อีกหนึ่งโครงการที่ผ่านการเห็นชอบในหลักการจากกนย.โครงการ

1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ที่จะร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานสร้างถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ทั่วประเทศ จำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75,032 กิโลเมตร ตามแผนปฏิบัติงานโครงการปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้านให้เป็นถนนที่มีการนำยางพารามาผสม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศ ซึ่งการสร้างถนนดังกล่าวตามโครงการฯ จะใช้น้ำยางสดปริมาณ 1,440,614.4 ตัน หรือคิดเป็นน้ำยางข้น 720,320.2 ตัน คิดเป็นมูลค่าน้ำยางสดกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท

ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างจัดทำข้อกำหนดพิเศษในการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (ยางพารา) ของกรมทางหลวง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ธันวาคม นี้ ด้านงบประมาณอยู่ระหว่างการสำรวจเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะนำมาใช้สร้างถนนตามโครงการฯ พร้อมสำรวจความต้องการในการนำยางมาสร้างถนนเพิ่ม โดยตั้งงบประมาณโครงการฯ รวมทั้งสิ้นกว่า 9.2 หมื่นล้านบาท เป้าหมายเพื่อดูดซับน้ำยางออกจากระบบ เมื่อมีการปรับแผนและวิธีการดำเนินงานสมบูรณ์แล้ว กยท. จะนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกรชาวสวนยางติดต่อ การยางแห่งประเทศไทยในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน หากเกษตรกรชาวสวนยางต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อไปที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการยางตามนโยบายของรัฐ สำนักงานใหญ่ การยางแห่งประเทศไทย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โทร 0-2433-3674

“พ่อสอนลูกใช้” คลิปออนไลน์ล่าสุดจากเอสซีจี เปิดมุมมองการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า สะท้อนวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เอสซีจี เปิดตัวคลิปออนไลน์ชุด “พ่อสอนลูกใช้” เชิญชวนให้ทุกบ้านทุกครอบครัวใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy พร้อมเปิดมุมมอง “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ได้แก่ การนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำให้มากที่สุด และเมื่อไม่สามารถใช้งานต่อได้แล้ว ก่อนจะทิ้งควรจัดการแยกตามประเภทของวัสดุ เช่น พลาสติก กระดาษ โลหะ เป็นต้น และทิ้งให้ถูกที่ ลงถังขยะให้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้การนำขยะกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับคลิปออนไลน์ชุด “พ่อสอนลูกใช้” นำเสนอเรื่องราวผ่านความสัมพันธ์ของพ่อและลูกชายคู่หนึ่ง ที่พ่อมักชอบคัดแยกขวดน้ำ ล้างถุงพลาสติก และเก็บกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อขาย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อมีของชำรุดในบ้านก็จะนำกลับมา ซ่อมจนใช้งานได้ เป็นต้น ซึ่งจากพฤติกรรมของพ่อที่หลายๆ คนอาจมองว่าแปลก หรือเป็นพวกสะสมขยะ แต่กลับกลายเป็นเรื่องน่าชื่นชม และถือเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น

โดยเอสซีจีมุ่งหวังว่าคลิปออนไลน์ชุดนี้ จะช่วยปลูกจิตสำนึก เปลี่ยนวิธีคิด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของทุกคนให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าสูงสุด เพื่อให้เรามีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อๆ ไป เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน

ผู้ที่สนใจสามารถรับชมคลิปออนไลน์ชุด “พ่อสอนลูกใช้” ได้ทาง YouTube : SCG Channel หรือทาง Facebook Fanpage : SCG และสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular 30 พฤศจิกายน 2561 – ผู้บริหาร และพนักงานจิตอาสา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผนึกพลังกับบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” บริเวณถนนสีลม และในชุมชนโดยรอบสถานประกอบการพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อสนองพระราชปณิธาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน ต่อยอด รักษา เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชน

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำคณะผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วม 300 คน พร้อมใจแต่งกายด้วยเสื้อโทนสีเหลือง เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำความสะอาด ปลูกต้นไม้ ทาสีทางเท้า และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเท้า บริเวณหน้าอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม จนถึง ถนนนราธิวาสราชนครินทร์

