อากาศชื้น ระวังโรคโคนเน่าขาวในถั่วลิสงช่วงฤดูหนาว อากาศชื้น

อาจส่งผลกระทบต่อการปลูกถั่วลิสง กรมวิชาการเกษตร แนะนำเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสงให้หมั่นสังเกตอาการของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii) ที่สามารถพบได้ในระยะการออกดอกจนถึงระยะติดฝักของถั่วลิสง เริ่มแรกจะพบ ยอด กิ่ง และลำต้นของถั่วลิสงเหี่ยวและยุบเป็นหย่อมๆ ส่วนบริเวณโคนต้นเหนือดินจะพบแผลสีน้ำตาลและเส้นใยสีขาวหยาบของเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นเส้นใยของเชื้อจะรวมตัวเป็นเม็ดเล็กสีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำคล้ายเมล็ดผักกาด ต่อมาต้นจะแห้งและตายในที่สุด

หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วลิสงแล้ว เกษตรกรควรทำลายซากต้นถั่วลิสงด้วยการไถกลบให้ลึกพลิกหน้าดินตากแดด เพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค และฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในดิน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้นาน จากนั้น ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ก่อนปลูกเพื่อปรับสภาพดิน และควรจัดระยะปลูกให้เหมาะสม เพื่อให้โคนต้นโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้มีความชื้นสูง เพื่อเป็นการลดการระบาดของโรค อีกทั้งแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

กรณีในแปลงที่พบการระบาดของโรคโคนเน่าขาว หรือ โรคลำต้นเน่า ให้เกษตรกรควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด เป็นต้น อีกทั้งควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ ให้สะอาด โดยการผึ่งแดดให้แห้งหลังการใช้งานทุกครั้งอยู่เสมอ เมื่อได้นำไปใช้กับต้นที่เป็นโรคในแปลงที่มีการระบาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ ให้เกษตรกรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้นและขุดดินบริเวณที่พบนำไปทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้รดดินในหลุมและบริเวณใกล้เคียงเพื่อป้องกันเชื้อราแพร่ไปยังต้นข้างเคียงด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคาร์บอกซิน 75% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโทลโคลฟอส-เมทิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยรดสารทุก 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง

มะพร้าวน้ำหอม เป็นมะพร้าวที่เหมาะสำหรับกินผลอ่อน มีน้ำหอมบริสุทธิ์ เนื้อมะพร้าวอ่อนมีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยบำรุงสมองและเสริมสร้างร่างกายผู้บริโภคให้แข็งแรง มะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็วและต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี มะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะต่อการปลูกในเชิงการค้า มีตลาดรองรับแน่นอน สร้างรายได้ต่อเนื่องให้เกษตรกรผู้ปลูกมีความมั่นคงในการยังชีพ เป็นอีกอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ วันนี้จึงนำเรื่อง มะพร้าวน้ำหอม พืชเศรษฐกิจเชิงการค้าสู่รายได้ที่มั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

อาจารย์ประสงค์ ทองยงค์ เกษตรกรทำสวนมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า ในวัยเด็กชีวิตผูกพันกับมะพร้าว ได้ช่วยคุณพ่อทำสวนมะพร้าว เมื่อเรียนจบได้เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเมื่อเกษียณได้มาสานงานปลูกสร้างสวนมะพร้าวต่อจากคุณพ่อ ถึงวันนี้ได้ทำสวนมะพร้าวและเสริมสร้างประสบการณ์มากว่า 50 ปี

