อาหารญวน ก๋วยจั๊บญวน วัฒนธรรมการกินจากเวียดนาม

ก๋วยจั๊บญวน เป็นเมนูที่คนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมการกินอยู่มาจากคนญวน (ประเทศเวียดนาม ซึ่งคนทางภาคอีสานมักจะเรียกว่า คนญวน) เป็นอาหารท้องถิ่นที่นิยมกินกันในมื้อเช้า สมัยก่อนแม่ค้าจะตั้งหาบ ตั้งร้าน ขายโดยทั่วๆ ไป ปัจจุบัน ก๋วยจั๊บญวนได้ถูกยกระดับเข้าไปตั้งขายในร้านอาหารเวียดนามและร้านอาหารเช้าของคนภาคอีสานไปแล้ว

สำหรับวิธีการปรุงนั้นเป็นไปอย่างง่ายๆ เพียงใส่หมูสับกับกระดูกหมู พร้อมกับเครื่องปรุงเท่านั้นเอง บางสูตรบางตำราก็มีการดัดแปลงเพิ่มเครื่อง แต่งหน้าให้มีมากเป็นพิเศษหน่อย เพื่อให้มีรสชาติถูกปากคนไทย จึงทำให้ ก๋วยจั๊บญวน ได้รับความนิยมพอสมควร

ก๋วยจั๊บญวน กับคนภาคอีสานต้องเคยเห็นกันแน่นอน เพราะรูปร่างหน้าตาของมันจะเหมือนข้าวต้ม แค่เปลี่ยนจากข้าวเป็นเส้นแป้งสีขาวๆ เส้นยาวๆ รสชาติและความอร่อยจะออกไปทางข้าวต้ม จึงทำให้บางจังหวัดทางแถบภาคอีสานจะเรียกว่า ข้าวเปียกเส้น

อาหารญวน (เวียดนาม) เป็นอาหารที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นของตัวเอง ชาวเวียดนามกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับคนไทย เมื่อพูดถึงอาหารเวียดนามหลายๆ เมนู เช่น แหนมเนือง ขนมเบื้องญวน ปากหม้อ กุ้งพันอ้อย ปอเปี๊ยะ แล้วยังมี ก๋วยจั๊บญวน ที่เป็นเมนูอาหารเวียดนามที่คนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมกินกัน และทำขายกันอย่างแพร่หลาย รสชาติความอร่อยที่ทำให้คนไทยติดอกติดใจนั้นไม่แพ้อาหารเวียดนามเมนูอื่นๆ หากใครเคยเดินทางไปจังหวัดในแถบภาคอีสาน เช่น นครพนม เลย หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น หรือเกือบๆ ทุกจังหวัดของภาคอีสาน ทุกท่านจะได้พบเห็นเมนูที่มีหน้าตาเหมือนกับข้าวต้ม แต่เค้าเรียกกันว่า ข้าวเปียกเส้น หรือ ก๋วยจั๊บญวน นั่นเอง

ก๋วยจั๊บญวน วัฒนธรรมการกินจากเวียดนาม

ชาวเวียดนามเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้กระจายไปอาศัยอยู่ตามเมืองจังหวัดต่างๆ เมื่อชาวเวียดนามเข้ามาในประเทศไทยก็ได้นำวัฒนธรรมอาหารการกินแบบเวียดนามเข้ามาด้วย แต่เดิมเมนูนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า จ๋าว กัน แต่คนไทยรู้จักกันมากในชื่อ ก๋วยจั๊บญวน หรือข้าวเปียกเส้น (บางจังหวัดจะเรียกข้าวเปียกเส้น เช่น จังหวัดนครพนม หนองคาย อุดรธานี เป็นต้น) ก๋วยจั๊บญวน เป็นที่รู้จักกันมานานกว่าเกือบร้อยปี สำหรับวิธีการปรุงของแต่ละจังหวัดก็อาจจะใส่ของดีประจำจังหวัดเข้าไปด้วย อย่างเช่น ใส่หมูยอ ไข่ต้ม ไข่พะโล้ เลือดหมู, ไก่ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และความอร่อยจนกลายเป็นเมนูเส้นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดในแถบๆ ทางภาคอีสานจนมาถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน ข้าวเปียกเส้นเป็นวัฒนธรรมการกินของเวียดนาม ยาวไปถึงประเทศลาว รวมทั้งหลายจังหวัดในภาคอีสานของไทย คำว่า ข้าวเปียก หมายถึง ข้าวต้ม, โจ๊ก พอรวมกันกับคำว่า เส้น เป็น ข้าวเปียกเส้น ก็หมายถึง ก๋วยจั๊บญวน นั่นเอง! ซึ่งเส้นข้าวเปียกเส้นนี้จะมีสีขาวขุ่นตอนที่ยังไม่ต้ม แต่เมื่อนำไปต้มแล้วเส้นจะมีสีใส ยิ่งพอได้ต้มกับน้ำซุปกระดูกหมูก็ทำให้น้ำซุปข้นเหนียวขึ้น เวลากินก็เติมหมูยอ กระดูกหมู ขาหมู ต้นหอมซอย ผักชี หอมแดงเจียว แค่นี้ก็อร่อยแล้ว

