อาศัยอยู่ที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่ายจังหวัดกําแพงเพชร

ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขาย และเกษตรกรปลูกผักหวานป่าและมะขามเทศ คุณดวงใจ กล่าวว่า ตนเองมีอาชีพหลักคือค้าขายในกรุงเทพฯ แต่บ้านเกิดนั้นอยู่ในภาคอีสาน แต่สามีเป็นคนจังหวัดกำแพงเพชร พออยู่กรุงเทพฯ ไปนานๆ มันก็เบื่อความวุ่นวาย เลยวางแผนกับสามีว่า อยากกลับไปอยู่ต่างจังหวัด อยู่กับธรรมชาติ สามีเลยเสนอความคิดที่จะกลับไปอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดกำแพงเพชร

ทำให้คุณดวงใจ มีความคิดที่จะมองหาอาชีพที่ยั่งยืนหากกลับไปอยู่ต่างจังหวัด จึงเริ่มจากความชอบโดยส่วนตัว คุณดวงใจ ชื่นชอบทานผักหวานป่ามากแต่ก็ไม่มีความเข้าใจในการปลูกมากนัก จึงเริ่มศึกษาข้อมูลในการเพาะปลูกผักหวานป่าจากหลากหลายที่ทำให้รู้ว่า เป็นพืชที่มีตลาดรองรับดี พืชอายุยืน ทนแล้งได้ดี จึงได้ลงมือทำจริงจังกับสามี โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าของสามีจำนวน 5 ไร่ ในการเพาะปลูกผักหวานป่า ควบคู่ไปกับการปลูกพืชพี่เลี้ยงอย่างมะขามเทศ ที่ให้ผลผลิตได้ด้วยทำให้มีรายได้เพิ่มเข้ามาอีกทาง

ปัจจุบัน คุณดวงใจและสามี ประสบความสำเร็จอย่างมากในการเพาะปลูกผักหวานป่า มา 4 ปีแล้ว ทั้งหมดนี้คือจุดเริ่มต้นของ สวนผักหวานป่าน้องหญิง จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ คุณดวงใจ ยังมีเพจเฟซบุ๊ก ที่คอยแนะนำและให้ความรู้ในการเพาะปลูกเกษตร จากประสบการณ์จริง โดยบอกอย่างละเอียดถือเป็นเนื้อหาที่ดีอย่างมากสำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่อยากเพาะปลูกผักหวานป่าและพืชพี่เลี้ยงของผักหวานป่า

ทางสวนใช้ต้นกล้าและกิ่งตอนในการเพาะปลูก และใช้กิ่งพันธุ์มะขามเทศเป็นพืชพี่เลี้ยง คุณดวงใจ กล่าวถึงข้อมูลต้นทุนจริงของทางสวน เพื่อเป็นข้อมูลแก่เกษตรกรผู้สนใจปลูกด้วย ต้นกล้า 1,500 ต้น ต้นละ 25 บาท เป็นเงิน 37,500 บาท กิ่งตอน 300 กิ่ง กิ่งละ 300 บาท เป็นเงิน 90,000 บาท พืชพี่เลี้ยง 150 กิ่ง กิ่งละ 40 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท ค่าระบบน้ำ ค่าเจาะ ค่าสเมิร์ฟ ทั้งหมด 50,000 บาท นี่คือค่าใช้จ่ายของต้นทุนโดยประมาณ ในพื้นที่ 5 ไร่ ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการไถดิน, ค่าแรงในการช่วยปลูก, ค่าแรงช่วยเดินระบบน้ำ และค่าปุ๋ยคอก