มะพร้าวน้ำหอมปลูกยากหรือไม่? มีคำตอบว่า มะพร้าวมี 2 กลุ่ม คือ มะพร้าวแกง และมะพร้าวอ่อนน้ำหอมหรือมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหอมปลูกได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอน ในที่ลุ่มภาคกลางจะปลูกในระบบสวนด้วยการยกร่องแปลงปลูกให้สูง จัดให้มีร่องน้ำระหว่างแปลงปลูก แปลงมะพร้าวที่ปลูกในระยะ 1-2 ปี ควรปลูกพืชอายุสั้นเป็นพืชแซม เช่น พืชผักต่างๆ หรือไม้ผล เช่น กล้วย หรือมะละกอ ส่วนในที่ดอนมีแหล่งน้ำและมีฝนตกสม่ำเสมอ เช่น ภาคใต้จะนิยมปลูกในระบบไร่ มีการปลูกพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด หรือสับปะรด เป็นพืชแซม ซึ่งการปลูกพืชแซมเป็นการผสมผสานการให้น้ำและปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อเสริมรายได้นำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต และหยุดปลูกพืชแซมเมื่อต้นมะพร้าวอายุ 2 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงที่ใกล้จะเริ่มเก็บผลมะพร้าวน้ำหอมไปขาย

การปลูก ให้ขุดหลุมปลูกกว้างยาวและลึก ด้านละ 75 เซนติเมตร ในที่ดอนขุดหลุมปลูกกว้างยาวและลึก ด้านละ 1 เมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ หรือกาบมะพร้าวสับ คลุกเคล้ากับดินด้านบนที่ตากแห้งใส่ให้เต็มหลุม วางต้นพันธุ์เสมอปากหลุมสำหรับการปลูกบนที่ลุ่ม และต่ำกว่าปากหลุมสำหรับที่ดอน ปักไม้ผูกยึดกับต้นพันธุ์ป้องกันการโค่นล้ม ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว ห่างกันประมาณ 7 เมตร หรือเป็นแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า

การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นมะพร้าวน้ำหอมอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์ โดยใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ใส่ 1 กิโลกรัมต่อต้น โดยหว่านรอบทรงต้น ปีที่ 2 ใส่สูตรเดิม 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ในปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21-2 (เพิ่มแมกนีเซียม 200 กรัม) ใส่ 3 กิโลกรัม ต่อต้น ควรใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ ต้นฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคม และปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นวิธีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพด้วย

การให้น้ำ ในที่ลุ่มแบบระบบยกร่องสวน มะพร้าวน้ำหอมจะได้รับน้ำพร้อมกับพืชผักและไม้ผลอายุสั้น ส่วนรากมะพร้าวจะแผ่ลงริมร่องสวนดูดซับน้ำ ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี และได้ผลดก ส่วนการปลูกในที่ดอน ถ้าฝนไม่ตกหรือในฤดูแล้งต้องให้น้ำสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ต้นมะพร้าวได้รับน้ำพอเพียงต่อการเจริญเติบโต

การเก็บเกี่ยว เมื่อต้นมะพร้าวน้ำหอมอายุ 2 ปีครึ่ง ก็เริ่มให้ผล หรือนับระยะเวลาตั้งแต่ออกช่อดอกหรือจั่นได้ 190-200 วัน ก็จะพัฒนาไปเป็นผลอ่อน มีน้ำหวานหอมและเนื้ออ่อนนุ่ม มีกะลาที่แข็งทนทานต่อการขนส่ง ในรอบ 1 ปี จะตัดเก็บมะพร้าวได้ 12-15 ครั้ง ในทุก 20 วัน จะตัดเก็บมะพร้าวได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ทะลาย ทะลายละ 10-30 ผล

ต้นมะพร้าวน้ำหอมช่วงอายุ 3-10 ปี ต้นยังเตี้ย การตัดเก็บจึงใช้วิธีเดินตัดทีละทะลาย เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 10 ปีขึ้นไป ต้นมะพร้าวสูงขึ้น การตัดเก็บให้ใช้มีดขอผูกติดปลายไม้ไปเกี่ยวตัดทีละทะลาย แต่ต้องใช้ไม้ค้ำทะลายไว้ก่อน เมื่อตัดและนำลงมาก็จะได้ผิวผลมะพร้าวที่สวยงาม และเก็บได้นาน 7 วัน นำมะพร้าวที่เก็บใส่ในรถเข็นหรือรถสาลี่ลากจูงออกจากสวนไปสู่แหล่งรวมผลผลิต เพื่อขนส่งไปยังตลาดท้องถิ่นหรือโรงงานแปรรูป

