อาการในคนพบได้ 3 ลักษณะ คือ แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง

(cutaneous anthrax) จะเริ่มเกิดเป็นตุ่มแดงๆตรงที่รับเชื้อ ส่วนมากจะอยู่นอกร่มผ้า เช่น มือ, แขน, ขา แต่อาจพบที่ลำตัวหรือกลางหลังได้ กรณีถอดเสื้อตอนผ่าซากสัตว์
ตุ่มที่พบตอนแรกนี้จะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นตุ่มหนองแล้วแตกออกเป็นแผลยกขอบตรงกลางบุ๋มมีสีดำ (black escalate) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ ในเวลาเดียวกันถ้ายังไม่ได้รับการรักษาจะมีตุ่มใหม่เกิดขึ้นรอบๆ แผลเดิมขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ บางครั้งรอบๆแผลจะบวมแดง แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ ยกเว้นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง
ปกติแผลที่เกิดจากเชื้อแอนแทรกซ์จะหายยาก ถ้าได้รับการรักษาช้า เพราะเป็นแผลเนื้อตายซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากพิษ(toxin) ของตัวเชื้อ

อัตราป่วยตายกรณีไม่ได้รับการรักษาไม่สูงนัก อยู่ระหว่างร้อยละ 5-20 เท่านั้น
แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร (intestinal anthrax) ผู้ป่วยที่กินเนื้อหรือเครื่องในสัตว์ที่ป่วยตายด้วยโรคนี้ แล้วไม่ปรุงให้สุกเพียงพอ ภายใน 12-24 ชั่วโมง จะรู้สึกมีไข้ ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายกับอาการของอาหารเป็นพิษ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว จะทำให้เกิดการอักเสบเป็นแผลที่ต่อมน้ำเหลืองของขั้วไส้และลำไส้ส่วนต่างๆ มีน้ำในช่องท้อง และปวดท้องอย่างรุนแรง บางครั้งผู้ให้การรักษาอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบก็ได้
ดังนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษาควรเน้นการซักประวัติการรับประทานอาหารจากผู้ป่วย เมื่อพบผู้ป่วยที่มีลักษณะดังกล่าว ในรายที่มีอาการอุจจาระร่วงมักจะพบว่ามีเลือดปนออกมาด้วย

ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะเข้าในกระแสเลือด เกิดอาการโลหิตเป็นพิษ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ในกรณีนี้จะมีอัตราการป่วยตายถึงร้อยละ 50-60
แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ (pulmonary anthrax) โดยทั่วไปจะพบผู้ป่วยที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับขนสัตว์ กระดูกป่น ที่มีฝุ่นฟุ้งกระจาย แล้วหายใจเอาสปอร์ของแอนแทรกซ์เข้าไป อาการที่พบในช่วงแรกๆ จะคล้ายกับผู้ป่วยทางเดินหายใจตอนบน มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นจะหายใจขัด หายใจลำบาก หน้าเขียวคล้ำ และตายจากอาการของระบบหายใจล้มเหลวในช่วงเวลาเพียง 3-5 วันหลังรับเชื้อ
อัตราการป่วยตายของผู้ป่วยระบบนี้จะสูงมากถึงร้อยละ 80-90

สถานการณ์โรคก่อนระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยในทุกภาคของประเทศ ส่วนมากติดโรคจากโค, กระบือ ยกเว้นมีบางครั้งที่ติดต่อจากแพะที่ปัตตานี และติดต่อจากแกะที่ลพบุรี ในระยะ 10 ปีเศษๆที่ผ่านมาไม่พบโรคนี้ในภาคใต้ แต่ยังคงพบโรคนี้ในภาคกลาง เช่น เพชรบุรี, ราชบุรี, กาญจนบุรี
ภาคเหนือที่ตาก, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, น่าน, สุโขทัย, นครสวรรค์, อุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อุดรธานี, ขอนแก่น, นครพนม, หนองคาย, อุบลราชธานี เป็นต้น
ส่วนมากพบผู้ป่วยตามจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการลักลอบนำโคกระบือติดโรคที่ยังมีชีวิตเข้ามาชำแหละเนื้อไปจำหน่าย หรือนำเนื้อสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้เข้ามาจำหน่ายในราคาถูกๆ

