อย่าว่าแต่ 150 กิโลกรัมต่อต้น แค่เพียง 100 กิโลกรัมต่อต้นก็เกิน

เพราะที่ผ่านมาอย่างสวนแห่งนี้แค่ปีที่ 5 ยังได้ถึง 60-70 กิโลกรัมต่อต้น แล้วเป็นต้นเล็กด้วย แล้วถ้าไปถึงปีที่ 8 จำนวน 100 กิโลกรัมต่อต้น ต้องเป็นไปได้แน่นอนคุณประทินย้ำจุดยืนในเรื่องการขายว่า ที่ผ่านมามีการตั้งราคาขายไว้ กิโลกรัมละ 500 บาท เขามองว่าอาจสูงเกินไป เพราะการปลูกอินทผลัม ถ้าได้ผลผลิตถึงต้นละ 100 กิโลกรัม เพียงขายแค่กิโลกรัมละ 100 บาท เพียงต้นเดียวมีรายได้หนึ่งหมื่นบาท แล้วถ้าปลูก 25 ต้นต่อไร่ อาจมีรายได้ถึง 2.5 แสนบาท

ขณะเดียวกันได้ให้มุมมองในเรื่องการตั้งราคาต่อไปอีกว่า ถ้าคิดว่าราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาท ยังสูงไป แล้วฐานตลาดลูกค้ามีจำนวนหลักพันคน แต่ถ้าดึงราคาขายจากหน้าสวนให้ลดลงมาเหลือกิโลกรัมละ 50 บาท คุณจะได้เงิน 5,000 บาทต่อต้น แล้วมีรายได้ไร่ละแสนกว่าบาทต่อไร่ต่อปี

“เมื่อแม่ค้านำไปขายกิโลกรัมละ 70-80 บาท เป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกคน ทุกระดับ จับต้องได้ เพราะระดับราคาใกล้เคียงกับไม้ผลชนิดอื่น ในเมื่อทุกคนมีโอกาสซื้อได้แล้ว คิดว่าถ้าตั้งราคานี้จะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกจำนวนสักเท่าไร ฉะนั้น ประโยชน์ตรงนี้คุณก็ได้ แม่ค้าคนขายก็ได้”

คุณประทินชี้ว่า ความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทยสำหรับการปลูกอินทผลัมนั้นค่อนข้างเอื้อแต่อาจไม่ครบทุกจังหวัด ซึ่งถ้าจากภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมาจนสุดภาคเหนือสามารถปลูกได้ทุกแห่ง เนื่องจากถ้าเป็นจังหวัดทางใต้ตอนล่างมีฝนมาก อันมีผลกระทบกับอินทผลัมในช่วงสะสมตาดอก ยิ่งถ้าน้ำท่วมคงได้แต่ยอดใหม่ แต่ไม่ออกดอก

สำหรับตลาดอินทผลัมของคุณประทิน เสนอขายที่ราคากิโลกรัมละ 50 บาท คุณประทินชี้ว่า เมื่อมีราคากิโลกรัมละ 500 บาท แห่ปลูกกันจนทำให้ราคาลดลง แต่ความจริงแล้วการขายที่ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ก็สามารถอยู่ได้ ขณะนี้มีห้างสรรพสินค้าดังหลายแห่งติดต่อเข้ามาเพื่อขอซื้อ แต่ยังไม่กล้ารับปาก เนื่องจากความไม่แน่นอนในเรื่องสภาพอากาศ จึงทำให้คุณภาพผลผลิตยังไม่คงที่

ตั้งสมมุติฐานเพศด้วยการดูจากต้น
ถึงแม้ข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดคือ การได้จำนวนต้นมากในเวลารวดเร็ว แล้วมีราคาไม่สูงนัก แต่กว่าจะรู้ว่าต้นใดเป็นเพศผู้-เพศเมีย นั้น จะต้องรอไปจนกระทั่งแทงจั่นออกดอก หรือราว 3-4 ปี ฉะนั้น โอกาสเสี่ยงจึงมีมาก ด้วยเหตุนี้ผู้ปลูกบางรายจึงตัดสินใจหาซื้อต้นเนื้อเยื่อที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากทราบเพศที่แน่นอนและมีคุณภาพดีเท่ากับต้นแม่ที่คัดพันธุ์ แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้เงินลงทุนมาก