การปลูกผักหวานป่า เป็นการลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถเก็บผลผลิตได้ชั่วลูกชั่วหลาน เพราะต้นผักหวานป่าเป็นพืชที่อายุยืนมากๆ สามารถมีอายุได้ถึงหลายสิบปี ขั้นตอนการดูแลเพาะปลูกภายในสวน จะปลูกพืชพี่เลี้ยงด้วยกิ่งพันธุ์ลงดินก่อนเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน โดยระยะห่าง 4×4 เมตร และในระยะห่างของต้นพืชพี่เลี้ยง 4×4 เมตร สามารถปลูกต้นกล้าผักหวานป่าได้ 3 หลุม และเว้นระยะห่าง จากกิ่งตอน 1 ศอก ทั้งด้านซ้าย-ขวา หลุมปลูกควรลึก 30 เซนติเมตร ไม่ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ใช้เพียงดินเพาะปลูกเท่านั้น โดยการปลูกพืชของที่สวนจะปลูกเอียง 45 องศา และใช้เหล็กค้ำมัดเชือก เหตุที่ปลูกเอียง 45 องศา เนื่องจากการให้รากเดินแนวนอนตามผิวดิน เพราะดินจะอ่อนกว่า อาหารเยอะกว่า รากจะเดินได้เร็ว มีสารอาหารเยอะจากหน้าดิน จากนั้นกลบดินลงหลุมให้หมดอย่าให้เป็นบ่อ เพราะถ้าน้ำขังหลุมรากจะเน่า

ควรรดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือดูจากหน้าดินและสภาพอากาศ แต่ทางสวนปลูกในช่วงฤดูฝน เดือนมิถุนายน จึงไม่จำเป็นต้องรดน้ำ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกที่หมักทิ้งไว้แล้วทุกๆ 3 เดือน ปุ๋ยคอกควรเป็นปุ๋ยที่หมักแล้วเพื่อลดแก๊สความร้อนในปุ๋ยคอก ในช่วง 1 ปีแรกของการเพาะปลูก ห้ามพรวนดิน ห้ามถอนหญ้า ทำได้เพียงตัดหญ้าเท่านั้น เพราะหากพรวนดินหรือถอนหญ้า จะทำให้รากต้นผักหวานป่าที่มาหากินบนหน้าดินเสียหายและอาจตายได้ เพราะต้นยังไม่แข็งแรงพอ และควรเด็ดใบที่ 2 ของยอด ทุกๆ 3 เดือน เพื่อกระตุ้นการแตกกิ่ง

ความแตกต่างของการปลูกด้วยต้นกล้าและกิ่งตอน คือ ต้นกล้า ใช้ระยะเวลาปลูก 2 ปี ถึง 2 ปีครึ่ง จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ ผลผลิตที่เก็บได้ประมาณ 1 ขีด ต่อ 1 ต้น, กิ่งตอน ใช้ระยะเวลาปลูก 1 ปี เก็บผลผลิตได้เยอะกว่าต้นกล้า ผลผลิตที่เก็บได้โดยประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อ 1 กิ่ง ดังนั้น กิ่งตอนจึงมีราคาที่แพงกว่าต้นกล้า โดยการเก็บผลผลิตจะสามารถเก็บได้ 6 เดือน ต่อเนื่อง โดยจะเก็บ 15 วัน เว้น 15 วัน และ 6 เดือนหลังจากเก็บผลผลิตก็จะเป็นการพักต้น 6 เดือน เพื่อดูแล ในส่วนของพืชพี่เลี้ยงอย่างมะขามเทศจะมีผลผลิตในเดือนธันวาคม-เมษายน ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางของรายได้ แต่ต้องบอกเลยว่ามะขามเทศเมื่อออกฝักหากโดนฝนจะทำให้ไม่สวยและขายไม่ได้ เมื่อออกฝักควรรีบเก็บและจำหน่าย

ต้นมะขามเทศดูแลไม่ยาก เป็นพืชอายุยืนอีกชนิดหนึ่ง มีอายุได้เป็นสิบๆ ปี สามารถดูแลควบคู่ไปกับต้นผักหวานป่าได้ เหตุที่ต้นผักหวานป่าต้องมีพืชพี่เลี้ยงอย่างต้นมะขามเทศ เพราะรากต้นผักหวานป่าจะมาเกาะรากต้นพืชพี่เลี้ยงเพื่อช่วยในการหาอาหาร เพราะต้นผักหวานป่านั้นเขาไม่สามารถหาอาหารเองได้ การมีพืชพี่เลี้ยงจึงถือเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการอยู่รอด และโดยปกติแล้วผักหวานป่า เป็นพืชที่ไม่มีโรคมากวนใจ เพียงแต่ต้องเอาใจใส่ในการเพาะปลูก

