อาการตอนกลางวันแนวทางในการตรวจวินิจฉัยง่วงนอนตอนกลาง

“ปัจจุบันมีโรงเรียนสังกัด กทม. 14 แห่ง ที่เปิดหลักสูตรอาชีพให้เลือกมากกว่า 11 หลักสูตร อาทิ ช่างทำผม เสริมสวย เครื่องยนต์ ช่างไฟฟ้า ตัดผม ทำขนม อาหารไทย ฯลฯ ล่าสุดกทม.ได้เพิ่ม 6 หลักสูตร อีก 53 โรงเรียน โดยหลักสูตร ประกอบด้วย 1.งานไม้ 2.งานซ่อมนาฬิกา 3.ช่างคอมพิวเตอร์ 4.แกะสลักกระจก 5.ผลิตกระเป๋าหนัง และ 6.ผลิตเครื่องดื่ม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นไป พร้อมประสานสถาบันอาชีวศึกษา 21 แห่ง เพื่อประสานขอทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนหลังจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3” พล.ต.อ.อัศวิน กล่าว

ตื่นนอนไม่สดชื่นแม้จะนอนพอ นอนหลับไม่เต็มอิ่ม
– ปวดศีรษะตอนตื่นนอน
– ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนลดลง หรือขาดสมาธิและความจำแย่ลง
– ผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการซนผิดปกติสมาธิสั้นในเวลากลางวัน หรืออาจมีผลการเรียนแย่ลง .การซักประวัติ

โดยเฉพาะจากคู่นอนหรือบุคคลที่สังเกตอาการผู้ป่วยได้
2.การตรวจทั่วไปและการตรวจทางหู คอ จมูกอย่างละเอียด เพื่อประเมินหาตำแหน่งของการอุดกั้นของทางเดินหายใจ อาจมีการส่องกล้องภายในทางเดินหายใจส่วนต้น
3.การตรวจเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพ รังสี (X-ray) บริเวณกะโหลกศีรษะ เพื่อประเมินขนาดของต่อมอดีนอยด์ (ในผู้ป่วยเด็ก) และเพื่อประเมินโครงสร้างกระดูกใบหน้า ขากรรไกร และเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยผู้ใหญ่
4.การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) ใช้เวลาตรวจช่วงกลางคืนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาของการนอนหลับในคนทั่วไป ถือเป็นการตรวจที่ มีความสำคัญในการวินิจฉัยแยกภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จาการนอนกรนธรรมดา บอกความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และวินิจฉัยความผิดปกติอื่นๆที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการวางแผนการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้

ปัจจุบันทางเลือกในการรักษา OSA มีอยู่ค่อนข้างมาก แนวทางในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงของโรค สาเหตุที่ตรวจพบหรือสงสัย ความต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนข้อดี ข้อเสียและข้อจำกัดของการรักษาแต่ละแบบ การรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
– การลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– การหลีกเลี่ยงการนอนหงาย อาจนอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูง
– การหลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดสมองส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ชนิดแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง และแอลกอฮอล์
– การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและคอหอย
2. การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด
– การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือเรียกว่า Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) เป็นเครื่องที่สามารถส่งลมที่มีแรงดันบวกออกมา ผ่านหน้ากาก และลมจะช่วยค้ำยันกล้ามเนื้อช่องคอให้ไม่หย่อนตัวลง
– การใส่เครื่องมือในช่องปาก (Oral appliance) เพื่อเลื่อนขากรรไกรล่าง (หรือลิ้น) ออกมาด้านหน้า ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
มีหลักการเพื่อเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจให้กว้างขึ้นหรือทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยมีการตึงตัวเพิ่มขึ้น โดยมีข้อบ่งชี้ คือ
– ตรวจพบตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนชัดเจน
-อาการจากการนอนกรนและ/หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับฯรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด
– ผู้ป่วยปฎิเสธหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของ CPAP หรือการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิธีผ่าตัด
– อาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อช่วยเสริมให้ผลการรักษาในแบบอื่น ๆ เช่น CPAP หรือ Oral appliance ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

