องการเพิ่มเติมนั้น ชาวบ้านในพื้นที่ต้องการประตูระบายน้ำเพิ่มอีกหนึ่งประตูจากเดิมที่มีแค่ประตูเดียวเพื่อทำการระบายน้ำได้มากขึ้น

ทั้งนี้พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางกุ่มเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในพื้นที่ลุ่มต่ำจำนวน 6 แห่ง รับน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสัก ทางคลองระบาย 4 ซ้ายและรับน้ำจากแม่น้ำป่าสักในช่วงน้ำทะเลหนุนเข้าทางคลองระบายน้ำบางพระครูเข้าสู่พื้นที่ทุ่งบางกุ่ม

เมื่อวันที่ 19 เมษายน ที่เมือง Haarlem ประเทศเนเธอร์แลนด์ นายกัมพล ตันสัจจา ผอ.สวนนงนุชพัทยา พร้อมทีมงานสวนนงนุชพัทยา เป็นตัวแทนประเทศไทย พร้อมด้วยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมขบวนพาเหรดดอกไม้ เป็นปีที่ 2

แต่ในปีนี้ สวนนุชพัทยาเสนอกับทางผู้จัดงานว่า ไม่ขอเข้าประกวดชิงรางวัล แต่ขอเป็นส่วนหนึ่งภายในงานที่จะร่วมสรรสร้างเนรมิตความงามของการจัดขบวนรถบุปผชาติ ภายใต้คอนเซปต์ “THAI CULTURE AND RELIGION” อันมีความหมายว่า “วัฒนธรรมและศาสนาของประเทศไทย” เพื่อเผยแพร่ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการท่องเที่ยวของประเทศไทย

โดยผ่านชิ้นงานที่นำจัดแสดง อาทิ พระพุทธรูป อันแสดงถึงการการนับถือศาสนาพุทธ, ช้าง หมายถึง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย, เรือสุพรรณหงส์ แสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปะอันงดงามของไทย ได้ประจักษ์สู่กลุ่มชาวยุโรป และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก

โดยในวันนี้ ทางสวนนงนุชพัทยา และชาวเมือง Haarlem ช่วยกันนำดอกไม้เมืองหนาว ทั้งทิวลิป ดอกไม้ประจำชาติของเนเธอร์แลนด์ ดอกกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ และพืชเมืองหนาวอีกหลายชนิด มาตกแต่งบนขบวนรถบุปผชาติของไทยในวันแรก แล้วเสร็จไป 50 เปอร์เซ็นต์ ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปในแต่ละเมืองในวันที่ 21 เมษายนนี้

สำหรับเทศกาลพาเหรดดอกไม้ Bloemencorso Bollenstreek มีขึ้นครั้งแรกในปี 1947 ได้รับความสนใจอย่างรวดเร็ว จนกลายขบวนพาเหรดดอกไม้นานาชาติ ที่มีทั้งพาเหรดแบบดั้งเดิม และร่วมสมัย ซึ่งจะถ่ายทอดผ่านสื่อไปทั่วทวีปยุโรป ตลอดช่วง 4 วันของการจัดงาน

ทางหลวงยกทางด่วนวงแหวนรอบนอกด้านใต้ให้ กทพ.เก็บค่าผ่านทางตั้งแต่กรกฎาคมนี้ แต่ยังไม่เคาะส่วนแบ่งรายได้ คค.ให้ 2 ฝ่ายตกลงกันแล้วนัดเคลียร์อีกทีสัปดาห์หน้า พร้อมเบรก ทล.เรียก ค่าเสียหาย 5.4 พันล้าน ข้อพิพาทเก็บค่าผ่านทางเส้นดังกล่าว เหตุยังไม่เคยเปิดเก็บค่าผ่านทาง