คุณดวงใจ กล่าวว่า “ตลาดของผักหวานป่าเป็นตลาดที่ไปได้เรื่อยๆ ผู้บริโภคต้องการอยู่เสมอ มีราคากลางเป็นราคาจากตลาดใหญ่ในแต่ละวัน แต่ไม่เคยราคาตก มีราคาขึ้นลงที่ส่วนใหญ่จะคงที่ ทางสวนมีการจำหน่ายเองหน้าสวนในพื้นที่ อยู่ที่ราคา 150-200 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม และจำหน่ายผลผลิตมะขามเทศ ถือเป็นผลผลิตที่สามารถทำรายได้ต่อเดือนได้ถึง 40,000 บาท”

สำหรับท่านใดที่สนใจผักหวานป่า กิ่งตอน ต้นกล้า มะขามเทศ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณดวงใจ แสงวรรณ หรือ คุณหญิง อายุ 32 ปี อาศัยอยู่ที่ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร โทรศัพท์ 086-400-7943 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก สวนผักหวานป่าน้องหญิง จังหวัดกำแพงเพชร

ทุเรียน เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยและภาคตะวันออก ทุเรียน เป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงกว่าไม้ผลอีกหลายชนิด จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก

จากนโยบายฯ ได้กำหนดให้เพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มผลตอบแทนต่อพื้นที่ในขณะที่พื้นที่เท่าเดิมทดแทนการขยายพื้นที่ในพื้นที่ป่าไม้ ประกอบกับประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 ทุเรียนปลูกต้นคู่ จึงเป็นการตอบโจทย์ได้อย่างดี ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีและผลตอบแทนต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น

ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกมีการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นทั้งจากการปลูกในพื้นที่ใหม่ หรือปลูกทดแทนในพื้นที่สวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่นที่โค่นทิ้ง เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้เป็นแรงจูงใจหลัก ถึงแม้ว่าการจัดการสวนทุเรียนมีความละเอียดและค่อนข้างที่ต้องมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างประณีตจึงจะให้ผลผลิตที่คุ้มค่า นอกจากภาคตะวันออกมีการปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังกระจายไปปลูกยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ซึ่งจะเห็นได้จากกิ่งพันธุ์ทุเรียน ซึ่งแหล่งผลิตกิ่งพันธุ์ที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออก กิ่งพันธุ์ทุเรียนบางช่วงขาดแคลนและราคาขยับตัวสูงขึ้นมาก แหล่งผลิตทุเรียนเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกอยู่ที่ จันทบุรี ตราด และระยอง นอกจากนี้ ยังกระจายไปปลูกจังหวัดข้างเคียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อตลาดภายในจังหวัดเป็นหลัก ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และนครนายก

แนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาทุเรียนภาคตะวันออก มุ่งเน้นที่ 3 ประการหลัก คือ 1. การเพิ่มคุณภาพทุเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดส่งออก โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่จากเกษตรกรต้นแบบที่มีศักยภาพขยายผลสู่การปฏิบัติของเกษตรกร โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้จัดการหลักในพื้นที่ในการขยายผลทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยี

2. การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการเพิ่มปริมาณผลผลิตทุเรียนในการแปรรูปตามตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มความต้องการสูงขึ้น ได้แก่ ทุเรียนแกะเนื้อแช่แข็ง และการส่งเสริมการขายตรงผู้บริโภคให้มากขึ้น รวมถึงการทำทุเรียนเกรดพรีเมี่ยม โดยจำหน่ายผ่านทางตลาดออนไลน์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้น

3. การลดความเสียหายช่วงผลผลิตทุเรียนกระจุกตัว โดยสภาพปกติทุเรียนจะมีช่วงกระจุกตัว หรือช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณไม่เกิน 10-15 วัน ของแต่ละปี ที่ปริมาณทุเรียนออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าความต้องการของตลาด ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้ลดลง

ดังนั้น แนวทางลดปริมาณผลผลิตกระจุกตัวคือ การส่งเสริมให้มีผลผลิตออกช่วงต้นฤดูให้มากขึ้น ซึ่งในช่วงต้นฤดูผลผลิตทุเรียนที่ออกสู่ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก และราคาก็สูงมากด้วย

ในการบริหารจัดการเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือประสานกัน ระหว่างองค์ความรู้และเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรในการนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนบริหารจัดการ และมีสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมายและเกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป

แนวคิดดีๆ จากการทำ “ทุเรียนต้นคู่”

คุณธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน ภาคตะวันออก ปี 2560 ซึ่งได้มีการปลูกทุเรียนต้นคู่ คือ ปลูก 2 ต้น ต่อหลุม โดยได้ปลูกทุเรียนต้นคู่และเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ประมาณ 2-3 ปี ในพื้นที่ประมาณ 22 ไร่

จากแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนมีลมแรงและไม้กันลมไม่สามารถต้านทานแรงลมได้เพียงพอ อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง แรงลมมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งผลที่ได้มานอกจากลดความเสียหายจากแรงลมแล้ว ปริมาณผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 30 ในขณะที่ต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกับการปลูกแบบต้นเดียว ซึ่งต้นทุนจะสูงขึ้นจากค่าต้นพันธุ์ทุเรียนเป็นหลัก

คุณธีรภัทร เกษตรกรจากตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า การปลูกทุเรียนต้นคู่ คือการปลูกทุเรียน หลุมละ 2 ต้น โดยมีการปฏิบัติและการจัดการ ดังนี้

1. การเตรียมดินหรือหลุมปลูก เป็นการปลูกทุเรียนแบบยกโคก โดยการยกโคกหลุมปลูกให้สูงจากพื้นดินปกติ ประมาณ 1.20 เซนติเมตร ความกว้างของหลุมปลูก ประมาณ 4-6 เมตร ซึ่งสวนทุเรียนยุคใหม่จะต้องปลูกทุเรียนแบบยกโคกเพื่อลดปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และเอื้อต่อการจัดการออกดอกติดผลและดูแลรักษา

การปลูก ใช้ระยะปลูก 10×12 เมตร ใน 1 หลุม ปลูก 2 ต้น แต่ละต้นห่างกัน 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ต้นพันธุ์ทุเรียนประมาณ 24-30 ต้น การวางแนวปลูกให้วางแนวทิศตะวันออกและตะวันตก (ตามตะวัน)

3. การดูแลรักษา มีหลักการจัดการ ดังนี้
หลังเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ให้แสงแดดส่องถึงใต้ต้นทุเรียน และตัดกิ่งที่ห้อยชี้ลงดินทิ้งในรอบฤดูกาลให้ทุเรียนแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ชุด พร้อมให้อาหารทางใบเสริมเพื่อสะสมอาหาร

ใบอ่อนชุดที่ 3 ระยะเพสลาด ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล 25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกระตุ้นการออกดอกให้สม่ำเสมอ อัตรา 1,000 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร การให้น้ำ เน้นให้ถูกต้องตามระยะการพัฒนาของทุเรียน ข้อควรระวังระยะแทงตาดอก ควรให้น้ำภายในทรงพุ่ม ถ้าให้รอบปลายทรงพุ่ม ดอกจะเปลี่ยนเป็นใบอ่อนแทน ระยะดอกบานควรให้น้ำน้อยลง เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อน

การบำรุงต้น/ดอก/ผล ใส่ปุ๋ย ประมาณเดือนครึ่ง/ครั้ง โดยใส่ควบคู่และสลับกันไป ระหว่างปุ๋ยทางดิน ทางใบ และธาตุอาหารเสริมให้เพียงพอ

การจัดการวัชพืชในสวนทุเรียน ทุเรียนอ่อนแอต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะมีระบบรากตื้น จึงเน้นปล่อยให้หญ้าคลุมแปลงทุเรียน โดยเน้นที่ : หน้าแล้งปล่อยให้หญ้ารก หน้าฝนให้หญ้าเตียน

4. ผลตอบแทนและรายได้ ต้นทุน เฉลี่ย 10-11 บาท ต่อกิโลกรัม หรือ 18,000-20,000 บาท ต่อไร่ (ไม่รวมค่ายกโคก และค่ากิ่งพันธุ์)
ผลผลิต เฉลี่ย 1,800-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่
รายได้ ประมาณ 63,000-67,500 บาท ต่อไร่ (ราคาขาย เฉลี่ย 45 บาท ต่อกิโลกรัม)

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณธีรภัทร อุ่นใจ บ้านเลขที่ 3/6 หมู่ที่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 468-422 หรือ (098) 068-1971 สำนักงานเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 309-092 สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 322-158 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578