อาการนอนกรนเพียงอย่างเดียว พบได้บ่อยและไม่ใช่โรค แต่ถ้ามีอาการสงสัยโรคหยุดหายใจขณะหลับฯร่วมด้วยหรืออาการนอนกรนนั้นรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วย คู่นอน รวมทั้งบุคคลในครอบครัว ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญและควรได้รับการตรวจวินิจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม. เรื่อง โครงการเพิ่มทางเลือกสายอาชีพให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนมัธยม กทม.ทุกแห่ง ว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีทางเลือกฝึกอาชีพตามความถนัดและความสนใจ กทม.เตรียมเพิ่มหลักสูตรฝึกอาชีพในโรงเรียนสังกัด กทม. เพิ่มเติม โน้มน้าวให้นักเรียนได้ค้นหาในสิ่งที่ตนเองชอบหรือถนัด เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในจังหวัดหนองคาย อุณหภูมิช่วงกลางวันสูง 35-36 องศาเซลเซียส ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่มีระดับต่ำ ล่าสุด วัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 1.26 เมตร ต่ำกว่าตลิ่งถึง 10.94 เมตร และยังมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากระดับน้ำทางตอนเหนือ คือที่สถานีเชียงคาน จ.เลย มีระดับลดลง 4 เซนติเมตร

ส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะที่บ้านพร้าวใต้และบ้านเจริญสุข ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย ที่มีเกษตรกรเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำโขงกว่า 100 ราย กระชังปลารวมกว่า 2,000 กระชัง ต้องขยับเลื่อนกระชังลึกลงไปในแม่น้ำโขงห่างจากตลิ่งมากขึ้น เพื่อไม่ให้กระชังเกยตื้น แต่ก็ยังพบว่ามีกระชังจำนวนหลายกระชังที่เกยตื้นเนื่องจากเกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังได้มีการเชื่อมกระชังปลายาวติดกันเป็นแพ กระชังที่เกยตื้นก็มีการย้ายปลาที่เลี้ยงไปไว้ในกระชังที่อยู่ในน้ำที่ลึกกว่า แล้วยกกระชังขึ้นไว้รอจนกว่าระดับน้ำโขงจะสูงขึ้นจนกระชังไม่เกยตื้นจึงจะมีการเลี้ยงอีกครั้ง

นอกจากนี้ จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงกลางวัน ยังทำให้ปลาไม่ลอยขึ้นมากินอาหาร และมีอัตราป่วยและตายสูงขึ้นอีกด้วย เกษตรกรต้องมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการให้อาหาร จากเช้า กลางวัน และเย็น ให้เหลือเพียงเช้าและเย็นเท่านั้น

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม จากกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้ไปร่วมงานจังหวัดเคลื่อนที่ที่โรงเรียนบ้านห้วยส้มใต้ อ.ภูกระดึง จ.เลย ในช่วงแจกทุนการศึกษาให้กับเด็กยากจน มีเด็กชายคนหนึ่งขณะรับทุนการศึกษา เชือกรองเท้าได้หลุดออก เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเห็นได้ก้มลงและผูกเชือกรองเท้าให้กับเด็กชายคนดังกล่าว ภาพเหตุการณ์นั้นทำให้ข้าราชการ ประชาชน ที่เข้าร่วมงานต่างประทับใจ และชื่นชมความไม่ถือตัว ไม่ถือยศถาบรรดาศักดิ์ของท่านผู้ว่าฯ บางคนได้ถ่ายภาพเอาไว้ และนำไปแชร์ในโลกออนไลน์อย่างมากมายนั้น

ล่าสุด ที่ศาลากลางจังหวัดเลย นายภัทรวรรธน์ ธนาสันติดิสรณ์ ผอ.โรงเรียนสงป่าเปลือย อ.ภูกระดึง จ.เลย นำ ด.ช. กรพิพัฒน์ สามัญ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าพบ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมกับ ผอ. โรงเรียนอนุบาลภูกระดึง เพื่อนำของฝากและจดหมายจากใจของเด็ก มอบให้กับท่านผู้ว่าฯ ถึงห้องทำงาน