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงผลการประชุมหาข้อสรุปเรื่องการบริหารจัดการจัดเก็บค่าผ่านช่วงทางหลวงพิเศษถนนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้) ช่วง พระราม 2-สุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน ระหว่าง ทล.กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมี นาย พีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (คค.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 เมษายน ว่าที่ประชุมเห็นชอบให้ กทพ.เป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทางตามเดิม โดยขอให้ ทล. และ กทพ.ไปหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางว่าจะคิดในอัตราเท่าใด เพราะ ทล.จะต้องจ้าง กทพ.จัดเก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งให้ไปเร่งหาข้อสรุปเรื่องการจัดแบ่งรายได้ว่าจะแบ่งกันอย่างไร เบื้องต้นคาดว่าจะมีรายได้จากการจัดเก็บค่าผ่านทางปีละ 50 ล้านบาท โดยสัปดาห์หน้าทั้ง 2 หน่วยงานจะเร่งประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาข้อสรุปทั้งหมดก่อนที่ กทพ.จะเริ่มดำเนินการจัดเก็บค่าผ่าน ทางเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561

“ขณะนี้ตัวเลขต้นทุนค่าใช้จ่ายดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางที่คำนวณ กทพ. และ ทล.ยังต่างกันมาก กทพ.คิดค่าใช้จ่ายเดือนละ 9.6 ล้านบาท แต่ ทล.คิดแค่เดือนละ 6.8 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเงินเดือนของ กทพ. เป็นอัตราของรัฐวิสาหกิจ แต่ ทล.เป็นอัตราของหน่วยงานราชการ ซึ่งก็ต้องเร่งหาข้อสรุปทั้ง 2 เรื่อง ส่วนในวันที่ 1 กรกฎาคม ทล.จะฟ้องศาลปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิ เพราะพื้นที่จัดเก็บเป็นพื้นที่ของ ทล.หรือไม่นั้นยังตอบไม่ได้ ต้องรอผลการประชุมก่อน” นายธานินทร์ กล่าวและว่า สัดส่วน รายได้ที่จะแบ่งกันนั้นจะต้องดูปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้นจริงก่อนหลังจากมีการเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งที่ประชุมได้ให้เก็บข้อมูลปริมาณการจราจรตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2561 เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปริมาณการจราจรในช่วงระหว่างบางนา-บางขุนเทียน จะมีปริมาณการจราจรอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านคัน ต่อเดือน

นายธานินทร์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ ทล.จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดจากข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการจัดเก็บค่าผ่านทางกับ กทพ. ซึ่งทำให้ ทล. ไม่สามารถเริ่มจัดเก็บรายได้ตั้งแต่ปี 2552 รวมเป็นเงินรายได้ที่ ทล.สูญเสียไปทั้งสิ้น 5,400 ล้านบาท ประมาณปีละ 600 ล้านบาท นั้น ที่ประชุมมองว่าเส้นทางดังกล่าวยังไม่มีการเปิดจัดเก็บค่าผ่านทางเป็นทางการ

ดังนั้นถือว่า ทล.ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น จึงไม่สามารถเรียกร้องขอชดเชยรายได้ คนไทยกว่า ร้อยละ 80 มีอาการของโรคเหงือกและโรคปริทันต์ สาเหตุเริ่มจากการที่มีเชื้อก่อโรคมาอาศัยบนผิวฟัน และกระตุ้นให้เกิดภาวะอักเสบของเหงือก เกิดเป็นโรคเหงือก ซึ่งจะพบลักษณะของเหงือกที่มีสีแดงช้ำ และมีเลือดออกได้ง่าย และหากการอักเสบลุกลามไปถึงอวัยวะรอบรากฟัน เช่น เนื้อเยื่อเอ็นยึด ปริทันต์ และกระดูกเบ้าฟัน รอยโรคก็จะพัฒนาไปเป็นโรคปริทันต์ ซึ่งจะพบการทำลายของเนื้อเยื่อ ปริทันต์ ทำให้ฟันโยก เป็นหนอง และเกิดการสูญเสียฟันในที่สุด