ขณะที่ นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) นำผู้บริหารและพนักงานจิตอาสา ร่วมชุมชน ช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่วัดอู่ตะเภา โรงเรียน และชุมชนใกล้โรงงานอาหารสำเร็จรูปหนองจอก

นอกจากนี้ ซีพีเอฟจิตอาสา โรงงานและฟาร์มยังได้จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชนทั่วประเทศโดยพร้อมเพรียงกัน อาทิ เก็บขยะบริเวณชายหาด ทำความสะอาดริมถนนทางหลวง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรของบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงการตอบแทนคุณสังคม ช่วยกันพัฒนาความเจริญให้กับชุมชนที่อยู่

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามร่วมมือกับ ดร. คาซึโอะ คิวมะ (Dr.Kazuo Kyuma) President of National Agriculture and Food Research Organization) หรือ NARO ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยร่วมกันในด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ณ ห้องประชุม กวท. วว. เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี เมื่อเร็วๆ นี้

อนึ่ง วว. และ NARO ประเทศญี่ปุ่น เป็นองค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนาน สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งสองหน่วยงานหวังเป็นอย่างยิ่งการดำเนินการวิจัยและกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถ รวมถึงพัฒนาภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตลาดนำการผลิต และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญและผลักดันการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2564 และปัจจุบันมีผู้สนใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้การบริโภคข้าวอินทรีย์และสินค้าอินทรีย์ในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พบว่า ตลาดส่งออกของไทยยังเป็นการส่งออกในรูปแบบข้าวสารเท่านั้น ซึ่งหากระยะต่อไปรัฐบาลสนับสนุนการแปรรูปเพื่อการส่งออกให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และเพิ่มการส่งออกข้าวอินทรีย์มากยิ่งขึ้นในอนาคต

จากการสำรวจข้อมูลตลาดข้าวอินทรีย์ สศก. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ได้บูรณาการร่วมกัน พบว่า ปีเพาะปลูก 2559/60 มีการผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย (Organics Thailand) ทั้งหมด 28,091 ตัน โดยจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 63 ส่งออกร้อยละ 37 ซึ่งวิถีตลาดข้าวอินทรีย์ไทย เริ่มจากเกษตรกรจำหน่ายข้าวเปลือกให้แก่ผู้รวบรวมในพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 67 จำหน่ายไปที่โรงสีโดยตรงคิดเป็น ร้อยละ 32 ส่วนร้อยละ 1 จำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งผลผลิตข้าวส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเป็นหลัก สายพันธุ์ข้าวในตลาด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมนิล และข้าวเหนียว กข 6

เกษตรกรส่วนใหญ่ จำหน่ายในตลาดสมาชิกเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์ อาทิ สหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. โดยเกษตรกรต้องเป็นสมาชิก และจะได้รับการส่งเสริมการผลิตภายใต้กระบวนการผลิตข้าวตามมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์ มีการจำหน่ายเป็นข้าวเปลือก 1-2 ครั้ง/ปี เพราะเกษตรกรเห็นว่า สามารถได้รายได้เป็นเงินก้อนเพื่อมาใช้จ่ายหรือชำระหนี้ได้เพียงพอ สำหรับการแปรรูปส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบข้าวสาร ส่วนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยังมีไม่มากนักเนื่องจากมีต้นทุนจำกัด โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ เครื่องสำอาง เครื่องดื่มสำเร็จรูป ขนม ซีเรียว และอาหารเสริมสุขภาพ