ตลาด จะมีพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้าในท้องถิ่นมารับซื้อถึงในสวน เพื่อนำไปขายที่ตลาดในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียง ราคาซื้อขาย 200-500 บาท ต่อทะลาย ส่วนพ่อค้ารายย่อยจะเปิดท้ายรถกระบะเล็กนำมะพร้าวน้ำหอมไปขายเป็นผลสด 20-35 บาท ต่อผล หรือนำน้ำและเนื้อมะพร้าวน้ำหอมบรรจุใส่แก้วหรือใส่ถุงวางขายให้กับผู้ซื้อ

อาจารย์ประสงค์ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในเชิงการค้าคุ้มทุนหรือไม่? คำตอบคือ เลือกพื้นที่เหมาะสม เลือกพันธุ์มะพร้าวดีมีคุณภาพ ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาดี ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเพื่อลดต้นทุน ก็จะได้มะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ ซึ่งเวลานี้มะพร้าวน้ำหอมมีผู้นิยมบริโภคกันแพร่หลาย ได้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้นำไปเป็นทุนหมุนเวียนปลูกมะพร้าวและให้ครอบครัวมีความมั่นคง

น้ำมะพร้าวน้ำหอม เป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ การดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมทุกวันหรือบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมองและสุขภาพให้แข็งแรง ในส่วนเกษตรกรผู้ปลูกควรยึดปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ ปลูกพอกินพอใช้และเหลือขาย ก็จะมีรายได้ให้ดำรงชีพได้แบบวิถีพอเพียงและมั่นคง

ในมุมมองที่น่าสนใจ มะพร้าวน้ำหอม ปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย แต่ต้องดูคุณสมบัติของดินในพื้นที่ว่าเหมาะสมต่อการปลูกพืชได้เพียงใด เพื่อความมั่นใจให้เก็บตัวอย่างดินใส่ถุงส่งให้หมอดินในชุมชนตรวจ หรือส่งไปที่กรมพัฒนาที่ดิน กรุงเทพฯ ตรวจวิเคราะห์ดินว่ามีธาตุอาหารใด? บ้าง เพื่อช่วยให้ใช้ปุ๋ยได้ถูกสูตร ถูกอัตราส่วนและตรงกับระยะเวลา ต้นมะพร้าวจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตดก และผู้ปลูกได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน

จากเรื่อง มะพร้าวน้ำหอม พืชเศรษฐกิจเชิงการค้าสู่รายได้ที่มั่นคง การปลูกเป็นทางเลือกใหม่ที่มีตลาดรองรับ ผู้บริโภคได้ดื่มน้ำหอมบริสุทธิ์และได้ลิ้มรสเนื้อมะพร้าวที่อร่อย ท่านที่สนใจคงได้คำตอบชัดเจน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่

ทองหลาง เป็นพืชตระกูลถั่ว ถือว่าเป็นถั่วขนาดยักษ์ พบไม่น้อยกว่า 2 ลักษณะ

ขอแนะนำทองหลางลักษณะแรกก่อน คือ “ทองหลางด่าง” ชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันคือ ทองบ้าน, ทองเผือก, ทองหลางลาย เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ มีความสูงประมาณ 18 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมโค้ง คม ปลายหนามเป็นสีม่วงคล้ำ ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือสีเหลืองอ่อนๆ

ใบ ออกเป็นช่อ มีประมาณ 3 ใบ ใบรูปมน ปลายใบแหลมยาวคล้ายใบโพธิ์ ใบที่อยู่ยอดมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ล่าง ขนาดของใบกว้าง 2-4 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว หลังใบเป็นสีด่างเหลืองๆ เขียวๆ