มาตรการป้องกัน เมื่อพบว่ามีสัตว์ตายโดยกะทันหันและไม่ทราบสาเหตุการตาย ถ้ามีเลือดเป็นสีดำคล้ำไม่แข็งตัวไหลออกตามทวารต่างๆ ห้ามชำแหละซากเอาเนื้อไปใช้เป็นอาหาร และห้ามผ่าซากสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากบริเวณที่มีสัตว์ตาย
หลายประเทศมีกฎหมายห้ามการผ่าซาก เนื่องจากเมื่อผ่าออก เชื้อ vegetative form ในร่างกายสัตว์จะได้รับออกซิเจนจากอากาศ ทำให้มีการสร้างสปอร์ซึ่งมีความคงทนต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากไม่ผ่าซากเชื้อที่อยู่ภายในซากจะตายจนหมดหลังสัตว์ตาย 2-3 วัน โดยกระบวนการเน่าสลายตามธรรมชาติ

ให้ขุดหลุมฝัง ลึกต่ำกว่าผิวดินประมาณ 1 เมตร หากมีปูนขาวหรือขี้เถ้าให้โรยบนซากหนาประมาณ 2-3 ซ.ม. แล้วจึงกลบ เชื้อที่อยู่ในซากก็จะตายเองโดยความร้อนที่เกิดจากการสลายเน่าเปื่อยในธรรมชาติ และควรเลือกฝังในบริเวณที่ใกล้ที่สุดกับที่สัตว์ตาย ให้มีการเคลื่อนย้ายซากสัตว์ให้น้อยที่สุด
อาจเผาซากให้ไหม้มากที่สุด แล้วจึงขุดหลุมฝังกลบอีกชั้นหนึ่งก็ได้

การสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงอันตรายของโรคนี้ จะสามารถลดอัตราป่วยตายของโรค และลดการระบาดของโรคได้ด้วย
การป้องกันโรคนี้จะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปศุสัตว์ เพราะมีวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้าในสัตว์ได้ โดยปกติจะทำวัคซีนในโค, กระบือ และสุกร ปีละ 2 ครั้ง ในท้องที่ซึ่งมีการระบาดของโรคนี้

ตรัง – นางสาวนุชรีย์ หมวดเมือง ชาวบ้าน ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กล่าวว่า ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ 9101 โดยรวมกลุ่มกันเลี้ยงไก่บ้านจำหน่าย แต่ประสบปัญหาเนื่องจากพ่อค้า แม่ค้า ประชาชน ส่วนใหญ่จะซื้อไก่เนื้อ จึงนำไก่บ้านมาแปรรูปทำไก่ในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งไม่เหมือนใคร โดยนำมาสับเป็นชิ้นๆ ผสมคลุกเคล้ากับเครื่องสมุนไพร หมักไว้แล้วนำมาใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ นำกาบมะพร้าวกับใบตองปิดด้านบน

จากนั้นนำไปเผาไฟให้สุกใช้เวลาครึ่งช.ม.ทำให้มีรสชาติดีขึ้น ถือว่าเป็นภูมิปัญญาที่นำมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว จำหน่ายกระบอกละ 100 บาท ในแต่ละวันมีรายได้ 1,500-2,000 บาท สร้างรายได้ให้กับสมาชิก ขณะนี้มีอยู่ 8 คน ทั้ง 8 คนนี้มีอาชีพกรีดยางพารา และตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ 9101 มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก มีรายได้เพียงพอ เนื่องจากยางพาราแทบไม่ใช่อาชีพหลักแล้ว เพราะราคาตกต่ำอย่างมาก นับว่าโครงการ 9101 ได้สร้างอาชีพ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 เป็นอย่างมากและจะดำเนินชีวิตแบบพอเพียงตลอดไป