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา 4-5 ปี การได้คลุกคลีอยู่กับอินทผลัมของคุณประทิน ทำให้ได้สังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างต้นตัวผู้-ตัวเมีย ในระหว่างการเจริญเติบโต ดังนั้น เพื่อเป็นการทดสอบตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ จึงทำให้คุณประทินคัดเลือกต้นที่คาดว่าน่าจะเป็นเพศเมีย จำนวน 160 ต้น แยกออกมาปลูกไว้ต่างหาก

และในเวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้า หากสมมุติฐานของเขาเป็นความจริง แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่าต้นที่นำมาปลูกเป็นตัวเมียทุกต้น ก็จะลดความเสี่ยงจากการเลือกเพศได้มาก อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานของคุณประทินขอสงวนสิทธิ์ที่ไม่ให้ข้อมูลรายละเอียด

ปัจจุบัน สวน ‘KDP’ (KORAT DATE PALM) ของคุณประทินปลูกอินทผลัมอยู่ จำนวน 60 ไร่ แล้วเตรียมไว้อีก 20 ไร่ มีต้นพันธุ์จำหน่ายตลอดทั้งปี ทั้งเพาะเมล็ดและเนื้อเยื่อ แต่ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้น ยังต้อนรับคณะที่ต้องการเข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงานอีก แล้วได้เปิดสวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561 ที่ “สวนบุญมี” อยู่บ้านเลขที่ 90/1 หมู่ที่ 1 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นางละเมียด หรือ นางบุญมี มาแต้ม อายุ 57 ปี เจ้าของบ้าน พร้อมด้วยบุตรชายคือ นายณัฐพล หรือ “น้องหนึ่ง” มาแต้ม อายุ 25 ปี และ นางศรีวพร หรือ “น้องเอ๋” มาแต้ม อายุ 25 ปี ลูกสะใภ้ ได้พาสื่อมวลชนเยี่ยมชมสวนทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ซึ่งมีอยู่ 1 ต้น ที่ให้ผลทุเรียน จำนวน 33 ผล แต่ทุเรียน 18 ผล มีเปลือกเป็นสีทองเหลืองอร่าม ที่เหลืออีก 14 ผล มีเปลือกเป็นสีเขียว และอีก 1 ผล มีเปลือกเป็นสีทองกับสีเขียวในผลเดียวกัน

นางศรีวพร กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 แล้วที่ทุเรียนต้นดังกล่าวให้ผล ที่มีเปลือกเป็นสีทอง 18 ผล และสีทองสลับกับสีเขียว 1 ผล โดยในปีแรก คือ ปี 2559 ทุเรียนต้นนี้ที่มีอายุประมาณ 6 ปี ได้เริ่มออกดอกและผลเป็นสีทองประมาณ 2-3 ผล ทำให้นายณัฐพลผู้เป็นสามีคิดว่าทุเรียนคงเป็นโรค แต่เมื่อให้นักวิชาการเกษตรช่วยตรวจสอบก็ทราบว่า ทุเรียนไม่ได้เป็นโรค อย่างที่สามีเข้าใจ หลังจากนั้นในปีที่สอง คือ ปี 2560 จึงหารือกับผู้ใหญ่ รวมทั้ง นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรในขณะนั้น ว่าจะนำทุเรียนที่มีเปลือกสีทองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนายณรงค์ก็นำตนเดินทาง ขึ้นทูลเกล้าฯ จำนวน 4 ผล พร้อมสะละและมังคุด โดยมีราชเลขาในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้รับ