ในช่องปากของเรามีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่หลากหลายชนิด ทั้งเชื้อที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค เชื้อเหล่านี้จะเกาะและเจริญเติบโตอยู่บนผิวฟันเกิดเป็นแผ่นคราบจุลินทรีย์ ซึ่งหากไม่ทำความสะอาดอย่างถูกต้อง แผ่นคราบนี้ก็จะหนาตัวขึ้น และจะเริ่มมีการสะสมของแคลเซียมอิออน เกิดเป็นหินน้ำลาย ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อที่ก่อโรคที่มารวมตัวกันอยู่เป็นจำนวนมาก

การรวมตัวกันของเชื้อก่อโรคเหล่านี้ในช่องปาก ไม่ได้ทำให้เกิดโรคขึ้นในทันที แต่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่ออย่างเรื้อรัง และเกิดการทำลายช้าๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกว่าที่เราจะเห็นผลของการทำลายของเนื้อเยื่อก็อาจใช้เวลานานหลายเดือน ดังนั้น วิธีการดีที่สุดในการรักษาสุขภาพของช่องปาก คือ การป้องกันการรวมตัวของเชื้อเหล่านี้ โดยการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอทุกวัน รวมทั้งไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะหากพบทันตแพทย์เมื่อเกิดอาการของโรคแล้ว หมายความว่า เนื้อเยื่อในช่องปากของเราถูกทำลายและมีการลุกลามของโรคไปมากแล้ว

ผลเสียของโรคเหงือกและโรคปริทันต์ในปากคือ การปวด มีเลือดออก ฟันโยก และมีกลิ่นปาก แต่สิ่งที่เราควรจะทราบคือ โรคปริทันต์นั้นมีผลเสียกับสุขภาพของร่างกายด้วย โดยมีหลักฐานแสดงอย่างชัดเจนว่าการเกิดโรคปริทันต์เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคของหลอดเลือดและหัวใจ (cardiovascular disease) รวมทั้งเกี่ยวพันกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งในช่องปาก นอกจากนี้ ยังพบว่าหญิงมีครรภ์ที่เป็นโรค ปริทันต์ มีอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนดของทารกในครรภ์มากขึ้น สนับสนุนคำกล่าวที่ว่า สุขภาพ ช่องปากนั้นสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ในร่างกาย

การละเลยไม่ดูแลสุขภาพของช่องปากนั้น สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายโดยรวมได้ นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มลพิษขยะพลาสติกกลายเป็นวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม 10 ปี ที่ผ่านมามีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณ 12% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน มีการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษขยะถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนประมาณ 80% หรือประมาณ 1.2 ล้านตัน โดยเฉพาะปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ปี 2559 จำนวน 27 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณขยะพลาสติกเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 3.2 ล้านตัน

อธิบดี สส.กล่าวต่อว่า ข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติระบุว่า แต่ละปีทั่วโลกมีการใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5 แสนล้านใบ ซึ่งครึ่งหนึ่งของพลาสติกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง แต่ละปีมีปริมาณขยะพลาสติกกว่า 13 ล้านตัน ไหลลงสู่ทะเล ซึ่งประเทศไทยได้ถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดในโลก ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเล จากหลักฐานที่ปรากฏชัด แสดงให้เห็นว่าขยะพลาสติกกำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงมากขึ้นเท่าไหร่ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องช่วยกันลดปริมาณขยะพลาสติก ซึ่งไม่ว่าในเมืองใหญ่หรือชุมชนในชนบท ถุงพลาสติกก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะอำนวยความสะดวกสบายให้ทุกคน เมื่อต้องไปจับจ่ายสินค้าตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าชุมชน รวมทั้งใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่ม ทำให้ประเทศไทยมีขยะถุงพลาสติกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