นายบำรุง รื่นบรรเทิง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2560/61 จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ 2 ว่า จังหวัดพิษณุโลกได้ดำเนนการเปิดตลาดนัดข้าวเปลือก ปีการผลิต 2560/61 เพื่อขับเคลื่อนงานตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวตามนโยบายของรัฐบาล โดยการบูรณาการร่วมกันของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด

เพื่อเพิ่มช่องทางให้เกษตรกรได้มีอำนาจการต่อรองมากขึ้น แก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำในพื้นที่ โดยใช้กลไกสหกรณ์เป็นตลาดรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกจากเกษตรกรโดยตรง เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกในราคาที่เป็นธรรม ทั้งในด้านราคา การชั่งน้ำหนัก การวัดความชื้น การหักสิ่งเจือปน และไม่ถูฏเอารัดเอาเปรียบ โดยเปิดตลาดรับซื้อข้าวเปลือกตามเกณฑ์คุณภาพข้าวที่กำหนดในราคานำตลาด สูงกว่าตันละ 100-200 บาท เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ราคาดียิ่งขึ้น

ด้าน นายสมศักดิ์ แสนศิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการเปิดตลาดนัดรับซื้อข้าวเปลือกของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด ได้กำหนดราคารับซื้อไว้ที่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 12,150 บาท ส่วนข้าวเปลือกเจ้า รับซื้อในราคาตันละ 7,200 บาท ที่ระดับความชื้น 15% โดยสหกรณ์ฯ ได้เปิดราคาซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรรายแรกที่นำข้าวเปลือกหอมมะลิมาจำหน่าย ในราคาตันละ 11,700 บาท ความชื้น 25% ทำให้เกษตรกรเกิดความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ที่ได้นำผลผลิตข้าวของตนเองมาขายผ่านตลาดรับซื้อข้าวของสหกรณ์

“ทั้งนี้ สหกรณ์ฯ มีแผนการรวบรวมรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือก ปีการผลิต 2560/61 จำนวน 15,000 ตัน/ปี จากเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป โดยการรวบรวมผลผลิตข้าวเปลือกเพื่อการจัดจำหน่าย การคัดเกรดตามคุณภาพข้าวเพื่อผลผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ และการแปรรูปข้าวสาร เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรบ้านรวมไทยพัฒนา 8 หมู่ที่ 6 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เร่งเก็บพริกในพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งปีนี้มีผลิพริกดกมาก โดยเฉพาะพริกแดงซุปเปอรน์ฮอตที่ออกผลผลิตตั้งแต่ฤดูฝนจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท แต่ผลผลิตที่ออกมากเกินไป ทำให้ในช่วงฤดูหนาวราคาพริกตกต่ำ เหลือกิโลกรัมละ 25 บาท นอกจากนี้ เกษตรกรยังประสบปัญหาพริกได้รับแสงแดดช่วงกลางวัน ทำให้พริกสุกและแดงไว เกษตรกรจึงเร่งเก็บเพื่อนำไปจำหน่าย หากไม่เร่งเก็บผลผลิตจะเกิดความเสียหาย

นายสงัด วินนัน เกษตรกรผู้ปลูกพริก กล่าวว่า ปีนี้ปลูกพริกซุปเปอร์ฮอตประมาณ 20 ไร่ โดยเก็บพริกหนึ่งรอบได้ผลผลิตประมาณ 4,000 กิโลกรัม เมื่อหักค่าจ้างแรงงานเก็บพริกแล้วคงเหลือกิโลกรัมละ 20 บาท เท่านั้น การปลูกพริกช่วงปลายปีนี้ถือว่าเลวร้ายมา ต้นทุนสูง ค่าปุ๋ยค่ายาแพง และพริกยังเป็นโรคกุ้งแห้ง แอนแทคโนต ต้องฉีดพ่นยาบ่อยครั้ง