“สำหรับในปีนี้ ทุเรียนต้นนี้ก็ยังคงให้ผลเป็นสีทองและสีทองสลับเขียวถึง 19 ผล จึงแจ้งให้จังหวัดชุมพรทราบ และกำหนดจะตัดทุเรียนต้นนี้ ในวันที่ 2 กันยายน 2561 จากนั้นจะนำทุเรียนสีทอง 2 ผล และทุเรียนสีเขียว 2 ผล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 6 กันยายน 2561 พร้อมเงินสด จำนวน 100,000 บาท ที่ได้จากการประมูลทุเรียนสีทองหน้าเทศบาลเมืองชุมพร เมื่อปีที่แล้ว” นางศรีวพร กล่าว

นางศรีวพร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับทุเรียนสีทองที่เหลืออีก 17 ผล (นำทูลเกล้าฯ ไป 2 ผล) ได้ปรึกษากับจังหวัดชุมพรว่า จะนำออกประมูลหน้าเทศบาลเมืองชุมพรเหมือนเมื่อปีที่แล้ว เพื่อนำรายได้จากการประมูลมอบให้สถานสงเคราะห์คนชราบ้านอู่ทอง-พนังตัก จังหวัดชุมพร และสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากลจังหวัดชุมพร-ระนอง ต่อไป

“หลังจากนี้ คงต้องจ้างแรงงานชาวเมียนมา 10,000 บาท ให้มานอนเฝ้าสวนทุเรียนสีทองต้นนี้เอาไว้ จนกว่าจะถึงวันที่ 2 กันยายน 2561 ซึ่งจะเป็นวันตัดทุเรียน เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ และนำออกประมูล” นางศรีวพร กล่าว

หลายคนอยากมีสนามหญ้าสีเขียวๆ ไว้เพิ่มบรรยากาศความสดชื่น และใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุด นั่งเล่น นอนเล่นในสนามหญ้าหน้าบ้านให้เพลิดเพลินใจ แต่การดูแลสนามหญ้าให้เขียวชอุ่มสวยตลอดเวลา ก็ต้องคอยแบ่งเวลาดูแลให้ปุ๋ยให้น้ำต้นหญ้าในสนามอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นหญ้าเริ่มเขียว ปัญหาที่ตามมาคือ หญ้าจะโต สูงๆ ต่ำๆ ไม่เท่ากัน ตกเป็นภาระหนักของพ่อบ้านหลายราย ที่ถูกแม่บ้านชี้นิ้วสั่งให้ทำงานตัดหญ้า

หากใครรู้สึกเบื่อ กับการทำงานตัดหญ้า ขอแนะนำให้ลองปลูก “ใบต่างเหรียญ” เป็นไม้สนามแทนต้นหญ้า เพราะประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้าได้อย่างดี เนื่องจาก ต้นใบต่างเหรียญ จะเจริญเติบโตแนบไปกับดิน ทำให้ประหยัดเวลาและพลังงานในการตัดหญ้า “ใบต่างเหรียญ” เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยในหัวข้อ “จากพืชท้องถิ่น สู่ไม้ประดับ” ของ กรมวิชาการเกษตร ที่เผยแพร่สู่สาธารณชนมาตั้งแต่ ปี 2556 เพื่อให้คนไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ของพืชท้องถิ่นในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

“ใบต่างเหรียญ” เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ อายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน มีรากตามข้อ ทำให้ยึดเกาะดินได้ดี ใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ขอบเรียบ ดอกสีขาว ออกตามซอกใบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแบ่งจากต้นเดิม ทนแล้งได้ดี เป็นพืชที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นของ “ใบต่างเหรียญ” คือ เจริญเติบโตเต็มพื้นที่ ใบจะช่วยปกป้องไม่ให้น้ำฝนปะทะผิวดินโดยตรง ป้องกันการชะล้างดินได้ดี ใบไม่ช้ำ หรือเละ เมื่อถูกเหยียบย่ำ