นายรัชฎา กล่าวอีกว่า ดังนั้นในการจัดงานวันคุ้มครองโลก 2561 (Earth Day 2018 THAILAND) ของ ทส.ภายใต้แนวคิด “คนรุ่นใหม่ ลดขยะพลาสติก กู้วิกฤตโลกร้อน” ในวันที่ 22 เมษายน ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะมีการจัดแสดงนิทรรศการ “วิกฤตขยะพลาสติก วิกฤตโลกร้อน” การแสดง มุมมองของเยาวชนต่อการคุ้มครองโลก และการเดินขบวนรณรงค์ลดขยะพลาสติก กู้วิกฤตโลกร้อน และจะมีการรณรงค์ลดพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก ที่เกินจำเป็นและการทิ้งขยะถุงพลาสติกไม่ถูกที่ เพียงแค่ปฏิเสธการรับถุงพลาสติกจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อเพียงคนละ 1 ใบ ต่อวัน ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะถุงพลาสติกได้เป็นจำนวนหลายล้านใบต่อวัน

ก.แรงงานเปิดจัดทำ “ทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว” ระยะที่ 2 ยอดทั้งสิ้น 479,299 คน เริ่มวันที่ 23 เมษายน – 30 มิถุนายนนี้

เมื่อวันที่ 19 เมษายน พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงภายหลังเป็นประธานประชุมชี้แจงการดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา (วีซ่า) และอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว พม่า หลังวันที่ 31 มีนาคม 2561 ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 เห็นชอบให้ปรับเพิ่มระยะเวลาการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตรวจลงตรา ประทับตราให้อยู่ในราชอาณาจักร ขออนุญาตทำงานและจัดทำ/ปรับปรุงทะเบียนประวัติให้แรงงานต่างด้าว สัญชาติกัมพูชา ลาว และพม่า โดยผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ แต่ได้ยื่นเรื่องขอจัดทำ/ปรับปรุงทะเบียนประวัติกับกรมการจัดหางานในศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ

หรือโอเอสเอส (One Stop Service) สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 (สจก.1-10) หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด (สจจ.) และยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์เว็บไซต์ www.doe.go.th ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ให้สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561 เพื่อปรับปรุงทะเบียนประวัติ พิสูจน์สัญชาติ ขอรับตรวจลงตราและประทับตราให้อยู่ในประเทศได้นั้น ปรากฏว่ามีจำนวน แรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 479,299 คน แบ่งเป็น 1. กลุ่มพิสูจน์สัญชาติแล้ว 300,072 คน 2. กลุ่มยังไม่พิสูจน์สัญชาติ 179,227 คน และเพื่อให้การจัดทำ/ปรับปรุงทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา และอนุญาต ทำงานแล้วเสร็จตามกำหนดได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อการจัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน และจัดตั้งศูนย์โอเอสเอสในกรุงเทพฯ 4 แห่ง ต่างจังหวัดจังหวัดละ 1 แห่ง รวมเป็น 80 แห่ง

“สำหรับการดำเนินการของแรงงานต่างด้าวคือ 1. กลุ่มพิสูจน์สัญชาติแล้ว 300,072 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินการไม่ครบทุกขั้นตอนของศูนย์โอเอสเอส 127,429 คน โดยได้ตรวจลงตราและขออนุญาตทำงานแล้ว ให้ไปดำเนินการปรับปรุง/จัดทำทะเบียนประวัติ ผลิตบัตรประจำตัวและใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) กลุ่มที่ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ 140,770 คน และยื่นเอกสารหลักฐานที่ศูนย์โอเอสเอส/ สจก.1-10 และ สจจ. 31,873 คน รวม 172,643 คน ให้ไปตรวจสุขภาพให้แล้วเสร็จ และนำใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานใบนัดมาดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา

ผลิตบัตรประจำตัวและใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) ที่ศูนย์โอเอสเอส 2. กลุ่มยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ 179,227 คน ได้แก่ แรงงานบัตรสีชมพูหรือกลุ่มใบจับคู่ แบ่งเป็นกลุ่มดำเนินการครบทุกขั้นตอน ได้บัตรชมพูอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561 แล้ว 121,210 คน กลุ่มที่ยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ 49,286 คน และกลุ่มที่ยื่นเอกสารหลักฐานที่ศูนย์โอเอสเอส/สจก.1-10 และ สจจ. 8,731 คน รวม 58,017 คน กลุ่มนี้ให้ไปดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ได้หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางก่อน แล้วจึงดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ ตรวจลงตรา ผลิตบัตรประจำตัวและใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู) ที่ศูนย์โอเอสเอส” พล.ต.อ. อดุลย์ กล่าว