สำหรับบ้านรวมไทยพัฒนา 8 ปลูกพริกประมาณ 80 กว่าราย พื้นที่ประมาณ 1,000 กว่าไร่ ถ้ารวมทั้งอำเภอพบพระมีพื้นที่ปลูกหลายพันไร่ ถือเป็นแหล่งปลูกพริกมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ปลัด สธ.เผย พบผู้ป่วยโรคแอนแทร็กซ์ 2 ราย ที่โรงพยาบาลแม่สอด เป็นชาวบ้านที่ชำแหละเนื้อแพะนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน กรมควบคุมโรคแนะวิธีสังเกตอาการ และวิธีป้องกัน พร้อมย้ำต้องกินอาหารที่ปรุงสุก ด้านปศุสัตว์ลงตรวจด่านกักสัตว์ที่แม่สอด ยังไม่พบสัตว์ติดเชื้อ แต่ให้ชะลอนำเข้าไว้ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจ

จากกรณีชาวบ้านแม่โกนเกน ม. 9 ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก กินเนื้อแพะที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน แล้วมีเกิดเป็นแผลพุพองตามร่างกาย คล้ายผู้ป่วยโรคแอนแทร็กซ์ จนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด

เมื่อวันที่ 28 พ.ย. นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีพบผู้ป่วยชายซึ่งเป็นผู้ชำแหละแพะที่ตายแล้วสงสัยเป็นโรคแอนแทร็กซ์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก ว่า ในวันนี้ตนได้รับรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พบเชื้อบาซิลลัส แอน ทราซิส (Bacillus anthracis) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคแอนแทร็กซ์ในผู้ป่วย 2 ราย อาการมีตุ่มหนองที่มือทั้ง 2 ข้าง ขณะนี้ได้รับยารักษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์จนกว่าตุ่มหนองจะหาย

นพ.เจษฎากล่าวต่อว่า สำหรับการควบคุมป้องกันโรค ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 ได้ติดตามประชาชนในหมู่บ้านที่รับประทานเนื้อแพะ และผู้สัมผัสโรคในหมู่บ้าน บุคลากรสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ 247 คน ได้ให้ยารับประทานเพื่อป้องกันต่อเนื่อง 60 วัน และติดตามเฝ้าระวังโรค ขณะนี้ ทุกคนยังเป็นปกติดี พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้และการป้องกันตัว แจกแผ่นพับภาษาไทย และภาษาพม่า และทำประชาคมสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในหมู่บ้าน โดยให้สังเกตอาการ เช่น ผิวหนังมีตุ่มหนอง มีแผลหรือฝ้าขาวในปาก ลำคอ ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด มีไข้ ไอ เหนื่อยหอบ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

นพ.เจษฎากล่าวต่อว่า ขอชื่นชมและขอบคุณเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีมแพทย์ที่ตรวจพบและควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถจำกัดวงของการแพร่ระบาดได้ และขอย้ำประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะโรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน หากพบแพทย์เร็วรักษาให้หายขาดได้ และในประเทศไทยไม่พบการระบาดของโรคนี้ในสัตว์ อย่างไรก็ตาม อย่านำสัตว์ที่ป่วยหรือตายแล้ว มาชำแหละจำหน่ายหรือรับประทาน หรือนำไปให้สัตว์อื่นกิน รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ขอให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติก และล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสซากสัตว์

“หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกายหรือหากป่วยโดยมีประวัติสัมผัสสัตว์ตายหรืออยู่ในพื้นที่สัตว์ป่วยตาย หรือหลังเดินทางกลับจากพื้นที่มีผู้ป่วยให้รีบไปพบแพทย์ภายใน 48 ชั่วโมง พร้อมแจงประวัติการสัมผัสโรค ประวัติการเดินทาง โรคนี้มียารักษาหากเจ็บป่วยหลังสัมผัสสัตว์ให้รีบพบแพทย์ทันที” นพ.เจษฎากล่าว