เมนูอาหารชนิดนี้ส่วนมากเขามักกินเป็นอาหารเช้า โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว ถ้าได้กินข้าวเปียกเส้นร้อนๆ แล้วล่ะก็อร่อยๆ เลยทีเดียว

ก๋วยจั๊บญวน เมนูสุขภาพ

กินก๋วยจั๊บญวน ดีต่อสุขภาพ เพราะในส่วนประกอบของเมนูนี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งนั้น เช่น

พริกไทยดำ น้ำซุปนอกจากความหวานจากน้ำต้มกระดูกหมูแล้ว ยังต้องมีกลิ่นหอมและความเผ็ดร้อนจากพริกไทยดำด้วย ซึ่งพริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้หวัด ทำให้อยากอาหารได้

หอมแดง อีกหนึ่งความหอมอร่อยต้องยกให้หอมแดงเจียว อันมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อย และเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่างๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน

ต้นหอม ไม่เพียงช่วยเพิ่มสีสันให้กับข้าวเปียกเส้น แต่ต้นหอมซอยยังมีสรรพคุณช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอล บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเหงื่อ ลดไข้ แก้หวัด และอาการคัดจมูกได้

ผักชี มีคุณค่าสารอาหารอย่างแคลเซียม โพแทสเซียม และเส้นใยอาหารสามารถป้องกันหวัด ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ ละลายเสมหะช่วยแก้อาการหวัด ช่วยขับลมแก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร

ก๋วยจั๊บญวน เมนูอร่อยๆ

ก๋วยจั๊บญวน หรือ ข้าวเปียกเส้น จะมีลักษณะสีขาวยาวๆ นุ่มๆ เส้นมี 2 แบบ คือ แบบแห้ง และแบบเส้นสด ถ้าแบบเส้นแห้งจะมีขายตามห้างร้านหรือตลาดทั่วไป สามารถเก็บไว้ได้นาน เวลาจะนำมาทำก็ต้องนำเส้นไปแช่น้ำให้นิ่มก่อนถึงจะนำมาปรุงได้ ส่วนแบบเส้นสดนั้นจะนำมาต้มได้เลยเก็บแช่ตู้เย็นได้

เครื่องปรุงของก๋วยจั๊บญวนก็จะคล้ายกับน้ำซุปของก๋วยเตี๋ยว ซึ่งแล้วแต่สูตรใครสูตรมัน แต่ถ้าจะให้อร่อยๆ ต้องได้น้ำซุปที่เข้มข้น หวานน้ำต้มกระดูกหมู, ไก่ ปรุงเครื่องได้รสชาติที่กลมกล่อม ใส่พริกเผา กระเทียมเจียว หอมเจียว กินอร่อยกันแบบว่าไม่ให้เหลือทั้งเส้น ทั้งน้ำ กันเลยทีเดียว วันนี้ผู้เขียนมีสูตรก๋วยจั๊บญวนมาฝากกัน สามารถทำกินกันที่บ้านได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแต่อย่างไร แถมแซ่บมากๆ

