อาหารมังสวิรัติแช่แข็งปรุงสำเร็จ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับ

กลุ่มคนทั่วไป และคนรักสุขภาพ ซึ่งนอกจากเรื่องของความสะดวกแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหาร ที่สำคัญมีรสชาติที่ดีอีกด้วย นายสมเกียรติ พันธรรม วัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า จังหวัดสระแก้วกำหนดจัดประกวดขบวนแห่หุ่นผีเสื้อ การประกวดหุ่นผีเสื้อและหนูน้อยผีเสื้อ เนื่องในเทศกาลดูผีเสื้อ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2560 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสระแก้ว และเป็นการสร้างภาพลักษณ์เมืองผีเสื้อของผืนป่าตะวันออก โดยกำหนดจัดกิจกรรมบริเวณหน้าสถานีขนส่งไปยังจุดแสดง

ที่สนามหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (หลังเก่า) จำนวน 3 กิจกรรม คือ การประกวดขบวนแห่หุ่นผีเสื้อ การประกวดหุ่นผีเสื้อ และหนูน้อยผีเสื้อ อายุ 6-15 ปี โดยไม่จำกัดเพศ และต้องอยู่ร่วมในขบวนแห่ หรือเป็นผู้ถือป้ายของหน่วยงานและแต่งกายได้สอดคล้องกับเทศกาลดูผีเสื้อ รวมทั้งมีสัญลักษณ์หรือเครื่องประดับเป็นรูปผีเสื้ออยู่ในเครื่องแต่งกายด้วย โดยการประกวดทุกประเภทจะมีรางวัลเงินสดพร้อมใบประกาศมอบให้แก่ผู้ชนะการประกวด

นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานทุกภาคส่วนในการประกวดขบวนแห่หุ่นผีเสื้อ การประกวดหุ่นผีเสื้อและหนูน้อยผีเสื้อ เพื่อการร่วมกันอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประดิษฐ์หุ่นผีเสื้อ และขบวนแห่หุ่นผีเสื้อ ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแสดงถึงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นเมืองผีเสื้อแห่งผืนป่าภาคตะวันออกและในโอกาสที่จังหวัดสระแก้ว เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาดโอกาสเด็ดขาด

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ตอบประเด็นที่มีการกล่าวถึง การทำงานของ กยท. ว่า แม้ว่า กยท. จะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียง 2 ปี แต่ กยท.ได้ทำงานเชิงรุกตามวัตถุประสงค์ที่ พ.ร.บ. กยท. กำหนดมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลักดันหลักเกณฑ์และวิธีการใช้จ่ายเงินจัดเก็บค่าธรรมเนียมมาเป็นค่าบริหารกองทุนพัฒนายางพาราด้านต่างๆ โดยมีตัวแทนเกษตรกร สถาบันเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ด้านสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งใช้จ่ายเงิน ร้อยละ 7 ของเงินกองทุน ขณะนี้

เกษตรกรสามารถใช้สิทธิ์ตามสวัสดิการ ซึ่ง กยท.ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว ทั้งในช่วงที่สวนยางประสบภัยธรรมชาติทางใต้เมื่อปลายปีประมาณ 4,000 ครัวเรือน กรณีเกษตรกรเสียชีวิต ทายาทจะได้รับการช่วยเหลือรายละ 3,000 บาท รวมถึงเงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนชาวสวนยาง เป็นต้น สำหรับเงินกองทุนพัฒนายางพารา ร้อยละ 35 ในการช่วยส่งเสริม เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง ขณะนี้ กยท. ได้สนับสนุนเงินทุนประมาณ 2,500 ล้านบาท ในการแปรรูป พัฒนาปรับปรุงคุณภาพต่างๆ รวมทั้ง การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางโดยเฉพาะ อีกร้อยละ 3 ของเงินกองทุนในการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งทุกสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท.ได้ใช้จ่ายจากงบประมาณส่วนนี้ทั้งสิ้น

