อีกประเด็นที่ยังเป็นปัญหาของชาวบ้านต่อการปลูกอะโวกาโดคือ

การเก็บผลผลิต เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านมักเก็บผลผลิตที่ยังไม่สุกแก่ขาย พอลูกค้าที่เพิ่งซื้อรับประทานครั้งแรกชิมแล้วมีรสขมฝาด จึงเกิดทัศนคติไม่ดี แล้วมีผลต่อการซื้อทันที อย่างไรก็ตาม ลักษณะการขายอะโวกาโดของชาวบ้านนิยมขายยกสวน ทำให้คนเก็บไม่ใช้ความระมัดระวัง จึงทำให้ผลเสียหาย ปัญหาเหล่านี้ล้วนทำให้ฉุดรั้งความสนใจ แล้วทำให้ขายยาก ราคาตก ฉะนั้น การเก็บจะต้องสังเกตผลที่จุกสีแดงหรือผิวที่เปลี่ยนสี

ชาวบ้านสนใจ แห่ปลูกเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

คุณธนากร เผยว่า เป็นที่น่าดีใจ เพราะภายหลังที่มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกอะโวกาโดตามที่แนะนำ ได้พบว่าชาวบ้านต่างเห็นประโยชน์แล้วหันมาปลูกกันเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนิดก้าวกระโดด ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอ พบว่า เดิมมีพื้นที่ปลูกอะโวกาโดอยู่ จำนวน 500 ไร่ เพิ่มขึ้นมาเป็นเกือบ 1,500 ไร่ ภายในเวลาไม่กี่ปี ทั้งรุ่นที่เก็บผลผลิตขายได้แล้วกับรุ่นที่เพิ่งปลูกใหม่

ขณะเดียวกันทางศูนย์ได้มีการเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ปลูกพันธุ์ดี พบว่า มีจำนวนผู้ปลูกอยู่ประมาณ 50 ไร่ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีผู้ปลูกรายใหม่ที่เน้นปลูกพันธุ์ดีอีกประมาณ 300 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพันธุ์พื้นบ้านทั่วไปประมาณพันกว่าไร่

สำหรับสายพันธุ์ที่ควรส่งเสริมปลูกในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ พันธุ์บัคคาเนียร์ เนื่องจากให้ผลดก โตเร็ว ขั้วเหนียว ทนทานต่อแรงลม เปลือกหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมาก ถือว่าเป็นพันธุ์ที่มีทุกอย่างครบ ดังนั้น จึงเหมาะทั้งรับประทานสด และแปรรูปส่งโรงงาน แล้วที่ดีที่สุดคือ สามารถอยู่บนต้นได้นานถึงเดือนพฤศจิกายน เพื่อรอให้มีราคาที่พอใจ ทั้งนี้ บัคคาเนียร์ จะเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 2-3 แต่มักเก็บขายจริงจังในปีที่ 4

อีกสายพันธุ์ที่กำลังมาแรง แล้วดูเหมือนว่ากำลังแซงพันธุ์ที่นิยมอย่าง แฮส นั่นคือ พิงค์เคอร์ตัน ถือเป็นพันธุ์ที่ลบข้อเสียของแฮสได้ทั้งหมด แล้วยังให้ผลดก มีขนาดใหญ่ในระดับพรีเมี่ยม อย่างไรก็ตาม พันธุ์แฮสต้องปลูกในระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 600 เมตร จึงจะได้ผลดี ขณะที่พิงค์เคอร์ตัน ใช้ระดับเพียง 300-400 เมตร จากระดับน้ำทะเลก็เพียงพอแล้ว ดังนั้น จึงไม่มีข้อจำกัดในระดับพื้นที่ปลูกที่เป็นปัญหา