หากใครเบื่อดูแลสนามหญ้า ก็อยากเชิญชวนให้หันมาปลูกใบต่างเหรียญแทน เพื่อประหยัดเวลาในการดูแลสนามหญ้า และร่วมอนุรักษ์พืชท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน สำหรับผู้อ่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชชนิดนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โทร. 02-940-7409 ในวันและเวลาราชการ

“มังคุด” นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดพังงา เพราะมีตัวเลขพื้นที่ปลูกมากเป็น อันดับ 3 รองจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน ลักษณะเด่นของมังคุดพังงาคือ มี “ผิวสีน้ำตาลอมแดง รสชาติหวานอมเปรี้ยว” กลายเป็นอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดพังงา ปลูกง่าย ขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งคนไทยและต่างชาติ จากคุณลักษณะเด่นดังกล่าว ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา จึงตั้งชื่อมังคุดพังงาว่า “ทิพย์พังงา” หมายถึง ผลไม้ที่เป็นของเทวดา มีรสเลิศจากจังหวัดพังงา

ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เข้าช่วยประชาสัมพันธ์สินค้ามังคุดทิพย์พังงาอย่างเต็มที่ โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิญนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ เข้ามากินมังคุดในช่วงฤดูกาลผลไม้ ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา มังคุดทิพย์พังงา สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจแก่ชาวพังงาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง สู่ครอบครัวเกษตรกรและกระจายรายได้ก้อนโตเข้าสู่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องทุกปี

กลุ่มพัฒนามังคุด เพื่อการส่งออกจังหวัดพังงา

โดยทั่วไป มังคุดทิพย์พังงา จะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี แต่ปีใด มังคุดพังงามีผลผลิตเข้าตลาดในช่วงเวลาเดียวกับภาคตะวันออก มักเสียเปรียบในเรื่องการขนส่ง และถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จึงได้รวมตัวกัน ในชื่อ “กลุ่มพัฒนามังคุดเพื่อการส่งออกจังหวัดพังงา”

เพื่อรวบรวมผลผลิตมังคุดเกรดส่งออก คือ มังคุดที่มีน้ำหนักเฉลี่ยผลละไม่น้อยกว่า 90 กรัม หรือเฉลี่ยไม่เกิน 12 ลูก ต่อกิโลกรัม ประมูลขายให้กับพ่อค้า เพื่อส่งออกไปขายที่ประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฯลฯช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตให้ผู้ส่งออกได้ในราคาดีกว่าเดิมเกือบ 2 เท่าตัว

แหล่งผลิต มังคุดทิพย์พังงา

เดิมทีแหล่งปลูกมังคุดทิพย์พังงา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอกะปง อำเภอคุระบุรี และ อำเภอตะกั่วป่า ซึ่งเป็นเขตเหมืองแร่เก่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของพืช หลังจาก มังคุดทิพย์พังงาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายของตลาดในประเทศและส่งออก ชาวพังงาก็เร่งขยายพื้นที่ปลูกมังคุดทิพย์พังงามากขึ้น ในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง ฯลฯ

โดยธรรมชาติ มังคุดเป็นไม้ผลที่ต้องการอุณหภูมิสูง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงตลอดช่วงของการเจริญเติบโต ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.5-6.5 ที่สำคัญคือ พื้นที่ปลูกต้องมีน้ำเพียงพอตลอดในช่วงฤดูแล้ง เพราะต้องมีการกระตุ้น เพื่อชักนำให้เกิดการออกดอก

การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว

หลังสิ้นสุดฤดูมังคุดในช่วงเดือนกรกฎาคม เกษตรกรจะนำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมี มาใส่บำรุงต้นมังคุดให้มีสภาพสมบูรณ์ และสะสมอาหารอย่างเต็มที่ก่อนเริ่มต้นให้ผลผลิตในช่วงฤดูถัดไป ประมาณช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ต้นมังคุดจะเริ่มแตกยอด เกษตรกรต้องคอยดูแลไม่ให้หนอนแมลงทำลายยอด