ผักในวัยเยาว์ ใครก็คงจะเคยมีผักที่กินตั้งแต่เล็กแต่น้อย กินเพราะชอบ และต้องกินถึงแม้ว่าไม่ชอบก็ตาม ตอนเด็กๆ ฉันต้องกินผักบุ้งเป็นหลักเพราะพ่อปลูกผักบุ้ง โชคดีที่รู้สึกชอบ พ่อบอกว่ากินแล้วตาสวย นั่นเป็นความรู้สึกที่ดีๆ มากสำหรับเด็ก กินแล้วตาสวย กินแล้วผมสวย กินแล้วแก้มแดง ผู้ใหญ่จะใช้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กกินผัก เพราะบอกสุขภาพดีนั้นเด็กอาจจะคิดไม่ออก

เมื่อโตขึ้นมาไปโรงเรียนก็มีวิชาการเกษตร ครูก็ให้ปลูกผักซึ่งก็ปลูกผักบุ้งอีก ดังนั้น ผักบุ้งจึงเป็นผักในหัวใจ คุณล่ะมีผักอะไรในหัวใจที่เล่าถึงได้บ้าง เมื่อมีผักบุ้งฉันจะคิดออกว่าจะทำอะไรกินได้บ้าง ผักบุ้งจีนถอนทั้งราก ผักบุ้งไทยเด็ดยอดเรื่อยๆ ถ้าอยู่ในน้ำผักบุ้งมันจะอ้วน ใหญ่ กรอบ อย่างนี้ แกงเทโพอร่อยนักแล แกงส้มกับมะนาวใส่ปลา ใส่กุ้งยิ่งอร่อย ถ้าเป็นผักบุ้งไทยผอมๆ อยู่เลื้อยยอดบนดินเอามาทำผักแกล้ม กรอบ อร่อย แต่ถ้าเป็นผักบุ้งจีนผัดดีกว่า ผัดน้ำมัน ผัดกะทิ…นี่เป็นผักที่อยู่ในหัวใจตั้งแต่เด็ก

อีกผักหนึ่งเป็นผักที่สนุกสนานวัยเยาว์ นั่นคือผักกูด ขึ้นอยู่ตามสวนยางพาราที่ชื้นๆ และต้องเดินทางไปเก็บและอยู่ไกลออกไป แถวชายน้ำที่พื้นแฉะๆ บางทีก็เก็บผิด เอาเฟิร์นติดมาด้วยเพราะมันคล้ายกันจนเด็กแยกไม่ออก ถ้าไม่อยากให้ผิดก็เลือกเอาแต่ต้นอวบๆ และยอดยังม้วนอยู่นั่นแหละไม่ผิดแน่ แต่เดี๋ยวนี้ในสวนยางไม่ค่อยมีผักกินแล้ว การปลูกยางพาราแบบสมัยใหม่ สวนจะโล่งเตียนไม่มีผักมีหญ้าให้เก็บกิน

แรกฉันคิดว่าผักกูดจะมีแต่ที่ใต้เท่านั้น หรือเป็นผักพื้นบ้านของภาคใต้ เมื่อไปทางเหนือก็มีผักกูดให้เก็บกินเป็นอาหาร แต่วิธีทำกินต่างกันออกไป

พวกกินคลีน หรือกินอาหารปลอดภัยน่าจะเลือกผักกูด เพราะว่าเป็นผักที่ไม่ขึ้นในพื้นที่ที่มีสารเคมี ถือเป็นผักธรรมชาติมาก

ช่วงหลังผักกูดเป็นผักที่ปลูกได้ในพื้นดินแฉะๆ ที่ชายน้ำปลูกผักกูดได้ดี หรือพื้นที่ธรรมดาให้น้ำเยอะๆ ผักกูดก็ขึ้นได้ เดือนที่ผ่านมา รุ่นน้องชวนไปเที่ยวสวนผักกูด พ่อแม่เธอปลูกผักกูดรายได้พอกิน โดยไม่ต้องเอาเงินส่วนที่เป็นรายได้อื่นในสวนมาใช้เลย เรียกว่ารายได้มีทุกเช้า

ฉันคนชอบกินผักและหวนหาอดีต รีบไปทันที ใกล้ไกลไม่ว่ากัน ขอแค่เดินทางสะดวกหน่อยเพราะเริ่มสูงวัยแล้ว วันนั้นเดินทางจากนครศรีธรรมราชไปสวนผักกูดที่สุราษฎร์ธานี ที่อำเภอนาสาร