แนะ…ปลูกหลายพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง

นอกจากนั้น คุณธนากร ยังชี้ว่า ถ้าต้องการปลูกอะโวกาโดแบบให้ผลผลิตแล้วมีรายได้ต่อเนื่อง ควรปลูกพันธุ์ที่เริ่มให้ผลก่อนใคร อย่าง พันธุ์ปิเตอร์สัน เพราะสามารถเก็บขายได้ก่อนพันธุ์อื่น จากนั้นตามด้วย ลูเฮิร์น ซึ่งมีข้อดีคือดก รสชาติดี ถ้านำไปทำแบบลอดช่องน้ำกะทิแทนแตงไทยได้เลย ถือเป็นพันธุ์รับประทานสดที่มีรสอร่อยมาก ข้อเสียอย่างเดียวคือ เปลือกบาง จึงไม่เหมาะกับการขนส่งในระยะทางไกลและนาน

สำหรับ พันธุ์ปากช่อง 28 จะออกผลผลิตเป็นชนิดสุดท้าย แล้วให้ผลผลิตยาวข้ามปี ราวปลายมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากที่พันธุ์อื่นให้ผลผลิตหมดแล้ว จึงทำให้ได้ราคาดี ทั้งนี้มีลักษณะเด่นคือ อายุการเก็บเกี่ยวนาน แต่พันธุ์นี้ยังไม่แพร่หลาย เพราะกิ่งพันธุ์ยังมีน้อย

“ท้ายนี้ ทางศูนย์ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมปลูกอะโวกาโดมาก เพราะมองว่าเป็นพืชที่มีศักยภาพเมื่อนำมาปลูกที่พบพระ อีกทั้งพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างเอื้อต่อการลงทุนต่ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูกมาก ขณะเดียวกันกลับสร้างรายได้สูง แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขของการปลูกอย่างมีคุณภาพจริง แล้วยังสามารถปลูกทดแทนพืชเชิงเดี่ยวได้

จึงหวังให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกอะโวกาโดกันมากๆ ไม่ต้องหวั่นเรื่องตลาด เพราะถ้าคุณสามารถปลูกได้อย่างมีคุณภาพตามที่ทางศูนย์แนะนำแล้ว เมื่อถึงเวลานั้นผู้รับซื้อวิ่งเข้ามาหาคุณแน่นอน” คุณธนากร กล่าว

สนใจสอบถามข้อมูลอะโวกาโดได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) โทรศัพท์ (055)-806-249 (ในวัน/เวลา ราชการ) หรือ คุณธนากร โปทิกำชัย โทรศัพท์ (081) 724-8013

หรือติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวตลอดจนกิจกรรมดีๆ ที่น่าสนใจของ อะโวกาโด ได้ที่เฟซบุ๊ก “คนรักอะโวกาโด(Avocado)” แล้วท่านจะไม่ตกเทรนด์เรื่องสุขภาพอย่างแน่

มันสำปะหลัง คือพืชหัวชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้น มีอายุอยู่ได้หลายปี และยังสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากมันสำปะหลังได้หลายอย่าง

มันสำปะหลัง ที่ประเทศไทยสามารถปลูกได้นั้น มีเพียง 2 ชนิด คือชนิดหวานและชนิดขม มันสำปะหลังชนิดหวาน จะเป็นมันที่มีกรดไฮโดรไซยานิกต่ำ มีทั้งชนิดเนื้อที่มีความเหนียวและนุ่ม เนื่องจากมันสำปะหลังชนิดนี้ มีไว้สำหรับการบริโภคของมนุษย์ ส่วนชนิดที่มีความขม เกิดจากการที่มันสำปะหลังมีกรดไฮโดรไซยานิกสูง เป็นพิษ และมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์ หรือแม้กระทั่งการนำเอาหัวมันสดๆ ไปเลี้ยงสัตว์ แต่มันสำปะหลังประเภทนี้ จะเหมาะใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น เพื่อการแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น แป้งมัน มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงนิยมใช้มันสำปะหลังชนิดขมในอุตสาหกรรมเท่านั้น

ในประเทศไทยมีหลายจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลัง เช่น นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง ฯลฯ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีจังหวัดกาญจนบุรีรวมอยู่ด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่จะต้องเป็นที่ราบ ที่เหมาะแก่การปลูกมันสำปะหลัง โดยเฉพาะในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยดงอ้อยและไร่มันสำปะหลังที่มีให้เห็นแทบทุกซอกทุกมุมของอำเภอ

สารวัตรกำนันหัวใจเกษตร

คุณเทียน พิมพ์แจ่ม สารวัตรกำนันของหมู่บ้านท่าพุ ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้ใช้เวลาว่างจากงานหลักมาสร้างอาชีพเสริม ด้วยการปลูกมันสำปะหลัง

คุณเทียน มีความคิดจะปลูกมันสำปะหลังเพื่อสร้างรายได้อีกทาง เพราะเห็นว่าชาวบ้านในพื้นที่ละแวกอำเภอด่านมะขามเตี้ย ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ในการสร้างอาชีพเกษตรกรรม โดยพืชที่ปลูกจะอยู่ในกลุ่มพืชไร่ อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง อาจมีกลุ่มผักบ้าง เช่น ต้นหอม และหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งอย่างหลังถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อที่สุดในอำเภอด่านมะขามเตี้ยของจังหวัดกาญจนบุรี

เนื่องจากคุณเทียนมีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่บริเวณนั้น คุณเทียนจึงตัดสินใจพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นไร่มันสำปะหลัง พร้อมกับเช่าพื้นที่เพิ่มเพื่อปลูกอ้อย โดยเป็นการแบ่งพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ทั้งหมด 13 ไร่ และปลูกอ้อยอีกจำนวน 10 ไร่ ซึ่งคุณเทียนได้อาศัยเวลาส่วนที่ว่างเว้นจากการทำงานในอาชีพหลักมาปลูกและดูแลไร่มันสำปะหลังของตนเอง

ขั้นตอนการปลูก ในแบบของคุณเทียน

คุณเทียน เผยถึงวิธีการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสมว่า สิ่งที่ควรทำขั้นแรกคือ การเตรียมความพร้อมของสภาพพื้นดินที่ต้องใช้ในการเพาะปลูก โดยต้องสังเกตที่ดินก่อนเสมอ หากดินในพื้นที่นั้นเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ควรที่จะปรับปรุงดิน เพื่อเป็นการรักษาระดับผลผลิตในช่วงระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี ที่สามารถหาได้จากโรงแป้งในท้องถิ่นทั่วไป หรือจะปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อหมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่เป็นประเภทหญ้าคา สามารถใช้ยาฆ่าหญ้าในแบบทั่วไป หรือจะเลือกใช้วิธีการกำจัดวัชพืชแบบไร้สารเคมีก็ได้ ซึ่งควรฉีดกำจัดก่อนเริ่มการไถ

“การไถครั้งแรก ควรเป็นการไถเพื่อกลบวัชพืชก่อนการปลูก โดยจะไถให้ลึก ประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วทิ้งดินที่ถูกไถไว้ ประมาณ 1 เดือน หรือน้อยกว่านั้น เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ต่อจากนั้นไถพรวนด้วยผาลอีก 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และจากนั้นเราก็ต้องรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังอมความชุ่มชื้นไว้ในพื้นดินอยู่”

หลังจากเตรียมดินเรียบร้อย สิ่งที่ควรทำต่อจากนี้คือ การหาท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง โดยท่อนพันธุ์ที่ใช้ต้องมีความสดและมีอายุประมาณ 10-12 เดือน ต้องตัดไว้ไม่เกิน 15 วัน โดยตัดให้มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ในส่วนของท่อนพันธุ์มันจะต้องมีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและศัตรูพืชต่างๆ ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยากำจัดศัตรูพืช 1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออนหรือสารกำจัดแมลง 20 ซีซี ในน้ำ ต่อ 1 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนเริ่มต้นการปลูก

จากนั้นปลูกแบบขั้นตอนตามปกติ ปักท่อนพันธุ์มันเป็นแถวแนวตรง เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืชในช่วงที่ดูแล โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.30 เมตร ระยะระหว่างต้น 70 เซนติเมตร และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 เซนติเมตร

“หลังจากที่เราปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะด้วยสภาพดินที่กำลังชื้นเนี่ย อาจทำให้หญ้าขึ้นรบกวนการเติบโตของต้นมัน เราจึงต้องใช้ยากำจัดพวกหญ้าเหล่านี้ โดยเราใช้ยาไดยูรอน ซึ่งจะฉีดทันทีหลังจากการปลูกไม่เกิน 3 วัน หรือก่อนที่ต้นมันจะงอก เพราะถ้าฉีดหลังจากที่ต้นมันงอกหรือโตมาแล้ว ต้นมันของเราอาจจะสร้างความเสียหายได้” คุณเทียน กล่าว

ดูแลไร่ ด้วยการใส่ปุ๋ย

จะสังเกตได้ว่า อุปสรรคที่สำคัญของการปลูกมันสำปะหลังก็คือ เหล่าวัชพืชที่คอยก่อกวนและสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตอยู่ตลอดเวลา

การดูแลด้วยการใส่ปุ๋ยให้กับมันสำปะหลัง ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก เมื่อเทียบกับพืชประเภทอื่นๆ ดังนั้น จึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปีในพื้นที่เดิม ก็จะทำให้ธาตุอาหารในดินเกิดลดลงตามลำดับ จึงเป็นผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้น การปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

คุณเทียน เผยถึงวิธีการกำจัดวัชพืชและการดูแลไร่มันสำปะหลังว่า เขาได้กำจัดวัชพืช 1 ครั้ง ในรอบ 30-40 วัน นับจากวันที่ปลูก โดยใช้รถไถคันเล็กเดินตาม หรือจานพรวนกำจัดวัชพืช ซึ่งจะติดอยู่บริเวณท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในอัตรา 25-50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยจะใส่ปุ๋ยให้ห่างจากต้นมัน 1 คืบ หรือประมาณ 20 เซนติเมตร

ต่อจากนั้นจึงใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ และสิ่งที่สำคัญควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นอยู่

ส่วนการกำจัดวัชพืชในครั้งที่ 2 จะเป็นในช่วง 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก พอถึงการกำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ให้ทำตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม็อกโซน (ควรใช้ฝาครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

การตลาดของมันสำปะหลัง

เมื่อครบกำหนดการเก็บผลผลิตที่ใช้ระยะเวลาอันยาวนาน ประมาณ 1 ปี หรืออย่างเร็วที่สุดคือ 7-8 เดือน มันสำปะหลังที่เติบโตอย่างสมบูรณ์แบบ จะถูกขุดขึ้นจากดินและบรรทุกไปยังโรงงานที่รับซื้อมัน เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานในตัวจังหวัดอีกที

โดย คุณเทียน กล่าวว่า การปลูกมันสำปะหลัง เราต้องทำใจในเรื่องต้นทุน เพราะใช้เงินลงทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นการจ้างแรงงาน ค่าเช่ารถ รวมไปถึงค่าปุ๋ยหรือสารเคมีต่างๆ ซึ่งกำไรของการผลิตมันสำปะหลังนั้น จะขึ้นอยู่กับราคาที่ทางตลาดมันกำหนดไว้ ถ้าอยู่ในช่วงที่มันสำปะหลังราคาดี เราก็ได้กำไรเยอะ แต่ถ้าไม่ดี กำไรก็อาจจะน้อยตามราคา นอกจากนี้ ราคาขายมันสำปะหลังจะสูงหรือต่ำก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของมันสำปะหลังที่ปลูก

คุณเทียน ยังบอกต่อถึงผู้ที่สนใจหรืออยากจะลองปลูกมันสำปะหลังอีกว่า สมัครเล่นคาสิโน การที่จะทำอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ต้องมีความอดทนสูง เพราะการที่มันสำปะหลังจะเติบโตได้ มันต้องใช้เวลานานถึงปีต่อปีเลยทีเดียว และสิ่งที่สำคัญคือ เราต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต เพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อผลผลิตออกมาจะมีคุณภาพหรือไม่ คนที่ต้องยอมรับสภาพของมันสำปะหลังที่โตมา ก็คือเราผู้เป็นคนผลิตนั่นเอง

ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านสนใจที่จะสร้างอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ก็สามารถปรึกษาได้ที่ คุณเทียน พิมพ์แจ่ม ที่ 84 หมู่ที่ 3 ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71260 หมายเลขโทรศัพท์ (085) 808-2198