โดย ด.ช. กรพิพัฒน์ ได้นำกล้วย 2 เครือ และมะขามหวาน 1 ถุง จากสวนของปู่และย่า นำมามอบให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมกับเขียนจดหมายระบายความในใจ ซึ่งมีข้อความว่า “กราบเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สวัสดีครับกระผมชื่อ เด็กชายกรพิพัฒน์ สามัญ ชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนสงป่าเปลือย อ.ภูกระดึง จ.เลย จากวันที่ 15 มีนาคม กระผมได้มีโอกาสไปรับทุนการศึกษาจากผู้ว่าราชการจังหวัดเลยที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านห้วยส้มใต้ ในขณะผมขึ้นไปรับทุนการศึกษาจากท่านกระผมทำเชือกรองเท้าหลุด ท่านผู้ว่าก็ได้มาผูกเชือกให้กระผม กระผมรู้สึกภูมิใจและขอขอบคุณในความเมตตาและน้ำใจของท่านยิ่งนัก ที่มีความกรุณาให้ กระผมสัญญาว่าจะตั้งใจเรียนเชื่อฟังปู่ย่าและคุณครู ประพฤติตนให้เป็นคนดีของสังคมต่อไป”

นายภัทรวรรธน์ กล่าวว่า หลังจากที่สื่อได้แพร่ภาพของผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผูกเชือกรองเท้าให้กับเด็กชายกรพิพัฒน์ซึ่งเป็นเด็กที่ยากจนมาก อาศัยอยู่กับปู่ อายุ 63 ปี ส่วนย่าอายุ 60 ปี เกิดมาแม่ก็ตาย ส่วนพ่อได้ภรรยาใหม่ ทิ้ง ด.ช. กรพิพัฒน์ ให้ปู่กับย่าเลี้ยงตั้งแต่แบเบาะ ส่วนปู่ย่าก็มีอาชีพทำไร่ทำสวนและรับจ้างทั่วไป เพื่อนำเงินมาเลี้ยงหลาน จากการที่ได้รับทุนครั้งนี้สร้างความดีใจและภูมิใจให้กับปู่และย่าเป็นอย่างมาก ทั้ง 2 ท่าน ได้มาหาโรงเรียนพร้อมกับตัดกล้วยมา 2 เครือ และเก็บมะขามหวานเองในสวน บอกว่าขอฝากไปให้ผู้ว่าฯ ที่ท่านช่างเป็นคนดี มีน้ำใจดี โอบอ้อมอารี เห็นใจคนยากคนจน

นายธวัชชัย สิทธิวีระกุล เกษตรจังหวัดลำปาง กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาไนเตรทตกค้างในผลสับปะรดของเกษตรกร ซึ่งหากมีปริมาณตกค้างสูง จะไปทำปฏิกิริยากับดีบุกที่เคลือบผิวด้านใน ของกระป๋อง ทำให้ด้านในของกระป๋องเกิดเป็นสีดำ เป็นผลเสียต่อคุณภาพการผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋อง โดยโรงงานจะสุ่มตรวจหาปริมาณไนเตรทในผลสับปะรดสดจากเกษตรกรก่อนรับซื้อ หากมีปริมาณไนเตรทสูงเกินมาตรฐาน โรงงานจะไม่รับซื้อ หรือรับซื้อในราคาต่ำ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้ผลิตสับปะรดบ่อยครั้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง จึงมีคำแนะนำ “การแก้ไขปัญหาไนเตรทตกค้างในผลสับปะรด” จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มาประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติดังนี้

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ที่มีสารประกอบทางเคมีที่ให้ธาตุไนโตรเจน (N) เช่น สูตร 21-0-0,
46-0-0, 15-15-15 และ 13-13-21 เป็นต้น

ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซากพืช และซากสัตว์ เมื่ออยู่ในดิน
จะถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็นไนเตรท ซึ่งพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