ช่วงระยะแตกใบอ่อน ประมาณเดือนมกราคม เกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารตัวกลางสูงๆ เพื่อช่วยให้ต้นมังคุดออกดอกได้อย่างเต็มที่ ช่วงนี้เสี่ยงเจอปัญหาการแพร่ระบาดของ หนอน ไร และเพลี้ย จึงต้องฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงทุกๆ 10 วัน หรือประมาณ 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 2 เดือน เมื่อต้นมังคุดเริ่มออกผล ควรให้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 เพื่อเร่งพัฒนาเนื้อ และให้น้ำต้นมังคุดอย่างสม่ำเสมอจนกว่าฝนจะตก และเก็บผลมังคุดทิพย์พังงาออกจำหน่ายตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคมของทุกปี

ในโอกาสพิเศษเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ผู้นำตลาดเครื่องจักรกลการเกษตร “บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด” ประกาศทุ่มงบก้อนโต 150 ล้านบาท คืนกำไรลูกค้า โดยเปิดศูนย์เรียนรู้การเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้ชื่อ “KUBOTA Farm” บนเนื้อที่ 220 ไร่ ในจังหวัดชลบุรี เปิดโอกาสให้เกษตรกรไทยและต่างชาติ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ “นวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต” แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยวางแผนให้ผู้สนใจได้เยี่ยมชมกิจการ KUBOTA Farm ตั้งแต่ปลายปี 2561 นี้เป็นต้นไป

คุณสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ลงทุนก่อสร้าง KUBOTA Farm ที่จังหวัดชลบุรี โดยตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาฟาร์มแห่งนี้ แบ่งเป็น 10 โซน สำหรับใช้เป็นเป็นศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ เต็มรูปแบบแห่งแรกในอาเซียน ที่มุ่งให้ความรู้และเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง และเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านการเกษตรแขนงต่างๆ ถ่ายทอดให้กับเกษตรกร

สำหรับเฟสแรก จะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่จำนวน 4 โซน ได้แก่

1. โซนการทำเกษตรให้มีรายได้สูงสุด โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาใช้บริหารจัดการแปลงเพาะปลูก ประกอบด้วย บ่อน้ำ ประจำไร่นา ทำนา ปลูกไผ่ ข้าวโพดอ่อน ไม้ผล และปลูกพืชผักแบบหมุนเวียนบนพื้นที่ทำกิน จำนวน 10-15 ไร่ เพื่อให้เกิดรายได้มากที่สุด

โซนออกแบบและการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าว โดยใช้เทคนิคปฏิทินการปลูกข้าว และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตควบคู่กันไป

3. โซนการปลูกถั่วเหลืองแบบมืออาชีพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสยามคูโบต้า กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และนักวิชาการคูโบต้าประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ได้ถั่วเหลืองที่มีผลผลิตและคุณภาพสูง

4. โซนเกษตรแม่นยำ ทำน้อยแต่ได้มาก นำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำหรือ Precision Farming ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เช่น “โดรน” สำหรับบินสำรวจพื้นที่ ตรวจสภาพดินเพื่อเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ควบคุมการใส่ปุ๋ย และฉีดยาฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยว รถแทรกเตอร์ที่ควบคุมทิศทางด้วยดาวเทียม เครื่องวิเคราะห์ความต้องการอาหารพืช เทคโนโลยีตรวจอากาศและสภาพดิน เป็นต้น

เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำในการคิดค้นและวิจัยนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร สยามคูโบต้า เตรียมจัดงานสัมมนา ชื่อว่า “Agri-Forum” ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะช่วยยกระดับการเกษตรของไทยให้ก้าวสู่ เกษตร 4.0 และงานแสดงนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งปี “KUBOTA Showcase 2018” ระหว่าง วันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 ณ อิมแพค เมืองทองธานี.