“เงินกองทุนพัฒนายางพารา เป็นเงินที่ต้องช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนผู้มีส่วนได้เสียยางพาราทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงเกษตรกรชาวสวนยางเท่านั้น เพราะการพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน จะต้องพัฒนาทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปอุตสาหกรรม จนถึงการตลาด”

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาราคายาง กยท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล ไม่มีแนวคิดที่จะนำเงินไปสนับสนุน เพื่อแทรกแซงราคายาง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ทำงานแบบบูรณาการ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันเกษตรกร ที่จะนำยางพาราไปแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งนำร่องด้วยการส่งเสริมใช้ยางในประเทศ โดยทุกๆ ฝ่ายควรร่วมมือกันตามหน้าที่ความรับผิดชอบ เดินหน้าผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ไม่ควรกล่าวโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ควรหันหน้าสร้างวิธีการ การปฏิบัติจริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น

“สำหรับที่ผ่านมา กยท. ได้รวบรวมผลผลิตยางจากเกษตรกร เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย และที่สำคัญ กยท.ยังมีการรับซื้อผลผลิตจากสถาบันเกษตรกรเพื่อนำไปแปรรูปเป็นยางแท่ง ยางเครฟ น้ำยางข้น เป็นต้น ทั้งในพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมประมาณ 82,000 ตันต่อปี ในขณะที่หน่วยธุรกิจของ กยท. ยังเดินหน้าหาตลาดทั้งในและต่างประเทศ และรับซื้อผลผลิตยางจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางต่างๆ เพื่อกระตุ้นราคายางในตลาดด้วยเช่นกัน” ดร.ธีธัช กล่าวย้ำ

กนง.เอกฉันท์คงดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี กระตุ้นเศรษฐกิจ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้โต 3.5% ตามทิศทางส่งออกที่คาดขยายตัวได้ถึง 5% ส่วนลงทุนเอกชนยังหดตัว ระบุเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี ขณะเดียวกันได้ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ในปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 3.4% มาอยู่ที่ 3.5% และปี 2561 จาก 3.6% เป็น 3.7% ขณะที่การส่งออกในปี 2560 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5% จากเดิม 2.2% และปี 2561 ปรับลดลงเหลือ 1.7% จากคาดการณ์เดิมที่ 2% เนื่องจากปี 2560 ได้ปัจจัยย้ายฐานการผลิตในบางอุตสาหกรรม เช่น ล้อยาง และอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวมากขึ้นในหลายกลุ่มสินค้า และตลาดส่งออก ขณะที่การนำเข้าในปี 2560 ขยายตัวได้ 10.9% จากเดิม 7.2% ทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ส่วนปี 2561 คาดว่าการนำเข้าจะขยายตัว 5.4% ส่วนการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็วมีจำนวนมาก นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ปี 2560 ที่ 34.9 ล้านคน และปี 2561 ที่ 37.3 ล้านคน ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.8%

ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้น แต่รายได้ของแรงงานในภาคการผลิตยังไม่ได้รับผลดีอย่างชัดเจน จากการส่งออกที่ปรับดีขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อโดยรวมเข้มแข็งนัก การใช้จ่ายของภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยปรับลดลงเหลือ 1.7% จากเดิม 2.4% ซึ่งการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ไทย เป็นการปรับโครงสร้างการผลิต และหันไปลงทุนในด้านบริการมากขึ้นมากกว่าการลงทุนด้านการผลิต

นายจาตุรงค์ กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะความต่อเนื่องของการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐรวมถึงนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีน และความเสี่ยงจจากภูมิรัฐศาสตร์โลก นอกจากนี้ คณะกรรมการขอให้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์แรงงานต่างด้าวอย่างใกล้ชิด

สำหรับภาวะการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากสินเชื่อสถาบันการเงินและตลาดทุน

จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2554 โดยมีน้ำท่วมพื้นที่ 150 ล้านไร่ ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 65 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนกว่า 13.59 ล้านคน โดยธนาคารโลกได้ประเมินมูลค่าความเสียหายจากอุกภัยครั้งนั้นถึง 1.4 ล้านล้านบาท

ซึ่ง บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด มีโรงงานผลิตรถยนต์อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอย่างรุนแรงจนต้องหยุดการผลิตเป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2554 หลังจากนั้น ฮอนด้าได้เร่งการฟื้นฟูและสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตรถยนต์อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม 2555 ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยได้บริจาคเงินช่วยเหลือจำนวน 100 ล้านบาท ในนามกลุ่มบริษัท ฮอนด้าในประเทศไทย เพื่อมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านสภากาชาดไทย

ฮอนด้าในฐานะหนึ่งในผู้ประสบภัยและตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อม และการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงได้ผนึกกำลังกลุ่มบริษัท ฮอนด้าในประเทศไทย อันประกอบด้วย บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประกาศตั้งกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2555 ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย เพื่อเป็นกองทุนฉุกเฉินไว้ใช้ช่วยประชาชนไทยในยามประสบภัยพิบัติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ดังเจตนารมณ์ของฮอนด้าในการสร้างสรรค์คุณค่าเพื่อเป็นองค์กรที่สังคมไทยต้องการให้ดำรงอยู่ตลอดไป

โดย กลุ่มบริษัท ฮอนด้าฯ จะร่วมสมทบเงินมูลค่า 1,000 บาท ต่อการขายรถยนต์ 1 คัน 100 บาท ต่อการขายรถจักรยานยนต์ 1 คัน และ 10 บาท ต่อการขายเครื่องยนต์อเนกประสงค์ 1 หน่วย เพื่อสมทบรายได้จากยอดขายผลิตภัณฑ์เข้าไว้ในกองทุนอย่างเป็นระบบ ปัจจุบัน กองทุนฮอนด้าฯ มียอดเงินสะสมตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2555 ถึง 31 พฤษภาคม 2560 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ฮอนด้าฯ จะทยอยสะสมเงินเข้ากองทุนและหมุนเวียนใช้อย่างต่อเนื่อง สำหรับใช้ในกิจกรรมบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนชาวไทยในยามต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วม ดินถล่ม ภัยหนาว ภัยแล้ง ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินงานภายใต้กองทุนฮอนด้าฯ ได้อย่างทันท่วงที

ซึ่ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ภายใต้มูลนิธิฮอนด้าประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ผนึกกำลังชุมชน สานต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมอาสา ปรับปรุงพื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำบริเวณคลองยาง ตำบลดงขี้เหล็ก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาขาที่เชื่อมต่อคลองสายสำคัญในการอุปโภคบริโภคในจังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงด้วยการสร้างฝายกักเก็บน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ป่าต้นน้ำและรับมือปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรับมือปัญหาภัยแล้งให้ประชาชนในชุมชนมีน้ำเก็บไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี

คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่า จากเจตนารมณ์ในการเป็นองค์กรที่สร้างสรรค์คุณค่าอยู่คู่สังคมไทย กลุ่มบริษัท ฮอนด้า ในประเทศไทย จึงร่วมกันจัดตั้ง “กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” ขึ้น เพื่อเป็นกองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยเมื่อประสบภัยพิบัติตามธรรมชาติมาโดยตลอด ซึ่งโครงการพัฒนาแหล่งลุ่มน้ำปราจีนบุรีนี้ ถูกจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการสร้างฝายหินก่อ ฝายภูมิปัญญา บวชป่าและปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นการสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าต้นน้ำ และชะลอการไหลของแหล่งน้ำสาขาที่เชื่อมต่อคลองสายสำคัญด้านล่าง เพื่อให้ชุมชนดงขี้เหล็กมีน้ำเก็บไว้ใช้ สำหรับใช้ทางการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยคาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์กว่า 1,565 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน กว่า 450 ครัวเรือน