นพ.เจษฎากล่าวด้วยว่า เมื่อ 20 ปีก่อน เคยเจอผู้ติดเชื้อแอนแทร็กซ์ที่ จ.พิจิตร ครั้งนั้นเกิดขึ้นเพราะกินเนื้อสัตว์ติดเชื้อ โดยไม่ปรุงสุก ส่วนรายสุดท้ายที่พบผู้ป่วยในประเทศไทยก็คือเมื่อ 17 ปีก่อน ที่ ต.มหาวัน อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นที่เดียวกับครั้งนี้ จากนั้นก็ไม่เจอผู้ป่วยในประเทศไทยอีก ส่วนเพื่อนบ้านตนเชื่อว่า จะมีโรคดังกล่าวอยู่เพราะไม่มีระบบกักกันสัตว์เหมือนไทย

ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและได้ส่งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เข้าสอบสวนการเกิดโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่าชาวบ้านได้นำแพะมาจากประเทศเพื่อนบ้าน และได้ชำแหละแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านเพื่อปรุงอาหาร หลังจากนั้นเริ่มมีตุ่มเนื้อสีแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนัง จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและแพทย์วินิจฉัยเบื้องต้นอาจป่วยด้วยโรคแอนแทร็กซ์

นพ.สุวรรณชัยกล่าวต่อว่า โรคแอนแทร็กซ์ เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้า แทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง เช่น โค แพะ หรือแกะ โดยสัตว์ติดจากการเล็มหญ้าที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส แอนทราซิสเข้าไป เชื้อโรคนี้จะทำให้สัตว์ป่วยและตายอย่างรวดเร็ว โรคแอนแทร็กซ์สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนจากการสัมผัสทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือติดต่อจากการหายใจ หรือผ่านการกินเนื้อสัตว์ปนเปื้อนเชื้อ ในประเทศไทยพบการติดทางผิวหนังโดยการสัมผัสสัตว์ป่วย และผลิตภัณฑ์สัตว์ และติดจากการกินเนื้อสัตว์ที่ป่วยแล้วไม่ได้ปรุงให้สุกด้วยความร้อนทั่วถึง

นพ.สุวรรณชัยกล่าวด้วยว่า ผู้ป่วยจะมีอาการตามลักษณะการติดต่อ 1. การติดเชื้อที่ผิวหนัง อาการที่พบได้แก่ ผิวหนังที่ติดเชื้อมีลักษณะเป็นผื่นนูน คัน แต่ไม่เจ็บ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นตุ่มพุพองแล้วแตกเป็นแผลแดงนูน ซึ่งต่อมาเกิดเป็นสะเก็ดสีดำ และเกิดเป็นแผลเนื้อเน่าตายได้ 2. ระบบทางเดินอาหาร จะมีไข้ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายกับอาการของอาหารเป็นพิษ และ 3. ระบบทางเดินหายใจ จะมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หายใจลำบาก ซึ่งหากเข้ารับการรักษาไม่ทัน หรือไม่ถูกต้อง จะทำให้เสียชีวิตได้

วิธีการป้องกันคือ 1. หากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทันที 2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือชำแหละซากสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรค หากจำเป็นต้องสัมผัสให้สวมถุงมือยางและหน้ากากอนามัยทุกครั้ง 3. หลีกเลี่ยงนำสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่สงสัยว่าป่วยตายมากิน แจกจ่าย ขาย หรือนำไปให้สัตว์อื่นกิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค และ 4. เกษตรกรหรือผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรค ควรนำสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทั้งนี้หากเริ่มมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่ด่านกักสัตว์ อ.แม่สอด นายจิระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วย นพ.สมยศ กรินทราทันต์ รองผอ. โรงพยาบาลแม่สอด และสาธารณสุขอำเภอแม่สอด ร่วมกันแถลงกรณีชาวบ้านแม่โกนเกนติดเชื้อโรคแอนแทร็กซ์ ว่า หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบจุดกักกันสัตว์นำเข้าจากต่างประเทศจุดตรงข้ามบ้านแม่โกนเกน ม. 9 ต.มหาวัน พบมีแพะ 700 ตัว ทุกตัวยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่พบการระบาดของโรคแต่อย่างใด