ด้าน นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี (สศท.3) กล่าวเสริมว่า หากมองถึงตลาดค้าส่งในประเทศ นับเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถจำหน่ายข้าวอินทรีย์ได้เป็นประจำและมีปริมาณต่อครั้งค่อนข้างมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ โรงเรียน โรงพยาบาล ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป รวมถึงการจำหน่ายในรูปแบบการรับจ้างผลิตสินค้าในแบรนด์ของลูกค้าเอง ในขณะที่ตลาดต่างประเทศของข้าวอินทรีย์ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ อเมริกา รัสเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ยุโรป ญี่ปุ่น ภายใต้มาตรฐาน IFOAM, EU, NOP และ JAS ซึ่งในอนาคตจะขยายตลาดไปยังประเทศจีนตามมาตรฐาน COFCC ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งชี้ให้เห็นอนาคตที่สดใสของข้าวอินทรีย์ไทยในตลาดโลก

ทั้งนี้ สศก. ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดข้าวอินทรีย์ 8 แนวทาง ประกอบด้วย 1. การจัดทำฐานข้อมูลผู้เกี่ยวข้องในระบบตลาดทุกมิติ เพื่อใช้ในการวางแผนผลิต จัดจำหน่าย และสร้างความเชื่อมโยงของกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริโภค 2. การส่งเสริมการผลิตสินค้าและออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค พร้อมทั้งศึกษาและจัดทําข้อมูล สถานการณ์การผลิต และการตลาดสินค้าอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 3. การเพิ่มปริมาณการจำหน่ายในช่องทางการตลาดเดิม

ได้แก่ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ณ จุดจำหน่าย เพิ่มสัดส่วนการจัดจำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดและตลาดออนไลน์ 4. การส่งเสริมการบริโภคข้าวอินทรีย์ภายในประเทศ สนับสนุนหมู่บ้านท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์ เพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มผู้รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. การสร้าง Brand Loyalty ได้แก่ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภค เปิดช่องทางให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการแนะนำสินค้าหรือบริการ และการสร้าง Brand Ambassador จากเกษตรกรหรือผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ เช่น นำเสนอสินค้ารับประทาน

ใช้สินค้า ถือสินค้า ให้ลูกค้าเห็น เป็นต้น 6. การส่งเสริมระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ที่เป็นธรรม ให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตโดยตรงกับลูกค้า มีความสะดวก มีการตกลงราคาที่เป็นธรรม เพื่อลดส่วนเหลื่อมของราคาสินค้าในตลาด รวมทั้งผู้บริโภคได้สินค้าที่สดใหม่ มีการจัดสถานที่จำหน่ายโดยเน้นความเรียบง่าย สะดวก สะอาด 7. การส่งเสริมกลยุทธ์การทำตลาด สร้างความแตกต่างหรือคิดผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่เสมอ และ 8. การสร้างผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ (New Organics Entrepreneur) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ปี 2560-2564 สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ ต้องสอบถามรายละเอียดผลศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 โทร. 0 4229 2557 หรือ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามผลการดำเนินงานต่อเนื่อง ในกิจกรรมศักยภาพการผลิต การตลาด และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552-2558 ซึ่งมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกของเครือข่ายในพื้นที่เกิดความเข้มแข็ง พัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่ที่ประกอบอาชีพปศุสัตว์และประมง ในการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกของสถาบันเกษตรกรให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนของสมาชิก โดยกำหนดเป้าหมายเครือข่ายกลุ่มอาชีพการเกษตร และสถาบันเกษตรกรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา

จากการติดตามผลของโครงการในระยะต่อเนื่อง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) ลงพื้นที่ช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา) สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์จังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเรื่องการสนับสนุนเงินทุนแก่สถาบันเกษตรกร 5 จังหวัด รวม 15 ราย และสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 5 จังหวัด ในกลุ่มอาชีพผู้เลี้ยงโค ซึ่งเป็นสหกรณ์ 18 สหกรณ์ตัวอย่าง พบว่า

เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเลี้ยงโค โดยเฉลี่ย 7 ปี เกษตรกร ร้อยละ 95 นำความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดไปปฏิบัติ ส่งผลกลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 85 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม โดยเป็นรายได้จากการขายโคตัวผู้ และมูลโคกระสอบละ 30-50 บาท และเกษตรกรบางรายนำสัตว์ไปปล่อยเลี้ยงไว้ในสวนเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ส่วนเกษตรกร ร้อยละ 15 ยังไม่มีรายได้เพิ่ม เนื่องจากยังไม่ต้องการขายโค เพราะเป็นโคตัวเมีย ซึ่งตั้งใจจะเลี้ยงเพื่อเพิ่มแม่พันธุ์ อีกทั้ง เกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดทุกราย ยังร่วมกันจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการลดต้นทุนของกลุ่มอาชีพที่ตนเองสังกัดอยู่ โดยสมาชิก ร้อยละ 71 สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ เพราะเกษตรกรเปลี่ยนมาใช้มูลโคแทนการซื้อปุ๋ยมาใส่ในสวนของตนเองเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย และลดการใช้สารเคมี ทั้งนี้ เกษตรกรที่เหลือ ร้อยละ 29 มีความรู้สึกว่าต้นทุนการผลิตไม่ลดลงเท่าที่ควร เนื่องจากเกษตรกรยังคงต้องใช้ปริมาณปุ๋ยเท่าเดิม และปริมาณมูลโคมีไม่เพียงพอกับความต้องการ

ด้าน นายสุธรรม ธรรมปาโล ผู้อำนวยการ สศท.9 กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยังคงดำเนินกิจกรรมมาต่อเนื่อง มีรายได้จากกิจกรรม เช่น การขายโค และมูลสัตว์ ซึ่งใน ปีที่ 1 (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559) มีรายได้เฉลี่ย 24,710 บาท/ราย ปีที่ 2 (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560) มีรายได้เฉลี่ย 30,502 บาท/ราย และ ปีที่ 3 (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2560 – ปัจจุบัน) มีรายได้เฉลี่ย 2,282 บาท/ราย ชโดยสินทรัพย์ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมเพิ่มศักยภาพการผลิตการตลาดและการแปรรูปของสถาบันเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ปัจจุบัน เฉลี่ย คงเหลือ ลูกโค 1 ตัว และแม่โค 1 ตัว/ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 30,487 บาท ซึ่งเกษตรถือว่าเป็นเงินเก็บของครอบครัว เมื่อมีความต้องการหรือจำเป็นใช้เงินจึงจะนำโคไปจำหน่าย

ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีระดับความพึงพอใจภาพรวมในระดับมาก ทั้งด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิต สนับสนุนด้านองค์ความรู้ การติดตาม/ตรวจเยี่ยมของเจ้าหน้าที่ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสอบถามผลการดำเนินโครงการเพิ่มเติมหรือข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตรในพื้นที่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา โทร. (074) 31 2-996 อี-เมล

General Assembly and Related Meetings ณ ประเทศสิงคโปร์

นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ นางทิพยา จุลหวี ฟอร์จูน ผอ.ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. เข้าร่วมการประชุม The 34th Asia Pacific Metrology Programme General Assembly and Related Meetings ในระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2561 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากประเทศสมาชิก 24 ประเทศสมาชิก โอกาสนี้ นายวิรัช จันทรา ได้นำเสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 เป็น ISO/IEC 17025 : 2017 ใน TCQS Workshop และนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานระบบคุณภาพของการทำหน้าที่ผู้แทนการวัดด้านมาตรวิทยาเคมีในการวัด Preservative agents in food and beverages ต่อคณะกรรมการด้านระบบคุณภาพ ในการประชุม TCQS meeting ด้วย

ในขณะที่ นางทิพยา จุลหวี ฟอร์จูน ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการทางเทคนิค (TCQM) และเข้าร่วม TCQM Workshop ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการวัดทางเคมีกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(NMIs) และผู้แทนการวัดประเทศต่างๆ (DIs) และเข้าร่วมประชุมเครือข่ายวัสดุอ้างอิงของอาเซียน (ARMN) เพื่อร่วมหารือการพัฒนาการวัดให้มีความถูกต้องแม่นยำ และแนวทางในการพัฒนาวัสดุอ้างอิงในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการพัฒนาห้องปฏิบัติการและงานบริการวิเคราะห์ทดสอบของประเทศต่อไป