เพื่อโชว์นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและระบบเทคโนโลยีการทำเกษตรกรรมจากคูโบต้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้คอนเซ็ป “The Power of Agri-Innovation” ครั้งแรกในประเทศไทย โดยพี่น้องเกษตรกร พนักงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนด้านการเกษตรจะได้สัมผัสเทคโนโลยีการเกษตรที่ล้ำสมัยใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ

“สยามคูโบต้า วางเป้าหมายพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ล้ำสมัย เพื่อรองรับการทำเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) พร้อมทั้งสอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมภาคการเกษตรของไทยเข้าสู่เกษตร 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ การนำเอาระบบ GNSS (Global navigation satellite system) เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่องจักรกลการเกษตรของคูโบต้า รวมทั้งนำระบบดิจิตอลเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดค่า เพื่อปรับปรุงการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการฟาร์ม (Farm Management; end to end solution) ซึ่งขณะนี้ได้ร่วมทดสอบและนำร่องพัฒนาระบบกับองค์กรทางภาครัฐและเอกชนต่างๆ หลายแห่ง” คุณสมศักดิ์ กล่าวในที่สุด

งานเกษตรมหัศจรรย์ 2561 เกษตรสร้างสุขยุคดิจิตอล มีมากมายเรื่องราว โดยเฉพาะการจัดแสดงทุเรียนกว่า 100 สายพันธุ์ ส่วนความก้าวหน้าทางด้านผลงานวิจัยเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจมากๆ เป็นการจัดแสดงเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับทุเรียนโดยมีทีมงานนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาบรรยายและสาธิตวิธีการ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนหรือเกษตรกรได้เรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

สำหรับท่านที่พลาดโอกาสไม่ได้ไปเที่ยวในงานและชม เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน…ใช้ตรวจวัดความอ่อนแก่ทุเรียน สู่การมีรายได้ที่มั่นคง วันนี้ผู้เขียนได้นำเรื่องราวมาบอกเล่าสู่กันครับ

คุณลลิตา ออมสิน ทีมงานนักวิจัย เล่าให้ฟังว่า ทุเรียน เป็นไม้ผลเศรษฐกิจเงินล้านที่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและเทศชื่นชอบในรสชาติความอร่อย แต่การเก็บให้ได้ผลทุเรียนที่สุกแก่ระยะเหมาะสม ได้กลิ่นหอม เนื้อแห้ง กรอบนอกนุ่มใน หวานกำลังดี ก็ต้องใช้ประสบการณ์หรือความชำนาญของเกษตรกรผู้เก็บแต่ละคน

แต่ก็มีบางคนบางกลุ่มไม่มีความรู้และประสบการณ์แล้วไปเก็บได้ผลทุเรียนอ่อนหรือแก่เกินไป ก็จะทำให้ตลาดผู้บริโภคได้สิ่งที่ไม่ตรงกับความต้องการ ในโอกาสต่อไปก็จะไม่ใช้บริการ ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตทุเรียนไม่ได้ มีรายได้ไม่พอเพียงต่อการยังชีพ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นมา เป็นผลงานของทีมงานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาทดลองกระทั่งประสบความสำเร็จ ทำให้ได้ เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน มาเป็นเครื่องมือให้เกษตรกรหรือผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการตรวจวัดคุณภาพทุเรียนหรือวิเคราะห์ความอ่อนแก่ของทุเรียนที่มีค่าความถูกต้องสูง เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียนเมื่อจัดทำเสร็จก็พร้อมจะนำออกมาใช้งานจริงในเร็ววันนี้

เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความยาวคลื่น 700-2,500 นาโนเมตร (nm) สามารถใช้ประโยชน์ของการเกิดอันตรกิริยาย่าน Near Infrared Spectroscopy NIR กับองค์ประกอบภายในตัวอย่าง เพื่อการวิเคราะห์คุณภาพทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ และไม่ทำลายตัวอย่างผลผลิต