ล้างกระดูกซี่โครงหมู สับเป็นชิ้นพอคำใส่หม้อ นำหม้อใส่น้ำ เกลือ รากผักชี พริกไทย กระเทียม แช่ไว้สัก 10 นาที แล้วยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดช้อนฟองทิ้ง เคี่ยวไปจนกว่ากระดูกหมูเปื่อย จึงตักกระดูกหมูออก แล้วกรองเอาน้ำซุปในหม้ออีกใบ จากนั้นยกไปตั้งไฟให้เดือดรุมๆ
ล้างเส้นก๋วยจั๊บ สัก 2 ครั้ง แล้วแช่น้ำทิ้งไว้สัก 10 นาที หรือจนเส้นนิ่ม (กรณีใช้เส้นแห้ง แต่ถ้าใช้เส้นสดก็แค่ล้างเส้นกับน้ำธรรมดาๆ พักไว้) แล้วสงขึ้นให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นให้เอาเส้นที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อน้ำซุป หมั่นคนอย่าให้เส้นติดก้นหม้อ เมื่อต้มเส้นสุกได้ที่แล้วจะมีลักษณะน้ำข้น เส้นพองนิ่ม ถ้าหากน้ำแห้งเกินไปให้เติมน้ำได้อีก

หมูสับปั้นเป็นก้อนๆ หรือปั้นเป็นแผ่นบางๆ ต้มให้สุก
ตักเส้นก๋วยจั๊บร้อนๆ ใส่ชาม แต่งหน้าด้วยหมูสับ หมูยอ โรยหอมเจียว ต้นหอม ผักชี พริกไทยป่น แล้วกินกับพริกน้ำส้ม พริกผัด น้ำปลา น้ำตาลทราย กินเป็นอาหารมื้อเช้า มื้อกลางวัน หรือจะไปถึงมื้อเย็นก็ยังได้
วิธีต้มเส้น สามารถทำได้ 2 แบบ คือ หลังจากต้มน้ำซุปได้ที่แล้ว ให้นำเส้นที่แช่น้ำจนนุ่มแล้วลงไปต้มพร้อมกับน้ำซุปทั้งหม้อเลย หรือว่าตักน้ำซุปออกมาใส่หม้อเล็ก แล้วต้มเส้นแยกทีละ 2-3 ชาม ก็ได้

วิธีทำน้ำส้มพริกแดง คือ นำพริกแดงเม็ดใหญ่ๆ ไปต้มในน้ำเปล่า สัก 3 นาที แล้วตักเฉพาะพริกไปปั่นรวมกับน้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วย อาจจะเติมเกลือลงไปเล็กน้อย

สำหรับสูตรก๋วยจั๊บญวนที่นำมาฝากกันในฉบับนี้ เป็นสูตรที่ผู้เขียนทำกินมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ และก็ทำกินบ่อยๆ อร่อยแน่นอน สำหรับวิธีทำก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพราะใช้เครื่องปรุงเพียงไม่กี่อย่าง หากท่านใดเกิดเบื่ออาหารเช้าประเภทข้าวต้มแล้วล่ะก็ ลองหันมากินข้าวต้มเส้นกันดูบ้าง เผลอๆ อาจกลายเป็นเมนูยอดฮิตประจำครอบครัวไปเลยก็ได้

อาหารเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่เรียบง่าย ดีต่อสุขภาพ อาหารเวียดนามอาจจะดูธรรมดาๆ แต่ถ้าใครได้ลิ้มลองแล้วจะติดใจในรสชาติที่อร่อยและหลากหลายไม่แพ้อาหารชาติอื่นๆ เลย