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ในภาคการเกษตร เป็นแนวคิดด้านการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ สนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินการเชื่อมโยงเกษตรกรกับหน่วยงานรัฐ เอกชน ระบบสหกรณ์ ผู้นำเกษตรกร และผู้ค้า ซึ่งปัจจุบันการขายสินค้าเกษตรออนไลน์เป็นช่องทางและโอกาสทางการตลาดที่สำคัญในการขยายฐานลูกค้าจากภายในประเทศสู่ลูกค้าต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงการค้ารูปแบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในยุคดิจิทัล กระทรวงเกษตรฯ ได้เน้นส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรรายย่อย มีช่องทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูป พัฒนาช่องทางการค้าขายผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบาย“ไทยแลนด์ 4.0”

การซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์มีหลายแบบ ทั้งจากผู้ประกอบการต่อผู้ประกอบการ (B2B) ผู้ประกอบการต่อผู้บริโภค (B2C) หรือแม้กระทั่งผู้บริโภคต่อผู้บริโภค (C2C) โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าขายในระบบอีคอมเมิร์ซทั้งสิ้น 2.81 ล้านล้านบาท สำหรับแหล่งการซื้อขายในระบบอีคอมเมิร์ซสำคัญๆ ในประเทศไทย มีหลายแหล่ง อาทิ อตก.com Agrimart.in.th DGTFarm.com Kaidee.com และ Thaitrade.comซึ่งกรณี Thaitrade.com ที่รองรับการขายสินค้าแบบฺ B2B และ B2C พร้อมรองรับการขายสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITPกระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ในปัจจุบันมีผู้ซื้อที่ลงทะเบียนกว่า 1.7 แสนราย กระจายอยู่ทั่วโลก มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 พันล้านบาท สินค้ากว่า 200,000 รายการ และในจำนวนดังกล่าว มีสินค้าเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าแปรรูปขายประมาณ 6,000 รายการ สำหรับผู้ประกอบการในไทย ลงทะเบียนแล้วกว่า 2.4 หมื่นราย ในจำนวนนี้ประมาณ 1,000 กว่าราย ที่เป็นเกษตรกรหรือผู้ขายสินค้าเกษตร

ด้าน รศ.ดร.เรวัตร ธรรมาอภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเสริมว่า จากการวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ Thaitrade.com พบว่า การซื้อขายสินค้าเกษตร ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้าเกษตร โดยการให้ความรู้ การฝึกอบรม ผ่านทางศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ถึง 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรทั้งสดและแปรรูปตรงตามความต้องการของ ผู้บริโภค และมีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อยดังนั้นเกษตรกรต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อขายสินค้าซึ่งเป็นการรับประกันว่าจะมีสินค้าที่ทีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และภาครัฐต้องให้ความรู้เรื่องการดำเนินการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าเกษตรมากขึ้น โดยเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้ารวมทั้งการกำหนดให้มีการระบุแหล่งกำเนิดสินค้า และการชำระเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ภาครัฐควรสนับสนุนด้านการขนส่งที่จำเป็นต่อการขายสินค้าหรือระบบขนส่ง (Logistics) และการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าเกษตร

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ภาครัฐจะต้องเน้นมาตรการสนับสนุนอย่างรอบด้าน ดังนี้ มาตรการด้านการเกษตร ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพหรือมีลักษณะเฉพาะ เช่น สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) วางแผนปริมาณผลผลิตในแต่ละช่วงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ มาตรการด้านกฎหมายสนับสนุนเกษตรกรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยืนยันการมีตัวตนการเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเพิ่มโอกาสทางการตลาดมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ สนับสนุนหรือจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้การขายสินค้าเกษตรออนไลน์เพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่ม เป็นสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มของเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ของปริมาณผลผลิต และเกิดอำนาจการต่อรองราคาสินค้าเกษตรของเกษตรกรอีกทาง และ มาตรการด้านการศึกษา ให้ความรู้ ฝึกอบรมด้านการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งการสร้างแบรนด์สินค้า และมาตรการด้านการตรวจสอบสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า