ดอก ออกเป็นช่อติดกันเป็นกลุ่ม สีแดงสด ออกตามบริเวณข้อต้นหรือโคนก้านใบ ช่อหนึ่งยาว 4-9 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบกว้างประมาณ 1-1.4 นิ้ว ยาวประมาณ 2-2.5 นิ้ว ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

ผล มีลักษณะเป็นฝัก แบน โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม ซึ่งจะเห็นเป็นสัณฐานของเมล็ดได้ชัดมาก พอฝักแก่เต็มที่ปลายฝักจะแตกอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม

นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ส่วนการใช้ประโยชน์นิยมปลูกประดับ เป็นไม้จัดสวนได้ดี เพราะสีที่สดใสของใบ

ทองหลางด่าง หรือ ทองหลางลาย เป็นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ทองหลางอีกชนิดหนึ่งคือ “ทองหลางบ้าน” มีปลูกกันมานานแล้ว

ทองหลางบ้าน กับ ทองหลางด่าง มีข้อแตกต่างกันพอสมควร เริ่มจากลำต้น ทองหลางบ้านมีต้นขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขามากกว่า ลักษณะการเกิดของใบเหมือนกัน คือ มีใบย่อย 3 ใบ แต่ทองหลางบ้านใบเล็กเรียวกว่า มีสีเขียว ชาวสวนแถบจังหวัดนนทบุรี ยืนยันว่า ทองหลางบ้านนั้น หากขยายพันธุ์โดยการปักชำ แทบไม่พบว่ามีหนามที่ลำต้น แต่อย่างใด แต่หากขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด อาจจะพบหนามเล็กๆ ที่กิ่งของทองหลาง

การแพร่พันธุ์ของทองหลางในยุคแรกๆ ใช้เมล็ดเป็นหลัก ฝักของทองหลางเมื่อแก่แล้วร่วงลงดิน หากมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเกิดต้นใหม่ขึ้นมา ต้นที่แข็งแรงก็จะยืนต้นอยู่ได้ พัฒนาเป็นต้นใหญ่ ฝักทองหลางส่วนหนึ่งร่วงลงน้ำและลอยไปตามแม่น้ำลำคลอง เมื่อไปติดอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ก็เกิดต้นใหม่ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เอง จึงพบต้นทองหลางในพื้นที่ราบลุ่มกระจายเป็นวงกว้าง

แล้วผู้คนเริ่มรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นทองหลางได้อย่างไร
เข้าใจว่า แรกทีเดียว ทองหลางคงจะเป็นเหมือนพืชทั่วๆ ไป ที่คนไม่รู้จักใช้ประโยชน์ จนกระทั่งมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินซึ่งทองหลางเคยขึ้นอยู่ แล้วพบว่า บริเวณนั้นพืชเจริญงอกงามดี

ชาวบ้านบางคนเห็นต้นทองหลางขึ้น แต่ไม่อยากตัดทิ้ง ขณะเดียวกันก็ปลูกไม้แซมเข้าไป ปรากฏว่า ไม้แซมที่มีทองหลางเป็นร่มให้ งอกงามดีกว่าบริเวณไม่มีทองหลางเสียอีก

ดังนั้น ชาวบ้านชาวสวนจึงพัฒนาการปลูกพืชร่วมกับทองหลางเรื่อยมา จนกลายเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่า

ทองหลาง มีชื่อเสียงในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะเขตที่มีการปลูกทุเรียน มังคุด อย่างจังหวัดนนทบุรี ปกติแล้ว ดินในเขตที่ลุ่มดินเหนียว เกิดจากการทับถมของอินทรียวัตถุมานานปี โดยทั่วไป จะมีปุ๋ยที่ช่วยให้พืชผลมีคุณภาพดี มีความหวานสูง