นาสาร เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องผลไม้มาก เป็นที่ซึ่งมีเงาะโรงเรียนอร่อยที่สุด คือ กรอบ หวาน เปลือกบาง

หมู่บ้านโกงเหลง เจ้าของบ้านบอกว่า ที่นี่เมื่อก่อนไกลปืนเที่ยงมากๆ ไม่ค่อยมีใครไปมา เรียกพื้นที่สีแดงก็ได้ เธอเป็นเด็กโกงเหลง ถูกเพื่อนล้อเสมอ “มาจากโกงเหลง” ความหมายคือบ้านนอกสุดๆ ลงจากรถก็มีของกินทันที เงาะโรงเรียนกำลังสุก ผมยาวๆ ยังเขียวๆ แซมแดง เธอบอกว่า ปีนี้เงาะติดน้อยเพราะแล้งนานมาก ขาดน้ำ ผลผลิตน้อย ลูกเล็ก ถึงราคาแพงก็ไม่มีประโยชน์อะไรเท่าไหร่ จริงของเธอ ผลผลิตดี ราคากลางๆ ดีกว่า เพราะพืชผลเป็นอาหารเลี้ยงผู้คนให้ชีวิตดำรงอยู่ ได้ผลผลิตน้อยไม่พอสำหรับผู้คน บางสวนอย่าว่าแต่ขายเลย กินในครอบครัวและแจกพี่น้องเพื่อนฝูงยังไม่พอเลย

เก็บผลไม้กินพอหอมปากหอมคอ เพราะว่าผลไม้มีน้อย ราคาสูง เกรงใจเจ้าของสวน และครั้งนี้เป้าหมายเราอยู่ที่ผักกูด “โห มันเยอะขนาดนี้เชียวหรือ เขียวสวยด้วย” เพื่อนชวนเดินไปหลังบ้านเห็นผัดกูดสวย เขียว ไกลสุดลูกตา

เธอเล่าว่า มีเพื่อนกวีมาเที่ยวที่นี่ เกิดแรงบันดาลใจ ทำให้เขากลับบ้านไปปลูกผักกูดที่กาญจนดิษฐ์บ้านของเขา

“คิดว่าเกิดแรงใจเขียนกวีเสียอีก”

“ไม่กลับไปปลูกผักกูดกินก่อน เอาต้นพันธุ์ไปจากที่นี่เลย ตอนนี้เริ่มแตกยอดได้กินแล้ว” เธอบอก

การปลูกผักกูดนับว่าเป็นรายได้ที่ดี พ่อกับแม่เธอเก็บได้วันละสามสิบกิโล มีคนมารับถึงบ้าน ตื่นเช้าขึ้นมาก็ไปเก็บเอามากองๆ เอาไว้ แม่ค้ามารับเอง เก็บได้ทุกวันเพราะมียอดทุกวัน

“เดินเหยียบลงไปเลย ไม่ต้องกังวล เดี๋ยวก็แตกใหม่ ยิ่งเก็บยิ่งแตกยอด”

ผักกูดถือว่าเป็นอาหารยั่งยืนอีกอย่างหนึ่ง เพราะปลูกครั้งเดียวเก็บกินได้ตลอด

ชีวิตรื่นเริงช่วยกันเก็บผักกูด บางคนก็ถ่ายรูปหามุมสวยๆ บางคนก็ถ่ายรูปตัวเองคู่กับผักกูด บางคนเก็บอย่างเดียวเพื่อเอาไปทำกิน

“เก็บเยอะๆ เอาไปฝากที่บ้านทำกินบ้าง” เพื่อนลูกสาวเจ้าของสวนบอก

ฉันเก็บมาได้หอบใหญ่และบอกเพื่อนว่า เราเอาไปทำกินกันเถอะ การทำผักกูดกินก็เริ่มขึ้นที่เก็บหลังบ้านมากินหน้าบ้าน

ผักกูดก็เหมือนผักบุ้ง ทำกินได้หลายอย่าง แต่ช่วงที่ฉันเป็นเด็ก ที่บ้านนิยมผัดหัวทิ (ผัดกับกะทิแทนน้ำมัน) ต้มกะทิรวมกับผักอื่นๆ พวกผักบุ้ง หยวก เพื่อกินกับน้ำพริกหรือขนมจีน พวกแกงส้ม ยำ ส่วนพวกเอามาผัดน้ำมันหอย ผัดใส่หมูสับ พวกก็น่าจะเป็นหลังๆ เป็นการคิดค้นทำกินดัดแปลงอาหาร