คุณศุธหทัย โภชนากรณ์ ทีมงานนักวิจัย เล่าให้ฟังว่า เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน จะทำงานได้อย่างรวดเร็วและไม่ทำลายตัวอย่าง เป็นเครื่องแบบพกพา มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย มีส่วนประกอบสำคัญคือ
1. หัววัด (Probe) ที่มีขนาดเล็ก 23x35x15 เซนติเมตร
2. สวิตช์วัดหรือปุ่มสแกน (Scan button)
3. หน้าจอแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ (Display screen) และ
4. สถานะแบตเตอรี่ (Battery) ใช้งานได้นาน 8 ชั่วโมง

การใช้เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียนหรือวิเคราะห์ความอ่อนแก่ของทุเรียน ทำได้ด้วยการนำหัววัดไปแนบหรือจ่อให้สัมผัสที่ผิวเปลือกทุเรียนในตำแหน่งที่ต้องการ กดปุ่มสวิตช์ให้เครื่องวัดสแกนซึ่งจะมีลำแสงผ่านออกมาจากหัววัดไปสัมผัสที่ผิวเปลือกทุเรียน

เครื่องวิเคราะห์และแสดงผลบนหน้าจอ จะเป็นค่าปริมาณเนื้อแห้งเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ผ่านออกมาทางด้านหน้าจอ ภายใน 3 วินาที ก็จะทำให้เกษตรกรหรือผู้เกี่ยวข้องที่ใช้เครื่องมือได้รู้ว่า ทุเรียนผลนั้นอยู่ระยะใด เป็นทุเรียนอ่อน-แก่ หรือเป็นทุเรียนสุกแก่พอดี

การแสดงผลบนหน้าจอ จะเป็นค่าปริมาณเนื้อแห้ง (%) ค่าน้ำหนักเนื้อแห้งทุเรียน (ไม่ต่ำกว่า) เช่น หมอนทอง 32% ชะนี 30% กระดุม 27% หรือพวงมณี 30%

เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียนนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ตรวจวัดผลทุเรียนที่ตัดลงมาจากต้นใหม่ๆ เช่น เมื่อเครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียนจากผลทุเรียนที่ตัดลงมาใหม่แล้วทางหน้าจอแสดงผลออกมาว่าเป็นทุเรียนอ่อนหรือความบริบูรณ์ของทุเรียนไม่เหมาะสม หรือคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานไม่ควรบริโภคหรือเพื่อการส่งออก

เครื่องตรวจวัดคุณภาพทุเรียนหรือเครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน ทำให้เราสามารถทราบความอ่อนแก่ของทุเรียนทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวได้ ไม่ต้องทำลายผล สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกผล ส่งผลให้ทุเรียนที่ซื้อขายอยู่ในตลาด เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งผลให้ภาพลักษณ์คุณภาพของสินค้าเกษตรของประเทศดีขึ้น

เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียนนี้ สามารถประเมินปริมาณเนื้อแห้ง (%) ของผลทุเรียน ซึ่งเป็นดัชนีบ่งบอกถึงความบริบูรณ์ของผลได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และไม่แตกต่างจากค่าที่วิเคราะห์ด้วยวิธีการอบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

จากเรื่องราวของ เครื่องวิเคราะห์ความบริบูรณ์ของทุเรียน…ใช้ตรวจวัดความอ่อนแก่ทุเรียน สู่การมีรายได้ที่มั่นคง เหมาะที่จะเป็นเครื่องมือของเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องนำไปวัดความอ่อนแก่ของทุเรียน หรือรู้ระยะสุกแก่พอดีที่เหมาะสมต่อการบริโภค

สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณลลิตา ออมสิน โทร. (087) 761-3301 และ คุณศุธหทัย โภชนากรณ์ โทร. (089) 774-0586 หรือ ผศ.ดร. รณฤทธิ์ ฤทธิรณ หัวหน้าโครงการวิจัย โทร. (089) 917-1017 หรือที่ภาควิชาวิศวกรรม-การอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ครับ

คำพังเพยที่โบราณว่าไว้นั้นใช้ได้ทีเดียว แถมยังได้ความรู้และประสบการณ์จากผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่อีกมากมาย โดยปกติแล้วคนเฒ่าคนแก่จะมีอาการปวดเมื่อย ปวดแข้ง ปวดขา หน้ามืดตามัว