“โครงการที่ทำอยู่เป็นโครงการที่ทำอยู่ภายใต้ โครงการฮอนด้าเคียงข้างไทย ซึ่งเป็นเหมือนโครงการที่จะให้ความช่วยเหลือ โดยมีแนวคิดที่จะเก็บรวบรวมเงินสำหรับเป็นกองทุนไว้ เพื่อช่วยเหลือในยามที่เกิดภัยพิบัติ โดยจะนำเงินใส่เข้ากองทุน ร่วมสมทบเงินมูลค่า 1,000 บาท ต่อการขายรถยนต์ 1 คัน สมทบเงิน 100 บาท ต่อการขายรถจักรยานยนต์ 1 คัน และขายเครื่องยนต์อเนกประสงค์ 1 หน่วย 10 บาท เราก็ทำการสะสมเงินมาโดยตลอด ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมระยะยาวทำมา 3 ปีแล้ว ที่เราทำการพัฒนาลุ่มน้ำปราจีนบุรี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งลักษณะของกิจกรรมก็จะเป็นเกี่ยวกับการสร้างฝาย การพัฒนาแหล่งน้ำ การปลูกป่า เพื่อเป็นการสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าต้นน้ำ ซึ่งแนวความคิดต่างๆ เราได้คิดให้เกิดประโยชน์กับชุมชนเป็นหลัก ดังนั้น ชุมชนจะต้องมีความเป็นเจ้าของเมื่อเราไปพัฒนาแล้ว ชุมชนก็จะต้องนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด พร้อมทั้งการดูแลรักษาให้เกิดความยั่งยืน” คุณพิทักษ์ กล่าว

ด้าน คุณวีระ วงศ์แสงนาค กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ได้คัดเลือกตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 60 ชุมชนแกนนำ ขยายผลได้ 932 หมู่บ้าน ร่วมดำเนินงานเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ โดยใช้กรอบคิด กรอบงาน และหลักทรงงาน เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า มาประยุกต์ใช้ อาทิ การพึ่งตนเอง การคิดให้เชื่อมโยงกัน การใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ การจัดงานให้เหมาะสมกับภูมิสังคม การลงมือทำและสร้างตัวอย่างความสำเร็จ จนขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นได้ เกิดเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งปัจจุบันมี 13 แห่ง กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย

ซึ่งกิจกรรมจิตอาสาที่ห้วยเกษียรนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องนับแต่ปี 2558 โดยกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยจำนวนกว่า 23 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 พื้นที่ครอบคลุมตำบลนาแขมและเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยการสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกหญ้าแฝกและไม้ยืนต้น ตลอดจนบวชป่า คาดว่าหลังจากดำเนินการเสร็จในปี 2560 จะช่วยสำรองน้ำในพื้นที่ให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งและบรรเทาปัญหาน้ำหลาก รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์ 17,658 ไร่ เพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำรวม 3,529,750 ลูกบาศก์เมตร ต่อปี มีชาวปราจีนบุรีได้รับประโยชน์กว่า 4,935 ครัวเรือน

ทั้งนี้ กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ได้กำหนดภารกิจในการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเงินทุน 2. ด้านวัสดุอุปกรณ์ 3. ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 4. ด้านส่งเสริมความรู้ในการรับมือภัยพิบัติ โดยตลอดระยะเวลา 5 ปี ของการดำเนินงาน “กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” ได้มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือพี่น้องไทยทั่วประเทศ 37 จังหวัด รวมจำนวนเงินกว่า 220 ล้านบาท

นางภรณี ทองเย็น รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ประเมินว่าจะกระทบต่อบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะเตรียมตัวและมีระบบเรื่องการจัดการแรงงานดีอยู่แล้ว แต่ต้นทุนการจัดการด้านแรงงานอาจเพิ่มขึ้นจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว โดยคาดว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับผลกระทบด้านต้นทุน คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งมีต้นทุนแรงงานคิดเป็น 13% ของต้นทุนทั้งหมด โดยแรงงาน 30% เป็นแรงงานต่างด้าว และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่มีต้นทุนแรงงานคิดเป็น 7% ของต้นทุนทั้งหมดโดยแรงงาน 90% เป็นแรงงานต่างด้าว

นางภรณี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะกระทบกำไรกับทั้งสองบริษัทเล็กน้อย เพราะสัดส่วนต้นทุนแรงงานของทั้งสองบริษัทไม่มากนักเมื่อเทียบกับต้นทุนรวม หลังจากนี้ฝ่ายวิเคราะห์จะรวบรวมข้อมูลเรื่องต้นทุนแรงงานปลีกย่อยของบริษัทจดทะเบียนอีกครั้ง แต่เชื่อว่าบริษัทที่กระทบส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เช่น สถานีเติมน้ำมัน โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น โดยการใช้ พ.ร.ก.นี้จะหนุนให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมากย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนที่ยังตั้งฐานการผลิตอยู่ที่ไทยจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเป็นเครื่องจักรมากขึ้น

ที่บริเวณแปลงนาหลังโรงพยาบาลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ร.ท. ธวัชชัย เหมวัง นายอำเภอดอนจาน เป็นประธานโครงการปลูกข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษเพื่อผู้ป่วยและญาติ โดยมี นพ. จารึก ประคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลดอนจาน นายพีรพงษ์ ถิ่นคำเชิด นายก อบต. สะอาดไชยศรี นางณัฎฐพร เจริญจิตต์ เกษตรอำเภอดอนจาน พร้อมข้าราชการ ผู้นำชุมชน บุคลากรโรงพยาบาล อสม. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ และชาวบ้านจำนวน 150 คน ร่วมโครงการ

นพ. จารึก กล่าวว่า สาเหตุการเจ็บป่วยของประชาชนทั่วไปส่วนมากเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารพิษ หรือสารเคมี สารปนเปื้อนในอาหารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และปัญหาสุขภาพนำไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาจากการได้รับสารเคมี หรือสารปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ ผู้ป่วย ที่เข้ารับบริการและกำลังพักฟื้นได้หายเร็ว จึงร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ จัดโครงการปลูกข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ โดยใช้พื้นที่ว่างเปล่าด้านหลังโรงพยาบาลประมาณ 4 ไร่ เป็นแปลงนาปลูกข้าวปลอดสารพิษ นำผลผลิตเป็นข้าวต้มและอาหารเลี้ยงผู้ป่วยและญาติ ได้บริโภคข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ ประหยัดงบประมาณทางราชการในการจัดซื้ออาหาร

“นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและเครือข่ายในการร่วมลงแขกดำนา เป็นแบบอย่างในการฟื้นฟูประเพณีการดำนา เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างแรงงานดำนาสูงถึงวันละ 350 บาท รวมทั้งงดการใช้สารเคมีในแปลงนา ซึ่งแปลงข้าวเจ้าปลอดสารพิษที่ช่วยกันลงแรงดำนา เป็นแปลงนาน้ำฝนที่สามารถควบคุมไม่ให้น้ำป่า หรือน้ำคลองพัดพาสารเคมีเข้ามาในแปลงนา และจะไม่ใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีใดๆ อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่จะปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา และตั้งเป็นโรงครัวปลอดสาร เพื่อบริการคนป่วยให้ฟื้นตัวเร็วและหายดี ขณะที่ญาติและประชาชนทั่วไปจะได้แนวทางในการบริโภคอาหารและปลูกข้าวที่ปลอดสารพิษเพื่อการมีสุขภาพที่ดีต่อไปด้วย”