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวว่า สำหรับศูนย์โอเอสเอสในกรุงเทพฯมี 4 ศูนย์ คือ 1.กระทรวงแรงงาน 2.ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี 3.โรงพยาบาลสิรินธร อ่อนนุช 90 4.สำเพ็ง 2 โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน-30 มิถุนายนนี้

น.ต.นพ. บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจากผู้อำนวยการ รพ.จิตเวชนครพนมฯ ว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาจนอาการหายดีหรือทุเลาที่แพทย์ให้กลับไปอยู่บ้านแล้ว ญาติต้องนำกลับมารักษาที่ห้องฉุกเฉินซ้ำอีก เนื่องจากมีอาการกำเริบ เช่น ประสาทหลอน หูแว่ว เอะอะ ก้าวร้าว เป็นต้น พบสัปดาห์ละ 1-2 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดมาจากผู้ป่วยดื่มยาบำรุงร่างกายแผนโบราณ ซึ่งฉลากระบุว่ามีสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนผสม ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นยาบำรุงร่างกายทั่วไป ดื่มแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรง มีกำลังในการทำงานไม่เหนื่อย จึงได้ให้ รพ.จิตเวชนครพนมฯ ประสานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ผ่านการอบรมเป็น อสม.เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตชุมชนจากกรมสุขภาพจิต เร่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยจิตเวชและญาติรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ด้วย

นพ. กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการ รพ.จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ กล่าวว่า ยาบำรุงร่างกายตามตำรับยาแผนโบราณเป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้จากการนำแอลกอฮอล์หรือเหล้ามาหมักกับสมุนไพรเพื่อสกัดเป็นตัวยา มีสรรพคุณตามฤทธิ์ของสมุนไพร เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยยาแผนโบราณที่ผู้ป่วยจิตเวชนำมาดื่มและทำให้มีอาการกำเริบนั้น มีผลการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2558 พบมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ในปริมาณที่สูงและไม่ได้แสดงปริมาณแอลกอฮอล์ไว้บนฉลากยาอย่างชัดเจน

ระบุแต่เพียงชื่อสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เช่น ม้ากระทืบโรง กำลังเสือโคร่ง เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยจิตเวชดื่มเข้าไปจึงเท่ากับดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มเหล้าเข้าไป ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นสมองผู้ป่วยโดยตรง มีผลต้านกับฤทธิ์ของยาที่แพทย์ใช้ในการควบคุมอาการ ทำให้การรักษาไม่ได้ผล แพทย์จึงห้ามผู้ป่วยโรคจิตเวชทุกโรคไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมทุกชนิดรวมทั้งยาดองเหล้าสมุนไพร และสารเสพติดอื่นๆ ที่เป็นสารกระตุ้นสมอง โดยเฉพาะยาบ้า

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรฯ ประสานกระทรวงพาณิชย์ เตรียมรับมือเฝ้าระวังผลผลิตการเกษตร 6 สินค้าคือ ลำไย ยางพาราแผ่นดิบ สับปะรดโรงงาน สุกรน้ำหนักเกิน 100 ก.ก. ไข่ไก่เบอร์ 3 และไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ เนื่องจากผลผลิตสู่ตลาดจำนวนมาก

“สินค้าที่เชื่อว่าราคาจะดีหลายตัว อาทิ ข้าว ลำไย แต่ รมต.แสดงความกังวล และสั่งการให้ร่วมมือกันทุกหน่วยงาน ร่วมกับสหกรณ์และพาณิชย์ เพื่อขนส่งผลผลิตที่จะออกมาพร้อมๆ กัน ช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย ราคาที่เกษตรกรขายได้ยังสูง ส่วนของลำไย ผลผลิตน่าจะมากกว่าปีก่อน แต่ไม่ล้นตลาดเพราะต่างชาติ โดยเฉพาะจีนสนใจนำเข้าจำนวนมาก”