พื้นที่การทำสวนในภาคกลาง ชาวสวนจะยกร่อง ที่เรียกกันว่า ร่องจีน อาศัยปรากฏการณ์น้ำขึ้นก็ปล่อยน้ำเข้าสวน เมื่อได้ปริมาณตามที่ต้องการก็กักไว้ คนมีที่ดิน 60-100 ไร่ เขาจะแบ่งสวนออกเป็นแปลงย่อม ที่เรียกกันว่า “ขนัด” ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ อย่างเรื่องน้ำ น้ำน้อยก็สูบเข้าทีละขนัด น้ำมากก็ป้องกันทีละขนัด

ผืนดินของภาคกลาง เป็นดินเหนียว ถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์จริง แต่การระบายน้ำหรือความเหมาะสมที่รากพืชจะเจริญเติบโต สู้ดินร่วนซุยบนที่สูงไม่ได้ เมื่อมีการปลูกทองหลางเข้าไป รากของทองหลางจะชอนไช เมื่อรากเน่าผุก็จะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น รากของทองหลางจะมีปมคล้ายๆ ปมในต้นถั่วลิสง จึงไม่แปลกเลยที่ทองหลางสามารถตรึงไนโตรเจนมาให้เป็นประโยชน์กับต้นพืชได้

ปุ๋ยที่ได้ ไม่ได้เฉพาะจากรากทองหลางเท่านั้น ใบทองหลางเมื่อแก่ก็ร่วงหล่นลงดิน ส่วนหนึ่งตกลงไปยังท้องร่อง กิ่งอ่อนของทองหลางก็ถูกชาวสวนตัดแต่งกิ่ง แล้วนำไปสุมกองไว้ ไม่นานก็ผุสลายไปกับดิน ถึงขวบปี ชาวสวนจะลอกเลนขึ้นมากองทับสันร่อง เป็นที่น่าสังเกตว่า บริเวณใดที่มีใบทองหลางจำนวนมาก บริเวณนั้นดินและน้ำจะเป็นสีดำ เมื่อการลอกเลนผ่านไป 2-3 เดือน ต้นไม้ก็จะงาม

ช่วงที่ปลูกต้นไม้ใหม่ๆ ชาวสวนเมืองนนท์จะตัดกิ่งทองหลางไปปักไว้ 4 มุม กะให้ช่วยบังแดด เมื่อปลูกไปนานๆ ไม้หลักเติบโตจึงค่อยๆ แต่งกิ่งทองหลางให้มีความเหมาะสมที่จะอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างไม้หลักกับต้นทองหลางเอง

คุณสุทธิพันธ์ บุญใจใหญ่ เกษตรกรที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยปู่ ย่า ตา ยาย เห็นความสำคัญของทองหลางมาก มักจะปลูกให้ร่มเงาไม้หลัก อย่าง ทุเรียน มังคุด กระท้อน แต่ปัจจุบันงานเกษตรมีพื้นที่น้อยลง ความสำคัญของทองหลางจึงลดลง “เป็นไม้ที่มีคุณค่ามาก ถ้าไม่มีทองหลาง ชื่อเสียงของทุเรียนจังหวัดนนท์ คงไม่ขจรไกลและขายได้ลูกละเป็นพันเป็นหมื่นบาท สำคัญที่สุดเรื่องของการบำรุงดิน โดยเฉพาะที่ราก ทองหลางที่นนท์ ปลูกแล้วน้ำท่วมไม่ตาย เพียงแต่ต้นอาจจะผุนิดหน่อยหากท่วมนานๆ ต้นของทองหลางมีประโยชน์คือเป็นปุ๋ยได้อย่างดี ใบกินกับปลาแนม กินกับลาบ ส้มตำ มีคนปลูกเพื่อขายใบโดยเฉพาะ ตัดยอดอ่อนจำหน่าย” คุณสุทธิพันธ์บอก และเล่าต่ออีกว่า

“สมัยก่อน บรรพบุรุษไม่ค่อยมีของเล่นให้กับลูกหลาน จึงนำไม้ทองหลางมาทำเป็นเรือขนาดเล็กๆ สามารถลอยน้ำอยู่ได้ ให้ลูกหลานเล่น เพราะทองหลางเป็นไม้เนื้ออ่อนขุดเรือง่าย บางครั้งก็นำมาถากเป็นมีดดาบให้เด็กผู้ชายเล่นฟันดาบกัน วิธีปลูกทองหลาง นิยมใช้กิ่งปัก งอกง่ายมาก”