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ที่สวนทุเรียนนายปราโมทย์ พันจันทร์ (ลุงโส) nancyajramonline.com ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเขาห้วยยอดกกทอง ต.บุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย พล.ต.ชาญชัย เอมอ่อน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก(มทบ.) 28 พร้อมคณะ พ.อ.สมหมาย บุษบา เสนาธิการ มทบ. 28 พ.อ.อำนวย ยอดพันธ์ หัวหน้ากองกิจการพลเรือน และ นายบรรพต ยาฟอง นายอำเภอเชียงคาน ร่วมกันแถลงข่าวเปิดจองทุเรียนเมืองเชียงคาน “คักเลย” พร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนทุเรียน ซึ่งกำลังให้ผลผลิตเต็มทุกต้น กว่า 1,000 ต้น คาดว่าทุเรียนพันธุ์”คักเลย” จะสุกและออกตลาดให้ประชาชนทั่วไปได้ลิ้มลองในเดือนสิงหาคมนี้

นายบรรพต ยาฟอง นายอำเภอเชียงคาน กล่าวว่า ทุเรียนของอำเภอเชียงคานจะแตกต่างจากจังหวัดอื่น โดยเริ่มสุกในเดือนสิงหาคม ขณะที่ทุเรียนพื้นที่อื่นหมดแล้ว สาเหตุหนึ่งที่ทุเรียนอาจสุกช้า อาจเป็นเพราะเกษตรกรปลูกทุเรียนบนภูเขาสูงชัน ต้องเดินทางโดยใช้รถโฟร์วีลจึงสามารถเดินทางเข้าถึงสวนได้ รวมทั้งสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี และ ดินภูเขามีสภาพอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ ทำให้ทุเรียนเชียงคานมีรสชาติอร่อย ไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ โดยมีสโลแกน “กลิ่นหอมหวน นวลหนาใหญ่ ในเมล็ดเล็ก” หมายถึง มีกลิ่นหอม ไม่ฉุน มีพูใหญ่เนื้อหนา แต่มีเมล็ดลีบเล็ก

“ขณะนี้สวนต่างๆในอำเภอเชียงคาน มีเกษตรกรทำสวนทุเรียนรายใหญ่ปลูกตั้งแต่ 500- 1000 ต้น มีจำนวน 4 สวนใหญ่ พร้อมรับการสั่งจองจากประชาชนทั่วไป และรับประกันอร่อยทุกลูก ต้องแก่พร้อมรับประทานจึงตัดขาย รับประกันไม่มีทุเรียนอ่อนขายอย่างแน่นอน คาดว่า ผลผลิตปีนี้ไม่น้อยกว่า 30 ตัน ราคาสั่งจองมาซื้อที่สวน กิโลละ 100 บาท ถ้าให้ส่งภายในจังหวัด กิโลละ 120 บาท หรือ สั่งจองโดยตรงกับเจ้าของสวนราคาต่อลองกันเองได้ที่ โทร 087-8653450 ลุงโส หรือ 080-1860151 น้องแขก หรือ จะจองกับนายอำเภอ โทร. 081 867-443” นายบรรพต กล่าว

รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของเกษตรกรในชุมชนเกษตรต่างๆ ให้ดำเนินการ “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” อำเภอน้ำปาดได้รับงบประมาณในกรอบวงเงิน 25 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานใน 10 ชุมชน ที่เสนอขอดำเนินการกว่า 15 โครงการ ทุกชุมชนได้เริ่มจัดทำแผนชุมชน โครงการ กิจกรรม เสนอขอรับการสนับสนุน เริ่มงาน วันที่ 15 กรกฎาคม จะสำเร็จผลโครงการในเดือนกันยายน 2560

นายอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช เกษตรอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอของเกษตรกร โดยศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าว ในวงเงิน 22,752.5 ล้านบาท ให้ชุมชนเกษตร 9,101 ชุมชนทั่วประเทศ เพื่อดำเนินการ “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” ในส่วนของอำเภอน้ำปาด ดำเนินการในพื้นที่ 7 ตำบล 58 หมู่บ้าน แบ่งเขตเป็น 10 ชุมชนเกษตร ในกรอบวงเงินงบประมาณ ชุมชนละ 2.5 ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณ 25 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้