อาจารย์มีวิธีที่จะแนะนำให้ท่านผู้ที่สนใจปลูกและสร้างรายได้

ในภาวะข้าวยากหมากแพงและโรคระบาดอย่างนี้ การเกษตรเป็นอาชีพที่ยั่งยืนอาชีพหนึ่ง ที่อยากจะแนะนำ โดยเฉพาะปลูกมะเดื่อฝรั่ง หรือฟิก ในตลาดยังมีน้อยมาก ตามเอกสารทางวิชาการที่อ้างอิงจากนักวิจัย คุณค่าทางอาหารของมะเดื่อฝรั่งถือว่ามีวิตามินสูงมากและมีความหวานฉ่ำ

การสร้างรายได้จากมะเดื่อฝรั่ง จากการขายผลสดซึ่งมีน้อยมากในตลาด เนื่องจากเป็นผลไม้เปลือกบาง ทำให้ช้ำง่าย ต้องระวังเรื่องการขนส่งบ้าง และแปรรูปเป็นผลไม้อบแห้ง ในเมืองไทยยังไม่มีผลผลิต นอกจากนำเข้าจากต่างประเทศ และยังนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร ตามร้านอาหารในรูปแบบอาหารตะวันตก นอกจากนั้น ก็นำมาแปรรูปทำแยมหรือกวน ราคาผลสดในปัจจุบันที่ขายตามออนไลน์ หรือบางห้าง จะอยู่ที่ 200-300 บาท ต่อกิโลกรัม

“มะเดื่อฝรั่ง ยังให้ผลผลิตเร็ว 5 เดือนขึ้นไป ก็เริ่มให้ลูกแล้ว และพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่น จากการปลูกที่สวนผม ซึ่งผมทดลองปลูกหลายพันธุ์ ก็มีพันธุ์นี้แหละที่ให้ผลผลิตสูงและให้ผลผลิตเร็วกว่าผลไม้ชนิดอื่น ผมจึงเลือกพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่นมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และตอนนี้พยายามเอาพันธุ์อื่นออกแทนที่ด้วยพันธุ์นี้ครับ” อาจารย์วิเชียรบอก และกล่าวอีกว่า

“ปัจจุบันนี้ มะเดื่อฝรั่ง ยังขาดตลาดอีกมาก เพราะที่สวนผมมีคนโทร.มาขอซื้อผลสดทุกวัน และแม่ค้าที่รับซื้อผลไม้ขายที่ตลาดไท ก็ติดต่อขอซื้อผลสด และเท่าที่อยู่ในวงการต้นไม้มา มะเดื่อกินผลสดหรือแปรรูปยังไม่มีในเมืองไทย มีแต่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ผมหมายถึง มะเดื่ออบแห้ง การที่คิดจะทำการเกษตรและมองหาไม้ผลที่ให้ผลผลิตเร็ว ก็ไม่ควรมองข้าม มะเดื่อฝรั่ง หรือเพาะพันธุ์เป็นต้นเล็กๆ ขายทั้งต้น นำไปปลูกเป็นไม้ประดับได้ เพราะมะเดื่อฝรั่งปลูกได้ทุกที่ จะปลูกในบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์หรือหน้าตึกแถว โดยใส่กระถางก็ปลูกได้เช่นกัน เป็นแนวทางการตลาดที่น่ามอง ในภาวะที่ถูกให้กักตัวเองอยู่ในบ้าน เช่น ถ้าตื่นเช้าขึ้นมาได้พบได้เจอต้นไม้หน้าบ้านที่ออกดอกออกผลให้ชมก็ช่วยให้หายเครียดได้บ้างครับ”

วิธีการปลูกมะเดื่อฝรั่ง
อากาศที่เหมาะสำหรับปลูกมะเดื่อฝรั่ง
ในพื้นที่เขตร้อนโดยทั่วไปมะเดื่อฝรั่งเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในประเทศไทยปลูกได้ทุกที่ มะเดื่อฝรั่งชอบทั้งอากาศร้อนชื้นและร้อนแห้งอย่างภาคเหนือ ภาคอีสาน ก็ปลูกได้ทั้งนั้น ในหน้าฝนก็จะระวังเรื่องผลจะแตก แก้ด้วยการห่อผล หรือปลูกภายในโรงเรือนโดยการให้น้ำที่เหมาะสมก็ได้เช่นกัน

ดิน…มะเดื่อฝรั่งสามารถปลูกในดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวก็ปลูกได้ แต่อย่าขุดลึกลงไปมาก ให้มีความลึก ประมาณไม่เกิน 30 เซนติเมตร แต่แนะนำให้ปลูกในวงบ่อเพื่อกันน้ำขัง และใส่วัสดุปลูกเพิ่มที่โปร่ง เช่น ใบไม้ หรือ เปลือกถั่ว เพื่อการระบายน้ำ จะแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ปลูกที่เป็นดินเหนียว ส่วนดินปนทรายนั้นก็ผสมด้วยขุยมะพร้าว หรือเปลือกมะพร้าวสับหยาบ เพื่อการอุ้มน้ำและเก็บความชื้น การขุดดินเพื่อปลูกมะเดื่อฝรั่งในความลึกเพียงพอกับลักษณะดินของแต่ละพื้นที่ เพื่อการระบายน้ำและอาหาร ค่าความเป็นกรดและด่างของดิน หรือ ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 6.0 และ 6.5

การปลูก…เริ่มจากการเตรียมดินแล้ว ระยะห่างจากการปลูก ที่สวนอาจารย์วิเชียร ปลูกห่าง 2×2 เมตร ที่สวนเป็นดินร่วนปนทราย แต่ค่อนข้างเป็นดินร่วน อาจารย์วิเชียรแบ่งปลูกในวงบ่อ และขุดหลุมปลูกลงดินก็ได้ผลทั้งสองอย่าง บริเวณโคนต้นให้คลุมด้วยฟางก็ดี จะช่วยเก็บความชื้น ประหยัดทรัพยากรน้ำไปได้บ้าง

การตัดแต่งกิ่ง
การควบคุมเรื่องการแตกกิ่งก้านนั้น ควรจะปล่อยให้แตกกิ่งในหน้าฝน พอหน้าร้อนแล้งก็ตัดใบออกบ้าง ช่วงนี้ก็จะให้ลูกดกเต็มต้น ในหน้าร้อนแล้งช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน สีของผลจะแดงสดใส สวยงาม แต่ความหวานเหมือนกันทุกๆ ฤดูกาล

ฤดูกาลที่ให้ผลผลิตมาก
มะเดื่อฝรั่งพันธุ์บราวน์ตุรกีญี่ปุ่นนั้น จะออกลูกทั้งปี สุกไล่เลี่ยกัน แต่เดือนที่ให้ผลมากก็เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน และอีกช่วงก็เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน นอกจากนั้น ก็จะทยอยให้ผลผลิต จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแห่งธรรมชาติเป็นใจด้วย

สภาพดินฟ้าอากาศในปัจจุบันนี้แปรปรวน อาจจะทำให้การออกลูกคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ก็ให้ลูกดกเหมือนเดิมเพียงแต่การดูแลเรื่องของสิ่งแวดล้อม เช่น วัชพืช และการควบคุมการให้น้ำ และใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ ก็จะมีลูกมะเดื่อให้กินตลอดทั้งปี

โรคและแมลง
การปลูกมะเดื่อฝรั่งในบ้านเรา การรบกวนจากโรคและแมลงน้อยมาก เนื่องจากกลิ่นเฉพาะตัวของใบมะเดื่อฝรั่ง สามารถไล่แมลงได้ แต่ก็มีหนอนม้วนใบบ้าง แต่ไม่มาก เนื่องจากขาดน้ำ ถ้าระบาดก็ตัดใบทิ้งไป และเพิ่มการให้น้ำ ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงหน้าแล้ง ถ้าหน้าฝนก็ระวังเรื่องราสนิมที่มากับน้ำฝน แก้ด้วยการตัดใบที่เป็นราสนิมทิ้งให้หมด ไม่ต้องกังวลต้นมะเดื่อจะตาย ใบที่งอกใหม่ก็จะปกติ ถ้าเป็นราสนิมอีกก็ตัดทิ้งอีก ส่วนที่ต้องระวังอีกอย่างคือ รากเน่า ถ้าให้น้ำมากเกินไป หรือในหน้าฝนถ้าฝนตกหนักให้รีบระบายน้ำออก ก็จะแก้ปัญหารากเน่าได้ มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกในบ้านเราจะไม่มีปัญหาเรื่องแมลงรบกวนผล นอกจากนกและกระรอกเท่านั้น จะเห็นว่ามะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่น่าปลูกชนิดหนึ่งในภาวะปัจจุบัน

ท่านผู้อ่านที่สนใจจะสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อมาที่ อาจารย์วิเชียร บุญเกิด ยินดีจะมอบความรู้ให้ท่านโดยไม่ปิดบัง ที่สวนสุวรรณีปรางทอง ยังไม่ผ่านพ้นไปกับช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่กินเวลายาวนานหลายเดือน หลายคนปรับตัวและหาช่องทางดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้าได้แล้ว และอีกหลายคนที่ยังมืดแปดด้านกับชีวิต ก็อย่าเพิ่งท้อกันไป ชีวิตยังมีแสงสว่างเสมอ สิ่งแรกที่เริ่มต้นทำได้ง่ายที่สุดคือ การพึ่งพาตนเอง ปลูกผักผลไม้ไว้กินเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งสารเคมี ช่วงแรกรายได้อาจยังไม่มี แต่อย่างน้อยก็ขอให้ท้องได้อิ่มก่อน เมื่อเหลือจึงขายสร้างรายได้ ตามหลักคำสอนเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9

คุณมะดามิง อารียู หรือ พี่ยา เกษตรกรชาวยะลา อยู่บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 4 ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ผู้ที่น้อมนำคำสอนทฤษฎีหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาใช้เป็นหนทางในการดำเนินชีวิต ประกอบกับที่มีความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์มาอยู่ก่อนแล้ว จึงเริ่มต้นทำเกษตรแบบอินทรีย์ เพื่อวางรากฐานชีวิตในอนาคตมานานหลายปี โดยมองว่า เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน จะเป็นทางรอด และเป็นความยั่งยืนของเกษตรกรไทยในอนาคต

พี่ยา เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำเกษตรอินทรีย์ว่า เมื่อก่อนก็เคยทำเกษตรเคมีมาก่อน แต่เมื่อทำไปแล้วการทำเกษตรเคมีไม่ตอบโจทย์ชีวิต ทำกี่ครั้งก็ขาดทุนทุกครั้ง จึงนึกย้อนไปถึงสมัยบรรพบุรุษว่า ท่านทำการเกษตรอย่างไร ถึงได้มีกินมีใช้และมีมรดกตกมาถึงลูกหลานได้ เมื่อทบทวนดูดีๆ แล้ว จึงได้คำตอบว่า พวกท่านทำเกษตรแบบไม่ได้พึ่งพาปัจจัยภายนอก พยายามพึ่งพาปัจจัยภายในให้ได้มากที่สุด เมื่อคิดได้หลังจากนั้นจึงกลับมาทดลองเดินตามรอยบรรพบุรุษด้วยการพยายามเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด และมีระบบการจัดการแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หาวัตถุดิบปุ๋ยในท้องถิ่น ขี้วัว ขี้ไก่ รวมถึงการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

ทำเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์
บนพื้นที่ 5 ไร่ ไม่รวย แต่มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

เจ้าของเล่าว่า ตอนนี้มีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ประมาณ 5 ไร่ ทำเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์ ปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ลางสาด เลี้ยงสัตว์ และล่าสุดคือ การรวมกลุ่มปลูกมะนาวอินทรีย์ ถือเป็นการรวมกลุ่มผู้ที่มีอุดมคติคล้ายกัน คือ รักสุขภาพ และอยากสร้างอาหารปลอดภัยให้เพื่อนมนุษย์ได้รับประทาน แต่การทำเกษตรอินทรีย์ก็ต้องยอมรับว่า ในช่วงแรกอาจไม่ได้เป็นรายได้หรือกำไรที่มหาศาล เพราะผลผลิตอาจจะยังออกมาไม่สมบูรณ์เท่ากับเกษตรเคมี แต่สิ่งที่ได้กลับมาแน่ๆ คือ ของดี เมื่อมีของดีจะนำไปทำกับข้าวหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็สบายใจ ปลอดภัยต่อร่างกาย กลายเป็นห่วงโซ่ธุรกิจ เมื่อสามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยได้แล้ว จึงไม่ต้องกังวลด้านการตลาด แต่เพียงต้องใจเย็นในการดูแลที่เพิ่มขึ้นมาเป็นสองเท่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำจัดวัชพืชที่ต้องทำบ่อยครั้งกว่าการใช้สารเคมีฉีดพ่น รวมถึงแมลงศัตรูพืชที่ต้องทำใจ แต่ก็จะมีวิธีใช้ธรรมชาติกำจัดธรรมชาติกันไป

เทคนิคการปลูกมะนาวอินทรีย์

พี่ยา บอกว่า ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะนาวอินทรีย์กับมะนาวทั่วไป อยู่ที่การใช้ปุ๋ยและการเตรียมดิน ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยที่ได้มาจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นทั้งหมด

ขั้นตอนแรกคือ การเตรียมดินปลูก… นำขี้วัว ขี้ไก่ ขี้เลื่อย แกลบ และดิน มาผสมลงในวงบ่อ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ จากนั้นนำต้นพันธุ์ลงไปปลูก โดยพันธุ์มะนาวที่เลือกปลูกคือ พันธุ์แป้นพิจิตร เนื่องจากปลูกดูแลง่าย และให้ผลผลิตดกและขนาดลูกใหญ่ พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 100 วงบ่อ

ปุ๋ย… ใส่ขี้ไก่ ปีละ 2 ครั้ง ปริมาณการใส่ขี้ไก่ 1 ถุง ใส่ได้ 4 ต้น และมีให้ปุ๋ยเม็ดอินทรีย์เสริม ปีละ 1 ครั้ง

ระบบน้ำ… เจาะน้ำบาดาลทำแท็งก์น้ำ มีเครื่องสูบและต่อท่อทำระบบสปริงเกลอร์ ความถี่ในการรดน้ำขึ้นอยู่กับฤดูกาล ถ้าเป็นหน้าแล้งก็รดน้ำเช้า-เย็น ถ้าเป็นหน้าฝนก็ไม่ต้องรด แต่ก็ต้องดูความชุ่มชื้นของดินประกอบด้วย

การฉีดพ่นน้ำหมัก… มีน้ำหมักหน่อกล้วย และน้ำส้มควันไม้ เป็นสูตรที่ได้เรียนรู้มาจากการเข้าอบรม น้ำหมักหน่อกล้วยเป็นสูตรช่วยเร่งดอก ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีส่วนผสมดังนี้

หน่อกล้วยสับกากน้ำตาลสารเร่ง พด.2น้ำเปล่า
วิธีทำ… สับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำกากน้ำตาล สารเร่ง พด.2 ผสมลงไปในน้ำเปล่า คนให้เข้ากัน จากนั้นนำหน่อกล้วยที่สับไว้ผสมลงไป แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งทิ้งไว้ในร่ม ใช้เวลาการหมักประมาณ 20 กว่าวัน แล้วกรองใส่ขวดเก็บไว้ใช้ สัดส่วนการฉีดพ่นน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 500 ลิตร
โรคแมลง… การทำเกษตรอินทรีย์ เป็นอันรู้กันว่าต้องทำใจเรื่องโรคแมลง แต่ก็ต้องทำใจเย็นและค่อยๆ หาวิธีกำจัด ซึ่งตอนนี้ก็ใช้ธรรมชาติกำจัดธรรมชาติ ที่สวนมีนกเยอะ ก็ใช้นกกำจัดแมลงที่มารบกวน ก็ถือว่าป้องกันได้ในระดับหนึ่ง ในอนาคตจะมีการศึกษาเพิ่มเติม คือการนำผึ้งมาเลี้ยงช่วยด้วย

ผลผลิต… เก็บส่งขายตามช่วงฤดูกาล แต่ของที่สวนจะออกยาวมาเรื่อยๆ เริ่มเก็บขายได้เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนสิงหาคม เริ่มทยอยเก็บขายได้แบบวันเว้นวัน วันละประมาณ 40-50 กิโลกรัม ผลผลิตถือว่ายังออกมาได้ไม่เต็มที่ เพราะเพิ่งจะรวมกลุ่มปลูกได้ไม่นาน ประมาณ 3 ปี แต่ ณ ตอนนี้ถือว่าพอใจกับผลผลิตที่ได้

รายได้… มะนาวอินทรีย์ ราคาจะต่างกับตลาดเล็กน้อย แต่ว่าโชคดีหน่อยเพราะมะนาวอินทรีย์ของกลุ่มเรามีตลาดรองรับอยู่ ส่งให้กับโรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยทางโรงพยาบาลจะบวกราคาเพิ่มให้ เพราะเป็นมะนาวอินทรีย์ จากเดิมขายที่ตลาด กิโลกรัมละ 40 บาท เพิ่มมาเป็นกิโลกรัมละ 60 บาท และนอกจากทำส่งโรงพยาบาลแล้ว ก็ยังมีร้านที่นำไปทำน้ำปั่นขายมารับซื้อเป็นประจำ ทุกวันนี้ผลผลิตก็ยังไม่พอขาย เพราะความต้องการของตลาดที่มีต่อมะนาวอินทรีย์ยังมีอีกมาก แต่ราคายังไม่ดีเท่าที่ควร ในอนาคตทางกลุ่มจึงกำลังหาวิธีเข้าไปปรึกษากับทางหน่วยงานภาครัฐให้เข้ามาสนับสนุนเรื่องของการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะมะนาวของเราเป็นของดีแต่เมื่อขายในตลาดราคาจะเหมือนมะนาวทั่วไป

ต้นทุนการปลูก…จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาในส่วนของขั้นตอนการกำจัดวัชพืช จำเป็นต้องตัดหญ้า ดายหญ้าบ่อยครั้งกว่าการใช้สารเคมีพ่นอยู่มาก แต่หมดกังวลเรื่องค่าปุ๋ยไปได้เลย

แนะนำเกษตรกรที่อยากทำเกษตรอินทรีย์ อันดับแรกในการทำเกษตรอินทรีย์คือ ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน และต้องมีความมั่นใจว่าเกษตรอินทรีย์คือทางรอด ไม่ใช่เฉพาะแค่มะนาว แต่เป็นผักทุกชนิด เพราะถ้าวันนี้ลูกหลานเกษตรกรไม่สนใจวิถีชีวิตการทำงานของรุ่นบรรพบุรุษ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจะฟื้นตัวยาก อย่างเช่นตอนนี้ที่โลกกำลังเผชิญกับไวรัส โควิด-19 ทุกคนพยายามที่จะกลับมาทำเกษตร

แต่ก็ไม่ทันแล้ว แต่ในทางกลับกัน ถ้าทุกคนเริ่มลงมาทำทีละเล็กทีละน้อยมาเรื่อยๆ เมื่อเกิดผลกระทบอะไร ก็ยังพอที่จะมีผลผลิตมาช่วยในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ และผมมั่นใจในการทำเกษตรอินทรีย์ ผมไม่ได้ทำแค่มะนาวอินทรีย์อย่างเดียว แต่ที่สวนผมทำเกษตรผสมผสาน ใช้ระบบธรรมชาติเข้ามาจัดการ ปลูกยางพารา ลองกอง เงาะ มังคุด ทุเรียน โดยไม่พึ่งสารเคมี ผลผลิตก็มีออกมาขายได้

เมื่อเทียบกับสวนข้างๆ ที่ปลูกยางพารา ปลูกลองกอง มาพร้อมกัน แต่เขาใช้สารเคมี ยางพาราของเขาต้องโค่นทิ้งปลูกใหม่ ผลผลิตลองกองก็ร่วงเสียหาย แต่ของผมผลผลิตยังสมบูรณ์ดีอยู่ ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้ผมทำเกษตรอินทรีย์ต่อไป ถึงแม้ว่าผลตอบแทนอาจได้ไม่เยอะ แต่ผมเน้นความมั่นคง เน้นสุขภาพที่ดี ทั้งของตัวเองและผู้บริโภค ซึ่ง ณ วันนี้ ผมก็พยายามรณรงค์ให้ผู้คนหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น และพยายามขยายองค์ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ที่สนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรไทยล้มเหลวในเรื่องการทำเกษตรเคมีมามากพอแล้ว คุณมะดามิง กล่าวทิ้งท้าย

“มังคุดอินโด” เป็นหนึ่งในไม้ผลเด่นที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้เข้าชมงานเกษตรมหัศจรรย์ ที่จัดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน บริเวณสกายฮอลล์ เซ็นทรัลลาดพร้าว

มังคุดอินโด ที่นำมาโชว์ในครั้งนี้ เป็นไม้ผลทางเลือก ของสวนประสมทรัพย์ ที่นำมาปลูกเมื่อ 10 ปีกว่าก่อน โดย “คุณมนตรี กล้าขาย” อดีตข้าราชการเกษียณของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้นำเรื่องมังคุดอินโดมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ปรากฏว่า สร้างกระแสฮือฮาในวงการไม้ผลเป็นอย่างมาก ใครๆ ก็อยากปลูก ใครๆ ก็อยากชิมมังคุดอินโดแต่เรื่องกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด

คุณมนตรี กรุณาสละเวลาพา คุณพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน พร้อมทีมงานไปชมต้นมังคุดอินโดที่สวนประสมทรัพย์ ของ “ลุงจวบ” หรือ คุณประจวบ จำเนียรศรี รองประธานสภาเกษตรแห่งชาติ พร้อมพูดคุยกับ “ป้าสม” ภรรยาลุงจวบ ณ บ้านเลขที่ 108/7 บ้านชากเล็ก หมู่ที่ 5 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

เมื่อพวกเรามาถึงสวนแห่งนี้ ลุงจวบไม่อยู่ ติดภารกิจเดินทางไปส่งของให้ลูกค้ารายหนึ่ง เพื่อไม่ให้เสียเวลารอคอยอย่างเปล่าประโยชน์ ป้าสมพาพวกเราไปชมต้นมังคุดอินโด และคุณมนตรีได้เล่าความเป็นมาของมังคุดอินโดให้ฟังว่า ช่วง ปี 2550-2551 คุณเอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยอง ได้เดินทางไปดูงานที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้นำมังคุดอินโดมาฝากลุงจวบ จำนวน 3 ต้น

ลุงจวบ ได้นำต้นมังคุดอินโดไปปลูก พร้อมดูแลรักษาให้ปุ๋ย-ให้น้ำอย่างดี ช่วง 3-4 ปีแรกของการปลูก ต้นมังคุดอินโดมีการเจริญเติบโตที่ดี ทรงพุ่มใช้ได้ และมีลักษณะเด่นหลายอย่าง ย่างเข้าปีที่ 3 ต้นมังคุดอินโดเริ่มออกดอกติดผลแล้วสัก 2-3 ผล ชิมดูเห็นว่ารสชาติดีมาก และมีทรงผลก้นจีบ ย่างเข้าปีที่ 4 (ปี 2555) ต้นมังคุดอินโดออกดอกและติดผลสัก 80-90 ผล และเริ่มทยอยสุกแล้วสัก 15-20 ผล จึงนำมาแจกจ่ายให้ข้าราชการและสื่อมวลชนที่เยี่ยมชมสวนได้ทดลองชิมรสชาติกัน ปรากฏว่า เป็นที่ติดอกติดใจของทุกคน

จุดเด่นของมังคุดอินโด

คุณมนตรี กล่าวว่า มังคุดอินโด มีลักษณะทรงผลแตกต่างจากมังคุดไทยชัดเจน โดยส่วนไหล่ผลถึงกลางผลของมังคุดอินโดจะออกทรงกลมมน แต่จากส่วนกลางผลลงไปทางก้นผลจะค่อนข้างเรียวเล็กน้อย (คล้ายทรงหวดนึ่งข้าวเหนียวหรือกระถางต้นไม้) มองดูว่ารูปทรงของผลมังคุดอินโดจะออกส่วนยาวกว่ามังคุดไทย (ผลมังคุดไทยจะเป็นทรงผลกลมมนทั้งส่วนไหล่และก้นผล)

ส่วนก้นผลมังคุดอินโดมีลักษณะ “ก้นจีบ” ชัดเจนมาก ที่ก้นผลมีกลีบเลี้ยงเล็กๆ 7-8 กลีบย่อย เชื่อมต่อกันเป็นรูปวงกลม ก้านผลเชื่อมต่อกับหูใบที่แยกเป็น 4 กลีบ (แฉก) สีเขียวสดใสเป็นมันวาว ค่อนข้างแข็งเมื่อจับดูด้วยมือ เปลือกผลอ่อนสีเขียวหรือเขียวอมเหลือง เปลือกผลเมื่อแก่มีจุดประ หรือกลุ่มเม็ดสีสีชมพูอมแดงหรือสีแดงน้ำตาล กระจายทั่วผลต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีแดงม่วง และสีม่วงเมื่อสุกเต็มที่ มังคุดอินโดเปลือกค่อนข้างบาง ผิวเปลือกเรียบมัน ขนาดของผลจัดว่าเป็นผลขนาดกลาง และค่อนข้างสม่ำเสมอ ดูไม่ค่อยแตกต่างกันในดอกรุ่นเดียวกัน

ด้านเนื้อและรสชาติ คุณมนตรี บอกว่า มังคุดอินโดมีเนื้อใน (พู) สีขาวสดใส แต่พูมีขนาดเล็กกว่ามังคุดไทย โดยเฉลี่ยมี 7-8 พู (กลีบ) เนื้อเมื่อเคี้ยวค่อนข้างอ่อนนุ่ม แห้งกว่า/ไม่ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานมาก อมเปรี้ยวนิดหน่อย ออกกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดที่เนื้อเป็นวุ้นอ่อนนุ่ม-เคี้ยวได้ไม่สะดุด กินได้ทุกพูอร่อยไปอีกแบบ (เกษตรกรเรียกพืชให้เมล็ดน้อยว่า “พวกหวงเมล็ด”) จึงหวังจะได้เมล็ดไปขยายพันธุ์ได้ยากมาก

ประเมินค่าความหวานของมังคุดอินโดก็ราวๆ 16-18 บริกซ์ เป็นอย่างต่ำ เนื้อในไม่ปรากฏอาการเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลมังคุดไทยที่ว่า หากเป็นผลมังคุดขนาดกลางและผลเล็ก ที่มีพูหรือกลีบเนื้อในมีขนาดเล็ก จะไม่ค่อยพบอาการเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งตรงนี้อาจเป็นจุดเด่นของมังคุดอินโดก็ได้ ต้องรอการพิสูจน์ในระยะต่อไป

คุณมนตรี กล่าวว่า มังคุดอินโดมีลักษณะต้นและทรงพุ่ม ลำต้นขึ้นตรง เปลือกลำต้นออกเขียวขี้ม้าเข้ม-เทา การแตกกิ่งหลักและกิ่งย่อยดูเป็นระเบียบ ไม่มากและดูไม่ทึบ ออกดอก-ติดผลที่ปลายกิ่ง เท่าที่ไปดูที่ต้นเป็นผลเดี่ยว ยังไม่พบที่ออกเป็นคู่/ช่อ ใบมีขนาดใหญ่-กว้าง และค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม สีใบเขียวเข้ม-เป็นมัน จับดูค่อนข้างแข็ง อย่างไรก็ตาม คุณมนตรี เชื่อว่า “มังคุดอินโด” เป็นพันธุ์มังคุดทางเลือก ที่เหมาะปลูกเป็นการค้า เนื่องจากมีคุณลักษณะทางการเกษตรบางประการที่ดีกว่ามังคุดไทย

หลังเปิดตัวมังคุดอินโดสู่สาธารณชนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีคนอยากได้กิ่งพันธุ์มังคุดอินโดไปปลูก แต่ลุงจวบไม่มีพันธุ์ขาย เพราะหาเมล็ดพันธุ์มังคุดอินโดไปปลูกขยายพันธุ์ไม่ได้นั่นเอง ปัจจุบัน สวนประสมทรัพย์แห่งนี้ปลูกมังคุดอินโดได้เพียงไม่กี่ต้น ผลผลิตที่เก็บขายทุกวันนี้มาจากมังคุดอินโดรุ่นแรกที่ปลูก

มังคุดอินโด เนื้อกรอบ รสหวาน มีเมล็ดน้อยมาก ส่วนใหญ่เจอแต่เมล็ดลีบเล็ก เคยเจอเมล็ดสมบูรณ์แต่ก็มีจำนวนน้อยเสียเหลือเกิน หากเจอถือเป็นโชคดีมาก ต้องรีบนำไปเพาะเมล็ดเพื่อปลูกขยายพันธุ์ในสวนต่อไป

“ความจริง ต้นมังคุดสามารถขยายพันธุ์แบบต่อยอดได้ สมัครสตาร์เวกัส แต่จะไม่ได้ผลดีเท่ากับวิธีเพาะเมล็ด การเพาะเมล็ดก็ใช่ว่าจะติดทุกต้น เพราะมังคุดเพาะเมล็ดให้ติดได้ยากแถมเติบโตช้ากว่าไม้ผลชนิดอื่น ต้องใช้เวลาดูแลนานถึง 2 ปี จึงจะได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์นำไปปลูกในแปลง” ลุงจวบ กล่าว

ป้าสม บอกว่า ต้นมังคุดอินโด ติดผลง่ายกว่า มังคุดไทย แต่ช่วงที่ต้นมังคุดอินโดกำลังให้ผลผลิต ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะผลมังคุดอินโดเหี่ยวได้ง่าย ต้องคอยเปิดน้ำให้ดินชุ่มทุกๆ 3 วัน เพื่อป้องกันผลเหี่ยว ต้นมังคุดอินโดอายุ 10 กว่าปี เจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตที่ดี เพราะลุงจวบบำรุงต้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์สูตรพระราชทาน ซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบสำคัญคือ ขี้วัว 10 กระสอบ แถลบ 5 กระสอบ รำละเอียด 1 กระสอบ และกากน้ำตาลหรืออีเอ็ม ใช้เวลาหมักนาน 10 วัน ก็นำไปใช้งานได้เลย ลุงจวบใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตรนี้กับต้นมังคุดอินโดละ 1 กระสอบ ใส่พร้อมปุ๋ยเคมีอีกเล็กน้อย เพื่อบำรุงดินบำรุงต้นให้ได้ผลลูกใหญ่ ลุงจวบผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายให้กับผู้สนใจ ในราคากระสอบละ 100 บาท

มังคุดอินโด ผลแก่สุกงอม ผลดำคล้ำแต่เนื้อในยังแข็ง รสชาติหวานกรอบ อร่อย เหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากมังคุดไทยผลสุกงอมก็ไม่อร่อยแล้ว ทุกวันนี้ ป้าสมขายผลมังคุดอินโดในราคาหน้าสวนที่กิโลกรัมละ 150 บาท แต่ละปีเก็บผลผลิตได้ไม่มาก หลายคนมีเงินอยากซื้อก็ทำไม่ได้ เนื่องจากลูกค้าขาประจำและข้าราชการในจังหวัดระยองนิยมสั่งจองกันล่วงหน้าข้ามปี เพื่อซื้อเป็นของขวัญของกำนัลผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ได้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยของมังคุดอินโด

ส่วนมังคุดไทยนอกฤดู เกรดผิวมัน ราคาขายหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 170-180 บาท ส่วนเกรดมังคุดผิวลาย ขายที่กิโลกรัมละ 80 บาท สำหรับมังคุดอินโดรุ่นใหม่เพิ่งปลูกได้ไม่กี่ปี ต้นยังเล็ก ยังไม่มีผลผลิตออกขายในช่วงนี้

ลุงจวบ นับเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่จัดกิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชิมผลไม้ในสวนมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยคิดค่าหัวแค่ 99 บาท ต่อคน เพราะช่วงนั้นทุเรียนหมอนทอง ราคาขายหน้าสวนแค่กิโลกรัมละ 15 บาท ส่วนชะนีไม่มีราคา เงาะขายกิโลกรัมละ 3 บาทเท่านั้น สำหรับปีนี้ ลุงจวบจัดกิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ 5 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง สะละ โดยคิดราคาค่าหัว รายละ 499 บาท

หากใครอยากกินผลไม้ให้อิ่มพุงกาง ก็แวะมาได้ที่สวนประสมทรัพย์แห่งนี้ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนสิงหาคมปีนี้ ลุงจวบ บอกว่า แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาร่วมกิจกรรมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ของสวนแห่งนี้ไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าขาประจำ เนื่องจากทุกคนได้มีโอกาสชิมผลไม้คุณภาพดี ที่มีรสชาติอร่อยได้อย่างจุใจ