ก๋วยจั๊บญวน เป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารเช้าสไตล์เวียดนาม ที่อยากจะแนะนำให้เลือกรับประทานกัน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ตำรวจฝ่ายป้องกันและปราบปรามตำรวจภูธรสะเดา จ.สงขลา จัดเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการลาดตระเวนเดินเท้า บริเวณตลาด ย่านการค้าและชุมชน ที่มีประชาชนไปร่วมกิจกรรมกันเป็นจำนวนมากช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ยังคงมีการแจ้งเตือนการลอบก่อเหตุสร้างสถานการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึง แนวร่วมก่อความไม่สงบ ยังมีความพยายามในการลอบก่อเหตุ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยในจังหวัดสงขลานั้นกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ได้เน้นย้ำให้มีการเฝ้าระวังเหตุในพื้นที่การค้าและชุมชน ในอำเภอเศรษฐกิจอย่างอำเภอหาดใหญ่ อ.เมืองและอ.สะเดา โดยเฉพาะในช่วงใกล้เข้าสู่เทศกาลตรุษจีน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้นพร้อมขอความร่วมมือประชาชนให้ร่วมกันเฝ้าระวัง สอดส่องพื้นที่การค้าของตัวเอง หากพบสิ่งของหรือบุคคลต้องสงสัยให้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบทันที

กรมทางหลวงพัฒนาทางถนนสาย อ.สะเมิง-บ.วัดจันทร์ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชียงใหม่ รับคนเที่ยวงานสตรอว์เบอร์รีสะเมิง
กรมทางหลวง โดยแขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 2 และศูนย์สร้างทางลำปาง ได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1349 สาย อำเภอสะเมิง – บ้านวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอสะเมิงถึงอำเภอกัลยาณิวัฒนา (วัดจันทร์) ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร

เป็นเส้นทางตัดผ่านป่าสนและป่าเบญจพรรณ มีสภาพเป็นทางลาดยางมาตรฐานต่ำและทางลูกรังยาวต่อเนื่อง กรมทางหลวงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญโดยก่อสร้างทางเป็นทางมาตรฐาน 2 ช่องจราจรไป-กลับ ผิวทางและไหล่ทางเป็นแอสฟัลต์คอนกรีตซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จตลอดสาย ในปี 2560

สำหรับเส้นทางดังกล่าว จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนระหว่างอำเภอสะเมิงไปยังอำเภอกัลยาณิวัฒนา รวมทั้งสามารถใช้เส้นทางไปยังอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้อีกเส้นทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่มีทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามผ่านธรรมชาติที่ยังคงความบริสุทธิ์ของป่าสนและชนเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 9 – 11 กุมภาพันธ์ 2561 จะมีการจัดงานสตรอว์เบอร์รีสะเมิง ณ ที่ว่าการอำเภอสะเมิง โดยประชาชนผู้ใช้ทางสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 1349 สาย อำเภอสะเมิง – บ้านวัดจันทร์ ไปยังสถานที่จัดงานชมสวนสตรอว์เบอร์รีที่อำเภอสะเมิงได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

“ทุเรียน” ผลไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้” ไม่ใช่จะได้รับความนิยมเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่หลายประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่ในประเทศจีน ก็นิยมกินทุเรียนกันจำนวนมาก

และต้องยอมรับว่า ทุเรียน มีทั้งคนเกลียดหนักและชอบหนักมาก อันเนื่องมาจากความพิเศษของกลิ่นของทุเรียน ที่อาจจะยั่วยวนใจใครบางคน แต่บางคนเกลียดแสนเกลียด
และนำไปสู่การเป็นผลไม้ “ต้องห้าม” สำหรับบางพื้นที่ เช่น ภายในโรงแรม หรือในรถโดยสารต่างๆ แต่สำหรับร้าน “เหมาซานหวัง” ที่ประเทศสิงคโปร์แล้ว ทุเรียน ถือเป็นอาหารหลักของร้านนี้เลย

ร้านเหมาซานหวัง ตั้งอยู่ในย่านไชน่าทาวน์ ประเทศสิงคโปร์ โดยความพิเศษของร้าน เหมาซานหวัง คือเมนูสารพัดทุเรียนที่ทำขึ้นเพื่อคนที่ชื่นชอบทุเรียนโดยเฉพาะ
อย่างเช่น นักเก็ทไก่ ที่จะมีเครื่องจิ้มเป็น ดิพทุเรียน มาให้สำหรับจิ้มนักเก็ท หรือจะเป็นพิซซ่าหน้าทุเรียนสด ที่มาพร้อมกับซอสรสทุเรียน