บรรยากาศ ในบรรยากาศเมื่อเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และฝนตก ธาตุไนโตรเจนก็จะติดมากับฝน ตกลงบนพื้นดิน ทำให้ดีบุกที่เคลือบในกระป๋องหลุดลอกออกมา ทำให้กระป๋องมีสีดำ

ทำให้สับปะรดกระป๋องมีอายุการเก็บรักษาสั้นลง จาก 3 ปี เหลือ 1 ปี
สาเหตุของการมีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรด เกิดจาก 2 ปัจจัย ดังนี้

เกิดจากการใช้ธาตุไนโตรเจนของสับปะรดไม่หมด ซึ่งสามารถควบคุมได้ โดยหลังจากการบังคับดอกแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนทางดิน หันมาให้ปุ๋ยโดยวิธีการฉีดพ่นทางใบแทน เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างจะอยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรดแทนที่จะอยู่ในผล
เกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศ เมื่อมีฝนตก สับปะรดจะได้รับธาตุไนโตรเจน มาพร้อมกับสายฝนโดยตรง ซึ่งในสถานการณ์นี้เกษตรกรจำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ไม่เก็บเกี่ยวสับปะรดในช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ
การควบคุมไนเตรทในผลสับปะรด

เกษตรกรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ และหลักวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง (2 ห้าม 2 ต้อง) ดังนี้

1. ห้ามใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนทางดินหลังการบังคับดอก หรือหลังออกดอก แต่ให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่น ทางใบ เพราะสับปะรดจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้หมด ส่วนที่ตกค้างอาจจะอยู่ที่ใบหรือจุกสับปะรด แทนที่จะตกค้างในผล และไม่ใช้สารเคมีเร่งสับปะรดสุกก่อนกำหนด
2. ห้ามทำลายจุกสับปะรดก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
3. ต้องเก็บสับปะรดสุกพอดี ไม่น้อยกว่า 25 % หรือสุกตั้งแต่ 2-3 ตา ขึ้นไปจำหน่าย
ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของราชการ หรือสถาบันการศึกษา/วิจัย เพื่อให้สับปะรดได้มาตรฐาน GAP

ที่มา : สันติ ช่างเจรจา ชิติ ศรีตนทิพย์ และ ยุทธนา เขาสุเมรุ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ นางสาวจิตติมา กาบเย็น นวส.ชำนาญการ, นางกาญจนาภรณ์ พรรณกมลกุล นวส.ชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง เลขที่ 37 ม.6 ก.ม. ที่ 6-7 ถนนลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงแสงทอง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100 โทร. 054-829697

วันที่ 20 มี.ค. นายอัมพล พัวพัฒนกุล ปศุสัตว์อำเภอนางรอง จ.บุรีรัมย์ นำเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์และวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไปฉีดให้กับควาย จำนวน 11 ตัว ซึ่งอยู่ในคอกเดียวกันกับควายเพศเมียอายุกว่า 10 ปี ของชาวบ้านบ้านโคกหลุมเงิน ม.7 ต.สะเดา อ.นางรอง ที่ถูกสุนัขกัดเมื่อปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา แล้วเกิดอาการคุ้มคลั่งหงุดหงิดก่อนจะล้มตายลง เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ถึงแม้จะยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่าควายที่ตายติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ (ชาวบ้านผวาหนัก! ควายคลุ้มคลั่ง หอนเหมือนสุนัข ล้มสิ้นใจตายสลด แนะให้ฝังอย่างเดียว)

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่พบว่าควายทั้ง 11 ตัว มีอาการผิดปกติ แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้กำชับให้เจ้าของควายแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก ห้ามนำไปเลี้ยงปะปนกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น จนกว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบ 4 เข็ม หรือพ้นระยะการเฝ้าระวัง ส่วนสุนัขและแมวในพื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตร ก็ได้แจกจ่ายวัคซีนให้กับอาสาสมัครปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อฉีดให้กับสุนัขและแมวที่ยังตกหล่นให้ครบทุกตัว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ส่วน นายสมบัติ ประสิทธิกุล เจ้าของควายและพ่อตาที่ได้สัมผัสกับควายที่ถูกสุนัขกัดตายอย่างใกล้ชิด ในวันนี้ทางแพทย์ รพ. นางรอง ได้นัดไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเข็มที่ 2 และจะต้องฉีดให้ครบ 4 เข็ม ขณะที่ชาวบ้านยังกังวลหลังมีข่าวว่า ด.ญ. 14 ปี เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า