ถึงแม้ทองหลางจะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็ใช้ประโยชน์บางอย่างได้ดี คุณสุทธิพันธ์ ในฐานะที่เป็นเกษตรกรในเขตปริมณฑล และมีประสบการณ์เกี่ยวกับทองหลางเล่าให้ฟังอีกว่า ทองหลาง เป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ช่างสมัยโบราณ นิยมตัดทองหลางที่มีขนาดใหญ่ เป็นท่อน ไปวางเป็น “หมอน” คือทำหน้าที่คล้ายๆ เสาเข็ม สำหรับการสร้างเรือนไทย หมอนจากทองหลางกันเรือนไทยทรุดได้ดี คุณสมบัติของทองหลางนั้น เมื่อต้นขนาดใหญ่แล้วแห้ง มีโอกาสผุได้ในเวลาไม่นาน แต่เมื่อใดที่ถูกน้ำ ต้นทองหลางจะอยู่ได้นาน เคยมีการรื้อเรือนไทย แล้วพบมีไม้หมอนจากทองหลางที่อายุกว่า 100 ปี โดยไม่ผุกร่อน

เกษตรกรบางพื้นที่ใช้ทองหลางเป็นหลักแล้วปลูกพลูที่กินกับหมากให้เลื้อยเจริญเติบโตไปตามต้น แรกทีเดียวเข้าใจว่า คงไม่มีใครทราบว่า ทองหลางจะเป็นหลักที่ดี แต่ชาวสวนหาหลักไม่ได้ ก็ลองปลูกๆ ไป ปรากฏว่าพลูงอกงามดีกว่าไม้ชนิดอื่นเสียอีก

ยุคสมัยก่อนนิยมใช้ต้นทองหลางที่เป็นไม้เนื้ออ่อน ทำเป็นก้านไม้ขีด แต่ทุกวันนี้มีน้อยลง งานสวนที่ปลูกทองหลางเป็นกลุ่มใหญ่ จะช่วยให้ธรรมชาติลงตัว มีการพึ่งพากันระหว่างพืชและสัตว์ ลดการระบาดของโรคแมลง ขณะเดียวกันต้นไม้หลักที่ปลูกก็มีความแข็งแรง สิ่งแวดล้อมโดยรวมก็จะดีขึ้น

งานปรับปรุงบำรุงดินของทางราชการ นิยมใช้พืชล้มลุก อย่าง ปอเทือง ถั่วพร้า โสนแอฟริกัน พืชเหล่านี้ใช้กับพืชไร่ได้ดี แต่หากนำทองหลางไปใช้ร่วมคงไม่เหมาะสม เพราะเป็นไม้ยืนต้น กรณีของพืชสวน น่าจะพิจารณาใช้ทองหลาง หากทำจริงๆ จังๆ คงประหยัดปุ๋ยได้ไม่มากก็น้อย

เพราะเป็นไม้ที่มีคุณค่า จึงมี คำว่า “ทอง” ใช้เรียกทองหลาง

มีการนำชื่อไม้ทองหลางมาตั้งเป็นชื่อท้องถิ่น อย่าง เขตบึงทองหลาง เข้าใจว่า เมื่อก่อนบริเวณนั้นมีบึงน้ำและมีต้นทองหลางขึ้นอยู่เต็มไปหมด ในต่างจังหวัดก็มีชื่อหมู่บ้านและตำบล ที่มี คำว่า “ทองหลาง” เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น ในแง่สมุนไพร ทองหลาง ก็มีคุณสมบัติทางด้านนี้
เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ แก้ไข้ แก้ปวด บวมตามข้อ และแก้ปวดได้ทุกชนิด หรือนำมาบดเป็นผงละเอียดใช้น้ำผสมเล็กน้อย แล้วใช้อุดฟันแก้ปวดฟัน

ใบสด นำมาต้มน้ำกิน แก้ไข้ แก้โรคบิด แก้ปวดเมื่อยตามไขข้อ

ดอกสด นำมาต้มกินเป็นยาขับระดู

เมล็ด นำมาตำให้ละเอียดเป็นผง หรือนำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้พิษงู รักษาฝี

เปลือกราก นำมาต้มกินเป็นยากระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไขสันหลัง ทำให้ความดันโลหิตในเส้นโลหิตแดงเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ใบของทองหลางยังมีคุณค่าอาหาร นอกจากคนบริโภคได้แล้ว ยังเหมาะในการนำไปเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย

ประชากรของทองหลางในปัจจุบันลดลง สาเหตุนั้นมาจากพื้นที่การเกษตรลดลง

เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยสมัยใหม่ที่ตอบสนองต่อพืชเร็วและสะดวกในการใช้

แต่ ทองหลาง ก็ยังน่าปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัจจุบัน มะพร้าวน้ำหอม นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่นิยมบริโภคสดและใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เพราะมีจุดแข็งสำคัญคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน เหมาะสมต่อการเพาะปลูกผลไม้ ทำให้ผลไม้มีรสชาติดี น้ำมะพร้าวที่ได้มีคุณภาพดีและมีกลิ่นหอม เป็นที่ต้องการของตลาด

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจาก สมัครเว็บไฮโล สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักการต่างประเทศ เรื่อง สถานการณ์สินค้ามะพร้าวในสหรัฐอเมริกา (เมษายน 2563) จากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (สปษ. ดี.ซี.) ว่า ปัจจุบัน ตลาดสินค้าน้ำมะพร้าวจากทั่วโลกมีมูลค่ามากกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีขยายตัวเพิ่มเป็น 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2567

ความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวที่เพิ่มขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคของประชากรที่หันมาเน้นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และด้วยผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไขมันและแคลอรีต่ำ สามารถเป็นเครื่องดื่มในลักษณะของ Sport Drink ที่ทำให้เกิดความสดชื่นเมื่อดื่มหลังการออกกำลังกาย ทำให้ผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าว กลายเป็นสินค้าที่มีการเติบโตของตลาดอย่างสูง โดยประเทศฟิลิปปินส์ต้องการบริโภคน้ำมะพร้าวมากที่สุดในโลก (685,000 เมตริกตัน) ตามด้วยสหภาพยุโรป (635,000 เมตริกตัน) อินเดีย (465,000 เมตริกตัน) และสหรัฐอเมริกา (445,000 เมตริกตัน) ตามลำดับ

ตลาดน้ำมะพร้าวของสหรัฐอเมริกา นับเป็นตลาดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวรายใหญ่ของโลก จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือ UNITED STATES INTERNATIONALTRADE COMMISSION พบว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562) การนำเข้าน้ำมะพร้าวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าการนำเข้า 312.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2558 เพิ่มเป็น 523.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 67 หรือเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 13 ต่อปี

เมื่อปี 2558-2560 สหรัฐอเมริกานำเข้าน้ำมะพร้าวจากประเทศบราซิล เป็นอันดับ 1 ชิลี อันดับ 2 อินโดนีเซีย เป็นอันดับ 3 และไทยเป็น อันดับ 4 โดยในช่วงนั้นสหรัฐอเมริกานำเข้าน้ำมะพร้าวจากไทยน้อยมาก ประมาณ 10-12 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี สถานการณ์การนำเข้าน้ำมะพร้าวในสหรัฐอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแปลงในปี 2561-2562 โดยในปี 2561 มูลค่าการนำเข้าน้ำมะพร้าวได้ขยายตัวแตะระดับ 411 ล้านเหรียญสหรัฐ และประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมาก มูลค่าการนำเข้าน้ำมะพร้าวจากไทยเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า คิดเป็นมูลค่า 47.66 ล้านเหรียญสหรัฐ