ขณะนี้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เขตอำเภอแม่สอด ได้ชะลอการนำเข้าแพะจากชายแดนไทย-เมียนมา ในเฉพาะจุด ต.มหาวัน เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ร.ต. เจษฎา อิทธิสัทธากุล รองหัวหน้าฝ่ายบริการสถานีรายงานยอดดอยสถานีเรดาร์กองทัพอากาศดอยอินทนนท์ เปิดเผยว่า เช้ามืดวันนี้ได้เกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง หรือเหมยขาบ ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปี โดยขณะที่ได้อยู่เวรตรวจการณ์บริเวณสถานีเรดาร์กองทัพอากาศบนยอดดอย และสังเกตว่าสภาพอากาศบนนั้นหนาวเย็นติดต่อกันมาสามวันแล้ว และคิดว่าน่าจะเกิดน้ำค้างแข็งขึ้น

กระทั่งเวลา 04.30 น. อุณหภูมิวัดจากแอพพลิเคชั่นมือถือได้ที่ 5 องศาเซลเซียส สังเกตเห็นว่าบนพื้นหญ้าแห้ง เริ่มรู้ว่าสถานีเรดาร์เกิดมีน้ำค้างแข็งแผ่วงกว้าง แต่ไม่มากนัก จึงได้ถ่ายภาพไว้และรายงานให้หน่วยงานได้รับทราบ คาดว่าหากอากาศหนาวเย็นมากกว่านี้ หลายวันนี้น่าจะมีโอกาสเกิดเหมยขาบได้อย่างต่อเนื่อง

ที่จังหวัดเชียงราย บริเวณน้ำพุร้อนธรรมชาติป่าตึง hdwallpaperia.com ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีนักท่องเที่ยวและประชาชนต่างพากันไปแช่น้ำแร่เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายเป็นการคลายหนาวกันอย่างคึกคัก นอกจากนี้ ยังมีบ่อน้ำร้อนอุณหภูมิน้ำเดือดได้กลายเป็นจุดที่ผู้คนต่างนำไข่ไปต้มให้สุก กลายเป็นธุรกิจจำหน่ายไข่ไก่ ไข่นกระทา สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ นอกจากนั้นยังมีเอกชนเข้าไปเช่าพื้นที่เพื่อให้นักท่องเที่ยวหากต้องการเข้าไปนอนแช่น้ำแร่ภายในห้องพักที่มิดชิดโดยคิดราคาชั่วโมงละประมาณ 100 บาท ทำให้บรรยากาศตามสถานที่ที่มีบ่อน้ำพุร้อนมีนักท่องเที่ยวไปเยือนและใช้บริการในฤดูหนาวนี้มากกว่าช่วงปกติ

ที่บริเวณจุดสกัดเขาสูงเขาแผงม้า บ้านคลองทราย ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากพาครอบครัวเดินทางไปดูฝูงกระทิงหลายสิบตัวที่เดินออกมาหาอาหารภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาแผงม้า เป็นภาพที่หาดูได้ยาก ทางเจ้าหน้าที่ประจำจุดสกัดเขาแผงม้าได้นำกล้องส่องทางไกลจำนวน 4 ตัว ไปติดตั้งไว้ เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวได้ใช้ส่องมองเห็นกระทิงได้ชัดเจน

นางสาวสมฤดี จิตรจง ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงข่าวเปิดฤดูท่องเที่ยวภาคเหนือประจำปี 2561 “แอ่วเหนือครั้งใหม่ ไม่เหมือนเดิม” ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ว่าที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภาคเหนือมีความสนใจสินค้าการท่องเที่ยวที่สร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ อาหารประจำถิ่น การท่องเที่ยวแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อมและตอบแทนสังคม และเกิดจากการบอกต่อผ่านสื่อสาธารณะ แชร์ผ่านโซเชียลมีเดีย ดังนั้นในปี 2561 ททท.จึงมุ่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวในภาคเหนือขึ้นอีก 8.7% หรือประมาณ 134,800 ล้านบาท โดยสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าของแหล่งท่องเที่ยว บริการที่มีอยู่ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าท้องถิ่น อาหาร การท่องเที่ยวในวันธรรมดา ขยายการท่องเที่ยวไปยังเมืองรอง ส่งเสริมภาคเหนือเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มสูงวัย กลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มผู้หญิง และกลุ่มครอบครัว

“นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไปเที่ยวช่วงฤดูหนาวเพื่อสัมผัสความหนาวเย็น ชมภูเขา ทะเลหมอก และดอกไม้ จึงอยากส่งต่อแนวคิดแอ่วเหนือครั้งใหม่ไม่เหมือนเดิม โดยสร้างกระแสว่าแท้จริงแล้วสามารถเที่ยวได้ทุกฤดูกาล เพราะมีความงามของแหล่งท่องเที่ยว สร้างประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่ไม่เหมือนเดิมในแต่ละครั้ง สำหรับการส่งเสริมดังกล่าวแบ่งเป็น 8 แรงบันดาลใจ คือ แรงบันดาลใจจากเกษตรหลวง-โครงการหลวง, วิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมประเพณีพื้นเมือง และชาติพันธุ์, ดอกไม้ ธรรมชาติสายหมอกขุนเขา, แพรพรรณอาภรณ์ผ้าพื้นเมืองเลื่องชื่อ, อาหารท้องถิ่น, วัด, การผจญภัยที่สนุก ตื่นเต้น ท้าทายอย่างปลอดภัย และการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ”

นายสมสวัสดิ์ ตันตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาฟาร์มโคนม บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโฟร์โมสต์ เปิดเผยว่า ปีนี้สภาพอากาศของไทยเจอทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงโคนมในประเทศ พืชอาหารสัตว์ได้รับความเสียหาย และแม่โคนมเกิดการระบาดต่อเนื่อง ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม แม่โคล้มตายกว่า 10-20% ทำให้เกษตรกรโคนมต้องคัดทิ้งแม่โคช่วงให้ผลผลิตออกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณนมดิบของไทยใน 3 ไตรมาส ลดลงถึง 27 ล้านกิโลกรัม ในส่วนบริษัทได้รับผลกระทบด้วย โดยปริมาณนมดิบที่รับซื้อลดลงเหลือ 17% จากรับซื้อ 353 ตัน ต่อวัน และนมดิบรวมผลิตได้ 3,300 ตัน ต่อวัน ทำให้สต๊อกนมยูเอชทีลดลงตามไปด้วย

นายสมสวัสดิ์ กล่าวว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากกว่านี้ในปี 2561 บริษัทจึงมีแผนส่งเสริมเกษตรกรทั้งรายเก่าที่มีอยู่ 4,000 ราย ผลิตนมดิบให้มากขึ้นเป็น 18 กิโลกรัม (กก.) ต่อตัว ต่อวัน จากปัจจุบัน 17 กิโลกรัม ต่อตัว ต่อวัน โดยใช้เทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์เข้ามาช่วย พร้อมกับส่งเสริมให้เกษตรกรรายใหม่เลี้ยงให้มากขึ้น โดยการรับซื้อนมดิบตามราคาที่รัฐบาลกำหนด 19 บาท ต่อกิโลกรัม ถึง 19.30-20 บาท ต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ มีแผนกระตุ้นการบริโภคนม ที่ปัจจุบันอยู่ในอัตราต่ำเพียง 18 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี น้อยกว่าญี่ปุ่นบริโภค 100 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี และสิงคโปร์บริโภค 60 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ซึ่งไทยมีแผนส่งเสริมให้มีการบริโภคเป็น 25 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า ในส่วนของโฟร์โมสต์ต้องทำให้ได้ใน 3 ปีจากปัจจุบันโฟสต์ยังมียอดขายนมยูเอชทีอันดับ 1 ของไทย ปีนี้คาดยอดขายเพิ่มขึ้น 2-5% จากปีก่อนมียอดขาย 13,500 ล้านบาท