นายอัมพล กล่าวว่า ถึงแม้จะยืนยันไม่ได้ว่าควายที่ถูกสุนัขกัดตายติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากไม่สามารถผ่าซากตรวจพิสูจน์ได้ แต่เพื่อความไม่ประมาทก็จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนับบ้าและกักควายทั้ง 11 ตัว ที่เลี้ยงในคอกเดียวกันกับควายที่ถูกสุนัขกัดตาย เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ ซึ่งขณะนี้ยังไม่พบควายที่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด จึงไม่อยากให้ชาวบ้านตื่นตระหนกเพียงเฝ้าระวังป้องกันไว้เท่านั้น

นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต เปิดเผยว่า ปัจจุบันกีฬาตกปลาเป็นกีฬาที่ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างมาก เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้ร่วมกับชมรมกีฬาตกปลาภูเก็ต จัดการแข่งขันกีฬาตกปลาจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 9 ขึ้น ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2561 ณ บริเวณปลายแหลมสะพานหิน เพื่อส่งเสริมอาชีพท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ตลอดจนสนับสนุนนโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
โดยการแข่งขันแบ่งประเภทเรือเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทเรือเร็วและเรือยนต์ ค่าสมัคร 1,000 บาท/คน และประเภทเรือหางยาว ค่าสมัคร 500 บาท/คน ปลาที่กำหนดไว้ในการแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทปลาเกมส์ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ ปลาอินทรีหรือปลาวาฮู ปลาสาก ปลาอีโต้มอญ ปลาสละ ปลาช่อนทะเล ปลาเรนโบว์ ปลากะมงพร้าว ปลากะมงอื่นๆ ทุกชนิด ปลาทูน่าทุกชนิด ปลากะพงทุกชนิด และปลาเก๋าทุกชนิด และประเภทปลารางวัลพิเศษมี 3 ประเภท คือ ปลาเก๋าถ่าน ปลาสีทอง และปลาแอมเบอร์แจ็ค

ทั้งนี้ จะรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันแบบทีม ทีมละไม่เกิน 5 คน (กรณีเรือยนต์ไม่นับกัปตันและเด็กเรือ) โดยผู้สมัครจะต้องหาเรือมาเอง หรือติดต่อเช่าเรือก่อนการแข่งขัน หากไม่มีเรือให้แจ้งต่อทางผู้รับสมัครเพื่อจะได้หาเรือให้ ผู้เข้าร่วมการแข่งขันสามารถใช้อุปกรณ์ตกปลา (คันเบ็ด และรอก) ไม่จำกัดจำนวน ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ทางผู้จัดการแข่งขันจะใช้กติกาตกปลาสากลของสมาคมกีฬา ตกปลานานาชาติ โดยมีรางวัลมากมาย

“กิจกรรมในปีนี้ นอกจากจะส่งเสริมอาชีพทางทะเลและส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการต่อยอดภูเก็ตเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (Phuket : City of Gastronomy) โดยจะนำปลาที่ได้มาประมูลเพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนด้านการศึกษาและการกุศล จึงขอเชิญชวนนักกีฬาตกปลา ทั้งนักกีฬามืออาชีพและมือสมัครเล่นทุกท่านร่วมการแข่งขันกีฬาตกปลาในครั้งนี้” นางสาวสมใจ กล่าว

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบ ตั้งแต่ วันที่ 20-23 มีนาคม 2561) ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2561 ระบุว่า

ในช่วง วันที่ 20-23 มีนาคม 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันนี้ (20 มีนาคม 2561) ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะเริ่มได้รับผลกระทบในวันถัดไป (วันที่ 21 มีนาคม 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน และฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้

ในช่วง วันที่ 20 มีนาคม 2561
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วง วันที่ 22-23 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด