อายุเมื่อดอกแรกบาน 149 วัน ความสูงเมื่อออกดอกเซนติเมตร

ใบสีเขียวเข้ม ดอกตัวผู้มาก ดอกกะเทยน้อย ผลสีเขียวเข้ม รูปร่างยาว โคนเล็ก ตรงกลางค่อนไปทางปลายใหญ่ เนื้อในสีแดงส้ม น้ำหนักของผลเฉลี่ย 0.96 กิโลกรัม ผลผลิตต่อต้น 11.43 กิโลกรัม เนื้อหนา

แขกหลอด
เป็นมะละกอพันธุ์ต้นเตี้ย ติดผลดก ผลทรงกระบอกขนาดเล็กยาว ส่วนหัวคอดเรียวเข้าหาขั้ว ปลายเรียวแหลมปลายอาจจะงอเล็กน้อย เนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย 1 ผล อาจจะมีเมล็ด 15-20 เมล็ด มีช่องว่างกลางผลเล็กมากคล้ายรูหลอด สีเนื้อแดงเข้ม รสชาติเหมือนแขกดำ สายพันธุ์ดั้งเดิมมาจาก อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เหมาะสำหรับใช้รับประทานผลสุก

พันธุ์ปากช่อง 1
เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป มีเปอร์เซ็นต์ความหวานประมาณ 12-14 องศาบริกซ์ น้ำหนักผล 350 กรัม พันธุ์นี้ลักษณะใบมี 7 แฉกใหญ่ ใบกว้าง 50-80 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วง ยาว 70-75 เซนติเมตร ระยะเวลาปลูกประมาณ 8 เดือน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้ ให้ผลผลิต 30-35 กิโลกรัม ต่อต้น ในระยะ 18 เดือน และค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง (Ring Spot Virus)

เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย แต่เมื่อโตแล้วจุดประอาจหายไปหรือยังอยู่ ก้านใบยาวมีสีน้ำตาล สีม่วงเข้ม หรือสีเขียวอ่อน การออกดอกและติดผลค่อนข้างเร็ว พันธุ์นี้มีดอกตัวผู้มาก (ประมาณ 80%) และมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศเมียน้อย (ประมาณ 20%) ผลขนาดปานกลาง ผลมีส่วนหัวเล็กและเรียวไปสู่ส่วนท้ายซึ่งใหญ่ (บริเวณปลายผลโปร่งออก) ผิวผลเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อแน่น แข็งหนา และกรอบ ผลมีช่องว่างระหว่างพูชัดเจน เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมชมพู มีรสชาติหวาน เมล็ดมีขนาดใหญ่สีเทาถึงเหลือง เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 8-9 เดือน ความหวานประมาณ 12 องศาบริกซ์

เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์แขกดำ มีการปลูกที่แถบอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูป ลักษณะเตี้ย ใบสีเขียวเข้ม ผลมีขนาดปานกลาง มีลักษณะกลมยาว น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อผล เมื่อผลสุกเนื้อมีสีเหลืองเข้ม รสหวาน เปอร์เซ็นต์น้ำตาลประมาณ 13.44 องศาบริกซ์ เมล็ดมีขนาดใหญ่สีดำ

พันธุ์สายน้ำผึ้ง
เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า ในระยะออกดอกก้านใบมีสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบล่างมีลักษณะเอนลงสู่พื้น ใบมีขนาดกว้างแต่บาง ที่ลำต้นมีลักษณะข้อยาว ผลมีส่วนหัวเรียวไปสู่ส่วนท้ายที่ใหญ่ ส่วนหัวและปลายผลมีลักษณะแหลม มีความยาวประมาณ 29 เซนติเมตร แต่อาจถึง 50 เซนติเมตร ผลมีร่องระหว่างพูเป็นเหลี่ยมชัดเจน เปลือกผลมีสีเขียว เนื้อหนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อมีสีส้ม รสชาติหวาน มีเมล็ดประมาณ 350 เมล็ด ต่อผล เหมาะสำหรับบริโภคสุก

พันธุ์จำปาดะ
มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง ใบและก้านมีสีเขียวอ่อน การออกดอกและติดผลค่อนข้างช้ากว่าพันธุ์โกโก้และแขกดำ ผลมีขนาดใหญ่ ลักษณะยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุก เนื้อมีสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นๆ ลักษณะเนื้อไม่แน่น

พันธุ์โซโล (Sunrise Solo)
เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 12-14 เดือน ผลแรกอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1-1.5 เมตร ผลเกิดจากดอกสมบูรณ์เพศ รูปร่างคล้ายพันธุ์โกโก้แต่ค่อนข้างกลมกว่า ขนาดผลยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณผลละ 450 กรัม เนื้อมีรสชาติหวาน

มะละกอพันธุ์ครั่ง
มะละกอพันธุ์ครั่งนี้ เมื่ออายุ 1-3 เดือน จะมีสีแดง อมม่วงอ่อน ตามก้านใบ และเป็นจุดๆ ตามลำต้นสีเหมือนครั่งดิบ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า มะละกอพันธุ์ครั่ง และเมื่ออายุ 5 เดือน สีที่ก้านและจุดตามลำต้นจะหายไป

จุดที่น่าสนใจ ของมะละกอพันธุ์ครั่งนี้ เมื่อติดผล แต่ละช่อจะมี 1-5 ผล มีความยาวเฉลี่ย 47 เซนติเมตร บางผลยาวถึง 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 9 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.9 กิโลกรัม แต่ยืนยัน ไม่ใช่มะละกอตกแต่งพันธุกรรม หรือมะละกอ จีเอ็มโอ ปลอดภัยแน่ๆ

จุดเด่นอีกอย่างคือ แม้จะปลิดจากต้นแล้วทิ้งไว้เป็นสัปดาห์ก็ยังคงความกรอบอยู่ โดยผลดิบ เนื้อจะมีสีขาวขุ่น กรอบ มีรสหวานเล็กน้อย เหมาะสำหรับทำส้มตำ

มะละกอพันธุ์ครั่งนี้ 1 ต้น ติดผลเฉลี่ย 38 ผล หากให้น้ำให้ปุ๋ยเพียงพอตลอดปี จะออกดอก ออกผลต่อเนื่องตลอดทั้งปี ด้านราคารับซื้อกัน ที่กิโลกรัมละ 5 บาท

ผู้สนใจสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อซื้อกล้าพันธุ์ ได้ที่ คุณสนอง เศษโม้ นักวิชาการ ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยงจังหวัดมหาสารคาม โทร. 043-782-112-4

มะละกอฮอลแลนด์
ชื่ออื่น เรดมาลาดอ ปลักไม้ลาย และเซกากิ

ลำต้นใหญ่สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักผลประมาณ 800-2,000 กรัม ต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม

จุดเด่นที่มองออกง่ายมาก ว่าผลมะละกอฮอลแลนด์เป็นอย่างไรนั้น ที่ปลายผลจะป้านคล้ายผลฟักอ่อน ให้ผลดก มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแรนต์ ได้มาจากการคัดเลือกของ Dr. R. Conover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระหว่างปี ค.ศ. 1979-1980 มะละกอพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์ที่มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น (Dioecious) ลำต้นแข็งแรง ต้นเตี้ย ให้ผลดก ผลเล็ก มีลักษณะกลม น้ำหนัก 400-700 กรัม ผลดิบเนื้อกรอบ เมื่อสุกเนื้อสีเหลืองแกมส้ม เนื้อแน่น มีกลิ่นหอม ผลแรกสุกภายใน 5-6 เดือน หลังย้ายต้นกล้าปลูก

ลักษณะเด่น คือมีความต้านทานต่อโรคจุดวงแหวนมะละกอดี โดยต้นที่เป็นโรคจะยังคงเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ใบแสดงอาการเหลืองด่างเล็กน้อย ผิวของผลปราศจากจุด หรือมีจุดวงแหวนเล็กน้อย ผลไม่บิดเบี้ยวจนเสียรูปร่าง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลมีลักษณะกลม จึงไม่เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรไทย ซึ่งปกติจะบริโภคมะละกอดิบ (ส้มตำ) เพราะจับและสับเส้นได้ลำบาก

พันธุ์ซันไรซ์
เป็นมะละกอผลเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กรัม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม ความหวานสูง ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกอยู่ในหลายจังหวัด แต่ที่ทำเป็นอุตสาหกรรมคือ บริษัท ไทฮง ผลไม้จำกัด ปลูกอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ผลผลิตที่ได้ส่งไปฮ่องกงและไต้หวัน

ซันเซ็ท
ดอกบานเมื่ออายุ 140 วัน ความสูงเมื่อออกดอก 128 เซนติเมตร ก้านใบสั้นสีเขียวอ่อน มีดอกตัวผู้น้อย ดอกกะเทยมาก ลักษณะผลกลมรีรูปไข่ เนื้อสีส้มแดง ผลขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 0.26 กิโลกรัม เนื้อในค่อนข้างกลวง รสชาติหวาน วัดความหวานได้ 16 องศาบริกซ์

เรดเลดี้
เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตร ก็ให้ผลผลิตแล้ว ติดผลเฉลี่ย 30 ผล ต่อต้น ต่อปี น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม ผลสุกมีรสหวาน วัดได้ 13 องศาบริกซ์ เนื้อแข็ง ทนทานต่อการขนส่ง จุดเด่นอยู่ที่เนื้อของผลสีสวย แดงออกชมพู จัดว่าเป็นมะละกอที่จำหน่ายได้ราคาดี

โนนยู เบอร์ 1
เป็นมะละกอที่เหมาะสำหรับทำส้มตำ ต้านทานโรคไวรัสได้ดี ลำต้นอวบหนา แข็งแรง ไม่ล้มง่าย หลังปลูกให้ผลผลิตเร็ว และดก ทรงผลยาว มีขนาดใหญ่ น้ำหนัก 1.6-3 กิโลกรัม ต่อผล เมื่อสุกผลสีเหลือง รสชาติหวานหอม เหมาะสำหรับทำฟรุตสลัด ค็อกเทล หรือแปรรูป ผลดิบเนื้อกรอบ เหมาะต่อการทำส้มตำ

จากลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตราด ที่อยู่ปลายสุดแผ่นดินของประเทศไทย และมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ทำให้สภาพของอากาศ ความชื้นและสภาพดินเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มไม้ผล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง

เกษตรกรที่นี่จึงทำสวนไม้ผลกันมายาวนานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยมีสับปะรดตราดสีทองที่เป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของเกษตรกรจังหวัดตราด เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรค่อนของสูง มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดปี ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จัดเป็นสับปะรดบริโภคผลสดพันธุ์เดียวของไทย ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ด้วยลักษณะเด่นที่รูปทรงผล สีผิวเหลืองส้ม รสชาติหวานมาก เนื้อเหลืองทองสม่ำเสมอ เนื้อแห้งกรอบและมีกลิ่นหอมกว่าสับปะรดทุกสายพันธุ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรดพันธุ์นี้ จัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ลักษณะเด่นภายนอก คือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้งสีน้ำตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองส้ม ตาใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนาตาลึก ทนทานต่อการขนย้าย

ลักษณะภายในนั้นมีความหวาน 16-20 บริกซ์ กลิ่นหอมมาก เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อและไส้กรอบ เนื้อแห้งไม่ฉ่ำน้ำ เนื้อมีเส้นใยอ่อนนุ่ม เคี้ยวไม่ติดฟัน สอบถามเกษตรกรและนักวิชาการสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดว่า สับปะรดตราดสีทองเข้ามาเมื่อไร เป็นเรื่องระบุได้ยากมาก เพราะไม่มีการบันทึกไว้ แต่อาจเป็นไปได้ว่าในช่วงแรกๆ เป็นการนำเข้ามาจากทางภาคใต้เป็นพันธุ์ภูเก็ต ต่อมามีการยกระดับขึ้นมาเป็นพืชเศรษฐกิจโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด ซึ่งสมัยนั้นเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอเขาสมิง จัดให้มีการประกวดสับปะรดตราดสีทอง ในงานเทศกาลผลไม้ประจำปีของดีจังหวัดตราด ทั้งที่ก่อนนั้นจัดประกวดเฉพาะสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียอย่างเดียว ในปีนั้นจึงได้จัดประกวดสับปะรดตราดสีทองอีกชนิดหนึ่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมสับปะรดตราดสีทองอย่างจริงจัง

จากข้อมูลด้านการส่งออกสับปะรดของไทยที่มีสัดส่วนการครองตลาดเป็นอันดับ 1 ของโลกมาตลอดมากกว่า 10 ปี แต่เป็นการส่งออกผลิตภัณท์สับปะรดแปรรูปเกือบทั้งสิ้น ส่วนสับปะรดผลสดนั้นส่งออกน้อยมาก เทียบไม่ได้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไต้หวัน และประเทศผู้ผลิตสับปะรดแถบอเมริกาใต้และแอฟริกา

ทั้งนี้เพราะขาดการส่งเสริมด้านการวิจัย การพัฒนาและการส่งเสริมที่จริงจัง และขาดความต่อเนื่อง ยังไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดใหม่ๆ ที่เป็นของไทยเอง ทั้งพันธุ์สับปะรดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และพันธุ์สับปะรดเพื่อบริโภคผลสด เกษตรกรและภาคโรงงานจึงไม่มีทางเลือก และไม่มีโอกาสแข่งขันการค้าในตลาดต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าประเทศที่ผลิตสับปะรดเป็นการค้า มีพันธุ์สับปะรดผลสดเป็นของตัวเอง การส่งออกสับปะรดผลสดทำเงินเข้าประเทศกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เช่น พันธุ์ Tainung และHoney Gold ของไต้หวัน พันธุ์ Josapine ของมาเลเซีย

อีกวิธีหนึ่งคือ เขานำเข้าสับปะรดพันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาส่งเสริมเกษตรกรเพื่อผลิตเป็นการค้า เช่น พันธุ์ MD-2 หรือพันธุ์ Gold เป็นสับปะรดพันธุ์ล่าสุดจากฮาวายที่ใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ เป็นสับปะรดบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆ ที่กำลังมาแรงแซงหน้าทุกพันธุ์ เนื่องจากเข้าครองตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกาไปเรียบร้อย แม้จุดกำเนิดจะอยู่ที่ฮาวาย แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกมาจากหลายประเทศ เช่น คอสตาริกา ฮอนดูรัส กานา ไอวอรีโคสต์ เม็กซิโก เอกวาดอร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะที่ไทยเราคงมีแต่พันธุ์ปัตตาเวียเท่านั้นที่ใช้เป็นผลสด และใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป แล้วก็ใช้กันมายาวนาน มากว่าประมาณ 40-50 ปี แต่ก็ไม่มีการพัฒนาสับปะรดพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น

ผลผลิตน้อยตลาดต้องการมาก
ข้อมูลการผลิตสับปะรดตราดสีทอง ปี 2553 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด สรุปไว้ดังนี้ พื้นที่ปลูก 8,947 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 6,180 ไร่ ผลผลิตรวม 24,700 ตัน มีแหล่งปลูกที่สำคัญ คือ เขตอำเภอเมือง เขาสมิง บ่อไร่ และแหลมงอบ ตามลำดับ จากข้อมูลการบริโภคสับปะรดผลสดในประเทศตกประมาณ 400,000-500,000 ตัน ต่อปี เป็นสับปะรดปัตตาเวียเกือบทั้งหมด เมื่อครั้งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้นำคาราวานผลไม้พวกเงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง จากจังหวัดระยองไปออกร้านประชาสัมพันธ์ของดีภาคตะวันออกที่ตลาดสดในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระหว่าง วันที่ 17-19 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น โดยเปิดให้มีการซื้อขายสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นทั้งแบบขายส่งและขายปลีกตลอด 24 ชั่วโมง มีผู้เกี่ยวข้องและผู้มาใช้บริการประมาณ 20,000-30,000 คน ต่อวัน

ครั้งนั้นทีมคาราวานจากระยองได้นำผลไม้ 4 ชนิด คือ เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ไปเปิดตลาด จึงนำสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียไปทดลองการตลาดด้วย จำนวน 2,000 กิโลกรัม ดูว่าจะเป็นอย่างไร ทั้งๆ ตอนที่ไปเป็นช่วงที่เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง มีผลผลิตออกมากที่สุด ราคาก็ต่ำที่สุด ในวันที่เริ่มมีการซื้อขายผลไม้ ผู้คนที่มารออยู่นั้น ต่างกรูเข้าซื้อผลไม้ทุกอย่างกันแบบโกลาหล ปรากฏว่าสับปะรดปัตตาเวีย 2 ตัน (ประมาณ 1,500 ผล) ที่ขายกิโลกรัมละ 15-20 บาทนั้น ขายหมดเกลี้ยงในพริบตา

จากการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าและผู้ที่มาซื้อของที่ตลาดแห่งนี้ ทราบว่าคนขอนแก่นชอบทานสับปะรดมาก โดยเฉพาะสับปะรดจากภาคตะวันออก เพราะมีรสชาติหวานกว่าสับปะรดจากจังหวัดหนองคาย ราคาในตลาดก็ซื้อขายกัน 15–20 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ไม่ค่อยเห็นสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองวางขายที่ตลาดเลย จึงขอยืนยันว่าสับปะรดตราดสีทองเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่มีศักยภาพด้านตลาดในประเทศที่ไม่จำกัดขอบเขตภูมิภาค เพียงแต่จัดการด้านการกระจายผลผลิต และการขนส่งสู่จุดจำหน่ายให้ดี จะช่วยส่งเสริมการผลิตของเกษตรกรให้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น และควรดำเนินการพัฒนาเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง แม้มีรายงานผลการวิจัยที่ยังไม่สรุปแน่ชัดว่า มีการทดลองส่งไปประเทศญี่ปุ่นโดยทางเรือแล้วเกิดอาการไส้สีน้ำตาล (internal browning) ที่ยังแก้ไขไม่ได้ ขณะที่บางการทดลองสรุปว่า ไม่เกิดอาการดังกล่าวหรือเกิดขึ้นน้อยมาก และคุ้มค่ากับการลงทุนในการทำธุรกิจส่งออกไปญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้มาจากหลายส่วนสรุปได้ว่า สมัครสตาร์เวกัส สับปะรดตราดสีทอง เป็นสับปะรดบริโภคผลสดหนึ่งเดียวที่ยังโดดเด่นมาก แม้ระยะหลังจะมีการพัฒนาสับปะรดภูแล นางแลและห้วยมุ่นขึ้นมาเป็นทางเลือกของผู้บริโภคก็ตาม แต่ก็ยังมีปริมาณที่น้อยมากและมีจุดอ่อนบางอย่างเมื่อเทียบกับสับปะรดตราดสีทอง

การผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ กำไรสูง
การทำไร่สับปะรดอาจมองดูว่ามีการลงทุนที่สูงมากกว่าพืชชนิดอื่น นั่นเพราะมีการบริหารจัดการผลิตที่ไม่เหมาะสม แต่ชาวไร่ที่เป็นมืออาชีพกลับเห็นว่าสับปะรดเป็นพืชที่ดูแลไม่ยาก เมื่อเทียบกับไม้ผลจำพวกเงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง หรือลำไย เพราะสับปะรดทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ฝนไม่มากเกินไป ความต้องการน้ำปานกลาง ไม่มากเท่าไม้ผล โรคแมลงศัตรูก็ไม่ค่อยมี ที่สำคัญสับปะรดเป็นพืชที่สามารถกำหนดแผนการผลิตได้ค่อนข้างแน่นอน จัดเป็น programe crop ได้จริง สามารถกำหนดวันปลูก เก็บเกี่ยวได้ กระจายการผลิตได้ตลอดปี มีความแน่นอน แผนการผลิตและเก็บเกี่ยวจะผิดพลาดไม่มาก

สับปะรดตราดสีทองยังมีอายุการเก็บเกี่ยวนับแต่วันที่บังคับการออกดอกเพียง 135 วัน ซึ่งเร็วกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 15-20 วัน บังคับการออกดอกง่าย คือจะออกดอก 95-100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารบังคับดอกเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ให้จำนวนหน่อที่มากกว่า ซึ่งจะเป็นรายได้ของเกษตรกรอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ทรงผลของสับปะรดตราดสีทองยังมีความสม่ำเสมอทั้งขนาด ความยาวผล น้ำหนัก รูปทรงที่ดีมาก หากมีการดูแลและบำรุงตามข้อแนะนำที่ดี จะให้ความยาวของผล ระหว่าง 17- 20 เซนติเมตร ที่เรียกว่า ผลจัมโบ้ (ผลใหญ่) ขายได้ราคาหน้าฟาร์ม 8-14 บาทผ ต่อล ซึ่งปกติผลผลิตสับปะรดตราดสีทองช่วงเก็บเกี่ยว จะให้ขนาดของผลเป็นผลจัมโบ้ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ผลขนาดกลาง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ผลเล็กและจิ๋ว 10 เปอร์เซ็นต์

ราคาขายที่ต่างกันแต่ละขนาด ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายแบบคละหรือขายเหมาเป็นไร่ เฉลี่ย 8-10 บาท ต่อผล เกษตรกรมีกำไรสุทธิจากการลงทุน 50-200 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับช่วงเดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น เดือนกรกฎาคม-กันยายน ราคาสับปะรดจะสูงมาก ส่วนเดือนเมษายน-มิถุนายน ราคาจะตกลงมาบ้าง เพราะเป็นฤดูกาลของผลไม้พวก ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ที่ออกสู่ตลาดมาก