ได้ผักกูดแล้วก็เอามาเด็ดยอด เด็ดใบ วันนี้ไม่ลวกกะทิ แต่ทำเป็นผัดใส่หมูสับ และลวกกินกับน้ำพริก บางคนชอบสดๆ ก็เป็นผักเหนาะได้เลย

ผักกูดอาจจะไปสู่ระดับอินเตอร์ได้ เพราะนอกจากทำเป็นผักดองแล้วยังเป็นผักกูดแห้งได้ด้วย

น้องคนหนึ่งที่เชียงใหม่เล่ามาว่า เธอทำผักกูดแห้งออกมา คล้ายๆ กับสาหร่าย กลิ่นเหมือนสาหร่ายญี่ปุน เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ คือเอาผักกูดแบบไม่ค่อยสุก เรียกว่าแค่สะดุ้งน้ำร้อน ยังกรอบอยู่ แล้วเอาไปวางไว้ ผักกูดจะแห้งคล้ายสาหร่าย เอามาผัดทำกินปรากฏว่าอร่อย เคี้ยวหนึบๆ นิดหนึ่ง กลิ่นเหมือนสาหร่าย

ฟังเธอเล่าฉันคิดว่าน่าจะพัฒนาเป็นอาหารแห้งต่อไปได้เลย ufabets.co.uk จึงเอามาทดลองทำดูต่อไปก็สามารถส่งผักกูดไปให้เพื่อนๆ ญาติๆ ที่เมืองไกลกินได้ อำเภอย่านตาขาว เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง ที่มีพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากทิศตะวันออกของอำเภอย่านตาขาว คือตำบลนาชุมเห็ด และตำบลโพรงจระเข้ อยู่ติดเทือกเขาบรรทัด ซึ่งลักษณะภูมิอากาศมีความชื้นสูงเหมาะแก่การปลูกไม้ผล เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง ทุเรียน ฯลฯ

“ทุเรียน” ได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ความต้องการบริโภคทุเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งการบริโภคส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปผลสด ในปีการผลิต 2563 มีการบริโภคภายในประเทศ 339,900 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 3.39 และคาดว่าในปีการผลิต 2564 ปริมาณความต้องการบริโภคภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น และมีราคาสูงขึ้น ซึ่งขั้นต่ำของราคาทุเรียนอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท

คุณสุรเชษฐ เส็นฤทธิ์ บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 5 ตำบลโพรงจระเข้ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง (x = 583065 Y = 819617) เกษตรกรรุ่นใหม่ วัย 36 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทรัพยากรธรรมการ สาขาวาริชศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2551 จึงเลือกประกอบอาชีพให้ตรงกับที่ได้ศึกษามา โดยเริ่มอาชีพด้วยการรับจ้างเลี้ยงกุ้งที่อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง เป็นเวลาประมาณ 3 ปี รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ประกอบกับทางบ้านไม่มีผู้ดูแลสวนยางพาราและไม้ผล จึงตัดสินใจกลับบ้านประกอบอาชีพกรีดยางพารา จำนวน 7 ไร่ อายุประมาณ 15 ปี และสวนทุเรียนประมาณ 2 ไร่ อายุประมาณ 9 ปี

เมื่อปี 2560 ประสบปัญหาการระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียนเป็นอย่างมาก ทำให้ผลผลิตเสียหายร้อยละ 60-70 ซึ่งหนอนเจาะผลทุเรียน มักพบการเข้าทำลายในช่วงที่เก็บผลผลิตทุเรียนรุ่นแรกและผลทุเรียนรุ่นที่ 2 ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต จะพบการเข้าทำลายตั้งแต่ผลทุเรียนยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือน จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ทำให้ผลทุเรียนเป็นแผล ผลอาจเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ หากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล จะทำให้บริเวณนั้นเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน มีน้ำไหลเยิ้มเมื่อผลทุเรียนใกล้แก่ หนอนจะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้ ถ้าผลทุเรียนที่มีรอยแมลงทำลายจะขายไม่ได้ราคา