ก่อนอื่นจะนึกถึงยาหม่องทั่วไปตามท้องตลาด ไม่ว่ายี่ห้อไหนๆ ก็ตามก็จะเป็นยาหม่องชนิดเดียวกัน สรรพคุณเบื้องต้นเหมือนกันแทบทั้งสิ้น

ด้วยอาการต่างๆ ที่กล่าวมา ส่วนมากจะเกิดกับคนสูงอายุ การสนิทกับคนเฒ่าคนแก่มันดีอย่างนี้นี่เอง

อาการปวดล้าตามแขนขาก็เกิดกับวัยอย่างเราๆ ท่านๆ ได้เช่นกัน

จึงมีโอกาสได้ใช้น้ำมันเอ็นยืด สมัครสโบเบ็ต ซึ่งมีลักษณะเหมือนยาหม่องจากท่านผู้เฒ่าด้วย แต่ทำจากสมุนไพรหญ้าเอ็นยืด แรกๆ ก็ไม่เคยรู้จักสมุนไพรดังกล่าว มารู้ก็ต่อเมื่อเพื่อนเอามาฝาก จึงรู้ว่าสรรพคุณน้ำมันล้ำเลิศจริงๆ หากจะบอกว่ามันน่าอัศจรรย์ก็ดูจะเกินไป ก็ต่อเมื่อได้ใช้จริงๆ นั่นแหล่ะว่ามันใช่

ได้ศึกษาข้อมูลและการอ้างอิงที่ถูกต้องจึงรู้ที่มาที่ไปของหญ้าเอ็นยืดตามภาษาเรียกท้องถิ่น ส่วนกรุงเทพฯ เรียกว่า ผักกาดน้ำ หาได้ไม่ยากเลย จะพบเห็นได้ทั่วทุกภาค โดยจะขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้งที่มีความชุ่มชื้น ถ้าไม่อยากไปเสาะแสวงหาตามป่าตามทุ่งหญ้าก็สามารถนำเมล็ดแก่ไปปลูกเองได้เลยยิ่งดี

สรรพคุณของหญ้าเอ็นยืด รู้แล้วจะทึ่ง

มันมากเกินจะกล่าวอ้าง

มาดูกันคร่าวๆ แล้วนำไปปฏิบัติใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ดังนี้

– ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ

– เส้นเอ็นยึด อักเสบ

– ปวดต้นคอ

– ปวดบ่าไหล่

นี่เป็นเพียงอาการคร่าวๆ ที่น้ำมันนวดเอ็นยืดช่วยบรรเทาได้ดีทีเดียว

ประโยชน์ทางยาของหญ้าเอ็นยืดยังมีการนำส่วนต่างๆ ของหญ้าเอ็นยืดมาปรุงเป็นสมุนไพรรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองอีกหลายอย่าง เช่น

– รากนำมาต้มแก้กระษัย

– เมล็ดทำให้ตาสว่าง ทั้งต้นช่วยรักษาตาแดง ตาเป็นต้อ

– เมล็ดแก้ไอ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ

– ต้นและใบต้มกับพลูคาว แก้ความดันโลหิตสูง

นี่คือสรรพคุณและประโยชน์เพียงส่วนหนึ่งของหญ้าเอ็นยืด

หลังจากทดลองใช้ด้วยตัวเองแล้ว ไม่อยากจะเชื่อเลยว่ามันดีจริงๆ ซึ่งโดยปกติแล้วโดยส่วนตัวมักจะปวดเข่า ปวดน่อง ขา ไหล่ แทบจะทั้งตัวเลยก็ว่าได้ ไม่เชื่อขอท้าให้ลอง

ส่วนจะจริงหรือไม่อย่างไรนั้น ลองค่อยๆ ศึกษาด้วยตัวเองนะครับ สำหรับสมุนไพรที่ชื่อว่า “หญ้าเอ็นยืด”