ไม่เว้นแม้แต่ กาแฟ ที่จะมีกาแฟรสทุเรียนและที่ขาดไม่ได้ ขนมหวานอย่างไอศกรีมรสทุเรียนที่พร้อมไว้เสิร์ฟคุณลูกค้าผู้หลงใหลในรสทุเรียนด้วย แลนซ์ ลี โฆษกของบริษัทเจ้าของร้านเปิดเผยกับเอเอฟพีว่า “ทุเรียนมันสามารถกินได้ด้วยตัวมันเองอยู่ด้วย ด้วยรสชาติของมันเอง แต่ทางร้านเราอยากจะทำให้ได้รสชาติที่แปลกใหม่ อย่างเช่นเอาไปทอด หรือกินกับนักเก็ท และทางร้านก็กำลังพยายามมองหาเมนูใหม่ๆ อย่างเช่น อาจจะเป็นข้าว พาสต้า หรืออื่นๆ”

โดยชื่อเหมาซันหวัง เป็นชื่อของสายพันธุ์ทุเรียนที่มาจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นทุเรียนที่จะให้รสชาติหวานและกลิ่นไม่แรงมากนัก หลังจากเปิดร้านได้ไม่นาน ร้านเหมาซานหวัง ก็ได้รับความนิยมจากผู้มาเยือนอย่างมาก มีทั้งคนที่ชอบทุเรียน แล้วอยากมากินเมนูทุเรียนแปลกๆ หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยกินเลย ก็อยากจะมาลองชิมดูว่า ทุเรียนนั้น อร่อยอย่างไร

แต่เชื่อได้เลยว่า สำหรับคนที่ “เกลียด” ทุเรียนแล้ว คงไม่อยากแม้แต่จะเดินเฉียดไปหน้าร้านนี้อย่างแน่นอน สรท.-กกร.ประสานเสียงปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก ชี้ปล่อยบาทแข็ง 30-31 บาท บวกขึ้นค่าแรง เสี่ยงสูญรายได้ส่งออก 5 พันล้านดอลล์ เป้าส่งออกหลุด 5% เหลือ 3.5% จีดีพี 3.8-4.5% เสนอให้เลื่อนปรับค่าแรงไปอีก 1 ปี และขยายเวลาลดหย่อนภาษี 2 ปี

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า ปี 2561 สรท.ยังคงเป้าส่งออกขยายตัว 5.5% แต่ยังไม่นับรวมปัจจัยเงินบาทแข็งค่าขึ้นและการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยตั้งเป้าหมายภายใต้สมมุติฐานอัตราแลกเปลี่ยน 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมัน 64-67 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลัก ผู้ผลิตสินค้าไทยปรับตัวสู่ตลาดดิจิทัลโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าเกี่ยวเนื่องจากน้ำมันสูงขึ้น

“ตอนนี้ปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก ตั้งแต่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นต่อเนื่อง จากต้นปีบาทแข็งค่าแล้ว 2.58% และแข็งค่า 11% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หากบาทแข็งระดับ 30-31 บาท ประกอบกับต้นทุนผลิตเพิ่มขึ้นจากปรับขึ้นค่าแรง เบื้องต้นประเมินทำให้รายได้ส่งออกสูญเสียไป 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระทบตัวเลขส่งออกเหลือ 4.3-5%” นางสาวกัณญภัค กล่าวและว่า สรท.จึงเสนอขอให้ภาครัฐเลื่อนปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปก่อน 1 ปี ให้ผู้ประกอบการปรับปรุงและเพิ่มทักษะแรงงานฝีมือด้วยเทคโนโลยี และขยายเวลาลดหย่อนภาษีเอสเอ็มอี 1.15 เท่า เป็น 2 ปี จากเดิมสิ้นสุดปลายปีนี้ และขอลดเงินสมทบที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับประกันสังคมจาก 5% เหลือ 1-3 % ในช่วงค่าเงินบาทผันผวนและได้รับผลกระทบจากขึ้นค่าแรง และมาตรการช่วยเหลืออื่น เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร

นายชัยชาญ เจริญสุข เลขาธิการสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้และเงินบาทแข็งค่า ทำให้ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักได้รับผลกระทบหนักสุด คือ อุตสาหกรรมอาหาร สินค้าเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ดังนั้น รัฐบาลควรจัดแหล่งเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) โดยไม่ต้องคืนเงินต้นในช่วงปรับตัวให้เอสเอ็มอี เพื่อชดเชยช่วงปรับตัวกับค่าแรงและค่าเงินบาทแข็ง สนับสนุนนำหุ่นยนต์และระบบผลิตอัตโนมัติเข้ามาทดแทนแรงงานคน รวมถึงรัฐบาลต้องวางแผนล่วงหน้าและจัดทำแผนระยะยาวในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอนาคต ให้สอดคล้องกับทักษะของแรงงาน

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตาคือ เวียดนาม มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และอาจมากกว่าไทย เพราะไทยเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าและการปรับขึ้นค่าแรง

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า ที่ประชุมกังวลใจเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วในระยะเพียง 1 เดือนที่ผ่านมา และตอนนี้ค่าเงินผันผวนค่อนข้างสูง จะกระทบความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องระมัดระวังให้ผู้ปฏิบัติอยู่ในกรอบ ซึ่ง กกร.จะผลักดันเอกชนไปลงทุนต่างประเทศและชำระหนี้

ต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงซื้อเงินตราต่างประเทศและฝากในรูปแบบเงินตราต่างประเทศมากขึ้น แต่ที่น่าห่วงคือ เอสเอ็มอี ขณะที่ปัจจัยบวกยังเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ที่ต้องติดตามคือมาตรการทางการค้าของสหรัฐอาจเพิ่มเติมก่อนการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายนนี้ และความผันผวนค่าเงินสหรัฐ ส่วนเศรษฐกิจไทยมองว่าขยายตัวดีกว่า 2560 ผลบวกจากงบประมาณเพิ่มเติมภาครัฐอีก 1.5 แสนล้านบาท ช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.8-4.5% จากการส่งออกขยายตัว 3.5-6% และเงินเฟ้อสูงขึ้น 1.1-1.6%

นายปรีดี กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบ คิดเป็นต้นทุนผลิตของอุตสาหกรรมเฉลี่ย 8-14% เมื่อประกาศทางปฏิบัติไม่ได้ปรับขึ้นทุกคนแต่ปรับขึ้นจริงเพียง 20% ของแรงงานทั่วประเทศ น่าจะส่งผลกระทบค่าแรงเพิ่มขึ้น 2% และคิดเป็นต้นทุนทางธุรกิจ 0.3%

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีแนวโน้มปรับดีขึ้น โดยหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของทั้งระบบอยู่ในจุดสูงสุดที่ 4% และแนวโน้มลดลงต่ำกว่า 4% ในปีนี้ ทั้งนี้ จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจเอสเอ็มอี พบว่า เอสเอ็มอีมีความมั่นใจต่อสถานการณ์รายได้จะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2560 และต่อเนื่องถึงไตรมาส 1/2561 ผลจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว การเดินทางท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยของภาครัฐ แต่เอสเอ็มอียังกังวลด้านต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและราคาน้ำมันสูงขึ้น

นายเบญจรงค์ กล่าวว่า ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คือธุรกิจบริการ เพราะใช้แรงงานมากและมีสัดส่วนต่อต้นทุนผลิต 22% รองลงมาคือการผลิต มีต้นทุนจากค่าแรง 9% และการค้า มีต้นทุนจากค่าแรง 5% โดยประเมินปรับค่าแรงครั้งนี้ค่าจ้างเฉลี่ยทั่วประเทศสูงขึ้น 3-4% เท่านั้น ถือว่าไม่มากนักและภาครัฐยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านภาษี คาดจะกระทบต่อกำไรธุรกิจบริการลดลง 1% ส่วนการผลิตและการค้า กระทบกำไร 0.3% และ 0.2% ตามลำดับ ปัจจัยต้องติดตาม คือปัญหาขาดแคลนแรงงานเพิ่ม ผลหลังปรับขึ้นค่าแรงต่อกำลังซื้อดีขึ้นในกลุ่มจังหวัดที่ปรับสูงสุด เช่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต หนองคาย อุบลราชธานี เป็นต้น รวมถึงนโยบายส่งเสริมเที่ยวเมืองรอง ขณะที่กำลังซื้อภาคเกษตรยังต่ำ ดังนั้น คาดเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 4.2% แต่การบริโภคขยายตัวต่ำ 3% ถือว่าขยายตัวไม่ทันเศรษฐกิจ

วันที่ 7 ก.พ. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดินทางไปพบ นายสำราญ วัชรวงศ์ อดีตข้าราชการส่วนจังหวัดและครูฝึก กอ.รมน.หมู่บ้าน อพป.ตามแนวชายแดน ที่บ้านเลขที่ 181 ถ.สู้ศึก เขตเทศบาลเมืองประจวบฯ หลังพบเรื่องราวของอดีตข้าราชการเกษียณอายุ หันมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยการเปิดร้านขายสมุนไพรชื่อ วังน้ำจันทร์ จำหน่ายสมุนไพรหลากหลายชนิด ซึ่งใช้วิธีการปลูกแบบปลอดสารพิษ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร เช่น ยาสีฟัน สบู่ ครีมอาบน้ำ ครีมทาหน้า น้ำมันสมุนไพรสูตรโบราณ ยาหอม ยาหม่อง เป็นต้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพาณิชย์จังหวัด และ วัฒนธรรมจังหวัด

นายสำราญ กล่าวว่า หลังจากที่เกษียณ ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก้เหงา ด้วยการเก็บมะขามในสวนและพืชผลการเกษตรที่ปลูกกับภรรยาคือ นางจรีย์ วัชรวงศ์ ผอ.โรงเรียนวัดบ่อนอก(ทองวิทยา) มาเปิดร้านขายที่หน้าบ้าน ในปัจจุบัน ทางวัฒนธรรมของจังหวัด ได้ใช้ถนนเส้นนี้จัดกิจกรรมเป็นถนนสายวัฒนธรรมสู้ศึกคึกคักและตลาดต้องชม เนื่องจากถนนเส้นนี้เป็นถนนสายประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่บริเวณนี้เนื่องจากเป็นถยยที่เรียบเสมอชายหาด และมีการต่อสู้กันระหว่างชาวบ้านและทหารญี่ปุ่น ซึ่งบ้านเรือนแถบนี้ยังคงอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้

นายสำราญ กล่าวต่อว่า ทุกวันเสาร์-อาทิตย์แรกของทุกเดือน ที่ถนนสู้ศึกจะมีการออกร้านค้าของชาวบ้าน การแต่งกายย้อนยุค การแสดงเวที จนปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ส่วนตนเองจะเปิดร้านจำหน่ายสมุนไพรทุกวัน พร้อมนำน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งตักใส่น้ำแข็งใ่ส่แก้วขายและทักทายนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านไปมา เพื่อสร้างสีสันให้กับถนนเส้นนี้ และเป็นที่ถูกใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพอสมควร

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (นิวส์-เอสเคิร์ฟ) หรือดี 5 ภายใต้ความร่วมมือประชารัฐ กล่าวหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโออีโคโนมี) ในพื้นที่นำร่องจังหวัดนครสวรรค์ ว่าเป็นแนวคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของรัฐบาล นำเกษตรกรรมสมัยใหม่มาบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ควบคู่กับการวิจัยและพัฒนา ให้เกิดคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนจากเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรมไปเป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยนำร่องใช้สินค้าเกษตรจากมันสำปะหลังและอ้อย โดยจีจีซี ร่วมทุนกับ เคทิส สัดส่วน 50:50 ทำนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (เอ็นบีซี) พื้นที่ 2,000 ไร่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีจีซี กล่าวว่า การลงทุนระยะ 5-10 ปี ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจชีวภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มจากอ้อยเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าตัวจากปัจจุบันพัฒนาในพื้นที่ 100,000 ไร่ ทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็น 60,000-75,000 บาท/คน/ปี หรือ 300,000 บาท/คน/ปี นอกจากนี้จะสนับสนุนการผลิตพลังงานชีวภาพยั่งยืนกว่า 180 ล้านลิตร ต่อปี และช่วยส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกชีวภาพ 30,000 ล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า